Skip to main content

ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 

ก่อนมาก็เลยไปหาซื้อเสื้อผ้าสำหรับเมืองร้อน ที่บาง แต่กันแดดได้ ส่วนหนึ่งคือผ้าลินิน และทุกวันก็เตรียมเสื้อเชิร์ตแขนยาวมาใส่ เพราะต้องเรียบร้อยเนื่องจากต้องเจอผู้คน และต้องกันแดดได้ แต่จะให้เปลี่ยนตู้เสื้อผ้าเพื่อการเดินทางทั้ง 10 วัน ก็เกินไปหน่อย จึงซื้อเพิ่มไม่กี่ตัว 

เมื่อมาถึงลาฮอร์ อุณหภูมิ 41-42 ก็ว่าร้อนมากแล้ว แถมแดดจัดทุกวัน แต่ละวันจึงรู้สึกคอแห้งนิดๆ เสมอ ดื่มน้ำบ่อย แต่บ่อยมากก็ไม่ดีเพราะห้องน้ำหายากหน่อย 

แต่ประสบการณ์อย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ การฉี่ที่นี่ เปล่า ไม่ได้มีท่าฉี่พิสดารอะไรหรอก แต่พบว่าร่างกายปรับตัวด้วยการฉี่ในความถี่จำนวนครั้งที่ปกติ แต่ในปริมาณแต่ละครั้งที่น้อยกว่าตอนอยู่เมืองไทยมาก แม้แต่หลังดื่มชา ดื่มเบียร์ ซึ่งปกติผมจะฉี่มากขึ้น อยู่นี่ก็น้อยลง

 

ร่างกายมันคงพยายามเก็บน้ำให้มากที่สุด

 

กับความร้อน เมื่อมาถึงซักเกอร์และซินธ์ จึงได้เผชิญกับความร้อนระดับ 45-46 และมันอาจขึ้นไปถึง 50 คือจุดสูงสุดของมันได้ แถมเมื่อวาน เดินดลางแดดเพื่อดูโบราณสถานโมเฮน-โจ-ดาโรจนทำให้นักสังคมวิทยาเอ่ยปากว่า “ได้รู้แล้วว่านักโบราณคดีเขาทำงานกันในสภาพแบบไหน ชั้นไม่มาเป็นและจะไม่ให้ลูกหลานมาเป็นเด็ดขาด”

 

ส่วนนักมานุษวิทยา ที่แค่ชอบอ่านงานโบราณคดี แต่ให้เป็นก็คงกระเทาะหินเป็นหัวขวานไม่สำเร็จ คิดในใจว่า “ดีแค่ไหนแล้วที่ไม่ชอบความวิทยาศาสตร์ของโบราณคดี แต่ชอบเฉพาะจินตนาการของนักโบราณคดี ก็เลยไม่ได้อยากเป็นนักโบราณคดีที่ต้องตรากตรำร่างกายขนาดนี้”

 

เมื่อคืน (25 พค. 61) เจออีกประสบการณ์ร่างกาย คือไฟดับตั้งแต่เที่ยงคืน ผลคือต้องนอนโดยไม่มีแอร์ ปกติที่มาเมืองลาร์คานา เมืองหนึ่งของจังหวัดซินธ์ เราดำรงชีพอยู่ในห้องแอร์เป็นส่วนใหญ่ แล้วไฟก็ตก ติดๆ ดับๆ เสมอ จนเมื่อคืนคิดว่า เดี๋ยวไฟก็มา แต่มันไม่มายันเช้า

 

3 ชั่วโมงแรก หลับสนิท คงเพราะความเพลีย ฤทธิ์เบียร์ และอาหารเย็นตอน 5 ทุ่ม แต่สักตี 3 รู้สึกตัวว่าเหงื่อท่วม พบว่าไฟไม่ติดทั้งคืนแน่แล้ว ออกมานอกห้อง เดามีห้องเราเท่านั้นที่ดับเพราะอีกตึกมีแสงไฟ ความที่ห้องนี้อยู่นอกอาคารต่างหากจากคนอื่น ก็เลยไปขอพึ่งคนอื่นไม่ได้ 

 

นอนกระสับกระส่ายอยู่สักพัก แล้วพบว่า เพื่อนร่วมห้องคืออาจารย์สุดแดนนอนได้กรนสบาย ก็เลยพยายามนอนบ้าง ปรากฏว่าหลับต่อได้จนถึงเช้า ตื่นขึ้นมาตี 5 ครึ่ง ไม่นอนต่อแล้ว เปิดประตูห้องออกมา เช็คอุณหภูมิ เขาว่า 29 เซลเซียส แต่ความรู้สึกคือ เย็นสบายมาก คาดว่าถ้ากลับไปกรุงเทพฯ เที่ยวนี้ คงจะสวมเสื้อกันหนาวไปอีกสัก 2-3 วัน

 

อีกเรื่องคือการกิน คนที่นี่กินอาหารไม่เป็นเวลาเอามากๆ ยิ่งที่ซินธ์ ยิ่งเพี้ยน มื้อกลางวันมื้อแรกที่นี่ กินตอน 4 โมงเย็น แล้ววันนั้นกว่าจะได้กินข้าวเย็นก็เที่ยงคืน วันที่สอง มื้อเช้า 9 โมง มื้อกลางวันเที่ยงวัน แล้วมื้อเย็นก็ 5 ทุ่ม 

 

แต่ร่างกายก็ไม่แปรปรวนอะไร ไม่รู้เพราะอะไร ส่วนใหญ่เราคงใช้พลังงานน้อย เดินมากไม่ได้เพราะร้อนมาก เคลื่อนไหวช้าๆ พักดื่มชา (ชาที่นี่ต้มกับนมควาย ใส่ครื่องเทศจางๆ แล้วเติมน้ำตาลกรวด) ร่างกายก็เลยไม่หิวโหยมาก และคงเพราะน้ำในตัวมีน้อย น้ำย่อยก็เลยน้อยไปด้วย ไม่รู้เหมือนกัน แต่ไม่หิวรุนแรง

 

“Big Boss” คนที่ดูแลพวกเราที่ซินธ์เป็นนักเล่าเรื่อง เขาบอกว่า หมาเป็นสัตว์ที่ปรับตัวง่าย ที่ร้อน ที่หนาว ก็อยู่ได้หมด เขาเลยเอาไว้เรียกคนที่ปลิ้นปล้อนว่า “dog temperature man” โดยเฉพาะพวกนักการเมืองปลิ้นปล้อน

 

แต่จากที่มาอยู่เมืองร้อนจัด เคยอยู่เมืองหนาวจัด อยู่กรุงเทพฯ แบบไม่ติดห้องแอร์ ก็ทำให้พบว่า คนนี่แหละที่ร่างกายปลิ้นปล้อนมาก ไม่แพ้หรืออาจจะยิ่งกว่าหมา

 

ยังมีเวลาอยู่ที่ปากีสถานอีกหลายวัน ยังมีเรื่องที่ยังไม่ได้เล่าอีกมาก จะค่อยๆ ทยอยเล่าเหมือนปริมาณน้ำฉี่ที่นี่ไปก็แล้วกัน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเลี่ยงที่จะอ่านข่าวเกี่ยวกับมติครม.งดเหล้าเข้าพรรษาเพราะไม่อยากหงุดหงิดเสียอารมณ์ ไม่อยากมีความเห็น และไม่อยากต้องโดนด่าหลังแสดงความเห็น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อต้องกลับมาชวนคนอ่านงานของบรมครูทาง "วัฒนธรรมศึกษา" คนหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปแม่ฮ่องสอนสามวัน ค้างสองคืน เพื่อร่วมงาน "ไทใหญ่ศึกษา" ทั้งๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน ไม่รู้จักวัฒนธรรมไทใหญ่มาก่อน พอจะรู้จากการอ่านงานเรื่อง "ฉาน" เรื่องรัฐไทใหญ่ เรื่องประวัติศาสตร์บ้างนิดหน่อย จึงมิอาจให้ความเห็นใดๆ กับอาหารไทใหญ่ได้ ทำได้แค่เพียงบอกเล่า "ความประทับใจแรกเริ่ม" ในแบบที่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ทั่วไปมักทำกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่รู้เป็นอะไรกันนักหนากับเครื่องแต่งกายนักศึกษา จะต้องมีการประจาน จะต้องมีการให้คุณค่าบวก-ลบ จะต้องถือเป็นเรื่องจริงจังกันจนบางคณะถึงกับต้องนำเรื่องนี้เข้ามาเป็นวาระ "เพื่อพิจารณา" ในที่ประชุมคณาจารย์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชาญวิทย์เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม วันที่ 22 มิถุนายนนี้ ลูกศิษย์ลูกหาจัดงานครบรอบ 72 ปีให้อาจารย์ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานนี้ (12 มิถุนายน 2556) อาจารย์ที่คณะท่านหนึ่งเชิญไปบรรยายในวิชา "มนุษย์กับสังคม" หัวข้อ "สังคมศาสตร์กับความเข้าใจผู้คนและสังคม" ให้นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปี 1 ในห้องเรียนมีนักศึกษาราว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้ถูกเผยแพร่ในอีกพื้นที่หนึ่งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากเห็นว่าเข้ากับโอกาสของการเปิดภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย จึงขอนำมาเสนออีกครั้งในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธ์ุอยู่หลากหลายกลุ่ม พวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และร่วมสร้างสังคม สร้างประวัติศาสตร์โบราณและสมัยใหม่อย่างขาดไม่ได้ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยมีนโยบายกลุ่มชาติพันธ์ุมาก่อน (ยาวนะครับ ถ้ายังอยู่ในโลก 8 บรรทัดโปรดอย่าอ่าน)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 มีคนบ่นว่า "ผ่านมาสามปีแล้ว ทำไมคนเสื้อแดงยังไปรวมตัวกันที่ราชประสงค์กันอีก นี่พวกเขาจะต้องระลึกถึงเหตุการณ์นี้กันไปจนถึงเมื่อไหร่" แล้วลงท้ายว่า "รถติดจะตายอยู่แล้ว ห้างต้องปิดกันหมด ขาดรายได้ นักท่องเที่ยวเดือดร้อน" นั่นสิ น่าคิดว่าทำไมการบาดเจ็บและความตายที่ราชประสงค์เมื่อพฤษภาคม 2553 มีความหมายมากกว่าโศกนาฏกรรมทางการเมืองครั้งที่ผ่านมาก่อนหน้านี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรียน ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นนักคิดไทยสองคนออกมาเทศนาแล้วอดสงสัยไม่ได้ว่า "ทำไมนักคิดไทย พอแก่ตัวลงต้องไปจนแต้มที่วิธีคิดแบบพุทธๆ"