Skip to main content

การเสียสละกับการรักษาหลักการมักถูกนำมาใช้อ้างหรือมากกว่านั้นคืออาจมีส่วนใช้ในการตัดสินใจ

ผมไม่สามารถตัดสินใจแทนเพื่อนได้ แต่ผมยังคิดว่าเพื่อนมีเวลาและกล้าหาญพอที่จะตัดสินใจเลือกแนวทางที่ไม่ต้องอ้างเรื่องการเสียสละ หรือคิดให้มากขึ้นถึงต้นทุนของทั้งสังคมที่ใหญ่กว่าและเครือข่ายสังคมของเพื่อนเอง

เวลาเราคิดว่าต้องเสียสละ เราเสียอะไรบ้าง บางคนอาจคิดจากหลักของความเป็นผู้มีคุณธรรม การเสียสละมักเป็นเรื่องทางศาสนา งานศึกษาเรื่องการเสียสละมีตั้งแต่การมองว่า การเสียสละคือการสื่อสารกับสิ่งเหนือมนุษย์ หากจะถือว่าสิ่งเหนือมนุษย์ก็คือสังคมนั่นแหละ การเสียสละก็คือการทำงานเพื่อคนอื่น เป็นการอุทิศตัวให้สังคม

 

แต่การศึกษาสังคมมนุษย์ยังมีอีกแนวทางหนึ่งที่มองว่า การเสียสละไม่ใช่คุณธรรมสูงส่งอะไรหรอก แต่มันเป็นการสร้างข้อแลกเปลี่ยน หรือพูดให้ตรงกว่านั้นคือ มันเป็นการแลกเปลี่ยนอย่างหนึ่งนั่นเอง ผู้ที่เสีย หรือเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่าเขายอมเสียโดยไม่รับอะไรกลับคืนมาเลย ยอมให้ในขนาดที่ผู้รับทั้งไม่อาจปฏิเสธได้และไม่สามารถให้ตอบแทนคืนได้นั่น อันที่จริงเขาก็คือผู้มีอำนาจสูงสุดแบบหนึ่งนั่นเอง

 

ให้ชัดกว่านั้น มีผู้กล่าวว่า การเสียสละก็คือการสะสมทุนแบบหนึ่งของผู้เสียสละ มันคือการสะสมทุนทางสังคมและเศรษฐกิจ ผ่านการหลบเลี่ยงว่าเขาเป็นผู้ให้ เป็นผู้ละทิ้ง เป็นผู้สละตน หากแต่ผลที่เขาจะได้รับตอบแทนก็คือ อำนาจราชศักดิ์ต่างๆ ที่ทั้งแปลงไปเป็นทุนทางสังคม เครือข่ายผู้ภักดี และทุนทางเศรษฐกิจแบบต่างๆ

 

ผมเชื่อในมุมมองการเสียสละอย่างหลังมากกว่า และเลือกทีาจะมองว่า การเสียสละมีต้นทุนเสมอ หากเบือกว่านะเสียสละอะไรไป ก็ต้องคิดง่ายๆ ด้วยว่า สิ่งที่เสียไปกับที่จะได้มามันคุ้มกันไหม 

 

การเสียสละบางอย่างถูกใช้อ้างเพื่อหักล้างต่อหลักการของตนเอง เพื่อรักษาเครือข่ายทางสังคมของตนเอง เพราะเชื่อว่าหากยอมทิ้งหรือปิดตาข้างหนึ่งยอมลืมหลักการที่ดีกว่า อาจจะดีกว่าการยอมยึดถือหลักการแต่ต้องเสียเครือข่ายไป ผมเห็นคนมากมายเลือกแบบนั้นแล้วสุดท้ายเขาก็เสื่อมลงๆ

 

หากเพื่อนเชื่อมั่นต่อหลักการที่ยึดถือและป่าวประกาศมาตลอดว่าสังคมนี้จะต้องก้าวไปสู่สังคมที่เคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชน ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย การยอมสูญเสียหลักการนี้เพื่อรักษาตำแหน่งแห่งที่ของตน รักษาเครือข่ายของตนนั้น อย่างไหนเรียกว่าเป็นการเสียสละมากกว่ากันแน่

 

เราได้เห็นกันมามากแล้วว่า การก้าวเข้าไปในวังวนของอำนาจแบบเผด็จการนั้น ไม่เคยช่วยอะไรแก่สังคม ชุมชน ประชาชนโดยกว้างได้ แต่หากเพื่อนเราบางคนยังคงยังเชื่ออยู่ว่า เขาต้องยอมเสียสละเพื่อรักษาเครือข่ายทางสังคมของเขา ผมก็เสียใจที่ทำได้แค่นั่งรอดูว่า เขาจะไปอยู่ในกลุ่มผู้อับจนและเสื่อมถอยทางการเมืองแบบประชาธิปไตยไปได้อีกถึงไหน

 

แต่หากเพื่อนกล้าถอยออกมา ผมมั่นใจว่าเครือข่ายทางสังคมของเพื่อนรวมทั้งผมเอง ก็ย่อมเข้าใจและพร้อมสู้ร่วมกับเพื่อนต่อไป

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มาเกียวโตเที่ยวนี้หนาวที่สุดเท่าที่เคยมา (สัก 6 ครั้งได้แล้ว) อุณหภูมิอยู่ราวๆ 0-5 องศาเซลเซียสตลอด แต่นี่ยังไม่เท่าเมืองที่เคยอยู่ คือวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้อยู่ราวๆ -20 องศาเซลเซียส และเคยหนาวได้ถึง -40 องศาเซลเซียส หนาวขนาดนั้นมีแต่นกกากับกระรอก ที่อึดพอจะอยู่นอกอาคารได้นานๆ แต่ที่เกียวโต คนยังสามารถเดินไปเดินมา หรือกระทั่งเดินเล่นกันได้เป็นชั่วโมงๆ หากมีเครื่องกันหนาวที่เหมาะสม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เมื่อวันที่ 23-24 มค. ยังความรื่นรมย์มสู่แวดวงวิชาการสังคมศาสตร์อีกครั้ง ถูกต้องแล้วครับ งานนี้เป็นงาน "เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 7" หากแต่อุดมคับคั่งไปด้วยนักสังคมศาสตร์ (ฮ่าๆๆๆ) น่ายินดีที่ได้พบเจอเพื่อนฝูงทั้งเก่าทั้งใหม่มากหน้าหลายตา แต่ที่น่ายินดียิ่งกว่านั้นคือการได้สนทนาทั้งอย่างเป็นทางการ ผ่านงานเขียนและการคิดอ่านกันอย่างจริงจัง บนเวทีวิชาการ กับเพื่อนๆ นักวิชาการรุ่นใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเช้า (26 มค.) ผมไปเลือกตั้งล่วงหน้าที่เขตจอมทอง ด้วยเหตุจำเป็นไม่สามารถไปเลือกตั้งวันที่ 2 กพ. ได้ ก่อนไป สังหรณ์ใจอยู่ก่อนแล้วว่าจะเกิดเหตุไม่ดี ผมไปถึงเขตเลือกตั้งเวลาประมาณ 9:00 น. สวนทางกับผู้ชุมนุมนกหวีดที่กำลังออกมาจากสำนักงานเขต นึกได้ทันทีว่ามีการปิดหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้า มวลชนหลักร้อย ดูฮึกเหิม ท่าทางจะไปปิดหน่วยเลือกตั้งอื่นต่อไป ผมถ่ายรูปคนจำนวนหนึ่งไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หนังสือ ประวัติศาสตร์ไทดำ : รากเหง้าวัฒนธรรม-สังคมไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2557) เล่มนี้เป็นผลจากการวิจัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมทำวิจัยชิ้นนั้นก็เพื่อให้เข้าใจงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของชาวไทในเวียดนามสำหรับทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก แต่เนื้อหาของหนังสือนี้แทบไม่ได้ถูกนำเสนอในวิทยานิพนธ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดือนที่แล้ว หลังเสร็จงานเขียนใหญ่ชิ้นหนึ่ง ผมกะจะหลบไปไหนสัก 4-5 วัน ระยะนั้นประเด็นวันเลือกตั้งยังไม่เข้มข้นขนาดทุกวันนี้ ลืมนึกไปจนกลายเป็นว่า ตัวเองกำหนดวันเดินทางในช่วงวันเลือกตั้ง 2 กพ. 57 พอดี เมื่อมาคิดได้ เมื่อวันที่ 14 มค. ก็เลยถือโอกาสที่ที่ทำงานให้หยุดงานไปลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตตนเอง ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีก็ได้เอกสารมาเก็บไว้ รอไปเลือกตั้งล่วงหน้าวันอาทิตย์ที่ 26 มค.
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เหตุที่ประโยค Respect My Vote. กลายเป็นประโยคที่นำไปใช้ต่อ ๆ กันแพร่หลายกินใจผู้รักประชาธิปไตยในขณะนี้ ไม่เพียงเพราะประโยคนี้มีความหมายตามตัวอักษร แต่เพราะประโยคนี้ยังเป็นถ้อยแถลงทางการเมืองของประชาชน ที่ประกาศว่า อำนาจสูงสุดของประเทศนี้เป็นของประชาชน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 9 มกราคม 2557 เวทีเสวนาประชาธิปไตยภาคใต้ ได้จัดอภิปรายเรื่อง "ปฏิรูปประเทศไทย : ปาตานีในระยะเปลี่ยนผ่าน" ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผมกับอาจารย์เอกชัย ไชยนุวัติ ได้รับเชิญในฐานะตัวแทนจากสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยไปร่วมบรรยายกับวิทยากรชาวปัตตานีและชาวสงขลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมอยู่ในแวดวงวิชาการ พร้อม ๆ กับทำกิจกรรมบริการทางสังคมด้านสิทธิ-เสรีภาพ การบริการทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานทางวิชาการ นอกเหนือจากการสอน การทำวิจัย และการเขียนงานวิชาการ แต่ในโลกทางวิชาการไทยปัจจุบัน เมื่อคุณก้าวออกมานอกรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว คุณจะกลายเป็น "คนมีสีเสื้อ" ไม่ว่าปกติคุณจะใส่เสื้อสีอะไร จะมีสติ๊กเกอร์ติดเสื้อคุณอยู่เสมอว่า "เสื้อตัวนี้สี..." เพียงแต่เสื้อบางสีเท่านั้นที่ถูกกีดกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งคือการยึดอำนาจของ กปปส. เพื่อจัดตั้งสภาประชาชน ไม่มีทางที่การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งจะเป็นการปฏิรูปที่ปวงชนชาวไทยจะมีส่วนร่วม เนื่องจาก...
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมเก็บข้อมูลการวิจัยเมื่อปี 2553-2554 จนถึงหลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ผมมีโอกาสได้สัมภาษ์นักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่ง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. เขตของพรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อไทย ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ ในจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ไม่ใช่จังหวัดเสื้อแดงแจ๋อย่างอุดรธานีหรือขอนแก่น เขตเลือกตั้งนี้เป็นเขตเลือกตั้งในชนบท เป็นพื้นที่ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีฐานเสียงอยู่่พอสมควร แต่ไม่เด็ดขาด ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจอันเนื่องมาจากโยงใยที่ใกล้ชิดกับผู้ที่แนะนำให้ผมติดต่อไปสัมภาษณ์ ผู้สมัคร สส. คนนี้เล่าวิธีการซื้อเสียงของเขาให้ผมฟังโดยละเอียด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ข้อเสนอว่าด้วยการปฏิวัติประชาชนของอาจารย์ธีรยุทธไม่ได้วางอยู่บนข้อเท็จจริงของสังคมไทยปัจจุบัน การปฏิวัติประชาชนตามข้ออ้างจากประวัติศาสตร์ประเทศต่างๆ ของอาจารย์ ล้วนแสดงให้เห็นถึงการปฏิวัติของประชาชนเพื่อโค่นล้มผู้กุมอำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรมเพราะผูกขาดอำนาจเป็นของตนเอง ตลอดจนเป็นการโค่นอำนาจรัฐที่ไม่เหมาะสมกับยุคสมัยที่ประชาชนเป็นใหญ่มากขึ้น หากแต่เราจะถือว่า “มวลมหาประชาชน” หนึ่งล้านห้าแสนคน หรือต่อให้สองล้านคนในมวลชนนกหวีดเป็น “ประชาชน” ในความหมายนั้นได้หรือไม่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชัยวัฒน์ครับ ผมยินดีที่อาจารย์ออกมาแสดงความเห็นในสถานการณ์ล่อแหลมเช่นนี้ นี่ย่อมต้องเป็นสถานการณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งยวดจริงๆ ไม่เช่นนั้นอาจารย์ก็จะไม่แสดงความเห็นอย่างแน่นอน ดังเช่นเมื่อปี 2553 เหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่มีผู้เสียชีวิต 90 กว่าคน บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน อาจารย์ก็ยังเงียบงันจนผมสงสัยและได้เคยตั้งคำถามอาจารย์ไปแล้วว่า "นักสันติวิธีหายไปไหนในภาวะสงคราม"