Skip to main content

 

พัฒนาการของการปฏิวัติ
อันโตนิโอ กรัมชี่ (1919)

---------------------------------------------
มาจาก : L’Ordine Nuovo 13 กันยายน 1919
แปลเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรก : โดย Michael Carney
แปลเป็นภาษาไทย : โดย จักรพล ผลละออ 2017

---------------------------------------------

 


บทนิพนธ์ขั้นพื้นฐานของขบวนการคอมมิวนิสต์สากลสามารถสรุปออกมาได้ดังนี้
1) สงครามโลกที่เกิดขึ้นระหว่างปี 1914-1918 (สงครามโลกครั้งที่ 1 – ผู้แปล) เป็นภาพสะท้อนอันใหญ่โตและชัดเจนของช่วงเวลาในกระบวนการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่ Marx ได้เคยทำนายเอาไว้ว่าจะเกิดขึ้น นั่นคือมหันตภัยอันเกิดจากโลกทุนนิยม


2) มีเพียงชนชั้นกรรมาชีพเท่านั้นที่จะสามารถช่วยสังคมโลกของมนุษยชาติให้รอดพ้นจากหุบเหวแห่งความโหดร้ายป่าเถื่อนและการพังทลายของระบบเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากแรงผลักดันอันบ้าบิ่นของพวกชนชั้นปกครอง ซึ่งชนชั้นกรรมาชีพสามารถทำได้โดยการจัดการตนเองให้กลายเป็นชนชั้นปกครองใหม่ (เผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ-ผู้แปล) และใช้อำนาจเผด็จการนั้นในการบริหารจัดการการเมือง เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม


3) การปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพนั้นไม่ใช่ข้อเสนอทางเลือกหากแต่เป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เงื่อนไขที่ถูกสร้างขึ้นจากสงคราม (การตอบสนองความต้องการของปัจเจกบุคคลที่ทำให้เกิดการเสื่อมสลายอย่างสุดขีดในทรัพยากรทางเศรษฐกิจ การเร่งเร้าวิถีการผลิตและการค้าขายระดับสากลเพื่อตอบสนองความต้องการทำกำไรของพวกชนชั้นปกครองและนายทุนกลุ่มเล็กๆ และการควบคุมประเทศอาณานิคมต่างๆทั่วโลกให้ตกอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยมแบบ Anglo-Saxon หรือในระดับชาติคือการเร่งและเพิ่มอำนาจทางการเมืองให้กับชนชั้นปกครอง) จะทำให้เกิดผลลัพธ์ดังนี้ คือสามารถทำให้เกิดการยึดครองอำนาจทางสังคมโดยชนชั้นกรรมาชีพ ด้วยวิธีการและเครื่องมือของชนชั้นเพื่อยับยั้งกระบวนการอันจะนำไปสู่การล่มสลายของสังคมมนุษย์และเริ่มต้นการวางรากฐานสำหรับวินัยของสังคมใหม่ซึ่งสามารถจะเกิดขึ้นได้ด้วยการสร้างสังคมใหม่ หรือไม่เช่นนั้นก็จะนำไปสู่การฆ่าล้างกันอย่างยาวนานที่จะก่อให้เกิดการล่มสลายทางสังคมจนกว่าจะมีการก่อตัวใหม่ของการจัดวางสมดุลทางความสัมพันธ์ระหว่างนายทุนผู้ทำการควบคุมการผลิตกับมวลชนจำนวนมากที่เป็นผู้บริโภค


การเข้าเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการคอมมิวนิสต์สากลนั้นหมยถึงการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพยายามจัดตั้งเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ นั่นคือการบริหารจัดการการเคลื่อนไหวของมวลชนชนชั้นกรรมาชีพไปในหนทางและรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดเพื่อทำให้ระบบการเมืองของชนชั้นกรรมาชีพกลายเป็นระบบขั้นพื้นฐานในการต่อสู้ทางการชนชั้นที่มีกลุ่มกรรมกร แรงงาน และชาวนาเป็นผู้ผลักดันหลัก และนี่จึงจะหมายถึง “การปฏิบัติการและความแข็งแกร่งของชนชั้นกรรมาชีพ” อย่างแท้จริงซึ่งมีความแตกต่างจากยุทธศาสตร์ของพรรคสังคมนิยมที่ได้รับการอนุมัติที่เจนัวร์ในปี 1892 ซึ่งสามารถอธิบายได้ในสองมุมมองดังนี้


1) องค์กรของกรรมกรและแรงงานที่จัดตั้งขึ้นจากหน่วยของการผลิต (โรงงาน, แปลงเกษตรกรรมไร่นา, หมู่บ้าน, เมือง, ภูมิภาค, ประเทศ) ในทางเดียวกันนั้นจะเป็นพื้นที่สำหรับฝึกฝนมวลชนในการปกครองตนเองทั้งในทางการเมืองและในทางการผลิต


2) การพัฒนาอย่างเป็นระบบและการพยายามอย่างไม่หยุดห่อนในการเผยแพร่แนวคิดนั้นเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการเข้าครอบครองอำนาจของชนชั้นกรรมาชีพอย่างรวดเร็ว และรวบรวมพวกเขาเข้าสู่ศูนย์รวมใหม่ซึ่งก็คือรัฐในรูปแบบใหม่ (รัฐที่ปกครองด้วยสภาของคนงาน กรรมกร และชาวนา) ซึ่งจะก่อให้เกิดรูปธรรมของเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพขึ้น หลังจากการโค่นล้มระบบเศรษฐกิจ-การเมืองของพวกกระฎุมพีลง


นวัตรกรรมหรือข้อเสนอใหม่ขั้นพื้นฐานนี้ที่ได้นำเสนอในปี 1892 เป็นผลลัพธ์เชิงรูปธรรมของประสบการณ์ที่ผ่านมาจากการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพในรัสเซีย ฮังการี ออสเตรีย และเยอรมนี ที่พวกเขาพยายามจะทำให้การปฏิวัติเกิดขึ้นจริง ซึ่งพวกเขาถูกทำให้กลายไปเป็นพลเมืองโลกในระบบทุนนิยมจากการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะการเริ่มต้นจากแรงงานในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นอิสระจากการตอบโต้กลับทางการเมือง (ความพ่ายแพ้ด้านการทหาร ฯลฯ) นี่เป็นภาพสะท้อนโดยทั่วไปของการต่อสู้ทางชนชั้นที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีความเป็นทุนนิยมสูง


รูปธรรมของประสบการณ์ทางการปฏิวัติของขบวนการกรรมกรสากลสามารถสรุปออกมาได้ดังนี้
1) เผด็จการชนชั้นกรรมาชีพและสังคมคอมมิวนิสต์จำเป็นจะต้องถูกสถาปนาขึ้นเพื่อยกเลิกระบบชนชั้นและแก้ไขความขัดแย้งที่ไม่อาจจะแก้ไขได้ภายใต้สังคมทุนนิยม ซึ่งนี่เป็นห้วงเวลาและหน้าที่อันใหญ่โตของชนชั้นกรรมาชีพ


2) ระบบการจัดการองค์กรของชนชั้นกรรมาชีพในปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นละอยู่ภายใต้ความร่วมมือของ สหภาพแรงงาน, สหพันธ์อุตสาหกรรม, และกลุ่มมวลชนเชิงซ้อนในหน่วยการผลิตระดับท้องถิ่นและระดับชาติ (Camera del Lavoro และ Confederazione Generale del Lavoro) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างการแข่งขันและต่อรองในการขายกำลังแรงงานนั้น ไม่เหมาะสมและเพียงพอต่อชนชั้นกรรมาชีพ เพราะนี่เป็นเพียงการเล่นตามเกมส์การแข่งขันเสรีของระบบทุนนิยมซึ่งขัดแย้งกับการบริหารจัดการการผลิตของสังคมคอมมิวนิสต์และขัดขวางการจัดตั้งเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ การทำงานของสหภาพแรงงานนั้นมีประสิทธิภาพในการปกป้องแรงงาน นับตั้งแต่ที่พวกเขาประสบความสำเร็จในการจำกัดอำนาจอันล้นเหลือที่มักใช้ตามอำเภอใจของพวกชนชั้นนายทุน และบีบบังคับให้พวกเขาต้องยอมรับเงื่อนไขเรื่องสิทธิ์ของชนชั้นผู้ถูกขูดรีดในการตั้งคำถามต่อเรื่องชั่วโมงการทำงานและค่าจ้าง แต่นี่เป็นเพียงการปกป้องที่สุดท้ายก็จะทำให้เกิดการดำเนินตามบทบาทนี้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่เผด็จการชนชั้นกรรมาชีพในสังคมคอมมิวนิสต์นั้นจะทำงานเป็นกลไกเชิงเทคนิคที่จะแก้ไขความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ระหว่างสหภาพแรงงานต่างๆ และจะผนวกรวมพวกเขาทั้งในระดับชาติและระดับสากลด้วยค่าตอบแทนแบบสังคมคอมมิวนิสต์


3) องค์กรของคนงานซึ่งจะเข้ามาบริหารจัดการอำนาจในสังคมคอมมิวนิสต์อันจะนำไปสู่การก่อตัวของระบบเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพนั้นจะต้องมาจากระบบการเลือกตั้ง ที่มาจากการเลือกตั้งตั้งแต่ระดับสภาของคนงานในโรงงาน ฯลฯ อันจะทำให้ชนชั้นกรรมาชีพทุกคนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองและในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม การประสานงานกันและร่วมมือกันทั้งในระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับประเทศจะเป็นหนทางที่ทำให้การสร้างความเป็นปึกแผ่นของคนงานเป็นจริงขึ้นมาได้ และมีชัยชนะเหนือการจัดหมวดหมู่แรงงานในระบบแบ่งงานกันทำที่ใช้แบ่งแยกและสลายกำลังของชนชั้นแรงงาน การรวมตัวกันแบบดังกล่าวนี้มีอยู่ในปัจจุบันคือในกลุ่ม Camera del Lavoro และ Confederazione Generale del Lavoro แต่ไม่มีประสิทธิผลในวงกว้างเพราะพวกเขาไม่ได้มีระบบการเลือกตั้งและไม่มีการติดต่อกับภายนอก ทั้งยังประสบปัญหาการตั้งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางและผู้นำแบบปัจเจกชนนิยมด้วย ในสถานที่ทำงานของแรงงานการรวมตัวนี้จะเข้ามาแทนที่อย่างมั่นคงถาวรและมีประสิทธิภาพเพราะนี่จะเป็นผลลัพธ์จากความสามัคคีและการพัฒนาระบบของการผลิตในอุตสาหกรรม และเพราะมันเป็นการสร้างกิจกรรมที่วางรากฐานอยู่บนเจตจำนงค์ขอความเป็นพี่เป็นน้องความเป็นภราดรภาพ ที่จะรวบรวมผลประโยชน์ ความต้องการ และความรู้สึกของคนในชนชั้นเข้าไว้ด้วยกัน


4) มีเพียงการจัดองค์กรในรูปแบบนี้เท่านั้นที่จะทำให้มีความเป็นไปได้ในการจะปลุกจิตสำนึกทางชนชั้นให้กับชนชั้นกรรมาชีพให้พวกเขาตระหนักถึงความสามารถในการผลิตของพวกเขา และตระหนักถึงการใช้อำนาจในการปกครองของพวกเขา (อำนาจในการปกครองจะต้องเป็นกลไกสำหรับการผลิต) โดยปราศจากพวกนายทุน และรูปแบบการเมืองที่ไม่จำกัดจำนวนผู้แทน เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกในการผลิตนั่นคือสังคมที่ออกแบบแล้วของพวกเขาสามารถเข้าแทนที่ในกระบวนการการผลิตได้และด้วยเหตุนี้จึงสามารถจะเข้าแทนที่ในกระบวนการสรรค์สร้างทางประวัติศาสตร์ได้ ด้วยอำนาจในการผลิตและความรับผิดชอบในการผลิต


5) หน่วยการผลิตของแรงงานจะต้องมีการประสานงานและรวมตัวกันในระดับที่สูงยิ่งขึ้น โดยเชื่อมโยงกันด้วยผลประโยชน์ระดับท้องถิ่นและอุตสาหกรรมที่จะเชื่อมโยงกันภายในเขตพื้นที่ที่ทำการผลิต (จังหวัด, ภูมิภาค, ประเทศ) อันจะก่อตั้งระบบสภาของคนงาน ซึ่งจะเป็นการเข้าแทนที่การถือครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลด้วยการผลิตโดยส่วนรวม เชื่อมโยงความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นขึ้นเพื่อการเอาใจใส่ซึ่งกันและกันในการดูแลสิทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวมของแรงงาน ซึ่งจะนำไปสู่การทำลายล้างระบบการแข่งขัน และเสรีภาพจอมปลอม ด้วยการวางรากฐานของเสรีภาพและวัฒนธรรมแบบสังคมคอมมิวนิสต์


6) การรวมตัวกันอย่างแนบแน่นในชุมชนของการผลิตนั้น เป็นเรื่องปกติที่กรรมาชีพจะนำพาเจตจำนงค์ของพวกเขาไปสู่อำนาจโดยหลักเกณฑ์อย่างเคร่งครัดในความสัมพันธ์ทางการผลิตและการแลกเปลี่ยน ซึ่งโดยส่วนมากแล้วระบบคิดแบบชนชั้นกรรมาชีพจะเข้าทำลายความเชื่อปกรณัม ความคิดอุดมคติ ศาสนา และอุดมการณ์แบบกระฎุมพีน้อย ระบบความคิดแบบคอมมิวนิสต์จะรวบรวมกำลังอย่างรวดเร็วและมั่นคงด้วยความกระตือรือล้นในการปฏิวัติ ความแน่วแน่และความบากบั่นในกฎเหล็กของกรรมาชีพและการต่อสู้กับการโจมตีและลูกเล่นของพวกสังคมเก่าอย่างเปิดเผ


7) พรรคคอมมิวนิสต์ไม่สามารถจะมีคู่แข่งขันได้ในโลกใหม่ของการทำงาน ในห้วงเวลาปัจจุบันของการต่อสู้ทางชนชั้นนั้นเราได้เห็นพรรคปฏิวัติจอมปลอมเบ่งบานขึ้นมาเป็นจำนวนมาก พวกคริมเตียนสังคมนิยม (ผู้สามารถยึดกุมมวลชนชาวนาจำนวนมากเอาไว้ได้ผ่านศาสนา) พรรคสังคมนิยม “ที่แท้จริง” (ซึ่งอันที่จริงเป็นที่รวมตัวของพวกอดีตทหาร พวกกระฎุมพีน้อย ส่วนที่เหลือคือกลุ่มคนที่ตื่นเต้นไปตามกระแสความคิดใดๆก็ตามที่ดูแปลกใหม่) พวกปัจเจกชนเสรีนิยม (ซึ่งมีแนวโน้มไปสู่ความวุ่นวายโกลาหล และการทำตามอำเภอใจ) พรรคและกลุ่มการเมืองเหล่านี้ได้โผล่เข้ามาและสร้างความสับสนในพื้นที่ของการเลือกตั้งด้วยการใช้โวหารอันกลวงเปล่าและไม่มีที่สิ้นสุดด้วยการใช้คำสัญญาอันน่าฉงนและไร้ความรับผิดชอบ อีกทั้งยังล้อเล่นกับความรู้สึกและความคาดหวังของชนชั้นล่างอย่างเห็นแก่ตัว พรรคเหล่านี้ไม่สมควรและไม่มีทางจะได้รับการสนับสนุนมวลชนเลยถ้าหากพวกเขาไม่ได้แสดงเจตจำนงทางสังคมของพวกเขาท่ามกลางความวุ่นวายและความสับสนของระบบการเมืองแบบรัฐสภา แต่ในชุมชนของการทำงานและด้วยเครื่องจักรมวลชนได้กลายเป็นทาสและจะกลายไปเป็นทาสของบรรดาสมาชิกพรรคดังกล่าวด้วย


8) การปฏิวัตินั้นไม่ใช่การกระทำตามอารมณ์ความรู้สึก หากแต่เป็นพลวัตของกระบวนการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ทุกๆสภาของคนงานและชาวนานั้นเกิดขึ้นมาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนานี้ นี่คือการทำให้สังคมคอมมิวนิสต์เกิดขึ้นจริง การสนับสนุนการพัฒนาและเพิ่มจำนวนสภาของคนงานเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดการเชื่อมโยงองค์กรต่างๆเพื่อขยับขึ้นไปสู่ระดับชาติและรวมตัวกันในสภานิติบัญญัติของคนงาน ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาการเผยแพร่แนวคิดอันยิ่งใหญ่เพื่อจะยึดกุมคนส่วนมากในสังคม นี่คือภารกิจในปัจจุบันของนักคอมมิวนิสต์ การขับเคลื่อนและผลักดันการเบ่งบานของอำนาจใหม่ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างไม่อาจต้านทานได้จากชนชั้นกรรมาชีพ จะเป็นตัวกำหนดผลกระทบอันรุนแรงระหว่างสองชนชั้นและจะเป็นการยืนยันการสถาปนาระบบเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ ถ้าหากว่ารากฐานของการปฏิวัติไม่สามารถถูกลงหลักปักฐานได้ การปฏิวัติก็จะคงเหลือเพียงเสียงกระซิบอันแห้งแล้งในการเรียกหาเจตจำนงค์ เป็นเพียงม่านหมอกในตำนาน และการหลอกลวง ก่อนที่มันจะกลายไปเป็นความโกลาหลละความวุ่นวายอันไร้ระเบียบเมื่อมวลชนที่ไร้วินัย ปราศจากการจัดตั้ง และคนว่างงานทวีจำนวนมากขึ้น ความหิวโหดและความอดอยากจะเข้ากลืนกินพวกเขาและทำลายกลุ่มพลังที่แข็งแกร่งที่สุดของชนชั้นกรรมาชีพ (หรือเปลี่ยนไปสู่การปฏิวัติแบบอนาธิปไตยที่เต็มไปด้วยความป่าเถื่อน รุนแรง และไร้ระเบียบวินัย – ผู้แปล)

บล็อกของ จักรพล ผลละออ

จักรพล ผลละออ
ความล้มเหลวของทุนนิยม และความคิดก้าวหน้าในหมู่คนรุ่นใหม่[Young People Today are uniquely radical because Capi
จักรพล ผลละออ
เมื่อการประท้วง และการจลาจลคือหนทางในการต่อสู้[When Rioting Works]
จักรพล ผลละออ
 ใครกันแน่คือผู้ปล้นชิง และใครที่กำลังถูกปล้นชิง[Who Exactly Is Doing the Looting, and Who’s Be
จักรพล ผลละออ
Covid-19 และระบบทุนนิยมกำลังนำคนนับล้านไปสู่การอดตายCapitalism threatens mass starvationBy Oliver Bro
จักรพล ผลละออ
ทำไมผมจึงเป็นนักสังคมนิยมWhy I’m a SocialistBY BARRY EI
จักรพล ผลละออ
มองสัญญาณวิกฤตของระบบทุนนิยม ผ่านมูลค่าพันธบัตรExplaining the coming crisis of capitalism
จักรพล ผลละออ
 สังคมนิยมประชาธิปไตย คือเรื่องที่ว่าด้วยระบอบประชาธิปไตยDemocratic Socialism Is About Democr
จักรพล ผลละออ
แถลงการณ์องค์กรมาร์กซิสต์สากล เนื่องในวันสตรีสากลสหายทั้งห
จักรพล ผลละออ
มาร์กซิสม์ 102 – หลักการพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์มาร์กซิสต์(Marxism 102 – Some Basic Principles of Marxian Economics)By John H. Munro.
จักรพล ผลละออ
 25 คำถาม-คำตอบว่าด้วยคอมมิวนิสม์(The Principles of Communism)By Frederick Engels.