Skip to main content

ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย

1. ตำรวจในภาพที่ดูน่ากลัว ชอบข่มขู่ชาวบ้าน หายไปเมื่อเขาเผชิญหน้ากับอำนาจอย่างอื่น ผมเองอาจเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจที่กลับไปข่มขู่ตำรวจได้ ตำรวจชั้นผู้น้อยแทบจะมือไม้สั่นเมื่อเอาเอกสารมายื่นให้ผมลงนาม ตำรวจไม่กล้าสบตาเมื่อผมซักไปจนเขาจนมุมด้วยเหตุผล

 

เมื่ออยู่ต่อหน้าอำนาจที่ "สูงสุด" ในกระบวนการยุติธรรมไทย คือผู้พิพากษา ตำรวจระดับ "ผู้กอง" ก็ลุกลี้ลุกลนมากได้ กลายเป็นเหมือนเด็กน้อยต่อหน้าผู้ใหญ่ที่มากอำนาจและบารมี มือไม้สั่น ตอบคำถามตะกุกตะกัก แทบสิ้นสติ ส่วนหนึ่งคงเพราะเขาเตรียมตัวมาไม่ดี หรือไม่ก็เพราะเขารู้อยู่แก่ใจว่าเขาไม่มีหลักฐานมากพอตามที่กล่าวหาผู้ต้องหาด้วย

 

2. ภาษาเป็นเครื่องมือแห่งอำนาจของตำรวจไม่น้อยไปกว่าอาวุธและเครื่องมือหนักอื่นๆ ตำรวจใช้ภาษาเป็นเครื่องมือของอำนาจผ่านการจดบันทึก การทำเอกสาร การอ่าน การลงนาม ในเกมของอำนาจนี้ เห็นได้ชัดเลยว่าถ้าใครภาษาไม่ดี ใครตรรกของการสื่อสารไม่ดี ก็จะตกเป็นเบี้ยล่างได้ง่ายๆ  

 

ความน่าเป็นห่วงก็คือ ในเกมอำนาจของภาษานี้ ตำรวจใช้ภาษาได้แย่มาก ทั้งพิมพ์ผิดมาก ผิดแม้กระทั่งหัวเอกสารลงชื่อผู้ต้องหาคนหนึ่ง แต่ในเอกสารลงชื่ออีกคนหนึ่ง พิมพ์ชื่อสถานที่เกิดเหตุผิด เว้นวรรคผิด ใช้เครื่องหมายวรรคตอนผิด สะกดผิดมาก ยังไม่ต้องพูดถึงว่า ใช้ภาษาไม่ค่อยเป็นตรรกเหตุผลมากนัก การจัดเตรียมเอกสาร การพิมพ์เอกสารต่างๆ ทั้งๆ ที่มีผลต่อชีวิตผู้คนจำนวนมาก กระทำโดยแทบจะไม่มีการไตร่ตรองตรวจทาน

 

นี่ยังไม่นับว่า ถ้อยคำทางกฎหมาย หรือ technical terms ทางกฎหมายต่างๆ มีอีกมาก ถ้าประชาชนไม่รู้เท่าทัน ถ้าทนายไม่เก่ง ไม่จริงจังพอ ถ้าผู้ต้องหาไม่มีประสบการณ์มากพอ ก็ตกหลุมพรางของอำนาจภาษามั่วๆ ของตำรวจได้ง่ายๆ

 

3. งานส่วนใหญ่ของกระบวนการยุติธรรมคืองานเอกสาร กระดาษจำนวนมากถูกใช้ในงานเอกสาร ในการจัดการกับผู้ต้องหาหนึ่งคน ระบบทั้งหมดมีต้นทุนสูงมาก แค่คดีเล็กๆ ของคนคนหนึ่ง เอกสารของตำรวจก็เกือบร้อยหน้า ที่พิมพ์ซ้ำๆ ซากๆ เอกสารของทนายอีกนับร้อยหน้า ภาระของระบบในการพิจารณาชีวิตคนหนึ่งคนไม่มีน้อยทีเดียว แม้ว่าจะเป็นเพียงคดีเล็กน้อยเท่านั้น

 

เอกสารที่ทั้งกระบวนการผลิตมาให้ผู้รับผิดชอบต้องอ่านต้องพิจารณากันเหล่านี้ ไม่แน่ใจว่าทุกตัวอักษร ทุกหน้า จะได้รับการพิจารณาถี่ถ้วนแค่ไหน ยังไม่นับว่า ภาษาเขียนไม่ดีอีก ทำให้อาจจะอ่านเนื้อความคลาดเคลื่อนได้ง่าย แล้วผลคือจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตคนได้มากขนาดไหนจากเอกสารยุ่งเหยิงเหล่านี้

 

4. ในกระบวนการยุติธรรมมีการตรวจสอบถ่วงดุลกันของอำนาจหลายระดับ ศาลตรวจสอบตำรวจ ธุรการศาลมีอำนาจนอกเหนือจากศาล ทนาย ถ้าเก่ง แม่นยำ มีไหวพริบ และมีศักดิ์ศรีพอ ก็พอจะตรวจสอบถ่วงดุลตำรวจและศาลได้บ้าง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับ "อะไรอื่นๆ" อีกมากมายที่มองไม่เห็น ที่นอกเหนือสถานการณ์เฉพาะหน้าของการดำเนินคดี หากดูไปหลายๆ คดี คงได้เห็นการใช้อำนาจกันหลายลักษณะมากกว่าแค่ครึ่งวันนี้

 

5. เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทในกระบวนการยุติธรรมไทยไม่น้อย มีกรณีที่ศาล "พิจารณา" (เขาเรียกว่า "ชี้" คืออะไรไม่ค่อยเข้าใจกระบวนการ) ผ่านเทเลคอม สื่อสารกันผ่านหน้าจอทีวี ไม่ได้เจอตัวกันตรงๆ บางกรณีก็พบเจอกันตรงๆ (ไม่ค่อยเข้าใจว่าต่างกันอย่างไร หรือด้วยเหตุผลอะไร) สนทนากันต่อหน้าต่อตา

 

อีกเทคโนโลยีคือเครื่องมือ dictate น่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างผู้พิพากษากับเสมียนศาล เป็นการบอกให้พิมพ์คำพิพากษากันสดๆ ต่อหน้าผู้ร้อง ทนาย ผู้ต้องหา ผู้รวมเข้าฟัง เมื่อพิมพ์ออกมาแล้วผู้พิพากษาจะแก้ด้วยมืออีกที

 

น่าจะมีการศึกษาการพิจารณาคดีและกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยด้วยวิธีการแบบมานุษยวิทยากันอย่างจริงๆ จังๆ เสียที หรืองานแบบนี้จะทำแทบไม่ได้หากไม่ได้เป็นผู้ต้องคดีเสียเองก่อน การศึกษาอย่างมีส่วนร่วมด้วยการตกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแบบนี้เสียก่อนคงเป็นวิธีการที่ไม่มีนักมานุษยวิทยาคนไหนอยากทำ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ภูมิทัศน์ทางปัญญาของนักศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร น่าจะมีใครทำวิจัยเล็กๆ ดูกันบ้าง ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงวนเวียนอยู่หน้า "กำแพง" สมุดพักตร์ (ขอยืมสำนวนที่เพื่อนนักวิชาการรุ่นพี่คนหนึ่งมักใช้บ่อยๆ)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อครหาอีกข้อที่มีคือ การที่ผมชอบคิดคำศัพท์ ใช้คำศัพท์ทางวิชาการรุงรัง นี่เป็นข้อครหาที่นักสังคมศาสตร์ไทยโดนเป็นประจำ เพื่อนนักวิชาการคนอื่นๆ คิดอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมมีทัศนะของผมเองคร่าวๆ ดังที่จะเสนอในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เสียงสะท้อนที่รบกวนใจผมอยู่บ้างในระยะนี้ คือคำวิจารณ์ที่เข้ามาสู่หูผมมากขึ้นๆ ทุกวันว่า ผมเป็นพวกบ้าทฤษฎี พวกบ้าศัพท์แสง พวกบ้าวิพากษ์ และพวกคลั่งตะวันตก ซึ่งผมก็น้อมรับด้วยความยินดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (15 กพ.) ตามดูสามสาวดีว่าส์ คาเฟ่แสดงความเห็นกรณีปฏิทินนกแอร์ แล้วนึกถึงข้อวิจารณ์ที่คนอเมริกันบางคนมีต่อ Beyoncé ในการแสดงคั่นครึ่งเวลาซุปเปอร์โบว์ปีที่ผ่านมา คนวิจารณ์ Beyoncé ว่าทำตัวเป็นวัตถุทางเพศ แต่มีนักสังคมวิทยาอเมริกันเถียงว่า เธอใช้ความสามารถแสดงออก แม้จะอย่างยั่วยวน ก็ไม่ได้แปลว่าเธอกลายเป็นวัตถุทางเพศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 วันวาเลนไทน์ในแบบที่เข้าใจกันทุกวันนี้ กลายเป็นทั้งวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยคิดกับมันหรอก แต่เมื่อคุณคำ ผกาชวนไปพูดคุยเรื่ิงความรักในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 14 กพ. ผมก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล ก็มันน่าตื่นเต้นน้อยเสียเมื่อไหร่ ที่จะได้ออกรายการสดกับสามสาวแสนฉลาดและรวยเสน่ห์ แต่จากที่เขาชวนคุยเรื่องรักใคร่ ไปๆ มาๆ ก็กลับวกไปกลายเป็นเรื่องรัฐเร่่ืองไพร่เสียได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พอดีเมื่อสักครู่เพิ่งเห็นภาพภาพหนึ่ง เป็นภาพซอกตึกเมืองเล็กๆ ที่ไหนสักแห่ง มีคำบรรยายภาพว่า “Put down that map and get wonderfully lost.” “วางแผนที่นั่นเสียเถอะ แล้วหลงทางให้อัศจรรย์ใจ” ก็เลยคิดเรื่อยเปื่อยถึงความหมายของการหลงทาง