Skip to main content

ความเดิมจากตอนที่ 1

ในโลกของความหมายของการแสวงบุญของพระและพุทธศาสนิกขนชาวพม่า เจดีย์ไชยทียูเป็น 1 ใน 3 ของเจดีย์ที่ชาวพม่าต้องไปให้ได้ในชาติหนึ่งที่เกิดมาเป็นคนบนผืนแผ่นดินนี้ นอกเหนือจาก ชเวดากอง ที่ย่างกุ้ง และมหายามุนี ที่มัณฑะเลย์ คนพม่าไม่ว่าจะยากดีมีจน หากไม่เหลือบากกว่าแรงแล้วต้องหอบสังขารมาแสวงบุญ อธิษฐานขอพร ณ ที่แห่งนี้ให้จงได้ ดังนั้น ปีๆ นึงนักท่องเที่ยวขึ้นมาเป็นจำนวนมากเรือนแสน

โรงแรมที่ไชยทียูแพงมว๊าก ในเวลาที่ไม่ใช่ฤดูการท่องเที่ยว ห้องไม่มีแอร์ ไม่มีหน้าต่าง มีแต่พัดลมดูดอากาศ ห้องเล็กขนาดเอาเตียง 5 ฟุตใส่ไปแล้วเต็มห้อง ชนฝาห้องพอดี กับโต๊ะเล็กๆ สำหรับวางกระเป๋าเดินทาง ไม่มีที่เดิน ยังราคา 45 ดอลล่าห์ สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่วนชาวพม่าราคาประมาณ 20 ดอลล่าห์ นี่ยังไม่คิดว่าจะต้องกินข้าวแกงจานเกือบร้อยบาทนะ

ต่อตอน 2 ....

เลยสงสัยขึ้นมาว่า ...อ้าว...แล้วกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เราเจอตะกี้ ตอนขึ้นรถ 6 ล้อ “เปิดประทุน” รับแดด ลม ฝน คล้ายรถพาคนงานไปตัดอ้อย เบียดเสียดเป็นปลากระป๋องหลายเที่ยวละหลายสิบคน วันละสิบๆ หน่ะ เที่ยวเขากิน-นอน-เที่ยว อย่างไรในไชยทียู

ค่ารถเท่าไรเนี่ย...อ่อ 500 จ๊าด หรือ ประมาณ 17 บาท อืมมมม...ก็ไม่แพง สมฐานะรถเปิดประทุน ผู้เขียนถามเขาว่าเขามาจากไหน บางคนมาไกลจากภาคเหนือ มากันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นหมู่ญาติๆ และเพื่อนบ้านนับสิบๆ คน ถามว่าบ้านอยู่ในเมืองหรือชนบท เขาบอกว่าในชนบท

 

 

 

หลังร่วมชะตากรรม ฝ่าสายฝนโปรยละอองในรถเปิดประทุนร่วมกับชาวบ้านนับสิบๆ เป็นเวลากว่าชั่วโมงแล้ว ผู้เขียนก็ถึงบริเวณเจดีย์ไชยทียูในเวลาค่ำๆ...เมื่อเช็คอินเข้าห้องพักและวางกระเป๋าได้ จึงฝ่าละอองฝนและเมฆหมอกพื้นลื่นยามค่ำคืนที่หนาวเอาเรื่อง ไปดูว่าพวกเขานอนที่ไหน ถามๆ คนแถวนั้นบอกว่า พวกเขานอนกันใต้ถุนวัด  พอจะลงบันไดวัด พระเห็นผู้เขียนเข้าพอดี พระคงนึกว่าผู้เขียนเป็นพม่าเพราะประแป้ง “ทานาคา” พระแลยบอกว่าให้มานอนตรงนี้ เพราะคนน้อยดี อิ อิ เราก็ยกมือไหว้ประหนึ่งรับคำ แล้วเดินลงไปดู โอ้วววว มันดูอบอุ่น หน้านอนมาก (ดังภาพ)

พอไปดูอีกห้องหนึ่ง ห้องนี้ค่อนข้างเบียดเสียดยัดเยียด แต่ทุกคนก็หลับปุ๋ย ว่าแล้วก็ให้อารมณ์ ว่า  “อืมมมมม...พรุ่งนี้เช็คเอ้าท์มานอนตรงนี้ดีก่า ประหยัดตังค์ได้เป็นพันๆ” แต่ความคิดนี้ก็ต้องสะดุดหยุดลง เมื่อผู้เขียนเดินไปสำรวจห้องน้ำ... “จริงๆ นอนหน่ะง่าย แต่ห้องน้ำนี่ซี้...โอ้ว มายก๊อดดดด

สายๆ วันรุ่งขึ้นผู้เขียนก็ไป “ส่อง” ดูขีวิตนักท่องเที่ยวบ้านๆ ต่อ โอ้ว....มันโรแมนติกมาก น้องๆ พี่ๆ ป้าๆ ลุงๆ ที่มาด้วยกันนั้น นั่งล้อมวงกินข้าว บางเจ้าเอาผ้ามาตาก ...นี่แหละ เสน่ห์ของไชยทียู ไม่ใช่เพราะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น แต่เพราะมันเป็นการเปิดพื้นที่ให้นักท่องเที่ยวคนเล็กคนน้อย นักท่องเที่ยวบ้านๆ ได้มีโอกาสสัมผัสความศักดิ์สิทธิ์ ที่ไม่ถูกจำกัดอยู่เฉพาะคนมีเงิน

 

 

 

เมื่อมาไกลและยากลำบาก นักท่องเที่ยวเหล่านี้ ไม่ใช่แค่มาเที่ยว โฉบเฉี่ยว สแน๊ปช๊อต พวกเขามาแสวงบุญ มานั่งสมาธิ มาสวดมนต์ และใช้เวลาเป็นวันๆ อยู่ที่เจดีย์แห่งนี้

 

 

พอดีได้นั่งกินข้าวเที่ยงใกล้กับน้องสาว 3 คน ดูพวกเขายังวัยรุ่นกันอยู่เลย อยากรู้ว่าพวกหล่อนเป็นใคร มาจากไหน ทำไมถึงมาเที่ยวที่นี่ เลยไปตีซี้ ขอคุยด้วย ได้ความว่า น้องมาจากรัฐยะไข่ (อารกัน) ซึ่งอยู่ทางเหนือของประเทศติดพรมแดนบังคลาเทศ พวกน้องๆ มากันเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 45 คน น้องทำงานเป็นพนักงานโรงแรมแห่งหนึ่งที่ยะไข่ ทางโรงแรมจัดทัวร์มาให้พนักงานได้เที่ยวพักผ่อน พวกเขาจึงพากันมาที่นี่ และจะต่อไปที่ชเวดากองที่ย่างกุ้ง ถามว่าทำไมน้องมากันที่นี่ น้องบอกว่า เพราะ “เป็นที่ที่คนพม่าทุกคน ควรมา” ถามว่าน้องพักที่ไหน น้องบอกว่าพักที่เกสต์เฮ้าส์ ถามต่อว่า เป็นคนอารกัน ทำไมระหกระเหินมาไหว้เจดีย์ของรัฐมอญ น้องบอกว่า เพราะว่ามันเป็นเจดีย์ของพระพุทธศาสนา ของพุทธศาสนิกชนทุกชาติ

....อืมมม...เนอะ...พื้นที่ทางศาสนา มักเปิดกว้างสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ (ที่นับถือศาสนาเดียวกัน) แต่พื้นที่ทางสังคมบางพื้นที่ต่างหากที่กีดกั้น ทำให้คิดถึงพระพม่า ที่มาอยู่ในวัดไทยที่มหาชัยและแม่สอด และอยู่อย่าง “ชุ่มชื้น” กับพระไทย อันแตกต่างกับ “ฆราวาส” ชาวพม่าในดินแดนไทย ที่อยู่อย่างชายขอบ

ต่อมา ได้มีโอกาสไปนั่งคุยกับอีกกลุ่มหนึ่ง คราวนี้เป็นครอบครัว พ่อแม่ลูก 2 กลุ่มนี้มาจากมัณฑะเลย์ ทางภาคเหนือ มาที่นี่เป็นครั้งที่ 2 แล้ว อ้าว...ทำไมถึงมาตั้ง 2 ครั้ง มาลำบากนะ รถลาก็ไม่มีเป็นของตัวเอง เขาบอกว่ามาเยี่ยมญาติแถวนี้แล้วเลยถือโอกาสมาทำบุญ และอธิษฐานขอพร เพราะเชื่อว่าอธิษฐานที่นี่แล้ว สิ่งที่ขอจะสมหวัง เนื่องจากที่นี่เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เป็นที่ประดิษฐานพระเกศาของพระพุทธเจ้า

ก่อนกลับ โชคดีที่ได้นั่งรถหลังพระพม่า เลยได้คุยด้วย ท่านบอกว่าท่านมาที่นี่ 5 ครั้งแล้ว ที่กินอยู่หลับนอนก็อยู่กับวัดที่นี่  ทำไมมาบ่อย ท่านตอบว่าก็มาอธิษฐาน เนื่องจากที่นี่เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์มาก....อืมมมม เพราะมีอะไรต้องอธิษฐานบ่อยๆ งั้นหรือ เรื่องนี้รู้ยาก เพราะท่านไม่ค่อยคุย

 

 

นี่แหละการท่องเที่ยวแบบบ้านๆ เท่าที่ได้เจอใน 2 วันบนไชยทียู  อย่างน้อยก็ได้รู้ว่า...พม่าก็ยังมีพื้นที่เปิดให้คนเล็กคนน้อยได้กินนอนเที่ยวฟรีๆ มันทำให้ไชยทียูดูมีเสน่ห์ขึ้นเยอะ ว่าแล้วก็คิดถึง "ดอยสุเทพ" เจียงใหม่บ้านเฮา...ไทบ้านจนๆ อย่างเราๆ จะมีโอกาสไปแสวงบุญ นอนฟรีๆ มีที่นั่งกินข้าวบนนั้นมั้ยน้อ...หรือว่าคนจนทำอะไรก็เกะกะ...ต้องมีเงินไปนั่งกินข้าวราคาแพงกว่าข้างถนน ในร้านค้าที่ทางการจัดให้เท่านั้น...

...เสียดายที่ดันเป็นนักมานุษยวิทยาที่อาบน้ำเย็นๆ ในห้องน้ำที่มีความสะอาดมาตรฐานแบบบ้านๆ ไม่ได้ ม่ายง้าน... คงได้กินนอนอยู่ร่วมกับชาวบ้านใต้ถุนวัดนี้ นานกว่านี้ และรู้อะไรดีกว่านี้ เป็นแน่แท้...จบค่ะ!

บล็อกของ เก๋ อัจฉริยา

เก๋ อัจฉริยา
ครบปีแล้วสินะที่เราเดินตามก้นอาจารย์อานันท์ไปสำรวจซิดนี่ย์... เมื่อเอารูปเก่าๆ มาดู...ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า วันนั้น อาจารย์อานันท์ กาญจนพันธุ์ ในวัย ๖๘ ปี นอกจากจะสอนหนังสือมาราธอน สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า ๙ ชม.
เก๋ อัจฉริยา
มอญในเมียนมาร์ ไม่ว่าจะอยู่ที่เมียนมาร์แลนด์หรือไทยแลนด์ ต่างก็ได้ชื่อว่า เป็น “คนอื่น” ในแผ่นดินที่ (เคย) เป็นของตัวเอง ถ้าเรามองภายใต้กระบวนทัศน์ที่แบบมองอะไรแบบ “เชิงเดี่ยว”  
เก๋ อัจฉริยา
แรงงานชาวเมียนม่าร์ (พม่า มอญ ทวาย อารกัน ฉาน กระเหรี่ยง ฯลฯ) ที่สมุทรสาคร แม้มียอดลงทะเบียนทั้งเก่าและใหม่ถึง 387,510 คน แต่จากการประมาณการของ NGOs ทั้งไทยและเมียนม่าร์ น่าจะมีประมาณ 600,000 – 700,000 คน ในจำนวนนี้มีผู้ติดตามไม่น้อยกว่า 15,000 คน แต่เชื่อหรือไม่ว่า เด็กเหล่านี้เพียงร้อยละ 7.6 ที
เก๋ อัจฉริยา
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนได้ไปนิเทศน์นิสิตที่ฝึกงานที่บ้านพักเด็กและครอบครัว แห่งหนึ่งของทางราชการ และได้พบกับเด็กชายชาวพม่า ๒ คนที่ถูกตำรวจจับและส่งให้บ้านพักเด็กแห่งนี้ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็ก เด็กคนแรกอายุประมาณ ๑๑-๑๒ ขวบ คนที่สองเป็นน้องอายุประมาณ ๗-๘ ขวบ
เก๋ อัจฉริยา
ในฐานะนักมานุษยวิทยาการท่องเที่ยว ผู้เขียนจะรู้สึกฟินฝุดๆ เมื่อพบว่าพื้นที่ท่องเที่ยวใดเปิดโอกาส เปิดที่ เปิดทางให้คนเล็กคนน้อยได้ทำมาหากิน และเปิดที่ เปิดทาง เปิดโอกาส ให้คนเล็กคนน้อยได้เที่ยวในราคาถูกแบบบ้านๆ เช่นกัน
เก๋ อัจฉริยา
บั้งไฟพญานาค เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหลายชั่วอายุคนแล้ว ไม่ใช่ของใหม่ แต่ที่น่าสนใจเพราะมันเพิ่งได้รับความสนใจเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เอง จำได้ว่าเมื่อตอนเป็นวัยรุ่น ผู้เขียนใช้ชีวิตไปๆ มาๆ ระหว่างกรุงเทพฯ – หนองคาย 3 ปี พ่อเล่าให้ฟังว่ามีบั้งไฟขึ้นกลางลำน้ำโขงตอนออกพรรษา แต่ไม่มีใครในบ้านสนใจไปดูแ
เก๋ อัจฉริยา
เมื่อมีคนรู้ว่าผู้เขียนพานิสิตจำนวน 16 คนไปถ่ายทำสารคดีบั้งไฟพญานาค ส่วนใหญ่ต่างก็ถามว่า มา “พิสูจน์” บั้งไฟพญานาคหรือ?
เก๋ อัจฉริยา
เมื่อพูดถึงเจดีย์ไชทียู หรือที่คนไทยรู้จักในนามพระธาตุอินทร์แขวน ก็ขอให้ลืมเป็นการชั่วคราวเรื่องตำนานพระฤาษี และความศักดิ์สิทธิ์ แต่สิ่งที่อยากจะเล่าสู่กันฟังในวันนี้คือชีวิตของคนเล็กคนน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ที่มาสร้างการดำรงชีพในพื้นที่ท่องเที่ยว ณ ที่แห่งนี้
เก๋ อัจฉริยา
            เหตุเกิดเมื่อกลางปี 2008 นักมานุษยวิทยาสมัครเล่นนางหนึ่งได้ใช้เวลา 3 วันโดดเรียนไปเที่ยวที่ Sa Pa (ซาปา) เมืองในหมอกบนพื้นที่สูงของภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม ภูเขาที่นี่สูงเสียดฟ้าสลับซับซ้อนกันหลายลูกจริงๆ จนภูเขาบ้านเราสมควรถูกเรียกว่า “hill” มากกว
เก๋ อัจฉริยา
ณ วัดเทพฯ มหาชัย สมุทรสาคร ในวันสงกรานต์ มีแรงงานพม่ามาทำกิจกรรมทางศาสนาไม่ต่ำกว่าหมื่นคน เมื่อดูจากผู้คนที่มาทำกิจกรรมฯ ที่วัดในวันนี้ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า แรงงานพม่าที่มหาชัย มีเชื้อชาติพม่า-พม่า มีน้อยมาก ทว่าส่วนใหญ่เป็นมอญ-พม่า ทวาย-พม่า และอารกัน-พม่า (จากรัฐยะไข่) (ตามลำดับ) พวกเขา แม้อย