Skip to main content
สวนหนังสือ
  เรียน คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี บรรณาธิการ ช่อการะเกด ที่นับถือฉันผู้ใช้นามแฝงว่า นายยืนยง คนเขียนคอลัมน์ สวนหนังสือ ในเว็บไซต์ประชาไท ที่มีบทความชื่อ ช่อการะเกด 45 เวลาช่วยให้อะไร ๆ ดีขึ้นจริงหรือ? อยู่ในรายการของบทความทั้งหมด ได้อ่าน กถาบรรณาธิการ ใน ช่อการะเกด 47 ฉบับวางแผงปัจจุบันแล้ว ทราบว่าคุณสุชาติ บรรณาธิการนิตยสารเรื่องสั้นช่อการะเกดได้ให้ความสนใจต่อบทความนี้ ฉันในนามของนายยืนยงจึงเขียนจดหมายแล้วจัดพิมพ์ส่งตู้ ป.ณ. 1143 เพื่อเล่าถึงความเป็นมาคร่าว ๆ และเพื่อแถลงเจตนาในอารมณ์ที่มีต่อโครงการเรื่องสั้นช่อการะเกดเท่าที่ได้สัมผัสมาทั้งโดยตรงและอ้อมอย่างไม่อ้อมค้อมแต่อาจพร่องในหลักวิชาวรรณกรรมศาสตร์ ทั้งนี้ขอให้ทราบเถิดว่าไม่มีเจตนาหรือประสงค์ต่อร้ายใคร ๆ เลย นอกเสียจากได้สนองความมุ่งหวังที่คาดคะเนไปต่าง ๆ นานาว่า วรรณกรรมไทยเรานี้จะก้าวต่อเนื่องไปด้วยคุณภาพ ประกอบพลังสติปัญญาของศิลปชนคนวรรณกรรม ทั้งบรรณาธิการ นักเขียน นักวิจารณ์ และนักอ่าน รวมถึงผู้จัดพิมพ์ในนามสำนักพิมพ์ การณ์นี้หากเห็นข้อบกพร่องของกันและกันแล้วยังปล่อยให้ชะตากรรมในมือของกลยุทธ์ตลาดหนังสือหารือกันเองในมูลค่าทางธุรกิจ โดยไม่เปล่งเสียงทักท้วงกันบ้าง ฉันลงความเห็นว่าพฤติกรรมเอาหูไปนาเอาตาไปไร่เช่นนี้ ถือเป็นภัยเงียบอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจก่อเป็นเชื้อเป็นผลให้ลุกลามเกิดพิบัติใหญ่หลวงต่อวรรณกรรมไทยของเรา โดยเฉพาะภาคของเรื่องสั้น ทั้งนี้ข้อหนึ่งที่ตระหนักเสมอ คือ หนังสือเป็นสินค้าชนิดหนึ่ง มีราคาค่างวดอันงอกมาจากต้นทุนในการผลิตและประกอบการ แม้นหนังสือจะทรงคุณค่าในตัวเอง มีหัวใจเป็นอรรถประโยชน์ต่อผู้เสพสารอักษร แต่เราย่อมหลีกเลี่ยงอักขระที่เป็นตัวเลขไม่ได้ นอกเสียจากจะจัดพิมพ์เพื่อเป็นธรรมทาน
Cinemania
 'มาริโอ โรปโปโร' เป็นลูกชายชาวประมง เติบโตมาบนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลี ที่ซึ่งไม่มีน้ำประปาและผู้คนบนเกาะส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ...‘ปาโบล เนรูด้า' เป็นกวี-นักการทูต-นักการเมือง และเป็น ‘คอมมิวนิสต์' ชาวชิลี มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่ต้องลี้ภัยไปอยู่บนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลีช่วงปี 1952 และที่นั่นมีบุรุษไปรษณีย์เพียงคนเดียว...บุรุษไปรษณีย์นามว่า ‘มาริโอ โรปโปโร':::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์::: Il Postino หรือ The Postman เป็นหนังภาษาอิตาลี แต่เป็นผลงานของผู้กำกับชาวอังกฤษ ‘ไมเคิล แรดฟอร์ด' ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์หลายสาขาเมื่อปี 2538 และดูเหมือนว่าจะไม่ได้รางวัลใหญ่ติดไม้ติดมือมามากนัก แต่จัดเป็นหนังที่ผู้ชมกล่าวถึงมากมาย ถึงขั้นกลายเป็นหนังในดวงใจของคอหนังหลายคนสิบกว่าปีผ่านไป แผ่นดีวีดีลิขสิทธิ์ของหนังเรื่องนี้ถูกนำมาวางขาย พร้อมติดป้าย ‘ลดราคา' ตามร้านขายหนังทั่วไปในบ้านเรา ถือเป็นการลดราคาได้ถูกกาละเทศะอย่างยิ่ง! โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ฝนตก อากาศชวนหดหู่ และเศรษฐกิจฝืดเคืองจนไม่อยากออกจากบ้านไปผลาญเงินเล่น แต่เหมาะควรกับการนอนเอกเขนกดูหนังดีๆ สักเรื่องมากกว่า หนังของผู้กำกับแรดฟอร์ดเรื่องนี้บอกเล่าชีวิตเรียบเรื่อยของ ‘มาริโอ' ซึ่งเปรียบเหมือนเรือลอยเท้งเต้งกลางทะเล ขาดหางเสือและไม่มีเข็มทิศ เพราะถึงแม้ว่าจะเิติบโตมาในชุมชนชาวประมง แต่เขาก็ไม่เคยคิดจะเอาดีทางการหาปลา และทางเลือกอื่นๆ ในชีวิตก็ใช่ว่าจะมีมาให้เลือกมากมายนักหลายคนมองว่ามาริโอเป็นเพียงหนุ่มขี้เกียจ หนักไม่เอา เบาไม่สู้ แต่สิ่งที่เขาพยายามพูดอ้อมๆ ให้พ่อเข้าใจมาตลอดว่าคลื่นลมรุนแรงในท้องทะเลทำให้เขารู้สึกวิงเวียนเกินกว่าจะทำอะไรได้ ส่วนพ่อที่เลี้ยงลูกชายโข่งมาหลายปีดีดักก็ตัดสินใจยื่นคำขาดในวันหนึ่งให้มาริโอไปหางานอื่นทำเป็นหลักแหล่งเสียทีเมื่อเห็นป้ายประกาศรับสมัคร ‘บุรุษไปรษณีย์ 1 ตำแหน่ง' มาริโอจึงเดินเข้าไปของานทำ พร้อมจูงจักรยานเก่าแก่ของตัวเองไปด้วย และคุณสมบัติแค่ ‘พออ่านออกเขียนได้' กับ ‘มีจักรยานเป็นของตัวเอง' ทำให้มาริโอได้งานนี้ไปอย่างง่ายดายผู้ที่มาริโอต้องไปส่งจดหมายให้มีเพียงคนเดียว...ผู้รับจดหมายนามว่า ‘ปาโบล เนรูดา'เมื่อปี 1952 ‘ปาโบล เนรูด้า' ต้องลี้ภ้ยไปจากชิลี หลังประธาธิบดีกาเบรียล กอนซาเลส วิเดลา ผู้นำพรรคแรดิคัลขอร้องให้เนรูด้าช่วยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการหาเสียงในการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่เมื่อได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกลับหักหลัง สั่งเจ้าหน้าที่รัฐกวาดล้างและจับกุมผู้สนับสนุนพรรคคอมนิวนิสต์ รวมถึงบรรดานักคิด-นักเคลื่อนไหวหัวเอียงซ้ายทั้งหมดที่หมายปลายทางของเนรูด้าจึงมุ่งไปที่เกาะเล็กๆ ในอิตาลี และที่นั่นเป็นที่ที่กวีกับบุรุษไปรษณีย์ได้รู้จักกันเนรูด้า หรือ ‘ดอน ปาโบล' ตามที่มาริโอเรียกด้วยความยกย่อง เป็นลูกค้าเพียงคนเดียวของที่ทำการไปรษณีย์บนเกาะ เพราะด้วยเหตุผลที่บอกไปแล้วคือคนส่วนใหญ่ที่นั่น ‘ไม่รู้หนังสือ' และวุ่นอยู่กับการทำมาหากิน ไม่มีเวลามาเขียนหรืออ่านจดหมายสักฉบับกระนั้น วงจรชีวิตของคนบนเกาะก็เปลี่ยนแปลงไปเมื่อบุคคลระดับโลกอย่างเนรูด้าแวะมาอยู่อาศัย จดหมายนับสิบนับร้อยฉบับถูกส่งมาจากทั่วโลก เพื่อรอให้เนรูด้าเปิดอ่าน และมาริโอเป็นบุรุษไปรษณีย์ที่ได้รับการว่าจ้าง เพื่อส่งจดหมายให้กับเนรูด้าโดยเฉพาะในตอนแรกมาริโอเพียงหวังว่าเขาจะผูกมิตรกับกวีชื่อดัง เืผื่อเอาไว้ไปอวดให้คนอื่นๆ ฟังในภายภาคหน้า แ่ต่เมื่อมีโอกาสได้สนทนากับ ‘ดอน ปาโบล' และอีกฝ่ายอดทนตอบคำถามซื่อๆ เกี่ยวกับข้อสงสัยต่างๆ นานาที่เขาถาม โดยไม่มีท่าทีรังเกียจ ‘คนความรู้น้อย' มิตรภาพระหว่างกวีและบุรุษไปรษณีย์ก็แน่นแฟ้นขึ้นเรื่อยๆมาริโอเปรียบคำพูดและบทกวีของเนรูด้ากับ ‘คลื่นในทะเล' ซึ่งซัดสาดใส่เขาจนรู้สึกโคลงเคลงเหมือนเป็นเรือปะทะคลื่นลมปั่นป่วน ขณะเดียวกันก็เป็นแรงดลใจให้เขาขวนขวายหาหนังสือและบทกวีอืนๆ มาอ่านด้วยความใคร่รู้ ส่วนดอน ปาโบลก็ได้ครุ่นคิด-ทบทวน และแลกเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อโลกผ่านคำถามซื่อๆ ตรงไปตรงมาของมาริโอหากจะพูดให้เจาะจงกว่านั้นก็คือมาริโอได้กระตุ้นเตือนให้เนรูด้ารำลึกถึงความมหัศจรรย์ของถ้อยคำ การสื่อสาร และการใช้ภาษา ขณะที่ดอน ปาโบล ทำให้คนที่ไม่มั่นใจในตัวเองอย่างมาริโอรู้สึก ‘มีคุณค่า' และได้รับการยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็นยิ่งไปกว่านั้น ดอน ปาโบล ยังเป็นพ่อสื่อคนสำคัญที่ทำให้ ‘เบียทริซ' สาวงามประจำเกาะ หลานสาวของดอนน่า โรซ่า เจ้าของร้านเหล้าเคร่งศาสนา ยอมตกลงปลงใจกับหนุ่มที่ดูเหมือนจะไร้อนาคตคนนี้ด้วยความยินดี เพราะอานุภาพแห่งบทกวีแปลกหูและจับใจสาวน้อยมากกว่าคำหยอกล้อที่มักไ้ด้ยินจากปากลูกค้าขี้เหล้าในร้านของป้าเธอหลายเท่าตัวนักการมาเยือนของปาโบล เนรูด้าเปรียบเหมือนกุญแจไขสู่โลกใหม่ของมาริโอ โลกซึ่งเขาไม่อับจนถ้อยคำที่จะนำมาสะท้อนความรู้สึกนึกคิด และกระตุ้นให้ตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการค้นพบความกล้าที่ทำให้เขาลุกขึ้นมาโต้แย้งแทนคนอื่นในสิ่งที่เห็นว่าไม่ถูกไม่ควร แม้ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่ใช่อย่างที่คิด แต่ถือได้ว่ามาิริโอค้นพบ ‘เสียง' ของตัวเองแล้วแต่เมื่อรัฐบาลประธานาธิบดีกอนซาเลส-วิเอลาของชิลี อยู่ในช่วงขาลงเพราะแพ้ภัยในคดีทุจริตฉ้อฉล ผู้นำพรรคสังคมนิยม ‘ซัลวาดอร์ อัลเยนเด' ก็ได้รับเลือกดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนต่อมาด้วยคะแนนถล่มทลาย เนรูด้าจึงได้รับคำเชิญให้เดินทางกลับบ้านเกิดได้ตำแหน่ง ‘บุรุษไปรษณีย์' ของมาริโอจึงพลอยหลุดลอยไปด้วย เพราะลูกค้าคนเดียวที่มีอยู่ เดินทางไปไกลเกินกว่าเขาจะตามไปส่งจดหมายได้ จากนั้นข่าวคราวของดอน ปาโปล ที่เคยรู้จักก็ห่างไกลออกไปทุกที มุมมองที่มีต่อโลกของมาริโอก็ไม่สดสวยเหมือนเก่า เพราะถูกความจริงปล่อยหมัดน็อคเข้าใส่ไม่ยั้ง พร้อมกับที่บทกวีไพเราะเร้าอารมณ์ซึ่งเคยได้อ่านได้ฟังกลายเป็นเสียงตะโกนสั่งงานของดอนน่า โรซ่า ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายภรรยาที่กุมอำนาจสูงสุดในครอบครัว ตามด้วยเสียงมีดกระทบเขียง เพราะเขาต้องรับหน้าที่พ่อครัวจำเป็นเพื่อช่วยกิจการร้านเหล้าที่กำลังขยายตัว นอกจากนี้ ดอนน่า โรซ่า มักกระทบกระเทียบให้ฟังเสมอว่าเนรูด้าเป็นเพียง ‘นกกระจอกกินอิ่มแล้วก็บินหนีไป' เพราะหลังจากที่มาใช้เกาะเป็นที่ลี้ภัยและสร้างความทรงจำให้คนมากมาย เนรูด้ากลับไม่เคยส่งจดหมายหรือติดต่อกลับมาหาพวกเขาอีกเลย ชีวิตเรียบเรื่อยของชนชั้นแรงงานหาเช้ากินค่ำเช่นมาริโอ, ดอนน่า โรซ่า หรือแม้แต่จอร์จิโอ หัวหน้าของมาริโอที่มีชีวิตทั้งชีวิตผูกโยงกับที่ทำการไปรษณีย์เล็กๆ โทรมๆ อาจไม่น่าอภิรมย์ในความเป็นจริง แต่เรื่องราวที่ถ่ายทอดใน Il Postino เต็มไปด้วยความงดงามของรายละเอียดปลีกย่อยในชีวิตที่เราอาจเคยมองข้ามไปส่วนฉากหลังซึ่งคู่ขนานไปกับชะตากรรมของมาริโอคือบันทึกการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในอิตาลีและชิลี ที่ซึ่งไม่มีคำตัดสินถูกผิดว่าอะไรดีกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นคอมมิวนิสต์ เผด็จการ หรือประชาธิปไตย ถ้าจะบอกว่ามันคือบันทึกการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองโลกในช่วงนั้นด้วยก็คงไม่ผิดนัก และคำตอบที่ซ่อนอยู่ในหนังของ ‘คนส่งสาร' เรื่องนี้ ก็อยู่ที่การ ‘ตีความ' เหตุการณ์ที่ล้อมรอบตัวเราให้ถ่องแท้แม้ในสายตาของดอนน่า โรซ่า มองเห็นดอน ปาโบล เป็นเพียงนักฉวยโอกาส และจอร์จิโอชื่นชม ปาโบล เนรูด้า ในฐานะผู้เผยแพร่แนวคิดคอมมิวนิสต์คนสำคัญ และมองว่านั่นคือสถานะที่ทรงคุณค่ามากกว่าการเป็นกวี แ่ต่มาริโอกลับประทับใจมุมมองของเนรูด้าที่สอนให้เขา ‘รู้สึกรู้สา' ต่อสรรพสิ่งรอบตัว ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเล็กน้อยหรือดูเหมือนไร้ค่าในสายตาคนอื่นเพียงใด การที่เนรูด้า ‘มองเห็น' และรับรู้การดำรงอยู่ของสรรพสิ่ง ทำให้เขาไม่มองข้ามมาริโอ และปฏิบัติต่อ ‘บุรุษไปรษณีย์บ้านนอก' อย่างเพื่อนมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ขณะที่ในชีวิตจริงอีกด้านหนึ่ง เนรูด้าเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญของโจเซฟ สตาลิน ผู้นำคอมมิวนิสต์ของอดีตสหภาพโซเวียตซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการใช้ความโหดเหี้ยมในการกำจัดศัตรูทางการเมือง สาระสำคัญใน Il Postino จึงมิได้จำกัดวงแคบเฉพาะเรื่องราวของบทกวีแห่งความรัก หรือการฝ่าฟันอุปสรรคของหนุ่มสาว แต่มันตั้งคำถามถึงการมองชีวิตของตัวเองและคนอื่นๆ ที่มีปฏิสมพันธ์กันอยู่ หนังเรื่องนี้จึงไม่มีการตัดสินหรือพิพากษา หากแต่มี ‘เหตุ' และ ‘ผล' อันเกิดจากสิ่งที่ตัวละครแต่ละคนคิด เชื่อ และลงมือทำ ในตอนท้ายเรื่อง ความคิดสับสนวนเวียนของมาริโอเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อได้กลับไปบ้านพักริมทะเลที่ดอน ปาโบล เคยใช้ชีวิตอยู่ช่วงหนึ่ง ที่นั่นมาริโอได้ค้นพบความจริงของการมีชีวิต รวมถึงความงดงามของการใช้ชีวิตบนเกาะเล็กๆ ที่ดูเหมือนจะน่าเบื่อแห่งนี้ มาริโอเริ่มต้นบันทึกเสียงลมพัดผ่านช่องเขา เสียงลมพัดยอดไม้ไหว เสียงคลื่นลูกย่อมซัดหาดทราย และเสียงคลื่นลูกใหญ่กระทบโขดหินดังสนั่น หวังจะส่งไปให้ดอน ปาโบล ได้ฟัง แม้ว่าจดหมายฉบับสุดท้ายของเขาไม่มีวันส่งไปถึงชิลีก็ตาม...   มัสซิโม ทรอยซี (Massimo Troisi) ผู้กำกับ นักเขียนบท และนักแสดงชาวอิตาลีที่รับบทเป็นมาริโอ เสียชีวิตหลังถ่ายทำหนังเรื่องนี้เสร็จเพียง 2 วัน ขณะมีอายุเพียง 41 ปี สาเหตุเพราะเขาขอเลื่อนการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจไปจนกว่าจะถ่ายหนังเสร็จ แต่ไม่ทันได้ผ่าตัดก็จากไปเสียก่อนฟิลิปป์ นัวเรต์ (Philipe Noiret) นักแสดงชาวฝรั่งเศสผู้โด่งดังจากหนังอิตาลีอีกเรื่อง ‘Cinema Paradiso' รับบทเป็นปาโบล เนรูด้า เสียชีวิตแล้วเช่นกัน เมื่อปี 2549ป.ล. Il Postino ดัดแปลงจากหนังเรื่อง Aciente Paciencia ของผู้กำกับ Antonio Skarmeta และหนังสือชื่อเกียวกัน ซึ่งมาริโอเป็นตัวละครสมมติ ขณะที่ปาโบล เนรูด้า ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมในปี 2514  
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ :       เดอะซีเคร็ต ผู้เขียน :            รอนดา เบิร์นผู้แปล :             จิระนันท์ พิตรปรีชาพิมพ์ครั้งที่ 54 :  มีนาคม 2551จัดพิมพ์โดย :    สำนักพิมพ์อมรินทร์
สวนหนังสือ
ใกล้เปิดภาคเรียนใหม่ ปีการศึกษา 2552 แล้ว ภายใต้นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ของรัฐบาลนี้ ถ้าใครได้ดูทีวีคงได้เห็นข่าวประชาสัมพันธ์ หรือได้เห็นสำนักข่าวไปสัมภาษณ์ผู้ปกครองที่ได้รับเงินอุดหนุนค่าเครื่องแบบนักเรียนแล้วไปเลือกซื้อชุดนักเรียนให้ลูก ๆ เป็นที่น่าชื่นอกชื่นใจสำหรับคนเป็นพ่อแม่ที่มีโอกาสเป็นครั้งแรกในการได้รับ "ของฟรี" จากรัฐบาล แม้จะไม่สามารถซื้อได้ครบทั้งชุดก็ตาม เช่น นักเรียนประถม 5 ได้รับเงินเพื่อการนี้คนละ 360 บาทต่อปี คือ 2 ภาคเรียน ๆ ละ 180 บาท บางคนอาจจะได้กางเกงนักเรียน 1 ตัว และ ถุงเท้า 1 คู่ ก็ยังดีฟะ.. กำขี้ดีกว่ากำตดไม่ใช่เรอะ
สวนหนังสือ
นายยืนยง   นิตยสารรายเดือน             :           ควน ป่า นา เล  4 เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ตั้งแต่ปลายมีนาคมจนถึงวันนี้ 9 เมษายน ฉันอาศัยทีวีและหนังสือพิมพ์ อันเป็นสื่อกระแสหลักที่นำเสนอข่าวสารที่เป็นกระแสหลัก คือ ข่าวการเมือง เหมือนกับทุกครั้งที่อุณหภูมิการเมืองเดือดขึ้น ฉันดูข่าวเกินพิกัด อ่านหนังสือพิมพ์จนแว่นมัวหมอง ตื่นระทึกไปกับทุกจังหวะก้าวย่างของมวลชนเสื้อแดง มีอารมณ์ร่วมกับภาคการเมืองส่วนกลางในฐานะผู้เสพข่าวสารเท่านั้นเองจริง ๆ เท่านั้นเองไม่มากกว่านั้น  ในชีวิตหนึ่งกับเป้าหมายของพัฒนาการทางสังคมประชาธิปไตย ฉันมีส่วนร่วมซึ่งเรียกว่าแทบไม่ได้ไปร่วมแรงร่วมใจอะไรเลย เป็นได้เท่านั้นไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้ ฉันอาจหันหลังให้ภาคการเมือง ทำหมันการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของตัวเอง ดำรงตนเหมือนคนที่ในอดีตฉันเคยดูแคลนว่าเป็นพวกเห็นแก่ตัว ไม่สนใจสังคมการเมือง มองเห็นแต่เล็บตีนของตัวเอง เพราะฉันเริ่มเชื่อแล้วละว่า การเมืองต้องแก้ไขด้วยกระบวนการทางการเมือง การลุกขึ้นมาเดินขบวนเรียกร้องความไม่เป็นธรรมนั้น เป็นเพียงตัวกระตุ้นหนึ่งที่อาจมีค่าความสำคัญขึ้นมาก็ต่อเมื่อสำนักข่าวให้ความสนใจจะทำข่าว และฉันเชื่อแล้วว่า การเมืองไม่อาจเยียวยาโรคเรื้อรังที่ลุกลามเป็นปัญหาสังคมได้ ไม่เท่านั้น การเมืองยังทำลายภูมิคุ้มกันของคนในสังคมไปพร้อมกันด้วย
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เราติดอยู่ในแนวรบเสียแล้ว แม่มัน! วรรณกรรมการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า ครั้งที่ 6 จัดพิมพ์โดย : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน 2551 ก่อนอื่นขอแจ้งข่าว เรื่องวรรณกรรมการเมือง รางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2552 นี้ สักเล็กน้อย งานนี้เป็นการจัดประกวดครั้งที่ 8 เปิดรับผลงานวรรณกรรมการเมือง 2 ประเภท คือ เรื่องสั้น และ บทกวี ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2552
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : เด็กเก็บว่าว The Kite Runner ผู้เขียน : ฮาเหล็ด โฮเซนี่ ผู้แปล : วิษณุฉัตร วิเศษสุวรรณภูมิ ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม พ.ศ.2548 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ The One Publishing เด็กเก็บว่าว นวนิยายสัญชาติอเมริกัน-อัฟกัน ขนาดสี่ร้อยกว่าหน้า ที่โปรยปก มหัศจรรย์แห่งนวนิยายที่สร้างปรากฏการณ์ปากต่อปากจนติดอันดับเบสต์เซลเลอร์ เล่มนี้ กล่าวถึงเรื่องราวของอะไรหรือ ทำไมผู้คนจึงให้ความสนใจกับมันมากมายนัก ฉันถามตัวเองก่อนจะหยิบมันมาอ่าน
Hit & Run
  กรกช เพียงใจ  ห้องพิจารณาคดี 713 ศาลอาญา รัชดาผู้พิพากษาสองคนเดินมานั่งบนบัลลังก์ เบื้องหลังบัลลังก์เป็นผนังไม้อย่างดีสีน้ำตาลเข้ม ทำให้ทั้งห้องดูเคร่งขรึมน่าเกรงขาม สูงขึ้นไปบนผนังติดพระบรมฉายาลักษณ์ในกรอบสีทองเหลืองอร่ามทุกคนลุกขึ้นยืนทำความเคารพ มีญาติผู้ต้องขังสองสามคน อัยการ ทนายความ เจ้าหน้าที่ผู้คุมตัวผู้ต้องขัง รวมถึงผู้ต้องขังหญิงในชุดนักโทษอุฉกรรจ์สีน้ำตาล ขลิบปลายแขนแดง ‘ดารณี' ถูกจับกุมที่บ้านพัก ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว และติดคุกมาแล้วมากกว่าครึ่งปี ระหว่างที่คดีเพิ่งเริ่มพิจารณา และนัดหมายการไต่สวนพยานครั้งแรกกันอีก 6 เดือนข้างหน้า 0000"ไอ้ที่พี่พูด ก็เอามาจากวงสัมมนาของนักวิชาการ หรือหนังสือที่อ่านทั้งนั้น จริงๆ พี่อยากบอกทนายว่า ให้คุณสุพจน์ (ด่านตระกูล) มาเป็นพยานให้ในศาลที เพราะสิ่งที่พี่พูดก็เอามาจากการอ่านหนังสือของแก"  เสียงเธอแว่วผ่านกรงขังมายังคู่สนทนา เพียงสองสามสัปดาห์หลังจากนั้น สุพจน์ก็จากโลกนี้ไปด้วยโรคมะเร็ง "เขาเป็นคนใจร้อนมาตั้งแต่ไหนแต่ไร บางทีคุยกับผมไม่รู้เรื่อง มันยังดุผมเลย" คำบอกเล่าของพี่ชายของดารณีที่เทียวไปมา 12 ชั่วโมง ระหว่างภูเก็ต-กรุงเทพฯ  เพื่อเยี่ยมน้องสาวทุกสัปดาห์"เขาเป็นหนอนหนังสือ มันอ่านไปทั่ว นี่ยังให้ผมไปขอใบประกาศปริญญาโทที่มหาลัยเกริก เพราะจะสมัครเรียน นิติศาสตร์ ของ มสธ. ที่เปิดรับสมัครในคุกด้วย สงสัยเขาจะว่าความเอง" พี่ชายแซวน้องสาว ขณะที่ตัวเองก็ถือหนังสือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาติดตัวตลอดนับตั้งแต่น้องสาวโดนคดี เมื่อถามว่าทำไม เขาตอบว่า "ผมพยายามจะทำความเข้าใจ""เขาเป็นคนเชื่อมั่น ไม่ฟังใคร ผมเตือนแล้วเวลาพูดอะไรต้องระมัดระวัง ชาวบ้านหลายๆ คนที่สนามหลวงเขาจับกลุ่มปราศรัยกันเอง เวทีเล็กๆ แล้วชอบพูดประเด็นแบบนี้ แล้วพอได้เสียงเฮก็ได้ใจใหญ่ กลายเป็นดาวดวงใหม่"  เพื่อนนักเคลื่อนไหวพูดด้วยน้ำเสียงเนิบนิ่ง"เขาน่าสงสารนะ เราก็มาให้กำลังใจเขา ไม่ได้รู้จักกันส่วนตัวหรอก คนอื่นหลายคนก็อยากมาเยี่ยม แต่ไม่กล้ามา คดีแบบนี้ใครๆ ก็กลัว แต่ป้าไม่กลัว เราไม่ได้ทำอะไรผิด" ป้าคนหนึ่งบอกระหว่างรอเยี่ยมดารณีในเรือนจำ0000เดือนแรกๆ "เราทำเพื่อประเทศชาติขนาดนี้ แล้วโดนแบบนี้ ถามหน่อย แล้วอีกหน่อยใครเขาจะกล้าลุกขึ้นมาทำอะไร""อยู่ในนี้มันลำบาก แต่เราต้องเข้มแข็ง ต้องดูแลใจตัวเองให้ดี ก็ได้แต่คิดเสียว่า ท่านปรีดี (พนมยงค์) ยังโดนเยอะกว่าเรามากนัก" "บ้านเรามันไปไม่ถึงไหนก็เพราะอย่างนี้ ไม่พอใจๆ ก็รัฐประหาร ทำลายระบบหมด ไม่เห็นหัวชาวบ้านเลย เราไม่ได้ขัดข้องเลยถ้าพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นรัฐบาล แต่ต้องเลือกตั้งมาตามระบบ มันเป็นหลักพื้นฐาน""ป่าวๆ ไม่ได้เห็นไทยรักไทยเป็นเทวดาด้วย แต่เขามีนโยบายเพื่อคนจน เรื่องปากท้องของคน ลดช่องว่างของคน เป็นเรื่องสำคัญสุดของประเทศนี้นะพี่ว่า แต่นโยบายมีปัญหาตรงไหนก็มาว่ากัน ไม่ใช่ทำแบบนี้ แล้วดึงเอาสถาบันลงมาในการเมือง มันไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง เรื่องพวกนี้นักวิชาการก็พูดไม่ใช่เหรอ"  "ถ้าโดนจับสมัยรัฐบาลเผด็จการ เราคงไม่เสียใจเท่านี้ เราสู้เพื่อประชาธิปไตย พวกคุณก็ได้ประโยชน์ด้วย แล้วสุดท้ายพอมีปัญหาก็ไม่มีใครยื่นมือมาช่วยอะไร" เดือนหลังๆ   "กับข้าวในนี้แย่มาก เราก็ขากรรไกรอักเสบ กระดูกบนล่างมันจะยัดติดกันอยู่แล้ว กินอะไรลำบากเพราะมันอ้าปากไม่ได้ จริงๆ หมอนัดไว้ว่าจะต้องผ่าตัดแต่โดนจับซะก่อน ตอนนี้น้ำหนักลดไปสิบกว่าโลแล้ว เวลาแปรงฟันทีก็ลำบาก ต้องเอาแปรงสีฟันกระแทกเข้าไปในปาก มันอ้าไม่ได้ ฟันหน้าบิ่นหมดแล้ว" "นี่เขายึดชุดนอนไปอีกแล้ว คนอื่นๆ มีเกินสองชุดได้ไม่เห็นมีปัญหา" "ไม่เข้าใจจริงๆ ทำไมจะต้องจำกัดน้ำขนาดนั้น อาบไม่เคยทันเลย ยิ่งใครมีเมนส์จะลำบากมาก ได้แค่ไม่กี่ขันเท่านั้น แล้วพอเข้าหน้าหนาวยิ่งลดลงอีก บอกว่าอากาศหนาวไม่ต้องอาบมาก นี่มันอะไร""จะออกจากเรือนจำมาศาลแต่ละที เขาจับขึ้นขาหยั่งตรวจภายในทั้งตอนเข้า ตอนออก เขากลัวเรื่องยาเสพติด แต่ไม่ดูเลยนี่มันคดีอะไร มันเป็นคดีการเมือง รู้สึกแย่มากจริงๆ มันเจ็บด้วย แล้วเจ้าหน้าที่ก็พูดจากับเราไม่ดี" "ตอนนี้ได้มารวมกลุ่มกับคนอื่นๆ แล้ว ปกติถ้าเข้าแดนแรกรับใหม่ๆ เขาจะกันไม่ให้คุยกับใครเดือนนึง แต่นี่โดนไปสามเดือน ต้องไปนั่งเฉยๆ ใต้ตึกที่ทำการ จะไปห้องน้ำต้องขออนุญาต""คนในนี้นี่ยิ่งกว่าละครน้ำเน่าหลังข่าว เขาเป็นคนหาเรื่องพี่ พอเถียงกัน เจ้าหน้าที่มา เขาก็บีบน้ำตา บอกเราไปเตะขาเขา ทั้งที่เขาเอาขามาขวางไม่ให้เราไปห้องน้ำ เราก็พยามยามก้าวข้ามขาเขาไป แต่มันก็ไม่พ้น โดนขาเขาหน่อยนึง แล้วกลายเป็นเราหาเรื่องเขา โดนลงโทษ" "มันไม่เมกเซ้นส์เลย ให้กินข้าวในขัน มีสองขันแยกเป็นขันเข้าห้องน้ำกับขันข้าว เมื่อสามปีที่แล้วเขาอนุญาตให้เอาทัฟเปอร์แวร์มาขายได้ แต่ยกเลิกไป บอกนักโทษอาจเอามาใช้เป็นอาวุธ ถามว่าเขาจะเอาทัฟเปอร์แวร์มาฟาดหัวกันเหรอ"0000เว็บบอร์ดต่างๆ  สมควรแล้ว ยังน้อยไป: น่าจะโยกไปขังคุกชาย เอาให้หาย ทอม ปากเหม็นดีนัก หน้าตาอย่างนังดาผู้ชายยังกลัวเลย  หน้าขยักแขยงอย่างนี้ สมควรกับความชั่วของมันแล้ว  บังอาจไปช่วยนายเหลี่ยมพูดจาลบหลู่สิ่งที่คนไทยเทิดทูลอย่างนั้น เลวมากนังดา...Notthat_likethat : รู้สึกเหมือนมีคนบอกว่า คนเรามีสิทธิเชิดหน้าลืมตาอ้าปากและแสดงความเห็นได้ แต่คนที่บอกเราอย่างนั้นกลับเอามืออุดปากและกดหัวเราไว้ หึๆๆๆ ได้เท่านี้หรอ หึๆๆๆ คงเพียงเท่านี้ แด่ประชาธิปไตยที่ไม่เคยมีอยู่จริง ฟ้าประทาน : ถ้าเป็นกม.ในสมัยก่อนป่านนี้โดนตัดหัวเสียบประจานไปแล้ว นี่ยังดีแค่ติดคุก ก็พูดจาซะขนาดนั้น ไม่มีใครยอมรับได้หรอก คนไทยทั้งชาติเขารับไม่ได้ พูดจาให้ร้ายสถาบัน มันสมควรแล้วหรือ ทำไมถึงคิดถึงพูดได้ขนาดนั้น เสียดายที่อุตส่าห์เคยเป็นนักนสพ. แต่อะไรทำให้กล้าทำผิดได้ขนาดนั้น ก็ต้องก้มหน้ารับกรรมกับสิ่งที่ตนทำไว้มันก็ถูกแล้ว Kamikaze : ทำผิดก็ต้องรับผิด ครับ เพราะอยู่ภายใต้กฎหมายไทยผมเห็นด้วยกับความเห็นนี้ครับ นี่เป็นตรรกะที่ง่ายมากๆ พูดไปโดยไม่รู้จักเซฟตัวเอง ก็ต้องรับผิดชอบในคำพูดนั้นครับ ต่อให้ไม่มี 112 แล้วเกิดเจ้าเค้าเอาเรื่องขึ้นมาก็โดนข้อหาหมิ่นประมาทอยู่ดี อย่ามาอ้างว่าประชาธิปไตยเลย ไม่มีที่ใดที่จะประชาธิปไตยได้ "จริงๆ" หรอก    ไร้ความยุติธรรม : ไม่หน้าเชื่อว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยฆาตกรฆ่าคนตายหลายศพได้รับการประกันตัวแต่ดา ตอปิดโด ขึ้นไปวิจาร์ณ ไฮปาร์คที่สนามหลวงโดนติดคุกแบบไม่ให้ประกันตัวครั้งแล้วครั้งเล่า ระหว่างคนฆ่าคนตายกับด่าคนอื่นท่านว่าอะไรรุนแรงกว่ากัน นี่มันยิ่งกว่าอยุติธรรมเสียอีกนี่มันต้องเรียกว่าไม่มีมาตราฐานเลยแม้แต่นิดเดียว แล้วทำไมคดีเดียวกัน แป็ะลิ้มไม่เห็นโดนแบบนี้บ้างทั้งๆที่เจ้านี่ก็เอาคำพูดของเจ้ดาไปพูดเหมือนกัน แล้วสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่พวกเราเคารพบูชาหายไปไหนหมด ไม่รู้จะไปกราบไหว้ใครได้ที่ไหนแล้วตอนนี้ล้วนเป็นสิ่งจอมปลอม หลอกลวงทั้งสิ้น ต้องขอให้องค์กรจากต่างประเทศเข้ามาตรวจสอบเพราะระบบความยุติธรรมในไทยถอยหลังไปสู่ยุคโบราณเป็นร้อยๆปี Sazzi : เพื่อนศศิไม่ได้เป็น พธม. แต่เพื่อนศศิบอกว่า หากมีโอกาสได้เจอไอ้-อีที่จาบจ้วงสถาบันเมื่อไหร่จะไม่ยอมเสียโอกาสที่จะเหยียบปากไอ้-อี พวกนั้นเลย ต้องบอกอีกหน่อยว่า ปกติเพื่อนศศิสุภาพค่ะ 5555 ;) กลิ่นธูป-**: เหมือนยุคกลางเลย ใครเป็นฝ่ายตรงข้ามก็ส่งเข้าคุกข้อหา "นอกรีต"เมื่อเข้าคุกไปก็ถูกทรมานแสนสาหัส ชุดนักโทษยังให้สวมชุดนักโทษคดีอุกฉกรรจ์นี่หรือบ้านเมืองที่อวดอ้าง คุณธรรม เมตตาธรรม แต่ยามใดที่มีคนคิดต่างออกมาพูดบางสิ่งที่ส่งผลกระทบ(ทั้งที่จะเป็นจริงหรือเป็นเท็จ) แทนที่จะใช้วิธีชี้แจงแก้ต่าง กลับเลือกใช้กฏหมายรุนแรงจัดการ เป็นการ...ปิดปาก  ddd: ถ้าการออกมานอกบ้าน ไปยืนบนเวทีแล้วด่าคนอื่น คุกคามคนอื่น อาฆาต แบบที่ดา ทำ แล้วมีคนยกย่อง (ในนี้)ว่าเป็นการกระทำของวีรสตรี ผมว่า ต้องกลับมามองตัวเองกันเสียบ้าง ว่าทำไมถึงชื่นชอบคนแบบดาสาวกประชาไท ทั้งหลาย ควรคิดว่า การพูดถึงบุคคลอื่น แบบที่ดาพูดนั้น ไม่ว่าจะกล่าวถึงสถาบัน หรือ คนทั่วไป ก็ควรได้รับโทษในข้อหาหมิ่น ฯ เหมือนกันดีใจที่ศาลไม่ให้ประกัน เพราะ ออกมาเธอก็อาจจะทำเหมือนที่เธอทำมาตลอดแน่ ๆ อยู่ในนั้นน่าจะดีกว่า นะ คุณ ดาสองมาตรฐาน : กฎหมายหมิ่นประมาทของไทย มีสองมาตรฐาน1.สำหรับคนทั่วไป ถ้าคุณพูดเรื่องจริงและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมคุณไม่ต้องรับโทษ เช่นพูดว่า ทักษิณอมเพชรซาอุ ทำให้แรงงานไทย ไปซาอุไม่ได้2.สำหรับ ในหลวง ราชินี รัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แม้คุณจะพูดเรื่องจริงและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม คุณก็ต้องติดคุก ติดหลายปีซะด้วยเห็นหรือยังครับว่า กฎหมายหมิ่นประมาทของไทย มีสองมาตรฐาน เศรษฐกิจพอเพียง : ติดคุก ตายๆๆ ไปซะให้หมด ไอพวกเหื้ยเรื่องเยอะแยะมีให้พูด เสือกไม่พูดกัน เอาเรื่องที่คนไทยส่วนมากเค้านับถือ เทิดทูน มากล่าวร้ายพ่อแม่มีง ก้อคงมีนิสัย แบบพวกมีง จับมันแล้ว ต้องจับพ่อแม่ โครตเหง้า มันมาประหารด้วย0000ห้องพิจารณาคดี 713 ศาลอาญา รัชดาผู้พิพากษาสองคนเดินมานั่งบนบัลลังก์ เบื้องหลังบัลลังก์เป็นผนังไม้อย่างดีสีน้ำตาลเข้ม ทำให้ทั้งห้องดูเคร่งขรึมน่าเกรงขาม สูงขึ้นไปบนผนังติดพระบรมฉายาลักษณ์ในกรอบสีทองเหลืองอร่ามทุกคนลุกขึ้นยืนทำความเคารพ มีญาติผู้ต้องขังสองสามคน อัยการ ทนายความ เจ้าหน้าที่ผู้คุมตัวผู้ต้องขัง รวมถึงผู้ต้องขังหญิงในชุดนักโทษอุฉกรรจ์สีน้ำตาลขลิปปลายแขนแดง ในสภาพผ่ายผอมลงไปถนัดตา ดวงตาลึกคล้ำ เท้าที่เปลือยเปล่า แลดูด้าน สกปรก ยืนไหล่ห่อ ทิ้งมือสองข้างแนบลำตัวอย่างไร้เรี่ยวแรง เงยหน้าเล็กน้อยเพื่อแหงนมองไปยังบัลลังก์ที่อยู่สูงขึ้นไป .... ใครบางคนที่ไม่เคยรู้จักเธอมาก่อน กำลังยืนร้องไห้โดยไร้เสียงสะอื้นอยู่หลังห้อง  ขอขอบคุณประเวศ ประภานุกูล ทนายความของดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ผู้ถ่ายทอดคำพูดและเรื่องราวของลูกความ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่ให้ข้อมูล
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง ผู้เขียน : ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ประเภท : วรรณกรรมวิจารณ์ พิมพ์ครั้งแรก พฤษภาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ การตีความนัยยะศัพท์แสงทางวรรณกรรมจะว่าเป็นศิลปะแห่งการเข้าข้างตัวเอง ก็ถูกส่วนหนึ่ง ความนี้น่าจะเชื่อมโยงกับเรื่อง “รสนิยมส่วนตัว” หรือ อัตวิสัย หากมองในแง่ดี เราจะถือเป็นบ่อเกิดของกระบวนการสร้างสรรค์ได้ด้วย มิใช่หรือ
สวนหนังสือ
นายยืนยงเมื่อการอ่านประวัติศาสตร์ อันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตนั้น ฉันว่าควรมีการเขียนหนังสือแนะนำ (How to) เป็นขั้นเป็นตอนเลยจะดีกว่าไหม เพราะมันนอกจากจะปวดเศียรเวียนเกล้ากับผู้แต่งแต่ละท่านแล้ว (ผู้แต่งบางท่านก็ชี้ชัดลงไปเลย เจตนาจะเข้าข้างฝ่ายไหน แต่บางท่านเน้นวิเคราะห์วิจารณ์ โดยที่หากผู้อ่านมีความรู้เชิงประวัติศาสตร์น้อยกว่าหางอึ่งอย่างฉัน ต้องกลับไปลงทะเบียนเรียนวิชานี้อีกหลายเล่ม) ยังทำให้ใช้เวลาอย่างมหาศาลไปกับหนังสือที่เกี่ยวเนื่องกันอีกหลายเล่ม ไม่เป็นไร ๆ เราไม่ได้อ่านเพื่อพิพากษาใครเป็นถูกเป็นผิดมิใช่หรือ อ่านเพื่อได้อ่าน แบบกำปั้นทุบดินก็ไม่เสียหายอะไรนี่นา บางทีการอ่านแบบนี้ทำให้เรามองเห็นหน้าตาตัวเองชัดขึ้น อาจจะเกือบ ๆ ทำความเข้าใจตัวเองได้ด้วยซ้ำ ว่าไอ้ที่เราถือข้างนี้ ถือข้างโน้น มันก่อกำเนิดมาจากอะไร หรือใคร เอาล่ะ ขอนำส่วนหนึ่งที่กล่าวถึงทัศนะอันเกี่ยวกับ ปี 2475 แห่งสยามประเทศ ซึ่งคัดมาจากหนังสือ 2475 การปฏิวัติสยาม (1932 Revolution in Siam) ชาญวิทย์ เกษตรศิริ จัดพิมพ์โดย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ที่มีอนุทินในหน้าปกด้านในว่า
เด็กใหม่ในเมือง
ผมขอเริ่มต้นบทความชิ้นนี้ ด้วยการย้อนระลึกถึงเมื่อครั้งที่ผมยังเป็นเด็กนักเรียนประถม ในยุคที่สถานีโทรทัศน์ทุกแห่งในประเทศไทยยังไม่มีการออกอากาศช่วงกลางวันในวันธรรมดา และยังไม่มีเคเบิลทีวีให้บริการอย่างเอิกเกริกแบบตอนนี้ ในยุคที่คอมพิวเตอร์ยังเป็นสิ่งอภิมหาแพงเกินกว่าที่ทุกครัวเรือนจะมี หรือถึงบ้านไหนจะมี เทคโนโลยีในยุคนั้นก็ยังไม่เอื้อให้คอมพิวเตอร์เป็นศูนย์รวมความบันเทิงแบบทุกวันนี้ ความบันเทิงในยุคนั้นของผม นอกจากรายการทีวีวันเสาร์ - อาทิตย์แล้ว บรรดาวีดิโอจากร้านเช่าก็เป็นความบันเทิงราคาถูกที่พอจะมีกันได้ ซึ่งวีดิโอที่เรามักจะเลือกเช่า ก็หนีไม่พ้นการ์ตูนและหนังต่างๆ
สวนหนังสือ
  นายยืนยงชื่อหนังสือ           :           พ.๒๗ สายลับพระปกเกล้าฯ ผู้เขียน               :           อ.ก. ร่งแสง (โพยม โรจนวิภาต)ประเภท              :           สารคดีประวัติศาสตร์          พิมพ์ครั้งที่ 2  พ.ศ. 2547จัดพิมพ์โดย        :           สำนักพิมพ์ วสี ครีเอชั่น เป็นความบังเอิญทีเดียวที่ทำให้ฉันสนใจหนังสือเล่มหนึ่ง ค่อนข้างหนาขนาดที่นอนอ่านจะทุลักทุเลน่าดูชม ยิ่งถ้าเผลอหลับอาจต้องศัลยกรรมดั้งจมูกโดยด่วน หนังสือนั้นจะว่าเป็นนิยายก็ใช่ เพราะผู้แต่งเขียนอย่างมีลีลาวรรณศิลป์ สำนวนภาษาเข้าขั้นปรมาจารย์ก็ว่าได้ หากจะว่าเป็นสารคดีเชิงประวัติศาสตร์ก็ไม่ผิดอีก เนื่องจากตัวละครและเหตุการณ์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง มีตัวตนอยู่จริงในสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นคณาธิปไตย เอ้ย ประทานโทษ ประชาธิปไตย ต่างหาก