Skip to main content

picture from : https://www.youtube.com/watch?v=nSNAhib3B_M

 

บทนำเสนอว่าด้วยความคิดของเจมส์สันฉบับกะทัดรัด

 

(Introduction to Jameson)

By Felluga, Dino. Translated by Jakkapon P.

 

I

ว่าด้วยอุดมการณ์

(on ideology)

 

เฟรดดริค เจมส์สัน (Fredric Jameson) ได้เขียนงานของเขาซึ่งอาศัยทฤษฎีของนักทฤษฎีในยุคก่อนหน้าเข้ามาร่วมในการสร้างความเข้าใจต่ออุดมการณ์ขึ้นมาในมุมมองของเขาเอง งานเขียนของเขมส์สันนั้นได้รับอิทธิพลทางความคิดจำนวนมากจากฌาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และจากบรรดานักทฤษฎีหลังมาร์กซิสต์ (post-Marxist) ที่ใช้วิธีการแยกความเป็นจริง (reality) กับ ความจริง (the Real) ของลากองมาใช้ในการทำความเข้าใจอุดมการณ์ (เช่น Louis Althusser, Chantal Mouffe, และ Ernesto Laclau) ในจุดหนึ่งนั้นเจมส์สันได้อ้างอิงถึงข้อเขียนของอัลธูแซร์ที่ใช้วิธีการมองแบบลากองมานิยามว่าอุดมการณ์นั้นคือ “ภาพแสดงตัวแทนของความสัมพันธ์ในระดับจินตนาการขององค์ประธานที่มีต่อเงื่อนไขการดำรงอยู่ที่เป็นจริงของตัวเอง” บรรดาสิ่งที่เราเรียกว่า “เงื่อนไขการดำรงอยู่ที่เป็นจริงนี้ยังถูกนิยามได้ว่าเป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกระบบภาษา ดังนั้นสำหรับเจมส์สันแล้วประวัติศาสตร์จึงมีคุณสมบัติที่เป็นเสมือน “ต้นเหตุอันเลื่อนลอย” ตรายเท่าที่มันอยู่ภายในภาพรวมทั้งหมดของตัวมันแล้วมันจะยังคงเป็นสิ่งที่อธิบายไม่ได้ อย่างไรก็ตามตัวมันเองนั้นก็ดำรงอยู่ในฐานะของสิ่งที่ขับดันให้เกิดการต่อสู้ที่เป็นจริงขึ้นในปัจจุบัน (ตัวอย่างเช่น การต่อสู้ระหว่างชนชั้น) เรานั้นอาจจะไม่สามารถก้าวออกจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ได้โดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตามเจมส์สันนั้นยืนยันว่าความพยายามที่สำคัญอย่างนั้นไม่ใช่สิ่งใดเลยนอกเสียจากการค้นพบและรับทราบถึงการต่อสู้ที่เป็นจริงซึ่งในความเป็นจริงมันก็คือสิ่งที่ขับดันให้เกิดการสถาปนาความคิดในจินตนาการของเราขึ้น

เจมส์สันยังได้เน้นย้ำอย่างชัดเจนว่ามันในแต่ละยุคสมัยหรือห้วงเวลานั้นมันไม่ได้ถูกกำหนดโดยอุดมการณ์เพียงตัวเดียว ซึ่งเจมส์สันได้อธิบายความตรงนี้ตามความคิดของเรย์มอนด์ วิลเลียม (Raymond William) ที่ได้เสนอการแบ่งแยกอุดมการณ์ขึ้นระหว่าง รูปแบบของอุดมการณ์ที่ “ตกค้าง” (อุดมการณ์เก่าซึ่งถูกอุดมการณ์ใหม่เข้ามาแทนที่แล้วหากแต่ว่ามันยังคงหลงเหลือสิ่งตกค้างทางอุดมการณ์อยู่บ้างในหลากรูปแบบ) รูปแบบของอุดมการณ์ที่ “อุบัติขึ้น” (อุดมการณ์ใหม่ที่อยู่ในกระบวนการสถาปนาอิทธิพลของตัวเอง) และ รูปแบบของอุดมการณ์ “นำ” (บรรดาอุดมการณ์ที่ถูกสนับสนุนโดยสิ่งที่อัลธูแซร์เรียกว่าเป็น “กลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ” เช่น โรงเรียน, รัฐบาล, ตำรวจ และ ทหาร) เจมส์สันนั้นยืนยันในการแบ่งแยกรูปแบบอุดมการณ์เหล่านี้เพราะ “ถ้าหากเราไม่สามารถบรรลุถึงลักษณะโดยทั่วไปของการครอบงำทางวัฒนธรรมแล้ว เราย่อมจะถอยหลังกลับไปสู่มุมมองของประวัติศาสตร์ในปัจจุบันในฐานะของสิ่งซึ่งไม่มีความสม่ำเสมอ เป็นสิ่งที่แตกต่างกันในเชิงสุ่ม และเป็นการดำรงอยู่ร่วมกันของเจ้าของอำนาจที่แตกต่างกันซึ่งไม่อาจจะตัดสินอำนาจชี้ขาดกันได้”

ด้วยการกำหนดการครอบงำช่วงชีวิตของเราในงานของเจมส์สันเรื่อง Postmodernism นั้นเขามีความคาดหวังที่จะปูพื้นฐานให้แก่ผู้อ่านด้วย “แผนที่องค์ความรู้” (cognitive map) ของปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นไปได้ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เป็นประโยชน์และมีประสิทธิภาพ ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาปัจจุบันที่เราเรียกว่าหลังสมัยใหม่นี้ตามความคิดของเจมส์สันแล้วคือ “การขยายตัวอย่างมโหฬารของทุนข้ามชาติซึ่งจบลงด้วยการบุกเข้าไปและทำให้เกิดการสร้างอาณานิคมในกลุ่มพื้นที่ก่อนทุนนิยม” ความพยายามใดๆก็ตามในการจะโต้แย้งอุดมการณ์นำนั้นมักจะถูกดูดซึมกลับไปโดยทุน ดังนั้นแล้ว “แม้กระทั่งในการประชุมทางการเมืองที่เปิดเผยที่สุดเสมือนกับ การปะทะกัน นั้นไม่ว่าอย่างไรก็ตามมันก็ย่อมจะมีการปกปิดกระบวนการดูดซึมกลับไปโดยระบบที่พวกเขานั้นจะได้ถูกนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของมัน และเมื่อนั้นเองพวกเขาก็สามารถที่จะเข้าถึงมันได้โดยปราศจากระยะห่างใดๆ” ในสถานการณ์เช่นนี้นั้นเจมส์สันเสนอว่า “แผนที่องค์ความรู้” ในปัจจุบันนั้นคือสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งสามารถจะสร้างความเข้าใจใหม่ต่อหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในปัจจุบันที่เป็นจริงได้ เจมส์สันนั้นได้นำสถานการณ์ของปัจเจกบุคคลในสังคมทุนนิยมตอนปลายหลังสมัยใหม่ไปเปรียบเทียบกับประสบการณ์ในการดำรงอยู่ในสังคมเมืองหลังสมัยใหม่ “ในงานชิ้นคลาสสิกเรื่อง The Image of the City นั้นเควิน ลินซ์ (Kevin Lynch) ได้สอนเราว่าเมืองที่มีสภาวะแปลกแยกนั้นดำรงอยู่เหนือพื้นที่ทุกพื้นที่ที่มนุษย์นั้นไม่สามารถวาดแผนที่ของมันได้ (ในระดับความคิด) ทั้งตำแหน่งแห่งที่ของมนุษย์หรือในเมืองทั้งหลายที่มนุษย์ค้นพบตัวเอง ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คือกรณีเมือง Jercy ที่มันไม่มีหมุดหมายในทางประเพณี (อนุสาวรีย์, หมุด, พรมแดนธรรมชาติ) ความคิดเรื่อง “แผนที่องค์ความรู้” นั้นจะทำให้เกิด “ภาพแสดงตัวแทนสถานการณ์ในอดีตขององค์ประธานปัจเจกบุคคลไปถึงสัจธรรมและสิ่งที่ไม่อาจแสดงตัวแทนได้อย่างถูกต้องซึ่งมันคือผลรวมของโครงสร้างทางสังคมทั้งมวล” เจมส์สันนั้นได้ขยายขอบเขตเรื่องแผนที่องค์ความรู้ของเขาไปใช้ในการวิพากษ์อุดมการณ์ และเสนอว่าภารกิจของเขานั้นคือการสร้างความสมเหตุสมผลให้ตำแหน่งแห่งที่ของเราในระบบโลก “รูปแบบทางการเมืองของหลังสมัยใหม่ ถ้าหากมันเคยมีอยู่นั้น มันย่อมจะมีการสร้างและการนำเสนอแผนที่ความรู้ระดับโลกขึ้นในระดับสังคมตลอดจนในระดับย่อย”

ว่าด้วย “แผนที่องค์ความรู้” นี้เจมส์สันได้หันไปยกตัวอย่างกรณีจัตุรัสสัญญะวิทยาของ Algirdas Greimas ขึ้นมาเสนอว่าสิ่งที่เขาเรียกว่า “แผนที่เสมือนจริงของการยุติมโนทัศน์ หรือกล่าวให้ยิ่งกว่านั้นคือการยุติของอุดมการณ์โดยตัวมันเอง นั่นคือเป็นเสมือนเช่นกลไกที่ในขณะที่มันดูเหมือนว่ากำลังผลิตสร้างความเป็นไปได้ทางมโนทัศน์และตำแหน่งที่ที่หลากหลาย ทว่าในความจริงแล้วมันกำลังมุ่งหน้าไปสู่ความขัดแย้งขั้นเบื้องต้นหรือปมปัญหาเชิงซ้อนที่ไม่สามารถจะเปลี่ยนผ่านได้จากภายในโดยอาศัยวิธีการของตัวมันเอง”

 

II

ว่าด้วยระบบทุนนิยมตอนปลาย

(on late capitalism)

 

ดังเช่นที่เฟรดดริค เจมส์สัน (Fredric Jameson) ได้อธิบายเอาไว้ในงานเขียนของเขาเรื่อง Postmodernism ว่าคำว่า “ระบบทุนนิยมตอนปลาย” (late capitalism) นี้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยสำนักแฟรงเฟิร์ต (Frankfurt School) และได้อ้างอิงไปถึงรูปแบบของระบบทุนนิยมที่ก้าวเข้ามาในยุคสมัยใหม่ (modernist period) และในตอนนี้มันได้กลายมาเป็นตัวกำหนดควบคุมวัฒนธรรมหลังสมัยใหม่ของเรา

เราต้องกล่าวย้ำถึงลักษณะสำคัญสองประการ (1) เครือข่ายอันโอนเอียงของการควบคุมระบบราชการ... และ (2) การแทรกแซงของรัฐบาลและกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ (‘รัฐทุนนิยม’) ที่ทำให้ระบบนั้นเอนเอียงไปสู่การพัวพันกับลัทธินาซี

ดังเช่นที่เจมส์สันได้อธิบายว่า คำว่า “ทุนนิยมตอนปลาย” นั้นในตอนนี้มี “ความแตกต่างอย่างมากจากคำนิยามเดิม” อันที่จริงแล้วเจมส์สันมองว่า “ระบบทุนนิยมตอนปลาย” นั้นมีตำกำเนิดและปรากฏตัวออกมาในช่วงทศวรรษที่ 1950 และสำหรับเจมส์สันนั้นระบบทุนนิยมตอนปลายนั้นเป็นสิ่งที่เหมือนกันและกระทั่งเป็นสิ่งเดียวกันกับสังคมหลังสมัยใหม่อย่างที่สุด “การจัดเตรียมระบบเศรษฐกิจสำหรับสังคมหลังสมัยใหม่หรือระบบทุนนิยมตอนปลายนั้นเริ่มต้นขึ้นในทศวรรษที่ 1950 ภายหลังภาวะการขาดแคลนการบริโภคสินค้าและการกักตุนสินค้านั้นขยายตัวขึ้น และผลผลิตรูปแบบใหม่และเทคโนโลยีใหม่ๆจะกลายมาเป็นหัวหอกแทน” ในแง่นี้เองการแตกหักในทางกายภาพที่ทำให้เกิดโอกาสสำหรับการปรากฏตัวของวัฒนธรรมของการรับรู้แบบระบบทุนนิยมตอนปลายนั้นตามความคิดของเจมส์สันแล้วเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1960 และท้ายที่สุดแล้วในทศวรรษที่ 1970 นี้เองที่ให้เศรษฐกิจและวัฒนธรรมแบบสังคมทุนนิยมตอนปลายหลังสมัยใหม่ดำเนินไปร่วมกัน นั่นคือระบบเศรษฐกิจและวัฒนธรรมแบบ “โครงสร้างของการรับรู้” “อย่างไรก็ตามการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนในวิกฤตการณ์ใหญ่ในปี 1971 (วิกฤตการณ์น้ำมัน จุดจบของการถือครองทองคำในฐานะหน่วยมาตรฐานสากล ซึ่งทั้งหมดนั้นคือการมุ่งหมายที่จะยุติคลื่นของ ‘สงครามประกาศเอกราช’ และเริ่มต้นการปิดฉากธรรมเนียมแบบคอมมิวนิสต์ลง)” โดยทั่วไปแล้วเจมส์สันนั้นทำความเข้าใจต่อ “ระบบทุนนิยมตอนปลาย” ในฐานะของเงื่อนไขปัจจัยที่แพร่หลายอยู่ในยุคสมัยของเรา เงื่อนไขปัจจัยดังกล่าวนั้นก็คือทั้งระบบเศรษฐกิจและโครงสร้างทางวัฒนธรรม คำที่กล่าวว่า ‘ตอนปลาย’ ในที่นี้นั้นคือสิ่งที่บ่งบอกถึงว่าของบางสิ่งนั้นมันมีความเปลี่ยนแปลง และสิ่งของนั้นมีความแตกต่าง ที่เราได้เดินทางผ่านกระบวนการเปลี่ยนผ่านของชีวิตทางโลกซึ่งในบางครั้งแล้วมีการชี้ขาดแต่ไม่อาจจะนำไปเปรียบเทียบกับระบบเก่าในสังคมสมัยใหม่และสังคมอุตสาหกรรมได้”

ตามความคิดของเจมส์สันนั้นองค์ประกอบที่แนวคิดหลังสมัยใหม่ได้ระบุเพิ่มเข้าไปในคำนิยามถึงระบบทุนนิยมตอนปลายของสำนักแฟรงเฟิร์ตมีดังต่อไปนี้

1) “รูปแบบขององค์การทางธุรกิจแบบใหม่ (ทุนข้ามชาติ) ที่อยู่เหนือระดับของการผูกขาด” มุมมองเรื่อง “ทุนผูกขาด” ของเลนินนั้นในตอนนี้ทุนได้ขยายตัวออกไปเหนือขอบเขตเรื่องรัฐชาติแล้ว

2) กระบวนการสร้างความเป็นสากลของธุรกิจ ที่ไปไกลกว่าโมเดลแบบจักรวรรดินิยมเก่า ในระเบียบใหม่ของทุนนิยม บริษัทหรือกลุ่มทุนข้ามชาตินั้นไม่ได้ผูกตัวเองอยู่กับประเทศใดประเทศหนึ่งหากแต่นำเสนอรูปแบบของอำนาจและอิทธิพลที่ทรงพลังยิ่งกว่าประเทศใดประเทศหนึ่ง กระบวนการสร้างความเป็นสากลนี้ยังถูกนำไปใช้กับการแบ่งงานกันทำ และสร้างความเป็นไปได้ที่จะสร้างการขูดรีดแรงงานอย่างต่อเนื่องจากประเทศยากจนเพื่อสนับสนุนระบบทุนข้ามชาติ เจมส์สันนั้นอ้างไปถึงว่า “การแข่งขันด้านการผลิตเพื่อสร้างความก้าวหน้าในพื้นที่โลกที่สามนั้นย่อมจะตามมาด้วยผลกระทบที่คล้ายคลึงกัน อันประกอบไปด้วย วิกฤตของวัฒนธรรมแรงงาน การปรากฏตัวขึ้นของกลุ่มยิปปี้ และการมองโลกเป็นพื้นที่เดียวกัน”

3) “การหมุมเวียนของพลวัตรแบบใหม่ในระบบธนาคารสากล และตลาดหลักทรัพย์ (ประกอบด้วย หนี้จำนวนมหาศาลของโลกที่สองและโลกที่สาม)” ด้วยระบบโครงสร้างธนาคารแบบที่เป็นอยู่นี้ บรรดาบริษัททุนข้ามชาติของประเทศโลกที่หนึ่งย่อมจะคงอำนาจของตนในการควบคุมระบบตลาดโลกเอาไว้ได้

4) การสัมพันธ์กันของสื่อในรูปแบบใหม่” สื่อนั้นเป็นหนึ่งในสินค้ารูปแบบใหม่ของระบบทุนนิยมตอนปลายที่ทรงอิทธิพลอย่างยิ่ง (สิ่งพิมพ์, อินเตอร์เน็ต, โทรทัศน์, ภาพยนตร์) และมันเป็นเครื่องมือรูปแบบใหม่สำหรับนายทุนที่จะใช้มันในการควบคุมชีวิตของเรา ด้วยกระบวนการเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นสื่อของวัฒนธรรมนั้น มันได้เพิ่มความไว้ใจวางใจของเราที่มีต่อสื่อในฐานะที่มันเป็นสิ่งที่มอบความเป็นจริงให้กับเรา หากแต่มันเป็นความเป็นจริงที่ถูกเติมเต็มด้วยคุณค่าแบบทุนนิยม

5) “คอมพิวเตอร์และระบบอัตโนมัติ” ความก้าวหน้าในระบบคอมพิวเตอร์อัตโนมัตินั้นทำให้เกิดการผลิตจำนวนมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน และทำให้เกิดการสร้างกำไรจำนวนมหาศาลให้กับบริษัทข้ามชาติ

6) การยกเลิกการวางแผนการผลิต ดังเช่นที่เจมส์สันเสนอ “การเร่งรีบแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในการผลิตคลื่นใหม่ของสินค้าที่แปลกใหม่ขึ้นเรื่อย (จากการผลิตเสื้อไปสู่การสร้างเครื่องบิน) ในอัตราที่ยิ่งใหญ่กว่ามูลค่าการซื้อขาย อันทำให้เกิดการขยายตัวของการทำงวานเชิงโครงสร้างที่เป็นแก่นแท้ไปสู่สุนทรีย์ด้านนวัตกรรมและการทดลองสิ่งใหม่”

7) การครอบครอบงำด้วยกำลังทหารของสหรัฐอเมริกา ดังเช่นที่เจมส์สันได้เขียนเอาไว้ในงานเรื่อง Postmodernism ว่า “ในโลกใบนี้ หรือก็คืออเมริกันนั้น วัฒนธรรมหลังสมัยใหม่เป็นสิ่งภายในและเป็นโครงสร้างส่วนบนที่แสดงให้เห็นถึงคลื่นลูกใหม่ของการครอบงำทางการทหารและเศรษฐกิจของอเมริกาที่กระทำต่อโลก ในแง่นี้เมื่อมองมันตลอดประวัติศาสตร์ทางชนชั้นแล้วย่อมจะเห็นว่าสิ่งที่อยู่ล่างสุดของสภาพในปัจจุบันคือ เลือด, การทรมาน, ความตาย และ ความหวาดกลัว”

คำพ้องความหมายบางคำของ “ระบบทุนนิยมตอนปลาย” นั้นประกอบไปด้วย “ระบบทุนนิยมข้ามชาติ, สังคมจินตภาพ, ระบบทุนนิยมสื่อสารมวลชน, ระบบโลก, หรือกระทั่ง สังคมหลังสมัยใหม่ โดยตัวมันเอง” อย่างไรก็ตามเจมส์สันนั้นต่อต้านคำพ้องความหมายที่เรียกว่า “สังคมหลังอุตสาหกรรม” เพราะคำดังกล่าวนั้นเสนอว่าสิ่งที่เรากำลังมองหานั้นคือการแตกหักอย่างรุนแรงจากรูปแบบของทุนที่ดำรงอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 19 (และดังนั้นแล้วในความหมายเดียวกันก็หมายถึงการบอกให้เราแตกหักออกจากการอธิบายและทำความเข้าใจต่อทุนของคาร์ล มาร์กซ์ด้วย) เจมส์สันนั้นมีความสนใจในการรับรู้ถึงความต่อเนื่องของรูปแบบสังคมอุตสาหกรรมยุคก่อนหน้า (แม้กระทั่งเขาจะรับทราบถึงความแตกต่าง) และเพื่อจะยืนยันความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงที่ต่อเนื่องของทฤษฎีของมาร์กซ์.

 

บล็อกของ จักรพล ผลละออ

จักรพล ผลละออ
ว่าด้วยวันสตรีสากลAlexandra Kollontai 1913 
จักรพล ผลละออ
 
จักรพล ผลละออ
ทุนนิยม ชนชั้นกลาง อนุรักษ์นิยม และการต่อต้านทุนสามานย์จักรพล ผลละออ (2017)