Skip to main content

 

วันทำงานโรงงานวันแรก

นั่งอบรมไปค่อนวัน ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎี เขาคงปรับความรู้ผู้ใช้แรงงานอย่างพวกเราให้เป็นผู้ใช้แรงงานที่มีความรู้ เพราะมาตรฐานมันเป็นเครือข่ายที่มีหลายประเทศทั่วโลก พวกดิวิชั่นใหญ่ๆมีแต่ชาวต่างประเทศ

ทำให้ฉันนึกถึง ประเทศอาเจนตินาร์ ที่คุณครูเอามาฉายให้ดู ที่ทุนเป็นใหญ่ นายทุนเป็นใหญ่มีอำนาจ ลงทุนบรรษัทข้ามชาติ แล้วให้คนในประเทศเป็นเพียงผู้ใช้แรงงานขั้นต่ำ

พวกคนในประเทศที่มีการเลื่อนขั้นได้ทำงานสบายๆ หรือพวกที่ได้ทำงานสบายมาตั้งแต่กำเนิดเพราะได้รับโอกาสทางการศึกษาสูง

 

ที่โรงงาน ผู้หญิงเป็นเพศที่มีความอดทนสูง ทนทำงานซ้ำๆได้

ตามหลักการของอดัม สมิธ ถ้าให้แต่ละคนทำงานเป็นชิ้นๆ เสร็จไปชิ้นๆ ผลผลิตที่ได้มันจะช้า จะต้องให้แต่ละคนทำคนละอย่าง และทำซ้ำๆเดิมๆ ค่อยมาประกอบกันเป็นชิ้น จะได้ไวขึ้น

......................................................

ฉันเดินเข้าไปในโรงงาน ตัวฉันหด ฉันกลัว และฉันเป็นคนที่กลัวเครื่องจักรมาก เสียงของมันไม่น่าฟัง ที่นี่ไม่ใช่งานไหลเป็นสายพาน แต่แบ่งเป็นแผนกๆ เขาเรียกเป็น “ลาย” มองไปครั้งแรกเหมือนห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ มีท่อสีเงินท่อใหญ่เป็นเครื่องดูดอากาศ

ต่างคนต่างทำงาน ฉันเข้าไปนั่งตามที่ซุปสั่ง(ซุปเป็นหัวหน้าใหญ่ที่คุมคนงานอย่าพวกเรา  แกทำงานอย่างพวกเรามาก่อน  ทำมาเกือบยี่สิบปี  แล้วแกก็ถูกเจ้านายใหญ่เลือกให้เป็นซุป  เพราะบุคลิกแกเป็นคนที่คุมคนได้)    วันแรก ฉันได้ทำงานสบายๆ นั่งสบายเลย มือจับลวดเส้นเล็กๆดัดไป เป็นงานที่ไม่ต้องใช้ความคิด ฉันชอบจังเลย   ชอบงานที่ไม่ต้องใช้ความคิด    แต่บางงานก็ต้องใช้ฝีมือ

ตอนอบรม เขาบอกว่า โรงงานเราเซฟความปลอดภัย ฉันก็เลยอุ่นใจว่า ดีจัง ถึงจะมีการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ก็มีชุดป้องกัน ในการอบรมบอกว่า ถ้ามีเศษลวดตกให้รีบเก็บ แต่ฉันมองที่พื้นนะ เห็นเศษลวดเต็มไปหมดเลย แล้วเพื่อนที่นั่งข้างๆก็ร้องโอ้ย ซ้ำๆ เขาทำงานจุ่มกับความร้อน และก็เหมือนลวดร้อนจิ้มมือเขาให้เป็นหลุม เหมือนเข็มทิ่มแทง

 

ฉันเห็นช่วงพักกลางวัน คนในโรงงานวิ่งกรูออกมาด้วยหน้าตายิ้มแย้ม ออกมาซื้อข้าวกิน กีฬาพักกลางวันคือ ปิงปอง และตะกร้อ

เหมือนนิยายเรื่อง 1984 เลย แต่ละคนต่างก็ทำหน้าที่ในแผนกของตัวเอง ถึงเวลาก็ไปกินข้าวที่โรงงาน ต่างจาก 1984ตรงที่ว่า อาหารที่นี่มันคงดีกว่าอาหารของ 1984 นั่นเอง

.........................................

เดือนละหมื่นบาทมันก็สมเหตุสมผล แต่กรรมาชีพทำงานแทบไม่มีเวลาว่างจริงๆนะ

 

ฉันมีเพื่อน เขาเป็นคนที่สมัครงานมาพร้อมๆกับฉัน และเป็นคนที่เดินเข้าบริษัทพร้อมกัน เราก็เลยเป็นเพื่อนกัน

เขาก็เล่าให้ฉันฟัง ว่า โรงงานเก่า

"เค้าเห็นเราเป็นเครื่องจักร" สายตาเธอนิ่งมองออกไปเหมือนครุ่นคิด

"ไม่ยอมให้เราหยุดพักเลย มีแค่พักกลางวัน 40 นาที เป็นไข้ก็ไม่ให้หยุด ปวดหัวก็ไม่ให้หยุด ต้องยืนตลอด เมื่อยมาก บางคนก็ต้องทำงานใกล้เครื่องทำความร้อน"

 

บล็อกของ ยุภาวดี ฑีฆะ

ยุภาวดี ฑีฆะ
คนเราควรเชื่อมั่นในศักยภาพของผู้อื่น  และสิ่งที่คนไทยขาดโคตรๆก็คือ  การเชื่อมั่นในศักยภาพของผู้อื่น 
ยุภาวดี ฑีฆะ
 คงเป็นอีกวันที่ทำผลงานให้กับองคฺ์กรไม่ได้เลย     ชีวิตของเด็กปริญญาตรีจบใหม่ต่างต้องเผชิญกับอุปสรรคนาๆประการ  ทีแรก ฉันก็นึกว่าฉันเป็นคนเดียวที่เป็นเด็กปริญญาตรีที่จบมาก็ลำบาก  เพราะชีวิตในมหาลัยมัวแต่สะดวกสบาย  
ยุภาวดี ฑีฆะ
 วันทำงานโรงงานวันแรกนั่งอบรมไปค่อนวัน ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎี เขาคงปรับความรู้ผู้ใช้แรงงานอย่างพวกเราให้เป็นผู้ใช้แรงงานที่มีความรู้ เพราะมาตรฐานมันเป็นเครือข่ายที่มีหลายประเทศทั่วโลก พวกดิวิชั่นใหญ่ๆมีแต่ชาวต่างประเทศ
ยุภาวดี ฑีฆะ
มิตรสหายท่านหนึ่ง เคยกล่าวกับข้าพเจ้าไว้ว่า พวกที่กบฏอย่างพวกเรานี้ มักมีนิสัยมาตั้งแต่เด็กที่เป็น
ยุภาวดี ฑีฆะ
ในนาม "พรรคสามัญชน" ขอเชิญชวนทุกท่านที่รักแม่น้ำ รักสิ่งแวดล้อม รักทรัพยากรทางทะเล พวกเรามาร่วมใจกันทำแคมเปญ ลอยกระทงอธิษฐานการคัดค้านเขื่อนหลายแห่งเช่น หยุดการสร้างเขื่อนไซยะบุรี เขื่อนแม่ว
ยุภาวดี ฑีฆะ
หนู    ไม่เอาเขื่อน เพื่อนหนู   ไม่เอาเขื่อน พี่น้องของหนู   ไม่เอาเขื่อน รักสิ่งแวดล้อม   ไม่เอาเขื่อน   เขื่อนจ๋า    ทำไมนะต้องทำลายชุมชน
ยุภาวดี ฑีฆะ
  ฉันมีสก็อตเทป ไว้ในมืออยู่เสมอ แปะติดจนตัวเบลอ เดินเกลื่อนกลาดทั่วมอชอ                     
ยุภาวดี ฑีฆะ
เขาพูดกันว่า....“ใครที่ไม่เอาการรับน้อง ก็ออกไปจากมหาลัยนี้ซะ(ออกไปจากคณะนี้ซะ)” “ใครที่ไม่รักพ่อ ก็ออกไปจากประเทศนี้ซะ” เราเห็นอะไรในฐานคิดนี้ หนูเห็นการสร้าง “ความเป็นอื่น”กับคนที่คิดไม่เหมือนตัวเอง และก็ยังไม่เปิดโอกาสให้คนอื่นได้มีพื้นที่แสดงความคิดเห็น
ยุภาวดี ฑีฆะ
 "อาจารย์ขา หนูกำลังต่อต้านระบบว้ากน้อง แต่หนูทำยังไงหนูก็แพ้" "ก็คุณมันเสียงส่วนน้อย คุณสู้เสียงส่วนใหญ่ทั้งมหาวิทยาลัยนี้ไม่ได้หรอก""คุณควรวางเฉย หรือไม่ก็บอกให้เพื่อนคุณเปลี่ยนทีละเล็กทีละน้อย"
ยุภาวดี ฑีฆะ
วันนี้หนูมาศาลจังหวัดลำพูน จริงอย่างที่เพื่อนหนูบอกจริงๆด้วยค่ะ ในขณะที่เด็กมหาวิทยาลัยตีกลองกันดังตุ๊มต๊ามๆ รับน้องกันอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน และหาได้มีสาระแก่นสารอันใดไม่นอกจากความสนุกเท่านั้น นอกจากสนุกแล้วก็ยังแหกปากด่ากัน รุ่นพี่ด่ารุ่นน้องแ