Skip to main content
ขอเปิดพื้นที่แทนเรื่อง "สื่อ" ชั่วคราว เพื่ออุทิศให้กับแรงงานที่ประสบเหตุเสียชีวิตจากการลักลอบขนย้ายแรงงานที่สังเวยต่อการเมืองในประเทศพม่าและกระบวนการค้ามนุษย์ในไทย


อู วิน (นามสมมติ) เคยทำงานเป็นอาสาสมัครขององค์กรคณะกรรมการเพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) เพื่อช่วยเหลือแรงงานพม่าในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิที่จังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่และระนอง โทรมาหาผู้เขียนด้วยน้ำเสียงเศร้าสร้อยในเช้าวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา เขาพูดถึงการเสียชีวิตหมู่ของแรงงานพม่าที่ลักลอบเข้ามาทำงานในเมืองไทย จำนวน 54 ศพ เป็นข่าวเกรียวกราวเมื่อหลายเดือนก่อน ก่อนที่พื้นที่ของข่าวนี้จะหายไปกับสายลมประหนึ่งไม่เคยเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นหลังจากนั้นไม่กี่เดือน.....

อูวิน เคยเป็นเพื่อนร่วมงานกับผู้เขียนและนับถือกันเสมือนญาติผู้ใหญ่คนหนึ่ง อายุอานามเข้าใกล้เลขห้าในไม่อีกกี่ปี จึงนับอาวุโสกันด้วยการเรียกขานเขาว่า "อู" ซึ่งในวัฒนธรรมไทยหมายถึงคำเรียก "ลุง น้า หรือ อา", อูวินรู้สึกเศร้า เสียใจ แต่ไม่ประหลาดใจกับข่าวการเสียชีวิตหมู่ 54 ศพของแรงงานพม่าเหมือนคนไทยทั่วไปที่ได้รับข่าวสารในช่วงแรกและเกิดความรู้สึกหดหู่ ระคนตระหนกตกใจกับเหตุการณ์เลวร้ายครั้งนั้น เนื่องจาก 15 ปีมาแล้วที่อูวินเข้ามาพึ่งพาอาศัยผืนดินไทยทำมาหากิน เขาพูดได้เต็มปากว่าไม่เคยได้ยินได้ฟังว่า ชีวิตแรงงานอพยพชาวพม่าในประเทศไทยดีขึ้นในแง่ของการไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ค่าแรงจากนายจ้าง และตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ โดยความร่วมมือกับพ่อค้าและข้าราชการทุจริต

ชีวิตของแรงงานข้ามชาติชาวพม่าจึงหวานอมขมกลืน ด้านหนึ่งหนีความยากจน และการปกครองที่กดขี่ของรัฐบาลทหารพม่า รวมทั้งยังล้มเหลวในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ การเก็บจัดเก็บภาษีแม้ว่าผลผลิตจะไม่ได้ตามฤดูกาล, กฎการบังคับใช้แรงงานในการสร้างสิ่งสาธารณูปโภคของประเทศ ปัญหาการว่างงาน ค่าแรงต่ำแต่สินค้าราคาแพง ฯลฯ เป็นต้น ในขณะที่อีกด้านหนึ่งต้องเผชิญกับการเป็นแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยที่ผจญกับปัญหาหลายด้าน อาทิ การกดขี่ค่าแรง ถูกโกงค่าแรง ไร้สวัสดิการในการทำงาน ถูกข่มขู่รีดไถจากเจ้าหน้าที่รัฐบางคนที่ทุจริต ตลอดจนตกเป็นเหยื่อในขบวนการค้ามนุษย์

 

กรณีของโศกนาฏกรรม 54 ศพที่เสียชีวิตบนรถบรรทุกห้องเย็นจากการขาดอากาศหายใจเพราะเครื่องปรับอากาศภายในรถไม่ทำงาน กระทั่งเป็นข่าวดังไปทั่วโลก สะท้อนให้เห็นมุมมืดที่ซ่อนลึกอยู่ในสังคมไทย แต่กระแสสังคมส่วนใหญ่กลับยังเฉยชาต่อโศกนาฏกรรมดังกล่าว ซึ่งท้าทายกระบวนการต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประเทศที่เรียกตนเองว่าเป็นอารยประเทศอย่างไทยยิ่ง จะมีกระบวนการใดของรัฐที่หยิบยื่นความยุติธรรมแก่แรงงานเหยื่อผู้ประสบเหตุหรือไม่ ปัจจุบันแรงงานผู้ประสบภัยที่รอดชีวิตได้พยายามต่อสู้ในกระบวนการศาลเพื่อเรียกร้องค่าชดเชย จำนวนเงินแม้จะไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่สูญเสียไป แต่พวกเขาต้องการสื่อสารให้สังคมไทยทราบว่า พวกเขามีตัวตน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการการปฏิบัติต่อพวกเขาเยี่ยงมนุษย์คนหนึ่งจากสังคมไทย

 

แรงงานเสียชีวิต 54 ศพจากการลักลอบขนย้าย (photo:Aljazeera)

 

 

  

เวทีนางงามมิตรภาพไทย-พม่า เวทีเฉพาะหญิงสาวแรงงานพม่าที่ทำงานในจังหวัดระนอง

(ภาพจากเว็บไซต์ระนองดอทคอม)

 

ในขณะที่สังคมไทยเมินเฉยต่อกรณีโศกนาฏกรรม 54 ศพนั้น อีกด้านหนึ่งกลับเปิดพื้นที่ต้อนรับความสวยงามของหญิงสาวแรงงานพม่า ในเวทีประกวดนางงามมิตรภาพไทย-พม่า ซึ่งจัดขึ้นทุกปีติดต่อกันมาเป็นเวลาสามปีแล้วที่อำเภอเมือง จังหวัดระนอง เป็นพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า ในภาคใต้ของไทย เวทีนี้มีหญิงสาวสวยวัยรุ่นแรงงานพม่าเข้ามาประกวดประชันความงามกันล้นหลามไม่แตกต่างจากเวทีประกวดความงามของนางงามไทยนัก นอกจากนี้ยังเป็นวันที่บรรดาแรงงานพม่าทั่วจังหวัดระนองได้ชื่นชมลูกหลานบนเวที ทั้งยังสามารถหาความบันเทิงได้เต็มที่ เพราะเป็นวันที่แรงงานไม่ถูกตำรวจรบกวนหรือข่มขู่ เสมือนเป็นวันพิเศษที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้รับความสำราญอย่างเต็มที่ได้หนึ่งวันในปีนั้น

 

หากเวทีการประกวดนางงามมิตรภาพไทย-พม่า เป็นเวทีของการยอมรับการมีอยู่ของแรงงานพม่า สังคมไทยก็ไม่ควรปฏิเสธการมีอยู่ของกระบวนการค้ามนุษย์ กรณีเช่นโศกนาฏกรรม 54 ศพ ไม่ควรเกิดขึ้นอีกในสังคมไทย และติดตามผู้กระทำผิดมารับโทษ หากเวทีนางงามมิตรภาพไทย-พม่า เป็นพื้นที่มิตรภาพต่อกันจริง ก็ควรตระหนักว่าเรากระทำอะไรอย่างเป็นมิตรต่อพวกเขาบ้าง เราเปิดตาข้างหนึ่งเพื่อรับแต่สิ่งดี แต่กลับปิดตาอีกข้างเพื่อไม่รับรู้การมีอยู่ของความอยุติธรรมต่อแรงงาน หรือไม่

 

 

 

บล็อกของ กอแก้ว วงศ์พันธุ์

กอแก้ว วงศ์พันธุ์
 ได้หนังสือเล่มนี้มาเกือบสี่ปีจากร้านขายหนังสือ a different bookstore ในแหล่งช้อปปิ้งชื่ออิสต์วูด เมืองลิบิส ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าหากอยากได้หนังสือแปลของนักเขียนเอเชียก็มาที่นี่ได้ เพราะเป็นแหล่งรวมงานเขียนชาวเอเชีย ประเภทประวัติศาสตร์ การเมือง วัฒนธรรมหาได้ง่ายที่สุดแห่งหนึ่งในมนิลา (หวังว่าร้านหนังสือยังไม่เจ๊งไปเสียก่อน)
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ผู้เขียนเคยเข้าพบสัมภาษณ์ผู้บริหารของหนังสือพิมพ์เดอะจาการ์ตาโพสต์ เกี่ยวกับการบริหารงานหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษหนึ่งเดียวในประเทศอินโดนีเซีย ความยากลำบากต่อการอยู่รอด การบริหารงานข่าว ฯลฯ เมื่อห้าปีที่แล้ว จึงขอนำตอนหนึ่งที่น่าสนใจในการพูดคุยกันมาเล่า ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์จาการ์ตา โพสต์ต้องการให้โครงสร้างของบริษัทหรือธุรกิจหนังสือพิมพ์ไม่เป็นที่ผูกขาด หากเป็นของตระกูลใดตระกูลหนึ่ง แน่นอนว่า หนังสือพิมพ์อาจเอนเอียงไปทางใดทางหนึ่งได้ ด้วยวิธีการหลากหลายตั้งแต่การล้อบบี้ การซื้อตัว (เจ้าของสื่อ) การขู่เข็ญ คุกคาม จากบรรดาอำนาจมืดทั้งหลายทั้งปวง
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
หลบเรื่องร้อนทางการเมือง ที่ทำให้หัวใจรุ่มร้อน สับสนอลหม่าน วันนี้เลยเปลือยหัวใจ แบบไร้สี เขียนเรื่องความรักของเพื่อนนักข่าวดีกว่า เป็นความรักข้ามพรมแดนและข้ามศาสนาในดินแดนสวรรค์ "บาหลี" อินโดนีเซีย 
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
เด็กสาวแนะนำตนเองว่าเป็นนักศึกษาฝึกงานกำลังเรียนอยู่คณะนิเทศศาสตร์วิชาเอกหนังสือพิมพ์ จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เธอมักจะหาโอกาสฝึกงานทุกครั้งที่มหาวิทยาลัยปิดภาคเรียน เพื่อทดลองสนามจริงแทนที่จะเรียนแต่ในห้องเรียนเท่านั้น ผู้เขียนเห็นวิญญาณของความเป็นสื่อของเธอแล้ว เธอน่าจะเป็นสื่อมวลชนคุณภาพดาวเด่นดวงหนึ่งในแวดวงสื่อสารมวลชน หากเธอไม่ติดกรอบและถูกครอบงำจากความกลัวบางอย่างที่เธอเองก็มองไม่เห็นในโครงสร้างของสังคมไทย
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ในบ้านเราเรียกหนังสือพิมพ์ออกเป็น 2 ชนิด หนึ่ง คือหนังสือพิมพ์กระแสหลัก สอง หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น หนังสือพิมพ์กระแสหลักก็หมายถึงหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่เช่น เดลินิวส์ ไทยรัฐ มติชน ฯลฯ ซึ่งจัดพิมพ์อยู่ในกรุงเทพฯ และส่งออกไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย นำเสนอข่าวในประเทศและข่าวรอบโลก พิมพ์จำหน่ายเป็นรายวัน ส่วนหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นคือ หนังสือพิมพ์ทิ่ผลิตขึ้นในต่างจังหวัด ขายในจังหวัดนั้นๆ ส่วนใหญ่เป็นหนังสือพิมพ์แทปลอยด์ ข่าวส่วนใหญ่นำเสนอข่าวในท้องถิ่น พิมพ์ไม่กี่ฉบับและไม่เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน อย่างมากก็รายสัปดาห์ หรือรายเดือน ฉะนั้นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ในไทย…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
   สิ่งที่ดีที่สุดของปีนี้สำหรับผู้เขียนคือ "การได้รักใครบางคน" ช่วงเวลามหัศจรรย์ที่เกิดเมื่อไม่นานนัก แต่สัมผัสได้ว่า การได้รัก (อีกครั้ง) มันเกิดพลังสร้างสรรค์ อยากทำในสิ่งที่เป็นบวกแก่คนรอบข้าง และเมื่อความอ่อนโยนอบอุ่นส่งตอบกลับมา ยิ่งก่อความอิ่มเอิบในใจและอิ่มเอมในอารมณ์ยิ่งนัก จากซึมๆ เศร้าๆ ก็กระฉับกระเฉงอย่างบอกไม่ถูก ความต้องการสรรหาแต่สิ่งดีให้แก่ความรัก ตื่นตัวตลอดเวลา...ถือว่าการได้รักใครบางคน เป็นของสิ่งที่ดีที่สุดและเป็นของขวัญวันปีใหม่ให้กับตัวเอง
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ข่าวการเสียชีวิตของสมาชิกผู้สนับสนุนของกลุ่มการเมืองสองกลุ่มที่ขัดแย้งกันอยู่ขณะนี้ พวกเขาพลีชีพเพราะความเชื่อ ความศรัทธาของพวกเขา ซึ่งเป็นความเชื่อที่บริสุทธิ์ที่เขาแสดงออกต่อสิ่งที่ศรัทธานั้น แต่ไม่มั่นใจว่า พวกเขาเผชิญความรุนแรงถึงขั้นเลวร้ายเช่นนี้ โดยปราศจากแรงขับของความรุนแรงที่สองฝ่ายก่อให้เกิดขึ้น ท่านผู้นำทั้งหลาย ท่านกำลังใช้ความเชื่อ ความศรัทธาของคนเหล่านี้ เพื่อบรรลุเป้าหมาย เกียรติภูมิของท่านผู้นำ ที่ปูด้วยคราบเลือด น้ำตา ของมวลชน ควรภาคภูมิใจล่ะหรือ??? ความเชื่อ ศรัทธาควรเป็นหนทางเพื่อสันติภาพ หากเมื่อใดถูกนำไปสู่ความรุนแรงแล้วไซร้…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ขอเปิดพื้นที่แทนเรื่อง "สื่อ" ชั่วคราว เพื่ออุทิศให้กับแรงงานที่ประสบเหตุเสียชีวิตจากการลักลอบขนย้ายแรงงานที่สังเวยต่อการเมืองในประเทศพม่าและกระบวนการค้ามนุษย์ในไทย อู วิน (นามสมมติ) เคยทำงานเป็นอาสาสมัครขององค์กรคณะกรรมการเพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) เพื่อช่วยเหลือแรงงานพม่าในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิที่จังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่และระนอง โทรมาหาผู้เขียนด้วยน้ำเสียงเศร้าสร้อยในเช้าวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา เขาพูดถึงการเสียชีวิตหมู่ของแรงงานพม่าที่ลักลอบเข้ามาทำงานในเมืองไทย จำนวน 54 ศพ เป็นข่าวเกรียวกราวเมื่อหลายเดือนก่อน…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
  เช้าตรู่วันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนตื่นขึ้นด้วยเสียงโทรศัพท์ของพี่สาวที่โทรหาด้วยน้ำเสียงห่วงใย กลัวว่าจะอยู่ในที่เกิดเหตุ เนื่องจากเธอยังไม่ได้ออกเวรจากการดูแลคนไข้กะกลางคืน จึงได้เห็นข่าวเช้าของการปราบปรามประชาชนที่หน้ารัฐสภาก่อนที่จะรีบโทรมา คาดว่าด้วยวิสัยของผู้เขียนมักจะร่วมในเหตุการณ์ประท้วงอยู่บ่อยครั้ง ครั้งนี้เธอคาดผิด แต่กลับเป็นความดีใจของเธอที่น้องสาวไม่ได้อยู่ที่นั่น แต่เป็นความกังวลสำหรับผู้เขียนแทนเพราะพี่สาวคนที่สองของบ้านกลับเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ประท้วงและติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรตั้งแต่การชุมนุมครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้น…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
นักผจญภัยคนหนึ่งซึ่งเลือกนั่งเรือล่องทะเลผ่านประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักข่าวเทมโปสัมภาษณ์เขาเมื่อเดินทางมาถึงอินโดนีเซียเพื่อนำเรื่องราวของเขาลงในนิตยสารเทมโป หนึ่งในคำถามนั้นให้เขาแสดงความคิดเห็นกับประเทศที่เขาล่องเรือผ่าน ซึ่งมีไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เขาตอบสิ่งที่ดีที่สุดในแต่ละประเทศ ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด แต่ประเทศที่เขาบอกว่าอยู่แล้วสบายใจที่สุดคือ ประเทศอินโดนีเซีย เพราะเป็นประเทศเสรี ผู้คนเป็นมิตร และให้พื้นที่กับคนต่างถิ่นมากกว่าประเทศอื่นๆ ที่เขาผ่านมา ออกจะเห็นด้วยกับนักผจญภัย ....…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ไทยและอินโดนีเซียในระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยอำนาจที่มีความหมายต่อประเทศ ที่มีมายาวนาน และเรารับทราบไม่กว้างขวางมาก เลยลงภาพให้ชมกัน ในแง่ความหลากหลายของศาสนาและชาติพันธุ์นั้น ประเทศอินโดนีเซียยึดเป็นหลักธรรมนูญของประเทศ อินโดนีเซียได้ชื่อว่ามีวัดไทย จำนวนมากตั้งอยู่ทั่วประเทศ ไม่ต่างจากอเมริกา ความเป็นชาตินิยมแบบอินโดนีเซียจึงแตกต่างอย่างมากจากความเป็นชาตินิยมของไทยค่อนข้างมาก  สัญลักษณ์รูปช้างสร้างเป็นที่ระลึกหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินโดนีเซีย
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
แค่ตั้งชื่อก็สะดุ้งเอง แต่แน่ใจว่าต้องใช้ชื่อนี้ เพราะเหตุเกิดที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี ค.ศ. 1946 ค่ะ เป็นกลุ่มทหารปฏิวัติหรือกลุ่มกบฎ นำโดย Gusti Ngurah Rai นายทหารผู้ก่อตั้ง กองทัพปลดปล่อยอิสรภาพจากการรุกรานของประเทศอาณานิคมดัทช์ และญี่ปุ่น เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นถอนทัพออกจากบาหลี ก็เป็นโอกาสให้ดัทช์ เจ้าอาณานิคมเก่าเข้ามาครอบครองบาหลีอีกครั้ง โดยครั้งนี้ต้องการรวมบาหลีเข้ากับอินโดนีเซีย ทหารและประชาชนชาวบาหลี ซึ่งมาจากทั่วทั้งเกาะบาหลี จึงพร้อมใจกันเข้าต่อสู้กับกองทัพดัทช์ ผู้ซึ่งมีกองกำลังพร้อมอาวุธทันสมัย แต่ทหารบาหลีมีเพียงอาวุธของชาวญี่ปุ่น…