Skip to main content

แม่น้ำโขงถือว่าเป็นแม่น้ำแห่งพรมแดนสายสำคัญที่ไหลเป็นเส้นแบ่งของหลายประเทศมีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้  ในจำนวนของคนริมสองฝั่งแม่น้ำโขงมีคนจำนวนไม่น้อยรับรู้ได้ว่า วันนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับแม่น้ำสายที่พวกเขาคุ้นเคย

ฤดูหนาวแม่น้ำสีคล้ายน้ำโอวันติลไหลเอื่อยๆ เหมือนคนหายใจรวยรินใกล้สิ้นลมหายใจเต็มที แม่น้ำไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อนที่เคยเป็นมา เมื่อรับรู้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ชาวบ้านห้วยลึก หมู่ ๔ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายที่ได้อาศัยประโยชน์จากแม่น้ำมาหลายชั่วอายุคนจึงได้รวมตัวกันทำพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ สิ่งที่ชาวบ้านกลุ่มนี้ทำแม้ว่าอาจไม่ช่วยให้แม่น้ำที่พวกเขารู้จักกลับคืนมาเป็นเหมือนเดิม แต่ทุกคนก็ยินดีจะทำ เพราะสิ่งที่ชาวบ้านกระทำคือการสืบทอดความเชื่ออันมีมาแต่บรรพบุรุษ

ตามคติความเชื่อแล้ว ชาวบ้านเชื่อว่าการสืบชะตาหมายถึง การต่ออายุให้ยืนยาวออกไป ในกรณีของทางภาคเหนือนั้น การต่อชะตามีหลายอย่าง และนิยมทำในหลายกรณี ชาวบ้านบางกลุ่มที่มีวิถีชีวิตผูกพันธ์กับแม่น้ำ ในยามที่เห็นว่า แม่น้ำกำลังเปลี่ยนแปลงไป เช่น น้ำแห้ง น้ำแล้ง หรือแม้แต่ปลาลดลง ชาวบ้านก็จะจัดพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ แต่สำหรับบางชุมชน แม่น้ำก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่ชาวบ้านก็นิยมจัดพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ เพื่อต่ออายุ และความเป็นสิริมงคลจะได้เกิดขึ้นกับแม่น้ำรวมทั้งผู้คนในชุมชนไปด้วย

การสืบชะตาให้กับแม่น้ำจึงเป็นการแสดงออกถึงความศรัทธา ความเคารพ และเหนือสิ่งอื่นใดคือการร่วมกันแสดงออกถึงความห่วงใยต่อแม่น้ำ

บางครั้งการสืบชะตาให้กับแม่น้ำ ชาวบ้านนิยมทำพร้อมกันหลายหมู่บ้าน แต่บางพื้นที่ก็นิยมทำเพียงหมู่บ้านเดียว อย่างที่บ้านห้วยลึกก็เช่นกัน ชาวบ้านเลือกเอาวันที่ ๙ ของเดือนแห่งปี ๒๕๕๑ จัดงานสืบชะตาให้กับแม่น้ำโขง แม่น้ำสายหลักที่ได้หล่อเลี้ยงชุมชนแห่งนี้ในด้านต่างๆ มาหลายชั่วอายุคน

พ่อประพันธ์ รัตนะ มัคทายกผู้นำทางศาสนาของชุมชนกล่าวว่า “ชาวบ้านจัดงานสืบชะตาครั้งนี้ก็เพื่อให้แม่น้ำได้หลุดพ้นการถูกทำลายด้านต่าง พอสืบชะตาแม่น้ำแล้ว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองแม่น้ำก็จะบันดาลให้คนในชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข อีกอย่างหนึ่ง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองแม่น้ำก็จะบันดาลให้แม่น้ำกลับมาอุดมสมบูรณ์อย่างเดิม”

อะไรเป็นเหตุเป็นผลให้ชาวบ้านหัวยลึกได้พากันร่วมทำพิธีต่อลมหายใจให้กับแม่น้ำในครั้งนี้ หากจะเล่ารายละเอียดเรื่องนี้ก็คงต้องย้อนกลับไปในปี ๒๕๓๙ ซึ่งเป็นปีที่เขื่อนแห่งแรกบนแม่น้ำโขงดำเนินการกักเก็บน้ำ ทันทีที่เขื่อนมันวานได้เริ่มดำเนินการกักเก็บน้ำในช่วงแรกหลังการก่อสร้าง ระดับน้ำในแม่น้ำโขงก็เริ่มเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ถึงกลับเปลี่ยนไปมาก ความเปลี่ยนแปลงค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป แต่สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้ค่อยเป็นค่อยไป

หลังการเปิดใช้เขื่อนแห่งแรกบนแม่น้ำโขงอย่างเป็นทางการ น้ำในแม่น้ำก็เริ่มลดระดับลง และระดับน้ำขึ้น-ลงไม่ตรงตามระยะเวลาของฤดูที่เคยเป็นมา จากสถิติซึ่งจดบันทึกโดยกรมอุทกวิทยาที่สถานีวัดระดับน้ำเชียงแสนระบุว่า ในปี ๒๕๔๒ ระดับน้ำอยู่ในจุดต่ำสุดคือ ๐.๗๔ เมตร เมื่อระดับน้ำเปลี่ยนแปลงเช่นนี้อะไรเกิดขึ้นบ้าง?

ทันทีที่ระดับน้ำเปลี่ยนแปลง ระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ๑๑  ซึ่งมีการสำรวจจากงานวิจัยจาวบ้านพบว่า “คก” แหล่งที่อยู่อาศัยและวางไข่ของปลาบางแห่งตื้นเขิน เช่น คกหลวง คกขนาดใหญ่ในแม่น้ำโขงอยู่บริเวณแก่งผาไดรอยต่อพรมแดนไทย-ลาว คกแห่งนี้ตื้นเขินจนไม่กลายเป็นคกหลวงอีกต่อไป (หมายเหตุคำว่า ‘หลวง’ ในภาษาท้องถิ่นภาคเหนือแปลว่า ‘ใหญ่’) บางแห่งโดนทรายทับถมจนกลายเป็นพื้นที่ต่อกับผืนดิน เช่น คกลิงน้อย บริเวณบ้านแก่งไก่ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

หลังน้ำขึ้น-ลงผิดปกติ ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง ปลาที่เคยมีอยู่จำนวนมากก็ค่อยๆ กลายเป็นสิ่งหายาก ๒-๓ ปีที่ผ่านมา คนหาปลาหาปลาได้น้อยลง บางคนถึงกับต้องเลิกหาปลาไปทำการเกษตรเพียงอย่างเดียว ทั้งที่การหาปลาเป็นงานที่สร้างหลายได้จำนวนไม่น้อยให้กับผู้คนหาปลาในแม่น้ำโขง

พ่อทองสวรรค์ พรมราช อดีตคนหาปลาเล่าให้ฟังว่า “แต่ก่อนคนหาปลานี่เลี้ยงครอบครัวได้ เดียวนี้ไม่ได้แล้ว ลงหาปลามากินยังยากเลย จะหาไปขายยิ่งยากกว่า ตอนนี้คนหาปลาเลยมีน้อย มันหาปลายาก บางคนก็ไปทำสวนรายได้มันมั่นคงกว่า”

ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับคนหาปลานั้นเป็นผลกระทบที่คนหาปลาไม่อาจต้านทานได้ เช่นเดียวกัน แม่น้ำก็ไม่อาจต้านทานผลกระทบอันเกิดจากโครงการพัฒนาที่มุ่งตอบสนองความต้องการอันไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์ได้เช่นกัน

ไม่มีใครตอบได้ชัดเจนว่า การบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นไปในทิศทางใด และใครจะเป็นคนรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำโขงอันเป็นเหมือนเส้นเลือดใหญ่แห่งอุษาคเนย์สายนี้

ในวันที่แม่น้ำไหลเอื่อยๆ คล้ายคนใกล้สิ้นลมหายใจ การลุกขึ้นมาต่อลมหายใจให้กับแม่น้ำตามคติความเชื่อโบราณของคนกลุ่มเล็กๆ แม้ว่า มันจะไม่สามารถเป็นผลทางรูปธรรมที่แตะต้องได้ แต่หากว่ารูปธรรมทางด้านจิตใจอันดีงามของคนกลุ่มนี้กลับงอกเงย และจับต้องได้

**บทความนี่ตีพิมพ์ครั้งแรก หน้าคติชน หนังสือพิมพ์มติชน

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’