Skip to main content

 
\\/--break--\>










 

ผมไม่รู้ว่าในชีวิตของคนเรานั้นต้องเดินทางไกลและใช้เวลานานเพียงใด ถึงจะค้นพบดินแดนสงบและสันติสุข แต่ผมพอรู้ว่ามีพี่น้องชนเผ่าดาระอั้ง'หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า ปะหล่อง' นั้นต้องระเหเร่ร่อนเดินทางมาไกลและยาวนาน กว่าจะค้นหาดินแดนนั้นพบ 

สัปดาห์ก่อนผมได้ไปเยือนชุมชนดาระอั้งบ้านปางแดง ในเขตพื้นที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ค่ำคืนนั้นมีการแสดงวัฒนธรรมบนลานดิน ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ต่างสนุกสนาน  พากันร้องเพลง เต้นรำ ก่อกองไฟเผาข้าวหลาม ผิงข้าวจี่กันท่ามกลางลมหนาว นานๆ ผมจะมีโอกาสเห็นความสุขของพี่น้องดาระอั้ง อบอวลหอมกรุ่นอย่างนี้ หลังจากก่อนหน้านั้น ชาวบ้านกลุ่มนี้ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง อีกทั้งต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างจำยอมและจำนนมาโดยตลอด ในงานบุญงานรื่นเริงนั้น ผมยินเสียงเพลงภาษาดาระอั้งในท่วงทำนองเศร้าสร้อย ชาวบ้านบอกว่าเนื้อหานั้นพร่ำพรรณนาบอกเล่าถึงวิถีชีวิตทุกข์ยากลำบากและการเดินทางมาไกลแสนไกล ในห้วงนั้น ผมมองเห็นแววตาคู่หนึ่งของผู้เฒ่าสะท้อนกับแสงไฟฟืน เป็นแววตาที่ดูแล้วเหมือนฉาบความเศร้าเอาไว้ข้างในยังไงยังงั้น

ในงานวิจัยเรื่อง กลยุทธ์ในการเข้าถึงทรัพยากรของชุมชนตั้งถิ่นฐานใหม่ ท่ามกลางบริบทของการปิดล้อมพื้นที่ป่า ของ สกุณี ณัฐพูลวัฒน์' ได้ศึกษาเรื่องราวของชนเผ่าดาระอั้ง หรือปะหล่อง ไว้อย่างน่าสนใจว่า ในงานศึกษาเรื่อง Shans at Home ของ Lesline milne ในปี 1910 บอกว่า ชนเผ่ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนรักสงบ และพยายามหลบหนีภัยจากปัญหาสงครามอยู่เสมอ แน่นอน เมื่อเอ่ยชื่อดาระอั้ง หรือปะหล่อง เราจึงมักเห็นภาพของการตกเป็นเหยื่อในภาวะสงครามเสียมากกว่า และเป็นฝ่ายที่ต้องหลบเลี่ยงหนีการรุกรานของชนเผ่าอื่นอยู่เรื่อยมา

ทำให้ผมนึกไปถึงคำพูดของลุงคำ จองตาน ผู้เฒ่าดาระอั้งบ้านปางแดงใน เคยพูดคุยกับผมไว้
"พวกเราดาระอั้งไม่เคยสู้กับใคร มีแต่หลบหนีอย่างเดียว เราไม่ชอบการต่อสู้ ไม่ชอบความรุนแรง"

นอกจากนั้น ยังมีงานศึกษาที่เก่าแก่ชิ้นหนึ่งในพม่า ซึ่งได้บันทึกไว้ใน  "Gazetteer of Upper Burma and the shan states" ตั้งแต่ปี คศ.1900 โดยได้เขียนถึงตำนานการเกิดของชนเผ่าดาระอั้ง หรือ ปะหล่องเอาไว้ว่า เป็นลูกหลานของกษัตริย์พระอาทิตย์ เลือกที่จะอยู่บนที่สูง บริเวณทางตอนเหนือของรัฐฉาน ประเทศพม่า และถือว่าเป็นกลุ่มคนนักเดินทางชั้นเยี่ยม ซึ่งต่อมา ลูกหลานได้เติบโตย้ายออกไปตั้งถิ่นฐานที่อื่นในทางตอนใต้ของรัฐฉาน แถบเมืองเชียงตุง มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อคนไทยใหญ่ในรัฐฉาน กระทั่งเดินทางข้ามน้ำข้ามเขามาอยู่ในพื้นที่ทางเหนือของไทย มีรายงานว่า ปัจจุบัน มีจำนวนประชากรชาวดาระอั้ง หรือชาวปะหล่องที่อาศัยอยู่ในไทย ทั้งหมดราว 5,000-7,000 คน

หากใครมีโอกาสผ่านมาทางเขตอำเภอแม่อาย ฝาง และเชียงดาว ก็จะเห็นคนกลุ่มหนึ่งแต่งตัวด้วยสีสันแปลกใหม่ ผู้ชายนุ่งกางเกงคล้ายทรงไทยใหญ่สีดำ น้ำเงิน สวมใส่เสื้อคอกลมแขนยาว ส่วนผู้หญิงสวมผ้าซิ่นทอสีแดงสด ใส่เสื้อแขนยาว มีพู่ไหมพรมห้อยล้อมรอบต้นแขนเสื้อทั้งสองข้าง ผ้าเคียนศีรษะ และที่แปลกตาต่อผู้พบเห็นมากที่สุด ก็คือ น่องกฺ' เป็นบ่วงทำด้วยเงิน หรือหวายคล้องรอบเอว นั่นละ คือพี่น้องชนเผ่าดาระอั้ง หรือปะหล่อง

และเมื่อใครเห็น น่องกฺ' หรือบ่วงทำด้วยเงิน หรือหวายคล้องรอบเอวแม่หญิงดาระอั้ง เชื่อว่าหลายคนคงอดจะถามไม่ได้ว่ามันคืออะไร และมันสื่อความหมายถึงอะไร

มีตำนานเล่าไว้ว่า  เดิมทีมีนางฟ้ามีปีกได้บินลงมาจากฟ้าจากสวรรค์มายังโลกมนุษย์ แล้วต้องมนต์เสน่ห์ของป่าเขาและสายน้ำ จึงตัดสินใจถอดเครื่องแต่งกายรวมทั้งปีกนั้นไว้ริมฝั่งแม่น้ำ ก่อนลงไปเล่นน้ำ ต่อมา มีพรานป่าคนหนึ่งออกล่าสัตว์ มาพบเห็นปีกนางฟ้าเข้าก็ขโมยเอาไป ครั้นพอนางฟ้าขึ้นมาจากน้ำ ก็ตกใจที่เห็นปีกหายไป จึงวิ่งลนลานเสาะหา กระทั่งไปติดบ่วงแร้วหวายของนายพราน ยิ่งดิ้นยิ่งถูกรัดแน่น  กระทั่งมีชายหนุ่มกำพร้าคนหนึ่งนั่งแพไม้ไผ่ไหลล่องมาตามแม่น้ำ ได้ยินเสียงนางฟ้าร้องไห้ จึงเข้าไปช่วยเธอหลุดพ้นจากบ่วงแร้วนายพราน และทั้งสองก็เกิดรักใคร่กันจนกลายเป็นคู่ผัวเมีย อยู่กินด้วยกัน จนกำเนิดลูกหลานออกมาเป็นเผ่าพันธุ์ดาระอั้ง นับแต่นั้นมา

ทุกครั้งที่ผมเห็นผู้หญิงดาระอั้งที่คล้อง น่องกฺ' ไว้รอบเอว ทำให้ผมนึกไปถึงตำนานอันเก่าแก่เรื่องนี้ และพลอยทำให้นึกไปถึงภาพเหตุการณ์ที่ผ่านๆ มาไปด้วย

นึกไปถึงภาพการเดินทางระเหเร่ร่อนหนีตายจากสงครามความขัดแย้งในพม่า ภาพการหลบหนีการไล่ล่า ภาพความอดอยากจนต้องเด็ดกินใบไม้แทนข้าว ภาพผู้คนลอยคอข้ามแม่น้ำสาละวิน ภาพผู้คนเดินข้ามดอยมาอาศัยอยู่บนดอยนอแล ดอยอ่างขาง ก่อนเคลื่อนย้ายมาอยู่ปางแดง ที่เชียงดาว รวมทั้งภาพการถูกเจ้าหน้าที่รัฐเข้าปิดล้อมหมู่บ้าน จับกุมทั้งผู้ชาย ผู้หญิง คนแก่ คนพิการเข้าห้องขัง แม้กระทั่งจนบัดนี้ คดียังไม่สิ้นสุด ยังรอคำพิพากษาจากศาล

ใครบางคนบอกว่า บางทีวิถีชีวิตของพี่น้องดาระอั้งกลุ่มนี้นั้นถูกกำหนดด้วยอำนาจลึกลับที่มองไม่เห็น ให้พวกเขาเหมือนถูกบ่วงชะตากรรมรัดรึงเอาไว้อยู่อย่างนั้น ตลอดการเดินทางไกล จนกว่าพวกเขาจะค้นพบดินแดนสงบและสันติสุขอย่างแท้จริง.


ตีพิมพ์ครั้งแรก คอลัมน์เผ่าชนคนเดินทาง เสาร์สวัสดี กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 26 ธันวาคม 2552

 

บล็อกของ ภู เชียงดาว

ภู เชียงดาว
  เมื่อนั่งอยู่ในความเงียบ ในสวนบนเนินเขายามเช้าตรู่ เพ่งดูหมอกขาวคลี่คลุมดงดอยอยู่เบื้องหน้า ทุ่งนาเบื้องล่างลิบๆ นั้นเริ่มแปรเปลี่ยนสี จากทุ่งข้าวสีเขียวสดกลายเป็นสีเหลืองทองรอการเก็บเกี่ยว ใช่, ใครต่อใครเมื่อเห็นภาพเหล่านี้ คงรู้สึกชื่นชมภาพอันสดชื่นรื่นรมย์กันแบบนี้ทุกคนทว่าจริงๆ แล้ว พอค้นให้ลึกลงไป ก็จะพบว่า ในความงามนั้นมีความทุกข์ซุกซ่อนอยู่ให้รับรู้สึก เมื่อนึกถึงภาพเก่าๆ ของหมู่บ้าน ผ่านไปไม่กี่สิบปี  จะมองเห็นได้เลยว่าหมู่บ้านเกิดของผมมีความแปลกเปลี่ยนไปอย่างเร็วและแรง อย่างไม่น่าเชื่อ“ตอนนี้ อะหยังๆ มันก่อเปลี่ยนไปหมดแล้ว...” เสียงใครคนหนึ่งบ่นเหมือนรำพึงจริงสิ,…
ภู เชียงดาว
ผมเริ่มค้นพบว่าตัวเองนั้นไม่เหมาะกับเมือง หลังจากที่ใช้ชีวิตในเมืองใหญ่มานานหลายปี ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมถึงคิดเช่นนี้- -อาจเป็นเพราะระยะหลังรู้สึกว่าชีวิตตัวเองแปลกและป่วย บางครั้งคล้ายยินเสียงจากข้างในกำลังบอกอะไรบางอย่าง ราวกับจะบอกว่า... ‘ที่สุดแล้ว,ชีวิตต้องกลับคืนสู่เส้นทางที่จากมา’ แหละนั่น ทำให้ผมเริ่มวางแผนกลับไปใช้ชีวิตในสวนบนเนินเขาเหนือหมู่บ้านเกิดอีกครั้ง หลังจากที่ปล่อยให้สวนรกร้างว่างเปล่ามานานเต็มทีจริงสิ, ผมปล่อยให้ต้นไม้ในสวนรกเรื้อและโตขึ้นตามลำพัง ไร้การดูแลเอาใจใส่ ไม่มีเวลารดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย คงเหมือนกับชีวิตตัวเองกระมัง ที่ต้องมาอยู่กับเมือง มัวแต่ไขว่คว้าบางสิ่ง…
ภู เชียงดาว
สิ่งดี ๆ ในชีวิต พ่อค้าแวะมาหาคนสวนที่เขากำลังพักผ่อนอยู่ตรงหน้ากระท่อม “สวัสดีครับคนสวน” พ่อค้าทักทาย “ผมมีข้อเสนอดีๆ มาให้ คุณคงสนใจเป็นแน่” และเมื่อเห็นทีท่าเฉยเมยของคนสวน พ่อค้าก็เริ่มพูดธุระที่เขาคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย ซึ่งคนสวนจะต้องขยายพื้นที่ปลูกกุหลาบเพิ่มขึ้นและพ่อค้าจะเป็นคนเอาไปขายในเมือง “คนสวน ด้วยความชำนาญของคุณ กุหลาบของเราจะสวยงามที่สุดในเมือง” พ่อค้าสรุปด้วยท่าทีกระหยิ่มยิ้มย่อง “ขอบคุณแต่เราไม่สนใจ” คนสวนตอบพร้อมยิ้มอย่างเคย “แต่คุณจะได้เงินเยอะ...” พ่อค้าว่า ท่าทางแปลกใจ “ผมไม่สนใจเงินทองหรอก” “ใครๆ ก็อยากได้เงินกันทั้งนั้น...” “แต่ไม่ใช่ผม…
ภู เชียงดาว
ความเรียบง่ายมีแรงดึงดูดที่ลี้ลับเพราะมันจะฉุดเราไปยังทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่คนส่วนใหญ่ในโลกไปกันไปจากการทำตัวให้เด่น ไปจากการสะสมไปจากการทะนงหลงตนและจากการเป็นเป้าสายตาของสาธารณะไปสู่ชีวิตสงบ อ่อนน้อมถ่อมตน กระจ่างใสยิ่งกว่าสิ่งใดๆที่วัฒนธรรมบริโภคอย่างฉาบฉวยรู้จักกัน.                                                        …
ภู เชียงดาว
ที่มาภาพ  www.salweennews.orgที่มาภาพ www.sarakadee.comที่มาภาพ www.salweennews.orgกอดกับความเย็นเยียบอยู่อย่างนั้น, กลางป่าเปลี่ยวอ้อมอกอันบอบบางของเธอมิเคยอบอุ่นอยู่กับความมืดดำในความรู้สึกหวาดหวั่นพรั่นพรึง, ชีวิตความตายเหมือนมิเคยแยกจางห่างกันเลยโอ. เด็กๆ  ตามแนวชายแดนยามใดหนาวฤดูลมแล้งแห้งโหมพัดเข้ามาสู่,หัวใจเธอนั้นเหมือนจักรับรู้รสสัมผัสชีวิตวิถีที่จำต้องระเหเร่ร่อนนั่น,คือสัญญาณความขัดแย้งอันเลวร้ายที่ซุกซ่อนอยู่ในหลืบเขารอการอุบัติเสียงแม่กระซิบบอกพวกเธอเบาๆเร็วเข้า,…
ภู เชียงดาว
  “การถอยออกไปจากสนามรบของชีวิตทำงานเงียบๆ ด้วยเป้าหมายที่สร้างสรรค์คือคำตอบหนึ่งต่อคำถามที่ว่าจะอยู่อย่างไรในสถานการณ์ที่ทุกอย่างกำลังพังทลาย”จากหนังสือ “ความเงียบ”จอห์น เลน เขียน, สดใส ขันติวรพงศ์ แปลผมไม่รู้ว่า สวนของผมนั้นกลายเป็นสวนผสมผสานตั้งแต่เมื่อไหร่...แต่ผมรู้ว่า พักหลังมานี่ เมื่อเดินทางกลับบ้านไปสวนทีไร ผมมักติดกล้าไม้เข้าไปในสวนเกือบทุกครั้ง ไม่อย่างก็สองอย่าง แวะซื้อมาจากกาดคำเที่ยง บ้างได้มาจากเพื่อนๆ พี่ๆ ที่มอบให้มา พอไปถึง ก็ลงมือขุดหลุม เอาเศษฟางเศษหญ้าลงคลุกกับเนื้อดิน หย่อนต้นไม้ต้นเล็กลงไป กลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม หรือรอให้น้ำฟ้าหล่นรดให้ฉ่ำชื้นเอง…
ภู เชียงดาว
    “...เมื่อมนุษย์จมอยู่กับฝูงชนที่ขาดความเป็นมนุษย์ ถูกผลักไปมาอย่างอัตโนมัติไปตามแรงเหวี่ยง บุคคลนั้นก็สูญเสียความเป็นมนุษย์ที่แท้ สูญเสียคุณธรรม หมดความสามารถที่จะรัก และศักยภาพที่จะกำหนดตนเอง เมื่อสังคมประกอบด้วยผู้คนที่ไม่รู้จักความวิเวกภายใน สังคมนั้นก็ไม่อาจรวมกันได้ด้วยความรัก แต่อยู่ได้ด้วยอำนาจครอบงำและความรุนแรง...” ถ้อยคำของ “โทมัส เมอร์ตัน” คัดมาจากหนังสือ “ความเงียบ” จอห์น เลน เขียน, สดใส ขันติวรพงศ์ แปล สวนบนเนินเขาเหนือหมู่บ้านเกิดของผม ตั้งอยู่ในเนื้อที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความกว้างและยาวราวสี่ห้าไร่…