สื่อ

The girl from the coast นวนิยายต่อต้านอาณานิคม และกระแสชาตินิยมในอินโดนีเซีย

 

ได้หนังสือเล่มนี้มาเกือบสี่ปีจากร้านขายหนังสือ a different bookstore ในแหล่งช้อปปิ้งชื่ออิสต์วูด เมืองลิบิส ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าหากอยากได้หนังสือแปลของนักเขียนเอเชียก็มาที่นี่ได้ เพราะเป็นแหล่งรวมงานเขียนชาวเอเชีย ประเภทประวัติศาสตร์ การเมือง วัฒนธรรมหาได้ง่ายที่สุดแห่งหนึ่งในมนิลา (หวังว่าร้านหนังสือยังไม่เจ๊งไปเสียก่อน)

สบท.เปิดจัดการอบรม นักข่าวคุ้มครองสิทร์

13 June, 2009 - 17:10 -- cdvkkn

 

 

วันที่ 12-15 มิถุนายน 2552

จัดมีการอบรม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ " นักข่าวคุ้มครองสิทธ์ " เพื้อการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

 

 

กับสายด่วน กบท 1200  และ  ตู้ปณ.272 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพ10400

ความยินดีในการเซนเซอร์ตัวเองของสื่อไทย

ผู้เขียนเคยเข้าพบสัมภาษณ์ผู้บริหารของหนังสือพิมพ์เดอะจาการ์ตาโพสต์ เกี่ยวกับการบริหารงานหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษหนึ่งเดียวในประเทศอินโดนีเซีย ความยากลำบากต่อการอยู่รอด การบริหารงานข่าว ฯลฯ เมื่อห้าปีที่แล้ว จึงขอนำตอนหนึ่งที่น่าสนใจในการพูดคุยกันมาเล่า ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์จาการ์ตา โพสต์ต้องการให้โครงสร้างของบริษัทหรือธุรกิจหนังสือพิมพ์ไม่เป็นที่ผูกขาด หากเป็นของตระกูลใดตระกูลหนึ่ง แน่นอนว่า หนังสือพิมพ์อาจเอนเอียงไปทางใดทางหนึ่งได้ ด้วยวิธีการหลากหลายตั้งแต่การล้อบบี้ การซื้อตัว (เจ้าของสื่อ) การขู่เข็ญ คุกคาม จากบรรดาอำนาจมืดทั้งหลายทั้งปวง

ประชาไท..ไม่มี ย.ยักษ์

สวัสดีค่ะ (*_*)

ถือฤกษ์รัฐบาลประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงมาทักทายทุกท่าน พร้อมกับยกป้ายคำเตือนตัวโตๆสีดำ    
 

"ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" 

ออกไปด้วยแล้ว คงช่วยลดความรำคาญใจของผู้อ่านและเพื่อนสมาชิกเว็บบอร์ดลงไปบ้าง

 

นับย้อนหลังไปเกือบห้าปี..

หลายคนคงไม่รู้ว่ากว่าจะมาเป็น 'ประชาไท' ในโลกของสื่อใหม่ (์New Media) กรรมการและทีมงานถกเถียงกันอยู่นานว่าจะตั้งชื่อ 'สื่อใหม่' ที่หวังให้เป็นสื่อทางเลือกว่าอะไรดี

จอน อึ๊งภากรณ์ ผู้ก่อตั้งคนสำคัญนำเสนอชื่อ 'ประชาไท' ขึ้นมา ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของทีมงานส่วนใหญ่ เหตุผลที่ขัดแย้งก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าความรู้สึกว่า "มันเชย" แต่ในที่สุดเมื่อไม่มีใครเสนอตัวเลือกใหม่ที่ดีกว่า และเชยน้อยกว่านี้ได้ ประกอบกับเวลาที่สื่อใหม่จะต้องปรากฎโฉมในไซเบอร์เวิรล์ด ก็ไล่หลังมาชนิดหายใจรดต้นคอ

แล้วความ 'เชย' ก็ชนะ และระบาดเรื่อยเปื่อยมาจนถึงหน้าตาของเว็บ (อาจรวมไปถึงหน้าตาทีมงานด้วยก็เป็นได้ :P)

"ประชาไท ไม่มี ย.ยักษ์" เป็นถ้อยคำติดปากทีมงานที่ต้องคอยพร่ำและย้ำกับคนที่ไปพบปะติดต่อ  จนถึงบัดนี้ก็ยังมี 'ประชาไท' ให้เห็นอยู่เนืองๆ

สำคัญอย่างไรที่ประชาไทต้องไม่มี ย.ยักษ์

ต้องยืนยันว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะความตั้งใจในการสื่อความหมายระหว่าง 'ไท' และ 'ไทย' นั้่นเป็นคนละเรื่องเดียวกันโดยสิ้นเชิง ขณะที่คำว่า 'ไท' ให้นัยยะแห่งการสื่อความถึง 'อิสระ, ความเป็นอิสระ' คำว่า 'ไทย' ก็เป็นคำเรียกขาน 'คน และ ประเทศ แห่งหนึ่งในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้' อันมีความพยายามอย่างยิ่งยวดในการสร้างส่วนต่อขยายความที่คุ้นหูกันในนามของ 'ความเป็นไทย'

บ่อยครั้งที่ได้พบว่า 'ความเป็นไทย' ที่ี่ยังอยู่ในระหว่างการถกเถียงหาความหมายอันแท้จริงชัดเจนนั้น กลับถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแบ่งแยก กีดกัน ผลักไสหยิบยื่นความเป็นอื่น หรือความด้อยกว่าไปให้กับคนบางกลุ่มที่วันดีคืนดีอาจไ้ด้พบกับประสบการณ์ ถูกไม้บรรทัด(อันไม่เที่ยง) ไล่ล่าวัดเพื่อบอกว่า "เรามีความเป็นไทยมากน้อยเพียงใด หรือซ้ำร้ายไปกว่านั้นอาจได้โบนัสด้วยข้อหา ทำลายความเป็นไทย"

การใช้ 'ความเป็นไทย' ในลักษณะนี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งของการทำลายและสร้างข้อจำกัดต่อความเป็น'ไท' หรือนัยหนึ่งก็คือทำลายความอิสระให้กร่อนลงไป

โดยส่วนตัวไม่ได้ตั้งแง่กับ 'ความเป็นไทย' นัก หากเจ้าความเป็นไทยที่ว่านี้ ไม่ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการแอบอ้างเพื่อทำลายล้างความเป็นอิสระที่มนุษย์ทุกคนควรมีเป็นต้นทุนในชีวิต

เมื่อความเป็นอิสระคือหัวใจสำคัญที่จะสูบฉีดให้เป็นดุจอณูหนึ่งในมนุษย์ทุกผู้นาม โดยไม่เลือกชาติ ชั้น วรรณะ หรือเพศใด ๆ ยังเป็นองค์ประกอบอันขาดไม่ได้ของสื่อสารมวลชนที่จะนำเสนอสาระ ข่าวสาร และทัศนะต่าง ๆ ได้โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลแห่งความกลัว ความรัก หรือ ความชัง

สำหรับประชาไทเกือบห้าปีที่ผ่านมา เราอาจทำหน้าที่บกพร่องไปในหลายสิ่ง ทั้งด้วยข้อจำกัดทางประสบการณ์ สติปัญญา ความสามารถ, ทุนและบุคคลากรที่มีอยู่จำกัด

แต่สิ่งหนึ่งที่มั่นใจได้ว่าเราไม่เคยมีน้อยไป และไม่เคยถูกทำให้มีน้อยลง คือความเป็นอิสระ

สื่ออิสระอย่างประชาไท มีฝันเล็ก ๆ ที่เรากำลังเรียนรู้ในระหว่างทาง ในการเป็นส่วนหนึ่งของหน่ออ่อนแห่งต้นอิสรภาพที่จะได้งอกงาม แม้เพียงแปลงเล็ก ๆ ในสังคมไทยก็ยังดี

จึงสำคัญเช่นนี้เองที่..ประชาไท ต้อง ไม่มี ย.ยักษ์  :-)

 

 

ความรักของนักข่าว


หลบเรื่องร้อนทางการเมือง ที่ทำให้หัวใจรุ่มร้อน สับสนอลหม่าน วันนี้เลยเปลือยหัวใจ แบบไร้สี เขียนเรื่องความรักของเพื่อนนักข่าวดีกว่า เป็นความรักข้ามพรมแดนและข้ามศาสนาในดินแดนสวรรค์ "บาหลี" อินโดนีเซีย 

การเซนเซอร์ตัวเองและวัฒนธรรมความกลัว

เด็กสาวแนะนำตนเองว่าเป็นนักศึกษาฝึกงานกำลังเรียนอยู่คณะนิเทศศาสตร์วิชาเอกหนังสือพิมพ์ จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เธอมักจะหาโอกาสฝึกงานทุกครั้งที่มหาวิทยาลัยปิดภาคเรียน เพื่อทดลองสนามจริงแทนที่จะเรียนแต่ในห้องเรียนเท่านั้น ผู้เขียนเห็นวิญญาณของความเป็นสื่อของเธอแล้ว เธอน่าจะเป็นสื่อมวลชนคุณภาพดาวเด่นดวงหนึ่งในแวดวงสื่อสารมวลชน หากเธอไม่ติดกรอบและถูกครอบงำจากความกลัวบางอย่างที่เธอเองก็มองไม่เห็นในโครงสร้างของสังคมไทย

การลงทุนในงานข่าวของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในอินโดนีเซีย

ในบ้านเราเรียกหนังสือพิมพ์ออกเป็น 2 ชนิด หนึ่ง คือหนังสือพิมพ์กระแสหลัก สอง หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น หนังสือพิมพ์กระแสหลักก็หมายถึงหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่เช่น เดลินิวส์ ไทยรัฐ มติชน ฯลฯ ซึ่งจัดพิมพ์อยู่ในกรุงเทพฯ และส่งออกไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย นำเสนอข่าวในประเทศและข่าวรอบโลก พิมพ์จำหน่ายเป็นรายวัน ส่วนหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นคือ หนังสือพิมพ์ทิ่ผลิตขึ้นในต่างจังหวัด ขายในจังหวัดนั้นๆ ส่วนใหญ่เป็นหนังสือพิมพ์แทปลอยด์ ข่าวส่วนใหญ่นำเสนอข่าวในท้องถิ่น พิมพ์ไม่กี่ฉบับและไม่เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน อย่างมากก็รายสัปดาห์ หรือรายเดือน ฉะนั้นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ในไทย ผู้บริโภคจึงจำกัดการรับรู้อยู่ที่หนังสือพิมพ์กระแสหลักไม่กี่ฉบับ

(เก็บตก) อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ ที่ไม่ควรรับผิดชอบ

 

เช้าตรู่วันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนตื่นขึ้นด้วยเสียงโทรศัพท์ของพี่สาวที่โทรหาด้วยน้ำเสียงห่วงใย กลัวว่าจะอยู่ในที่เกิดเหตุ เนื่องจากเธอยังไม่ได้ออกเวรจากการดูแลคนไข้กะกลางคืน จึงได้เห็นข่าวเช้าของการปราบปรามประชาชนที่หน้ารัฐสภาก่อนที่จะรีบโทรมา คาดว่าด้วยวิสัยของผู้เขียนมักจะร่วมในเหตุการณ์ประท้วงอยู่บ่อยครั้ง ครั้งนี้เธอคาดผิด แต่กลับเป็นความดีใจของเธอที่น้องสาวไม่ได้อยู่ที่นั่น แต่เป็นความกังวลสำหรับผู้เขียนแทนเพราะพี่สาวคนที่สองของบ้านกลับเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ประท้วงและติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรตั้งแต่การชุมนุมครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้น แต่โชคดีที่เธอปักหลักอยู่ที่ทำเนียบในวันนั้น แม้เราสองคนจะคิดต่างขั้วกันอยู่เสมอ แต่ก็ไม่เคยเห็นด้วยกับการกระทำความรุนแรงของผู้มีอำนาจต่อกลุ่มประชาชนรากหญ้าที่ปราศจากอาวุธทุกกลุ่ม ทุกกรณี

Homosexual ในอินโดนีเซีย

นักผจญภัยคนหนึ่งซึ่งเลือกนั่งเรือล่องทะเลผ่านประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักข่าวเทมโปสัมภาษณ์เขาเมื่อเดินทางมาถึงอินโดนีเซียเพื่อนำเรื่องราวของเขาลงในนิตยสารเทมโป

หนึ่งในคำถามนั้นให้เขาแสดงความคิดเห็นกับประเทศที่เขาล่องเรือผ่าน ซึ่งมีไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เขาตอบสิ่งที่ดีที่สุดในแต่ละประเทศ ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด แต่ประเทศที่เขาบอกว่าอยู่แล้วสบายใจที่สุดคือ ประเทศอินโดนีเซีย เพราะเป็นประเทศเสรี ผู้คนเป็นมิตร และให้พื้นที่กับคนต่างถิ่นมากกว่าประเทศอื่นๆ ที่เขาผ่านมา

ออกจะเห็นด้วยกับนักผจญภัย ....ซึ่งอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุด ไม่ต่างจากประเทศมาเลเซีย แต่สิ่งที่สังคมพยายามตอบรับ (ทั้งที่เป็นมุสลิมเหมือนกัน) สร้างความประหลาดใจไม่น้อย

Pages

Subscribe to สื่อ