Skip to main content

ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย

1. ตำรวจในภาพที่ดูน่ากลัว ชอบข่มขู่ชาวบ้าน หายไปเมื่อเขาเผชิญหน้ากับอำนาจอย่างอื่น ผมเองอาจเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจที่กลับไปข่มขู่ตำรวจได้ ตำรวจชั้นผู้น้อยแทบจะมือไม้สั่นเมื่อเอาเอกสารมายื่นให้ผมลงนาม ตำรวจไม่กล้าสบตาเมื่อผมซักไปจนเขาจนมุมด้วยเหตุผล

 

เมื่ออยู่ต่อหน้าอำนาจที่ "สูงสุด" ในกระบวนการยุติธรรมไทย คือผู้พิพากษา ตำรวจระดับ "ผู้กอง" ก็ลุกลี้ลุกลนมากได้ กลายเป็นเหมือนเด็กน้อยต่อหน้าผู้ใหญ่ที่มากอำนาจและบารมี มือไม้สั่น ตอบคำถามตะกุกตะกัก แทบสิ้นสติ ส่วนหนึ่งคงเพราะเขาเตรียมตัวมาไม่ดี หรือไม่ก็เพราะเขารู้อยู่แก่ใจว่าเขาไม่มีหลักฐานมากพอตามที่กล่าวหาผู้ต้องหาด้วย

 

2. ภาษาเป็นเครื่องมือแห่งอำนาจของตำรวจไม่น้อยไปกว่าอาวุธและเครื่องมือหนักอื่นๆ ตำรวจใช้ภาษาเป็นเครื่องมือของอำนาจผ่านการจดบันทึก การทำเอกสาร การอ่าน การลงนาม ในเกมของอำนาจนี้ เห็นได้ชัดเลยว่าถ้าใครภาษาไม่ดี ใครตรรกของการสื่อสารไม่ดี ก็จะตกเป็นเบี้ยล่างได้ง่ายๆ  

 

ความน่าเป็นห่วงก็คือ ในเกมอำนาจของภาษานี้ ตำรวจใช้ภาษาได้แย่มาก ทั้งพิมพ์ผิดมาก ผิดแม้กระทั่งหัวเอกสารลงชื่อผู้ต้องหาคนหนึ่ง แต่ในเอกสารลงชื่ออีกคนหนึ่ง พิมพ์ชื่อสถานที่เกิดเหตุผิด เว้นวรรคผิด ใช้เครื่องหมายวรรคตอนผิด สะกดผิดมาก ยังไม่ต้องพูดถึงว่า ใช้ภาษาไม่ค่อยเป็นตรรกเหตุผลมากนัก การจัดเตรียมเอกสาร การพิมพ์เอกสารต่างๆ ทั้งๆ ที่มีผลต่อชีวิตผู้คนจำนวนมาก กระทำโดยแทบจะไม่มีการไตร่ตรองตรวจทาน

 

นี่ยังไม่นับว่า ถ้อยคำทางกฎหมาย หรือ technical terms ทางกฎหมายต่างๆ มีอีกมาก ถ้าประชาชนไม่รู้เท่าทัน ถ้าทนายไม่เก่ง ไม่จริงจังพอ ถ้าผู้ต้องหาไม่มีประสบการณ์มากพอ ก็ตกหลุมพรางของอำนาจภาษามั่วๆ ของตำรวจได้ง่ายๆ

 

3. งานส่วนใหญ่ของกระบวนการยุติธรรมคืองานเอกสาร กระดาษจำนวนมากถูกใช้ในงานเอกสาร ในการจัดการกับผู้ต้องหาหนึ่งคน ระบบทั้งหมดมีต้นทุนสูงมาก แค่คดีเล็กๆ ของคนคนหนึ่ง เอกสารของตำรวจก็เกือบร้อยหน้า ที่พิมพ์ซ้ำๆ ซากๆ เอกสารของทนายอีกนับร้อยหน้า ภาระของระบบในการพิจารณาชีวิตคนหนึ่งคนไม่มีน้อยทีเดียว แม้ว่าจะเป็นเพียงคดีเล็กน้อยเท่านั้น

 

เอกสารที่ทั้งกระบวนการผลิตมาให้ผู้รับผิดชอบต้องอ่านต้องพิจารณากันเหล่านี้ ไม่แน่ใจว่าทุกตัวอักษร ทุกหน้า จะได้รับการพิจารณาถี่ถ้วนแค่ไหน ยังไม่นับว่า ภาษาเขียนไม่ดีอีก ทำให้อาจจะอ่านเนื้อความคลาดเคลื่อนได้ง่าย แล้วผลคือจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตคนได้มากขนาดไหนจากเอกสารยุ่งเหยิงเหล่านี้

 

4. ในกระบวนการยุติธรรมมีการตรวจสอบถ่วงดุลกันของอำนาจหลายระดับ ศาลตรวจสอบตำรวจ ธุรการศาลมีอำนาจนอกเหนือจากศาล ทนาย ถ้าเก่ง แม่นยำ มีไหวพริบ และมีศักดิ์ศรีพอ ก็พอจะตรวจสอบถ่วงดุลตำรวจและศาลได้บ้าง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับ "อะไรอื่นๆ" อีกมากมายที่มองไม่เห็น ที่นอกเหนือสถานการณ์เฉพาะหน้าของการดำเนินคดี หากดูไปหลายๆ คดี คงได้เห็นการใช้อำนาจกันหลายลักษณะมากกว่าแค่ครึ่งวันนี้

 

5. เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทในกระบวนการยุติธรรมไทยไม่น้อย มีกรณีที่ศาล "พิจารณา" (เขาเรียกว่า "ชี้" คืออะไรไม่ค่อยเข้าใจกระบวนการ) ผ่านเทเลคอม สื่อสารกันผ่านหน้าจอทีวี ไม่ได้เจอตัวกันตรงๆ บางกรณีก็พบเจอกันตรงๆ (ไม่ค่อยเข้าใจว่าต่างกันอย่างไร หรือด้วยเหตุผลอะไร) สนทนากันต่อหน้าต่อตา

 

อีกเทคโนโลยีคือเครื่องมือ dictate น่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างผู้พิพากษากับเสมียนศาล เป็นการบอกให้พิมพ์คำพิพากษากันสดๆ ต่อหน้าผู้ร้อง ทนาย ผู้ต้องหา ผู้รวมเข้าฟัง เมื่อพิมพ์ออกมาแล้วผู้พิพากษาจะแก้ด้วยมืออีกที

 

น่าจะมีการศึกษาการพิจารณาคดีและกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยด้วยวิธีการแบบมานุษยวิทยากันอย่างจริงๆ จังๆ เสียที หรืองานแบบนี้จะทำแทบไม่ได้หากไม่ได้เป็นผู้ต้องคดีเสียเองก่อน การศึกษาอย่างมีส่วนร่วมด้วยการตกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแบบนี้เสียก่อนคงเป็นวิธีการที่ไม่มีนักมานุษยวิทยาคนไหนอยากทำ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้