Skip to main content

แม่น้ำโขงถือว่าเป็นแม่น้ำแห่งพรมแดนสายสำคัญที่ไหลเป็นเส้นแบ่งของหลายประเทศมีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้  ในจำนวนของคนริมสองฝั่งแม่น้ำโขงมีคนจำนวนไม่น้อยรับรู้ได้ว่า วันนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับแม่น้ำสายที่พวกเขาคุ้นเคย

ฤดูหนาวแม่น้ำสีคล้ายน้ำโอวันติลไหลเอื่อยๆ เหมือนคนหายใจรวยรินใกล้สิ้นลมหายใจเต็มที แม่น้ำไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อนที่เคยเป็นมา เมื่อรับรู้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ชาวบ้านห้วยลึก หมู่ ๔ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายที่ได้อาศัยประโยชน์จากแม่น้ำมาหลายชั่วอายุคนจึงได้รวมตัวกันทำพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ สิ่งที่ชาวบ้านกลุ่มนี้ทำแม้ว่าอาจไม่ช่วยให้แม่น้ำที่พวกเขารู้จักกลับคืนมาเป็นเหมือนเดิม แต่ทุกคนก็ยินดีจะทำ เพราะสิ่งที่ชาวบ้านกระทำคือการสืบทอดความเชื่ออันมีมาแต่บรรพบุรุษ

ตามคติความเชื่อแล้ว ชาวบ้านเชื่อว่าการสืบชะตาหมายถึง การต่ออายุให้ยืนยาวออกไป ในกรณีของทางภาคเหนือนั้น การต่อชะตามีหลายอย่าง และนิยมทำในหลายกรณี ชาวบ้านบางกลุ่มที่มีวิถีชีวิตผูกพันธ์กับแม่น้ำ ในยามที่เห็นว่า แม่น้ำกำลังเปลี่ยนแปลงไป เช่น น้ำแห้ง น้ำแล้ง หรือแม้แต่ปลาลดลง ชาวบ้านก็จะจัดพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ แต่สำหรับบางชุมชน แม่น้ำก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่ชาวบ้านก็นิยมจัดพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ เพื่อต่ออายุ และความเป็นสิริมงคลจะได้เกิดขึ้นกับแม่น้ำรวมทั้งผู้คนในชุมชนไปด้วย

การสืบชะตาให้กับแม่น้ำจึงเป็นการแสดงออกถึงความศรัทธา ความเคารพ และเหนือสิ่งอื่นใดคือการร่วมกันแสดงออกถึงความห่วงใยต่อแม่น้ำ

บางครั้งการสืบชะตาให้กับแม่น้ำ ชาวบ้านนิยมทำพร้อมกันหลายหมู่บ้าน แต่บางพื้นที่ก็นิยมทำเพียงหมู่บ้านเดียว อย่างที่บ้านห้วยลึกก็เช่นกัน ชาวบ้านเลือกเอาวันที่ ๙ ของเดือนแห่งปี ๒๕๕๑ จัดงานสืบชะตาให้กับแม่น้ำโขง แม่น้ำสายหลักที่ได้หล่อเลี้ยงชุมชนแห่งนี้ในด้านต่างๆ มาหลายชั่วอายุคน

พ่อประพันธ์ รัตนะ มัคทายกผู้นำทางศาสนาของชุมชนกล่าวว่า “ชาวบ้านจัดงานสืบชะตาครั้งนี้ก็เพื่อให้แม่น้ำได้หลุดพ้นการถูกทำลายด้านต่าง พอสืบชะตาแม่น้ำแล้ว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองแม่น้ำก็จะบันดาลให้คนในชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข อีกอย่างหนึ่ง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองแม่น้ำก็จะบันดาลให้แม่น้ำกลับมาอุดมสมบูรณ์อย่างเดิม”

อะไรเป็นเหตุเป็นผลให้ชาวบ้านหัวยลึกได้พากันร่วมทำพิธีต่อลมหายใจให้กับแม่น้ำในครั้งนี้ หากจะเล่ารายละเอียดเรื่องนี้ก็คงต้องย้อนกลับไปในปี ๒๕๓๙ ซึ่งเป็นปีที่เขื่อนแห่งแรกบนแม่น้ำโขงดำเนินการกักเก็บน้ำ ทันทีที่เขื่อนมันวานได้เริ่มดำเนินการกักเก็บน้ำในช่วงแรกหลังการก่อสร้าง ระดับน้ำในแม่น้ำโขงก็เริ่มเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ถึงกลับเปลี่ยนไปมาก ความเปลี่ยนแปลงค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป แต่สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้ค่อยเป็นค่อยไป

หลังการเปิดใช้เขื่อนแห่งแรกบนแม่น้ำโขงอย่างเป็นทางการ น้ำในแม่น้ำก็เริ่มลดระดับลง และระดับน้ำขึ้น-ลงไม่ตรงตามระยะเวลาของฤดูที่เคยเป็นมา จากสถิติซึ่งจดบันทึกโดยกรมอุทกวิทยาที่สถานีวัดระดับน้ำเชียงแสนระบุว่า ในปี ๒๕๔๒ ระดับน้ำอยู่ในจุดต่ำสุดคือ ๐.๗๔ เมตร เมื่อระดับน้ำเปลี่ยนแปลงเช่นนี้อะไรเกิดขึ้นบ้าง?

ทันทีที่ระดับน้ำเปลี่ยนแปลง ระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ๑๑  ซึ่งมีการสำรวจจากงานวิจัยจาวบ้านพบว่า “คก” แหล่งที่อยู่อาศัยและวางไข่ของปลาบางแห่งตื้นเขิน เช่น คกหลวง คกขนาดใหญ่ในแม่น้ำโขงอยู่บริเวณแก่งผาไดรอยต่อพรมแดนไทย-ลาว คกแห่งนี้ตื้นเขินจนไม่กลายเป็นคกหลวงอีกต่อไป (หมายเหตุคำว่า ‘หลวง’ ในภาษาท้องถิ่นภาคเหนือแปลว่า ‘ใหญ่’) บางแห่งโดนทรายทับถมจนกลายเป็นพื้นที่ต่อกับผืนดิน เช่น คกลิงน้อย บริเวณบ้านแก่งไก่ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

หลังน้ำขึ้น-ลงผิดปกติ ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง ปลาที่เคยมีอยู่จำนวนมากก็ค่อยๆ กลายเป็นสิ่งหายาก ๒-๓ ปีที่ผ่านมา คนหาปลาหาปลาได้น้อยลง บางคนถึงกับต้องเลิกหาปลาไปทำการเกษตรเพียงอย่างเดียว ทั้งที่การหาปลาเป็นงานที่สร้างหลายได้จำนวนไม่น้อยให้กับผู้คนหาปลาในแม่น้ำโขง

พ่อทองสวรรค์ พรมราช อดีตคนหาปลาเล่าให้ฟังว่า “แต่ก่อนคนหาปลานี่เลี้ยงครอบครัวได้ เดียวนี้ไม่ได้แล้ว ลงหาปลามากินยังยากเลย จะหาไปขายยิ่งยากกว่า ตอนนี้คนหาปลาเลยมีน้อย มันหาปลายาก บางคนก็ไปทำสวนรายได้มันมั่นคงกว่า”

ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับคนหาปลานั้นเป็นผลกระทบที่คนหาปลาไม่อาจต้านทานได้ เช่นเดียวกัน แม่น้ำก็ไม่อาจต้านทานผลกระทบอันเกิดจากโครงการพัฒนาที่มุ่งตอบสนองความต้องการอันไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์ได้เช่นกัน

ไม่มีใครตอบได้ชัดเจนว่า การบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นไปในทิศทางใด และใครจะเป็นคนรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำโขงอันเป็นเหมือนเส้นเลือดใหญ่แห่งอุษาคเนย์สายนี้

ในวันที่แม่น้ำไหลเอื่อยๆ คล้ายคนใกล้สิ้นลมหายใจ การลุกขึ้นมาต่อลมหายใจให้กับแม่น้ำตามคติความเชื่อโบราณของคนกลุ่มเล็กๆ แม้ว่า มันจะไม่สามารถเป็นผลทางรูปธรรมที่แตะต้องได้ แต่หากว่ารูปธรรมทางด้านจิตใจอันดีงามของคนกลุ่มนี้กลับงอกเงย และจับต้องได้

**บทความนี่ตีพิมพ์ครั้งแรก หน้าคติชน หนังสือพิมพ์มติชน

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
วารสารวรรณศิลป์บนแผ่นดินลาว ลมหนาวและความร้อนแล้งโชยผ่านยอดขุนเขาด้านทิศตะวันตกแห่งเมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านนามาแผ่วๆ แล้วฤดูกาลแห่งความเหน็บหนาวก็เดินทางมาอีกครั้งพร้อมกับลมสายลมนั้น
สุมาตร ภูลายยาว
สี่พันดอน: บ้านของคนและปลา เมื่อเอ่ยถึงสี่พันดอนเชื่อว่าหลายคนที่เคยไปเยือนคงจินตนาการถึงได้ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยไปเยือนคงงุนงงไม่น้อยว่าหมายถึงอะไร คำว่า ‘สี่พันดอน’ เป็นชื่อเรียกเกาะ ดอนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงในเขตเมืองโขง แขวงจำปาสัก ภาคใต้ของประเทศลาว ดินแดนแห่งนี้ได้ถูกเรียกขานว่า สี่พันดอน เพราะเต็มไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่มีจำนวนมากมายเรียงรายอยู่ในแม่น้ำโขงที่มีความกว้างกว่า ๑๔ กิโลเมตร เกาะต่างๆ เริ่มขึ้นที่เมืองโขงและยาวลงไปจนถึงชายแดนลาว-กัมพูชาที่บ้านเวินคามกับเมืองสตรึงเตร็ง ในจำนวนเกาะที่มีอยู่มากมาย เกาะใหญ่ที่สุดชื่อ ‘ดอนโขง’ คำว่า ‘ดอน’…
สุมาตร ภูลายยาว
เจ้าม้าศึกสีเทา ๒,๒๐๐ ซีซี ทะยานไปตามทางลูกรังสีแดงเบื้องหลังฝุ่นคลุ้งตลบ หากมีรถวิ่งตามมาคงบอกได้คำเดียวว่า ‘ขอโทษ’ ก่อนจะถึงทางแยกเสียงโทรศัพท์ของผู้ไปถึงก่อนก็บอกให้ตรงมาตามทางอย่าได้เลี้ยวซ้ายเป็นอันขาด เพราะนั่นหมายถึงการหลงทางจะเกิดขึ้น
สุมาตร ภูลายยาว
การเดินทางเที่ยวนี้มีผู้หญิงนำ เช้านี้เป็นอีกวันที่ตื่นเช้ากว่าวันอื่น แต่หากว่าเมื่อเทียบกับชาวบ้านทั่วไปแล้ว ถือว่ายังสาย โดยเฉพาะกับพ่อค้าแม่ค้าการตื่นนอนตอน ๖ โมงเช้านั้นถือว่าสายมากแล้ว เช้านี้กว่าจะเปิดเปลือกตาตื่นช่างหนักหนาสาหัส ราวกับว่าเปือกตาทั้งสองข้างถูกปิดทับไว้ด้วยเทปกาวชั้นดี หลังล้างหน้าแปรงฟันเสร็จ สมองยังคงงุนงง อาจเป็นเพราะช่วงนี้พักผ่อนไม่ค่อยพอ รวมทั้งมีเรื่องหลายเรื่องให้ได้คิด แต่เพราะงานที่ทำจึงต้องบังคับตัวเองให้ลุกจากที่นอน
สุมาตร ภูลายยาว
จะแกคนเลี้ยงวัวผู้ไม่เคยขุ่นมัวในหัวใจ ผมจำได้ว่าพบชายคนนี้ครั้งแรกเมื่อเข้าไปบ้านสองพี่น้อง เขาดูแปลกกว่าคนอื่นในหมู่บ้าน เพราะเขาเป็นผู้ชายคนเดียวในหมู่บ้านที่ไว้ผมยาว เค้าโครงใบหน้าของเขาราวกับถอดแบบออกมาจากหัวหน้าชนเผ่าของอินเดียนแดง
สุมาตร ภูลายยาว
การงานของชีวิตที่ตกค้าง ฝนเทลงมาอีกวันแล้ว...เสียงสังกะสีดังราวกับมีก้อนหินนับล้านร่วงลงมาใส่ เย็นวันนี้มีเรื่องราวให้ขบคิดมากมาย กลับมาจากการประชุมที่เคร่งเครียด อันนับว่าเป็นการงานส่วนหนึ่งของชีวิต เล่นเอาเหนื่อยสายตัวแทบขาด แล้วยังมีงานอะไรที่ยังไม่ได้ทำอีกไหมนี่
สุมาตร ภูลายยาว
บันทึกในค่ำคืนที่เปลี่ยนผ่านกับนิทรรศการที่ไม่ได้จัด สายฝนของเดือนกันยายนโปรยสายลงมาทั้งวัน เราออกเดินทางจากเชียงของมาแต่ตอนเช้าด้วยรถคันเล็ก บนกระบะทางตอนท้ายบรรทุกเอกสารต่างๆ รวมทั้งนิทรรศการมาเต็ม รถต้องจดหลายครั้ง เพื่อห่มผ้ายางกันฝนให้ของบนกระบะรถ เราผ่านมากว่าครึ่งทาง ฝนยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดตก ซ้ำร้ายยังตกลงมาหนักกว่าเดิม รถวิ่งทำความเร็วได้ไม่มากนัก ทั้งที่ความเป็นจริงแม้ฝนจะไม่ตก มันก็ไม่เคยวิ่งได้เร็วกว่าที่วิ่งอยู่เท่าใดนัก
สุมาตร ภูลายยาว
เมฆสีดำเหนือฟ้าด้านตะวันออกส่งสายฝนลงมาตั้งแต่เช้าจนล่วงบ่าย แม่น้ำเป็นสีชานมเย็น เศษขยะ ขอนไม้ ท่อนไม้ และต้นไม้ลอยมากับสายน้ำ และไหลไปตามแรงเฉื่อยของกระแสน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
เช้านี้เหมือนกับทุกเช้าในช่วงนี้พ่อท่อน ยาแก้วเดินทอดน่องในสวนบนดอนทรายริมฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อดูแปลงมะเขือราว ๔ ไร่ ในใจพ่อท่อนเองไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้แม้ว่าจะถึงช่วงเวลาในการเก็บแล้ว สาเหตุที่ทำให้พ่อท่อนไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้ เพราะราคามะเขือต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ปีนี้มะเขือหนึ่งหมื่น (๑๒ กิโลกรัม) ขายส่งจากสวนได้เงิน ๑๒ บาท
สุมาตร ภูลายยาว

รถตู้วิ่งไปบนถนนลาดยางมะตอยที่บางช่วงเป็นหลุมเป็นบ่อ ถนนสายนี้เป็นเส้นทางจากจังหวัดกระแจะไปอำเภอสามบอ เพราะถนนไม่ค่อยดีนัก ระยะทาง ๓๕ กิโลเมตรต้องใช้เวลาเกือบ ๑ ชั่วโมงจึงถึงจุดหมาย เมื่อรถตู้ทั้ง ๓ คันจอดสงบนิ่งลงตรงประตูหน้าวัด ผู้โดยสารในรถตู้ก็พากันทยอยลงจากรถ เบื้องล่างของถนนเป็นแม่น้ำสายใหญ่ คนท้องถิ่นเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า ‘โตนเลของ-แม่น้ำของ-โขง’ แม้ยังไม่สายมากนัก แต่แสงแดดก็ส่องประกายร้อนแรงเหนือสายน้ำ ฟ้ากว้างเปล่าแปนเป็นสีฟ้าไกลสุดสายตาหยั่งถึง บนสายน้ำเรือหลายลำจอดลอยลำอยู่ ใกล้กับเรือตรงโคนต้นจามจุรีมีเด็ก ๓-๔ คนนั่งอยู่ ถัดจากโคนต้นจามจุรีไปมีเรือลำหนึ่งลอยลำอยู่…
สุมาตร ภูลายยาว
จากพื้นที่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน ผู้คนสองฝั่งได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำที่มีความยาว ๔,๙๐๔ กิโลเมตรสายนี้ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้าน ลักษณะการใช้ประโยชน์ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่สภาพของพื้นที่ ในช่วงที่ไหลผ่านประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดเชียงรายจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ก็มีผู้คนไม่จำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์ในด้านแตกต่างกันออกไป ผู้ใหญ่ใช้หาปลา และใช้พื้นที่ตามหาดทรายที่โผล่พ้นน้ำ และริมฝั่งทำการเกษตร เด็กๆ ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับฝึกหาปลา และว่ายน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
  ผาชันเป็นหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ริมแม่น้ำโขงอยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี หมู่บ้านแห่งนี้มีเรื่องราวน่าสนใจหลายอย่าง เริ่มแรกเดิมทีก่อนเดินทางไปถึง ผมจินตนาการถึงหมู่บ้านแห่งนี้ในรูปแบบต่างๆ และพอเดินทางไปถึงบ้านผาชันเป็นครั้งแรก ซึ่งอยู่ในหน้าฝน ผมก็พบว่า ในฤดูฝนหมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นเกาะขนาดย่อมๆ ชาวบ้านบอกว่า "ในฤดูฝน น้ำจากห้วยจะไหลจนท่วมสะพาน และถนนที่เข้าสู่หมู่บ้าน การเดินทางเข้าหมู่บ้านต้องใช้เรือข้ามลำห้วยแล้วไปต่อรถ" ร่องรอยของคำพูดปรากฏให้เห็นเมื่อผมเดินทางเข้าสู่หมู่บ้าน รถข้ามสะพานที่น้ำในลำห้วยเริ่มปริ่มอยู่ใต้สะพาน…