Skip to main content
ชื่อเรียก
ปฏิรูปที่ดิน
 ทดสอบ  
ชื่อเรียก
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ครั้งก่อนพูดถึง Tempo ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า สังคมอินโดนีเซียเป็นสังคม แห่งการเรียนรู้ และลึกซึ้งทางด้านภูมิปัญญา ไม่ง่ายนักที่ในเมืองหลวงแห่งหนึ่งจะมีองค์กรสื่อที่สามารถสร้างสื่อกระแสหลัก และสื่อทางเลือก แสดงจุดยืนของตนเองมานานนับยี่สิบปี และคาดว่าจะเจริญก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ ทั้งตัวองค์กรและตัวความคิด ไม่ใช่สื่อประเภท ม้าตีนต้น ที่เปิดตัวแบบผู้มีอุดมการณ์ทางความคิด ก้าวล้ำนำสังคม แต่เมื่อหนังสือพิมพ์เริ่มดัง หรือรายการดังติดลมบน ความคิดก็เบี่ยงเบนไปทางรักษาพื้นที่ทางเศรษฐกิจมากกว่า การรักษาจุดยืนทางความคิด ผิดกับสังคมอินโดนีเซียที่สื่อของพวกเขาแสดงจุดยืนอย่างมั่นคง สื่อตลาดก็ว่าไปตามเนื้อผ้า แต่ถ้าฉันเป็นสื่อที่เน้นความคิดแนวหนึ่งที่ควรมีที่อยู่ที่ยืนในสังคม ก็จะดำรงจุดยืนของตน ไม่แกว่งไกว
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ครั้งก่อนกล่าวถึง Tempo ซึ่งเป็นนิตยสารประเทืองปัญญาของสังคมอิเหนา ที่ชาวอิเหนา (ภาคประชาชนและปัญญาชน) ภาคภูมิใจยิ่งที่ในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์มี Tempo หากจะเปรียบว่าสังคมมะกันมี Time อิเหนาก็มี Tempo และ Tempo ไม่ใช่นิตยสารรายสัปดาห์ที่เอาข่าวของรายวันมายำ แล้วใส่ความคิดเห็นลงไปอีกหน่อยเพิ่มเหมือนสื่อสิ่งพิมพ์รายสัปดาห์โดยทั่วไปทำกันเท่านั้น แต่นักข่าวของ Tempo มีเวลาในการทำข่าว เจาะข่าวมากพอสมคาร และมีประเด็นข่าวเป็นตัวของตัวเอง เพราะฉะนั้นข่าวเจาะลึกของ Tempo จึงมีลักษณะเฉพาะตัว นอกจากประเด็นเชิงเผ็ดร้อนในเชิงการเมืองแล้ว Tempo ยังมีสารคดีเชิงวัฒนธรรม และบันเทิงในแง่มุมวรรณกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ และศิลปะ ที่สอดคล้องไปกันกับเนื้อหาทั้งหมดของหนังสือ
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ช่วงที่ผู้เขียนอยู่อินโดนีเซีย ต้องพึ่งข่าวสารและสมัครเป็นสมาชิกหนังสือพิมพ์และนิตยสารภาษาอังกฤษสองฉบับคือ the Jakarta Post และ Tempo เพื่อเข้าใจ (ผ่านสื่อ) ต่อสังคมอินโดนีเซียน ซึ่งช่วยได้ในภาพรวม ไม่ได้ทำให้ผู้เขียนตกกระแสสังคมอินโดนีเซียเกินไป  ผู้เขียนได้เคยเอ่ยถึงและนำคำสัมภาษณ์ผู้จัดการในเครือจาการ์ตา โพสต์ลงในคอลัมไปบ้างแล้ว ครั้งนี้จะขอเอ่ยถึงองค์กรสื่อหนึ่งที่ทรงอิทธิพลมากแห่งหนึ่งของอินโดนีเซีย และได้ชื่อว่าเป็นสื่อกระแสหลักแต่เป็นทางเลือกหนึ่งของภาคประชาชนแดนตากาล็อค Tempo (หรือหมายถึง Time) มีสองภาคภาษาคือ ภาคภาษาอินโดนีเซียและภาคภาษาอังกฤษ จำนวนพิมพ์ของภาคภาษาอังกฤษกว่าสองหมื่นเล่มในแต่ละสัปดาห์ ไม่นับภาคภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งแน่นอนว่า เจ้าของภาษาย่อมมีข่าวเข้มข้นกว่า การเลือกภาคภาษาอังกฤษคือ เลือกสรรข่าวสารสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าเป็นชาวต่างชาติและชนชั้นกลาง (ชนชั้นปัญญาชน) บางกลุ่ม
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ประชาชนของเขาผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างยาวนานตั้งแต่ ในยุคอาณานิคมก็ถูกกดขี่จากอาณานิคม สเปน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เสร็จจากยุคอาณานิคมก็มาเจอยุคเผด็จการเบ็ดเสร็จภายใต้รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินัน มาร์กอสผู้ล่วงลับ จากยุคเผด็จการดันมาเจอยุคประชาธิปไตยลวงและการคอรัปชั่นอย่างหนักหน่วงในรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดา และเพิ่งจะมีเหตุการณ์ประท้วงไปหมาดๆ เพื่อขับไล่ประธานาธิบดีอาร์โรโย ที่แปดเปื้อนด้วยการคอรัปชั่น ประชาชนชาวฟิลิปปินส์จึงมีประวัติศาสตร์การต่อสู้กับอำนาจที่ไม่เป็นธรรมมาโดยตลอด เรียกได้ว่าขบวนการประชาชนของฟิลิปปินส์เข้มแข็งอย่างมากเป็นแบบอย่างการต่อสู้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านได้เรียนรู้มากทีเดียว  และเคียงคู่กันมากับขบวนการประชาชนเพื่อต่อสู้เรียกร้องเอกราช และความเป็นธรรมในประวัติศาสตร์นั้นฟิลิปปินส์ไม่เคยขาดสื่อข้างประชาชนในแต่ละยุคสมัย
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิเจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด