มาร์กซิสม์ 101 – ระบบสังคมนิยมจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร?
(Marxism 101 – What will socialism look like?)
By Ben Gliniecki. Translated by Jakkapon P.
ในปัจจุบันนี้เราย่อมจะพบว่าตัวเราเองนั้นตกอยู่ท่ามกลางวิกฤตที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมาของระบบทุนนิยม ในขณะที่ผู้คนจำนวน 99% ของโลกนั้นถูกบอกให้ต้องรับผิดชอบต่อวิกฤต แต่คน 1% กลับได้ถือครองความมั่งคั่งร่ำรวยอย่างที่ไม่มีใครเทียบได้ เรื่องอื้อฉาวและการคดโกงที่เกิดขึ้นในสถาบันทางการเมืองนั้นทำให้ผู้คนนับล้านแปลกแยกตนเองออกจากการเมืองแบบดั้งเดิม ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานี้ก่อให้เกิดการตั้งคำถามอย่างลึกซึ้งต่อสังคมทุนนิยม ผู้คนจำนวนมากนั้นเริ่มมองหาทางเลือกอื่นๆนอกจากระบบที่เรามีอยู่ และมีผู้คนปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆที่มองว่าการปฏิวัติสังคมนิยมนั้นคือคำตอบ
สำหรับใครหลายคนนั้นมันเป็นเรื่องที่ชัดเจนว่าอะไรคือสิ่งที่เรากำลังต่อสู้ ต่อต้าน อยู่ นั่นคือ การคอร์รัปชั่น วิกฤตการณ์ และ มาตรการรัดเข้มขัด หากแต่มันกลับเป็นการยากที่จะกล่าวหรือกระทั่งจินตนาการภาพว่าอะไรคือสิ่งที่เรากำลังต่อ เพื่อให้ได้มา ในแง่ของรูปแบบธรรมแล้วคือ สังคมใหม่ที่เราเรียกร้องนี้จะทำงานอย่างไร? และชีวิตความเป็นอยู่ของเราจะได้รับผลจากมันอย่างไร? และท้ายที่สุดคือระบบสังคมนิยมนั้นจะมีหน้าตาอย่างไร?
ในขั้นแรกคงต้องกล่าวก่อนว่ามาร์กซิสต์นั้นไม่ใช่ลูกแก้วทำนายของผู้วิเศษ เราไม่สามารถทำนายถึงอนาคตที่ถูกต้องแม่นยำโดยสมบูรณ์ได้ และเราไม่สามารถกล่าวได้อย่างถูกต้องหมดจรดว่าระบบสังคมนิยมนั้นจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ตัวอย่างเช่น เมื่อเราพูดถึงระบบครอบครัวภายใต้สังคมนิยม เองเกลก็ได้กล่าวไว้ว่า “[ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวโดยธรรมชาติภายใต้ระบบสังคมนิยมนั้น] จะเริ่มก่อตัวขึ้นหลังจากคนในช่วงอายุใหม่ได้เติบโตขึ้น ... และเมื่อนั้นคนในช่วงอายุใหม่ในสังคมนิยมนี้ย่อมจะไม่สนใจต่อสิ่งที่เราเคยคิดและกระทำในช่วงยุคของเราที่อยู่ภายใต้ระบบทุนนิยม พวกเขานั้นย่อมจะสถาปนาการกระทำร่วม และระบบความคิดร่วมในสังคมของพวกเขาขึ้นมาใหม่ และนี้คือจุดสิ้นสุดขแงมัน” สังคมนั้นไม่ได้ถูกก่อรูปร่างขึ้นมาด้วยความคิดของคนรุ่นเก่า หากแต่มันดำเนินไปด้วยการตัดสินใจและการกระทำของผู้คนในปัจจุบัน
แม้กระนั้นก็ตามมันยังคงเป็นไปได้ที่เราจะสร้างข้อสรุปและกล่าวถึงรูปร่างบางประการว่าระบบสังคมนิยมนั้นจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไรได้ เมื่อมาร์กซิสต์นั้นเป็นสังคมนิยมที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่นำหลักการวิเคราะห์แบบวัตถุนิยมไปใช้ในการมองพัฒนาการของประวัติศาสตร์และสังคม ในอีกคำกล่าวหนึ่งก็คือ เราสามารถสร้างสมมติฐานเกี่ยวกับอนาคตได้ จากหลักฐานที่เรามีอยู่ในอดีตและปัจจุบัน แน่นอนว่านี่อาจจะไม่ใช่หลักวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง – เช่นเดียวกับการที่หมอนั้นไม่สามารถบอกได้อย่างแม่นยำว่าผู้ป่วยของตนจะเสียชีวิตลงเมื่อไหร่ หรือ เช่นเดียวกับการที่นักธรณีวิทยาไม่สามารถจะบอกได้อย่างแม่นยำว่าแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อไหร่ ดังนั้นแล้วนักมาร์กซิสต์จึงไม่อาจจะทำนายได้อย่างแม่นยำว่าการปฏิวัตินั้นจะปะทุขึ้นมาเมื่อไหร่ หรือกระทั่งทำนายว่ามันจะเกิดออกมาในรูปแบบไหน หากแต่มันเสมือนการที่เรามองเด็กคนหนึ่ง ซึ่งเราสามารถจะบอกได้ว่าเขามีแนวโน้มจะโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่แบบไหนจากการมองสภาพแวดล้อมรอบข้างเด็ก เช่นเดียวกันนั้นด้วยการพิจารณาสังคมทุนนิยมในปัจจุบันนั้นก็ทำให้เราสามารถมองเห็นแนวโน้มได้ว่าสังคมนิยมที่จะเกิดขึ้นมาใหม่นั้นน่าจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร
ในตอนนี้นั้นเราสามารถจะมองเห็นตัวอ่อนของสังคมนิยมซึ่งกำลังเติบโตขึ้นภายในระบบทุนนิยมได้ ด้วยการตรวจสอบความขัดแย้งและกำแพงกั้นขวางภายในระบบทุนนิยม – ระบบของการถือครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลและการผลิตเพื่อกำไร – ที่บีบบังคับลงต่อสังคม เราสามารถจะมองเห็นถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ระบบสังคมนิยมนั้นย่อมจะเป็นระบบสังคมที่กำแพงกั้นขวางต่างๆนั้นถูกรื้อทำลายออก และเป็นระบบที่การผลิตนั้นขับเคลื่อนไปเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ทั้งปวง
ระบบเศรษฐกิจที่ปราศจากกำไร
พัฒนาการของระบบเศรษฐกิจนั้นเป็นหลักยืนยันเชิงวัตถุสำหรับพัฒนาการในด้านอื่นๆทุกด้านของสังคม หากปราศจากการพัฒนากำลังการผลิตที่มีคุณภาพ – พัฒนาการด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม พัฒนาการด้านเทคโนโลยีและเทคนิคการผลิต – สังคมนั้นย่อมไม่มีเงื่อนไขเชิงวัตถุที่จะนำเสนอและไม่มีปัจจัยที่จำเป็นเพื่อสร้างความก้าวหน้าในปริมณฑลทางวิทยาศาสตร์, ศิลปะ, วัฒนธรรม, ปรัชญา ฯลฯ และนี่คือหลักทฤษฎีขั้นพื้นฐานของมาร์กซิสต์ – มุมมองแบบวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์
ระบบทุนนิยมนั้นไม่มีความสามารถที่จะพัฒนารากฐานที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับสังคมนี้ได้อีกต่อไป เนื่องจากความขัดแย้งภายในตัวมันเอง อันก่อให้เกิดผลลัพธ์เป็นความไร้ประสิทธิภาพและสภาพอนาธิปไตย เงินจำนวนนับพันล้านปอนด์นั้นสูญสลายไปในวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2008 ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นมาจากความละโมบโลภมากส่วนบุคคลหรืออุดมการณ์ใด หากแต่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานโดยธรรมชาติภายในระบบทุนนิยมด้วยตัวมันเอง ซึ่งก่อให้เกิดความซบเซาของกำลังของการผลิตทางเศรษฐกิจในระดับโลก ซึ่งวิกฤตดังกล่าวนั้นทำให้หลายประเทศถอยหลังกลับไปนับหลายปี หรือกระทั่งเป็นทศวรรษในด้านพัฒนาการทางเศรษฐกิจ – ตัวอย่างเช่น ในอังกฤษ อัตราการลงทุนในระบบเศรษฐกิจนั้นคงเหลือต่ำกว่า 25% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤต ขณะที่การก่อสร้างนั้นเหลือต่ำกว่า 10%
ระบบทุนนิยมนั้นไม่สามารถที่จะพัฒนากำลังด้านการผลิตทางเศรษฐกิจให้พัฒนาไปเต็มศักยภาพของมันได้ การใช้งานกำลังการผลิตในประเทศนั้นดำเนินไปเพียง 70-80% จากสมรรถภาพสูงสุดในการผลิต กระทั่งภายหลังจากการที่เราเห็นการปิดตัวลงของหน่วยการผลิตอย่างกว้างขวางและการปิดตำแหน่งงานลงนับล้านตำแหน่ง ตลอดพื้นที่ทั่วโลก ค่าเฉลี่ยการใช้กำลังการผลิตนั้นอยู่ที่ 70% จากสมรรถภาพ 100% นั่นหมายความว่าในปัจจุบันนี้เรามีศักยภาพมากพอที่จะขยายผลิตผลของระบบเศรษฐกิจโลกให้ขยายตัวขึ้นได้ราว 50% อย่างง่ายดายด้วยการใช้สมรรถภาพทางการผลิตที่มีอยู่แล้วในระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน แม้ว่าในความเป็นจริงที่เราเผชิญอยู่นั้นผู้คนทั่วโลกนั้นยังคงทนทุกข์กับการขาดแคลนอาหาร ที่พักอาศัย ยารักษารึ และสินค้าขั้นพื้นฐานอื่นๆ โดยที่กำลังการผลิตต่างๆนั้นกลับถูกเก็บสำรองไว้และไม่นำออกมาใช้ อันที่จริงนั้นบรรดานักเศรษฐศาสตร์กระฎุมพีจำนวนมากต่างก็พูดถึงขีดจำกัดที่เพิ่มขึ้น – กล่าวคือระบบเศรษฐกิจนั้นได้ดำเนินการผลิตสินค้าจำนวนมหาศาล (จากมุมมองของตลาด) และจำเป็นจะต้องตัดทอนจำนวนการผลิตลงเพิ่มเติม ดังนั้นจึงก่อให้เกิดการปิดตัวลงของกิจการและการปิดการจ้างงาน
เหตุผลสำหรับความขัดแย้งนี้คือกำไร ภายใต้ระบบทุนนิยม อำนาจทางเศรษฐกิจของสังคมนั้นถูกใช้ไปเพียงเพื่อผลิตสินค้าที่มันสามารถจะขายได้พร้อมกับสร้างกำไร และถ้าหากมันไม่เป็นเช่นนั้นมันย่อมไม่เกิดการผลิตใดๆเกิดขึ้น บรรดาผู้ถือครองปัจจัยการผลิตนั้นย่อมจะปล่อยให้กิจการของพวกเขาหยุดทำงานลงมากกว่าจะทำการผลิตแล้วขาดทุน ต่อให้สิ่งที่พวกเขาผลิตนั้นจะสามารถตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ได้ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนั้นถูกควบคุมโดยการสร้างกำไรไม่ใช่การตอบสนองความต้องการ และด้วยเหตุผลนี้เองทำให้มันไม่มีประสิทธิภาพในการจะตอบสนองต่อความต้องการของคนส่วนใหญ่ได้ ไม่ว่าบรรดาผู้สนับสนุนระบบทุนนิยมจะกล่าวอ้างเรื่องอื่นหรือแก้ตัวอย่างไรก็ตาม เราได้รับการบอกอยู่บ่อยครั้งว่าระบบทุนนิยมนั้นคือระบบเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพที่สุด – และหากว่ามันเป็นจริงเช่นนั้นแล้วเหตุใดมันจึงเกิดสถานการณ์ที่โรงงานและสำนักงานจำนวนมากปิดตัวและหยุดทำการผลิต ทั้งๆที่มันสามารถจะทำการผลิตสินค้าและบริการที่สังคมต้องการได้?
ถ้าหากความคิดเรื่องกำไรนั้นถูกลบออกไปจากสมการการคำนวณเรื่องการผลิตแล้ว มันย่อมจะไม่มีอุปสรรคขวางกั้นใดที่จะขัดขวางไม่ให้เราหยิบใช้ปัจจัยการผลิตเพื่อดำเนินการมันไปอย่างเต็มศักยภาพ ความคิดที่ว่าด้วยระบบเศรษฐกิจที่ไม่ได้ขับเคลื่อนไปเพื่อกำไรนั้นได้ส่องแสงให้เรามองเห็นเค้าลางว่าระบบสังคมนิยมที่จะมาถึงนั้นจะมีรูปร่างเป็นอย่างไร
ระบบทุนนิยม = ความยากจนท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์
ตัวเลขอย่างเป็นทางการของจำนวนคนว่างงานทั่วโลกนั้นอยู่ที่ 200 ล้านคน หากแต่ในความเป็นจริงแล้วตัวเลขของคนว่างงานและผู้ถูกจ้างงานชั่วคราวนั้นมีจำนวนเกือบหนึ่งพันล้านคน ผู้คนเหล่านี้นั้นไม่ได้ตกงานเพราะพวกเขาไม่ได้ความสามารถในการทำงาน และไม่ใช่เพราะมันไม่มีตำแหน่งงานที่ต้องการคนทำงาน หากแต่มันเป็นเช่นนั้นเพราะการจ้างงานคนเหล่านี้จะไม่ก่อให้เกิดการสร้างกำไรสำหรับนายทุน
ในขณะเดียวกัน ตัวเลขสถิติที่แสดงออกมาในปี 2012 นั้นแสดงให้เห็นว่า ประชากรกว่า 24% ในอังกฤษนั้นจำเป็นต้องทำงานถึงสองอาชีพ และในจำนวนนี้กว่า 90% จำเป็นต้องหางานเสริมขึ้นมาเพราะรายได้จากงานประจำนั้นไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ในปี 2012 นั้นจำนวนผู้ลงทะเบียนหาอาชีพเสริมในเว็บหางานพุ่งสูงขึ้นกว่า 37.4% ในขณะที่สภาวะเงินเฟ้อ ค่าจ้างต่ำ และการแช่แข็งค่าจ้างนั้นยังคงมีแนวโน้มจะดำเนินต่อไปในอนาคต นี่คือความขัดแย้งที่เด่นชัดของระบบทุนนิยมที่ผู้คนจำนวนหนึ่งถูกบังคับให้ต้องทำงานหนักขึ้น ในขณะที่ผู้คนอีกนับล้านกลับตกงาน – นี่คือความไร้เหตุไร้ผลที่เกิดขึ้นมาจากการแสวงหากำไรของนายทุน
หากปราศจากอุปสรรคขวางกั้นเรื่องการสร้างกำไรแล้ว บรรดาคนจำนวนหนึ่งพันล้านคนที่ตกงานและเป็นลูกจ้างชั่วคราวนี้ย่อมจะได้รับตำแหน่งงานที่มีประโยชน์ และมนุษย์ทุกคนย่อมจะสามารถประกอบอาชีพเพียงอาชีพเดียวได้พร้อมได้รับค่าตอบแทนและคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น พร้อมกับยังมีผู้คนอีกจำนวนมากที่พร้อมสำหรับตำแหน่งงานอื่นๆที่จะเกิดขึ้น บนรากฐานของกำลังการผลิตนี้มันย่อมจะเกิดการเจริญงอกงามอย่างมหาศาลในกำลังแรงงานของมนุษย์และผลิตผลของระบบเศรษฐกิจระดับโลกนั้นย่อมจะพัฒนาตัวเองไปอย่างมหาศาล
มันยังมีความความขัดแย้งอันบ้าบอคอแตกในลักษณะนี้อีกมากภายใต้ระบบทุนนิยม เฉพาะในลอนดอนเพียงเมืองเดียว ผู้คนจำนวนกว่า 6,500 คนนั้นต้องอาศัยอยู่อย่างเร่ร่อนตามท้องถนน ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นกว่า 77% จากตัวเลขในปี 2010 ขณะที่กลุ่มคนไร้บ้านหรือการขาดที่พักอาศัยในรูปแบบอื่นๆก็ขยายตัวขึ้นเช่นกัน ด้วยการสำรวจตัวเลขสำมะโนครัวประชากรซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำนวนคนไร้บ้านในอังกฤษนั้นขยายตัวขึ้นกว่า 26% หรือมีจำนวนกว่า 111,960 ในอังกฤษ บวกกับจำนวนกว่าอีก 38,500 คนที่พักอาศัยอยู่โรงแรมร้างที่คนไร้บ้านได้เข้าไปยึดเพื่อพักอาศัย หากแต่ว่าในเวลาเดียวกันนี้มันกลับมีบ้านพักอาศัยที่ทิ้งว่างไว้กว่า 610,000 หลังในอังกฤษตามรายงานของรัฐบาล เหตุการณ์ที่จำนวนคนไร้บ้านขยายตัวขึ้นพร้อมกับการขยายตัวของจำนวนบ้านพักว่างนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? มันเนื่องมาจากการที่บ้านพักหรืออสังหาริมทรัพย์เหล่านี้นั้นถูกเก็บไว้เพียงเพื่อขายหรือให้เช่ากับผู้ที่มีความสามารถในการจ่ายได้ โดยไม่สนใจว่ามนุษย์นั้นจำเป็นต้องมีที่พักอาศัยเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำหรับนายทุนแล้วปัญหาของเขาคือการสร้างกำไรให้ตัวเอง ไม่ใช่การตอบสนองความต้องการของมนุษย์
ความป่าเถื่อนที่เกิดขึ้นมนุษย์นี้เกิดขึ้นเนื่องจากการต่อเติมที่เต็มไปด้วยความฟุ่มเฟือยเชิงวัตถุในพื้นที่เหมือนเช่นที่ถนน Bishop’s avenue ในลอนดอน ถนนที่มีราคาพื้นที่แพงเป็นอันดับสองในอังกฤษ ที่คฤหาสน์จำนวนหนึ่งในสามนั้นถูกทิ้งร้าง ในขณะที่บางหลังนั้นถูกปล่อยทิ้งให้อยู่ในสภาพทรุดโทรมและไม่มีการใช้งานร่วม 25 ปี บรรดาอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้นั้นถูกถือครองเอาไว้ก็เพื่อการลงทุนเพื่อเก็งกำไร มันไม่ได้อยู่ในฐานะของบ้านเพื่อพักอาศัย เงินจำนวนกว่า 350 ล้านปอนด์นั้นถูกนำไปถลุงอยู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งกลับกลายเป็นความสูญเปล่า – นี่คือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจที่วางรากฐานอยู่บนเรื่องการทำกำไร
ระบบเศรษฐกิจแบบดังกล่าวนั้นยังคงดำรงอยู่ในวิถีทางของการพัฒนาเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้เครื่องจักรด้วย หากแต่เครื่องจักรนั้นไม่สามารถซื้อสินค้าได้และถ้าหากว่าบรรดากระฎุมพีนั้นต้องการตลาดรองรับสินค้าของพวกเขา พวกเขาย่อมจะต้องจ้างผู้คนในจำนวนที่แน่นอนมาทำงานในฐานะแรงงาน ภายใต้ระบบทุนนิยมการนำเอาเครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิตมาใช้ทำให้เกิดการแทนที่แรงงานในการผลิตขึ้น อันก่อให้เกิดจำนวนคนว่างงานขนาดมหาศาลคู่ขนานไปกับกระบวนการเข้มข้นขึ้นของหน้าที่งานที่ผู้ถูกจ้างจะต้องรับผิดชอบเพิ่มเติม หากทว่าในระบบที่ปราศจากกำไรนั้น เครื่องจักรย่อมจะถูกนำมาใช้แทนที่ในงานอันสกปรกและอันตรายที่ไม่มีใครอยากทำ และระบบอัตโนมัตินั้นย่อมจะช่วยเพิ่มเวลาว่างให้กับมนุษย์มากขึ้น รวมถึงจะช่วยลดชั่วโมงการทำงานต่อวันของมนุษย์ลง และดังนั้นแล้วมันย่อมจะก่อให้เกิดช่วงเวลาสำหรับการพักผ่อนอย่างแท้จริงขึ้นมา การบีบบังคับให้เกิดคนว่างงาน (หรือผู้ถูกจ้างรายวัน-ไม่เต็มวัน) ในระบบทุนนิยมนั้นย่อมจะถูกแทนที่ด้วยการทำงานตามความสมัครใจ
การสร้างกำไรนั้นดำรงอยู่ในวิถีทางของการกระจายสินค้าตลอดจนการผลิตภายใต้ระบบทุนนิยม อาหารส่วนเกินที่มีขนาดเท่า “ภูเขา” หรือ “ทะเลสาบ” นั้นถูกทิ้งให้เสียเปล่า ในปี 2007 เฉพาะในสหภาพยุโรปนั้นพวกเขามีอาหารส่วนเกินจำนวนกว่า 13,476,812 ตันอันประกอบด้วย ธัญพืช, ข้าว, น้ำตาล และนม และมีผลผลิตส่วนเกินของไวน์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวนกว่า 3,529,002 เฮกโตลิตร ในขณะที่ผลผลิตส่วนเกินนี้ถูกทิ้งให้กองทับกันอย่างสูญเปล่า นโยบายเกษตรกรรมร่วมของสหภาพยุโรปกับลงมติให้ดำเนินการจ่ายเงินให้ชาวนา หยุด ผลิตอาหาร ทั้งๆที่มันยังมีเด็กๆต้องตายลงในแต่ละปีอันเนื่องมาจากการขาดแคลนอาหาร มันไม่มีเหตุผลเชิงตรรกะใดๆเลยที่จะสั่งห้ามไม่ทำการผลิตอาหารขึ้นในดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ในบางประเทศเพื่อกระจายสินค้าจำนวนนี้ไปสู่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร เหตุผลเดียวที่ทำให้เกิดสถานการณ์ดังกล่าวขึ้นนั้นก็คือมันไม่ก่อให้เกิดกำไรแก่นายทุนในการทำเช่นนั้น และเพราะอุปสรรคขวางกั้นในเรื่องพรมแดนรัฐชาติ ที่กีดกันไม่ให้เกิดการแก้ไขปัญหานี้ด้วยความร่วมมือกันในระดับสากล ภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นการผล่อยให้อาหารทั้งหลายเน่าเสียลงย่อมเป็นการดีกว่านำมันไปมอบให้กับกลุ่มคนที่ต้องการอาหารมากที่สุด
ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน
เราได้รับการบอกเล่าอยู่บ่อยครั้งว่าการแข่งขันนั้นคือเคล็ดลับของความมีประสิทธิภาพของระบบทุนนิยม หากแต่ในความเป็นจริงแล้วการแข่งขันนั้นได้นำไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างสูญเปล่า ตัวอย่างเช่น มันมีการทำงานซ้ำซ้อนกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างธุรกิจที่ทำการประกอบกิจการที่คล้ายกัน – นั่นหมายความว่าทั้งเวลาและเงินทุนนั้นถูกนำไปลงทุนซ้ำซ้อนในการผลิตแบบเดียวกัน ลองดูกรณีของซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นตัวอย่าง ถ้าหากว่าการกระจายสินค้าประเภทอาหารนั้นนั้นถูกดำเนินการไปด้วยบริษัทเดียว แล้วมันย่อมก่อให้เกิดการประหยัดในด้านขนาดที่จะทำให้กระบวนการต่างๆนั้นมีราคาถูกลงและมีการวางแผนแบบรวมศูนย์ที่จะทำให้การผลิตและการกระจายสินค้านั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การแข่งขันนั้นยังบีบบังคับให้บริษัทต่างๆต้องสร้างความต้องการเฉพาะที่มีต่อสินค้าที่พวกเขาผลิตด้วยการสร้างการโฆษณา มันเป็นราคาที่ต้องจ่ายเพื่อที่จะทำให้สินค้าของพวกเขานั้นผ่านเข้าสู่การรับรู้ของผู้บริโภค ความลับทางการค้าและการถือครองทรัพย์สินทางปัญญานั้นหมายถึงว่าความคิดสร้างสรรค์ที่ดีที่สุดและการสรรสร้างนวัตกรรมที่ดีที่สุดจะไม่ได้ถูกนำไปใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุดอย่างที่มันสามารถทำได้และมันย่อมจะกลายไปเป็นสิ่งที่มีราคาแพงมากขึ้น อย่างเช่นกรณีการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์มือถือระหว่าง Samsung v Apple ที่ต่างก็ปรับราคาสินค้าของตัวเองขึ้นอย่างต่อเนื่อง แทนที่บรรดาความคิดที่เยี่ยมยอดและฉลาดล้ำเหล่านี้จะถูกนำมาใช้ร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์สิ่งต่างๆที่จะตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งมวล หากแต่บรรดานัดวิทยาศาสตร์ วิศวกร และนักออกแบบเหล่านี้กลับถูกแยกขาดออกจากกันไปตามบริษัทต่างๆและต้องทำงานเพื่อแข่งขันต่อสู้กับคนอื่นๆที่อยู่ในต่างบริษัท อันส่งผลให้เกิดการใช้ทรัพยากรและความพยายามไปโดยซ้ำซ้อนอย่างไม่จำเป็น
ในกรณีอื่นๆนั้น แก่นแท้ของการแข่งขันในยุคจักรวรรดินิยม อันเป็นช่วงสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของระบบทุนนิยม การแข่งขันนั้นกลายเป็นเพียงมายาคติเท่านั้น ในปี 2012 ธนาคารต่างๆทั้ง Barclays, UBS, Citibank, RBS, BD และ JP Morgan นั้นถูกพบว่าต่างก็คงอัตราดอกเบี้ยคงที่เอาไว้เพื่อที่จะสร้างกำไรจำนวนมหาศาลให้กับตัวเอง หรือในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาในอุตสาหกรรมการบินนั้นบริษัทอย่าง British Airways และ Virgin Atlantic บริษัท Grolsh, Bavaria และ Heineken ในอุตสาหกรรมเบียร์ และบริษัท Sainsbury’s, Asda และซูเปอร์มาร์เก็ตอื่นๆ บรรดาบริษัทเหล่านี้ต่างก็ดำเนินการสร้างการตรึงราคาร่วมกันเพื่อที่จะรักษาการสร้างกำไรขนาดมหึมา เหตุผลที่ทำให้เกิดเรื่องเลวร้ายเหล่านี้ขึ้นก็เนื่องจากบรรดาบริษัทเหล่านี้นั้นตระหนักว่าการวางแผนนั้นเป็นวิถีทางที่มีประสิทธิภาพในการจะขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจมากกว่าการปล่อยให้มันดำเนินไปตามความเป็นอนาธิปไตยของระบบตลาดเสรี
การขยายตัวของจำนวนบริษัทข้ามชาติในอุตสาหกรรมทุกชนิดที่มาพร้อมการถือครองอำนาจของบริษัทที่สามารถกำหนดระบบตลาดได้ ได้แสดงให้เห็นถึงการที่การแข่งขันเสรีนั้นแปรเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ตรงกันข้ามกัน เหตุผลที่ชัดเจนของเรื่องก็เพราะมันทำให้เกิดการขยายตัวของคุณภาพและความมีประสิทธิภาพที่จะเกิดขึ้นในระบบการผลิตในระดับกว้าง ในแต่ละบริษัทนั้นมันต่างมีการแบ่งขั้นอันกว้างขวางของการวางแผน การประสานงาน และ การปฏิบัติการร่วมกัน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพในนามของการสร้างกำไรที่มากขึ้น ระหว่างแต่ละบริษัทในขณะเดียวกันนั้นมันยังคงมีความเป็นอนาธิปไตยของการแข่งขันและอำนาจที่มองไม่เห็นอยู่ ซึ่งยังคงทำให้การผลิตในการแข่งขันนี้กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีประสิทธิภาพและกลายเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างสูญเปล่าไปในระดับสังคม
ดังเช่นในตัวอย่างจากหนังสือเรื่อง Multinational Corporate Strategy: Planning for World Markets ที่เขียนโดย James C. Leontiades ซึ่งอ้างอิงถึงกรณีตัวอย่างจากบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ ที่ชื่อว่า Texas Instrument – อันเป็นบริษัทข้ามชาติซึ่งมีการวางแผนการดำเนินงานทั้งหมดมาจากสำนักงานกลางที่ Dallas ระดับของการรวมศูนย์การควบคุมของบริษัทข้ามชาติเหล่านี้นั้นสามารถชี้วัดได้จากองค์ประกอบของการติดสินใจทางยุทธศาสตร์ที่มาจากศูนย์กลาง ซึ่งประกอบไปด้วย
- การวิเคราะห์การแข่งขันในระดับภูมิภาคและระดับโลก
- การออกแบบสินค้าที่มีโมเดลกลาง อันเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก
- การพัฒนาและการวิจัยแบบรวมศูนย์และประสานงานเพื่อหลีกเลี่ยงค้าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
- การผลิตแบบมีเหตุมีผลในระดับโลกเพื่อใช้ทรัพยากรอย่างเต็มที่ – โดยสัมพันธ์กับสมรรถภาพในระดับสากล
- นโยบายการกำหนดราคาทั่วโลก
จุดนี้เองที่เราสามารถมองเห็นเมล็ดพันธุ์ของสังคมใหม่ที่กำลังเติบโตอยู่ในสังคมเก่าได้ ระบบสังคมนิยมนั้นจะกอดรับเอาโอกาสที่มาพร้อมกับระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน แต่แน่นอนว่าเราจะนำมันมาใช้เพื่อวางแผนการผลิตที่จะตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ทั้งมวล แทนที่จะนำไปใช้เพื่อสร้างกำไรให้คนกลุ่มน้อย นี่คือรากฐานของสังคมแห่งความอุดมสมบูรณ์ซึ่งพลังในการผลิตทางเศรษฐกิจและการลงทุนทั้งหมดนั้นจะอยู่ภายใต้การวางแผนควบคุมอย่างมีเหตุมีผลและเป็นประชาธิปไตยเพื่อผลประโยชน์ของคนทั้งมวล และขั้นแรกของกระบวนการนี้ย่อมจะเป็นการยึดเอาการควบคุมระดับสูงต่อระบบเศรษฐกิจคืนมาจากนายทุน – นั่นคือการยึดเอาที่ดิน ธนาคาร ระบบสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน และบรรดากิจการทั้งหลายคืนมาจากนายทุน – เพื่อที่จะนำปัจจัยทั้งหมดนี้มาอยู่ภายใต้การควบคุมที่เป็นประชาธิปไตยของชนชั้นแรงงานในฐานะองค์ประกอบหนึ่งของระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน
ผลสำเร็จของระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนนั้นสามารถจะเห็นได้จากการเปลี่ยนผ่านของรัสเซียในระยะห้าสิบปีระหว่างปี 1913 ถึง 1963 ภายหลังการปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 – แม้ว่าพัฒนาการจำนวนมากจะหยุดและพังทลายลงอันเนื่องมาจากการเข้ามาครองอำนาจของระบบข้าราชการสตาลินนิยม (Stalinist bureaucracy) ในห้วงเวลานั้นประเทศรัสเซียได้ขยับตัวเองจากการเป็นประเทศที่ล้าหลังยิ่งกว่าบังกลาเทศ จนกลายมาเป็นประเทศมหาอำนาจลำดับที่สองในโลก ผลผลิตทางอุตสาหกรรมนั้นขยายตัวขึ้นกว่า 52 เท่าตัว ซึ่งมากกว่าในสหรัฐอเมริกาที่ขยายตัวเพียง 6 เท่า และในอังกฤษที่ขยายตัวเพียง 2 เท่า ผลผลิตของแรงงานในรัสเซียก็ขยายตัวขึ้นกว่า 1310% ขณะที่สหรัฐอเมริกาขยายตัวเพียง 332% และในอังกฤษขยายตัวเพียง 73% อายุขัยเฉลี่ยของประชากรขยับขึ้นหนึ่งเท่าตัว และอัตราการตายของทารกแรกเกิดนั้นลดลงกว่า 9 เท่า นอกจากนั้นรัสเซียยังมีจำนวนสัดส่วนแพทย์ต่อประชากร 100,000 คนที่มากกว่า อิตาลี, ออสเตรีย, เยอรมันตะวันตก, สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน ถ้าหากว่าสิ่งเหล่านี้นั้นสามารถเกิดขึ้นได้กลังการปฏิวัติรัสเซียในศตวรรษที่ 20 ทั้งๆที่รัสเซียนั้นเป็นประเทศล้าหลังที่สุด เป็นประเทศที่เกือบจะอยู่ในระบอบศักดินาเต็มรูปแบบ อีกทั้งยังเป็นประเทศที่ถูกบ่อนทำลายจากสงครามโลกทั้งสองครั้งและสงครามกลางเมือง ตลอดจนถูกทำลายโครงสร้างภายในด้วยระบอบสตาลินยังสามารถสร้างพัฒนาการได้เช่นนี้ ลองจินตนาการภาพดูว่ามันจะเป็นอย่างไรหากมีการนำเอาระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนนี้ไปใช้ในอังกฤษ หรือประเทศอื่นๆในโลกที่มีระบบเศรษฐกิจก้าวหน้าในยุคศตวรรษที่ 21 นี้ มันจะสร้างความสำเร็จได้สูงสุดขนาดไหน
คิวบานั้นก็เป็นอีกกรณีตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจที่แสดงถึงความสำเร็จของระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน แม้ว่ามันจะมีการจำกัดระบบประชาธิปไตยของคนงาน หากแต่ อายุขัยเฉลี่ยของประชากรในปัจจุบันของคิวบา (ตามตัวเลขสถิติในปี 2005 จากรายงานเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ขององค์การสหประชาชาติ) นั้นอยู่ที่ 77.7 ปี (อายุขับเฉลี่ยในปี 1959 นั้นอยู่ที่ 62 ปีในห้วงเวลาของการปฏิวัติ) ซึ่งเกือบจะเทียบเท่ากับอัตราอายุขัยเฉลี่ยในสหรัฐอเมริกาที่อยู่ที่ 77.9 ปี และสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ภายใต้ระบบทุนนิยมอย่างไฮติ ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 59.5 ปีเท่านั้น และยังสูงกว่าประเทศทุนนิยมมหาอำนาจในภูมิภาคอย่างบราซิลที่มีค่าเฉลี่ยที่ 71.7 ปี อัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่ในคิวบานั้นอยู่ที่ 99.8% ในขณะที่บราซิลนั้นอยู่ที่ 88.6% และแน่นอนว่าสูงกว่าชิลีที่มีตัวเลข 95.7% และคอสตาริกาที่มีตัวเลขที่ 94.9% ในความเป็นจริงแล้วตามรายงานของสหประชาชาติ คิวบานั้นเป็นประเทศที่มีอัตราการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์สูงถึงสี่อันดับในประเทศแถบละตินอเมริกา ถ้าหากเราพิจารณาตัวเลขของอัตราการรอดชีวิตของทารกแรกเกิด (อัตราการตายที่เกิดขึ้นในทารกแรกเกิดจำนวน 1,000 คน) ตามรายงานของ CIA World Factbook ในปี 2008 นั้นตัวเลขในคิวบาอยู่ที่ 5.93 ซึ่งลดลงจาก 78.8 ในปี 1959 ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่ากระทั่งในสหรัฐอเมริกาที่มีสถิติ 6.3 ชิลีที่มีสถิติ 7.9 คอสตาริกาที่มีสถิติ 9.07 และสูงกว่าบราซิลที่มีสถิติที่ 26.67 ไม่ต้องพูดถึงประเทศอย่างไฮติที่มีอัตราการตายของเด็กแรกเกิดอยู่ที่ 62.33 คนต่อเด็กแรกเกิดจำนวน 1,000 คน ตัวเลขเหล่านี้นั้นไม่ได้สร้างความแปลกใจให้เราแต่อย่างใดเพราะตามสถิติของธนาคารโลกนั้น คิวบาเป็นประเทศที่มีจำนวนแพทย์ต่อประชากรจำนวน 1,000 คนสูงเป็นอันดับสองของโลก คือมีอัตราส่วนที่ 5.91 ขณะที่ในสหรัฐอเมริกานั้นมีเพียง 2.3 บราซิล 2.06 ชิลี 1.09 คอสตาริกา 1.32 และไฮตินั้นมีเพียง 0.25
เราต้องย้ำอีกครั้งว่าคิวบานั้นเป็นประเทศล้าหลังอย่างมากในห้วงเวลาที่เกิดการปฏิวัติของฟิเดล คาสโตรขึ้น ประวัติศาสตร์ของคิวบานั้นถูกกำหนดโดยอำนาจต่างประเทศ ซึ่งใช้คิวบาเป็นเหมือนสนามเด็กเล่นของนายทุนสหรัฐอเมริกา และเป็นเสมือนกับพื้นที่สำหรับปลูกน้ำตาลเท่านั้น ความก้าวหน้าทั้งหลายที่เราเห็นอยู่นี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เฉพาะจากระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนที่เป็นอิสระจากอำนาจปกครองของจักรวรรดินิยมเท่านั้น
การทำงาน, ค่าจ้าง และเงินตรา
การวางแผนที่เรากล่าวมาข้างต้น ซึ่งจะดำเนินการควบคู่ไปกับการกระจายการใช้แรงงานให้กับทุกๆคนที่สามารถทำงานได้ (แทนที่การที่คนจำนวนหนึ่งต้องทำงานสองหรือสามอย่าง ในขณะที่คนอีกจำนวนหนึ่งนั้นกลายเป็นคนว่างงานที่เกิดขึ้นภายใต้ระบบทุนนิยม) ย่อมจะหมายถึงการลดความยาวนานของวันทำงานลงโดยไม่สูญเสียสิ่งใดเลย หลักฐานยืนยันเรื่องนี้นั้นสามารถเห็นได้จากการที่คนงานในบราซิลบุกเข้ายึดโรงงานในปี 2003 เมื่อโรงงานนั้นถูกคนงานเข้ายึดเป็นครั้งแรกและดำเนินการผลิตไปด้วยการผลิตแบบวางแผน ที่ทำให้ชั่วโมงการทำงานนั้นลดลงจาก 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เหลือเพียง 30 ชั่วโมง โดยที่ไม่เกิดความสุญเสียใดๆและอัตราการผลิตนั้นก็ยังคงที่อยู่
ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้แทนที่แรงงานมากขึ้นและมากขึ้นนั้น ชั่วโมงการทำงานย่อมจะลดลงได้อีกมาก ตัวอย่างเช่น ในปี 1870 ประชากรจำนวน 70-80% ในสหรัฐอเมริกานั้นต่างถูกจ้างงานในการเกษตรกรรม ขณะที่ตัวเลขในปัจจุบันนั้นการจ้างงานภาคการเกษตรเหลือเพียง 2% จากจำนวนประชากร หากแต่ในขณะที่มันมีการลดลงของการจ้างงานจำนวนมหาศาลนี้ แต่ตัวเลขของผลผลิตกลับเพิ่มสูงขึ้น จากปี 1950 ถึงปี 2000 ผลผลิตของภาคเกษตรกรรมนั้นขยายตัวขึ้นอย่างมากตัวอย่างเช่น ค่าเฉลี่ยจำนวนผลผลิตนมที่ได้ต่อวัวหนึ่งตัวนั้นเพิ่มขึ้นจาก 5,314 ปอนด์ มาอยู่ที่ 18,201 ปอนด์ต่อปี (+242%) ขณะที่ผลผลิตข้าวโพดนั้นขยายตัวจาก 39 บุชเชิลไปอยู่ที่ 153 บุชเชิลต่อเอเคอร์ (+292%) และชาวนาแต่ละคนในปี 2000 นั้นสามารถสร้างผลผลิตเฉลี่ยต่อชั่วโมงได้มากขึ้นกว่า 12 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาในปี 1950 พัฒนาการทางการผลิตนี้ขยายตัวขึ้นอย่างมากก็เนื่องจากการนำเครื่องจักมาใช้ รวมถึงพัฒนาการของการผลิตปุ๋ยแบบใหม่ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอื่นๆ การพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้เพิ่มเติมในส่วนการผลิตอื่นๆย่อมจะส่งผลสำเร็จที่คล้ายกันในการช่วยลดปริมาณงานและชั่วโมงการทำงานลง บนรากฐานนี้ ความต้องการกำลังแรงงานของแต่ละคนนั้นในท้ายที่สุดแล้วอาจจะออกมาอยู่ในรูปแบบของการทำงานบนพื้นฐานความต้องการ แทนที่การทำงานแบบรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือนที่เกิดขึ้นในระบบทุนนิยม
นักมาร์กซิสต์ (Marxist) นั้นมักจะถูกถามอยู่บ่อยครั้งว่าภายใต้ระบบสังคมนิยมนั้นมันจะมีแรงจูงใจอะไรที่จะทำให้มนุษย์ทำงาน? แรงจูงใจในการทำงานภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นอยู่ในรูปแบบของความจำเป็นของผู้คนที่จะต้องทำงานเพื่อจะได้รับค่าจ้างซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ นี่คือเหตุผลว่าทำไมผู้คนภายใต้ระบบทุนนิยมจึงต้องการเสรีภาพในการทำงาน (freedom to work) – เพื่อที่จะได้มีเงินมาใช้ดำรงชีวิต ขณะที่ในระบบสังคมนิยมนั้นเป็นเรื่องตรงกันข้าม เพราะมันเป็นระบบที่เสนอให้ผู้คนนั้นมีเสรีภาพจากการทำงาน (freedom from work) แรงจูงใจในการทำงานภายใต้ระบบสังคมนิยมนั้นคือการที่เราต่างใช้กำลังแรงงานเพื่อร่วมกันสร้างสังคมที่เราจะสามารถเป็นอิสระจากจากความจำเป็นของการใช้แรงงาน ซึ่งอิสรภาพที่ว่านี้จะได้มาก็ด้วยความพยายามร่วมกันของสังคมที่จะพัฒนากำลังการผลิตและระบบเศรษฐกิจไปจนถึงขั้นที่มันต้องการกำลังแรงงานมนุษย์เพียงเล็กน้อยเพื่อจะทำให้ระบบสามารถดำเนินไปได้ อันจะทำให้เราได้รับเสรีภาพที่จะดำเนินชีวิตไปตามทิศทางที่เราต้องการได้อย่างแท้จริง
ชนชั้นนายทุนนั้นมีมโนทัศน์ที่ผิดพลาดและคับแคบเกี่ยวกับแรงจูงใจที่ทำให้ผู้คนทำงาน – พวกเขามองมันเฉพาะแต่มิติเรื่องเงิน แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วมันจะมีสิ่งต่างๆมากมายที่ผู้คนทำ (งานอดิเรก ฯลฯ) ซึ่งผู้คนเลือกทำมันไปเพียงเพราะพวกเขาชื่นชอบที่จะทำมัน มันเป็นสิ่งที่พัฒนาเราในฐานะของผู้คน มอบคุณค่าให้แก่เรา และช่วยให้เราสามารถสร้างความเชื่อมโยงตัวเองกับผู้อื่นได้
ในความเป็นจริงแล้วมันมีนายทุนบางคนที่ตระหนักเรื่องนี้ขึ้นด้วยตัวเอง หนึ่งในนั้นคือ Teresa Ambile ศาสตราจารย์ในวิทยาลัยด้านธุรกิจของฮาวาร์ด ที่ได้เขียนหนังสือเรื่อง The Progress Principle ซึ่งเสนอว่ามันคือความรู้สึกในการสร้างความก้าวหน้าและการเคลื่อนไปข้างหน้า ทั้งในเชิงอาชีพและในเชิงส่วนตัวที่เป็นตัวขับเคลื่อนผู้คนในการทำงาน สอดคล้องกับ Alfie Kohn นักวิทยาศาสตร์สังคมที่เขียนข้อเขียนลงใน Harvard Business Review ศัพท์แสงด้านการจัดการของนายทุนนั้นอ้างอิงถึงกลไกสี่อย่างที่ช่วยขับเคลื่อนหรือสร้างแรงจูงใจให้ผู้คนทำงานอย่างหนัก นั่นคือ ความเติบโตส่วนบุคคล, การต้องการการยอมรับ, ความรับผิดชอบ และความท้าทายในการทำงาน – ขณะที่การมอบรางวัลด้วยเงินนั้นไม่ถูกนับรวมเอาไว้ในสี่ข้อนี้ และรูปแบบของแรงจูงใจนี้เองที่ระบบสังคมนิยมนั้นจะหยิบยกมาใช้เพื่อเป็นพลังเหนือความคิดเรื่องค่าตอบแทนด้วยเงินตรา
แทนที่จะทำให้เกิดความรู้สึกแปลกแยกออกจากงาน ระบบสังคมนั้นจะมอบหลักยึดที่แท้จริงในสังคมและระบบเศรษบกิจให้แก่เรา ด้วยการมอบการถือครองกรรมสิทธิ์ร่วมกันให้แก่เรา การทำงานโดยตัวมันเองนั้น จะไม่ใช่เพียงการทำงานเพื่อรอรับค่าจ้างจากงาน แต่จะเป็นไปเพื่อเป้าหมายทางตรงที่ชัดเจน และมันจะตอบแทนเราด้วยผลประโยชน์ที่ชัดเจนต่อตัวเราและต่อคนอื่นๆในสังคม แทนที่จะเป็นการทำงานเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ของบรรดานายทุน หนึ่งในผู้นำการยึดโรงงานในเวเนซุเอลา นั้นยืนยันเรื่องนี้เมื่อเขารายงานว่า ในโรงงานที่ยึดมาได้นั้น แรงงานต่างมีความกระตือรือร้นที่จะมองหาวิธีการปรับปรุงกระบวนการผลิตอยู่ตลอดเพราะพวกเขาต่างรู้ว่าความคิดของพวกเขานั้นสามารถจะช่วยให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อื่นได้
คำถามสำคัญประการหนึ่งย่อมจะถูกตั้งว่า ถ้าหากเงินตรานั้นเป็นสิ่งที่มีบทบาทน้อยมากในการสร้างแรงจูงใจในการทำงานภายใต้ระบบสังคมนิยมแล้วมันหมายความว่าจะเกิดการยกเลิกระบบค่าจ้างไปเลยหรือเปล่า? แน่นอนว่าคำตอบคือไม่ – แต่หมายถึงไม่ใช่การยกเลิกในทันที หรือยกเลิกอย่างฉับพลัน แต่สิ่งที่เรากำลังพูดถึงคือระบบค่าจ้างนั้นจะค่อยๆทยอยหายไปเองเมื่อระบบเศรษฐกิจพัฒนาขึ้น ในขั้นแรกแรงงานนั้นจะยังคงได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบของเงิน (มูลค่าที่ในทางกลับกันแล้วเชื่อมโยงอยู่กับระบบเศรษฐกิจที่เป็นจริง) – เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่เราจะสามารถพังทลายมันลงได้อย่างง่ายดายในชั่วข้ามคืน ในความเป็นจริงแล้วการจ่ายค่าจ้างที่แตกต่างกันนั้นอาจจะยังดำรงอยู่ด้วยในห้วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านสังคมนิยม เหมือนเช่นที่จิตสำนึกของผู้คน และกำลังการผลิตก็จะพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน นี่เป็นกรณีที่เกิดขึ้นในรัสเซียเมื่อปี 1917 เมื่อพรรคบอลเชวิคนั้นอนุมัติการจ่ายค่าจ้างที่แตกต่างกันเมื่อมันจำเป็นหากแต่อัตราความแตกต่างนั้นจะต้องไม่เกินอัตรา 1:4
อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปนั้นการจ่ายค่าจ้างย่อมจะถูกแทนที่ด้วยระบบคูปอง ซึ่งในทางกลับกันแล้วมันอาจจะหายไปเลยในท้ายที่สุด เมื่อผู้คนทั้งหมดนั้นสามารถได้รับสิ่งของทุกอย่างที่พวกเขาต้องการได้ ยิ่งสังคมเข้าใกล้ความอุดมสมบูรณ์มากเท่าไหร่ ค่าจ้างนั้นย่อมเป็นสิ่งที่ผู้คนต้องการน้อยลงเท่านั้น ในเมื่อพวกเขามีทรัพยากรทุกอย่างที่มากเพียงพอสำหรับมนุษย์ทุกคน เงินก็ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นอีกต่อไป
ด้วยระบบการจ่ายค่าจ้างนี้เอง ที่ทำให้เงินตรานั้นกลายเป็นสิ่งปกติ ทรอสกี้ได้อธิบายถึงความจำเป็นของระบบสกุลเงินที่ไม่สามารถควบคุมได้ ด้วยระบบเงินทุนสำรองที่เชื่อมโยงถึงระดับของการผลิตที่เป็นจริงในระบบเศรษฐกิจ กระทั่งภายใต้ระบบสังคมนิยม เป็นเรื่องชัดเจนว่ากลไกหรือคุณลักษณะบางอย่างของเงินตราภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นย่อมจะเปลี่ยนหรือสลายหายไป – ความต้องการค่าจ้างในรูปแบบของเงินนั้นคือตัวอย่างหนึ่ง – หากแต่มันก็ยังสามารถจะถูกจ่ายในรูปแบบของเงินได้ในบทบาทของเครื่องชี้วัดความมีคุณภาพของระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน
ภายใต้ระบบทุนนิยม การไหลเวียนของเงินและการใช้สัญญาณราคาในฐานะตัวชี้วัดว่าจุดไหนในระบบเศรษฐกิจที่มีความอุดมสมบูรณ์และจุดไหนขาดแคลน ตัวอย่างเช่น พื้นที่ไหนที่ความต้องการซื้อมีมากกว่าความต้องการขาย พื้นที่ไหนที่ราคาสินค้านั้นขยับตัวสูงขึ้นมากกว่าราคาที่เป็นจริง หรืออะไรที่ก่อให้เกิดกำไรมหาศาลให้แก่นายทุนในเขตนั้นๆ ซึ่งเรื่องเหล่านี้นั้นจะเป็นตัวกระตุ้นให้บรรดานายทุนนั้นทุ่มเงินของพวกเขาเข้าไปสร้างการลงทุนในพื้นที่ดังกล่าว และดังนั้นแล้วจะเป็นการเพิ่มความต้องการขายให้กลับมาสู่จุดสมดุล ในห้วงลำดับขั้นแรกของสังคมนิยมนั้น บทบาทของเงินและสัญญาณราคานี้ยังคงเป็นสิ่งจำเป็น หากแต่ในระดับหลักทางเศรษฐกิจ – ธนาคารและบริษัทขนาดใหญ่ – นั้นย่อมจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐของชนชั้นแรงงาน ซึ่งจะเป็นผู้สร้างการลงทุนโดยตรงที่สอดคล้องไปกับการยุติสภาวะความขาดแคลน สัญญาณราคานั้นถึงที่สุดแล้วจะเป็นตัวชี้วัดความต้องการขายและความต้องการซื้อของสินค้าในแต่ละภูมิภาค และอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นนั้นย่อมจะเป็นสัญญาณเตือนถึงแนวโน้มของปัญหาทางเศรษฐกิจ ดังนั้นแล้วการไหลเวียนของเงินตราจะกลายเป็นตัวชี้วัดว่าการค้าขายภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนนั้นจะสามารถขยายตัวไปได้ขนาดไหน
ในที่สุดแล้ว มันจะเกิดกระบวนการเปลี่ยนผ่านอย่างค่อยเป็นค่อยไปที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจนั้นอยู่ภายใต้การกำหนดร่วม อยู่ภายใต้แผนการผลิตแบบประชาธิปไตย การผลิตและการแลกเปลี่ยนสินค้านั้นก็ย่อมจะลดลง และเงินตรานั้นย่อมจะหมดคุณค่าลงไปเช่นเดียวกับประโยชน์ของตัวมันในฐานะของตัวชี้วัดคุณภาพของระบบเศรษฐกิจที่จะถูกเข้ามาแทนที่ด้วย การบริหารจัดการ ที่จะเข้ามาแทนที่ระบบการควบคุมด้วยเงินตรา
รัฐและประชาธิปไตย
ภายใต้ระบบสังคมนิยมนั้น รัฐก็ย่อมจะสูญสลายไปเช่นเดียวกับที่ระบบเงินตรานั้นจะค่อยๆสูญสลายไปในที่สุด หัวใจที่แท้จริงของเจตจำนงของรัฐสังคมนิยมนั้น ด้วยปฏิบัติการอันดับแรกของตัวมันเอง ย่อมจะเป็นการเริ่มต้นกระบวนการย่อยสลายตัวมันเอง นั่นก็เพราะการเวนคืนเอาปัจจัยการผลิตทั้งหมดและทำให้มันอยู่ภายใต้การควบคุมของคนงานที่เป็นประชาธิปไตยในฐานะองค์ประกอบหนึ่งของระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนนั้นย่อมจะเป็นการเริ่มต้นการทำลายล้างระบบการแบ่งแยกทางชนชั้น ซึ่งหมายถึงการแบ่งแยกกันระหว่างกลุ่มผู้ถือครองทรัพย์สินและผู้ที่ไม่ได้ถือครอง ในระบบสังคมที่ทุกคนนั้นต่างก็ได้ถือครองและหยิบใช้ปัจจัยในการผลิตร่วมกันนั้นมันย่อมจะเป็นสังคมที่ปราศจากชนชั้น ดังนั้นมันย่อมจะเป็นสังคมที่ไม่จำเป็นจะต้องมีกลไกรัฐที่กำเนิดขึ้นมาจากกองกำลังติดอาวุธที่จะถูกหยิบใช้โดยชนชั้นผู้ขูดรีดเพื่อรักษากระบวนการขูดรีดอีกต่อไป
ก่อนหน้าการมาถึงของสังคมชนชั้นซึ่งมีจุดกำเนิดเมื่อราวๆ 10,000 ปีก่อนคริสตกาลในยุคของการปฏิวัติยุคหินใหม่ (Neolithic Revolution) สังคมมนุษย์นั้นอยู่ภายใต้การจัดการแบบสังคมคอมมิวนิสต์บุพกาล ระบบชนชั้นนั้นไม่ได้ดำรงอยู่ในห้วงเวลานั้นเพราะกำลังการผลิตที่มีนั้นไม่สามารถที่จะทำการผลิตได้มากเกินกว่าความต้องการที่จำเป็นเพื่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นแล้วการแบ่งแยกทางชนชั้นนั้นจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในทางเศรษฐกิจ เองเกลนั้นอ้างอิงถึงงานของนักมานุษยวิทยานามว่า Lewis Henry Morgan ที่อธิบายถึงการดำเนินงานของสังคมคอมมิวนิสต์บุพกาล ผ่านข้อเขียนจากการศึกษาชนเผ่า Iroquois gens เขาได้เสนอว่า
“อำนาจของ Sachem [หัวหน้าเผ่า] นั้นมีลักษณะทางศีลธรรมบริสุทธิ์และนับถือความเป็นพ่อ ขณะเดียวกันเขาก็ไม่มีอำนาจในการบีบบังคับ ... ผู้คนในครอบครัว (วงศ์ - gens) นั้นมีอำนาจในการถอดถอนหัวหน้าหรือผู้นำได้ ... ผู้คนภายในเผ่านั้นต่างก็ต่างถือครองความช่วยเหลือ การปกป้อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเกื้อกูลกันในการจะทำศึกล้างแค้นเมื่อผู้เสียหายบุกรุกซึ่งกันและกัน ... ชนเป่านั้นมีระบบสภา มันเป็นสมัชชาประชาธิปไตยของสมาชิกทุกคนในเผ่าทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว และทุกคนนั้นล้วนมีสิทธิออกเสียงที่เท่าเทียมกัน”
นี่คือคำอธิบายถึงสังคมที่ปราศจากโครงสร้างรัฐ อย่าง ตำรวจ, กองทัพ, ศาล, คุก, หรือ สถาบันทางการเมืองใดๆที่สถาปนาขึ้นโดยแยกขาดและอยู่เหนือจากสังคม อันเนื่องมาจากการที่กำลังการผลิตในสังคมนั้นถูกใช้ทำงานร่วมกันโดยชนเผ่านี้ ผมตอบแทนทางเศรษฐกิจของทุกคนนั้นจึงเสมอกันอยู่ในแนวราบ นั่นจึงหมายความว่ามันไม่มีความต้องการเครื่องมือหรือกลไกรัฐพร้อมอำนาจการควบคุมเพื่อใช้สถาปนาอำนาจให้ชนชั้นหนึ่งอยู่เหนือคนอื่น
การเวนคืนเอาอำนาจสั่งการระดับสูงในระบบเศรษฐกิจและนำมันมาอยู่ภายใต้การควบคุมด้วยระบบประชาธิปไตยของคนงานและการจัดการรวมถึงขับเคลื่อนมันในฐานะองค์ประกอบหนึ่งของระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมแบบวางแผน ย่อมจะเป็นเสมือนกับการทำลายล้างระบบการแบ่งแยกทางเศรษฐกิจที่แบ่งผู้คนเป็นชนชั้นให้หายไป และดังนั้นแล้วมันจึงเป็นการทำลายเงื่อนไขเชิงวัตถุของการดำรงอยู่ของรัฐลงด้วย เราอาจจะย้อนกลับไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์ดั้งเดิม หากแต่เป็นระดับที่สูงขึ้น พร้อมกับกำลังการผลิตที่พัฒนาอย่างก้าวหน้าแทนที่กำลังการผลิตแบบสังคมบุพกาล
ภาพเค้าโครงของรัฐที่จะดำรงอยู่ภายใต้ระบบสังคมที่เราพูดถึงนี้เป็นสิ่งที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับรูปแบบรัฐภายใต้ระบอบการปกครองของสตาลินในสหภาพโซเวียต การสถาปนาระบบราชการขนาดมหึมาที่ทำลายระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยของสตาลินนั้นไม่ใช่รูปแบบของรัฐของคนงานที่ดีนัก โดยเฉพาะเมื่อมันขาดกระบวนการประชาธิปไตยของคนงานที่เป็นรากฐานของการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมที่ดี ระบบทุนนิยมนั้นมุ่งหมาย (และหลายครั้งนั้นล้มเหลว – ดังเช่นที่เราอภิปรายกันมา) ที่จะใช้การแข่งขันเพื่อรักษาการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพให้ต่ำที่สุด หากแต่ภายใต้ระบบสังคมนิยมนั้น เมื่อมันปราศจากการแข่งขันทางธุรกิจแล้ว เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นย่อมจะถูกนำมาใช้เพื่อสร้างการผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้นและช่วยป้องกันการคดโกงที่อาจจะเกิดขึ้น – และเครื่องจักรนั้นย่อมจะอยู่ภายใต้การควบคุมที่เป็นประชาธิปไตยของคนธรรมดาที่อยู่เหนือระบบเศรษฐกิจ ดังเช่นที่ทรอสกี้ได้กล่าวเอาไว้ ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนนั้นต้องการประชาธิปไตยของคนงาน เช่นเดียวกับที่ร่างกายมนุษย์ต้องการออกซิเจน
ในเชิงรูปธรรมแล้วมันหมายถึงการดำเนินการมาตรการที่จะทำให้มีกระบวนการถอดถอนเจ้าพนักงานที่มาจากการเลือกตั้งทุกคน ที่จะทำงานโดยได้รับค่าตอบแทนที่ไม่มากไปกว่าคนงานทั่วไปได้ ดังนั้นแล้วพวกเขาย่อมจะมีผลประโยชน์ในระดับเดียวกับผู้ที่เลือกพวกเขามาเป็นผู้แทน เราไม่จำเป็นจะต้องรอเวลาถึงห้าปีก่อนที่จะสามารถไล่บรรดาผู้แทนที่ทำการตัดสินใจดำเนินการสิ่งที่ไม่ได้ตอบสนองต่อความต้องการของคนส่วนใหญ่ได้ – ระบบประชาธิปไตยของชนชั้นกรรมาชีพนั้นมีส่วนเกี่ยวพันกับการควบคุมมากกว่านั้น เลนินนั้นประกาศอยู่เสมอถึงความต้องการจะให้ทุกๆคนนั้นเข้ามามีส่วนร่วมกับการทำงานในการบริหารจัดการของสังคมใหม่ ดังนั้นแล้วมันย่อมจะทำให้กลุ่มข้าราชการนั้นไม่สถาปนาชนชั้นใหม่ของตัวเองขึ้นมาได้ อันจะเป็นชนชั้นที่แยกตนเองอยู่เหนือชนชั้นแรงงานกลุ่มอื่นๆที่เหลือ ถ้าหากว่าทุกคนในสังคมนั้นต่างก็เป็นข้าราชการดังนั้นแล้วมันย่อมหมายถึงว่าไม่มีใครเลยที่เป็นข้าราชการ.
การสร้างสหภาพแรงงานนั้นแสดงให้เห็นถึงชัยชนะอันยิ่งใหญ่สำหรับชนชั้นแรงงาน เพราะมันเป็นเสมือนกับองค์กรประชาธิปไตยที่สถาปนาขึ้น โดย ชนชั้นแรงงาน เพื่อ ชนชั้นแรงงาน ในแง่นี้แล้วจึงหมายถึงว่าสหภาพแรงงานนั้นกำลังให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงเมล็ดพันธุ์ของระบบประชาธิปไตยสังคมนิยม (socialist democracy) ขึ้น Rob Sewell นักเขียนนักมาร์กซิสต์นั้นได้ชี้ประเด็นให้เห็นเอาไว้ในหนังสือของเขาเรื่อง In the Cause of Labour: History of British Trade Unionism เขาได้กล่าวว่า “สหภาพแรงงานนั้นคือองค์กรขั้นพื้นฐานของชนชั้นแรงงาน หากแต่มันสามารถเป็นไปยิ่งกว่านั้น สหภาพแรงงานนั้นเป็น หน่ออ่อนของสังคมใหม่ในอนาคตที่ก่อตัวขึ้นในสังคมเก่า”นอกจากนี้เขายังได้อธิบายเพิ่มเติมไปถึงว่าสหภาพแรงงานนั้นสามารถที่จะต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นแรงงานได้
“ในอนาคตนั้นชนชั้นแรงงานจะสามารถขยับขยายสหภาพแรงงานให้กลายเป็นองค์ประกอบและโรงเรียนของความสมานฉันท์, ของการต่อสู้ และเป็นโรงเรียนและองค์ประกอบของสังคมนิยม ตามคำกล่าวของเฟรดเดอริค เองเกล”
การเข้ายึดโรงงาน Flasko ในบราซิลนั้นได้นำเสนอตัวอย่างของรูปธรรมของระบบประชาธิปไตยของคนงานในเชิงปฏิบัติการให้แก่เรา สภาโรงงานที่มาจากการเลือกตั้งนั้นอยู่ภายใต้อำนาจของสิทธิการถอดถอนตำแหน่งได้ในทันที สภาดังกล่าวนี้จะมีการพบปะรายสัปดาห์กันเพื่อพูดคุยถึงการวางแผนการผลิตสำหรับโรงงาน และทุกๆการพูดคุยนั้นจะได้รับการเผยแพร่เพื่อให้แรงงานทุกคนตรวจสอบได้ ยิ่งไปกว่านั้นค่าใช้จ่ายต่างๆของโรงงานนั้นจะต้องได้รับการลงมติจากทุกคนในโรงงาน ในแต่ละเดือนและทุกๆเดือน โมเดลแบบดังกล่าวนี้เป็นเช่นเดียวกับโมเดลของระบบโซเวียต ในรัสเซียเมื่อช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ที่มอบอำนาจควบคุมทางเศรษฐกิจให้แก่ประชาชนเอง โดยไม่มีการบีบบังคับให้พวกเขาต้องพึ่งพาใคร
ระบบโซเวียตนั้นคือสภาของคนงานที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งแรงงานนั้นมีส่วนร่วมและได้รับเลือกตั้งเพื่อให้ทำการขับเคลื่อนสถานที่ทำงานชุมชน และภูมิภาคของตนเอง มรรควิธีแบบประชาธิปไตยนี้นั้นเป็นกระบวนการประชาธิปไตยที่เข้าถึงชนชั้นแรงงานมากกว่าประชาธิปไตยแบบกระฎุมพี เพราะมันได้มอบอำนาจการควบคุมและกำหนดชะตาชีวิตของตนเองให้กับชนชั้นแรงงานในแบบที่ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาไม่สามารถมอบให้ได้ ตัวอย่างของการเลือกตั้งทั่วไปในอังกฤษนั้นเป็นตัวอย่างหนึ่ง – ไม่ว่ารัฐบาลไหนจะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลมันย่อมจะเป็นรัฐบาลที่ดำเนินการด้วยนโยบายรัดเข้มขัด เราไม่มีทางเลือกที่แท้จริงเพราะระบบเศรษฐกิจนั้นถูกถือครองเอาไว้เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัว และรัฐบาลนั้นจำเป็นต้องยอมจำนนต่อระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและยอมให้มันดำเนินต่อไป ตามความต้องการของผู้ที่ครอบครองอำนาจสั่งการระดับสูงในระบบเศรษฐกิจเอาไว้ – กล่าวคือพวกชนชั้นนายทุน มีแต่เพียงการมอบอำนาจควบคุมเหนือเศรษฐกิจให้กับชนชั้นแรงงานเท่านั้นที่จะทำให้เราการันตีทางเลือกที่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงได้
คอมมูนปารีส
เช่นเดียวกับกรณีของโซเวียตรัสเซีย ระบบคอมมูนปารีสที่เกิดขึ้นในปี 1871 นั้นก็เป็นตัวอย่างของรัฐของชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมากกับระบบรัฐที่เราเข้าใจภายใต้ระบบทุนนิยม มาร์กซ์ได้อธิบายถึงคอมมูนปารีสเอาไว้ดังนี้
“การประกาศพระราชกฤษฎีกาแรกของคอมมูนปารีสนั้นคือการประกาศให้ยกเลิกกองทัพประจำการ และสถาปนากองกำลังติดอาวุธของประชาชนขึ้นแทน”
“คอมมูนปารีสนั้นปกครองกันด้วยระบบสภาในแต่ละเขตเทศบาลเมือง ซึ่งสมาชิกสภานั้นมาจากการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนในเมือง ซึ่งสามารถถูกเพิกถอนได้ และมีวาระการดำรงตำแหน่งไม่นาน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ของสภานี้ล้วนแล้วแต่เป็นชนชั้นแรงงาน หรือเป็นผู้แทนของชนชั้นแรงงาน ระบบคอมมูนนั้นไม่ได้ทำงานด้วยระบบรัฐสภาปากแต่ทำหน้าที่บริหารและนิติบัญญัติไปพร้อมกัน”
“และแทนที่จะใช้ระบบเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกลางอย่างต่อเนื่อง ระบบคอมมูนนั้นได้เปลี่ยนเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ต้องมีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานมากขึ้น สามารถถูกเพิกถอนอำนาจได้ตลอดเวลา และกลายไปเป็นเจ้าหน้าที่ของคอมมูน หรือก็คือเป็นเจ้าหน้าที่ที่ขึ้นสังกัดกับแต่ละเขตคอมมูน และด้วยการเข้าร่วมคอมมูนนี้เองที่ทำให้บริการสาธารณะประสบความสำเร็จด้วย ค่าแรงของคนงาน ผลประโยชน์ส่วนร่วมของสังคมและระบบผู้แทนนั้นทำให้เกิดการหายไปของระบบรัฐตลอดจนการหายไปของผู้ทรงอำนาจเองด้วย กลไกสาธารณะทั้งหลายนั้นได้สิ้นสุดการเป็นสมบัติส่วนบุคคลในฐานะของเครื่องมือของรัฐบาลกลาง ไม่เพียงแต่การบริหารงานในเขตเทศบาลเมืองเท่านั้นหากแต่อาจในการจัดการทั้งหมดที่เคยเป็นของรัฐนั้นได้ถูกเปลี่ยนผ่านมาอยู่ในมือของระบบคอมมูน”
“และด้วยการทำลายระบบกองทัพประจำการและระบบตำรวจแบบเดิม – อันเป็นองค์ประกอบด้านอำนาจทางกายภาพจของรับบาลเก่า – ระบบคอมมูนได้เริ่มต้นกระบวนการที่จะทำลายอำนาจทางจิตวิญญาณในการปราบปราม นั่นคือ “อำนาจของนักเทศน์” ด้วยการรื้อถอนและลดทอนอำนาจของนักบวชลงโดยเปลี่ยนให้โบสถ์นั้นไม่ใช่สิ่งที่สามารถถือครองได้ บรรดานักบวชนั้นจะถูกต้องกลับไปยังที่พักอาศัยของตนเอง เพื่อจะได้ทำการสั่งสอนและเทศนาคำสอนของตัวเองตามที่เขาต้องการ”
“สถาบันทางการศึกษาต่างๆนั้นก็ถูกเปิดให้กลายเป็นระบบการศึกษาฟรี และขณะเดียวกันการศึกษานั้นก็เป็นไปโดยปราศจากการแทรกแซงจากศาสนาและรัฐ ดังนั้นแล้วไม่ใช่เพียงแต่การศึกษาจะกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ หากแต่วิทยาศาสตร์โดยตัวมันเองนั้นก็ได้เป็นอิสระจากโซตรวนซึ่งอคติทางชนชั้นและอำนาจในการปกครองได้ควบคุมมัน”
“เจ้าหน้าที่ฝ่ายตุลาการนั้นต้องถูกปลดเปลื้องออกจากความไม่เป็นอิสระ ซึ่งเคยทำหน้าที่ช่วยเหลือรัฐบาลในการปกป้องความผิดที่พวกเขาก่อขึ้น ซึ่งในทางกลับกันแล้วพวกเขานั้นได้รับ และทำลายคำปฏิญาณที่ตัวเองได้มอบไว้ ดังนั้นแล้วเจ้าหน้าที่ตุลาการย่อมจะต้องเป็นเสมือนเจ้าหน้าที่สาธารณะอื่นๆในสังคม ผู้พิพากษาและตุลาการนั้นจะต้องมาจากการเลือกตั้ง จะต้องแสดงความรับผิดชอบ และสามารถถูกเพิกถอนได้”
แน่นอน สำหรับคนธรรมดาสามัญที่สามารถจะเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการขับเคลื่อนสังคมด้วยระบบประชาธิปไตย ในหนทางที่อธิบายไว้โดยมาร์กซ์ข้างต้นนี้ พวกเขาย่อมจำเป็นจะต้องมีเวลามากพอที่จะทำเช่นนั้น ภายใต้ระบบทุนนิยม พวกเขาต่างต้องทำงานอย่างยาวนานตลอดทั้งวันและเผชิญกับความกดดันในชีวิตประจำวันตลอดเวลาดังนั้นเองคนส่วนมากของสังคมจึงแยกตัวเองออกจากกิจกรรมทางการเมืองอย่างสมบูรณ์ และสำหรับชนชั้นแรงงานบางกลุ่มที่ต้องทำงานอย่างยาวนาน หรือต้องทำงานถึงสองอาชีพ การให้ความสนใจศึกษาถึงระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนของสังคมนิยมหรือศิลปะการปกครองประเทศนั้นย่อมจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่พวกเขาอย่างทำในช่วงเวลาหลังเลิกงานหรือในวันหยุดสุดสัปดาห์ นี่เป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากองค์ความรู้ที่ว่า ต่อให้บรรดาการศึกษาเหล่านี้ถูกนำไปใช้ มันก็ย่อมจะไม่สร้างความแตกต่างใดๆเพราะชนชั้นแรงงานนั้นย่อมไม่มีเวลาที่จะมาพูดว่าระบบเศรษฐกิจหรือสังคมทั้งมวลนั้นดำเนินไปอย่างไร
ในระบบสังคมนิยมที่ ระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีอันก้าวหน้า และระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนนั้นเข้ามามีส่วนร่วมในการลดชั่วโมงการทำงานของมนุษย์ลง ชนชั้นแรงงานนั้นย่อมจะมีเวลาว่างที่มากพอเพื่อที่จะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการขับเคลื่อนสังคม ด้วยการใช้ระบบเศรษฐกิจภายใต้การควบคุมที่เป็นประชาธิปไตยของชนชั้นแรงงาน ผู้คนนั้นย่อมจะมีแรงจูงใจในการเข้าไปมีส่วนร่วมศึกษาองค์ความรู้ที่ทำให้ความคิดและการกระทำของพวกเขานั้นสามารถสร้างความแตกต่างที่สัมผัสได้ขึ้น
ดังเช่นที่มาร์กซ์ได้อธิบายถึงคอมมูนปารีสเอาไว้ ในฐานะภาพที่ชัดเจนของประชาธิปไตยของชนชั้นกรรมาชีพอันประกอบขึ้นด้วยการแทนที่ระบบรัฐสภาด้วยระบบการบริหารอีกแบบหนึ่ง – หรือก็คือการเปลี่ยนการพูดคุยที่ไม่ได้สาระให้กลายไปเป็นการปฏิบัติที่แท้จริง ตัวอย่างเช่น การนัดหยุดงานทั่วไปในอังกฤษ เมื่อปี 1926 เมื่อเห็นการนัดหยุดงานของคณะกรรมาธิการตะวันออกเฉียงเหนือที่ปฏิเสธข้อเสนอของรับบาลที่ต้อการจะกระจายทรัพยากรไปทั่วทั้งภูมิภาค เพราะพวกเขานั้นได้สถาปนาระบบที่จะทำเช่นนั้นด้วยตัวเองแล้ว คณะกรรมาธิการที่นำการนัดหยุดงานนี้ไม่เพียงแต่นั่งคุย และลงมติประกาศข้อเรียกร้อง แล้วส่งต่อความรับผิดชอบไปให้คนอื่น – หากแต่บรรดาผู้แทนเหล้านี้เป็นผู้ตัดสินใจ ต่างต้องเข้ามารับผิดชอบต่อการตัดสินใจและดำเนินการรวมถึงเคลื่อนไหวตามมติไปพร้อมกับทุกๆคน นี่คือแก่นแท้ของระบบประชาธิปไตยของชนชั้นกรรมาชีพ และนี่คือสิ่งที่แตกต่างอย่างชัดเจนกับสิ่งที่เกิดขึ้นในถ้ำอันร้อนระอุหรือก็คืออาคารรัฐสภานั่นเอง
ในใจกลางของระบบประชาธิปไตยสังคมนิยมนั้นคือความสามารถที่จะจะทำให้เกิดการดำเนินการที่เป็นจริงหลังจากการลงมติตัดสินใจแล้วเพื่อสังคม และนี่คืออุปสรรคขั้นพื้นฐานที่เราจะพบได้จากระบบประชาธิปไตยภายใต้ระบบทุนนิยม – แม้ว่าสังคมจะลงมติเพื่อเรียกร้องให้มีการจ้างงานเต็มอัตราและดำเนินการลงทุนในภาคส่วนที่สังคมเห็นควร แต่ทว่าข้อเรียกร้องดังกล่าวนั้นจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นจริงได้อย่างไร ในเมื่อการตัดสินใจที่แท้จริงนั้นล้วนแล้วแต่ตกอยู่ในมือของชนชั้นนายทุน หรือนายธนาคารที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ในขั้นสุดท้ายนี้ แก่นแท้ของหลักประชาธิปไตยนั้นย่อมเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการควบคุมทางเศรษฐกิจเพื่อมอบอำนาจในการตัดสินใจให้กับคน 99% ไม่ใช่มอบอำนาจนั้นให้กับคนเพียง 1% ในสังคม
ตำรวจ กองทัพ และกฎหมาย
นักมาร์กซิสต์นั้นเข้าใจรัฐในฐานะของโครงสร้างที่ประกอบขึ้นจากกองกำลังติดอาวุธที่ดำรงอยู่เหนือสังคม – อย่างเช่นสถาบันตำรวจและกองทัพ ภายใต้ระบบทุนนิยม นั้นรัฐถือว่าเป็นอาวุธของชนชั้นกระฎุมพี ซึ่งหยิบใช้สถาบันตำรวจและกองทัพเพื่อดำรงรักษาอำนาจการปกครองของตัวเองเอาไว้ หากแต่รัฐของชนชั้นกรรมาชีพนั้นย่อมจะเป็นอาวุธของคนงานที่จะใช้เพื่อต่อต้านความพยายามของชนชั้นนายทุนที่จะกดขี่และขูดรีดพวกเขาต่อไป นี่คือสิ่งที่นักมาร์กซิสต์ต้องการสื่อถึงเมื่อเราพูดถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกองกำลังติดอาวุธของชนชั้นแรงงาน ซึ่งหมายถึงการสถาปนากองกำลังตำรวจและทหารขึ้นใหม่ภายใต้กรอบการปกครองของชนชั้นกรรมาชีพ – นั่นคือมอบอำนาจในการบังคับบัญชาของสถาบันเหล่านี้ได้กับชนชั้นแรงงานที่จะมีการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ขึ้นมาดำรงตำแหน่งบังคับบัญชาตามระบอบประชาธิปไตย และบรรดาเจ้าหน้าที่เหล่านี้ก็ต้องอยู่ภายใต้อำนาจและวินัยของชนชั้นแรงงาน
กระบวนการแบบดังกล่าวนั้นมีตัวอย่างมาแล้วจากกรณีที่เกิดขึ้นในเมือง Turin ประเทศอิตาลี เมื่อปี 1920 เมื่อ กองพันแดง (Red Brigades) ซึ่งสถาปนาขึ้นมาจากอาสาสมัครจากชนชั้นแรงงาน และก่อตั้งขึ้นภายใต้การควบคุมของคณะกรรมาธิการโรงงาน สหภาพแรงงาน FIOM นั้นจึงเข้ายึดโรงงานและมอบหมายให้สมาชิกพลเรือนติดอาวุธนี้เป็นผู้เฝ้ายามตามประตูโรงงาน พวกเขานั้นไม่ยอมไว้วางใจอำนาจของรัฐกระฎุมพี – ชนชั้นแรงงานอิตาลีได้สถาปนาทางเลือกขึ้นมาในรูปแบบของโครงสร้างใหม่ภายใต้การควบคุมของชนชั้นกรรมาชีพ
เช่นเดียวกันกับในปี 1917 ทรอสกี้นั้นได้รับมอบหมายให้ทำการสร้างกองทัพแดง (Red Army) ในรัสเซียขึ้นมาใหม่ ภายใต้สภาพเงื่อนไขที่ยากลำบากอย่างถึงที่สุด ทรอสกี้จึงได้นำเอาระบบหัวหน้ากรมกรอง (หรือผู้ตรวจการ - Commissars) มาใช้กับทั้งกองทัพ ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้นำกลุ่มย่อยของพรรคบอลเชวิคที่จะทำหน้าที่ตรวจตราและรักษาวินัยทางการเมืองให้กับทหารและผู้บังคับบัญชาของกองทัพ (ซึ่งอันเนื่องมาจากเหตุผลด้านการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญเทคนิคทางการทหารนั้นทำให้พรรคบอลเชวิคจำเป็นต้องรับเอานายทหารที่เคยรับใช้ระบอบซาร์หรือระบอบปฏิกิริยาของเคเรนสกี้มาประจำการ) ในวิถีทางนี้เองที่ทำให้กองทัพนั้นถูกสถาปนาขึ้นเป็นอาวุธของชนชั้นกรรมาชีพ ไม่ใช่เครื่องมือของกลุ่มกระฎุมพีปฏิปักษ์ปฏิวัติ
ในห้วงเวลาของสังคมนิยมนั้นเมื่อการแบ่งแยกทางชนชั้นอันเนื่องมาจากเงื่อนไขของการผลิตทางสังคมนั้นได้เลือนหายไป องค์กรเหล่านี้ก็ย่อมจะหายไปด้วยเช่นกัน เพราะในสังคมไร้ชนชั้นนั้นมันย่อมไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องมีเครื่องมือทางอำนาจเหล่านี้เพื่อทำให้ชนชั้นหนึ่งอยู่เหนือชนชั้นอื่นๆ ระบบการบริหารจัดการนั้นจะยังคงอยู่หากแต่เมื่อทุกคนนั้นเป็นข้าราชการแล้วมันย่อมจะไม่มีการสถาปนาให้คนกลุ่มหนึ่งนั้นกลายเป็นผู้ที่แยกตนเองและอยู่เหนือคนอื่นๆ การบังคับให้เกิดพฤติกรรมร่วมทางสังคม หรือกรอบทางสังคม ฯลฯ นั้นย่อมจะเกิดขึ้นจากแรงกดดันทางสังคม ภายใน สังคมเอง มากกว่าจะเกิดจากอำนาจบีบบังคับที่ดำรงอยู่ ภายนอก สังคม
เอเกลนั้นได้อธิบายถึงสังคมคอมมิวนิสต์บุพกาล ด้วยการอ้างอิงงานที่ศึกษาชนเผ่า Iroquois ของ Morgan ไว้ดังนี้
“มันเป็นสังคมที่ไม่มีทหาร ไม่มีผู้ควบคุมหรือตำรวจ ไม่มีขุนนาง กษัตริย์ ผู้สำเร็จราชการ เจ้าเมือง หรือผู้พิพากษา ไม่มีนักโทษ ไม่มีการฟ้องร้องคดี – และทุกสิ่งทุกอย่างนั้นจะเป็นเช่นนี้โดยแน่นอน การทะเลาะวิวาทหรือกรณีพิพาททั้งหลายนั้นจะได้รับการตัดสินโดยชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ด้วยสมาชิกในครอบครัว หรือเผ่า หรือถูกตัดสินโดยวงศาคณาญาติที่เกี่ยวข้องเอง หากแต่มันดำเนินการไปด้วยวิธีการล้างแค้นแบบเลือดแลกเลือดอย่างรุนแรง – และสำหรับการลงโทษในระบบทุนนิยมของเรานั้นก็ไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกเหนือจากการล้างแค้นในรูปแบบที่ศิวิไลซ์ขึ้น อันเต็มไปด้วยข้อดีและข้อเสียของความศิวิไลซ์ แม้ว่าในอดีตนั้นมันจะมีเรื่องที่ต้องตัดสินใจร่วมกันมากกว่าในปัจจุบัน – หากแต่กิจการภายในครัวเรือนนั้นก็ถูกรักษาร่วมกันโดยสมาชิกในครอบครัว และเป็นไปอย่างคอมมิวนิสต์ แผ่นดินทั้งหมดนั้นเป็นของส่วนรวมของเผ่า – แน่นอนว่ามันไม่จำเป็นต้องมีการติดตามกระบวนการการทำงานในระบบการบริหารจัดการของกลไกอันซับซ้อนที่แยกย่อยไปหลายสาขาแบบที่เรามี การตัดสินนั้นจะเกิดขึ้นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด และในหลายกรณีนั้นหลายสิ่งถูกตัดสินโดยธรรมเนียมดั้งเดิม – สมาชิกภายในครอบครัวหรือเผ่านั้นต่างก็รับรู้ถึงหน้าที่ของตัวเองที่ต้องช่วยกันดูแลคนชรา คนป่วย และผู้ที่พิการจากการสงครามร่วมกัน ซึ่งทั้งหมดนั้นดำเนินไปอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม”
ในห้วงเวลาอันกว้างใหญ่ยาวนานนับตั้งแต่ที่เผ่าพันธุ์มนุษย์นั้นได้ปรากฏขึ้นมาบนโลก ราวๆสองล้านปีก่อน เราต่างดำรงชีวิตอยู่ในสังคมเช่นที่กล่าวมานี้ และเราต่างก็เรียนรู้พฤติกรรมของเรามาจากภายในระบบสังคมแบบดังกล่าว มากกว่าจะเรียนรู้จากโครงสร้างที่อยู่ภายนอกหรืออยู่เหนือสังคม ซึ่งระบบสังคมนิยมนั้นจะสร้างการย้อนกลับไปสู่ธรรมชาติของมนุษย์แบบดังกล่าวเพื่อใช้ในการออกแบบและจัดการสังคม – นั่นคือการสร้างความร่วมมือทางสังคมแทนที่การเป็นศัตรูกันทางสังคม
นอกเหนือจากโครงสร้างที่บังคับใช้กฎหมายในการปราบปรามที่เรากล่าวมาแล้วนั้น มันยังคงมีสถาบันของกฎหมายอยู่ด้วย ซึ่งมาร์กซ์ได้ชี้ให้เห็นว่ามันไม่ควรจะเป็นสถาบันที่ลอยสูงอยู่เหนือฐานเศรษฐกิจ ดังนั้นแล้วการดำรงอยู่ของกฎหมายจึงจะดำรงอยู่ตราบเท่าที่ยังคงมีรัฐอยู่ หากแต่มันก็ย่อมจะหายไปเช่นเดียวกับระบบรัฐที่จะต้องหายไป
นักกฎหมายโซเวียตนาม Evgeny Pashukanis นั้นได้อภิปรายเรื่องนี้เอาไว้ในหนังสือของเขาเรื่อง A GeneralTheory of Law and Marxism ดังนี้
“การเลือนหายไปของระบบกฎหมายแบบกระฎุมพีนั้นภายใต้เงื่อนไขนี้แล้วย่อมจะหมายถึงการสลายหายไปของกฎหมายด้วย หรือกล่าวได้ว่ามันคือการสลายหายไปของกลไกทางกฎหมายจากความสัมพันธ์ทางสังคม”
ลักษณะประการหนึ่งของกฎหมายภายใต้ระบบสังคม ในขณะที่มันอยู่ระหว่างกระบวนการสูญสลายนั้น คือมันจะไม่มีลักษณะที่เป็นนามธรรมสมบูรณ์อีกต่อไป เหมือนที่มันเคยเป็นภายใต้ระบบทุนนิยม กฎหมายแบบกระฎุมพีนั้นยืนยันตัวมันเองแล้วว่าความยุติธรรมนั้นตาบอด – หรือกล่าวได้ว่า กฎหมายนั้นจะปฏิบัติต่อสิ่งของสองสิ่งที่ไม่เท่าเทียมกัน ราวกับว่ามันเท่าเทียมกัน ดังนั้นแล้วกฎหมายนิติกรรมสัญญา (contract law) จึงสมมติเอาว่าสิ่งสองสิ่งที่ขัดแย้งกันนั้นมีความเท่าเทียมกัน แม้ว่าในความเป็นจริงทางสังคมและเศรษฐกิจแล้วมันจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น ดังนั้นแล้วบรรดาความคิดภายในกฎหมายกระฎุมพีจึงเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรมและไม่เท่าเทียม หากแต่ระบบกฎหมายภายใต้สังคมนิยมนั้นเป็นทางตรงกันข้ามมันไม่ใช่สิ่งที่ตาบอด – แต่มันจะมีดวงตาที่เปิดกว้างที่จะมองหาและปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นแรงงาน
เช่นเดียวกับที่การถือครองปัจจัยการผลิตแบบการถือครอง ส่วนบุคคล นั้นย่อมจะหายไปภายใต้ระบบสังคมนิยมและถูกแทนที่ด้วยการถือครอง ร่วมกัน ในทางเดียวกันนั้นกฎหมายก็ย่อมจะมีความสำคัญน้อยลงต่อสิทธิ์ของปัจเจกบุคคล และยิ่งสำคัญน้อยลงต่อสิทธิ์ร่วมของสังคม มันจะดำรงอยู่เพียงเพื่อต่อต้านการกระทำที่ถูกตัดสินว่าเป็นอาชญากรรมภายใต้ระบบสังคมเท่านั้น
ที่เรากล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่าในกฎหมายปัจจุบันนั้นมันประกอบไปด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการถือครองทรัพย์สินมากถึงเก้าในสิบของกฎหมายทั้งหมด – ดังนั้นการสลายระบบการถือครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลเหนือกำลังการผลิตนั้นย่อมจะหมายถึงการลดลงของข้อพิพาททางกฎหมายและอาชญากรรม อย่างเช่น มันจะมีใครไปขโมยของจากร้านขายสินค้าในเมื่อสินค้าในร้านที่เราพูดถึงนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่อย่างล้นเหลือและเป็นของฟรีที่ทุกคนสามารถเข้าไปหยิบใช้ได้ตามที่ตัวเองต้องการ? มันคงเป็นเรื่องไรสาระอย่างมากที่จะจับเขา หรือบอกว่าเขาผิด เพราะมันแทบไม่ต่างอะไรเลยกับการที่เราจะจับกุมใครสักคนในข้อหาว่าเขาขโมยออกซิเจนในอากาศไปโดยการหายใจเพื่อจะดำรงชีวิต
ภายใต้ระบบทุนนิยม กฎหมายจำนวนมากทำงานอยู่เพียงเพื่อจะร่างสัญญาหรือการทำนิติกรรมที่ชัดเจนเหนือสิทธิ์ในกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลเพียงเท่านั้น และเมื่อบรรดาทรัพย์สินทั้งหลายนั้นกลายเป็นสิ่งของที่ถือครองร่วมกันภายใต้ระบบสังคมนิยม การใช้งานทางกฎหมายจำนวนมากที่กล่าวมานี้ย่อมจะกลายเป็นสิ่งล้าสมัย และย่อมจะถูกแทนที่ด้วยการเปลี่ยนเป้าหมายไปเพื่อการทำงานสนับสนุนความต้องการทางสังคมแทน
นอกจากนี้นั้นในปมปัญหาว่าด้วยอาชญากรรมแล้ว เมื่อเราเข้าใกล้สังคมที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ (สังคมนิยม) ที่ทุกคนต่างก็มีงานทำและมีส่วนร่วมโดยตรงตามหลักประชาธิปไตยในการกำหนดระบบเศรษฐกิจและชีวิตของตนเองมากเท่าไหร่ แรงจูงใจที่จะทำให้คนก่ออาชญากรรมนั้นก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น อธิบายเพิ่มก็คือ ผู้ที่ก่ออาชญากรรมนั้นจะถูกพิจารณาในฐานะของเหยื่อจากความพิกลพิการทางสังคม มากกว่าจะถูกพิจารณาว่าเป็นสัตว์ป่าอันบ้าคลั่งที่ต้องถูกจับขัง Pashukanis ได้อธิบายถึงเรื่องนี้เอาไว้ดังนี้
“ลองจินตนาการถึงห้วงเวลาที่ศาลนั้นมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องอยู่เพียงแต่การพิจารณาหาทางที่จะทำให้เงื่อนไขทางสังคมในการดำรงชีวิตของผู้กระทำความผิดอันเป็นแรงจูงใจในการทำผิดนั้นเปลี่ยนแปลงไป หรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น หรือทำให้สังคมได้รับความคุ้มครองจากเขา – ซึ่งทั้งหมดที่เรากล่าวมานี้ความหมายของสิ่งที่เรียกว่า ‘การลงโทษ’ นั้นย่อมจะระเหยหายไปในที่สุด”
ปมปัญหาเรื่องกฎหมายที่เรากล่าวมานี้ย่อมจะก่อให้เกิดปมปัญหาเรื่องสมาชิกสภานิติบัญญัติขึ้นมาด้วย – นั่นคือนักการเมืองและพรรคการเมือง ระบบสังคมนิยมนั่นไม่ใช่ระบบรัฐที่มีพรรคการเมืองพรรคเดียว หากแต่มันเป็นระบบที่พูดถึงความเปลี่ยนแปลงที่ไกลออกไปจากพรรคการเมืองที่เราเข้าใจกันอยู่ในปัจจุบัน – นั่นคือมันจะไม่ใช่พรรคการเมืองที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนต่างชนชั้น เพราะระบบการแบ่งแยกทางชนชั้นอันเนื่องจากระบบเศรษฐกิจนั้นจะเลือนหายไป กรณีประเทศอังกฤษนั้นในขณะที่พรรคอนุรักษ์นิยมมีผู้แทนแบบดั้งเดิมที่จะทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นกระฎุมพี พรรคแรงงานก็ได้ก่อตั้งขึ้นมาจากสหภาพแรงงานที่ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นแรงงาน ในสหรัฐอเมริกา ทั้งพรรคเดโมแครต และรีพับลิกัน ต่างก็นำเสนอมุมมองทางการเมืองที่แตกต่างกันของกลุ่มกระฎุมพี ซึ่งต่างก็มีมุมมองที่แตกต่างกันเพื่อหาหนทางที่ดีที่สุดในการรักษาระบบทุนนิยมเอาไว้ หากแต่ภายใต้ระบบสังคมนิยม พรรคการเมืองนั้นจะไม่ได้ถูกตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นใดเป็นพิเศษ หากแต่ตั้งขึ้นเพื่อนำเสนอความคิดว่าเราจะมีวิธีการและแผนการทางเศรษฐกิจไหนที่เป็นหนทางที่ดีที่สุดในการลงทุนและวิจัย อะไรคือสิ่งที่สังคมต้องการที่สุดเป็นลำดับแรก ฯลฯ ภายใต้ระบบสังคมนิยมนั้นเราจะพบพรรคการเมืองที่วางรากฐานอยู่บนเรื่องของไอเดียและความต้องการส่วนรวม ไม่ใช่เรื่องชนชั้น
จุดจบของลัทธิชาตินิยม การเหยียดเพศ และการเหยียดเชื้อชาติ
ระบบรัฐชาติตามที่เราเห็นอยู่ในทุกวันนี้นั้นสถาปนาขึ้นด้วยพัฒนาการของระบบทุนนิยมที่เปลี่ยนผ่านมาจากระบบศักดินา และหลายครั้งนั้นเป็นการสถาปนาขึ้นโดยปราศจากเหตุผล (เส้นพรมแดนในหลายประเทศในทวีปแอฟริกานั้นเป็นผลผลิตมาจากการรากเส้นแบ่งพรมแดนตามอำเภอใจของประเทศจักรวรรดินิยม) ในปัจจุบันนี้รัฐชาตินั้นกลายเป็นตัวฉุดรั้งการพัฒนากำลังการผลิตอันทำให้เกิดลัทธิปกป้องการค้าภายใน (protectionism) การแข่งขันระหว่างรัฐ และการควบคุมผู้อพยพข้ามชาติ อีกทั้งรัฐชาตินั้นยังเป็นตัวฉุดรั้งการพัฒนาวัฒนธรรมของมนุษยชาติโดยการหล่อเลี้ยงความคิดชาตินิยมที่เป็นเสมือนพิษร้ายเอาไว้ อันทำให้เกิดการต่อต้านวัฒนธรรมต่างชาติและควบคุมการเคลื่อนย้ายของแรงงานรวมถึงกีดกันวัฒนธรรมย่อยอื่นๆออกไป
การเกิดขึ้นของเขตการค้าเสรีในสหภาพยุโรปนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจของกระฎุมพีนั้นต้องการลดทอนกำแพงเรื่องพนมแดนรัฐชาติลง และวิกฤตที่เกิดขึ้นในเขตยูโรโซนปัจจุบันนี้ก็คือหลักฐานที่ยืนยันว่าการสลายพรมแดนรัฐชาตินั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ภายใต้ระบบทุนนิยม ระบบสังคมนิยมนั้นเป็นระบบที่ผสานชนชั้นแรงงานทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกันและทำลายกำแพงเรื่องพรมแดนของรัฐชาติลงรวมถึงการแข่งขันระหว่างรัฐด้วย หากแต่นี่ไม่ได้หมายถึงการทำลายล้างความแตกต่างในเชิงชุมชน หรือความแตกต่างทางวัฒนธรรมลง – หากแต่มันอยู่ภายใต้ระบบที่ภูมิภาคต่างๆนั้นผสานตัวรวมกันอยู่ภายในระบบสังคมนิยมซึ่งย่อมจะไม่เป็นการทำลายอัตลักษณ์ส่วนบุคคลหรือความเป็นปัจเจกบุคคลลง มันเพียงแต่ทำลายระบบภาษีเทียม และกำแพงขวางกั้นอื่นๆที่กระทำต่อผู้คนลง
ประเด็นนี้ได้ถูกเขียนขึ้นและชี้ให้เห็นในข้อเขียนของพรรคแรงงานฝรั่งเศสเมื่อประมาณ 120 ปีที่ผ่านมา ในหัวข้อเรื่อง Patriotism and Socialism ซึ่งอภิปรายถึงคุณธรรมของความเป็นสากลนิยม เอาไว้ดังนี้
“สากลนิยมนั้นย่อมจะไม่หยุดห้ามปรามเราจากการเป็นผู้รักชาติ (patriotic) หากแต่มันจะเป็นการสร้างความงอกงามอย่างสมบูรณ์ให้แก่มนุษยชาติ ดังเช่นที่เราเห็นได้จากช่วงจบของศตวรรษล่าสุด ที่แม้ว่าพวกเรานั้นต่างก็เป็นคนฝรั่งเศส หากแต่เราก็ยังเป็นผู้ที่มาจากโปรวองซ์ บูรบอง เบลเยียม และบรีตัน”
หรืออาจจะกล่าวได้ว่า แม้กระทั่งการปฏิวัติกระฎุมพีที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศส และเยอรมนี ซึ่งได้เอาชนะเหนือการแบ่งแยกระดับชุมชนที่มาอยู่ร่วมกันในรัฐชาตินั้นก็ไม่ได้ทำลายวัฒนธรรมหรืออัตลักษณ์ท้องถิ่นของผู้คนลง เช่นเดียวกัน สากลนิยมนั้นย่อมหมายถึงการรื้อถอนพรมแดนออกเพื่อสร้างการร่วมมือกันระหว่างผู้คนที่มีเชื้อชาติที่แตกต่างกัน หากแต่มันไม่ได้หมายความว่าเราจะสถาปนากรอบหรือรูปแบบทางอัตลักษณ์แบบเดียวขึ้นมาแล้วเอาไปบังคับใช้กับคนทั่วโลก
การแบ่งแยกผู้คนในวิถีทางอื่นๆนั้นก็ย่อมจะสลายหายไปในระบบสังคมนิยม ตัวอย่างเช่น อคติที่มีต่อผู้หญิง เองเกลอธิบายว่าต้นกำเนิดของการกดขี่ที่มีต่อผู้หญิงนั้นเริ่มต้นขึ้นมาจากระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล หากแต่ในระบบสังคมนิยมนั้นด้วยการทำลายระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลย่อมจะเป็นการ รื้อถอนเงื่อนไขทางวัตถุของการกดขี่ออกไป ในทำนองเดียวกันนั้นระบบครอบครัวตามจารีตซึ่งภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นมีบทบาทเป็นหน่วยย่อยของการขูดรีดที่เล็กที่สุดในระบบทุนนิยม ภายใต้ระบบสังคมนิยมนั้นระบบครอบครัวจะได้รับการปลดปล่อยออกจากข้อจำกัดแบบกระฎุมพีและกิจการภายในครัวเรือนนั้นย่อมจะถูกทำให้กลายเป็นงานทางสังคม ที่จะเปลี่ยนผ่านเอางานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนอันเป็นภาระหน้าที่ที่ผู้หญิงต้องแบกนี้ออกไปและเปลี่ยนให้มันกลายเป็นความรับผิดชอบร่วมของสังคม การทำอาหาร การทำความสะอาด การซักรีด และการดูแลเด็ก นั้นจะต้องถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของกิจการสาธารณะ ดังนั้นแล้วมันย่อมจะเป็นการปลดปล่อยผู้หญิงออกจากห่วงโซ่ของระบบครอบครัวตามจารีต หากแต่นี่ไม่ได้หมายถึงการสั่งห้ามการดำรงชีวิตครอบครัวตามขนบธรรมเนียมจารีตเดิม หากว่ามีคนต้องการ แต่เราเพียงทำลายความจำเป็นของมันลง ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวนี้ กฎหมายที่บังคับเหนือการแต่งงาน การหย่าร้าง และการทำแท้งนั้นย่อมจะหมดความจำเป็น
พรรคบอลเชวิคนั้นได้สร้างความก้าวหน้าตามแนวทางนี้ภายหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคม เมื่อปี 1917 ทรอสกี้ได้อธิบายถึงเป้าหมายของรัฐสังคมนิยมในบทความบนหนังสือพิมพ์ Pravda ในเดือนกรกฎาคม ปี 1923 ซึ่งมีชื่อบทความว่า From the Old Family to the New ทรอสกี้เขียนว่า
“การเตรียมการเชิงกายภาพเพื่อสร้างเงื่อนไขสำหรับชีวิตใหม่และระบบครอบครัวใหม่นั้นไม่สามารถที่จะแยกขาดจากการทำงานทั่วไปในการสถาปนาสังคมนิยมได้ รัฐของชนชั้นแรงงานนั้นจะต้องเจริญรุ่งเรืองขึ้นเพื่อที่จะสร้างความเป็นไปได้อย่างจริงจังเพื่อที่จะสามารถรองรับระบบการศึกษาสาธารณะของเยาวชนและปลดปล่อยระบบครอบครัวจากภาระการทำงานในครัว และโรงซักรีด การเปลี่ยนงานภายในครัวเรือนและระบบการศึกษาฟรีให้กลายเป็นกิจกรรมทางสังคมเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้หากปราศจากการพัฒนาอย่างชัดเจนในระบบเศรษฐกิจทั้งหมดของเรา เราต้องการรูปแบบของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมที่มากขึ้น มีเพียงแต่ภายใต้เงื่อนไขนี้เท่านั้นที่จะทำให้เราสามารถปลดปล่อยครอบครัวออกจากลักษณะและการกดขี่ที่มันเป็นอยู่ในปัจจุบันได้ การซักรีดนั้นจะถูกดำเนินการด้วยบริการซักรีดสาธารณะ การทำอาหารนั้นจะถูกดำเนินการด้วยบริการร้านอาหารสาธารณะ งานเย็บปักถักร้อยทั้งหมดนั้นจะถูกดำเนินไปด้วย และเด็กๆนั้นจะได้รับการศึกษาจากคุณครูสาธารณะที่ดีที่สุด อันเป็นครูที่มีความต้องการจะทำอาชีพครูอย่างจริงจัง เมื่อนั้นแล้วพันธะระหว่างสามีและภรรยานั้นย่อมจะได้รับการปลดปล่อยจากเงื่อนไขทุกสิ่งทุกอย่าง และมันจะทำให้ไม่มีใครที่ต้องคอยแบกรับชีวิตของคนอื่น แก่นแท้ของความเท่าเทียมนั้นจะถูกสถาปนาขึ้นอย่างแท้จริงในท้ายที่สุด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมันจะทำให้เกิดความมั่นคงภายใน แต่ไม่ใช่ความมั่นคงแบบเดิม มันจะเป็นความมั่นคงสำหรับทุกคน ที่ไม่ได้เกิดจากการบังคับขืนใจใคร”
ดังเช่นที่ทรอสกี้อธิบาย การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ย่อมจะดำเนินไปพร้อมกับการทำลายการเลือกปฏิบัติและอคติอื่นๆ อย่างเช่น การเหยียดเพศ (homophobia) ซึ่งภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นมันถูกใช้โดยชนชั้นปกครองเพื่อสร้างการแบ่งแยกกันขึ้นภายในหมู่ชนชั้นแรงงาน อันที่จริงแล้วภายหลังการปฏิวัติปี 1917 นั้นด้วยการนำของเลนิน และทรอสกี้ พรรคบอลเชวิคได้ดำเนินนโยบายอันก้าวหน้าในการปฏิรูปเช่น การยกเลิกกฎหมายปราบปรามกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน
อคติในการเหยียดเชื้อชาติเองก็ย่อมไม่สามารถจะดำรงอยู่ได้ภายใต้ระบบสังคมนิยม การเหยียดเชื้อชาตินั้นก็เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ชนชั้นนำใช้เพื่อทำให้ชนชั้นแรงงานนั้นแตกแยกกันเองและทำให้นายจ้างนั้นสามารถขูดรีดแรงงานได้ง่ายดายยิ่งขึ้น มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่การต่อต้านแรงงานข้ามชาติ การต่อต้านผู้อพยพ และวาทกรรมเหยียดเชื้อชาตินั้นโดดเด่นขึ้นอย่างมากในห้วงเวลาของวิกฤตทุนนิยมเมื่อชนชั้นกระฎุมพีนั้นพบว่ามันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับช่วยให้พวกเขาสามารถขูดรีดแรงงานได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น
ภายใต้ระบบสังคมนิยมนั้น ในท้ายที่สุดแล้วมันจะทำลายเงื่อนไขทางวัตถุทั้งหมดที่ทำให้เกิดการเหยียดเชื้อชาติขึ้นมาเช่นเดียวกับการที่มันจะทำลายระบบการแบ่งแยกชนชั้นลง แม้กระทั่งในตัวอย่างที่อาจจะบิดเบี้ยวไปบ้าง แต่สหภาพโซเวียตนั้นก็ได้มอบหนทางบางอย่างที่สามารถทำให้เกิดความก้าวหน้านี้ได้ ภาพศิลปะโฆษณาชวนเชื่อของโซเวียตนั้นจำนวนมากนั้นเป็นภาพของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติที่มาร่วมกันต่อสู้เพื่อระบบสังคมนิยม เพื่อจะตอกย้ำว่าการต่อสู้เพื่อระบบสังคมนิยมนั้นจะต้องดำเนินไปด้วยชนชั้นแรงงานทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้นในช่วงเวลาของสงครามเย็นนั้นสหภาพโซเวียตได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือในการสร้างระบบการศึกษาฟรีให้แก่ประชาชนในทวีปแอฟริกา และก่อตั้ง Patrice Lumumba Peoples’ Friendship University มหาวิทยาลัยที่ตั้งชื่อตามผู้นำการปฏิวัติฝ่ายซ้ายชาวคองโก ในขณะที่ผุ้นำประเทศทุนนิยมอย่างสหรัฐอเมริกานั้นยังคงมีการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติมาจนกระทั่งถึงช่วงกลางทศวรรษที่ 1950
นอกเหนือจากการรื้อถอนปัจจัยทางวัตถุสำหรับการสร้างอคติและการกดขี่ต่างๆแล้ว กระบวนการ ของการปฏิวัติและการสร้างสังคมภายใต้ระบบสังคมนิยมขึ้นมานั้นย่อมจะทำลายอคติเหล่านี้ลงไปด้วยตัวมันเอง ในบริบทของการปฏิวัติสังคมนิยมนั้นปมปัญหาเรื่องชนชั้นจะถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นนำ ในขณะที่การแบ่งแยกหรือเลือกปฏิบัติอื่นๆทางด้าน เชื้อชาติ เพศ และเรื่องอื่นๆนั้นจะกลายเป็นเรื่องรองลงมา
การนัดหยุดงานของคนงานเหมืองในอังกฤษระหว่างปี 1984-1985 นั้นถือเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับอิทธิพลของกระบวนการปฏิวัติที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างเพศ Loretta Loach นั้นได้อธิบายเอาไว้ในหนังสือของเธอว่าด้วยผู้หญิงในขบวนการคนงานเหมือง โดยอธิบายถึงความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายภายในชุมชนของชนชั้นแรงงานในขณะนั้น อันเป็นผลมาจากการต่อสู้ร่วมกันของพวกเขาในการต่อต้านรัฐบาลทุนนิยมของ Thatcher ซึ่ง Loretta Loach ได้อธิบายไว้ดังนี้
“เมื่อปัญหายิ่งเผชิญความยากลำบากที่มากขึ้น กลุ่มผู้หญิงก็ยิ่งแข็งแกร่งมากขึ้น พวกเธอเริ่มต้นที่จะเข้าร่วมการเดินขบวนเคียงข้างกับผู้ชาย และเข้าร่วมในการระดมพล รวมทั้งเข้าประชุม และเรียนรู้การต่อสู้อยู่ตลอดเวลา จากที่เคยเป็นกลุ่มแรงงานซึ่งไม่มีความคิดทางการเมือง ในตอนนี้ผู้หญิงได้กลายมาเป็นขุมกำลังใหม่ที่ปรากฏตัวขึ้นราวกับสิ่งที่ถูกสวรรค์ประทานมา พวกเธอเข้าร่วมการต่อสู้และยืนยันในการประชุมถึงความจำเป็นในการเรียกร้องค่าแรงที่สูงขึ้นเพื่อดำเนินการภารกิจในการต่อสู้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง”
ในการต่อสู้เพื่อระบบสังคมนิยมนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือความมุ่งมั่นที่จะไปสู่การปฏิวัติสังคมนิยม อันเป็นทักษะพิเศษที่ไม่ได้ถูกผูกขาดเอาไว้กับกลุ่มคนในเพศไหน หรือเชื้อชาติใดเป็นเฉพาะ บรรดาการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติทั้งหลายนั้นจะต้องพังทลายลงในกระบวนการของการต่อสู้ร่วมกันของชนชั้นแรงงาน
ความเจริญรุ่งเรืองของวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม
ในสหภาพโซเวียตซึ่งมีการดำเนินโครงการขยายอัตราการรู้หนังสือ และการเปิดห้องสมุดสาธารณะจำนวนมากนั้น ซึ่งทำให้ผู้คนจำนวนมากสามารถอ่านออกเขียนได้ และสามารถได้รับการศึกษา ทั้งในทางทฤษฎี การเขียนกวี รวมถึงองค์ความรู้ใดๆก็ตามที่เขาต้องการแล้วมันย่อมจะทำให้ระดับความเจริญทางวัฒนธรรมนั้นขยับตัวสูงขึ้นไปได้อีกอย่างรวดเร็ว
ในเวเนซุเอลา ภายใต้การปกครองของ Hugo Chavez ซึ่งได้นำเอานโยบายแบบสังคมนิยมจำนวนมากไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติโบลิวาร์ (Bolivarian Revolution) การดำเนินนโยบายการศึกษาฟรีและการขยายจำนวนผู้รู้หนังสือนั้นทำให้คนจำนวนกว่า 1.5 ล้านคนที่ไม่ได้รับการศึกษาสามารถอ่านออกเขียนได้และได้รับการศึกษา อันจะเห็นได้จากกระแสที่เติบโตขึ้นอย่างมหาศาลในวงการวรรณกรรมของเวเนซุเอลา ตามความเห็นของ Boris Munoz นักข่าวชาวเวเนซุเอลานั้นให้ความเห็นว่าวงการวรรณกรรมเวเนซุเอลานั้น “สามารถเข้าถึงผู้อ่านที่ขยายตัวมากขึ้นผ่าน วรรณกรรมสไตล์นัวร์ (Noir fiction) วรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ โดยไม่มีการยกเลิกอัตลักษณ์ของวรรณกรรมแบบชาวเวเนซุเอลาไปเลย” นอกจากนั้นนักวิจารณ์วรรณกรรมอย่าง Antonio Lopez Ortega นั้นได้อธิบายถึงวรรณกรรมเวเนซุเอลาว่าเป็น “ความลับที่ถูกเก็บไว้อย่างดีของแคริบเบียน” ในขณะที่ในปี 2006 นั้นงานวรรณกรรมของชาวเวเนซุเอลานั้นชนะรางวัล Herralde Award เป็นครั้งแรก ยิ่งไปกว่านั้น ในงานมหกรรมหนังสือสากล La Paz ในปี 2006 นั้น ประเทศเวเนซุเอลาได้บริจาคหนังสือจำนวนกว่า 25,000 เล่มเพื่อแจกฟรีให้กับประชาชนในเมือง La Paz และเมืองใกล้เคียงอย่าง El Alto แทนที่จะนำมันไปขายเพื่อหากำไรจากนักท่องเที่ยว วิถีคิดและการพัฒนาแบบดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นได้ก็แต่เพียงในประเทศที่หยิบใช้ทรัพยากรที่มีเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของคนส่วนใหญ่ แทนที่จะนำไปใช้เพื่อสร้างกำไรให้กับคนส่วนน้อย บนรากฐานนี้แล้วเราลองจินตนาการว่ามันจะเกิดความรุ่งเรืองหรือความสำเร็จขนาดไหนหากว่าการพัฒนานี้ดำเนินไปภายใต้ระบบสังคมนิยมเต็มรูปแบบพร้อมกันทั่วโลก
และปมปัญหานี้นั้นเป็นสิ่งที่จะต้องขยับไปไกลกว่าเพียงแค่การขยายอัตราการรู้หนังสือ ระบบสังคมนิยมนั้นจะมอบโอกาสในอนาคตอย่างเต็มที่ให้กับคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอนาคตอันมืดมนของคนรุ่นใหม่ภายใต้ระบบทุนนิยม ระบบสังคมนิยมนั้นจะสร้างแรงบันดาลให้กับความก้าวหน้าอย่างยิ่งใหญ่ในด้านศิลปะและปรัชญา มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่นักปรัชญากระฎุมพีที่ยิ่งใหญ่นั้นเขียนงานอันยิ่งใหญ่ขึ้นมากมายในช่วงต้นกำเนิดของระบบทุนนิยม เมื่อสังคมนั้นได้หลุดออกจากความอ่อนเปลี้ยของระบบศักดินาและขยับไปสู่อนาคตอันสดใสภายใต้ระบบทุนนิยม เช่นเดียวกันกับศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ในยุคนั้นเช่น - Da Vinci, Beethoven, Shakespeare ฯลฯ – ซึ่งสร้างผลงานออกมาจากแรงบันดาลใจที่เกิดจากการปฏิวัติของชนชั้นกระฎุมพีที่ต่อต้านระบบและธรรมเนียมเก่าของระบบศักดินา ความก้าวหน้าทางวัฒนธรรมแบบดังกล่าวนั้นย่อมจะเกิดขึ้นในการกำเนิดของระบบสังคมนิยม หากแต่มันจะเริ่มต้นด้วยองค์ความรู้ในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา อันจะทำให้งานด้านวัฒนธรรมที่จะเกิดขึ้นภายใต้ระบบสังคมนิยมนี้กลายเป็นสิ่งที่พัฒนาขึ้นสูงอย่างไม่มีขีดจำกัดแบบที่เราไม่เคยได้พบเห็นมาก่อน
ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนนั้นย่อมจะก่อให้เกิดการลงทุนที่มีเหตุมีผลในด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภพยิ่งกว่าการกระทำภายใต้ระบบทุนนิยม ระบบการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพอันโด่งดังของคิวบานั้นก็เป็นผลลัพธ์หนึ่งที่เกิดจากการวางแผนการลงทุนที่มีเหตุมีผลในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และความมีประสิทธิภาพของมันนั้นก็ได้แสดงให้เราเห็นอย่างเด่นชัดครั้งแล้วครั้งเล่า อย่างเช่นในกรณีล่าสุดที่มาตรการรักษาพยาบาลและต่อสู้กับไวรัสอีโบลานั้นถูกพัฒนาขึ้นโดยคิวบา หรือจากสัดส่วนหมอต่อจำนวนประชากรดังเช่นที่เรายกตัวอย่างไว้แล้วก่อนหน้านี้
และเมื่อกล่าวถึงปมปัญหาทางวิทยาศาสตร์ว่าด้วยปัญหาสภาวะโลกร้อนนั้นก็ดูเหมือนว่ามันจะมีเพียงแต่ระบบสังคมนิยมเท่านั้นที่จะสามารถช่วยเหลือเราจากวิกฤตการณ์นี้ได้ เพราะสิ่งที่เราจำเป็นและต้องการที่สุดนั้นก็คือการสร้างความร่วมมือระดับสากลในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพอากาศนี้ – ซึ่งมันจะต้องไม่ถูกขัดขวางโดยเรื่องการสร้างกำไรหรือกรอบเรื่องพรมแดนรัฐชาติ ในขณะที่ข้อเสนอนี้นั้นเป็นเสมือนภาคแย้ง (antithesis) โดยตรงต่อระบบทุนนิยม มันก็เป็นสิ่งที่อธิบายถึงระบบสังคมนิยมอย่างถูกต้อง ด้วยการวางแผนทางวิทยาศาสตร์ในระดับสากลเพื่อจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และบรรเทาผลกระทบของมันนั้น เราย่อมจะสามารถแก้ไขปัญหาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่มนุษยชาติกำลังเผชิญลงได้อย่างแน่นอน
เทคโนโลยีของเราในปัจจุบันนั้นทำให้เราสามารถผลิตพลังงานได้จากลม คลื่นทะเล และแสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถผลิตพลังงานได้มากพอสำหรับหล่อเลี้ยงโลกทั้งใบได้ ในปี 1986 นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันนาม Gerhard Knies นั้นพบว่าในช่วงเวลาหกชั่วโมงนั้นพื้นที่ทะเลทรายบนโลกได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่มากกว่าการบริโภคพลังงานเสียอีก นั่นหมายความว่าการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในทะเลาทรายซาฮารา โดยใช้พื้นที่เท่ากับแคว้นเวลส์นั้นจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากพอจะป้อนให้กับทวีปยุโรปทั้งทวีปได้ การใช้วิธีการนี้นั้นย่อมจะเป็นการยกเลิกการใช้พลังงานถ่านหิน ซึ่งย่อมจะเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างมาก หากแต่มันย่อมจะไม่เกิดขึ้นภายใต้ระบบทุนนิยมอันเนื่องมาจากการกระทำแบบดังกล่าวนั้นไม่ก่อให้เกิดกำไรแก่ชนชั้นนายทุน ผู้ที่ลงทุนอย่างมากไปในกลุ่มพลังงานถ่านหิน ระบบทุนนิยมนั้นไม่มีศักยภาพที่จะวางแผนเพื่ออนาคตในระยะยาวได้ มันทำได้เพียงวางแผนระยะสั้นเพื่อหวังเก็บเกี่ยวเอากำไรเท่านั้น ในมุมมองแบบนายทุนนั้นการปล่อยควันพิษทำลายโลกนั้นเป็นราคาที่พวกเขายอมจ่ายได้เพื่อที่จะได้รับกำไรที่มากขึ้น แต่ในทางกลับกันนั้นกลายเป็นประชาชนผู้ยากจนจำนวนมากของโลกต่างหากที่ต้องมาแบกรับเอาผลกระทบที่เกิดจากสภาวะโลกร้อนขึ้น มีเพียงแต่การวางแผนอย่างมีเหตุมีผลในระยะยาวที่เป็นประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะช่วยให้เรารักษาโลกใบนี้เอาไว้ได้
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในการสำรวจอวกาศนั้นก็ย่อมจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นภายใต้การใช้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน แทนที่จะใช้ระบบเดิมที่แต่ละประเทศต่างก็ผลิต และปล่อยยานอวกาศ รวมถึงส่งดาวเทียมและอุปกรณ์ต่างๆของตัวเองในอวกาศ อันที่จริงในปัจจุบันนี้ กระทั่งบรรดาบริษัทของมหาเศรษฐีทั้งหลายก็พยายามที่จะดำเนินภารกิจเดินทางไปดาวอังคารด้วยตัวเอง หากแต่การใช้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนนั้นจะช่วยให้การสำรวจอวกาศนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังเช่นที่เกิดขึ้นกับสหภาพโซเวียตที่เป็นประเทศแรกซึ่งสามารถส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศได้
จุดจบแห่งการเริ่มต้น
ภายใต้ระบบสังคมนิยมนั้นมันจะยังมีนักมาร์กซิสต์อยู่ไหม? ภายหลังชัยชนะของการปฏิวัติสังคมนิยมแล้วทฤษฎีมาร์กซิสต์จะยังเป็นสิ่งที่มีบทบาทอยู่หรือไม่? ในปัจจุบันนั้นมาร์กซิสม์นั้นเป็นเพียงเครื่องมือทางการเมือง และบรรดาผู้ที่ศึกษาความคิดแบบมาร์กซิสม์และพยายามนำมันไปสู่การปฏิบัติการณ์ก็เป็นเพียงนักกิจกรรมทางการเมืองเท่านั้น
อย่างไรก็ตามภายใต้ระบบสังคมนิยมนั้น ปรัชญาของมาร์กซิสม์ หรือก็คือ หลักวัตถุนิยมวิภาษวิธีนั้น ย่อมจะยังคงเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการวิเคราะห์พัฒนาการของสังคม และยิ่งไปกว่านั้นมันย่อมจะกลายไปเป็นองค์ประกอบด้านจิตสำนึกในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม ดังเช่นที่เราเห็นในปัจจุบันว่าปรัชญาแบบนดังกล่าวได้แทรกตัวอยู่พื้นที่ที่แตกต่างกันของวิทยาศาสตร์ อย่างเช่น ในการวิจัยเกี่ยวกับควอนตัม และทฤษฎีความวุ่นวาน (chaos theory) หากแต่มันจะปรากฏอย่างชัดเจนมากขึ้นในฐานะขององค์ประกอบในการทำความเข้าใจต่อสังคมของเรา จิตสำนึกของมนุษยชาตินั้นย่อมจะพัฒนาสูงขึ้นและพัฒนาไปอย่างรวดเร็วภายใต้ระบบสังคมนิยม ดังเช่นที่ปรัชญาแบบเสรีนิยมและเหตุผลนิยมนั้นได้แสดงบทบาทสำคัญภายใต้ระบบทุนนิยม ในทางเดียวกันนั้นมาร์กซิสม์นั้นย่อมจะมีบทบาทสำคัญภายใต้สังคมนิยม
ระบบสังคมนิยมนั้นหมายถึงการสิ้นสุดลงของสังคมที่การดำรงอยู่ของมนุษย์นั้นดำเนินไปภายใต้การกดขี่และขูดรีดจากมนุษย์อีกกลุ่มหนึ่ง มันหมายถึงจุดจบของระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลในระดับกว้างและจุดจบของระบบกำไรส่วนบุคคลและลักษณะอนาธิปไตยของระบบตลาด หากแต่ระบบสังคมนิยมนั้นไม่ได้หมายถึงการยุติปัญหาทั้งหมดในโลกลงในฉับพลันทันที และกลายเป็นการสร้างสวรรค์บนดินที่มนุษย์ทุกคนจะได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขชั่วนิรันดรขึ้นมาในชั่วข้ามคืน เช่นเดียวกันมันไม่ได้หมายถึงจุดจบของประวัติศาสตร์และการพัฒนาสังคมมนุษย์เพิ่มเติม
ในความเป็นจริงแล้วระบบสังคมนิยมนั้นเป็นการเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ มันได้สัญญาว่าจะมอบระบบที่สามารถพัฒนากำลังการผลิตให้ขยายออกไปจนถึงขอบเขตที่มนุษย์นั้นสามารถยุติการทำลายล้างตัวเองและโลกของตัวเองลงได้ และเริ่มต้นการควบคุมชะตากรรมในชีวิตของตัวเองอย่างมีจิตสำนึก
เฮเกลนั้นได้กล่าวไว้ว่า เสรีภาพที่แท้จริงนั้นไม่ได้มาจากความพยายามที่จะอยู่เหนือกฎที่ปกครองโลก หากแต่มาจากการทำความเข้าใจต่อกฎที่ว่า ดังนั้นแล้วกฎเหล่านี้ย่อมจะสามารถถูกใช้ไปเพื่อตอบสนองผลประโยชน์และความผาสุกของเราได้ ทฤษฎีของมาร์กซิสม์นั้นได้มอบความเข้าใจต่อกฎทั้งในทางกายภาพ ทางสังคม และทางเศรษฐกิจ ที่ควบคุมโลกให้แก่เรา และปฏิบัติการของระบบสังคมนิยมนั้นย่อมจะมอบเสรีภาพที่มาจากการหยิบใช้กฎเหล่านั้นเพื่อตอบสนองความผาสุกให้แก่เรา คำถามที่ว่าเราจะทำอย่างไรต่อเสรีภาพที่ได้รับมานั้นย่อมจะเป็นคำถามที่เกี่ยวพันถึงการขับเคลื่อนพัฒนาการของมนุษยชาติทั้งหมดในอนาคตด้วยเช่นกัน.