Skip to main content

อยากให้ทุกคนดูตารางข้างล่างนี้ เมื่อวานฉันไปลุ้นผลการนับคะแนนและจดตัวเลขนี้มากับมือ

นี่เป็นผลการนับคะแนนของหน่วยการลงประชามติ ที่ 13-27 หน่วยนี้มีเฉพาะนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในมหาวิทยาลัยฯ เท่านั้น (สำหรับอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ที่มีทะเบียนบ้านในมหาวิทยาลัย ต้องไปลงในหมู่ 7 บ้านท่าโพธิ์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง พิษณุโลก)

 

หน่วยที่

รับ รธน.

ไม่รับ รธน.

รับคำถามพ่วง

ไม่รับคำถามพ่วง

13

222

187

204

207

14

167

146

142

174

15

196

198

177

217

16

328

285

290

332

17

199

170

190

180

18

256

300

232

328

19

367

341

343

367

20

229

271

219

280

21

332

339

298

372

22

246

264

219

291

23

148

181

126

201

24

181

191

168

211

25

208

260

186

290

26

208

224

184

250

27

157

249

147

264

รวม

3444

3606

3125

3964

ร้อยละ

48.85

51.14

44.08

55.91

 

ได้ข่าวมาว่าทาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสียงโหวต “ไม่รับ” ร่างฯ ชนะ ฉันก็ดีใจ แต่ฉันไม่แปลกใจเพราะใครๆ ก็รู้ๆ ว่าบรรยากาศการเสวนาทางวิชาการของธรรมศาสตร์ บรรยากาศและมูฟเม้นท์ของจังหวัดขอนแก่น เชียงใหม่ และภูมิภาคอีสาน เหนือมันส่งเสริมให้เกิดการ "กาโว กาโว" กันอยู่แล้ว 

แต่ที่น่าปริ่มจนน้ำตาจะไหล คือ....

ท่ามกลางการไม่มีบรรยากาศและปัจจัยแบบธรรมศาสตร์ เชียงใหม่ ขอนแก่น หนำซ้ำยังอยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่คนส่วนใหญ่ "รับร่างฯ" (คะแนนเสียงที่คนภาคกลางสวนใหญ่ เห็นชอบ 5,887,881 เสียง (69.46%) ไม่เห็นชอบ 2,588,765 เสียง (30.54%) และที่พิษณุโลกที่คนส่วนใหญ่เห็นชอบรับร่างฯ ประมาณร้อยละ 68) 

และ...ท่ามกลางความทุลักทุเลในการเถียงกับกรรมการประจำหน่วยในการไปดูผลประชามติ เพราะบางหน่วยเอาริบบิ้นมากั้นไม่ให้เข้าไป บางหน่วยฉันเข้าไปได้ แต่กรรมการบอกว่าไม่ให้เข้า บางหน่วยเข้าไปดูแล้วกรรมการบอกไม่ให้ถ่ายรูป หลายหน่วยกรรมการนับคะแนน โดยไม่โชว์บัตรให้เห็น ซึ่งฉันต้องท้วงติง  และหลายหน่วยนับคะแนนเสร็จ ก็ไม่ประกาศผลทันที (พอไปถามบอกว่า กำลังตรวจสอบ) (แต่ในที่นี้ฉันจะไม่ขยายความในประเด็นนี้)

หน่วยออกเสียงประชามติของนิสิตในมหาวิทยาลัยนเรศวร กลับโหวต “ไม่รับ” ร่างฯ และ "ไม่รับ"คำถามพ่วง

และหน่วยที่ชนะขาดอย่างเห็นได้ชัด คือหน่วยของสายสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์

ฉันกำลังมีความหวังกับคนรุ่นใหม่ ฉันเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ และเชื่อว่าพวกเราทุกคนคงเห็นเช่นเดียวกัน

เพราะ....นี่คือกำลังใจให้เราทำงานต่อไป...

บล็อกของ เก๋ อัจฉริยา

เก๋ อัจฉริยา
อาจจะจริงที่ใครหลายคนพูดว่าการติดคุกโดยไม่ขอประกันตัวและการอดอาหารของ “ไผ่ ดาวดิน” (เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม จากคดีแจกเอกสารไม่แสดงความเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญในตลาดอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ) ไม่มีพลังในเชิง “ยุทธศาสตร์” แม้ว่ามันคือความพยายามของสันติวิธีในการการปลุกกระแสเรื่องสิ
เก๋ อัจฉริยา
อยากให้ทุกคนดูตารางข้างล่างนี้ เมื่อวานฉันไปลุ้นผลการนับคะแนนและจดตัวเลขนี้มากับมือ
เก๋ อัจฉริยา
ห่านามนิง ชายร่างเล็ก อายุ 74 ปี อาจารย์สอนภาษาไทเมืองคองของผู้เขียน เป็นอดีตครูโรงเรียนมัธยม หัวหน้างานการศึกษาอำเภอบาเทื๊อก และรองประธานคณะกรรมการบริหาร (ตามลำดับ) ปัจจุบันเป็นครูสอนภาษาไทแทงหวาและนักวิจัยอิสระ ห่านามนิงเล่า[1] ให้ผู้เขียนฟังเกี่ยวกับเ
เก๋ อัจฉริยา
ภาพข้างล่างนี้เป็นการทานอาหารมื้อแรกของฉันในรอบ 2 ปี ที่พร้อมหน้าพร้อมตากับทุกคนในครอบครัวไทขาว อำเภอมายโจว (เมืองมุน) จังหวัดฮว่าบิ่ง ที่ฉันเคยไปอาศัยอยู่หลายเดือน ในทุกปี ตั้งแต่ทำปริญญาเอก ในปี 2008  (จริงๆ ทำปริญญาเอกและมาที่มายโจวแล้วแต่ปี 2007 เพียงแต่อยู่บ้านอื่น) ยกเว้นปี 2015 จนถึงป
เก๋ อัจฉริยา
ปกติเมื่อฉันมาถึงฮานอย ฉันก็ใช้บริการแท๊กซี่สนามบินนอยไบ เท่าที่ฉันสังเกต แท๊กซี่ส่วนใหญ่ เมื่อรู้ว่าฉันพูดภาษาเวียดนามได้ ก็ชอบคุยโน่นนี่นั่นกับฉัน พี่แท๊กซี่คนนี้ก็เหมือนกัน พี่แกเป็นผู้ชาย อายุน่าจะประมาณ 40 กว่าๆ เมื่อพี่แกเห็นฉันพูดภาษาเวียดกะแก แกถามว่าฉันเป็นคนช่าติอะไร พอบอกว่าไทย แกหันมา
เก๋ อัจฉริยา
วันที่ 18 มิถุนายน 2558 หลังจากที่เถ่ยซาว (อาจารย์ซาว) หย่อนลุงนิง (ห่านามนิง) และผู้เขียนไว้ที่โรงแรมที่ตัวอำเภอเถื่องซวนเมื่อเย็นวาน เช้าวันต่อมาเราจึงต้องไปวิจัยกับเครือข่ายใหม่ แต่ขอออกนอกเรื่องเพื่อขอบันทึกเกี่ยวกับความไฝ่รู้ของห่านามนิงสักหน่อย
เก๋ อัจฉริยา
มาเถื่องซวนครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 17-19 มิถุนายน 2558 ผู้เขียนนัดกันไว้กับลุงนิงหรือห่านามนิงว่าจะไปเถื่องซวนด้วยกัน เพราะแกได้ทุนและร่วมทำวิจัยกับทางมหาวิทยาลัยห่งดึ๊ก (ĐH Hồng Đức) มหาวิทยาลัยประจำจังหวัดแทงฮว๋า เกี่ยวกับคนไทเสาะ (Thaí Gịo) ซึ่งมีอยู่มากในอำเภอเถื่องซวน (Thường Xuân) เดิมท
เก๋ อัจฉริยา
วันที่ 12 มิถุนายน 2558 ผู้เขียนซึ่งกำลังเก็บข้อมูลเพื่อทำวิจัยไทแดงได้กลับไปที่อำเภอบาเทื๊อก จังหวัดแทงฮว๋าอีกครั้ง ครั้งนี้ได้นัดหมายกับห่านามนิง (อดีตครูมัธยม หัวหน้าแผนการศึกษา และรองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอบาเทื๊อก) และห่ากงโหม่ว (อดีตเจ้าหน้าที่อำเภอบาเทื๊อก) ผู้ซึ่งเป็นครูผู้สอนภาษาไทแ
เก๋ อัจฉริยา
จากบทความเรื่อง “มหาวิทยาลัยที่ไม่มีนิสิต: กรณีนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวของ ม.นเรศวร” ตามลิ้งค์นี้ http://www.prachatai.com/journal/2015/05/59557  ซึ่งบทความดังกล่าวนั้น กล่าวถึงนโยบาย Green University ของมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อส่งเ
เก๋ อัจฉริยา
แม้จากประมาณการตัวเลขจากกรมปศุสัตว์พบว่ามีวัวเนื้อที่เกษตรกรไทยขุนเพื่อส่งออกในนาม “วัวไทย” ประมาณ 6 ล้านตัว แต่เชื่อหรือไม่ว่า วัวที่เอามาขุนจำนวนมากมายเหลือประมาณนั้นถูกนำเข้ามาจากประเทศพม่า แต่ละสัปดาห์ มีวัวประมาณ 3,000 – 5,000 ตัว หรือเดือนหนึ่งๆ ก็มีประมาณ 12,000 - 20,000 ตัว ได้ถูกนำข้ามแด