แค่ตั้งชื่อก็สะดุ้งเอง แต่แน่ใจว่าต้องใช้ชื่อนี้ เพราะเหตุเกิดที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี ค.ศ. 1946 ค่ะ
เป็นกลุ่มทหารปฏิวัติหรือกลุ่มกบฎ นำโดย Gusti Ngurah Rai นายทหารผู้ก่อตั้ง กองทัพปลดปล่อยอิสรภาพจากการรุกรานของประเทศอาณานิคมดัทช์ และญี่ปุ่น เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นถอนทัพออกจากบาหลี ก็เป็นโอกาสให้ดัทช์ เจ้าอาณานิคมเก่าเข้ามาครอบครองบาหลีอีกครั้ง โดยครั้งนี้ต้องการรวมบาหลีเข้ากับอินโดนีเซีย ทหารและประชาชนชาวบาหลี ซึ่งมาจากทั่วทั้งเกาะบาหลี จึงพร้อมใจกันเข้าต่อสู้กับกองทัพดัทช์ ผู้ซึ่งมีกองกำลังพร้อมอาวุธทันสมัย แต่ทหารบาหลีมีเพียงอาวุธของชาวญี่ปุ่น และไม้ไผ่อาบยาพิษเข้าต่อสู้ เพื่อปกป้องอธิปไตยของตนเอง และสละชีพเพื่ออิสรภาพในวันนั้น 20 พฤศจิกายน 1946 วันเดียวถึง 1,372 ราย พร้อมแม่ทัพ Ngurah Rai ในวัยเพียง 29 ปี
การต่อสู้ครั้งนั้นเรียกว่า Puputan หรือ “สู้จนตัวตาย” หรือสู้ตายถวายชีวิต และท้ายที่สุดเป็นกองทัพต่อต้านอาณานิคมสุดท้ายของบาหลี แม้ว่าครั้งนั้นชัยชนะเป็นของเจ้าอาณานิคม จากนั้นบาหลีถูกรวมเป็นหนึ่งเดียวกับอินโดนีเซียโดยดัทช์ แต่ชาวบาหลีมิเคยลืมเลือน “การพลีชีพ” เพื่ออธิปไตยและประชาชนของ “ทหาร” ที่ทำเพื่อประชาชนในครั้งนั้น
อนุสรณ์สถานและรายชื่อของผู้กล้า จดจารึกไว้บนแผ่นหินอ่อน ที่หมู่บ้าน Magarana, Bali. อันเป็นสถานที่เดียวกันกับที่ต่อสู้กับกองทัพดัทช์ในวันนั้น
ทหารเพื่อประชาชน มีให้เห็นและระลึกถึงเยี่ยงวีรชนเหมือนกัน ที่ บาหลี
รายชื่อผู้กล้าที่พลีชีพรักษาอธิปไตยและเพื่อประชาชนบาหลี จารึกลงบนหินอ่อน 1,327 รายชื่อ ซึ่งเสียชีวิตในวันเดียวกัน 20 พฤศจิกายน 1946
อนุสรณ์สถานจำนวนเท่ากับรายชื่อข้างบน
หลุมฝังศพผู้นำและผู้ก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยอิสรภาพของบาหลี Gusti Ngurah Rai ตั้งอยู่ด้านหน้า อนุสรณ์สถาน เพื่อนชาวบาหลีผู้เอื้ออารีคู่นี้ ขอถ่ายรูปเป็นที่ระลึก เพราะเมื่อรวมกันแล้วชื่อพวกเขาคือ Ngurah Rai, คนขวามือศิลปินผมยาวชูสู้ตาย (ครับ) คือ Ngurah ส่วนหนุ่มหล่อใจดี ทรงผมทันสมัยตลอดกาลคือ Rai เป็นเรื่องบังเอิญที่น่ายินดียิ่ง และผู้เขียนก็ได้นำเรื่องราว ทหารเพื่อประชาชน (ฉบับบาหลี) มาฝาก (เรื่องราวอาจแตกต่างจากทหารในประเทศเพื่อนบ้านเขาเล็กน้อย)