Skip to main content

 

 

 

 

 

 

 

 

ทุนนิยมและเสรีภาพ

Lyle Jeremy Rubin (2017)

---------------------------------------------
แปลจาก : Capitalism an Freedom, 13 ธันวาคม 2017
แปลเป็นภาษาไทย : โดย จักรพล ผลละออ 2017

---------------------------------------------

 

“เหตุผลที่พวกอนุรักษ์นิยมชื่นชอบระบบทุนนิยม

ก็เพราะมันช่วยรักษาระบบชนชั้นที่พวกเขาหวงแหนไว้”

 

หนังสือเรื่อง “Conservatives Against Capitalism” ของศาสตราจารย์ Peter Colozi จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กนั้นอาจจะอ่านและพิจารณามันได้ในฐานะหนังสือขบขันเล่มหนึ่ง งานของเขาเริ่มต้นการอธิบายอย่างเชื่องช้าและสูญเสียพื้นที่จำนวนมากไปกับการเขียนถึงตัวผู้เขียนเอง และทั้งหมดทั้งมวลนี้คือสิ่งที่พวกเขาอ้างเอาว่าอยู่ในหัวข้อ “อนุรักษ์นิยมต่อต้านทุนนิยม” (Conservatives Against Capitalism)

 

มันเป็นงานเขียนที่สุดแสนตลกร้ายเพราะในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้นยังปรากฎบรรดานักคิดนักการเมืองฝ่ายใต้ (ยุคสงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา-ผู้แปล) อย่าง George Fitzhugh, James Henry Hammond, และ John C. Calhoun ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นนายทาส ที่กังวลว่าระบบทุนนิยมที่กำลังก่อตัวขึ้นจะทำลายระบบชนชั้น ระบบทาสที่พวกเขาแสนหวงแหนและมองว่ามันเป็นระบบการแบ่งชนชั้นทางสังคมที่ดีที่สุดเท่าที่มนุษยชาติเคยมีมา

 

ยังมี งานเขียนเรื่อง fin-de-siècle เช่นเดียวกับการกล่าวถึงนักประวัติศาสตร์อย่าง Brooks Adams หรือ ประธานาธิบดี Theodore Roosevelt ซึ่งแต่ละคนล้วนแล้วแต่มีมุมมองว่าระบบทุนนิยมและปัจเจกชนนิยม จะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชนชั้นปกครอง

 

ยังมีงานเขียนโหยหาอดีตในยุค 1920 ถึง 1930 ซึ่งเป็นที่รูกกันว่าเป็นงานเขียนของพวกเจ้าที่ดินทางใต้ - นักกวีและนักเขียนอย่าง John Crowe Ransom, Allen Tate, and Donald Davidson; the scholars Lyle H. Lanier และ Frank Lawrence Owsley หรือนักเขียนนิยายอย่าง Andrew Nelson Lytle - บรรดาคนเหล่านี้ต่างจินตนาการจะให้สังคมย้อนหลังไปสู่ยุคก่อนอุตสาหกรรม

 

และมีพวกอนุรักษ์นิยมใหม่ (Neoconservatives) รุ่นแรกอย่าง Irving Kristol และ Daniel Bell ซึ่งวิพากษ์แนวโน้มของทุนนิยมที่จะทำลายวัฒนธรรมของตัวเองลง - ซึ่งมีรากฐานมาจากงานเชิงศีลธรรมแบบโปรเตสแตนท์ - และด้วยเหตุนั้นพวกเขาจึงเสนอให้เสียสละคุณธรรมพื้นฐานบางประการถ้าจำเป็น และสร้างความไม่เท่าเทียมขึ้น รวมทั้งยังมีนักคิดรุ่นเยาวน์ของกลุ่มอนุรักษ์นิยมใหม่อย่าง William Kristol (บุตรชายของ Irving), David Brooks, หรือนักประวัติศาสตร์อย่าง Robert Kagan พวกเขาเหล่านี้มุ่งมั่นที่จะรื้อฟื้นความคิดในการต่อต้านระบบทุนนิยมของประธานาธิบดี Theodore Roosevelt ที่ถูกโค่นล้มไปขึ้นมาใหม่

 

และในที่สุดก็มาถึงพวก “อนุรักษ์นิยมสุดโต่ง” (Paleoconservatives) อย่างนักเขียนชื่อ Samuel Francis หรือผู้ลงสมัครประธานาธิบดี Patrick Buchanan ซึ่งล้วนแต่ยืนยันเรื่องชาตินิยมของคนผิวขาว การปิดพรมแดน การเนรเทศผู้อพยพ การปกป้องดุลการค้าและนโยบายอุตสาหกรรม และลดทอนเรื่องสิทธิพลเมือง

 

ส่วนที่ตลกที่สุดของเรื่องตลกนี้ก็คือพวกฝ่ายขวาเหล่านี้บอกว่าสิ่งที่พวกเขาทำไปทั้งหมดก็เพื่อจะก่อให้เกิดสันติภาพกับศัตรูของชาติ และท้ายที่สุดหลังจากการพูดโอ้อวดอันยาวนานพวกฝ่ายขวาก็พบว่าในความเป็นจริงแล้วระบบเดียวที่จะครองอำนาจนำและรักษาอำนาจของพวกอภิสิทธิ์ชนเอาไว้ได้ก็คือระบบทุนนิยม

 

นี่เป็นแค่เรื่องตลกสั้นๆเท่านั้น อย่างไรก็ตามการเล่าเรื่องตลกนี้อย่างละเอียดค่อนข้างจะซับซ้อนอยู่ไม่น้อย พวกขวาจัดจำนวนมากอย่าง พวกจักรวรรดินิยม พวกอนุรักษ์นิยมใหม่ พวกอนุรักษ์นิยมสุดโต่ง ไม่เคยปฏิเสธระบบทุนนิยมอย่างจริงจังในตอนต้น แม้ว่าพวกเขาจะทำการอภิปรายต่อต้านระบบทุนนิยมในหลากหลายรูปแบบ ในอีกทางหนึ่งนั้นพวกนักคิดสมาพันธรัฐ (ฝ่ายใต้) เช่น Tate และ Davidson นั้นก็วิจารณ์ระบบทุนนิยมไปพร้อมๆกับการแบ่งแยกเชื้อชาติและเหยียดเชื้อชาติอย่างรุนแรง

 

เรื่องเล่านี้อาจจะยังไม่สมบูรณ์นัก แม้เราจะทราบว่ากำลังอำนาจที่ปลดปล่อยออกมาโดย Francis และ Buchanan จะมาบรรจบรวมกันกลายเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า “ขวาทางเลือก” (Alt-right) หรือก็คือกลุ่มฐานเสียงหลักของ Trump นั่นเอง แน่นอนว่าบทจบของเรื่องนี้อาจจะถูกเขียนขึ้นในเวลาอันใกล้ เมื่อประธานาธิบดีนั้นมุ่งมั่นและเชื่อมั่นกับการดำเนินนโยบายสนับสนุนคนผิวขาว ในขณะที่ปล่อยให้เกิดการรุกคืบของระบบทุนนิยมขนานใหญ่ในประวัติศาสตร์

สิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือเส้นโคจรของพวกอนุรักษ์นิยมอเมริกาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ 40 ปีก่อนที่ Kolozi กล่าวไว้ดังนี้

 

แม้ว่าจะยังคงมีความวิตกกังวลอยู่บ้าง แต่กลุ่มอนุรักษ์นิยมก็เลือกที่จะหันไปจับมือกับระบบทุนนิยมเพราะการขยายตัวของระบบตลาดนั้นหมายถึงการเติบโตของระบบทรัพย์สินส่วนบุคคลด้วย ... อนุรักษ์นิยมคือเรื่องของเสรีภาพ และความสามารถของมนุษย์บางคนในการปกครอง ควบคุม และขูดรีดกำไรเอาจากมนุษย์คนอื่น และด้วยระบบทุนนิยมนี่เองที่จะทำให้ความไม่เท่าเทียมและการแบ่งชนชั้นสามารถเกิดขึ้นได้ มันไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติเพียงอย่างเดียว กลุ่มอนุรักษ์นิยมอาจจะตั้งคำถามแต่ถึงที่สุดแล้วนี่เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อระบบอุปถัมถ์ที่ดียิ่งขึ้นและการสร้างระบบแบ่งแยกชนชั้น

 

ความคิดดังกล่าวนั้นทำงานได้ดีและเชื่อมโยงไปถึงงานเรื่อง The Reactionary Mind ของ Corey Robin ซึ่งเป็นเรื่องที่ฟังขึ้นหากเราจะกล่าวว่า Kolozi เป็นลูกศิษย์ของ Robin แต่ถ้าหากว่าหนังสือทั้งสองเล่มนี้ทำให้เราเห็นความเชื่อมโยงว่าทั้งนักอนุรักษ์นิยม และนักปฏิกิริยา คือคนกลุ่มเดียวกันแล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้อนุรักษ์นิยมเป็นเรื่องที่น่าดึงดูดเสมอมา?

 

ความเป็นไปได้อย่างหนึ่งก็คือ กลุ่มอนุรักษ์นิยมนั้นคือกลุ่มคนที่เชื่อว่าพวกเขาเป็นชนชั้นสูงที่ได้รับผลประโยชน์จากระบบชนชั้นเสมอมา พวกเขาเป็นคนร่ำรวยและมีผิวขาว นี่เป็นความจริงเท่าที่มันปรากฏ แต่กระนั้นมันก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ทั้งหมดว่าทำไมผู้หญิงจำนวนเป็นล้านคนถึงลงคะแนนเสียงเลือกผู้ชายที่ต่อต้านผู้หญิงไปเป็นผู้แทน  หรือคนจนและกลุ่มอนุรักษ์นิยมชนชั้นแรงงานที่โหวตให้พรรค Republican และไม่สามารถอธิบายถึงการดึงดูดมวลชนให้ขึ้นกับพวกชนชั้นนำผิวขาวทางใต้ หรือ สถานะคนดังของ Theodore Roosevelt หรือระบบการปกครองของคนรวยอย่าง Donald Trump ได้

 

ความเป็นไปได้อย่างอื่นก็คือความแข็งแกร่งของสื่อ การศึกษาที่ไม่เท่าเทียม การคุกคามผู้มีสิทธิโหวต การแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างไม่เป็นธรรม ความไม่เป็นประชาธิปไตยโดยธรรมชาติของ Senate และ Electoral College และพรรคการเมืองใหญ่สองพรรคที่ผูกขาดการเมือง รวมทั้งบิดเบือนความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ประชาชนต้องการกับผู้แทนที่ประชาชนสนับสนุน  (กล่าวคือพรรคการเมืองเสนอให้ประชาชนเลือกได้แค่ว่าจะเลือกสนับสนุนคน หรือนโยบาย) เช่นเดียวกับในสังคมทุนนิยมพวกเขาไม่อาจจะทราบได้หรอกว่าอะไรคือที่พวกเขากำลังซื้อหรือขายอยู่จริงๆ (กล่าวคือระบบจะเสนอทางเลือกให้แค่ซื้อหรือขาย)

 

การพูดถึงความเป็นไปได้ที่มากเกินไปนี้ไม่สามารถเติมเต็มคำตอบให้สมบูรณ์ได้ และถ้าหากว่าเรื่องนี้นั้นยังคงถูกต้องอย่างสิ้นเชิงมันจะไม่มีโอกาสสำหรับการตั้งความหวังในการเปลี่ยนแปลงเลย นับตั้งแต่ขบวนการฝ่ายซ้ายไม่สามารถเชื่อมโยงความร่วมมือได้ การสร้างความร่วมมือแบบองค์รวมและความเชื่อใจกันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างโลกที่ดีกว่าซึ่งต้องกล่าวอ้างถึงความมั่นใจในความสามารถที่จะทำให้มันเกิดขึ้นจริงได้ เช่นเดียวกับความเห็นพ้องต้องกันของความเชื่อและความจริง

 

ซึ่งนี่ทำให้เรามาถึงความเป็นไปได้ที่สาม ความเป็นไปได้ว่ามันมีบางสิ่งที่มีแรงดึงดูดอย่างแท้จริงเกี่ยวกับสิ่งที่พวกอนุรักษ์นิยมพูด และคำพูดนี้เองที่เป็นจูงใจที่มีอิทธิพลต่อผู้ที่มีตำแหน่งแห่งที่อยู่ในสังคมชนชั้น นักจิตวิทยาสังคมอย่าง Jonathan Haidt ได้ผลักดันข้อความจำนวนมากขนถึงขณะนี้ แม้ว่าพวกเขาจะให้หลักยืนบนผลการวิจัยเพื่อแช่แข็งลักษณะส่วนบุคคลเหมือนระบบอำนาจนิยม หรือใช้การเข้มงวดทางศีลธรรมในการควบคุม แต่ว่ามันจะเป็นอย่างไรถ้าหากคนหนึ่งนั้นมั้งด้านที่โอนอ่อนต่อแนวคิดอนุรักษ์นิยมพร้อมๆกับมีความสามารถที่จะเปลี่ยนความคิดของตัวเอง? อะไรคือวิธีการสำหรับปฏิบัติการทางเมืองที่จะทำต่อไป โดยเฉพาะสำหรับฝ่ายซ้าย?

 

คำตอบก็คือ ในช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายและวิกฤต ที่มุมมองประวัติศาสตร์ของ Koloziกลายเป็นสิ่งที่ใช้ได้ดี และข้อเสนอของ Robin กับนักการเมืองนักทฤษฎีคนอื่นๆเช่น Alex Gourevitch and William Clare Roberts ได้เสนอในแนวทางเดิม ฝ่ายซ้ายก็ได้กลับไปอ้างสิทธิ์สร้างคำอธิบายหรือพูดภาษาแบบเสรีนิยมในเรื่องเสรีภาพ หรือให้ตรงประเด็นกว่านั้น พวกเขาได้ยึดคืนภาษาทางการเมือง - การเมืองเรื่องเสรีภาพ ซึ่งฝังอยู่ทั้งในทฤษฎีของ Marx และแนวทางปฏิบัติของพรรค republican ส่วน Kolozi นั้นไม่ได้มุ่งมั่นที่จะกู้คือคำพูดหรือภาษาทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมอย่างภาษาของชุมชน ธรรมเนียม หรือความสมดุล - เพราะมันเป็นภาษาที่เกี่ยวโยงอยู่กับมรดกตกทอดทางภาษาของฝ่ายซ้าย - แต่ถ้าหากเป้าหมายนั้นคือการชักชวนให้คนจำนวนมากมาเข้าร่วมกับฝ่ายซ้าย ข้อเสนอดังกล่าวที่ใช้หยิบยกเอาภาษาของฝ่ายขวามาพูดก็เป็นเรื่องที่สมควรนำมาพิจารณา

 

ในหนังสือเรื่อง “Conservatives Against Capitalism” ได้มีการกล่าวถึงกลุ่มพลังหนึ่งที่เรียกว่า “อนุรักษ์นิยมใหม่” (The new conservatives) ที่เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มนักคิดหลากสาขาในยุคหลังสงคราม ตัวอย่างเช่น poet Peter Viereck, นักประวัติศาสตร์ Clinton Rossiter, นักวิจารณ์งานวรรณกรรม Russell Kirk, และ นักสังคมวิทยา Robert Nisbet ซึ่งไม่มีใครเป็นนักสังคมนิยม แต่ขณะเดียวกันนั้นพวกเขาก็ไม่เชื่อในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐแบบฝ่ายขวาเสรีนิยม สำหรับ Viereck และ Rossiter ระเบียบสมดุลใหม่จะต้องเป็นการอนุรักษ์สถาบันทางสังคมดั้งเดิมและวัฒนธรรมดั้งเดิมให้ปลอดภัยจากระบบทุนนิยมและกระแสการปฏิวัติ Nisbet นั้นก็ไม่เคยเชื่อถือในการสร้างข้อตกลงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แต่ขณะเดียวกันก็ยังเลือกจะสนับสนุนระบบรัฐที่เปิดให้มีการตั้งสหภาพแรงงานและการสร้างความร่วมมือขึ้น ซึ่งเป็นมุมมองที่ถูกต้องอย่างยิ่ง ดังเช่นที่ Kolozi ได้เขียนไว้ว่า

 

ความคิดทางทฤษฎีขึ้นพื้นฐานสำหรับการจัดตั้งรัฐสวัสดิการในมุมมองของกลุ่มอนุรักษ์นิยมคือสิ่งที่จะต้องพัฒนาจากรัฐบาลกลาง ไปสู่รัฐ และรัฐบาลท้องถิ่น อย่างเช่นนโยบายของประธานาธิบดี Bill Clinton ในปี 1996 และนโยบายของประธานาธิบดี George W. Bush ซึ่งดำเนินนโยบายผลักดันให้รัฐสวัสดิการกลายเป็นเรื่องสังคมสงเคราะห์เชิงศีลธรรมศาสนา

 

มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาษาเฉพาะแบบชุมชนนิยมที่มีการใช้รูปแบบภาษาอย่างฝ่ายซ้าย โดยสามารถพิจารณาได้จากข้อเขียนถึงสหภาพแรงงานของ Viereck ตลอดจนข้อเขียนของ Kolozi

 

สหภาพแรงงานคือกลุ่มพลังอนุรักษ์นิยมในสังคมเพราะพวกเขาทำให้เกิดการกระจายอำนาจ อันเป็นส่วนประกอบสำคัญของสังคมพหุนิยม แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ “สหภาพแรงงานได้ย้อนกลับไปสู่การย่อยสลายพลังของชนชั้นกรรมาชีพให้กลายไปเป็นพลังแบบปัจเจกบุคคล” สหภาพแรงงานยื่นข้อเสนอให้กับสมาชิกว่าด้วยเรื่องความร่วมมือร่วมใจในการต่อสู้ที่อยู่นอกเหนือการมุ่งเป้าไปสู่การต่อสู้กับรัฐ อันเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ชนชั้นกรรมาชีพย่อยสลายตัวเองจากการเป็นมวลชนไปสู่การเป็นปัจเจกบุคคล ประวัติศาสตร์สมัยใหม่แสดงให้เห็นว่ามันเต็มไปด้วยความอ่อนแอและการล่มสลายอย่างต่อเนื่องขององค์กรชนชั้นกรรมาชีพ ก่อนที่สถาบันใหม่จะถูกก่อตั้งขึ้นมา สถาบันแบบศักดินาที่มีรากฐานอยู่บนความคิดแบบสถาบันศาสนา และระบบครอบครัวเดี่ยว และสหภาพแรงงาน  ซึ่งเป็นรูปแบบทางสังคมเดียวที่ระบบอุตสาหกรรมสนับสนุน สหภาพแรงงานั้นเป็นองค์กรที่มีอำนาจจริง มีเป้าประสงค์ที่ชัดเจน และมีรากฐาน และมันทำให้เกิด “ความเป็นไปได้ที่จะสร้างความปลอดภัยที่จำเป็นสำหรับสังคมมนุษย์ที่หลากหลาย” มันจึงเป็นสถาบันของกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่ Viereck ให้การยกย่องว่ามันคือแนวป้องกันอันแข็งแกร่งที่จะไม่ทำให้สังคมก้าวไปสู่การเป็นสังคมปัจเจกชนสุดโต่งแบบทุนนิยม และขณะเดรียวกันก็ป้องกันไม่ให้เกิดระบบเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพขึ้นด้วย

 

ฝ่ายซ้ายนั้นไม่เคยมองระบบศักดินา สถาบันทางศาสนา หรือระบบครอบครัวแบบชายเป็นใหญ่ในแง่ดี และไม่นำเอาการต่อสู้ของชนชั้นแรงงานไปเปรียบเทียบกับการกดขี่ที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ แต่การเมืองของฝ่ายนั้นม่ต้องการจะพูดหรือนำเสนอเฉพาะเพียงแต่การโหยหาความปลอดภัย ความมั่นคง ความเท่าเทียม และเสรีภาพ เพราะพวกเขาเชื่อว่ามันสามารถพูดหรือต้องพูดถึงเรื่องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การช่วยเหลือกัน และความร่วมมือร่วมใจกันไปด้วย

 

ประเด็นคือไม่ใช่ว่าความคิดสังคมนิยมจะสามารถมีชัยชนะเหนือสภาวะล่อแหลมของสังคมสมัยใหม่ได้เสียทีเดียว และก็ไม่ได้หมายความว่าฝ่ายซ้ายจะต้องเดินตามอนุรักษ์นิยมไปตลอด ประเด็นคือแนวคิดแบบสังคมนิยมประชาธิปไตยนั้นสามารถปกป้องระบบสาธารณสุขหรือประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้

 

งานศึกษาอันน่าประทับใจที่สุดของ Kolozi คือการแสดงให้เห็นว่ากลุ่มอนุรักษ์นิยมในสหรัฐอเมริกานั้นให้ความสำคัญในการปกป้องระเบียบดั้งเดิมมากกว่าจะเข้าร่วมในการตอบสนองความต้องการของประชาชน นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมอนุรักษ์นิยมจำนวนมากในอเมริกาจึงเข้าร่วมและเลือกที่จะยืนหยัดกับระบบทุนนิยม แต่หากเราอ่านมันอย่างละเอียดและจริงจังงานชิ้นนี้ได้เสนออะไรบางอย่างให้กับฝ่ายซ้าย ว่าด้วยการจะกลับมาได้เปรียบเหนือการตั้งมั่นของอนุรักษ์นิยม ด้วยการใช้การปราศรัยและการโน้มน้าวมวลชน ด้วยเหตุนี้หนังสือของ Kolozi จึงเป็นงานที่ฝ่ายซ้ายควรจะอ่านเพื่อทำความเข้าใจต่ออนุรักษ์นิยมและหาช่องทางในการต่อสู้ต่อไปได้.

 

แปลจาก : https://jacobinmag.com/2017/12/conservatives-against-capitalism-review-kolozi

บล็อกของ จักรพล ผลละออ

จักรพล ผลละออ
ว่าด้วยวันสตรีสากลAlexandra Kollontai 1913 
จักรพล ผลละออ
 
จักรพล ผลละออ
ทุนนิยม ชนชั้นกลาง อนุรักษ์นิยม และการต่อต้านทุนสามานย์จักรพล ผลละออ (2017)