สื่อ

เมื่อ "เคนชิโร่" เล่าเรื่อง "เจ้าตายแล้ว" และการกำเนิดของอะไรต่อมิอะไรในกาลต่อมา (มัง?)

นอกเหนือจากการได้คบพบปะกับเพื่อนที่เป็นมนุษย์จริงๆ ที่เล่นเฟซบุ๊คเป็นแล้วเกิดปฏิสัมพันธ์กันในกาลต่อมา (จีบกัน คบกัน จนถึงขั้นทำให้ท้อง) "เพจอวตาร" ก็ยังถือว่าเป็นเพื่อนยามยากตัวใหม่ที่คอยให้คำปรึกษา หารูปเจ๋งๆ หาวลีเด็ดๆ ให้เราไว้คลายเหงายามอยู่หน้าจอคอม

'เว็บบอร์ด'...แล้ววันนี้ก็มาถึง

จดหมายฉบับนี้ควรจะส่งถึงผู้อ่านประชาไทและเพื่อนสมาชิกเว็บบอร์ดประชาไท หนึ่งเดือนมาแล้ว
แต่ทว่า..ดิฉันเองก็ตกอยู่ในอาการอ้ำอึ้งพูดไม่ออก ไม่รู้จะบอกอะไรได้มากไปกว่า
 
“ขอโทษ”
 

แม่นไหมไม่ทราบ ประจำวันที่ 13-19 มีค 53

อมาวสี  วันที่ 16 มีนาคมค่ะ 


หลายวันมาแล้วที่พี่โด้ต้องพั
กรักษาตัว 

โอกาสเดียว 'ยึด' และ 'ยึดหมด' : ข่าวคดียึดทรัพย์ในสายตานักข่าวเทศ

สื่อต่างประเทศให้ความสนใจกับข่าวการเมืองในไทยกันหนาแน่นตลอดสัปดาห์นี้ ยิ่งใกล้วันศุกร์ วันที่สื่อทั้งหลายเรียกมันว่า judgement day มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งลงข่าวและบทวิเคราะห์กันคึกคักมากขึ้นเท่านั้น ประเด็นของการรายงานของสื่อนอกเน้นหนักไปที่สองเรื่องใหญ่คือ แนวทางของคำพิพากษาที่จะออกมา กับผลสะเทือนทางการเมืองจากการตัดสินหนนี้ ทั้งต่อการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างสองขั้วคือเหลืองกับแดง และผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจไทย

(ที่มาของภาพ: มังกรดำ) ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อาคารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2551 หรือเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ถือเป็นการกลับเมืองไทยครั้งแรกนับตั้งแต่เขาออกจากประเทศไปประชุมที่องค์การสหประชาชาติและเกิดการรัฐประหารโค่นอำนาจเขาเมื่อ 19 กันยายน 2549 ต่อมาวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 เขาเดินทางออกนอกประเทศอีกครั้งโดยไม่กลับมาฟังคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคดีที่ดินรัชดา ล่าสุดในวันที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะอ่านคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาทอีกคดี นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่สื่อทั้งไทยและต่างประเทศให้ความสนใจต่อเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย

ความเต็มพร้อมจากสวนหนังสือ

นายยืนยง 

ถ้าเปรียบสวนหนังสือเหมือนผืนดินแห่งหนึ่งแล้วล่ะก็ ผู้เขียนเองก็ได้แสดงความคิดเห็นต่อหนังสือ จากการอ่านผลงานทางวรรณกรรมของบรรดานักประพันธ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะรูปแบบเรื่องสั้น นวนิยาย หรือกระทั่งกวีนิพนธ์บางเล่ม ข้อเขียนที่มีต่อหนังสือบางเล่มหรือเรื่องบางเรื่อง อาจแบ่งเป็นผลรับตามสูตรคณิตศาสตร์ได้ไม่ชัดเจน ใช้หลักต้องใจต้องอารมณ์และความนึกหวังเป็นหลักก็ว่าได้

การปฏิวัติทางจิตวิญญาณ..ณณ!

นายยืนยง

 

ชื่อหนังสือ : จักรวาลผลัดใบ การเกิดใหม่ของจิตสำนึก

ผู้เขียน : กลุ่มจิตวิวัฒน์

ประเภท : ความเรียง พิมพ์ครั้งที่ 1 ..2549

จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน

 

เว็บบอร์ดเปิดให้ใช้งานได้แล้ว

วันนี้เวลาใกล้สี่โมงเย็นเว็บบอร์ดประชาไทก็พร้อมเปิดให้บริการนะคะ อาจจะยังแปลกตาและไม่คุ้นเคย และระบบบางอันอาจยังมีปัญหาได้บ้าง เนื่องจากเร่งเปิดให้ใช้งานนะคะ อย่างไรก็ตามทีมงานจะปรับแก้ในลำกับต่อไปค่ะ 

มีประกาศที่แจ้งให้ทราบในการใช้เว็บบอร์ดใหม่ ที่ขออนุญาตคัดลอกมานำเสนออีกครั้งนะคะ

  • เปลี่ยนระบบยกเลิกใช้ชื่อ user login และใช้ชื่อ user name เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งสมาชิกสามารถใช้งานรหัสผ่านชุดเดิมได้ทันที
  • หากสมาชิกไม่สามารถลงชื่อเข้าใช้งาน เนื่องจากลืมชื่อ username หรือรหัสผ่าน ให้ดำเนินการขอรหัสผ่านชุดใหม่ คลิกที่นี่ » forgot password
  • เนื่องจากการอัพเดกรดระบบในครั้งนี้ ทำให้สมาชิกจำเป็นต้องอัพโหลดรูปประจำตัวใหม่อีกครั้ง โดยกำหนดความกว้างไม่เกิน 100x100 พิกเซล และขนาดไฟล์ไม่เกิน 50KB
  • สำหรับรูปแบบการโพส ยังใช้งานแบบ BBCode ได้เช่นเดิม
  • หากพบปัญหาการใช้งาน สามารถติดต่อทีมงานทางผ่านอีเมล service@prachatai.com
  • ขออภัยในความไม่สะดวก

อีกเรื่องที่ต้องขออภัยทุกท่านที่จำเป็นจะต้อง อัพโหลดภาพประจำตัวกันใหม่นะคะ โดยคลิกไปที่คำว่า My account แล้วก็เลือก Edit นะคะ จากนั้นจะมีช่องให้อัพโหลดรูปภาพ ข้อสำคัญรูปภาพต้องเป็นขนาดไม่เกิน 100 X 100 Pixel และขนาดไฟล์ใหญ่ไม่เกิน 50 KB. ค่ะ

สำหรับกระทู้เดิมๆที่แสดงก่อนหน้าการเปลี่ยนระบบเว็บบอร์ด ทีมงานจะนำกลับมาให้เข้าไปเปิดอ่านได้ภายในสองสามวันนี้นะคะ

สำหรับข้อแนะนำในการปรับปรุงและแจ้งปัญหาสามารถแจ้งในท้ายบลอกนี้ก็ได้ หรือไปแจ้งไว้ในกระทู้ที่ตั้งไว้นะคะ

ห้องสังคมการเมือง - แจ้งผลปัญหาการใช้งานที่กระทู้นี้ค่ะ

ห้องรักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ - แจ้งผลปัญหาการใช้งานที่กระทู้นี้ค่ะ

ถึงท่านที่ยังลอกอินไม่ได้

และเช่นเคยค่ะ สามารถส่งแจ้งปัญหา และข้อเสนอแนะต่างๆไปได้ที่ service@prachatai.com

ประชาชน VS สื่อ

มีเพื่อนแนะนำให้อ่านบทความในบลอก BioLawCom.De เรื่องเกี่ยวกับสื่อและประชาชน คลิกไปอ่านแล้ว น่าสนใจดีค่ะ ขออนุญาตเก็บมาฝากทุกท่านนะคะ ยกมาเฉพาะหนังตัวอย่างพอเป็นน้ำจิ้ม อยากอ่านฉบับเต็มๆ แนะนำให้คลิกไปอ่านที่เว็บต้นทางเลยนะคะ

เคยมีคนกล่าวว่า "นอกเหนือจากอำนาจสามเสาในหลักการแบ่งแยกอำนาจ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แล้ว สื่อ ยังเปรียบเสมือนอำนาจที่สี่ แห่งรัฐสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐในยุคข้อมูลข่าวสาร"

...และด้วยพลังอำนาจ และความทรงประสิทธิภาพเช่นนี้นี่เอง ในด้านหนึ่ง สื่อจึงไม่ควรถูกใช้เป็นเครื่องมือ หรือตกอยู่ภายใต้ "อำนาจรัฐ" ทั้งปวง รวมทั้งของ "ผู้กุมอำนาจอื่น ๆ" ในรัฐ (เช่น ทุน, ความจงรักภักดี ฯลฯ) และถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมี "กฎหมาย" คุ้มครองความเป็นอิสระ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็ควรมีเครื่องมือในการ "ตรวจสอบ" บทบาท และการทำหน้าที่ของสื่อ

เชกูวารา พูดถึงสื่อพลเมืองไว้น่าสนใจด้วยค่ะ แต่ว่าการพูดถึงมิติสัมพันธ์ของเสรีภาพสื่อ vs เสรีประชาชน ก็น่าสนใจจนไม่ยกมาให้อ่านเป็นน้ำจิ้มไม่ได้

แต่เรื่องที่เขียนในบล็อกตอนนี้ เป็นเหตุผลในแง่  "เสรีภาพแห่งสื่อ" (Freedom of the Press) อันเป็นเรื่องที่ "สื่อหรือคนทำงานสื่อ สู้กับอำนาจรัฐ (รวมทั้งอำนาจอื่นใด)" ไม่ให้พวกเขาต้องทำงานด้วยเจตจำนงค์อันไม่เป็น "อิสระ" ตัวอย่างที่ชัดเจน ก็เช่น การต่อสู้ของไอทีวีในยุคจะถูกควบกลืนโดยรัฐ รวมทั้งการต่อสู้ของ "พนักงาน" ไอทีวีในยุคทุนทักษิณ เป็นต้น  สิ่งที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างเหตุผลแรก กับเหตุผลหลัง ก็คือ เสรีภาพอย่างหลัง ซึ่งน่าจะเรียกเต็ม ๆ ได้ว่า "เสรีภาพในการ (จัดการ) สื่อสาร (สู่มวลชน)" นี้ ไม่ได้ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ จะ หรือ ควรจะได้รับ "ความคุ้มครอง" โดยตัวมันเอง เสมอ  แต่ "ความคุ้มครอง" จะมาพร้อม ๆ กับ "การทำหน้าที่" เท่านั้น กล่าวให้ง่ายก็คือ "สิ่งที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครอง" ในกรณีนี้ไม่ใช่ "ตัวสื่อ หรือตัวคนทำสื่อ" แต่คือ "บทบาท และหน้าที่ของสื่อ"  ต่างหาก โดยมีเป้าหมายซ่อนอยู่เบื้องหลังอีกที ก็คือ เพื่อให้ „การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน“ อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานมี „เสรีภาพ“ อย่างแท้จริง คือ ได้รับข้อมูลทุกแง่มุม  ไม่ถูกปิดบัง หรือกระทั่งถูกบิดเบือนไป เพราะความไม่อิสระของสื่อ หรือด้วยการใช้อำนาจในทางมิชอบโดยตัวสื่อเอง

ภายใต้แนวคิดเช่นนี้ จึงย่อมเป็นเรื่องเข้าใจได้นะครับ ว่าสื่อที่ไม่ทำหน้าที่แห่งสื่อที่แท้จริง หรือพูดให้ง่าย ก็คือ "สื่อที่ไม่มีจรรยาบรรณ" ย่อมมีโอกาส หรือควรต้องถูก "คนรับสื่อ" ตรวจสอบ เพื่อจำกัดความคุ้มครอง และลงโทษได้เช่นกัน โดยอาจอาศัยกฎหมาย หรือการเรียกร้องในเชิงสังคม เพราะสื่อแบบนั้นนั่นแหละ คือ ตัวการในการทำลาย "เสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร“ ของประชาชนเสียเอง ดังนั้น คำว่า "เสรีภาพแห่งสื่อ" หรือ "สื่อเสรี" ในที่นี้จึงเป็น "ภาพสองมิติ"  ที่นอกจาก "คุ้มครองเสรีภาพสื่อจากอำนาจรัฐ" (สื่อ VS. รัฐ) แล้ว ยังหมายถึง "คุ้มครองเสรีภาพผู้รับจากอำนาจสื่อ" (ประชาชน VS. สื่อ) ด้วย

อย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องน่าเสียดายทีเดียวที่คำนี้ ที่ผ่านมาในบ้านเราถูกจำกัดให้แคบ และแสดงให้เห็นภาพมิติแรกเพียง "มิติเดียว"

อ่านเต็มๆแบบครบถ้วนกระบวนความคลิกที่นี่เลย

Pages

Subscribe to สื่อ