Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา อ่านเรื่องความกลัวของมีนาแล้ว ฉันเริ่มมองมาที่ตัวเองแล้วว่า ฉันกลัวอะไร? มาถึงตอนนี้ก็คิดได้ว่าคงไม่มีความกลัวอะไรที่น่ากลัวไปกว่าการที่เรา “ไม่รู้” ว่าตัวเอง “กลัว” อะไร ความกลัวเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้น – ใครสักคนเคยบอกเช่นนั้น ฉันมักเลือกสร้างความกลัวเพื่อให้ตัวเองกล้าหาญ และเอาชนะความกลัวให้ได้ เพราะความกลัวคือสิ่งที่ท้าทายจิตใจและมานะในตัวของฉัน แต่ยังไงก็ตามมีน้อยคนนักที่จะสามารถพัฒนาความกลัวที่มีอยู่ในตนให้กลายเป็นความเข้มแข็งในการดำรงชีวิตบางที เราอาจอยู่อย่างโดดเดี่ยวจนไม่มีใครเป็นเพื่อนคอยแนะนำ ให้คำปรึกษา หรือหารือกันเรื่อง “ด้านใน” ของตนก็เป็นได้ ฉันเองหากไม่มีเพื่อนที่ปฏิบัติธรรมเหมือนกัน ก็คงจะไม่ค่อยปฏิบัติเท่าไหร่ คงจะเตร็ดเตร่ไปมา ทำบ้างไม่ทำบ้าง แต่พอเรามีเพื่อนคอยกระตุ้น ดูแล พูดคุย มันก็ทำให้เรามีกำลังใจในการกระทำเพื่อนจึงช่วยให้เราพยุงความกลัว เท่าทันและเอาชนะความกลัวได้เรื่องเพื่อนทางธรรมนี่ก็สำคัญมาก ตอนที่ฉันไปปฏิบัติที่วัดป่าสุคะโตนั้น แม้จะมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมาก แต่เรื่องการปฏิบัตินั้นฉันก็คิดว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่พี่น้องหรือคนที่สนใจจะได้เรียนรู้ด้วยตนเอง นั้นคือเป็น ภาวนามยปัญญา คือ การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงด้วยตัวของตน แม้ว่าปัญญาในมรรคองค์ที่ ๘ จะได้กล่าวถึง สุตตมยปัญญา และ จิตตมยปัญญา คือ ปัญญาจากการอ่านและฟัง และปัญหาจากการพิจารณาไตร่ตรอง แต่ปัญญาที่สำคัญสุดๆ ก็คือ “ปัญญาจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง”หลายคนที่ปฏิบัติ มักพบหนทางที่ตนคิดว่าเหมาะสมกับจริตของตัวเอง แน่นอนว่าภูมิปัญญาของแต่ละคนต่างกัน ฉันหรือเธอก็มีภูมิปัญญาต่างกัน มีความคิด มีจริตที่ต่างกัน ฉะนั้นการที่จะบอกว่าเราจะให้คนนี้ปฏิบัติแบบที่เราปฏิบัติก็คงจะไม่ได้หมายความว่ามันจะเหมาะกับเขามากน้อยเพียงใด ฉันจำได้ว่ามีอาจารย์หลายท่านที่บอกว่าให้เราลองที่จะศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมกับจริตของเรา เช่น หากใครที่เป็นคนคิดมาก มีอารมณ์แปรปรวนไปมา โกรธง่าย กลัวง่าย อาจจะเน้นที่การ “ดูจิต” เป็นหลัก ส่วนใครที่ติดกับร่างกาย หน้าตา รูปร่าง ความสวยงาม เป็นต้น ก็อาจเน้นที่การ “ดูกาย”– ซึ่งการดูกายดูจิต ถือเป็นหนทางกว้างๆ ของสติปัฏฐานหรือการเจริญสติวิปัสสนานั่นเองการเรียนรู้ของแต่ละคนจำเป็นต้องเกิดจากประสบการณ์ของแต่ละคน ที่จะได้พบ ได้เผชิญ ได้รู้ตามจริงที่ปรากฏ ทั้งกาย เวทนา จิต และธรรม ทั้งนี้หลังจากที่แต่ละคนปฏิบัติกับครูบาอาจารย์แล้ว เมื่อต้องกลับมาปฏิบัติเองก็เป็นความท้าทายอย่างยิ่งของคนนั้นๆ แม้ว่าหลายคนจะบอกว่าการปฏิบัติจะปฏิบัติที่ไหนก็ได้ เราจะนั่งสมาธิที่ไหนก็ได้นั้น ฉันคิดว่าไม่ผิด แต่บางครั้งหากเราปฏิบัติ โดยที่ไม่รู้แนว ทำไปโดยไม่มีหลักที่ชัดเจนหรือทำด้วยความลังเลสงสัย เช่น บางคนนั่งสมาธิแล้วอาจเจอนิมิตต่างๆ หากใครที่รู้ก็จะเท่าทันนิมิต แต่บางคนก็อาจหลงนิมิต ไปยึดติด คิดว่าตนได้หลุดพ้นก็ว่าได้ หรือบางคนอาจจะทำไปแบบช้างตาบอด คือสักแต่ทำแต่ไม่รู้ว่าทำแล้วจะเป็นอย่างไร จะเกิดอะไรขึ้นตามมาบ้าง ดังนั้น การที่เราไปแสวงหาความรู้จากผู้รู้ จากอาจารย์ต่างๆ นั้น ก็น่าจะเป็นส่วนช่วยตัวเราได้ดีไม่น้อย ที่จะทำให้เราเห็นหนทาง เห็นวิธีการและแนวปฏิบัติได้เป็นอย่างดีทั้งนี้เมื่อเราไปปฏิบัติในวัด หรือสถานปฏิบัติธรรม แน่นอนว่า สภาพแวดล้อมในพื้นที่ต่างๆ นั้น ย่อมเหมาะสมแก่การปฏิบัติ คือเงียบ และสงบ หรือ “สัปปายะ” ต่อเรานั้นเอง หรือแม้แต่บางครั้งก็มีกระแสกิเลส ที่ไม่มากและเอื้อต่อการปฏิบัติของเรากว่าที่บ้านหรือที่หอพักหรือที่ทำงานเพื่อนที่ปฏิบัติเหมือนกัน ปฏิบัติแนวเดียวกันนี้เองจะช่วยให้เรามีคนที่คอยเกื้อกูลกันและแนะนำ ตลอดจนสอบถามแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับอารมณ์ของเราได้เป็นอย่างดี – ฉันเชื่อว่าการที่ปฏิบัติแล้วมีเพื่อนๆ พี่น้องทางธรรมมาช่วยแนะนำและชี้แนะ จะทำให้เรารู้ความก้าวหน้าของตน และมีเพื่อนที่คอยให้กำลังใจ เป็นแรงกระตุ้นให้เราปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องต่อเนื่องในระดับชีวิตประจำวันของเรา คือให้การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน คือการทำชีวิตให้เป็นปกติธรรมดา “ธรรมะ”  คือ ธรรมดาของชีวิต คือ ธรรมชาติ และคือความเป็นสากล ความทุกข์ไม่ได้แบ่งแยก ศาสนา ความเชื่อ อายุ เพศ อาชีพ  ความทุกข์คือสิ่งปรากฏอยู่ทั่วไป คือสากล ฉะนั้น ธรรมะที่จะทำให้เราพ้นทุกข์ นั้นก็คือหลักสากล ที่ไม่ได้หมายถึงคนที่เป็นพุทธศาสนิกชนเท่านั้น คนที่นับถือศาสนาอื่นๆ ก็สามารถเข้าถึงหนทางแห่งการพ้นทุกข์นี้ได้โดยไม่ได้หมายความว่าคนๆ นั้นต้องนับถือศาสนาพุทธ หากแต่คนๆ ได้พบกับหนทางสายกลางแห่งการดำเนินชีวิตให้เท่าทันทุกข์ และพบสุขอย่างแท้จริง การปฏิบัติในชีวิตประจำวันของฉัน คือ เช้า ค่ำ นั่งวิปัสสนา ครั้งละ ๓๐ – ๖๐ นาที แล้ว เวลาที่เหลือ ที่ต้องทำงานคือกำหนดตามดูลมหายใจ เป็นหลัก และ เวลากลางวัน ก็เดินจงกรม เวลาทำงาน นั่งหน้าคอมพิวเตอร์ พิมพ์งาน อ่านหนังสือ ขับรถ กระพริบตา เคี้ยวอาหาร กลืนน้ำลาย ก็ตามรู้กายที่รู้สึก คือเมื่อรู้สึกที่ไหนของกายก็รู้ สักแต่เพียงรู้ รู้แล้วไม่ปรุงแต่ง วางใจเป็นกลาง มีอุเบกขา และมีสติเท่าทันความคิด ความรู้สึก อารมณ์ต่างๆ ไม่คิดว่าชอบหรือไม่ชอบ เพราะหากชอบเราก็จะมีความโลภเกิดขึ้น ถ้าไม่ชอบเราก็จะมีความโกรธ ยิ่งเป็นการเพาะเชื้อกิเลสขึ้นไปอีก ดังนั้น จึงดู สักแต่รู้ อย่างเดียว ทั้งนี้ คนที่ปฏิบัติวิปัสสนา ไม่ได้เป็นคนที่พิเศษไปกว่าคนอื่น หรือต้องมีอะไรที่วิเศษแตกต่างจากคนอื่นๆ หรือทำตัวสุดโต่ง ปรามาสคนอื่นว่า คุณไม่ปฏิบัติธรรมคุณดีไม่เท่าฉันหรอก หรือ ยึดติดกับตัวตนของตนเพิ่มขึ้น คนที่คิดเช่นนี้ไม่ใช่นักวิปัสสนา หรือนักปฏิบัติธรรมที่ดี เพราะยิ่งสร้างอุปาทานเกิดขึ้น สร้างความยึดมั่นถือมั่นเพิ่มขึ้น ทางตรงกันข้าม นักวิปัสสนาทั้งหลายควรจะมีเมตตา กรุณา ต่อผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงธรรมะ เพราะเขาอาจจะยังไม่ถึงเวลาธรรมะจัดสรรก็ได้ ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยได้คือการแผ่เมตตา แบ่งปันความสุข สงบ ที่ได้รับจากการปฏิบัติให้แก่คนที่ยังเข้าไม่ถึงธรรม เพื่อให้เขาได้พบกับธรรมอันประเสริฐเช่นตัวเราธรรมะของนักพัฒนานักพัฒนาหลายท่านที่ฉันรู้จัก ตอนนี้หลายคนก็เริ่มจะเข้าหาธรรมะ เข้าหาการปฏิบัติทางสำนักปฏิบัติ หรือวัดสายต่างๆ ฉันมักได้ยินเรื่องราวของพี่ๆ ที่รู้จักและนำมาเล่าสู่กันฟัง บางคนก็จับกลุ่มเจอกันและคุยกันในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ หรือบางคนก็นัดกันไปปฏิบัติธรรมร่วมกันนักพัฒนาที่ได้ออกเดินทางด้านภายในเริ่มมีมากขึ้น การแสวงหาทางจิตวิญญาณมีให้เราได้เห็น เช่น หลายเวทีที่มีการจัด มักจะมีเรื่องเหล่านี้ผนวกรวมเข้าไปอยู่ด้วย แม้ว่าจะมีหลายคนมองว่านักพัฒนาที่ปฏิบัติธรรมนั้นเป็นพวกที่เห็นแก่ตัว และแสวงหาความสุขของตน จนบางครั้งลืมความทุกข์ของชาวบ้านหรือคนอื่นๆ นั้น ฉันกลับมองว่านี่เป็นการมองของคนที่ยังไม่เข้าใจ และอาจจะยังไม่ชัดเจนกับสิ่งที่ผู้ปฏิบัติคนนั้นเป็นอยู่ เพราะ บางคนที่ปฏิบัติก็ปฏิบัติจนไม่คิดถึงคนรอบข้าง พูดยกตนข่มท่าน หรือ ทำตัวแปลกแยกแตกต่างอย่างสุดโต่ง เรื่องต่างๆ เหล่านี้ เกิดขึ้นกับฉัน ที่เปลี่ยนไปหลังจากปฏิบัติวิปัสสนาครั้งแรกเมื่อสองปีก่อน เพื่อนพี่ๆ ที่รู้จักกันหลายคน มองว่าเป็นจริตศรัทธา คือมองว่าเป็นค่านิยมชั่วครู่ หรือเป็นความฮิตชั่วคราว บางคนถึงกับบอกว่าฉันเปลี่ยนไป พูดไม่รู้เรื่อง และทำตัวไม่ค่อยคุ้นเคย ฉันบอกเสมอว่าไม่ผิดที่ฉันจะเปลี่ยน – และไม่ผิดที่คนๆ หนึ่งจะเปลี่ยนเมื่อได้พบกับธรรมะ อันที่จริงคนเราเปลี่ยนแปลงทุกๆ วัน ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ ไม่ว่าจะดีใจหรือเสียใจ ไม่ว่าจะเหนื่อยหรือมีพลัง ไม่ว่าจะกลัวหรือเข้มแข็ง สิ่งเหล่านี้คือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับพวกเราทุกๆ วัน และทุกๆ ลมหายใจ....เธอว่าอย่างนั้นไหม มีนา......
ชนกลุ่มน้อย
หนังสือเดินทาง 7 เล่ม  กับเพลง 7 ซีดีอัลบั้มผมหลงชอบ ‘ตากอากาศ’ อย่างไม่ทราบสาเหตุ  ผมเห็นครั้งแรกจากหนังสือเล่มหนึ่ง  ตากอากาศกลางสนามรบ  นับแต่นั้นมา  ตากอากาศก็เข้ามาอยู่ในใจผม  มันให้ความรู้สึกนัยยะความหมาย  กว้างไกลเมื่อไปอยู่ร่วมคำอื่น  มีบวกลบอยู่ในนั้นผมถือโอกาสเชิญมาอยู่ร่วมในชื่อเรื่องอีกครั้งต้นฉบับชิ้นนี้ เขียนห่างฝั่งทะเลสาบสงขลาราว  10 กิโลเมตร  ผมกลับไปบ้านเกิด  แบบด่วนๆ  จึงต้องพกข้อมูลทุกอย่างใส่แฟ้ม  พร้อมต้นฉบับอื่นที่ค้างคา  รูปถ่าย  กล้องถ่ายรูป(ประจำตัว)  พร้อมเป้  และเจ้าชายน้อย 7 ขวบ เช่นเคยเรื่องของเรื่องก็คือผมเตรียมตัวล่องใต้  เรื่องไม่ใหญ่ได้อย่างไร  เมื่อนานเป็นปีกว่าจะกลับไปเยือนบ้านเกิดสักครั้ง วางแผนไว้ว่าจะไปยังเส้นทางที่เคยไป  คน--สถานที่ที่เคยผูกพัน ไปสวน ไปตามทางเดินเก่าๆ ..    คิดได้อย่างนั้น ผมจะไปวิธีไหน รถไฟ .. เป็นทางเลือกแรก ..  แล้วผมก็นึกถึงหนังสือ เพลง ทีนี้ ผมจะชวนหนังสือเล่มไหนร่วมเดินทาง  ซีดีแผ่นไหนติดตัวไปด้วย.. (ผมขาดหนังสือ  ขาดเพลงไม่ได้)  ยิ่งคิดไว้ล่วงหน้าว่า  หากได้ไปเปิดหน้าหนังสือตรงสถานที่นั้น  ฟังเพลง ณ ตรงโน้น  เรื่องอะไรบ้างล้อมรอบตัว   นึกเล่นๆไปอย่างนั้น  แค่นึกก็ได้รับรสบางอย่างไหลเข้ามาแล้วผมเลือกหนังสือมา 7 เล่ม (บอกไม่ปิดลับ) เริ่มจาก  แผ่นดินอื่น , สะพานขาด  สองเล่มนี้ เป็นงานของ กนกพงศ์  สงสมพันธุ์  อยากอ่านความคุ้นเคยร่วมบรรยากาศบ้านเกิด หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว  ของมาเควซ  ผมเรียกสั้นๆอย่างนั้น  เปิดหน้าไหนก็ชวนอัศจรรย์   อ่านได้ทุกบรรยากาศ      วิหารที่ว่างเปล่า ของ เสกสรรค์  ประเสริฐกุล  นักเขียนต้นแบบอีกคนหนึ่งที่ผมตามอ่านมานาน   แค่มีวิหารที่ว่างเปล่าอยู่ตัว  ก็ได้รับแรงดลใจเข้าแล้วดาวที่ขีดเส้นฟ้า  ของ  พนม  นันทพฤกษ์  ด้วยอยากย้อนรอยดาวที่ขีดเส้นฟ้า นิค  อาดัมส์  วัยหนุ่มของศิลปิน  ของ เออร์เนสต์  เฮมมิงเวย์ หยิบหนังสือเล่มนี้อ่านแล้วได้พลัง(หนุ่ม)กลับมา  เทพเจ้าแห่งสิ่งเล็กๆ  งานของ อรุณธตี รอย  แปลโดย สดใส  ผมเพิ่งได้มา  ยังไม่ได้เปิดอ่าน และเล่มสุดท้ายคือ ดินแดนลม บทกวีเล่มล่าสุดของผมเอง  ที่ใช้ฉากตัวละครและเรื่องราวในบ้านเกิด (ลุ่มทะเลสาบสงขลา) เสียส่วนใหญ่   ตามด้วยแผ่นซีดี 7 แผ่น  เริ่มด้วย  Shangri – La  ของ MARK  KNOPFLER  แผ่นนี้ เสี้ยวจันทร์  แรมไพร หยิบยื่นให้  ฟังงานชุดนี้แล้วคิดถึงเกาะนางคำ เกาะยวน เกาะทอม เกาะหมาก เกาะสี่เกาะห้ากลางทะเลสาบทุกครั้ง  The next voice you hear  งาน the best  of Jackson  browne  ผมอยากฟังเพลง Late  for  the sky  ดังขึ้นที่บ้านเกิด  Clapton  Chronicles  งาน the best of eric Clapton  เพียงอยากฟัง  tears in heaven  ,  my father’s eyes  และ wonderful  tonight    SLEEP THROUGH THE STATIC  งานชิ้นหลังสุดของ JACK  JOHNSON  การเดินทางของตะกร้า (The  Journey  Of  Basket)  งานของ รังสรรค์  ราศี-ดิบ  นางฟ้าสีขาวกับรอยเท้าพระจันทร์ (White  Angel  and  moon’s  footprint) ของ สุวิชานนท์  รัตนภิมล  เงาผมเอง  และสุดท้าย  รู้ว่าความรักมีพลัง  งานของพี่ศักดิ์สิริ  มีสมสืบ  ผมอยากฟังเพลงนางฟ้าชัดๆ ที่บ้านเกิดอีกที      เพียงพอสำหรับออกไปตากอากาศบ้านเกิด  ผืนดินที่ได้ชื่อว่า แดดกับเมฆฝนผลัดเปลี่ยนกันครองพื้นที่อย่างต่อเนื่อง  วูบวาบชวนอ่อนไหว  เดี๋ยวมืดเดี๋ยวสว่าง   สลับกับลมพัดแรง  พัดจนใบยางลั่นสนั่นได้ยินไปทั่วหมู่บ้าน   ผมนึกล่วงหน้าไปถึงเส้นทางเก่าๆ  สวน  ทะเลสาบ  ทางรถไฟ  บ้านหลังที่ผูกพัน  หน้าคนที่อยากไปเยี่ยม ..  ใช้เวลาในช่วงสั้นๆ  สู่ดินแดนนั้น  เสมือนหนึ่งกลับไปเยือนดินแดนลม        
แสงดาว ศรัทธามั่น
เดินทัพทางไกลไปตามทาง ‘พะโด๊ะ มานซาห์’Long March with “Pado Manza Lapha” ‘พะโด๊ะมาซา ลา พา’หัวใจจิตวิญญาณ์ท่านสะอาดสดใสต่อสู้เพื่อวิถีชีวิตแห่งพี่น้องชนเผ่าเต็มหัวใจเพื่อชีวีงามอำไพ ตราบนิรันดร์
นาโก๊ะลี
เมื่อการกลับมาครั้งที่หนึ่งกวีหนุ่มเล่าว่า....หลังจากเดินทางไปเมืองไกลหลากหลายเมือง หลากหลายชนบท  หลากถิ่นฐาน พานพบผู้คนมากมายทั้งในระหว่างทาง และในจุดหมายมากมายหลายแห่งนั้น  หลายคราวก็มักมีเรื่องราวให้เรียนรู้ ใคร่ครวญ  บางคราวก็พบเรื่องราวเล่าขาน  และบางคราวเหล่านั้นก็ได้เก็บสะสมเรืองราว อารมณ์ ความรู้สึกจากหลากที่ถิ่นทางเหล่านั้นนั่นเอง  และการเดินทางทั้งหมดนั้น....นานแสนนานกว่าจะได้กลับมา  และในคราวนั้นเอง เขาเล่าเอาไว้ว่า  ปั่นจักรยานออกจากบ้าน   ถึงร้านรวงหลายแห่ง  ผ่านถนนหลายสาย  ล้วนร้านรวง และถนนที่เขาเคยผ่านในวัยเยาว์  นั่นจึงคล้ายกับการได้กลับมาบอกกล่าวส่งข่าวคราวของการเดินทางไกล  บอกกับถนนหลายสายนั้น  บอกกับร้านรวงเหล่านั้น บอกกับต้นไม้ใบหญ้า ทุ่งนาเรือกสวนเหล่านั้น  ว่า ณ วันนี้ เขากลับมาแล้ว......กวีหนุ่ม ได้กลับมาเดินทางในถนนสายเดิมอีกครั้ง  ทักทายต้นไม้ ใบหญ้า ดอกไม้ เก่าหรือใหม่ แต่ในผืนแผ่นดินเดิม   แล้วในที่สุดด้วยการท่องท่อมไปบนถนนแห่งวัยเยาว์เหล่านี้  เขาได้พบตัวเองกลับมา....และคล้ายต้นไม้ ใบหญ้า ถนน หนทางทางได้บอกกล่าวกับเขาว่า  “ถึงบ้านเสียทีนะกวี”
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มีสถานที่ใดบ้างในโลก ที่ทำให้เราคิดถึงได้อย่างจริงๆ จังๆ ,คิดถึงและต้องกลับไปอีกครั้ง หากไม่มีความทรงจำ ,ก็คงไม่มีอดีตและอนาคต หมู่บ้านแม่ดึ๊จึงเป็นหลายเหตุผลที่คนหลายคนควรจะทำความรู้จักหมู่บ้านแม่ดึ๊ ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน เพิ่งมีโรงเรียนและครูได้ไม่นานเดือน ,สำหรับคนกะเหรี่ยงที่นั่น โลกภายนอก คือ บางสิ่งที่ควรจะเรียนรู้...“นาย ,นายเคยเขียนแคนโต้เกี่ยวกับแม่ดึ๊เอาไว้ใช่หรือเปล่า” ผมออกปากกะน้องอย่างนั้น“ไมพี่ เขียนไว้นานแล้ว ตั้งแต่ไปค่ายจิตอาสากับพี่นั่นแหละ”“เอ่อ ครือ..ผมคิดว่า เอ่อ...ผมอยากได้งานนายมาประกอบภาพว่ะ”ผม ‘เอ่อ’ อย่างเกรงใจแกมขอกันดื้อๆ“จริงเหรอพี่! เอาดิๆ” เออ ดูมันเวอร์ๆ หว่ะ^.^.^.^.^.^.^.^.^.^.^.^.^
กิตติพันธ์ กันจินะ
ในที่สุดนายกทักษิณ ก็ได้กลับบ้านเกิดเมืองนอน หลังจากที่ต้องเร่ร่อนรอนแรมอยู่ต่างประเทศตั้งปีกว่า กลับมาหนนี้ถือว่าได้กลับมาพิสูจน์ตัวเองในคดีต่างๆ ที่ตกเป็นจำเลย และยังได้กลับมาอยู่ใกล้ครอบครัวของตนเสียด้วย ยังไม่นับรวมถึงการที่จะต้องเข้ามาเคลียร์เรื่องอะไรอีกหลายอย่างที่เกิดขึ้นภายในพรรคและการเมืองที่ยังไม่ค่อยลงตัวสักเท่าใดนัก  ผมดูการกลับมาของคุณทักษิณ แล้วนึกถึงชีวิตของเด็กๆ ที่เร่ร่อนไร้บ้านอีกหลายคน ที่ต่างก็พเนจรไปในที่ต่างๆ ไม่ได้กลับบ้าน หรือบ้างก็ไม่มีบ้านอยู่อาศัย ซึ่งชะตากรรมของเขาหลายๆ คน ถือว่า "หนัก" กว่าคุณทักษิณหลายเท่า และไม่ค่อยได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างจริงจังเหมือนเจ้าหน้ารัฐแห่กันไปดูแลคุณทักษิณ ... สถานการณ์ข้อมูลเรื่องเด็กเร่ร่อนล่าสุด ที่ทางอาจารสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ทำการศึกษาวิจัยสถานการณ์และปัญหาเด็กเร่ร่อนในประเทศไทย เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกการแก้ไขปัญหาเด็กเร่ร่อนในระยะ 3 ปี (พ.ศ.2549-2551) 1 พบว่า เด็กเร่ร่อนในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสาเหตุของโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมมหภาคเปลี่ยนไป เกิดปัญหาการสร้างความไม่เป็นธรรมในสังคม การกระจายรายได้ที่แตกต่างกัน เกิดการขยายตัวตามเมืองใหญ่ๆ ประชาชนละทิ้งถิ่นฐานอพยพเข้าสู่ตัวเมืองในสภาพที่ไม่พร้อม ขัดสนยากจนต้องอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด สองข้างทางรถไฟ บุกรุกที่สาธารณะ ประกอบกับมีเด็กเร่ร่อนต่างชาติที่หลั่งไหลมาจากประเทศเพื่อนบ้านติดพรมแดนไทย ได้แก่ สหภาพพม่า ลาว และกัมพูชา ทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนเด็กเร่ร่อนในประเทศไทยมากขึ้น รายงานวิจัยประมาณการว่า ในเวลานี้มีเด็กเร่ร่อนในประเทศไทยทั้งสิ้น 20,000 คน และในอีก 3 ปีข้างหน้าจะมีเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 คน ขณะที่องค์กรของภาครัฐบาลและองค์กรเอกชนเข้าช่วยเหลือได้เพียง 5,000 คน ยังคงมีเด็กเร่ร่อนนอกระบบจำนวนมากในหลายพื้นที่ที่ต้องรีบเข้าไปให้ความคุ้มครองปกป้อง สงเคราะห์ เยียวยาและบำบัดรักษาอีกเกือบ 15,000-20,000 คน สำหรับเส้นทางของเด็กเร่ร่อนจะค่อยๆ เคลื่อนตัวเข้ามารวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพฯ โดยมีจุดพักอยู่ตามเมืองใหญ่ๆ ในแต่ละภูมิภาค เช่น ภาคเหนือ เด็กเร่ร่อนจำนวนไม่น้อยมาจากเด็กชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ข้ามฝั่งชายแดนแม่สายบริเวณ จ.เชียงรายและจังหวัดอื่นๆ มีขบวนการค้ามนุษย์ซื้อเด็กราคาถูกเข้ามาเลี้ยงให้เติบโต เพื่อนำไปสู่การเป็นขอทานและแรงงานเด็ก สถานการณ์ตามภาคต่างๆ ในรายงานมีดังนี้....ในภาคตะวันออก บริเวณพรมแดนไทย-กัมพูชา ใน จ.สระแก้วเด็กยากจนและเด็กเร่ร่อนจะอยู่บริเวณชายแดนเป็นจำนวนมากในรูปของเด็กเร่ร่อน ยากจน ขอทาน และแรงงานเด็กข้ามชาติ เด็กบางคนถูกนายหน้าซื้อจากพ่อแม่ และส่งต่อเข้าสู่ตัวเมือง จ.สมุทรปราการ สมุทรสาคร และ กทม. เกิดรูปแบบของวงจรเด็กขอทานและแรงงานเด็กที่มีการจัดส่งอย่างเป็นระบบ เส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเกิดเด็กเร่ร่อนเกือบทุกจังหวัด และบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาว มีเด็กเร่ร่อนหนีเข้ามาในบริเวณ จ.อุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี และศูนย์พักรวมอยู่ที่ จ.นครราชสีมา ก่อนเคลื่อนย้ายเข้าสู่กรุงเทพฯ และมีเส้นทางไปกลับ กทม.-พัทยาบ่อยครั้ง เพื่อการขายบริการทางเพศให้แก่ชาวต่างชาติ กรณีของภาคใต้ แนวโน้มของเด็กเร่ร่อนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะเกิดเด็กกำพร้าและเด็กเร่ร่อนมากขึ้น มีการเคลื่อนตัวเข้าสู่อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา ในพื้นที่ภาคใต้เองมีเด็กเร่ร่อนเกิดขึ้นในหลายจังหวัด นับแต่สภาพชุมชนดั้งเดิมหลายจุดในอำเภอเมือง และมีจุดใหญ่รวมเด็กเร่ร่อนมากขึ้นใน จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวตามชายหาดต่างๆ สถานที่ท่องเที่ยวและบริเวณห้างสรรพสินค้าจะพบเด็กเร่ร่อนเดินทางมาจากจังหวัดอื่นๆ แทบทุกภูมิภาค เมื่อสืบถึงภูมิหลัง แหล่งที่มา ครอบครัว การศึกษา ประวัติเด็ก พบว่าเด็กเร่ร่อนเหล่านี้เกิดขึ้นมาในสภาพไร้ตัวตน ขาดหลักฐานทางราชการ ไร้โอกาสทางการศึกษา มีสภาพถูกกระทำในรูปแบบต่างๆ เมื่อเริ่มออกเร่ร่อนอาจมีอายุยังน้อย เส้นทางเดินของเด็กบางคนกำหนดเองได้ แต่จำนวนไม่น้อยถูกขบวนการค้ามนุษย์ซื้อมาเลี้ยงให้เติบโตขึ้น และถูกบังคับให้ทำงาน สุดท้ายเด็กเร่ร่อนจะค่อยๆ เดินทางเข้าสู่ตัวเมืองใหญ่ๆ มีจุดพักเมืองท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค แล้วมารวมกันที่ กทม.ตามเส้นทางอันตรายของการเป็นเหยื่อและเครื่องมือทางเพศ ยาเสพติด ขอทาน แรงงานเด็กและอื่นๆ หากดูประสบการณ์ของกลุ่มที่ทำงานด้านเด็กเร่ร่อนอย่าง "มูลนิธิอาสาพัฒนาเด็ก" ซึ่งทำงานในพื้นที่เชียงใหม่ ได้กล่าวไว้ใน http://www.vgcd.org ว่า จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับสองของประเทศได้ถูกกระแสทุนนิยมตามระบบของประเทศ โดยเฉพาะการถูกวางให้เป็นเมืองท่องเที่ยวขนาดใหญ่จึงเป็นปัจจัยดึงดูดผู้คนต่างถิ่นให้อพยพเคลื่อนย้าย เข้ามารวมถึงเด็กเร่ร่อน นอกจากนี้กลุ่มชนเผ่าที่อาศัยบนภูเขาหรือตะเข็บชายแดนก็เป็นอีกกลุ่มที่เข้ามาสู่การหารายได้ในเมือง เช่นกัน โดยเฉพาะการให้เด็กเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการหารายได้ เช่น จากการขอทาน ขายดอกไม้ ขายสินค้าต่าง ๆ กับกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ซึ่งพบได้ตามท้องถนนยามค่ำคืน  เด็กวัยรุ่นที่ใช้ชีวิตเร่ร่อนเป็นกลุ่มที่ขาดทางเลือก ขาดการศึกษา บางกลุ่มไม่มีสัญชาติและมีเด็กจำนวนมากต้องถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากผู้ใหญ่และเพื่อนรุ่นพี่ จนกระทั่งเข้าสู่กระบวนการขายบริการทางเพศเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงตนเอง และเยาวชนเร่ร่อนยังมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ปลอดภัย เช่น การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ การใช้ยาเสพติด ดื่มเหล้า ดูดยาบ้า ดมกาวแล้วมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย เยาวชนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเพศศึกษาและโรคเอดส์ ขาดทักษะชีวิตในการคิดวิเคราะห์ ประเมินความเสี่ยง ตัดสินใจที่เหมาะสม การปฏิเสธต่อรอง การตระหนักต่อคุณค่าของตนเอง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ เช่น บาร์เหล้าเบียร์ สถานเริงรมย์ กลุ่มเพื่อนที่ใช้ยาเสพติด  สาเหตุเหล่านี้จึงทำให้พวกเขามีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กเร่ร่อนบางคนได้รับเชื้อ เอชไอวีแล้ว แต่ไม่ยอมรับตัวเอง ยังคงมีการขายบริการทางเพศและมีเพศสัมพันธ์กับเยาวชนกลุ่มอื่น ๆ เช่น นักเรียน นักศึกษาและไม่ใช้ถุงยางอนามัย เพราะขาดความตระหนักหรือมีทัศนคติด้านลบที่อยากแพร่เชื้อ ไม่สนใจผู้อื่น  เท่าที่ศึกษาเอกสารข้อมูลจากงานวิจัยและการทำงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องทำให้เห็นว่าการที่เด็กและเยาวชนที่ไม่มีบ้าน ต้องเร่ร่อนไร้บ้าน ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งนั้น จะทำให้เกิดปัญหาหลายๆ อย่างตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเข้าถึงการรักษาพยาบาล การเข้าถึงการศึกษา หรือแม้แต่สวัสดิการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  ครั้งหนึ่ง ผมเดินขึ้นสะพานลอยย่านห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ก็เห็นน้องๆ เด็กๆ สองสามคน แต่งกายมอมแมมไปคุ้ยหาอะไรสักอย่างจากถังขยะ ผู้คนเดินผ่านมองไปมาด้วยสายตาที่บอกไม่ถูกนัก ผมตัดสินใจว่าจะเข้าไปถามว่าต้องการอะไร ถ้าอยากกินข้าวจะไปซื้อมาให้ ช่วงขณะที่กำลังจะเดินเข้าไปถาม น้องๆ ก็วิ่งหนีไปด้วยความตกใจ  ผมไม่รู้ว่าพวกเขามาจากที่ไหน อายุเท่าไหร่ แต่สิ่งที่เห็นอยู่นี้คือสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นกับเด็กๆ เพราะเด็กๆ ควรจะมีที่พักอาศัยได้อยู่ แม้ว่าบางครั้งเขาไม่อยากอยู่บ้าน หรือผู้ปกครองไม่สามารถดูแลได้ แต่อย่างน้อยรัฐเองก็ต้องเข้ามาดูแลคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็ก  ที่สำคัญเด็กๆ หลายคนย่อมเข้าไม่ถึงการศึกษาและเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยเขาจะเข้าหาหมอได้อย่างไร แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีความพยายามในการช่วยเหลือเด็กๆ เช่น มีครูข้างถนน (โครงการที่ทางมูลนิธิคุ้มครองเด็ก ดำเนินการ - http://www.fblcthai.org) โดยทางมูลนิธิจะดำเนินการ คือ 1. ส่งครูข้างถนนไปตามพื้นที่ต่างๆ ที่สำรวจพบเด็กหรือได้รับแจ้งว่ามีเด็กเร่ร่อนใช้ชีวิตอยู่2. ครูข้างถนนจะคลุกคลีและสร้างสัมพันธ์ที่ดีเพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับเด็ก3. นำเด็กที่ยินยอมพร้อมใจแล้ว เข้าสู่บ้านเปิดหรือหน่วยงานที่เหมาะสม เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาเด็กต่อไป4. ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในลักษณะของเครือข่ายเพื่อร่วมกันป้องและแก้ไขปัญหาเด็กเร่ร่อนในภาพรวม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าถึงจะไม่มีครูข้างถนนแต่ "พวกเรา" ทุกคนหากพบเห็นเด็กๆ ที่เร่ร่อนไร้บ้านก็อาจจะเข้าไปสอบถาม และลองหาทางช่วยเหลือดู เพราะเราอาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือคนๆ หนึ่งให้เขาได้รับสิทธิการคุ้มครองสวัสดิภาพด้วย แม้ว่าเราจะไม่รู้จักพวกเขาเหมือนที่เรารู้จักคุณทักษิณ แต่เราสามารถจะให้ปีกเด็กน้อยได้โบยบินสู่บ้านอย่างปลอดภัยได้เช่นกัน....1 หนังสือมติชนรายวัน ประจำวัน อาทิตย์ ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
ที่ว่างและเวลา
ภู เชียงดาวพะโด๊ะ มาน ซาห์อดีตเลขาธิการสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง กี่ชีวิต…ที่เคว้งคว้างกลางป่ากี่ร่างที่ผวาลอยละลิ่วลับดับสูญนี่คือผลพวงของสงครามนี่คือการกระทำของศัตรูผู้โหดเหี้ยม ผู้บาปหนาและน่าละอายที่คอยกดขี่ข่มเหง เข่นฆ่า ผู้คนหญิงชาย, บริสุทธิ์ผู้รักสันติและความเป็นธรรมเถิดไม่เป็นไร...เราจะไม่ทุกข์ ไม่ท้อใบไม้ใบหนึ่งถูกปลิดปลิวร่วงหากบนก้านกิ่งนั้นยังคงมีใบอ่อนแตกใบให้เห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันยังคงมุ่งมั่นกันอยู่ใช่ไหม นักรบผู้กล้ากับความฝัน ความกล้าในแผ่นดิน ‘ก่อซูเล’ปลุกเร้าจิตวิญญาณเพื่อสืบสานตำนานการต่อสู้เพื่อรอวันทวงคืนผืนแผ่นดินเกิดยังจำกันได้ไหม...ในวันปฏิวัติชนชาติกะเหรี่ยงคำประกาศของพะโด๊ะ มาน ซาห์ ยังกังวานก้องอยู่ในความรู้สึก“นี่คือการปฏิวัติเพื่อประชาชนกะเหรี่ยง เพื่อปลดปล่อยตนเองจากการเป็นทาส ดังนั้นประชาชาติกะเหรี่ยงจึงเข้าร่วมในหนทางปฏิวัตินี้” ยังจำกันได้ไหม...ซอ บา อู คยี (Saw Ba U Gyi) นักรบผู้กล้าเคยบอกย้ำ...เฝ้าบอกพี่น้องให้เดินตาม ‘แนวทางทั้ง 4’ “หนึ่ง อย่าเอ่ยถึงการยอมจำนน สอง อาวุธของชาวกะเหรี่ยงต้องอยู่ในมือประชาชนกะเหรี่ยง สาม เราต้องพัฒนาประเทศกะเหรี่ยงให้สำเร็จให้จงได้ สี่ ชาวกะเหรี่ยงเท่านั้นที่กำหนดอนาคตของชาวกะเหรี่ยง”พี่น้องเอ๋ย...เราคือกะเหรี่ยง เราคือปว่าเก่อญอ  เราคือคน !จงจดจำคำของซอ บา อูคยี นั้นไว้จงจดจำคำของพะโด๊ะ มานซาห์ นั้นไว้…สามัคคีกัน จับมือกัน ไม่ทรยศต่อกันเท่านั้นหนทางปฏิวัติจึงจะสำเร็จ และประเทศชาติกะเหรี่ยงจักบังเกิดและเป็นจริงได้ !!เขียนขึ้นเนื่องในงาน รำลึกถึงการจากไปของ พะโด๊ะ มานซาห์ เลขาธิการสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง ภาพประกอบจาก http://www.kwekalu.net/
ชาน่า
ภาษาใครคิดว่าไม่สำคัญ บางคนบอกว่า แหม ... บางครั้งไม่จำเป็นต้องพูด ใช้ภาษาใบ้เอาก็ได้ แต่บังเอิญคนที่คุณใบ้ด้วยไม่เก็ตก็แย่สิฮะ.. หากพอมีเวลาว่างใช้เวลาในการศึกษาภาษาเพิ่มเติมชาน่าว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ดีทีเดียว  อย่างเวลาชาน่าไปแต่ละเมืองแต่ละประเทศนั้น จำเป็นต้องพอรู้ว่าไปไหนมา สามวาสองศอก หรือแม้แต่ภาษาเฉพาะในหมู่ชาวเรา ทำให้  "ง่ายสำหรับคุณค่ะ"
วาดวลี
"มีลูกแมวเพิ่งออกลูกตั้งหลายตัวแน่ะ""มันอยู่ตรงไหนคะ" "นั่นไง หลบอยู่หลังป้ายหาเสียงน่ะ"คนบอกชี้นิ้วไปยังบริเวณริมรั้วที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ฉันอดไม่ได้ ที่จะจำใจมองไปยังป้ายโฆษณาหาเสียงขนาดใหญ่ สูงท่วมหัวตั้งโด่เด่อยู่เพียงอันเดียวในหมู่บ้าน  ป้ายอันนั้นทำด้วยไม้อัดเรียงต่อกัน แปะทับเข้าไปด้วยไวนิลพิมพ์ภาพ 4 สีสดใส ใบหน้าผุดผ่อง ขาวนวลและริมฝีปากแดงระเรื่อ ดูมีอำนาจวาสนาและความรู้ แต่ในเมื่อไม่มีป้ายหาเสียงของใครอื่นมาเทียบเคียงอีกเลย ฉันจึงคิดเล่นๆว่า  ดูท่าทางเขาไม่ใช่ผู้ลงสมัครระดับธรรมดา และบ้านหลังนั้นที่มีรถหาเสียงหลายๆ คันทยอยกันมาจอดชุมนุม ก็คงไม่ธรรมดาเช่นกันลำโพงขนาดใหญ่ทำหน้าที่กระจายเสียงโฆษณาดังอย่างไม่เกรงใจใคร สลับกับบทเพลงยอดฮิต ที่ฟังแล้วเหมือนหมู่บ้านมีงานวัดหรืองานบุญ เปิดอยู่ราวๆ เกือบ 10 เพลง ถึงค่อยเข้าเรื่อง มีเพลงหลากสไตล์หลายแนวมาก เช้าวันนั้น เขาเปิดเพลง “เสียสาวที่สวนหอม” และ “ปอยหลวงวังสะแกง” ที่มีคนเผลอร้องตามตอนขับรถผ่าน ผู้คนคับคั่งทำให้ฉันและเพื่อนถอยออกไปก่อน รวมทั้งคุณลุงอีกคนที่เดินๆ หยุดๆ อยู่บริเวณนั้น“มันหายไปหมดละ คงตื่นคน”
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำโขงถือว่าเป็นแม่น้ำแห่งพรมแดนสายสำคัญที่ไหลเป็นเส้นแบ่งของหลายประเทศมีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้  ในจำนวนของคนริมสองฝั่งแม่น้ำโขงมีคนจำนวนไม่น้อยรับรู้ได้ว่า วันนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับแม่น้ำสายที่พวกเขาคุ้นเคย ฤดูหนาวแม่น้ำสีคล้ายน้ำโอวันติลไหลเอื่อยๆ เหมือนคนหายใจรวยรินใกล้สิ้นลมหายใจเต็มที แม่น้ำไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อนที่เคยเป็นมา เมื่อรับรู้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ชาวบ้านห้วยลึก หมู่ ๔ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายที่ได้อาศัยประโยชน์จากแม่น้ำมาหลายชั่วอายุคนจึงได้รวมตัวกันทำพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ สิ่งที่ชาวบ้านกลุ่มนี้ทำแม้ว่าอาจไม่ช่วยให้แม่น้ำที่พวกเขารู้จักกลับคืนมาเป็นเหมือนเดิม แต่ทุกคนก็ยินดีจะทำ เพราะสิ่งที่ชาวบ้านกระทำคือการสืบทอดความเชื่ออันมีมาแต่บรรพบุรุษตามคติความเชื่อแล้ว ชาวบ้านเชื่อว่าการสืบชะตาหมายถึง การต่ออายุให้ยืนยาวออกไป ในกรณีของทางภาคเหนือนั้น การต่อชะตามีหลายอย่าง และนิยมทำในหลายกรณี ชาวบ้านบางกลุ่มที่มีวิถีชีวิตผูกพันธ์กับแม่น้ำ ในยามที่เห็นว่า แม่น้ำกำลังเปลี่ยนแปลงไป เช่น น้ำแห้ง น้ำแล้ง หรือแม้แต่ปลาลดลง ชาวบ้านก็จะจัดพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ แต่สำหรับบางชุมชน แม่น้ำก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่ชาวบ้านก็นิยมจัดพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ เพื่อต่ออายุ และความเป็นสิริมงคลจะได้เกิดขึ้นกับแม่น้ำรวมทั้งผู้คนในชุมชนไปด้วย
ชิ สุวิชาน
ความมืดกลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง เช่นเดียวกับไม้เกี๊ยะที่มาจากแกนไม้สนสองใบต้องถูกเผาเพื่อผลิตแสงสว่างในครัวบ้านปวาเก่อญออีกครั้ง กาต้มน้ำที่ดำสนิทด้วยคราบเขม่าควันไฟถูกตั้งบนเหล่อฉอโข่อีกครั้ง กลิ่นชาป่าขั้วหอมทำให้โสตประสาทกระปรี่กระเปร่าขึ้นมาพร้อมเข้าสู่บรรยากาศการเรียนรู้ภายในบ้านไม้ไผ่หลังเดิมเตหน่ากู คืออุปกรณ์การเรียนรู้ถูกเตรียมไว้เพื่อใช้ในการเรียนรู้ ของพ่อซึ่งเป็นผู้สอนหนึ่งตัว ของลูกซึ่งเป็นผู้เรียนหนึ่งตัว รูปร่างลักษณะเตหน่ากูแม้ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่ก็มีรูปทรงที่คล้ายๆกัน  มีตัวท่อนไม้ใหญ่ และมีกิ่งไม้ที่โค้งงอเมื่อพ่อเห็นว่าลูกชายพร้อมที่จะเริ่มการรับความรู้แล้ว  พ่อเริ่มขับขานบทเพลงและดีดเตหน่ากูไปพร้อมๆกัน  นิ้วมือ ข้อมือและเสียงร้องทำงานประสานกันอย่างกลมกลืน  ลูกชายมองที่มือของพ่อและฟังเสียงพ่ออย่างตั้งอกตั้งใจ พ่อร้องจนจบเพลง
กวีประชาไท
 ที่มาภาพ : webboard/www.prachatai.com ¹ แผ่นดินแม่ร้าวไห้ เหลือบแฝง พ่อเอย ด้วยลื่นริ้นจำแปลง ระบาดให้ แผ่นดินแม่โรยแรง เหลือฝ่า เอยแม่ ด้วยค่ำคืนวันไว้ คลื่นเช้าหวั่นตรม ฯ     (๑) แผ่นดิน แม่ร้าวไห้ ด้วยเหลือบไร โลมไล้แฝง สื่อริ้น โลมจำแปลง ระบาดให้ ชาติระบาย ฯ (๒) เวลาจะพิสูจน์ สูตรสำเร็จ ค่าความหมาย คลื่นซาบ กราบวางลาย เหลือใจแผ่ แม่แผ่นดิน ฯ (๓) เช้า – ดึก ที่นึกฝัน วันและคืน อกถวิล ภาพพจน์ อันดื่มกิน ไหวเหนื่อยหนัก ศักดิ์ศรีมัว ฯ (๔) ผืนดิน ที่อยู่ย่ำ การกอบกรรม ล้ำเกลือกกลั้ว นึกรู้ เหลือบพันพัว เพื่อกวาดล้าง วางดวงใจ ฯ (๕) นี้ผืน แผ่นดินแม่ มีแต่ให้ อภัยให้ ผิดถูกถึงอย่างไร... เพียงหยัดอยู่ รู้ละอาย ฯ (๖) คืนสาย หยุดเช้าย้อน คลื่นลวงป้อน อันร้อนร้าย จากเหลือบ จำแฝงปราย รู้หยุดเยื้อง เปลื้องปลดบัง ฯ (๗) คลื่นค่ำ คืนหวาดไหว ดวงใจฟื้น ตื่นย่ำยั้ง โศลกแท้ จักก้องดัง ไม่ร้างแผ่น ดินแดนไท. ณรงค์ยุทธ โคตรคำ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ สำหรับผู้แทนราษฎร์ผู้ที่มีอิทธิพลต่อปากท้องและความรู้สึกนึกฝันของชาวบ้านและประชาชนเสียงส่วนใหญ่ของประเทศไทยยุคสมองกลครองเมืองอย่างเทียมแท้ !?

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม