Skip to main content

ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 

ก่อนมาก็เลยไปหาซื้อเสื้อผ้าสำหรับเมืองร้อน ที่บาง แต่กันแดดได้ ส่วนหนึ่งคือผ้าลินิน และทุกวันก็เตรียมเสื้อเชิร์ตแขนยาวมาใส่ เพราะต้องเรียบร้อยเนื่องจากต้องเจอผู้คน และต้องกันแดดได้ แต่จะให้เปลี่ยนตู้เสื้อผ้าเพื่อการเดินทางทั้ง 10 วัน ก็เกินไปหน่อย จึงซื้อเพิ่มไม่กี่ตัว 

เมื่อมาถึงลาฮอร์ อุณหภูมิ 41-42 ก็ว่าร้อนมากแล้ว แถมแดดจัดทุกวัน แต่ละวันจึงรู้สึกคอแห้งนิดๆ เสมอ ดื่มน้ำบ่อย แต่บ่อยมากก็ไม่ดีเพราะห้องน้ำหายากหน่อย 

แต่ประสบการณ์อย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ การฉี่ที่นี่ เปล่า ไม่ได้มีท่าฉี่พิสดารอะไรหรอก แต่พบว่าร่างกายปรับตัวด้วยการฉี่ในความถี่จำนวนครั้งที่ปกติ แต่ในปริมาณแต่ละครั้งที่น้อยกว่าตอนอยู่เมืองไทยมาก แม้แต่หลังดื่มชา ดื่มเบียร์ ซึ่งปกติผมจะฉี่มากขึ้น อยู่นี่ก็น้อยลง

 

ร่างกายมันคงพยายามเก็บน้ำให้มากที่สุด

 

กับความร้อน เมื่อมาถึงซักเกอร์และซินธ์ จึงได้เผชิญกับความร้อนระดับ 45-46 และมันอาจขึ้นไปถึง 50 คือจุดสูงสุดของมันได้ แถมเมื่อวาน เดินดลางแดดเพื่อดูโบราณสถานโมเฮน-โจ-ดาโรจนทำให้นักสังคมวิทยาเอ่ยปากว่า “ได้รู้แล้วว่านักโบราณคดีเขาทำงานกันในสภาพแบบไหน ชั้นไม่มาเป็นและจะไม่ให้ลูกหลานมาเป็นเด็ดขาด”

 

ส่วนนักมานุษวิทยา ที่แค่ชอบอ่านงานโบราณคดี แต่ให้เป็นก็คงกระเทาะหินเป็นหัวขวานไม่สำเร็จ คิดในใจว่า “ดีแค่ไหนแล้วที่ไม่ชอบความวิทยาศาสตร์ของโบราณคดี แต่ชอบเฉพาะจินตนาการของนักโบราณคดี ก็เลยไม่ได้อยากเป็นนักโบราณคดีที่ต้องตรากตรำร่างกายขนาดนี้”

 

เมื่อคืน (25 พค. 61) เจออีกประสบการณ์ร่างกาย คือไฟดับตั้งแต่เที่ยงคืน ผลคือต้องนอนโดยไม่มีแอร์ ปกติที่มาเมืองลาร์คานา เมืองหนึ่งของจังหวัดซินธ์ เราดำรงชีพอยู่ในห้องแอร์เป็นส่วนใหญ่ แล้วไฟก็ตก ติดๆ ดับๆ เสมอ จนเมื่อคืนคิดว่า เดี๋ยวไฟก็มา แต่มันไม่มายันเช้า

 

3 ชั่วโมงแรก หลับสนิท คงเพราะความเพลีย ฤทธิ์เบียร์ และอาหารเย็นตอน 5 ทุ่ม แต่สักตี 3 รู้สึกตัวว่าเหงื่อท่วม พบว่าไฟไม่ติดทั้งคืนแน่แล้ว ออกมานอกห้อง เดามีห้องเราเท่านั้นที่ดับเพราะอีกตึกมีแสงไฟ ความที่ห้องนี้อยู่นอกอาคารต่างหากจากคนอื่น ก็เลยไปขอพึ่งคนอื่นไม่ได้ 

 

นอนกระสับกระส่ายอยู่สักพัก แล้วพบว่า เพื่อนร่วมห้องคืออาจารย์สุดแดนนอนได้กรนสบาย ก็เลยพยายามนอนบ้าง ปรากฏว่าหลับต่อได้จนถึงเช้า ตื่นขึ้นมาตี 5 ครึ่ง ไม่นอนต่อแล้ว เปิดประตูห้องออกมา เช็คอุณหภูมิ เขาว่า 29 เซลเซียส แต่ความรู้สึกคือ เย็นสบายมาก คาดว่าถ้ากลับไปกรุงเทพฯ เที่ยวนี้ คงจะสวมเสื้อกันหนาวไปอีกสัก 2-3 วัน

 

อีกเรื่องคือการกิน คนที่นี่กินอาหารไม่เป็นเวลาเอามากๆ ยิ่งที่ซินธ์ ยิ่งเพี้ยน มื้อกลางวันมื้อแรกที่นี่ กินตอน 4 โมงเย็น แล้ววันนั้นกว่าจะได้กินข้าวเย็นก็เที่ยงคืน วันที่สอง มื้อเช้า 9 โมง มื้อกลางวันเที่ยงวัน แล้วมื้อเย็นก็ 5 ทุ่ม 

 

แต่ร่างกายก็ไม่แปรปรวนอะไร ไม่รู้เพราะอะไร ส่วนใหญ่เราคงใช้พลังงานน้อย เดินมากไม่ได้เพราะร้อนมาก เคลื่อนไหวช้าๆ พักดื่มชา (ชาที่นี่ต้มกับนมควาย ใส่ครื่องเทศจางๆ แล้วเติมน้ำตาลกรวด) ร่างกายก็เลยไม่หิวโหยมาก และคงเพราะน้ำในตัวมีน้อย น้ำย่อยก็เลยน้อยไปด้วย ไม่รู้เหมือนกัน แต่ไม่หิวรุนแรง

 

“Big Boss” คนที่ดูแลพวกเราที่ซินธ์เป็นนักเล่าเรื่อง เขาบอกว่า หมาเป็นสัตว์ที่ปรับตัวง่าย ที่ร้อน ที่หนาว ก็อยู่ได้หมด เขาเลยเอาไว้เรียกคนที่ปลิ้นปล้อนว่า “dog temperature man” โดยเฉพาะพวกนักการเมืองปลิ้นปล้อน

 

แต่จากที่มาอยู่เมืองร้อนจัด เคยอยู่เมืองหนาวจัด อยู่กรุงเทพฯ แบบไม่ติดห้องแอร์ ก็ทำให้พบว่า คนนี่แหละที่ร่างกายปลิ้นปล้อนมาก ไม่แพ้หรืออาจจะยิ่งกว่าหมา

 

ยังมีเวลาอยู่ที่ปากีสถานอีกหลายวัน ยังมีเรื่องที่ยังไม่ได้เล่าอีกมาก จะค่อยๆ ทยอยเล่าเหมือนปริมาณน้ำฉี่ที่นี่ไปก็แล้วกัน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร