Skip to main content

 

สหภาพแรงงานและสภาคนงาน
อันโตนิโอ กรัมชี่ (1919)

---------------------------------------------
มาจาก : L’Ordine Nuovo 11 ตุลาคม 1919
แปลเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรก : โดย Michael Carney
แปลเป็นภาษาไทย : โดย จักรพล ผลละออ 2017

---------------------------------------------

 


การรวมตัวกันเป็นองค์กรของชนชั้นกรรมาชีพนั้นคือผลลัพธ์การแสดงออกของมวลชนกรรมกรและชาวนา ในศูนย์กลางสำนักงานของ Confederazione del Lavoro นั้น็ได้ผ่านวิกฤตทางรัฐธรรมนูญมาแล้วซึ่งดูคล้ายคลึงกับวิกฤตที่มักจจะเกิดขึ้นโดยปกติของระบบรัฐสภาประชาธิปไตยที่เต็มไปด้วยการโต้เถียงภายในสภาอันไร้สาระ ดังนั้นวิธีการแก้ไขปัญหาหนึ่งจึงย่อมจะเป็นวิธีการแก้ไขของอีกปัญหาหนึ่งนั่นคือเมื่อเริ่มต้นการพยายามแก้ไขปัญหาของเจตจำนงค์ในอำนาจในกรณีขององค์กรทางชนชั้น ชนชั้นแรงงานจะต้องไปถึงการสถาปนาองค์ประกอบสนับสนุนรัฐของพวกเขา และจะต้องนำไปสู่การได้รับชัยชนะเหนือระบบรัฐแบบประชาธิปไตยรัฐสภา


ชนชั้นแรงงานนั้นรู้สึกว่าความซับซ้อนขององค์กรของ “พวกเขา” นั้นได้กลายไปสู่การเป็นกลไกจำนวนมากซึ่งสุดท้ายแล้วทำงานโดยเชื่อฟังกฎดั้งเดิมของมัน ยึดโยงอยู่กับโครงสร้างและการทำงานอันซับซ้อนภายใน แต่กลับเป็นสิ่งแปลกแยกกับมวลชนที่ได้รับและตระหนักถึงจิตสำนึกทาชนชั้นที่แบกรับภารกิจทางประวัติศาสตร์ในฐานะชนชั้นปฏิวัติ พวกเขารู้สึกว่าเจตจำนงค์ในการเข้าถึงอำนาจของพวกเขาไม่สามารถแสดงออกได้หรือกล่าวให้ชัดเจนและแม่นยำขึ้นก็คือมันไม่สามารถแสดงออกมาได้ผ่านองค์กรและสถาบันที่มีการจัดลำดับทางชนชั้นภายใน พวกเขารู้สึกเช่นนั้นแม้กระทั่งในบ้านของตนเอง ในบ้านของคนงานนั้นพวกเขามีโครงสร้างอันเหนียวแน่น (สถาบันครอบครัว) ซึ่งผูกมัดพวกเขาให้จมอยู่กับเลือดและน้ำตา การเข้ามาของเครื่องจักรได้ทำลายผู้คน ระบบราชการได้บ่อนทำลายจิตวิญญาณในการสร้างสรรค์และสร้างความพยายามอันไร้สาระในการพยายามซ่อนการไร้ความชัดเจนทางมโนทัศน์ในเรื่องความจำเป็นของการผลิตแบบอุตสาหกรรมและการขาดความเข้าใจต่อจิตวิทยาของชนชั้นกรรมาชีพ ปัจจัยที่เป็นจริงเหล่านี้สร้างความขุ่นเคืองไม่พอใจให้กับชนชั้นกรรมกรแรงงาน หากแต่พวกเขาเป็นเพียงปัจเจกบุคคลที่ไร้พลังในการจะสร้างความเปลี่ยนแปลง คำพูดและเจตจำนงค์อันแรงกล้าของปัจเจกบุคคลนั้นช่างเล็กกระจ้อยร่อยเมื่อเทียบเคียงกับกฎเหล็กโดยธรรมชาติในโครงสร้างของกลไกแบบสหภาพแรงงาน


พวกผู้นำของสหภาพแรงงานนั้นไม่ได้สนใจหรือเอาใจใส่ต่อวิกฤตที่กว้างขวางและลึกล้ำนี้ ความชัดเจนดังกล่าวปรากฎให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าชนชั้นแรงงานไม่ได้ถูกจัดตั้งในรูปแบบที่จะสอดคล้องกับโครงสร้างทางประวัติศาสตร์ที่เป็นจริง และที่ยิ่งไปกว่านั้นคือชนชั้นแรงงานไม่ได้ถูกจัดตั้งให้กลายเป็นองค์ประกอบที่ไม่จะไม่หยุดพัฒนาตัวเองให้ยอมรับกฎทางประวัติศาสตร์ที่ควบคุมกระบวนการพัฒนาการและพลวัตทางประวัติศาสตร์อันเกี่ยวโยงกับชนชั้นโดยตัวมันเอง (กล่าวคือไม่ได้ถูกจัดตั้งให้กลายเป็นองค์กรปฏิวัติ-ผู้แปล) พวกผู้นำของสหภาพแรงงานนั้นยังคงยืนกรานในการต่อสู้แบบปิดหูปิดตาเพียงเพื่อจะนำพาตัวเองไปสู่การ “วางกฎเกณฑ์” เพื่อจะระงับความขัดแย้งและสร้างการประนีประนอม พวกเขามีลักษณะจิตวิญญาณอันโด่ดเด่นแบบพวกข้าราชการซึ่งเชื่อถือในเรื่องเงื่อนไขทางวัตถุประสงค์อันหยั่งรากลึกอยู่ในจิตวิทยาที่พัฒนาขึ้นในประสบการณ์จริงในโรงงานนั้นสามารถที่จะเอาชนะด้วยวาทกรรมที่จะเป็นตัวเร่งเร้าความรู้สึกและด้วยระเบียบที่ได้รับการโหวตอย่างเป็นเอกฉันท์ในการชุมนุมนั้นจะถูกทำให้น่ารังเกียจโดยเสียงบ่นและการใช้โวหารที่วกวนไปมา วันนี้พวกเขาได้บีบตัวเองไปสู่ “การขยับขึ้นสู่จุดสูงสุดของงเวลา” และเพื่อจะพิสูจน์ว่าพวกเขานั้นสามารถที่จะทำงาน “ทางความคิด” ได้อย่างจริงจัง พวกเขาได้หยิบยกเอาระบบเก่าและชำรุดของอุดมการณ์สหภาพแรงงานขึ้นมาใหม่ และสร้างข้อยืนยันอันน่าเบื่อหน่ายในการพยายามนิยามความต่างระหว่างโซเวียตและสหภาพแรงงาน และสร้างข้อเหน็บแนมอันน่าเบื่อหน่ายต่อการเสนอและยืนยันว่าองค์กรของสหภาพแรงงานในปัจจุบันนั้นจำเป็นจะต้องพัฒนาไปสู่การกลายเป็นองค์กรพื้นฐานในการจัดตั้งระบบเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ


สหภาพแรงงานซึ่งดำรงอยู่ในปัจจุบันในหลายประเทศของยุโรปตะวันตกนั้นเป็นองค์กรที่มีลักษณะองค์กรไม่ได้แตกต่างจากโซเวียตโดยความต่างตามธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังแตกต่างกันอย่างที่สุดกระทั่งเมื่อเปรียบเทียบกับสหภาพแรงงานที่ก่อตั้งและพัฒนาขึ้นภายในสาธารณะรัฐคอมมิสนิสต์


สหภาพแรงงานอย่างเช่น สมาพันธ์แรงงานภาคอุตสาหกรรม, Camere del Lavoro, the Confederazion Generale del Lavoro นั้นเป็นรูปแบบขององค์กรของชนชั้นกรรมาชีพเฉพาะแต่ในช่วงเวลาที่ประวัติศาสตร์ถูกครอบงำเอาไว้ด้วยระบบทุนนิยมเท่านั้น กล่าวให้ชัดเจนก็คือ ภายในรูปแบบขององค์กรแบบนี้มันจะรักษาเอาหลักสำคัญของระบบทุนนิยมเอาไว้ด้วยและที่สำคัญที่สุดคือกลไกของสหภาพแรงงานนั้นคือกลไกโดยธรรมชาติของระบบทรัพย์สินส่วนบุคคล ใน่วงเวลาดังกล่าวนี้ที่ปัจเจกบุคคลจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อตราบเท่าที่พวกเขาถือครองสินค้าและทำการค้าขายสินค้าดังกล่าว (ในชนชั้นแรงงานนั้นสินค้าชนิดเดียวที่พวกเขามีก็คือ “กำลังแรงงาน” ของตนเอง-ผู้แปล) แรงงานต้องยอมทำตามกฎเหล็กโดยทั่วไปที่ว่านี้และกลายเป็นผู้ค้าสินค้าของตนเอง, กำลังแรงงาน และกำลังแรงงานทางความคิด ซึ่งทำให้แรงงานต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงในการแข่งขัน แรงงานต้องเพิ่มพูนและสั่งสมสมบัติของพวกเขามากขึ้นและครอบคลุมในทุก “บริษัท” พวกเขาได้สร้างกลไกจำนวนมหาศาลเพื่อจะเป็นกลไกในการคุ้มครองแรงงาน พวกเขาได้ขยับไปสู่การเรียกร้องค่าแรงและชั่วโมงการทำงานไปจนถึงการพยายามสร้างอำนาจในการกำหนดกฎเกณฑืให้กับระบบตลาด พวกเขาได้สร้างบุคลากรในการบริหารจัดการที่เชื่อถือได้, ผู้เชี่ยวชาญในการทำงานเก็งกำไร ทั้งจากภายนอกและภายในสหภาพแรงงานและแต่งตั้งให้เข้าสู่ตำแหน่งที่จะทำงานคครอบงำและควบคุมปัจจัยของระบบตลาด ซึ่งจะต้องมีความสามรถในการร่างและวางเงื่อนไขข้อตกลง การประเมินธุรกิจอันหลากหลาย และการเริ่มวางปฏิบัติการทางเศรษฐกิจที่มีประโยชน์ ลักษณะโดยธรรมชาติของสหภาพแรงงานจึงวางอยู่บนพื้นฐานเรื่องการแข่งขันไม่ใช่คอมมิวนิสต์ สหภาพแรงงานนั้นไม่สามารถที่จะกลายเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงหรือรื้อสร้างสังคมใหม่ได้ คือสหภาพแรงงานนั้นสามารถสร้างความรู้ด้านระบบราชการให้กับชนชั้นแรงงานได้ ให้ความรู้ความเชี่ยวชาญเชิงเทคนิคในการผลิตแบบอุตสาหกรรมได้ แต่ไม่สามารถจะเป็นฐานกำลังสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพได้ สหภาพแรงงานไม่ได้เสนอความเป็นไปได้ที่จะทำให้ชนชั้นกรรมาชีพลุกขึ้นมาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสังคม อีกทั้งยังไม่สามารถให้กำเนิดแรงผลักดันสำหรับกระบวนการในการสร้างสังคมคอมมิวนิสต์ได้


เผด็จการชนชั้นกรรมาชีพจะสามารถสถาปนารูปร่างขึ้นได้ก็ด้วยผ่านรูปแบบขององค์กรเฉพาะที่ตั้งขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อกิจกรรมเฉพาะของกลุ่มผู้ทำการผลิต ไม่ใช่พวกแรงงานรับจ้าง หรือพวกทาสของทุนนิยม สภาของคนงานคือระบบรูปแบบตั้งต้นขององค์กรแบบดังกล่าว นับตั้งแต่การที่ภายในสภาของคนงานนั้นจะมีที่นั่งให้กับผู้แทนของคนงานจากทุกแผนกทุกสาขาในโรงงาน แบ่งสัดส่วนกันเพื่อสนับสนุนสหภาพและแผนกหรือสาขาของแรงงานกลุ่มอื่นๆเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการผลิตของโรงานให้หันมาทำการผลิตเพื่อตอบสนองต่อส่วนรวม ต่อสถาบันต่างๆของชนชั้น และต่อสังคม เหตุผลที่ต้องเกิดเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพนั้นมาจากนชั้นแรงงาน และมาจากการผลิตแบบอุตสาหกรรม กล่าวคือการจะสถาปนาสภาวการณ์อันมั่นคงนั้นไม่ใช่เพียงแต่การได้รับค่าจ้างที่เพียงพอ หรือระบบแบ่งงานกันทำ ทั้งหมดนี้เป็นแค่สภาวการณ์ชั่วคราว ที่จะต้องถูกโค่นล้มลงเพื่อสถาปนาระบอบเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพขึ้นแทนที่


ดังนั้นสภาของคนงานจึงเป็นกลไกที่จะทำให้การร่วมมือของชนชั้นแรงงานเป็นจริงขึ้นได้ ทำให้มวลชนรวมกำลังกันและสถาปนารูปแบบองค์กรความร่วมมือของแรงงาน ไปจนถึงการสร้างพื้นที่ทดลองที่จะให้อำนาจแก่มวลชนในการออกแบบและบริหารจัดการสังค


สภาของคนงานคือโมเดลต้นแบบของเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ ปัญหาโดยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นกับองค์กรของชนชั้นกรรมาชีพย่อมจะเกิดขึ้นกับองค์กรในรูปแบบของสภาคนงานด้วย โดยพร้อมกันนั้นมโนทัศน์เรื่องพลเมืองก็จะสูญสลายไป และมโนทัศน์เรื่องสหายก็จะเติบโตขึ้น การร่วมมือร่วมใจกันในการพัฒนาการสมานฉันท์ เพิ่มจำนวนการเชื่อมโยงการสร้างความสามัคคีและภราดรภาพขึ้นแบบทวีคูณ ทำให้เกิดความคิดที่ว่าทุกคนคือคนสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้ ทุกคนมีตำแหน่งแห่งที่ของตนซึ่งจะตามมาด้วยหน้าที่การงาน แม้กระทั่งคนงานที่โง่และล้าหลังที่สุดก็ต้องจะมีพื้นที่และการงาน และทั้งหมดนี้จะสำเร็จด้วยการพยายามแสวงหาจิตสำนึกแบบคอมมิวนิสต์เพื่อทำความเข้าใจถึงการก้าวต่อปู่การสถาปนาระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ที่จะมีชัยชนะเหนือระบบทุนนิยม สภาของคนงานจึงเป็นองค์กรที่เหมาะสมสำหรับทั้งการให้การศึกษาและการสร้างพัฒนาการด้านจิตวิญญาณทางสังคมใหม่ซึ่งจะถือกำเนิดขึ้นในชนชั้นกรรมาชีพที่ใช้ชีวิตร่วมกันอยู่ในพื้นที่ของโรงงาน (สังคมร่วมของคนงาน) ความร่วมมือของชนชั้นแรงงานที่ถูกพัฒนาขึ้นจากระบบสหภาพแรงงานในการต่อสู้ต่อต้านระบบทุนนิยม ที่ทำงานด้วยความอดทนและเสียสละ ในขณะที่ในสภาของคนงานนั้นทำงานอย่างมั่นคงแข็งแรงถาวร จะสร้างรูปธรรมของเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพขึ้นแม้กระทั่งช่วงเวลาเล็กน้อยในการทำการผลิตก็จะถูกใส่เอาไว้ในคงามตระหนักและจิตสำนึกที่จะนำไปสู่การกลายเป็นองค์ประกอบของสังคมส่วนรวม ความร่วมมือเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและระบบที่รัดกุมจะทำงานได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด มันจะทำให้ผู้คนทำการผลิตโดยไม่สนใจที่จสร้างความมั่นคั่งใดๆนอกจากทำการผลิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการร่วมกันของสังคม อันจะเป็นตัวกระตุ้นการใช้อำนาจเพื่อการสร้างสรรค์สังคมใหม่ขึ้นมา


การดำรงอยู่ขององค์กรที่ชนชั้นกรรมาชีพได้เข้าร่วมในการร่วมมือร่วมใจในฐานะชนชั้นที่ทำการผลิต จะสร้างความเป็นไปได้โดยธรรมชาติและการเบ่งบานอย่างมีประสิทธิภาพของปัจเจกบุคคลอันจะสร้างผลกระทบเชิงรากฐานและสำคัญให้กับสถาบันของสหภาพแรงงาน


สหภาพแรงงานนั้นสร้างตัวเองขึ้นบนสหภาพแรงงานด้วย ในทางหนึ่งนั้นแรงงานจะถูกแบ่งแยกออกเป็นทีม และในแต่ละทีมก็จะเป็นหน่วยย่อยของแรงงาน (สหภาพแรงงาน) สภาของคนงานนั้นจัดตั้งขึ้นด้วยผู้แทนซึ่งแรงงานจะเลือกตั้งขึ้นมาโดยหน่วยของสหภาพแรงงาน (ทีมทำงาน) แต่สหภาพแรงงานนั้นวางรากฐานตัวเองอยู่บนความเป็นปัจเจกบุคคล ในขณะที่สภาของคนงานนั้นวางรากฐานอยู่บนรูปธรรมและการประกอบสร้างความร่วมมือของสหภาพซึ่งจะพัฒนาขึ้นจากวินัยของกระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรม ทีมทำงาน (สหภาพแรงงาน) จะรู้สึกแปลแยกแตกต่างในการร่วมมือร่วมใจกันในลักษณะรวมของชนชั้น แต่ขณะเดียวกันเขาก็จะรู้สึกมีส่วนร่วมกับระบบของระเบียบและวินัยซึ่งสามารถเป็นไปได้ กล่าวคือการพัฒนากระบวนการผลิต เช่นเดียวกันกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองสหภาพแรงงานนั้นร่วมมือและมารวมตัวกันด้วยรูปแบบทางชนชั้น ซึ่งแตกต่างจากการรวมตัวกันในเชิงเทคนิคที่จะพัฒนาเครื่องมือเฉพาะที่ได้รับการยอมรับจากชนชั้นแรงงาน ในทางเดียวกันนั้น โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆก็มีการรวมตัวกันภายใต้เป้าหมายเพื่อสร้างการผลิตที่สมบูรณ์แบบ การกระจายสินค้า และการสะสมความมั่งคั่ง


การดำรงอยู่ของสภาของคนงานนั้นมอบทิศทางในการตอบสนองต่อการผลิตให้กับคนงาน ชี้นำให้พวกเขาปรับปรุงการทำงาน และค่อยๆให้พวกเขาซึมซับจิตสำนึกทางชนชั้นและวินัยในการขันอาสา สร้างจิตวิทยาของผู้ผลิต ผู้สร้างประวัติศาสตร์ และแรงงานจ้ะองก้าวกลับไปสู่สหภาพแรงงานพร้อมกับจิตสำนึกใหม่นี้และวางรูปแบบสำหรับการต่อสู้ทางชนชั้น ที่จะทำให้สหภาพแรงงานอุทิศตนให้กับการทำงานระดับรากฐานเพื่อเตรียมความพร้อมสำรับวัฒนธรรมของสังคมคอมมิวินสต์ ในแง่นี้สหภาพแรงงานที่จัดตั้งขึ้นและควบคุมโดยแรงงานที่มีจิตสำนึกทางชนชั้นอย่างเต็มเปี่ยม ย่อมจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดช่วงเวลาสุกงอมของการต่อสู้ทางชนชั้น และเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ พวกเขาจะสถาปนาเงื่อนไขที่จะทำให้ระบบชนชั้นสูญสลายไปและไม่สามารถจะถือกำเนิดขึ้นมาใหม่อีก


ในรัสเซียนั้นสิ่งที่สหภาพอุตสาหกรรมลงมือทำก็คือ พวกเขาได้ก้าวขึ้นมาเป็นองค์กรที่รวบรวมบริษัทอิสระจากทุกบริษัทและโรงงานอุตสาหกรรมมารวมตัวกัน สร้างความร่วมมือ การติดต่อ การเคลื่อนไหว และวางรูปแบบความร่วมมือ ส่วนบริษัทคู่แข่งที่ไร้ประโยชน์หรือไม่สามารถสร้างความร่วมมือได้ก็จะถูกกำจัดทิ้งไป มีการสถาปนาความร่วมมือในการบรหารจัดการทรัพยากรขนานใหญ่ เช่นการเติมสินค้า การกระจายสินค้า และการสั่งสมความมั่งคั่งนั้นกระจุกตัวและรวมตัวอย่างเหนียวแน่นอยู่ที่ศูนย์กลางรูปแบบการทำงานแบบดังกล่าวกลายมาเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำงานแข่งขันของอุตสาหรรมไปแทบจะทันที


สภาของคนงานที่สถาปนาขึ้นโดนชนชั้นแรงงานด้วยความร่วมมือร่วมใจกันและปฏิตามรูปแบบของกระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรม และสร้างการครอบงำเหนือกระบวนการผลิตจะนำไปสู่การแตกหักกับผู้ถือครองทรีพย์สินหรือเจ้าของโรงงานน ด้วยเหตุนั้นสภาของคนงานโดยตัวมันเองนั้นจึงเป็นตัวสร้างเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ และรัฐคอมมิวนิสต์ที่จะโค่นล้มระบบของชนชั้นทั้งในระดับโครงสร้างทางการเมืองส่วนบน และในระดับกลไกทั่วๆไป


สหภาพแรงงานและสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมนั้นเป็นกระดูกสันหลังที่แข็งแกร่งในการสถาปนาอำนาจของชนชั้นกรรมาชีพ องค์กรดังกล่าวจะรวบรวมปัจเจกบุคคลเข้ามาไว้ด้วยกัน แบะจะประกอบสร้างให้พวกเขาตระหนักถึงจิตสำนึกทางชนชั้น ทำให้พวกเขาเห็นถึงความสำคัญในการจะเรียกร้องความเสมอภาคในการผลิต อันจะเป็นหลักพื้นฐานขอความเสมอภาคทางสังคม


อย่างไรก็ตามข้อเสนอทั้งหมดนี้ย่อมไม่อาจจะสร้างความประทับใจให้กับสหภาพแรงงานนัก เพราะมันจะทำให้ชนชั้นกรรมาชีพ แรงงาน กรรมกร ชาวนา ละทิ้งสหภาพแรงงานและหันหน้าไปสนับสนุนระบบสภาของคนงานในฐานะองค์ประกอบด้านความร่วมมือของชนชั้นกรรมาชีพ และดังที่กล่าวมานี้มีแต่เพียงความร่วมมือและรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นของชนชั้นแรงงานเท่านั้นที่จะทำให้โครงสร้างของสังคมคอมมิวนิสต์และเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพได้รับการพัฒนาและเบ่งบานขึ้นมาได้จริง.

บล็อกของ จักรพล ผลละออ

จักรพล ผลละออ
ความล้มเหลวของทุนนิยม และความคิดก้าวหน้าในหมู่คนรุ่นใหม่[Young People Today are uniquely radical because Capi
จักรพล ผลละออ
เมื่อการประท้วง และการจลาจลคือหนทางในการต่อสู้[When Rioting Works]
จักรพล ผลละออ
 ใครกันแน่คือผู้ปล้นชิง และใครที่กำลังถูกปล้นชิง[Who Exactly Is Doing the Looting, and Who’s Be
จักรพล ผลละออ
Covid-19 และระบบทุนนิยมกำลังนำคนนับล้านไปสู่การอดตายCapitalism threatens mass starvationBy Oliver Bro
จักรพล ผลละออ
ทำไมผมจึงเป็นนักสังคมนิยมWhy I’m a SocialistBY BARRY EI
จักรพล ผลละออ
มองสัญญาณวิกฤตของระบบทุนนิยม ผ่านมูลค่าพันธบัตรExplaining the coming crisis of capitalism
จักรพล ผลละออ
 สังคมนิยมประชาธิปไตย คือเรื่องที่ว่าด้วยระบอบประชาธิปไตยDemocratic Socialism Is About Democr
จักรพล ผลละออ
แถลงการณ์องค์กรมาร์กซิสต์สากล เนื่องในวันสตรีสากลสหายทั้งห
จักรพล ผลละออ
มาร์กซิสม์ 102 – หลักการพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์มาร์กซิสต์(Marxism 102 – Some Basic Principles of Marxian Economics)By John H. Munro.
จักรพล ผลละออ
 25 คำถาม-คำตอบว่าด้วยคอมมิวนิสม์(The Principles of Communism)By Frederick Engels.