Skip to main content

การยึดครองอำนาจรัฐ
อันโตนิโอ กรัมชี่ (1919)

---------------------------------------------
มาจาก : L’Ordine Nuovo 12 กรกฎาคม 1919
แปลเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรก : โดย Michael Carney
แปลเป็นภาษาไทย : โดย จักรพล ผลละออ 2017

---------------------------------------------

 


ความเข้มแข็งของระบบทุนนิยมนั้นถูกกำหนดจาก วิถีการผลิต ผลผลิต และการสร้างการรวมกำลังกันของมวลชนขนาดใหญ่ ในความจริงแบบดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องมองหาต้นตอหรือที่มาของทฤษฎีการปฏิวัติแบบ Marxism อันเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเสาะหาปัจจัยและเงื่อนไขสำหรับวัฒนธรรมใหม่ของชนชั้นกรรมาชีพที่ถือกำเนิดขึ้นจากความโกลาหลของระบบทุนนิยมอันมาจากการการแข่งขันเสรีและความขัดแย้งทางชนชั้น


ในกิจกรรมระดับทั่วๆไปของระบบทุนนิยม หรือแม้แต่ในการทำงานของแรงงานซึ่งทำงานตามรูปแบบของการแข่งขันเสรีนั้นคือการกระทำที่อยู่บนฐานเรื่อง พลเมืองปัจเจกบุคคล แต่ปัจจัยหรือเงื่อนไขเริ่มต้นของความขัดแย้งหรือการต่อสู้นั้นอาจจะไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกันสำหรับทุกคน ในห้วงเวลาเดียวกันนั้นการดำรงอยู่ของระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลที่ให้สิทธิประโยชน์แก่คนส่วนน้อยของสังคม ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งบนเรื่องความไม่เท่าเทียม ชนชั้นแรงงานนั้นกำลังก้าวไปสู่ความเสี่ยงที่อันตรายอย่างมาก : การดำรงชีพขั้นพื้นฐานของแรงงานทั้งของตัวเขาเองและครอบครัว วัฒนธรรมของเขา อนาคตของครอบครัวต่างก็ยืนอยู่บนความไม่มั่นคงท่ามกลางกระแสอันผันแปรของตลาดแรงงาน ที่ทำให้แรงงานจำเป็นต้องตะเกียกตะกายเพื่อหนีออกมาจากพื้นที่ของการแข่งขันและการเป็นปัจเจคชนนิยม ความคิดเรื่องความร่วมมือและการรวมพลังกันจึงกลายไปเป็นธรรมชาติของชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งจะเปลี่ยนขนบธรรมเนียมและวิธีคิดของทั้งแรงงานและชาวนา สถาบันทางการเมืองและกลไกต่างๆของการปฏิวัติล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นเมื่อความคิดแบบดังกล่าวเริ่มก่อรูปร่าง จากพื้นฐานดังกล่าวนี้คือการเริ่มต้นกระบวนการของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่จะนำพาสังคมไปสู่การกลายเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ทั้งในวิถีการผลิตและการแลกเปลี่ยนซื้อขา


การรวมพลังกันควรจะถูกทำให้กลายเป็นเรื่องธรรมชาติสำการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งเป็นไปตามกระแสธารของประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ (ช่วงเวลาที่เราอาจจะเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาของสากลที่ 1 และสากลที่ 2 หรือเรียกว่าช่วงเวลาของการระดมคน) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการพยายามก่อตั้งและพัฒนพรรคสังคมนิยมและสหภาพแรงงาน


การพัฒนาสถาบันหรือองค์กรของชนชั้นกรรมาชีพเหล่านี้รวมทั้งการเคลื่อนไหวโดยทั่วไปของชนชั้นกรรมาขีพนั้น ไม่เคยเป็นอิสระจากการบงการของกฏภายในทั้งในชีวิตประจำวันและในประวัติศาสตร์ของการขูดรีดชนชั้นกรรมาชีพ กฎของประวัติศาสตร์นั้นถูกบงการเอาไว้โดยชนชั้นปกครองซึ่งถือครองอำนาจในรัฐ และรัฐเองก็เป็นตัวแสดงหลักสำคัญของประวัติศาสตร์ เพราะรัฐโดยตัวมันเองนั้นคือการรวบรวมเอาอำนาจของชนชั้นปกครองกลุ่มต่างๆเข้ามาไว้ด้วยกัน ภายในตัวของรัฐนั้นพวกชนชั้นปกครองได้วางระบบระเบียบของพวกเขาเอาไว้และผนวกรวมกันเป็นหนึ่งเดียว (ที่อาจจะเรียกได้ว่าพันธมิตรทางชนชั้น หรือกลุ่มทางประวัติศาสตร์ (historical bloc) – ผู้แปล) เหนือการต่อสู้แบบเงียบๆและการแข่งขันภายในของพวกชนชั้นนำเอง ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาความเป็นอภิสิทธิ์ของชนชั้นปกครองเอาไว้ ซึ่งจุดสูงสุดของการแข่งขันดังกล่าวนั้นโดยตัวของมันเองก็คือ : ความขัดแย้งทางชนชั้นเพื่อแย่งชิงอำนาจ และเพื่อการควบคุมและวางโครงสร้างการปกครองเหนือสังคม


ในยุคสมัยนี้การเคลื่อนไหวของชนชั้นกรรมาชีพเป็นได้เพียงกลไกหนึ่งที่ทำงานรับใช้การแข่งขันเสรีในระบบทุนนิยม องค์กรของกรรมาชีพแสร้งทำเป็นว่าก่อตั้งองค์กรขึ้นจากปัจจัยภายใน หากแต่ความจริงแล้วตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของปัจจัยภายนอก ภายใต้แรงกดดันของสภาพการณ์และการบีบบังคับจากการแข่งขันของทุนนิยมเสรี นี่คือปัจจัยเบื้องต้นที่ลึกซึ้งหรือก็คือรากของความขัดแย้งที่แท้จริง การบิดเบือน ความไม่มั่นคง และการประนีประนอมกับพวกนายทุนกลายเป็นลักษณะเด่นของขบวนการกรรมกรในยุดก่อนหน้านี้ ที่ในท้ายที่สุดก็นำไปสู่การล่มสลายลงของขบวนการสากลที่ 2


ในช่วงนี้เองที่กระแสความคิดบางสายของขบวนการเคลื่อนไหวแบบสังคมนิยมและชนชั้นกรรมาชีพได้ถูกวางให้กลายเป็นความคิดพื้นฐานโดยธรรมชาติที่ผลักดันให้เกิดการปฏิวัติองค์กรของชนชั้นแรงงานโดยสหภาพแรงงาน และจากพื้นฐานนี้พวกเขาก็เริ่มก่อตั้งการปฏิบัติการและการโฆษณาชวนเชื่อ ขบวนการเคลื่อนไหวของลัทธิ Syndicalism* คือขบวนการที่สามารถขึ้นมานำกระแสได้ ในห้วงระยะหนึ่งพวกเขากลายเป็นตัวแทนของลัทธิ Marxism หรือกล่าวได้ว่าลัทธิ Syndicalism คือความคิดที่ถูกต้องตามลัทธิ Marxism 


กระนั้นลัทธิ Syndicalism ก็ยังมีปัญหาและข้อผิดพลาดมากมาย ดังนี้ : การหยิ่งยโสจองหองที่ถือว่าตนเองคือความถูกต้องด้านทฤษฎี แต่ขณะเดียวกันกลับไม่ประสบความสำเร็จในการปลูกฝังและให้การศึกษาเรื่องการปฏิวัติแก่ชนชั้นกรรมาชีพในพรรคสังคมนิยม ในช่วงเวลาที่ชนชั้นกรรมาชีพละทิ้งความคิดเรื่องการปฏิวัติเพราะภายใต้ช่วงเวลาที่ขบวนการแรงงานสามารถต่อรองผลประโยชน์ผ่านระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาได้นั้น ความพยายามที่จะโค่นล้มกฎของประวัติศาสตร์ที่ถูกบงการโดยประชาธิปไตยแบบรัฐสภาย่อมกลายเป็นเรื่องไร้สาระและน่าตลก ซึ่งแน่นอนว่าภายใต้องค์ประกอบของสังคมแบบนั้น สังคมแบบอุตสาหกรรม มนุษย์ทุกคนล้วนสามารถจะมีส่วนร่วมในการแก้ไขสิ่งที่เขาคิดว่าเป็นปัญหารอบตัวได้ ตราบเท่าที่เขาเชื่อและปฏิบัติการภายใต้การเป็นปัจเจกบุคคล หรือพลเมือง หรือประชาชนตามกฏหมายของรัฐแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ความคิดเรื่องปัจเจกบุคคลของพวกเสรีนิยมนี้จะไม่ใช่แค่เรื่องไร้สาระและจะสามารถแก้ไขปัญหาหรือทำได้จริงก็ต่อเมื่อสามารถข้ามผ่านปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ การไม่สนใจการเมืองของกลุ่มคนที่ไม่สนใจการเมืองคือสิ่งเดียวที่ทำลายการเมือง : การต่อต้านและการต่อสู้กับรัฐจึงเป็นการกระทำทางการเมืองมากเท่าๆกับการยึดครองในกิจกรรมโดยทั่วไปของประวัติศาสตร์ซึ่งผนวกรวมตัวมันเองเข้ากับรัฐสภาและคอมมูน สถาบันทางการเมืองอันโด่งดัง ซึ่งคุณภาพของการกระทำทางการเมืองนั้นก็มีความแตกต่างกันออกไป : ลัทธิ Syndicalism นั้นไม่ได้ทำงานอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง และด้วยเหตุนั้นการกระทำหรือปฏิบัติการทางการเมืองของพวกเขาจึงผิดพลาดตั้งแต่ระดับรากฐาน ; พวกนักสังคมนิยมรัฐสภาทำงานใกล้ชิดกับสิ่งต่างๆและอาจจะทำให้พวกเขาก่อความผิดพลาด (พวกเขาก่อปัญญาและข้อผิดพลาดร้ายแรงอยู่มาก) แต่พวกเขาไม่ได้ทำผิด พวกเขาเชื่อว่าการกระทำทางการเมืองของพวกเขาไม่ผิดและยังได้ชัยชนะด้วยภายใต้วิธีคิดเรื่อง “การแข่งขันแบบทุนนิยม” : มวลชนจำนวนมากที่ถูกพวกเขาปลูกผังและแทรกแทรงจุดประสงค์ไปสู่การปรับปรุงความสัมพันธ์ทางสังคม และจัดตั้งองค์กรสนับสนุนรายล้อมพรรคสังคมนิยมนั้นไม่ได้ระมัดระวังความผิดพลาดและข้อบกพร่องที่ทำให้พวกเขาหลงลืมความสำคัญในการมีอยู่ของพรรคสังคมนิยมไป พรรคสังคมนิยมนั้นมีไว้เพื่อ : ทำให้ชนชั้นกรรมาชีพรวมตัวกัน และเพื่อปลดแอกชนชั้นกรรมาชีพซึ่งถือว่าเป็นภารกิจทางประวัติศาสตร์ตามรูปแบบพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของสังคมมนุษย์


ปัญหาและความผิดพลาดสำคัญของขบวนการสังคมนิยมนั้นเป็นเรื่องที่คล้ายคลึงกับความผิดพลาดของลัทธิ Syndicalism คือการพยายามมีส่วนร่วมไปกับกิจกรรมต่างๆของภาคประชาสังคมในรัฐ แต่นักสังคมนิยมกลับหลงลืมสถานะของตนเองที่จำเป็นต้องรักษาลักษณะของการวิพากษ์วิจารณ์ และการนำเสนอภาคเสธ พวกเขาปล่อยให้ตัวเองหลงใหลและหมกมุ่นอยู่กับความจริงหรือปรากฎการณ์และไม่พยายามจะครอบงำมัน


นัก Marxist communists จึงจำเป็นจะต้องจัดวางตัวเองให้มีลักษณะด้านจิตวิทยาที่เราเรียกว่า “Maieutic” (หมายถึงกระบวนการ/วิธีการที่เราตั้งคำถามกับคู่สนทนาเพื่อช่วยให้พวกเขาได้เกิดความคิดหรือตระหนักขึ้นได้เอง) การปฏิบัติการของพวกเขาจะต้องไม่ใช่การละทิ้งเรื่องเหล่านี้ไปสู่การยึดถือเรื่องปรากฎการณ์ซึ่งถูกครอบงำและกำหนดจากกฎของทุนนิยมเสรีของพวกกระฎุมพี ประวัติศาสตร์นั้นเคลื่อนไหวอยู่ตลอดโดยตัวเองมันเองและนั่นทำให้มันไม่อาจจะถูกคาดเดาได้ แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่สามารถสันนิษฐานหรือทำนายการสร้างประวัติศาสตร์ได้เลย เมื่อประวัติศาสตร์คือพื้นที่ของความไม่แน่นอนและความแปรปรวน ขณะเดียวกันนั้นประวัติศาสตร์ก็เป็นพื้นที่ของเสรีภาพและความตายตัว สถาบันต่างๆนั้นถือกำเนิดมาจากใครก็ตามที่มีพัฒนาและมีกิจกรรมทางประวัติศาสตร์ซึ่งก่อรูปก่อร่างขึ้นมาและดำเนินไปเช่นนั้นอย่างต่อเนื่องเพราะพวกเขามีภารกิจและเป้าหมายที่ต้องทำให้เป็นจริง มันจึงกลายเป็นการปรากฏของการพัฒนาปัจจัยด้านวัตถุวิสัยของการผลิตสินค้าขั้นพื้นฐานและจิตสำนึกด้านจิตวิญญาณของมนุษย์ ถ้าหากปัจจัย/เงื่อนไขด้านวัตถุวิสัยซึ่งหากว่ามันเป็นกลไกตามธรรมชาติที่เกือบจะสามารถเปรียบเทียบในทางคณิตศาสตร์ได้นั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว ระดับจิตสำนึกของมนุษย์ย่อมจะเปลี่ยนตามไปด้วย ; องค์ประกอบทางสังคมย่อมเปลี่ยนแปลง สถาบันและองค์กรต่างๆย่อมเสื่อถอย เงื่อนไขด้านวัตถุวิสัยจึงเป็นเหมาะสมสำหรับภารกิจนี้ มันจะเป็นทั้งสิ่งกีดขวางและผู้ทำลาย ถ้าหากในการสร้างประวัติศาสตร์ของสติปัญญาไม่สามารถสร้างการสั่นสะเทือนได้ หรือไม่สามารถสร้างกระบวนการเปลี่ยนแปลงได้ อารยะธรรมของมนุษย์ก็ย่อมไม่มีวันเกิดขึ้น ความสามารถทางการเมืองนั้นถูกจำแนกอย่างแม่นยำจากความเป็นไปได้จำนวนมหาศาลซึ่งจำเป็นและเพียงพอในการจะแก้ไขกระบวนการพัฒนาและด้วยสมรรถนะในการจะคาดหวังอนาคตทั้งในระยะใกล้และไกล และบนเส้นของการหยั่งรู้ที่จะคาดเดาถึงการกระทำของรัฐ หรือชะตากรรมของคนทั่วไป ภายใต้เซ้นท์แบบนี้ Karl Marx ถือเป็นอัจฉิยะทางการเมืองร่วมสมัยที่แท้จริง


นักสังคมนิยมจำนวนมากนั้นบ่อยครั้งมักจะมีพฤติกรรมขี้เกียจต่อการแยกแยะความจริงประวัติศาสตร์ที่ถูกสร้างขึ้นจากการริเริ่มของทุนนิยม พวกเขาปล่อยให้ตัวเองจมไปกับข้อผิดพลาดด้านจิตวิทยาของนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม คือเชื่อในความเป็นนิรันดร์ของสถาบันทางการเมืองในรัฐแบบประชาธิปไตย และเชื่อว่านี่คือความสมบูรณ์แบบโดยพื้นฐาน ซึ่งหากว่าตามที่กล่าวมานี้สถาบันทางการเมืองแบบประชาธิปไตยอาจจะแก้ไขหรือได้รับการแก้ไขได้ แต่หลักการพื้นฐานจะต้องถูกเคารพบูชาไว้ ตัวอย่างสำหรับข้อโอ้อวดทางจิตวิทยานี้คือความยุ่งยากในการพิพากษาของ Filippo Turati ตามที่รัฐสภาได้ถูกนำไปใช้ในโซเวียตเหมือนๆกับการที่เปลี่ยนเมืองไปสู่หมู่บ้านของคนเถื่อน


จากความผิดพลาดด้านมโนทัศน์ทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวมานี้ และจากความพยายามอย่างยาวนานในการประนีประนอม และจากเทคนิคทางรัฐสภาที่เรียกว่า “Cretinously” ได้ทำให้เกิดความคิดเรื่อง “การยึดครองรัฐ”


จากประสบการณ์ในการปฏิวัติรัสเซีย ฮังการี และเยอมัน นั้นทำให้เราค่อนข้างมั่นใจว่ารัฐสังคมนิยมนั้นไม่สามารถจะเติบโตร่วมกับสถาบันทางการเมืองแบบรัฐทุนนิยม ถ้าหากเราเชื่อว่าทั้งสองสิ่งนี้สามารถไปกันได้ ในทางหนึ่งก็คือการไม่เคารพต่อประวัติศาสตร์ของชนชั้นกรรมาชีพ


สถาบันต่างๆของรัฐแบบทุนนิยมนั้นมีไว้เพื่อจัดระเบียบและหยุดการแข่งขันที่เสรี : ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคลเพื่อส่งเขาไปในทิศทางอื่น ส่วนรัฐแบบสังคมนิยมนั้นก็ยังไม่ใช่คอมมิวนิสต์ มันเป็นเพียงเครื่องมือสำหรับกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติการและการฝึกฝนทางเศรษฐกิจและความร่วมมือกัน อันมีภารกิจสำคัญในการปราบปรามการแข่งขันซึ่งก็คือการทำลายระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ระบบชนชั้น และเศรษฐกิจระดับรัฐชาตินั่นเอง : ภารกิจดังกล่าวนั้นไม่มีทางจะเริ่มต้นขึ้นจากระบบรัฐสภาของประชาธิปไตย ความคิดเรื่อง “การยึดครองรัฐ” นั้นจำเป็นจะต้องถูกทำความเข้าใจดังนี้ : มันคือการสร้างรัฐรูปแบบใหม่ซึ่งกำเนิดขึ้นมาจากความร่วมแรงร่วมใจกันของชนชั้นกรรมาขีพ ซึ่งจะเข้ามาแทนที่รัฐแบบประชาธิปไตยรัฐสภา ในตอนนี้เราจะย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้น ที่เราได้กล่าวว่าขบวนการการเคลื่อนไหวและองค์กรของชนชั้นกรรมาชีพในยุคก่อนหน้านี้ไม่เคยเป็นอิสระหรือเป็นตัวของตัวเองแต่เป็นผลผลิตขององค์ประกอบของสังคมมนุษย์ซึ่งถูกกำหนดโดยกฏของรัฐาธิปัตย์ในระบบทุนนิยม สงครามได้คว่ำยุทธศาสตร์ของการต่อสู้ทางชนชั้นลง ระบบทุนนิยมได้สูญเสียจุดขายอันเป็นเลิศของมันลง : เสรีภาพภายใต้ทุนนิยมนั้นถูกจำกัด ขณะที่อำนาจของมันก็ถูกยกเลิก การรวมกำลังกันของบรรดานายทุนเกิดขึ้นในการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดที่ทำให้โลกอันมั่งคั่งของนายทุนจากการผลิตและการแลกเปลี่ยนเป็นจริงขึ้นมา ในทางเดียวกันนั้นมันก็ทำให้เกิดการรวมพลังกันของชนชั้นแรงงานที่มีกำลังในการจะทำการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในสภาวะดังกล่าวองค์กรแบบดั้งเดิมของชนชั้นแรงงานนั้นไม่สามารถจะแบกรับหรือส่งต่อพลังแห่งการปฏิวัติให้กับการเคลื่อนไหวได้อีกต่อไป รูปแบบเดิมๆเหล่านี้ไม่สามารถจะฝึกฝนและสอดแทรกหรือจัดตั้งความคิดและจิตสำนึกทางชนชั้นให้กับชนชั้นแรงงานได้อีก แต่ไม่ใช่ว่าองค์กรเหล่านี้จะตายลงหรือล่มสลายลง พวกมันยังคงมีอยู่แต่แปรเปลี่ยนไปเป็นกลไกหนึ่งภายใต้ระบบการแข่งขันเสรี และยังคงสามารถอยู่รอดต่อไปจนกว่าจะเกิดการกวาดล้างคู่แข่งขันที่เหลืออยู่ จนกว่าจะเกิดการปรากฎและเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองและชนชั้นอย่างสมบูรณ์ จนกว่าจะเกิดผลสำเร็จของการปฏิวัติและสถาปนาเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพจากระดับรัฐไปสู่ระดับสากล องค์กรแบบดังเดิมจะยังดำรงอยู่ท่ามกลางสภาวะตามที่กล่าวมานี้ แต่ชนชั้นกรรมาชีพจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาและก่อตั้งองค์กรรูปแบบใหม่ สำหรับรัฐรูปแบบใหม่ ซึ่งจะเข้ามาแทนที่องค์กรเอกชนและองค์กรภาครัฐภายในระบบรัฐแบบประชาธิปไตยรัฐสภา องค์กรซึ่งจะต้องมาแทนที่รูปแบบองค์กรเดิมของระบบทุนนิยมในการบริหารจัดการกลไกลและอำนาจการผลิตทางอุตสาหกรรม และจะต้องเป็นอิสระในการทำการผลิตอย่างแท้จริง องค์กรนั้นจะต้องมีความสามารถในการจัดการพละกำลังการผลิตในทุกกลไกการผลิตซึ่งอยู่ภายใต้ระบบของความสัมพันธ์ทางการผลิตและการแลกเปลี่ยนอันซับซ้อนที่เชื่อมโยงแผนกต่างๆในโรงงานเข้าด้วยกันและเชื่อมต่อกับโรงงานอื่นๆโดยธรรมชาติ องค์กรใหม่จะต้องสถาปนาหน่วยย่อยทางเศรษฐกิจขึ้นพื้นฐาน ที่จะช่วยเชื่อมโยงกิจการด้านอุตสาหกรรมการเกษตรเข้าด้วยกันผ่านแผนการทั้งในแนวราบและแนวตั้งที่ควรจะทำให้เกิดความร่วมมือขนาดใหญ่ในระดับชาติและในระดับสากล ที่เป็นอิสระจากความยุ่งยากและพวกกาฝากเผด็จการจากระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล


การขับเคลื่อนและความกระตือรือร้นต่อการปฏิวัตินั้นเกิดเป็นกระแสสูงในหมู่กรรมาชีพในประเทศยุโรปตะวันตก แต่ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าความเข้าใจอันแจ่มแจ้งและแน่ขัดในจุดจบนั้นไม่มาพร้อมกับความเข้าใจอันแจ่มแจ้งและแน่ชัดในวิธีการที่เหมาะสมเสมอไป ในห้วงเวลาปัจจุบันนี้เพื่อจะบรรลุถึงจุดจบด้วยตัวมันเอง ความเชื่อมั่นจึงได้หยั่งรากลึกลงในหมู่มวลชนผ่านสภาของคนงาน ชาวนา และทหารที่จะทำให้ระบบรัฐของชนชั้นกรรมาชขีพก่อรูปร่างขึ้นมาได้ แม้ว่าจะยังไม่มีการจัดตั้งมโนทัศน์ด้านกลยุทธ์ที่จะรับประกันเป้าหมายในการก่อตั้งรัฐแบบดังกล่าว นี่จึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องก่อตั้งเครือข่ายสำหรับเชื่อมโยงองค์กรของชนชั้นกรรมาชีพเข้าด้วยกันในทันที และปลูกฝังจิตสำนึกทางชนชั้นแก่มวลชน และทำให้มั่นใจว่าเราจะสามารถเชื่อในวินัยและวางใจในมวลชนได้อย่างถาวรทั้งในหมู่แรงงานและชาวนา และทั้งหมดทั้งมวลนั้นจะต้องทำสร้างความเป็นไปได้ในการพัฒนาองค์กรของกรรมาชีพและผลักดันไปตามพลวัตร เป็นที่ชัดเจนว่าในปัจจุบันนั้นภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดขององค์กรของชนชั้นกรรมาชีพ การเคลื่อนไหวของมวลนั้นเริ่มก่อรูปร่างขึ้นบนลักษณะของการปฏิวัติ ผลลัพธ์นั้นถูกรวบรวมเอาไว้และผนวกเข้ากับวิธีการที่ถูกต้องของรัฐแบบประขาธิปไตย พวกเขามุ่งมั่นที่จะแก้ไขการเพิ่มอำนาจของสภาล่าง (ที่สมาชิกมาจากการเลือตั้ง) และก่อรูปร่างความคิดต่อต้านลัทธิ Communist Socialists กรณีที่เกิดกับเยอรมันและออสเตรียนั้นบอกบางสิ่งแก่เราว่ากำลังอำนาจของรัฐแบบประชาธิปไตยและชนชั้นนายทุนนั้นยังงเข้มแข็งและยิ่งใหญ่ : มันไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปกปิดว่าระบบทุนนิยมนั้นยังคงยืนหยัดอยู่อย่างมั่นคงก็ด้วยผ่านการสนับสนุนของพวกประจบสอพลอกับพวกข้ารับใช้และแน่นอนว่าเหล่าร้ายพวกนี้ยังคงดำรงอยู่อย่างมั่นคง


การกำเนิดขึ้นของรัฐของชนชั้นกรรมาชีพนั้นไม่ใช่ ปรากฎการณ์ของปาฏิหารย์ของกรรมาชีพ : มันคือการลงมือทำ และมันคือกระบวนการของการพัฒนา มันจึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ที่เราจะต้องมีการเตรียมการวางรากฐานขององค์กรและสร้างการเผยแพร่ความคิดนี้สำหรับสิ่งที่จะมาถึง มันเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่จะต้องมอบอำนาจอันยิ่งใหญ่ให้กับองค์กรของแรงงานที่มีอยู่แล้วในโรงงานต่างๆ และก่อตั้งองค์กรที่คล้ายกันนี้ในหมู่บ้านของชาวนา เพื่อจะสร้างความมั่นใจว่าเราจะสามารถเผยแพร่แนวคิด Communism ให้กับทุกคนได้ และทุกๆคนจะมีจิตสำนึกปฏิวัติและตระหนักต่อภารกิจการปฏิวัติ ไม่เช่นนั้นแล้วความพยายามและชะตากรรมของชนชั้นกรรมาชีพทั้งหมดคงไม่อาจจะเดินไปสู่ความสำเร็จในการยุติไม่ให้การปฏิวัติกลายไปเป็นเพียงความล้มเหลวอันน่าเวทนาที่ต้องถูกล้อมรอบไปด้วยระบบรัฐสภาใหม่อันเต็มไปด้วยพวกโป้ปด พวกขี้โม้ และพวกฉวยโอกาส 


การสร้างสิ่งใหม่และการทุ่มเทความกล้าและความเสียสละที่มากขึ้นคือปัจจัยสำคัญสำหรับการก่อตั้งรัฐของชนชั้นกรรมาชีพ.

บล็อกของ จักรพล ผลละออ

จักรพล ผลละออ
 มาร์กซิสม์ : ความหมาย, ลักษณะ และหลักการ(Marxism: Meaning, Features a
จักรพล ผลละออ
 สภาพวิสัยAntonio Gramsci 1917
จักรพล ผลละออ
 สหภาพแรงงาน : อดีต ปัจจุบัน และอนาคตคาร์ล มาร
จักรพล ผลละออ
 หนังสือพิมพ์และชนชั้นแรงงานAntonio Gramsci 1916
จักรพล ผลละออ
 วันแรกแห่งเดือนพฤษภา : สัญลักษณ์แห่งยุคใหม่และการต่อสู้ของชนชั้นแรงงานNestor Makhno (1928) 
จักรพล ผลละออ
 สุนทรพจน์ในวันกรรมกรสากลครั้งแรก (ฉบับย่อ)
จักรพล ผลละออ
 วันสตรีสากลAlexandra Kollontai (1920)