Skip to main content

The basic principles of Marxism - Critique Sociale

 

หลักการขั้นพื้นฐานของมาร์กซิสม์

(The basic principles of Marxism)

 

 

มาร์กซิสม์ (Marxism) นั้นคือวิถีทางของกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ หากแต่ว่ามันไม่ใช่ “ระบบการคิด” มาร์กซ์ (Marx) นั้นได้เขียนเอาไว้ในงานของเขาเรื่อง “Notes on Adolph Wagner's Lehrbuch der politischen Ökonomie” (1880) ว่า “ผมไม่เคยสถาปนา ‘ระบบสังคมนิยม’” ดังนั้นแล้วมาร์กซิสม์จึงเป็นการวิเคราะห์พัฒนาการของโลกอย่างเช่นที่มันเป็น มาร์กซิสม์คือมรรควิธี (method) ที่จะสร้างความเชื่อมโยงอันแน่นแฟ้นขึ้นระหว่างการปฏิบัติ (practice) กับทฤษฎี (theory)

และนี่คือหลักการขั้นพื้นฐานของมาร์กซิสม์

 

  • ต่อต้านระบบเศรษฐกิจที่วางรากฐานอยู่บนความไม่เท่าเทียมและการสร้างความแปลกแยก (alienation) และกระบวนการขูดรีด (exploitation) ที่กระทำต่อคนส่วนใหญ่ (ด้วยวิธีการที่กระทำผ่านระบบแรงงานรับจ้าง) ต่อต้านระบบที่มีเป้าประสงค์เพื่อทำให้คนจำนวนน้อยถือครองกำไรและความมั่งคั่งเอาไว้ แทนที่จะเป็นระบบซึ่งตอบสนองต่อความต้องการของคนทั้งมวล ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานี้ก็หมายถึงตัวระบบทุนนิยม (capitalism) หรือต่อให้มีการเสนอระบบอื่นๆที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกับระบบทุนนิยมซึ่งยังคงสาระสำคัญในการกดขี่ขูดรีดเอาไว้ มาร์กซิสม์ก็ย่อมจะต่อต้านระบบดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน

สำหรับการเปลี่ยนผ่านสังคมนั้น มาร์กซิสม์เสนอว่าการปฏิวัตินั้นคือกระบวนการที่จะนำสังคมไปสู่สังคมใหม่ที่วางรากฐานอยู่บนความร่วมมือและการกระจายสินค้าและจัดหาบริการที่จำเป็นต่อมนุษย์ในสังคมอย่างเท่าเทียม

  • “การปลดแอกตนเองของชนชั้นแรงงานนั้นย่อมจะเป็นภารกิจของตัวชนชั้นแรงงานเอง” นี่คือหลักการอันเป็นสาระสำคัญโดยธรรมชาติของมาร์กซิสม์ ซึ่งหมายถึงกระบวนการประชาธิปไตยของแรงงานและการปลดแอกตนเองของแรงงาน  ซึ่งมันยังหมายรวมถึงว่ากระบวนการประชาธิปไตยนั้นคือรากฐานสำคัญที่ไม่อาจจะขาดได้ในสังคมใหม่ (ซึ่งถูกเรียกว่าสังคมนิยม หรือ สังคมคอมมิวนิสต์) และในสังคมใหม่นี้จะเป็นสังคมที่ปลดแอกมนุษย์ออกจากการครอบงำและการปกครองทั้งหลาย มันจะเป็นสังคมที่มนุษย์สามารถเข้าถึงเสรีภาพที่แท้จริงได้ด้วยการสถาปนาของสมาชิกในสังคม
  • หลักสากลนิยม (internationalism) ซึ่งมาพร้อมกับการยอมรับและตระหนักถึงผลประโยชน์ร่วมของชนชั้นแรงงานทั่วโลก และความจำเป็นในการต่อสู้ในระดับโลก พร้อมด้วยเป้าหมายในการสลายกรอบคิดเรื่องรัฐชาติลงเพื่อนำพาสังคมมนุษย์ไปสู่สังคมของมนุษยชาติในระดับโลก
  • องค์ความรู้และการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ (มุมมองทางประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยม – หรือก็คือมุมมองแบบวัตถุนิยมประวัติศาสตร์นั่นเอง – ผู้แปล)
  • การตระหนักรู้ว่าการดำรงอยู่ของสังคมชนชั้นนั้นได้แบ่งแยกมนุษย์ทุกคนออกให้เกิดความแตกต่างกันเป็นหลายกลุ่มก้อนทางสังคม ต้องตระหนักถึงความไม่เท่าเทียมและความไม่ยุติธรรมอย่างลึกซึ้งนี้ซึ่งทำให้เกิดการแบ่งชนชั้นขึ้น และจะต้องตระหนักว่าตราบเท่าที่สังคมยังถูกแบ่งออกเป็นชนชั้น มันย่อมจะมีความขัดแย้งทางชนชั้นตามมาเสมอ (การต่อสู้ทางชนชั้น – the class struggle)

และด้วยเหตุนี้ ในขณะที่พวกเขากำลังต่อสู้ในการต่อสู้ทางชนชั้นของแรงงานในทุกๆวันนั้น ในอีกทางหนึ่งมาร์กซิสม์ก็ทำงานอยู่บนพื้นที่ของการพยายามจัดระเบียบทางสังคมใหม่เพื่อจะยุติการแบ่งแย่งชนชั้นนี้ลง

  • ต้องใช้เจตจำนงเชิงวิพากษ์อย่างอิสระ ดังเช่นที่มาร์กซ์เคยกล่าวเอาไว้ว่า “จงสงสัยและตั้งคำถามต่อทุกสิ่ง” เพื่อบรรลุเป้าหมายในการทำความเข้าใจต่อความเป็นจริงดังเช่นที่มันเป็น เพื่อที่จะทำความเข้าใจมันให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นและเพื่อที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงมันได้

 

 

 

หลักการเหล่านี้ หรือหลักการบางข้อที่ยกมานี้ อาจจะได้รับการนำไปใช้โดยกลุ่มการเมืองหรือกลุ่มพลังทางสังคมอื่นๆซึ่งไม่ใช่มาร์กซิสม์ก็ได้ และหากว่ามันเป็นเช่นนั้นก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง! มาร์กซิสม์นั้นไม่ได้พยายามที่จะแบ่งแยกตนเองออกมา หากแต่ตรงกันข้าม เป้าหมายของมาร์กซิสม์นั้นคือการสนับสนุนให้เกิดการเคลื่อนไหวของมนุษย์ทุกคนในสังคมเพื่อที่จะทำให้เกิด “ความร่วมมือร่วมใจซึ่งพัฒนาการอันเป็นอิสระของกลุ่มพลังใดกลุ่มพลังหนึ่งนั้นย่อมจะสร้างเงื่อนไขสนับสนุนต่อพัฒนาการอันเป็นอิสระของคนทั้งมวล” (Karl Marx, The Communist Manifesto).

Critique Sociale
March 12, 2009

 

 

Translated in December 2013 from the Spanish text available at the website of Critique Sociale: http://www.critique-sociale.info/340/los-fundamentos-del-marxismo/

 

บล็อกของ จักรพล ผลละออ

จักรพล ผลละออ
ว่าด้วยวันสตรีสากลAlexandra Kollontai 1913 
จักรพล ผลละออ
 
จักรพล ผลละออ
ทุนนิยม ชนชั้นกลาง อนุรักษ์นิยม และการต่อต้านทุนสามานย์จักรพล ผลละออ (2017)