Skip to main content

เมื่อพูดถึงเจดีย์ไชทียู หรือที่คนไทยรู้จักในนามพระธาตุอินทร์แขวน ก็ขอให้ลืมเป็นการชั่วคราวเรื่องตำนานพระฤาษี และความศักดิ์สิทธิ์ แต่สิ่งที่อยากจะเล่าสู่กันฟังในวันนี้คือชีวิตของคนเล็กคนน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ที่มาสร้างการดำรงชีพในพื้นที่ท่องเที่ยว ณ ที่แห่งนี้

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าเจดีย์นี้สร้างโดยฤาษีและกษัตริย์รัฐมอญ ในศตวรรษที่ 15 โดยมีชุมชนชาวกระเหรี่ยงเป็นผู้ดูแลรักษาซึ่งผูกติดกับวิถีชีวิตประจำวันของพวกเขา แต่บังเอิญว่ามันอยู่ในดินแดนซึ่ง “ปัจจุบัน” เรียกว่าประเทศพม่า เราเลยเห็นแต่พม่า(บางครั้งต่างชาติร่วมลงทุน) เป็นเจ้าของโรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร โปรโมทการท่องเที่ยวโดยรัฐและบริษัททัวร์พม่า โน่น นี่ นั่น ใครต่อใครก็เลยนึกไปว่าชนชาวพม่า-พม่าเป็นเจ้าของวัฒนธรรม ในขณะที่มอญ-พม่าและกระเหรี่ยง-พม่าเจ้าของวัฒนธรรมกลับถูกเบียดซะจนตกขอบ เป็นแค่ตัวประกอบเดินผ่านหน้ากล้อง (เอาเข้าจริงๆ แล้ว...แค่เป็นตัวประกอบก็ยังไม่ได้เลย)

 

ช่น เมื่อถึงยอดเขาแล้ว ระหว่างทางขึ้นนมัสการ ผู้เขียนเห็นเด็กผมแดงและผู้หญิงชาวกระเหรี่ยง-พม่า (Kayine) กำลังขาย “นันทะพิว” (Nant Thar Phyu) ซึ่งเป็นไม้หอม ใช้ทาผิวและดมแก้อาการเวียนศรีษะ อยู่สองข้างบันไดอย่างสุภาพ ไม่ตื้อนักท่องเที่ยว ผู้เขียนเข้าไปทักทายและซื้อมา 1 ท่อน แต่ไม่นาน กลุ่มเด็กค้า-แม่ค้า ต้องวิ่งหนี เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เมื่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจับได้ ไล่ทัน ก็สาดท่อนนันทะพิว ทิ้งไปทั้งตระกร้า เด็กน้อยต้องตามเก็บท่อนไม้น้อยที่หล่นกระจายบนพื้น บอกตรง...เห็นแล้วน้ำตาซึม อึ้งกิมกี่ มันดราม่าเหมือนหนังไทยน้ำเน่าเรื่อง “ไอ้หลงเป็นเด็กวัด” เลย ...บนพื้นที่แห่งการท่องเที่ยว เจ้าของวัฒนธรรม คือกระเหรี่ยงกลับโดนเบียดขับออกไป แล้วใครกันมีสิทธิขาย ใครกันมีสิทธิตั้งร้านอย่าง(ไม่)เกะกะในสายตาของผู้มีอำนาจ(รัฐและเงิน)  ในฐานะกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่มีสิทธิทำเกษตรบนภูเขาจนพอยังชีพได้ คุณจะให้เขาทำอะไรที่สุจริตรับประทาน ไม่ทราบ หรือกำลังต้อนเขาให้จนมุมจนต้องไปขายยา....

 

ที่ไชยทียู ร้านขายของที่ระลึก ร้านค้า ร้านอาหารที่ถูกจัดอย่างเป็นสัดส่วนและมีการเก็บภาษีแถวๆ นี้ เจ้าของเป็นคนพม่า-พม่า หมด เท่าที่ไปคุยๆ กับหลายๆร้าน ว่าอยากเจอร้านกระเหรี่ยง เขาก็บอกว่า ไม่มีหรอก กระเหรี่ยง ถ้าอยากหาร้านกระเหรื่ยง โน่น อยู่ทางฟากโน้น ว่าแล้วก็ชี้มือไปทางเขาอีกฟากอันไกลโพ้น สุดปัญญาจะเดินไป ถ้าไม่อยากเดินไป ก็ไปดูข้างๆ ทางนี่ ว่าแล้วก็ชี้มือไปที่แม่ค้าที่นั่งขายของ ข้างทางเดิน 

บ่องตงนะ ที่ผู้เขียนสังเกต เด็กค้า-แม่ค้าที่นี่ สุภาพมาก ไม่เห็นมีตื้อ เดินตามนักท่องเที่ยว และทำให้ไชยทียูสกปรกเลย คนที่ทำมันสกปรกมากที่สุดก็คงเป็นน้ำเสียจากโรงแรมและร้านอาหารใหญ่ๆ มากกว่า และในสายตาของผู้เขียนซึ่งก็เป็นคนเล็กคนน้อยเช่นกัน ร้านค้าใหญ่ๆ บางร้านก็ดูเกะกะทางเดิน ยิ่งถ้าต้องมาตั้งโต๊ะ-เก้าอี้ แผงค้ายื่นออกมาข้างถนน แต่แปลกที่คนใหญ่ๆ ที่เป็นผู้สร้างความเดือนร้อนตัวจริงกลับไม่โดนเบียดขับออกจากสถานที่นี้ ทำให้คิดถึงบทความ (อะไรน้า...จำขื่อไม่ได้แล้ว) ที่ อ.ยุกติ พูดว่า “...หรือพวกคุณมันก็ดีแต่รังแกคนเล็กคนน้อย คนที่ไม่มีทางสู้” อัลไลประมาณเนี้ย

เพราะเจดีย์ไชยทียูตั้งอยู่บนเขาสูงชัน ในโลกของความหมายของการแสวงบุญของพระและพุทธศาสนิกขนชาวพม่า เจดีย์ไชยทียูเป็น 1 ใน 3 ของเจดีย์ที่ชาวพม่าต้องไปให้ได้ในชาติหนึ่งที่เกิดมาเป็นคนบนผืนแผ่นดินนี้ นอกเหนือจาก ชเวดากอง ที่ย่างกุ้ง และมหายามุนี ที่มัณฑะเลย์ คนพม่าไม่ว่าจะยากดีมีจน หากไม่เหลือบากกว่าแรงแล้วต้องหอบสังขารมาแสวงบุญ ณ ที่แห่งนี้ให้จงได้ ดังนั้น ปีๆ นึงนักท่องเที่ยวขึ้นมาเป็นจำนวนมากเรือนแสน

และนี่ทำให้ที่ดินบริเวณนี้แพงมว๊าก คิดดูว่าโรงแรมไม่มีแอร์ ไม่มีหน้าต่าง มีแต่พัดลมดูดอากาศ ห้องเล็กขนาดเอาเตียง 5 ฟุตใส่ไปแล้วเต็มห้อง ชนฝาห้องพอดี ยังราคา 45 ดอลล่าห์ สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในฤดูที่ไม่ใช่การท่องเที่ยว ที่แพงขนาดนี้คนมีปัญญามาลงทุนคงมีแต่พวกคนใหญ่ๆ โตๆ

ผู้เขียนไปข้าวราดแกงร้านหนึ่ง ขนาดกว้าง 2x6 เมตร พี่สาวผู้ที่เป็นเจ้าของร้านขายอาหารเป็นคนพม่า-พม่า ส่วนสามีเป็นอารกัน-พม่า พวกเขาเป็นคนเมือง มาจากจังหวัดไชยถู่ เคยมีอาชีพขายส่งอาหารทะเลมาก่อน จึงมีเงินมาลงทุนซื้อสิทธิในที่ดินตรงนี้ ระหว่างที่ผู้เขียนกินไป เธอก็นั่งข้างๆ โบกพัดปัดแมลงวันให้ผู้เขียน แล้วเราก็ได้สนทนากันอย่างเป็นกันเอง เธอเล่าว่า ปัจจุบันนี้ ที่ดินขนาด 2x6 เมตรที่เธอซื้อสิทธิในการขายของมีราคา 37,000 ดอลล่าห์ หรือประมาณ 1,184,000 บาท (แต่ตอนที่เธอซื้อสิทธิในการใช้ที่ดินนี้ เป็นเงินเท่าไรนั้น ผู้เขียนลืมถาม) ทุกวันนี้เธอจ่ายค่าธรรมเนียมให้วัดไชยทียูปีละ 500 ดอลล่าห์ หรือ 16,000 บาท แต่เธอมีกำไรในการขายอาหารปีละ 15,000 ดอลล่าห์ หรือประมาณ 480,000 บาท ขายจริง 9 เดือน เพราะไชยทียูปิดรับนักท่องเที่ยว 3 เดือน ดังนั้นเธอจึงมีกำไรจากการขายอาหารที่นี่เดือนละประมาณ 53,300 บาท

เงินค่าซื้อสิทธิในการใช้ที่ดินแพงแบบนี้ คนท้องถิ่นบ้านๆ ที่ไหนจะมีเงินมาลงทุน ...เมื่อเอาทุนเป็นตัวตั้ง จินตนาการในเรื่องการจัดสรร "แบ่งปัน" พื้นที่ให้คนท้องถิ่นที่ซึ่งดูแลรักษาวัฒนธรรมแห่งนี้มานาน ได้มีที่มีทางทำมาหากินกะเขาบ้าง จึงไม่เคยพัดผ่านเข้ามาในหัวของผู้มีอำนาจรัฐ ชาวมอญและกระเหรี่ยงแถวนี้ จึงดูเหมือนเป็น “คนอื่น” ในแผ่นดินตัวเอง” ...เป็น “คนนอก” ในวัฒนธรรมที่ตัวเองสร้างและรักษามาหลายร้อยปี

...ว่าแล้วก็เลยคิดไปถึงพี่ชายชาวอินเดีย-พม่า 5 คน ที่มีพ่อเกิดที่พม่า ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสคุยด้วยบนรถเมล์ร้อนๆ ระหว่างทางกลับจากไชยทียูไปย่างกุ้ง พวกเขาบอกว่า “ไม่อยากไปหรอก อินเดีย หน่ะ แม้ไปแป๊ปเดียวก็เหอะ เพราะคนอินเดียเรียกพวกเขาว่าเป็น “พม่า”  ส่วนพม่าดันเรียกพวกเขาว่า “กะลา” (คนอินเดียในพม่า)” (เมื่อผู้เขียนถามว่า อยากกลับไปเยี่ยมอินเดียมั้ย)   เหอ เหอ เหอ...กำ เจง เจง...

....เมื่อต้องเป็นคนอื่น ในแผ่นดินของตัวเอง...

บล็อกของ เก๋ อัจฉริยา

เก๋ อัจฉริยา
อาจจะจริงที่ใครหลายคนพูดว่าการติดคุกโดยไม่ขอประกันตัวและการอดอาหารของ “ไผ่ ดาวดิน” (เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม จากคดีแจกเอกสารไม่แสดงความเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญในตลาดอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ) ไม่มีพลังในเชิง “ยุทธศาสตร์” แม้ว่ามันคือความพยายามของสันติวิธีในการการปลุกกระแสเรื่องสิ
เก๋ อัจฉริยา
อยากให้ทุกคนดูตารางข้างล่างนี้ เมื่อวานฉันไปลุ้นผลการนับคะแนนและจดตัวเลขนี้มากับมือ
เก๋ อัจฉริยา
ห่านามนิง ชายร่างเล็ก อายุ 74 ปี อาจารย์สอนภาษาไทเมืองคองของผู้เขียน เป็นอดีตครูโรงเรียนมัธยม หัวหน้างานการศึกษาอำเภอบาเทื๊อก และรองประธานคณะกรรมการบริหาร (ตามลำดับ) ปัจจุบันเป็นครูสอนภาษาไทแทงหวาและนักวิจัยอิสระ ห่านามนิงเล่า[1] ให้ผู้เขียนฟังเกี่ยวกับเ
เก๋ อัจฉริยา
ภาพข้างล่างนี้เป็นการทานอาหารมื้อแรกของฉันในรอบ 2 ปี ที่พร้อมหน้าพร้อมตากับทุกคนในครอบครัวไทขาว อำเภอมายโจว (เมืองมุน) จังหวัดฮว่าบิ่ง ที่ฉันเคยไปอาศัยอยู่หลายเดือน ในทุกปี ตั้งแต่ทำปริญญาเอก ในปี 2008  (จริงๆ ทำปริญญาเอกและมาที่มายโจวแล้วแต่ปี 2007 เพียงแต่อยู่บ้านอื่น) ยกเว้นปี 2015 จนถึงป
เก๋ อัจฉริยา
ปกติเมื่อฉันมาถึงฮานอย ฉันก็ใช้บริการแท๊กซี่สนามบินนอยไบ เท่าที่ฉันสังเกต แท๊กซี่ส่วนใหญ่ เมื่อรู้ว่าฉันพูดภาษาเวียดนามได้ ก็ชอบคุยโน่นนี่นั่นกับฉัน พี่แท๊กซี่คนนี้ก็เหมือนกัน พี่แกเป็นผู้ชาย อายุน่าจะประมาณ 40 กว่าๆ เมื่อพี่แกเห็นฉันพูดภาษาเวียดกะแก แกถามว่าฉันเป็นคนช่าติอะไร พอบอกว่าไทย แกหันมา
เก๋ อัจฉริยา
วันที่ 18 มิถุนายน 2558 หลังจากที่เถ่ยซาว (อาจารย์ซาว) หย่อนลุงนิง (ห่านามนิง) และผู้เขียนไว้ที่โรงแรมที่ตัวอำเภอเถื่องซวนเมื่อเย็นวาน เช้าวันต่อมาเราจึงต้องไปวิจัยกับเครือข่ายใหม่ แต่ขอออกนอกเรื่องเพื่อขอบันทึกเกี่ยวกับความไฝ่รู้ของห่านามนิงสักหน่อย
เก๋ อัจฉริยา
มาเถื่องซวนครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 17-19 มิถุนายน 2558 ผู้เขียนนัดกันไว้กับลุงนิงหรือห่านามนิงว่าจะไปเถื่องซวนด้วยกัน เพราะแกได้ทุนและร่วมทำวิจัยกับทางมหาวิทยาลัยห่งดึ๊ก (ĐH Hồng Đức) มหาวิทยาลัยประจำจังหวัดแทงฮว๋า เกี่ยวกับคนไทเสาะ (Thaí Gịo) ซึ่งมีอยู่มากในอำเภอเถื่องซวน (Thường Xuân) เดิมท
เก๋ อัจฉริยา
วันที่ 12 มิถุนายน 2558 ผู้เขียนซึ่งกำลังเก็บข้อมูลเพื่อทำวิจัยไทแดงได้กลับไปที่อำเภอบาเทื๊อก จังหวัดแทงฮว๋าอีกครั้ง ครั้งนี้ได้นัดหมายกับห่านามนิง (อดีตครูมัธยม หัวหน้าแผนการศึกษา และรองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอบาเทื๊อก) และห่ากงโหม่ว (อดีตเจ้าหน้าที่อำเภอบาเทื๊อก) ผู้ซึ่งเป็นครูผู้สอนภาษาไทแ
เก๋ อัจฉริยา
จากบทความเรื่อง “มหาวิทยาลัยที่ไม่มีนิสิต: กรณีนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวของ ม.นเรศวร” ตามลิ้งค์นี้ http://www.prachatai.com/journal/2015/05/59557  ซึ่งบทความดังกล่าวนั้น กล่าวถึงนโยบาย Green University ของมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อส่งเ
เก๋ อัจฉริยา
แม้จากประมาณการตัวเลขจากกรมปศุสัตว์พบว่ามีวัวเนื้อที่เกษตรกรไทยขุนเพื่อส่งออกในนาม “วัวไทย” ประมาณ 6 ล้านตัว แต่เชื่อหรือไม่ว่า วัวที่เอามาขุนจำนวนมากมายเหลือประมาณนั้นถูกนำเข้ามาจากประเทศพม่า แต่ละสัปดาห์ มีวัวประมาณ 3,000 – 5,000 ตัว หรือเดือนหนึ่งๆ ก็มีประมาณ 12,000 - 20,000 ตัว ได้ถูกนำข้ามแด