ชีวประวัติและความคิดของหลุยส์ อัลธูแซร์ (Biography and idea of Louis Althusser)

 

ชีวประวัติและความคิดของหลุยส์ อัลธูแซร์

Biography and idea of Louis Althusser

By MIA. Translated by Jakkapon P.

 

หลุยส์ อัลธูแซร์ (Louis Althusser) เกิดในปี 1918 ที่ประเทศไนจีเรีย และเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ในปารีสเมื่อปี 1948 หลังจากนั้นเขาลงมือสังหารภรรยาของตนเองในปี 1980 จากนั้นก็ถูกส่งตัวไปคุมขังในสถานบำบัดผู้ป่วยทางจิตจนกระทั่งเสียชีวิตลงในปี 1990 ผลงานที่มีอิทธิพลและมีชื่อเสียงของเขาประกอบไปด้วย – For Marx (1965) และ Lenin and Philosophy (1969) โดยงานเหล่านั้นพยายามที่จะนำเสนอการรื้อฟื้นทฤษฎีมาร์กซิสต์ให้กลับไปผสานกับแนวคิดโครงสร้างนิยม (Structuralism) และยังถือได้ว่าของเขานั้นเป็นผลงานชิ้นสำคัญสำหรับสำนักโครงสร้างนิยมสมัยใหม่ อีกทั้งยังเป็นการนำเสนอข้อเสนอสำคัญว่าด้วยการแสดงให้เห็นถึงการแตกแยกขั้นมูลฐานระหว่าง “มาร์กซ์ในวัยผู้ใหญ่” ที่แตกต่างจากความคิดของ “มาร์กซ์ในวัยหนุ่ม”

ในช่วงเวลาที่อัลธูแซร์ได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์นั้น เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ Jean-Paul Sartre อดีตนักอัตถภาวนิยม (Existentialist) ผู้ต่อสู้ในการต่อต้านและแนวร่วมของเขาอย่างเช่นในงานเรื่อง Les Temps Moderne ,และ Maurice Merleau-Ponty อดีตนักปรากฏการณ์นิยม (Phenomenologist) นั้นต่างก็อยู่ท่ามกลางกลุ่มแวดวงปัญญาชนที่สมาทานแนวคิดร่วมกับสหภาพโซเวียตในเวลานั้น ในปี 1945 พคฝ. (PCF – Party Communist of France) นั้นได้รับชัยชนะราว 25 เปอร์เซ็นต์ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกหลังสงคราม และในปี 1946 พรรคก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในรัฐบาลแรกของสาธารณรัฐที่สี่ ภายหลังเดือนพฤษภาคม ปี 1947 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสถกขับออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเนื่องจากผลของ “สงครามเย็น” พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสก็ไม่ได้มีส่วนร่วมทางการเมืองใดๆอีกเลยจนกระทั่งพรรคได้รับชัยชนะในรัฐสภาราว 1 ใน 3 ของที่นั่งทั้งหมดในปี 1968

สภาพการณ์ภายหลังสงคราม (Post-war) นั้นได้มอบพลังดึงดูดให้แก่กลุ่มความคิดแบบอัตถิภาวนิยม (existentialism) เมื่อระบบเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในช่วงทศวรรษที่ 1960 ซึ่งทำให้มันถูกเข้าอทนที่ด้วยกระแสความคิดแบบใหม่นั่นคือกระแสความคิดแบบโครงสร้างนิยม (structuralism) ซึ่งเป็นกระแสความคิดที่ผสานตัวเองเข้ากับความเป็นวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมกับช่วงสมัยแห่งเทคโนโลยีในขณะนั้น ความคิดแบบโครงสร้างนิยมได้กลายไปเป็นความคิดกระแสหลักของแวดวงปัญญาชนในทศวรรษที่ 1960 ในฝรั่งเศส ตัวอย่างเช่น Roman Jakobson ผู้นำเสนอความคิดภาษาศาสตร์แบบโครงสร้างนิยม (linguistic structuralism), Roland Barthes ผู้นำเสนอความคิดวรรษคดีวิพากษ์แบบโครงสร้างนิยม (structuralist literary criticism) และ Levi-Strauss ผู้เสนอความคิดมานุษยวิทยาแบบโครงสร้างนิยม (anthropological structuralism) ต่างก็ได้สร้างประโยชน์ทางวิชาการเอาไว้อย่างมหาศาล ขณะที่หลุยส์ อัลธูแซร์ และ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) ลูกศิษย์ของเขาต่างก็ถูกนับรวมว่าอยู่ภายใต้กระแสความคิดแบบโครงสร้างนิยมนี้ด้วยเช่นกัน นักโครงสร้างนิยมนั้นจะเน้นย้ำอย่างหนักถึงการคงอยู่ของ “โครงสร้างพันลึก” (deep structure) ที่เป็นตัวรองรับวัฒนธรรมทั้งหลายของมนุษย์ ซึ่งจะเปิดโอกาสเพียงเล็กน้อยให้มนุษย์ได้กระทำการตามความคิดของตนเองที่อาจจะก่อให้เกิดได้ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ หรือ ความคิดริเริ่มแปลกใหม่โดยมนุษย์เอง

และเนื่องด้วยการเริ่มศึกษางานเขียนวิพากษ์ประจักษ์นิยมของมาร์กซ์นั้นเองที่ทำให้อัลธูแซร์ปฏิเสธองค์ความรู้แบบประจักษ์นิยมทั้งหมดลง อัลธูแซร์นั้นยืนยันว่าแก่นแท้สำคัญนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะค้นพบได้ในปรากฏการณ์หรือรูปโฉมภายนอก หากแต่เป็นสิ่งที่เราจะสามารถค้นพบมันได้ผ่าน ‘ภาคปฏิบัติการทางทฤษฎี’ (‘theoretical practice’) – “ประวัติศาสตร์ที่บรรจุตัวเองและแสดงตนเองให้เห็นในงานเรื่องว่าด้วยทุนในฐานะของวัตถุของประวัติศาสตร์ ไม่ใช่ในฐานะของวัตถุที่เป็นจริง หากแต่เป็น วัตถุ ‘นามธรรม’ (มโนทัศน์) และมันย่อมไม่ใช่สิ่งที่เป็นวัตถุที่มีรูธรรมที่เป็นจริง” ดังนั้นแล้ว ดังเช่นในงานเขียนของค้านท์ (Kant) ที่ว่า ประวัติศาสตร์ ‘ที่เป็นจริง’ นั้นดำรงอยู่ใน ‘สิ่งที่พ้นไปจากตัวมัน’ อยู่ภายหลัง ‘ทฤษฎีของประวัติศาสตร์’ ซึ่งนั่นคือวัตถุทางองค์ความรู้เดียวที่เป็นจริง อัลธูแซร์นั้นยังได้เสนอความคิดที่ปฏิเสธมโนทัศน์เรื่องความขัดแย้ง (contradiction) ในความคิดของมาร์กซ์ และ เฮเกลอีกด้วย ซึ่งการปฏิเสธนี้คือการปฏิเสธในแง่ที่ว่าอัลธูแซร์นั้นมองมโนทัศน์เรื่องนี้ใหม่ผ่านมุมมองแบบนักโครงสร้างนิยมและเขาให้ชื่อเรียกใหม่แก่มันว่าเป็น “การกำหนดอำนาจเหนือ” (over-determination) อัลธูแซร์นั้นยังมองว่าเนื้อหาในบทแรกๆของหนังสือว่าด้วยทุนของมาร์กซ์นั้นไม่เพียงแต่เป็นกุญแจนำทาง หากแต่ยังเป็นเสมือนกำแพงที่ขวางกั้นการทำความเข้าใจต่อความคิดและมุมมองที่มาร์กซ์มีต่อสังคมทุนนิยมอีกด้วย เขาจึงเขียนคำแนะนำในการอ่านงานเรื่องว่าด้วยทุนว่าควรจะเริ่มต้นการอ่านที่เล่มสอง ไม่ใช่เล่มแรก อัลธูแซร์นั้นนำเสนอความคิดที่ไม่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นลัทธิแก้ หากแต่เป็นการปฏิเสธความคิดของมาร์กซ์อย่างสมบูรณ์ งานเรื่อง On Marx ของเขานั้นถือเป็นงานชิ้นแรกๆที่อัลธูแซร์ได้นำเสนอการวิพากษ์มาร์กซ์ออกมา และในงานเขียนที่มีอิทธิพลอย่างมากของอัลธูแซร์อย่างเช่น For Marx (1965) และ Lenin and Philosophy (1969) ซึ่งได้รวมเอาบทความของเขาเรื่อง “Ideology and Ideological State Apparatuses” ไว้อีกด้วย อัลธูแซร์นั้นมีมุมมองว่าความคิดแบบมนุษย์นิยมของมาร์กซ์นั้นเป็นสิ่งที่เป็นความคิดเพียงชั่วคราว เป็นความคิดที่อยู่ภายใต้อิทธิพลแบบฟอยเออร์บาค ซึ่งท้ายที่สุดแล้วมันจะถูกข้ามผ่านไปด้วยการพยายามที่จะทำการศึกษาสังเกตโครงสร้างของสังคมกระฎุมพีอย่างเป็นวิทยาศาสตร์

ในห้วงเวลาเดียวกันนั้น “ลัทธิคอมมิวนิสต์สายยุโรปตะวันตก” (Eurocommunism) ก็ได้กลายไปเป็นกระแสหลักท่ามกลางพรรคคอมมิวนิสต์ต่างๆในยุโรปในระหว่างช่วงทศวรรษที่ 1970 และ 1980 และนำไปสู่การแยกตัวเองเป็นอิสระจากพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต พร้อมกับนำเสนอนโยบายที่วางรากฐานอยู่บนกลุ่มพลังทางสังคมภายในประเทศของตนเองแทน แนวโน้มแบบดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการเสื่อมถอยในการสนับสนุนอำนาจบังคับบัญชาของพรรคสตาลินนิยม (Stalinist Parties) จากช่วงทศวรรษที่ 1950 อันเนื่องมาจากความล้มเหลวของระบอบสตาลินในการแก้ไขปัญหาภายในสหภาพโซเวียต การปราบปรามการลุกฮือของชาวฮังการีอย่างรุนแรงในปี 1956 และการรุกรานสโลวาเกียในปี 1968 นั้นทำให้นักคอมมิวนิสต์จำนวนมากในยุโรปตะวันตกนั้นแปลกแยกตนเองออกจากโซเวียต

ลัทธิคอมมิวนิสต์สายยุโรปตะวันตกนั้นเป็นคำที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการครั้งแรกในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 และกลายเป็นคำที่ได้รับความนิยมและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางภายหลังการเผยแพร่งานเรื่อง Eurocommunism and the State (1977) โดย Santiago Carrillo

ในช่วงทศวรรษที่ 1970 นี้เองที่ความคิดแบบโครงสร้างนิยมนั้นได้เปิดหนทางให้แก่การถือกำเนิดของกลุ่มความคิดใหม่ที่เรียกว่า “ความคิดแบบหลังโครงสร้างนิยม” (post-structuralist) ซึ่งนักคิดที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสายความคิดนี้ได้แก่ ฌาร์ค ดาริดา (Jacques Derrida), มิเชล ฟูโกนต์ (Michel Foucault) และ ฌาร์ค ลาก็อง (Jacques Lacan)

 

ว่าด้วยความคิดและทฤษฎีของอัลธูแซร์

ความสัมพันธ์ทางการผลิต → กลไก → อุดมการณ์ → องค์ประธาน

Relations of production → Apparatus → Ideology → Subject

 

มโนทัศน์เรื่อง องค์ประธาน (subject) ของอัลธูแซร์นั้นเป็นสิ่งที่ต่อเนื่องมาจากมโนทัศน์เรื่อง อุดมการณ์ ของเขาที่กล่าวว่า

“อุดมการณ์นั้นมีการทำงาน (ที่เป็นตัวกำหนดนิยามของตัวมันเอง) ในการ ‘สถาปนา’ ปัจเจกบุคคลที่เป็นรูปธรรมให้กลายไปเป็นองค์ประธาน อุดมการณ์นั้นจึงไม่ใช่อะไรเลยนอกไปจากกระบวนการทำงานในรูปแบบการดำรงอยู่เชิงวัตถุของการทำงานดังกล่าวนั้น”

[Althusser 1971]

และอุดมการณ์และตัวองค์ประธานผู้กระทำนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะแยกออกได้จาก ภาคปฏิบัติการ (practice) ดังนี้

“1.ไม่มีภาคปฏิบัติการใดดำรงอยู่ได้ ยกเว้นแต่ว่ามันจะดำรงอยู่โดยและดำรงอยู่ในอุดมการณ์                                              2.ไม่มีอุดมการณ์ใดจะดำรงอยู่ได้ ยกเว้นแต่ว่ามันจะดำรงอยู่โดยองค์ประธาน และดำรงอยู่เพื่อองค์ประธาน”

[Althusser 1971]

และทั้งภาคปฏิบัติการและอุดมการณ์นั้นต่างก็จะถูกทำความเข้าใจโดยตรงผ่านมโนทัศน์ของอัลธูแซร์ว่าด้วย มโนทัศน์เรื่องสถาบันต่างๆที่ซึ่งภาคปฏิบัติการได้ดำรงอยู่ นั่นคือ “กลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ” (กอร. – Ideological State Apparatuses – ISAs.) อันเป็นสถาบันที่ถูกสถาปนาขึ้นโดยอุดมการณ์ที่จะทำให้กิจกรรมทั้งหลายของผู้คนนั้นถูกประกอบสร้างขึ้นเป็นภาคปฏิบัติการทางสังคม (social practice)

รัฐในความหมายแบบมาร์กซิสต์สำนักดั้งเดิม (orthodox Marxist) นั้น มีอีกส่วนประกอบหนึ่งที่เราเรียกว่าเป็น “กลไกด้านการปราบปรามของรัฐ” (กปร. – Repressive State Apparatus – RSA.) อันเป็นองค์กรที่ใช้ความรุนแรงที่ถูกใช้อำนาจโดยชนชั้นปกครอง (ชนชั้นนายทุน) เพื่อธำรงรักษาเงื่อนไขสำหรับการผลิตและการผลิตซ้ำความสัมพันธ์ทางการผลิต (แบบทุนนิยม) ทั้ง กอร. และ กปร. นั้นเป็น เครื่องมือ ที่ถูกถือครองและหยิบใช้โดยอำนาจรัฐ กล่าวคือ ถูกใช้โดยชนชั้นทางสังคมที่มีอำนาจเหนือ (ชนชั้นกระฎุมพี) การทำงานของกลไกทั้งสองนั้นหยิบใช้ทั้งวิธีการทางอุดมการณ์และความรุนแรง การใช้ความรุนแรงนั้นจะถูกใช้ในฐานะของอาวุธขั้นสุดท้าย โดยที่ กปร. นั้นจะใช้ด้านความรุนแรงเป็นตัวนำ ขณะที่ กอร. นั้นจะใช้การทำงานทางอุดมการณ์เป็นตัวนำ

แล้ว กอร. นั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง? อัลธูแซร์ได้ยกตัวอย่างคร่าวๆเอาไว้ว่า กอร. นั้นประกอบไปด้วย ศาสนสถาน, ครอบครัว, ระบบกฎหมาย, ระบบการเมืองที่ประกอบไปด้วยพรรคการเมืองหลากหลายพรรค, สหภาพแรงงาน, สื่อ, “กลไกทางอุดมการณ์ของรัฐในเชิงวัฒนธรรม” (“Cultural ISA” ประกอบไปด้วย บรรดาศิลปิน และสถาบันต่างๆที่เผยแพร่, ตีพิมพ์, ให้การเรียนการสอน, สนับสนุน, นำเสนองานวรรณกรรมและศิลปะ ฯลฯ) และตามความคิดของอัลธูแซร์แล้วนั้นกลไกทางอุดมการณ์ที่มีลักษณะนำนั้นคือระบบการศึกษา

 

ว่าด้วยองค์ประธาน

 

มโนทัศน์เรื่องนี้นั้นเป็นสิ่งเดียวกับมโนทํสน์เรื่อง ชนชั้น ที่มีผลประโยชน์ มีจิตสำนึก และมีอำนาจที่กระทำการอยู่ในสังคมและประวัติศาสตร์ และคำว่าองค์ประธานในที่นี้นั้นในทางหนึ่งกำเนิดขึ้นมาเนื่องจากว่าอัลธูแซร์มองว่าชนชั้นต่างๆนั้นเป็น “องค์ประธาน” ในประวัติศาสตร์ หากแต่ในเวลาเดียวกันนั้นอัลธูแซร์ก็ยืนยันว่ามัน ไม่มี การกระทำขององค์ประธานใดในประวัติศาสตร์ เพราะประวัติศาสตร์นั้นเป็นกระบวนการที่ปราศจากองค์ประธาน ในงานเรื่อง “Marxism and Humanism” นั้นเขากล่าวว่าใน “ทฤษฎีประวัติศาสตร์แบบมาร์กซิสต์นั้น ‘องค์ประธาน’ ของประวัติศาสตร์ก็คือ สังคมมนุษย์ที่ดำรงอยู่ในห้วงเวลานั้นๆ” (ต้องย้ำเตือนอีกครั้งว่า ตัวมาร์กซ์เองนั้นปฏิเสธความคิดว่าด้วย ‘สังคม’ ในฐานะที่เป็นการเชื่อมโยงกันของส่วนประกอบต่างๆทั้งหมด และคงเหลือแต่องค์ประธานเพียงอย่างเดียว) หากแต่อัลธูแซร์ก็บอกเป็นนัยยะว่าตัวเขาเองไม่สามารถจะแชร์มโนทัศน์นี้ออกไปด้วยการนำเอาข้อความอ้างอิงมาวางไว้รอบคำว่า ‘องค์ประธาน’ เพียงเฉยๆได้ อัลธูแซร์นั้นยังได้หักล้างความคิดที่ว่าประวัติศาสตร์นั้นเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นจากจิตวิญญาณแบบเฮเกลเลียน (Hegelian Spirit) หรือถูกสร้างจาก องค์ประธานใหญ่ (Subject), มนุษย์, หรือจากความคิดที่อัลธูแซร์ให้เหตุผลและเรียกมันว่าเป็นความคิดของ “มาร์กซ์ในวัยหนุ่ม” และถ้าหากว่าประวัติศาสตร์นั้นไม่ใช่สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นจาก องค์ประธานใหญ่ (ที่เป็นเอกเทศ) แล้ว โดยแง่นี้เอง เราย่อมจะขยับไปสู่การสันนิษฐานได้ว่าถึงที่สุดแล้วมันย่อมจะไม่มีการกระทำขององค์ประธานใดๆ (ที่หลากหลาย) ในประวัติศาสตร์

สถาบันทางสังคม อย่างเช่น กลไกของรัฐ นั้นเป็นเครื่องมือที่ถูก หยิบใช้ โดยชนชั้นที่เป็นผู้ครองอำนาจรัฐ ชนชั้นจึงเป็นผู้ครองอำนาจ, เป็นผู้ใช้อำนาจ, ทำการต่อสู้เพื่อเอาชนะหรือผูกมิตรกับชนชั้นอื่นๆ การต่อสู้ทางชนชั้นนั้นเป็นมโนทํศน์แกนกลางของอัลธูแซร์เขาเสนอว่า “อุดมการณ์นั้นแสดงให้เห็นถึงจุดยืน ทางชนชั้น ออกมาอยู่เสมอ” หากแต่อัลธูแซร์ก็ไม่ได้ยึดมั่นว่าการกระทำของชนชั้นนั้นเป็น “ศูนย์กลางของการเริ่มต้น, เป็นผู้กำหนดการกระทำและเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำที่เกิดขึ้น” (อ้างตามคำนิยามตามภาษาของอัลธูแซร์) ซึ่งกลายเป็นการยืนยันการที่มันจะถูกเรียกว่าเป็นองค์ประธาน อัลธูแซร์นั้นพูดถึงชนชั้นในแง่ที่ว่า ถ้าหาก มันเป็นองค์ประธาน (ชนชั้นมีผลประโยชน์ภายในตนเอง, มีการต่อสู้ ,มีจิตสำนึกของชนชั้น) หากแต่สำหรับ Descartes นั้นเขาจำกัดความคิดเรื่ององค์ประธานให้อยู่ภายใต้กรอบแบบ ปัจเจกบุคคลที่เป็นรูปธรรม เท่านั้น แต่ทว่าหากเราใช้กรณีที่เป็นองค์ประธานปัจเจกบุคคลเราก็จะเห็นได้ว่า การกลายไปเป็นองค์ประธานนั้นไม่ได้มีความหมายตรงตัวตามที่เนื้อหาของมันพยายามสื่อ

ด้วยการปฏิเสธมโนทัศน์เรื่อง องค์ประธานใหญ่ ที่เป็นเอกเทศ (singular Subject) ในการทำงานทางประวัติศาสตร์ (นั่นคือ พระเจ้าในทุกเป้าประสงค์และทุกเจตนาที่มันต้องการสื่อ) อัลธูแซร์ก็เห็นว่าตัวเขาเองนั้นได้จัดการความคิดทั้งมวลว่าด้วยองค์ประธาน แบบองค์รวม (collective subject) เรียบร้อยแล้วไม่ว่ามันจะเป็น มโนทัศน์ ‘แบบวิทยาศาสตร์’ ขององค์ประธาน แบบองค์รวม (เช่น ชาติ, การเคลื่อนไหวทางสังคม, สถาบันทางสังคม หรือ ชนชั้นทางสังคม) หรือจะเป็น มโนทัศน์ ‘แบบจิตวิญญาณ’ อย่างที่เฮเกลได้เคยนำเสนอ เช่นเดียวกับมุมมองของ Kant และ Descartes สำหรับอัลธูแซร์แล้วเขามองว่า องค์ประธานนั้นเป็นปัจเจกบุคคล คำถามสำคัญคือแล้วเมื่อไหร่หรือการดำรงอยู่แบบไหนที่จะทำให้ปัจเจกบุคคลถูกนับว่าเป็นองค์ประธาน

สิ่งที่อัลธูแซร์พลาดไปนั่นก็คือการที่เขาไม่ได้ทำการพิจารณาในแง่มุมอื่นๆที่เป็นไปได้ เช่น การพิจารณาด้วยการควบรวมความคิดเข้าในรูปแบบที่เป็นเหตุเป็นผลของการสมัครใจโดยรวม, ระบบการตระหนักถึงจิตสำนึกในตนเองของกิจกรรมหรือการเคลื่อนไหวทางสังคม, ผู้คนนั้นสามารถที่จะขยับขึ้นไปสู่ระดับที่พวกเขาสามารถจะกลายไปเป็นส่วนรวมได้ “เป็นศูนย์กลางของการริเริ่ม เป็นผู้กำหนดการกระทำ และเป็นผู้รับผิดชอบต่อการกระทำ” และกลายไปเป็นองค์ประธานในบางขอบเขตในชีวิตของตนเอง อย่างเป็นส่วนรวม ในเชิงภาพรวมขนาดใหญ่ อย่างเช่น ‘มนุษย์’ หรือ ‘สังคม’ นั้นสามารถที่จะถูกทำความเข้าใจในฐานะขององค์ประธานได้ก็ต่อเมื่อมันยอมรับมโนทัศน์แบบจิตวิญญาณเหนือธรรมชาติ มโนทัศน์ของ Lukac ที่มองว่าชนชั้นแรงงานนั้นมีฐานะเป็นองค์ประธานในประวัติศาสตร์เป็นมุมมองที่ขึ้นตรงกับความเป็นจริงขององค์กรคอมมิวนิสต์สากล (the Communist International) ที่ดำรงอยู่ในฐานะขององค์กรนำของขบวนการแรงงานสากล (international worker’s movement) อันเป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่ทำให้แรงงานนับล้านคนมองเห็นตัวเองในฐานะที่เป็นนักคอมมิวนิสต์ที่มองหาการนำจากสากลที่สาม (Comintern) และเผยแพร่แนวคิดไปสู่ผู้คนรอบข้างตนเอง

หากแต่หน่วยงานหรือองค์กรทุกรูปแบบ ตั้งแต่ระดับชาติไปจนถึงบริษัทเอกชนนั้น กระทำการ ในฐานะขององค์ประธาน รวมทั้งมีความแพร่หลายยิ่งกว่าการเคลื่อนไหวทางสังคม หากแต่ว่าที่ตรงนั้นมันไม่ใช่พื้นที่สำหรับมโนทัศน์เรื่ององค์ประธานที่วางรากฐานอยู่ ระหว่าง ความเป็นภาพมายาคลุมเครือของ”จิต” และ จิตนิยมแบบค้านท์ที่พูดถึงองค์ประธานที่เหนือธรรมชาติ หรือ ระหว่าง การสร้างภาพโรแมนติกให้ “มนุษย์” กับ ปฏิฐานนิยมของปัจเจกบุคคลหรอกหรือ? นี่คือพื้นที่ของคำถามและปัญหาที่อัลธูแซร์ไม่เคยก้าวเข้าไปศึกษาหรืออธิบาย

 

ว่าด้วยกลไก

 

แม้ว่าสถาบันทางสังคมทั้งหมดนั้นจะถูกเรียกว่าเป็น กลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ ซึ่งมันอาจจะเป็นสถาบันของรัฐหรือของเอกชน, เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ เพราะพวกมันต่างทำงานเพื่อผลิตซ้ำความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบทุนนิยมและดังนั้นแล้วมันจึงทำงานเพื่อรับใช้ผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุน ดังนั้นแล้วเราจึงเรียกได้ว่ามันเป็น กลไกของรัฐ อัลธูแซร์ได้เขียนเอาไว้ในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ในห้วงเวลาที่ (ระบบสวัสดิการแบบเคนส์) รัฐนายทุนนั้นผ่อนคลายความตึงเครียดกับสหภาพแรงงานลงไปมาก และยังเป็นช่วงเวลาที่เกิดการบูรณาการทางสังคมอย่างสูง ความขัดแย้งทางชนชั้นที่เข้มข้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้นได้ยุติลง และการนำแผนมาร์แชล (Marshall Plan) มาใช้นั้นก็ช่วยลดระดับความไม่พอใจในยุโรปลงไปได้อย่างมาก สถานการณ์แบบดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดสภาพของความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองให้แก่มวลชนที่ทำให้ระบบทุนนิยมนั้นกลายเป็นสิ่งประเสริฐน่าสรรเสริญ สถานการณ์แบบเดียวกันนี้ได้ทำให้ Herbert Marcuse เขียนงานเรื่อง “One Dimensional Man” ออกมา ในการผนวกรวมนี้มันจึงอาจจะยืนยันข้อถกเถียงที่อัลธูแซร์เสนอว่าสหภาพแรงงานนั้นถือเป็นกลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ เป็นส่วนประกอบหนึ่งของระบบการครองอำนาจนำทางอุดมการณ์โดยชนชั้นกระฎุมพี ภายใต้นโยบายของ Khrushchev ที่เสนอนโยบาย ‘สันติภาพ และการอยู่ร่วมกัน’ พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสและ PCF-controlled CGT ย่อมจะถูกกำหนดลักษณะตามนโยบายนี้ไปด้วย ความคิดที่ว่าระบบครอบครัวนั้นคือต้นตอปัญหามูลฐานของสังคมทุนนิยมนั้นยังคงเป็นความคิดที่แพร่หลาย หากแต่การควบรวมศิลปะเข้าไปในฐานะของ “กลไกทางอุดมการณ์ของรัฐทางวัฒนธรรม” นั้นทำให้เราเห็นได้ชัดเจนมากพอว่าสถาบัน ใดๆก็ตาม ที่ดำรงอยู่ภายใต้สังคมทุนนิยมนั้น โดยนัยยะนี้แล้ว ย่อมจะเป็นกลไกที่ทำงานเพื่อให้ชนชั้นกระฎุมพีสามารถรักษาความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบกระฎุมพีเอาไว้ได้

 

อุดมการณ์

 

ในวิถีทางที่ค่อนข้างจะคล้ายกับการเสนอว่า ‘วาทกรรม’ นั้นได้สถาปนาสถาบันต่างๆขึ้นมาได้อย่างไร สำหรับอัลธูแซร์นั้นสถาบันแต่ละสถาบันที่เขาอ้างถึงในฐานะที่เป็น กอร. นั้นสอดคล้องโดยตรงต่อ อุดมการณ์, ศาสนา, ศีลธรรม, การเมือง หรือ อุดมการณ์ใดๆก็ตาม ที่มีสภาพการดำรงอยู่เชิงวัตถุในรูปแบบของพิธีกรรมและภาคปฏิบัติการที่สอดคล้องกับ กอร. ซึ่งถูกสถาปนาขึ้นรายล้อมมโนทัศน์เรื่องพระเจ้า, กฎหมาย, ศิลปะ หรืออะไรก็ตาม อุดมการณ์นั้นได้แสดงให้เห็นจุดยืนทางชนชั้นผ่านรูปแบบของภาคปฏิบัติการเชิงวัตถุที่เฉพาะเจาะจง (กอร.) ซึ่งทำงานในเชิงอุดมการณ์เพื่อดำรงรักษาการผลิตซ้ำระบบทุนนิยม และมันถูกสนับสนุนโดยการใช้ความรุนแรงในการปราบปราม ไม่ว่าจะโดยตัวมันเองหรือปราบปรามผ่าน กปร.

หากแต่ว่าบรรดา กอร. ทั้งหลายนั้นล้วนแล้วแต่ มีความสัมพันธ์ที่เป็นอิสระ ต่อ กอร. ตัวอื่นๆ แม้ว่ามันจะทำงานเพื่อรับใช้และอำนวยให้เกิดการผลิตซ้ำองค์ประกอบสำหรับความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบทุนนิยม แต่มันก็ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นโดยวิถีการผลิตแบบทุนนิยมเพียงอย่างเดียว ที่จะถูกทำความเข้าใจในฐานะของ “การแสดงออกแบบองค์รวม” ได้ แต่ละกลไกนั้นมีตรรกะของตัวเองและมีการปฏิบัติการในระดับขั้นที่แตกต่างกันและเป็นอิสระจากกลไกอื่นๆ

กอร. แต่ละตัวนั้นมีลักษณะรูปแบบของภาคปฏิบัติการและ ‘พิธีกรรม’ ที่หลากหลาย ที่จะสถาปนาการดำรงอยู่ของอุดมการณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ศิลปะ (อุดมการณ์ของศิลปะ) นั้นก็จะถูกสถาปนาในทางวัตถุขึ้นโดยภาคปฏิบัติการของโลกศิลปะ – โดยมรรควิธีในการประเมินผล, การควบคุม, การกระจาย และการผลิตของตัวมันเอง การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของปัจเจกบุคคลนั้นแสดงถึงภาคปฏิบัติการที่สถาปนาอะไรก็ตามที่เราสามารถเรียกได้ว่าเป็นความคิดที่ก่อให้เกิดอุดมการณ์นั้นๆขึ้นมา

“ความคิดทั้งหลาย [ของปัจเจกบุคคล] นั้นเป็นการกระทำที่มีสภาพเชิงวัตถุของเขาที่แทรกอยู่ในภาคปฏิบัติการที่มีสภาพเชิงวัตถุที่ถูกควบคุมโดยพิธีกรรมที่มีสภาพเชิงวัตถุ ซึ่งโดยตัวมันเองนั้นถูกนิยามโดยกลไกทางอุดมการณ์ที่มีสภาพเชิงวัตถุซึ่งได้รับมันมาจากความคิดขององค์ประธานนั้น”

วาทกรรมนั้นคือกึ่งกลางของอุดมการณ์ และจิตสำนึกนั้นคือสิ่งที่อยู่ภายในวาทกรรม ดังนั้นแล้วจิตสำนึกจึงเป็นการผนึกเอาภาคปฏิบัติการที่มีสภาพเชิงวัตถุของ กอร. ที่ผู้คนเข้าไปมีส่วนร่วมเข้าไปอยู่ภายในตัวบุคคล ภาษาต่างๆที่เราใช้นั้นก็ถือว่าเป็นกลไกหลักในการส่งผ่านกระบวนการดังกล่าวนี้ให้เกิดการผนึกการรับรู้เข้าในจิตสำนึก

 

วิทยาศาสตร์

 

หากแต่ว่าการพูดเรื่องอุดมการณ์นี้ย่อมจะนำเราไปสู่ความยุ่งยากอย่างแน่นอน ด้วยคำถามว่าเราจะสามารถแบ่งแยกเอาวิทยาศาสตร์ออกมาจากอุดมการณ์ได้อย่างไร จากคำนิยามด้านล่างนี้

“อุดมการณ์นั้นเป็นภาพแสดงตัวแทนของความสัมพันธ์ของปัจเจกบุคคลในระดับจินตนาการที่มีต่อเงื่อนไขการดำรงอยู่ที่เป็นจริงของเขา”

อุดมการณ์ทั้งหมดนั้นล้วนแล้วแต่เป็น “ภาพมายา” ซึ่ง “ไม่สอดคล้องต่อความเป็นจริง” และเป็นเพียง “ภาพลวงตา” หากแต่อัลธูแซร์นั้นเสนอ การสร้างสมดุล ให้อุดมการณ์ไปสู่ วิทยาศาสตร์ ซึ่งเขากล่าวว่ามัน ไม่ใช่ อุดมการณ์ “อุดมการณ์ทางศาสนา, อุดมการณ์ทางศีลธรรม, อุดมการณ์ทางกฎหมาย, อุดมการณ์ทางการเมือง” นั้นเป็น “สิ่งที่นิรันดร” เป็น “มุมมองต่อโลก” และ   

“ลองสมมติดูว่าเราไม่ได้ยึดถืออุดมการณ์หนึ่งใดจากบรรดาอุดมการณ์เหล่านี้ว่ามันเป็นความจริง (ตัวอย่างเช่น ‘ความเชื่อ’ ในพระเจ้า, หน้าที่, ความยุติธรรม, ฯลฯ) เรายอมรับว่าอุดมการณ์ที่เรากำลังอภิปรายจากมุมมองเชิงวิพากษ์ ถูกตรวจสอบในฐานะของการตรวจสอบแบบชาติพันธุ์วิทยา (ethnologist examines) เพื่อตรวจสอบมายาคติของ ‘สังคมบุพกาล’ ซึ่ง ‘โลกทัศน์’ แบบดังกล่าวนี้เป็นเพียงการจินตนาการขึ้น กล่าวคือมัน ‘ไม่สอดคล้องต่อความเป็นจริง’”

วิทยาศาสตร์นั้นได้มอบวิธีการในการค้นหาความรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆให้แก่เราเพราะมันได้นำเสนอภาพแสดงตัวแทนที่เป็นจริงของความสัมพันธ์ของเราที่มีต่อเงื่อนไขการดำรงอยู่ที่เป็นจริงของเรา ในขณะที่อุดมการณ์นั้นสามารถอธิบายถึงสิ่งต่างๆได้หากแต่มันอธิบายเพียงแต่ในวิธีการของความสัมพันธ์ที่ผิดไปจากเงื่อนไขของเรา

“อุดมการณ์นั้นคือระบบ (ที่มีตรรกะและความเข้มงวดในตัวเอง) ของภาพแสดงตัวแทน (ภาพจินตนาการ, ภาพมายา, ความคิด หรือ มโนทัศน์ ที่แตกต่างกันไปตามแต่กรณี) ซึ่งกอปรด้วยการดำรงอยู่ทางประวัติศาสตร์และบทบาทภายในแต่ละสังคม ... อุดมการณ์ในฐานะของระบบของภาพแสดงตัวแทนนั้นเป็นสิ่งที่แยกออกมาจากวิทยาศาสตร์ในการทำงานปฏิบัติการทางสังคมนั้นมีความสำคัญมากกว่าการทำงานเชิงทฤษฎี (ทำงานในฐานะขององค์ความรู้)”

แน่นอนว่าวิถีทางเดียวที่จะทำให้ข้อเสนอนี้มีเหตุผลขึ้นมานั้นคือการต้องยอมให้มันดำเนินไปร่วมกับวิทยาศาสตร์ เช่นเดียวกับที่ให้มันทำงานร่วมกับระบบการศึกษา, การเมือง, วรรณกรรม ฯลฯ อันเนื่องมาจากมันมีรูปแบบของภาคปฏิบัติการ มีการสถาปนารูปแบบกลไกขึ้น และกระทำการอยู่ภายในปฏิบัติการที่ก่อให้เกิดความคิดของ วิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์นั้นจะไม่ถูกสถาปนาขึ้นอย่างเป็นระเบียบในรูปแบบที่เป็นสถาบันของภาคปฏิบัติการที่มีวาทกรรมทางวิทยาศาสตร์ของตนเองได้อย่างไร หากแต่ว่านี่ไม่ใช่มุมมองที่อัลธูแซร์มอง

ตามความคิดของอัลธูแซร์แล้วอุดมการณ์นั้นเป็นความสัมพันธ์ที่ “ดำรงอยู่” ระหว่างมนุษย์กับโลกของมนุษย์ เป็นความสัมพันธ์ที่ขาดความตระหนักรู้ซึ่งอาจจะหรืออาจจะไม่สะท้อนออกมาในรูปแบบของ ‘ปรัชญา’ ที่เป็นระบบก็ได้ อุดมการณ์นั้นถูกแบ่งแยกออกมาจากวิทยาศาสตร์ไม่ใช่จากการที่มันเป็นสิ่งผิดพลาดหรือเป็นสิ่งที่ไม่มีความต่อเนื่อง หากแต่มันถูกแบ่งแยกออกมาจากข้อเท็จจริงที่ว่าการทำงาน ผลิตซ้ำความสัมพันธ์ทางการผลิต ที่มีลักษณะนำอยู่ภายในตัวอุดมการณ์เหนือ ภาคปฏิบัติการทางทฤษฎี และอยู่เหนือการผลิตสร้างองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์หรือศาสตร์ต่างๆนั้นเป็นสิ่งที่อุบัติขึ้นมาจากโลกของความคิดก่อนวิทยาศาสตร์ หรือก็คือกำเนิดออกมาจากอุดมการณ์ ด้วยวิธีการที่อัลธูแซร์เรียกว่าเป็น การแตกหักทางญาณวิทยา (epistermological break) เป็นการ ‘ก้าวกระโดด’ ที่ก่อให้เกิดการแตกหักอย่างรุนแรงจากกรอบความคิดก่อนหน้า และนำไปสู่การสถาปนาปมปัญหา (problematic) ใหม่ขึ้นมา อุดมการณ์นั้นดำรงอยู่เคียงคู่กับวิทยาศาสตร์ในฐานะขององค์ประกอบของการก่อรูปทางสังคม (social formation)

อัลธูแซร์นั้นมองภาคปฏิบัติการทางทฤษฎี (ที่เป็นวิทยาศาสตร์) ว่าเป็นภาคปฏิบัติการในลำดับที่สี่ ซึ่งดำรงอยู่เหนือและมีอำนาจเหนือภาคปฏิบัติการทางเศรษฐกิจ, การเมือง และอุดมการณ์ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วนั้นมันจะก่อให้เกิดการก่อรูปทางสังคม การทำงานในภาคปฏิบัติการทางทฤษฎีนั้นคือการเปลี่ยนผ่านอุดมการณ์ให้กลายไปเป็นองค์ความรู้ วิพากษ์มโนทัศน์อันเป็นนิรันดรของอุดมการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงวัตถุแต่ไม่สามารถจะก่อให้เกิดความเข้าใจต่อวัตถุได้

อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกันกับที่แรงงานรับค่าจ้างนั้นไม่ได้เป็น ‘องค์ประธาน’ ของกำลังแรงงานของตนเอง และไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าฟันเฟืองหนึ่งของการผลิตที่ถูกจัดการโดยทุน ซึ่งตอบสนองและมีหน้าที่รับผิดชอบต่อกระบวนการผลิต ในทางเดียวกันนั้นเองวิทยาศาสตร์ก็เป็นกระบวนการที่ ไร้องค์ประธาน ซึ่งเป็นการรวบรวมเอาส่วนประกอบและเงื่อนไขทั้งหมดของภาคปฏิบัติการแบบวิทยาศาสตร์เข้ามาไว้ด้วยกัน ปัจเจกบุคคลที่สามารถทำงานได้ด้วยตนเองอย่างแท้จริงนั้นจะไม่สามารถกล่าวอ้างได้ว่าตนเองเป็น ‘องค์ประธาน’ ของการผลิตที่เป็นวิทยาศาสตร์ของตนเอง สิ่งใดก็ตามที่นอกเหนือไปจากแรงงานรับค่าจ้างนั้นเป็นองค์ประธานของการผลิตทางเศรษฐกิจ ในทั้งสองกรณีนี้ปัจเจกบุคคลนั้นเป็นเพียงผู้แบกหามกระบวนการปฏิบัติการทางสังคมเอาไว้เท่านั้น

แต่แน่นอนว่าสิ่งที่เราเสนอไปนี้มันจะฟังดูเข้าท่าก็ต่อเมื่อเราพิจารณาความคิดที่เป็นระบบใน ทางทั่วๆไป (และไม่ใช่การพิจารณามันในฐานะของภาพมายา) ความคิดที่ถูกนำออกมาสู่ที่สว่างและนำไปสู่ความสัมพันธ์ของปัจเจกบุคคลที่เป็นจริงซึ่งมีต่อเงื่อนไขการดำรงอยู่ของตัวเอง (ซึ่งตรงกันข้ามกับความสัมพันธ์ในระดับจินตนาการ) ความคิดซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เป็นนิรันดรและคัดง้างกับประวัติศาสตร์ หากแต่ในทางตรงกันข้ามมันจะต้องเป็นความคิด ทางประวัติศาสตร์ ความคิด ที่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะถูกทำความเข้าใจในฐานะของสิ่งที่ถูกประกอบขึ้นอย่างแน่นอน มีความสัมพันธ์ที่เป็นอิสระในตัวเอง มีรูปแบบของภาคปฏิบัติการอย่างประจำ และมาพร้อมกับ ‘มุมมองต่อโลกที่เป็นวิทยาศาสตร์’ ด้วยหรือไม่?

อัลธูแซร์นั้นมองวิทยาศาสตร์ในฐานะของภาคปฏิบัติการ (เช่นเดียวกับเศรษฐกิจ, การเมือง และอุดมการณ์) หากแต่ว่าการมองแบบนี้นั้นก็ไม่ชัดเจนอย่างยิ่งว่าภาคปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และวาทกรรมทางวิทยาศาสตร์นั้นถูกนำออกมาโดยปัจเจกบุคคลผู้ซึ่งไม่ใช่องค์ประธาน ไม่ใช่ผู้กำหนดของการกระทำ หรือเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำได้ ไม่สามารถสถาปนาความคิดของวิทยาศาสตร์ได้ แต่กลับสามารถสร้างความแตกต่างเชิงคุณภาพจากอุดมการณ์ได้ กระบวนการแบบดังกล่าวนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร มันดูเหมือนว่าวิทยาศาสตร์ ซึ่งเปิดเผยให้เห็นความสัมพันธ์ที่เป็นจริงของผู้คนที่มีต่อเงื่อนไขการดำรงอยู่ของเขานั้นเป็นเพียงการผูกมัดมันด้วยความสัมพันธ์ทางชนชั้นในฐานะของอุดมการณ์ซึ่ง “แสดงให้เห็นถึงจุดยืน ทางชนชั้น อยู่เสมอ” หากแต่อัลธูแซร์ไม่ได้เสนอว่าผลประโยชน์ทางชนชั้นของกรรมาชีพนั้นเป็นสิ่งที่ถูกนำออกมาจากลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ของงานในทางทฤษฎี และเพื่อจะทำให้ตัวเองกลายเป็น สิ่งที่เป็นภาวะวิสัย วิทยาศาสตร์จึงจำเป็นต้องเชื่อและกระทำการโดย ปราศจากอัตวิสัย หรือก็คือปราศจากองค์ประธาน นั่นคือสร้างวาทกรรมที่ไร้องค์ประธานและภาคปฏิบัติการที่ไร้องค์ประธาน ดังนั้นแล้วผู้ที่เขียนงานทางวิทยาศาสตร์ ผู้เป็นปัจเจกบุคคลซึ่งท้ายที่สุดแล้วได้กลายไปเป็น “องค์ประธาน” และท้ายที่สุดแล้วในทางอุดมการณ์ “ก็กลายเป็นสิ่งซึ่งเลื่อนลอยอย่างสมบูรณ์เป็นเสมือน ‘องค์ประธาน’ ที่หลุดออกจากวาทกรรมทางวิทยาศาสตร์ของ ‘ตัวเขา’ เอง” นักวิทยาศาสตร์ปัจเจกบุคคลนั้นจึงเป็นเพียงฟันเฟืองเล็กๆตัวหนึ่งในเครื่องจักรขนาดใหญ่ของวิทยาศาสตร์ งานทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากในทุกวันนี้นั้นแน่นอนว่ามันดูเหมือนกับเป็นกระบวนการผลิตแบบสายพานการผลิตในโรงงาน ด้วยตำแหน่งและดีกรีปริญญาเอก (PhDs) ที่ขยายตัวออกมามากราวกับเด็กฝึกงานค้าขาย หากแต่สามารถว่ากระบวนการทั้งหมดนั้นจะสามารถแสดงตัวเองออกมาในวิถีทางแบบที่เรากล่าวมานี้ได้ในทุกระดับหรือไม่?

ในงานเรื่อง the Preface to Capital Volume One นั้นอัลธูแซร์ได้เขียนเสนอว่า “การต่อสู้เพื่อวิทยาศาสตร์มาณืกซิสต์และปรัชญามาร์กซิสต์นั้นคือภารกิจในปัจจุบัน เช่นเดียวกับที่มันเป็นมาในอดีต นั้นคือเป็นรูปแบบของการต่อสู้ทางชนชั้นในทางการเมืองและอุดมการณ์” หากแต่วิทยาศาสตร์นั้นยังคงเป็นสิ่งที่ไร้องค์ประธานกระทั่งในระหว่างที่ตัวมันเองกำลังรับใช้การต่อสู้ทางชนชั้น และถูกแทรกซึมไปด้วยจุดยืนทางชนชั้น หรือก็คือจุดยืนของชนชั้นกรรมาชีพ การกำหนดลักษณะเฉพาะของวิทยาศาสตร์ด้วยระบบสังคมนิยมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีปัญหาในยุคของอัลธูแซร์ หากแต่ว่ามันไม่ได้เรื่องสำคัญอีกต่อไปแล้ว ซึ่งต้องขอบคุณเรื่องนี้ให้กับ ‘นักมนุษย์นิยมสังคมนิยม’ (socialist humanists) ที่อัลธูแซร์ต่อต้านมาโดยตลอด

อัลธูแซร์นั้นมองงาน Capital ในฐานะของงานวิทยาศาสตร์ (เช่นเดียวกับที่มาร์กซ์มอง) และในมุมมองของอัลธูแซร์ การจะอธิบายถึง Capital ในฐานะของงานทางศีลธรรม นั้นคงเป็นสิ่งที่หยาบคายพอๆกับการบอกว่างานชิ้นนี้เป็นงานเชิงอุดมการณ์ ศีลธรรม ทั้งหมด นั้นล้วนแล้วแต่เป็นอุดมการณ์สำหรับอัลธูแซร์ แต่ด้วยการนำความสัมบูรณ์ออกจากวิทยาศาสตร์นั้น ตัวอัลธูแซร์เองก็ได้ตกเป็นเหยื่อของอุดมการณ์ องค์ความรู้ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ เพื่ออะไรบางอย่าง องค์ความรู้นั้นกำเนิดออกมาเพียงแต่ในความเชื่อมโยงกับรูปแบบของกิจกรรมที่แน่นอนและไม่ใช่สิ่งอื่นเท่านั้น ดังนั้นแล้วมโนทัศน์เรื่องวิทยาศาสตร์ซึ่งแยกเอาวิทยาศาสตร์ออกจากศีลธรรมนั้นจึงเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรมและเป็นการหลอกตัวเอง

 

อุดมการณ์

 

สำหรับอัลธูแซร์นั้นการกลายเป็นองค์ประธาน ‘การเชื่อใน’ อุดมการณ์ และการมีส่วนร่วมในพิธีกรรมและภาคปฏิบัติการของกลไกทางอุดมการณ์นั้นล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องเดียวกันและเป็นสิ่งเดียวกัน

“เงื่อนไขศูนย์กลางที่ชี้ขาดที่ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เป็นอิสระคือความคิดของ องค์ประธาน ... การจัดลำดับชั้นขององค์ประธาน ... นั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญในการจัดลำดับชั้นของอุดมการณ์ทั้งปวง ... เฉพาะแต่ ... ตราบเท่าที่อุดมการณ์ทั้งปวงนั้นมีการทำงาน (ที่เป็นตัวกำหนดมัน) ในการ ‘สถาปนา’ ปัจเจกบุคคลที่เป็นรูปธรรมให้กลายเป็นองค์ประธาน อุดมการณ์นั้นจึงไม่ใช่สิ่งใดเลยนอกไปจากการทำงานของตัวมันเองในรูปแบบการดำรงอยู่ที่มีสภาพเชิงวัตถุของการทำงานที่กล่าวมา”

ในสมการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เราสามารถจะเห็นได้แล้วว่าอัลธูแซร์นั้นมองและทำความเข้าใจต่อ ‘องค์ประธาน’ อย่างไร ในความคิดของเขานั้นองค์ประธานเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากการเป็นอิสระอย่างมาก ห่างไกลจากการเป็นตัวกระทำที่มีความรับผิดชอบ แต่เป็นการดำรงอยู่ ภายใต้การครอบงำ และองค์ประธานนั้นคือมนุษย์ปัจเจกบุคคล ไม่ใช่ชนชั้น หรือชาติ

“ปัจเจกบุคคล ... ซึ่งมีพฤติกรรมแตกต่างกันไปตามวิถีทาง ที่รับเอาทัศนคติเชิงปฏิบัติการที่แตกต่างกันไป และ ยิ่งไปกว่านั้นคือมีส่วนร่วมในภาคปฏิบัติการที่ต่อเนื่องแน่นอนที่เป็นภาคปฏิบัติการซึ่งบรรดากลไกทางอุดมการณ์ต้องพึ่งพาอาศัย และ ‘ขึ้นตรงกับ’ ความคิดที่เขาเชื่อว่าตนเองนั้นเป็นองค์ประธานที่ได้ทำการเลือกปฏิบัติการต่างๆด้วยตนเองอย่างอิสระและมีจิตสำนึก ... และยอมรับมันอย่างอิสระ เป็นสิ่งที่เขาต้องกระทำซึ่งสอดคล้องตรงกับความคิดของเขา ซึ่งในที่สุดแล้วมันจะถูกจารึกเอาไว้ในความคิดเก่าของเขาในฐานะขององค์ประธานอิสระในการกระทำของภาคปฏิบัติการที่มีสภาพวัตถุของตัวเขา ... ภาคปฏิบัติการเหล่านี้นั้นถูกควบคุมด้วย พิธีกรรม ที่ภาคปฏิบัติการเหล่านี้ได้แทรกตัวเองเข้าไป อยู่ภายใน การดำรงอยู่เชิงวัตถุของกลไกทางอุดมการณ์

มีแต่เพียงปัจเจกบุคคลที่เป็นรูปธรรมเท่านั้นที่สามารถกลายไปเป็นองค์ประธานได้ หากแต่การจะเป็นองค์ประธานนั้นปัจเจกบุคคลจำเป็นต้องถูกยึดกุมด้วยรูปแบบของภาคปฏิบัติการที่ถูกสถาปนาขึ้นโดยอุดมการณ์ ที่เป็นนิรันดร อุดมการณ์ที่มัน ‘ไม่มีภายนอก’ อันจะสถาปนาความสัมพันธ์ในระดับจินตนาการของปัจเจกบุคคลที่มีต่อเงื่อนไขการดำรงอยู่ที่เป็นจริงและทำงานในฐานะของตำกำหนดนำในฐานะกลไกทางอุดมการณ์สำหรับการปกปักรักษาตัวครองอำนาจนำ ซึ่งก็คือวิถีการผลิตแบบทุนนิยม

แม้ว่ามันจะมีความสัมพันธ์ที่เป็นอิสระของกลไกทางอุดมการณ์และกลไกการปราบปรามที่หลากหลายอยู่ แต่มันก็ยังสร้างรูปแบบของพื้นที่ที่ใกล้ชิดกันซึ่งไม่มีจิตสำนึกใดจะเกิดขึ้นได้ยกเว้นเพียงแต่การหลอกลวง การทำงานเพื่อการกำหนด และจิตสำนึกแบบกระฎุมพีเท่านั้น องค์ประธานปัจเจกบุคคลนั้นเชื่อว่าตนเองกระทำการต่างๆไปโดยเจตจำนงเสรีของตนเองหากแต่นั่นเป็นเพียงภาพมายาลวง กระทั่งในห้วงเวลาก่อนที่ตัวพวกเขาจะกำเนิดขึ้นมา พวกเขาก็ถูกกำหนดไว้แล้วว่าจะต้องแบกรับเอานามสกุลของพ่อไปใช้ บทบาทหน้าที่ของเขานั้นถูกกำหนดเอาไว้ตั้งแต่ก่อนที่เขาจะได้รู้จักตนเองเสียอีก – สิ่งเหล่านั้นคือ เพศของเขา ความสามารถของเขา ครอบครัวของเขา ฯลฯ – องค์ประธานนั้นเป็นองค์ประธานอยู่แล้วและเป็นอยู่เสมอตลอดเวลา และเขารู้ตัวอยู่เสมอว่าเขาเขาเป็นองค์ประธานเมื่อเขาถูกเรียกและ ‘พบที่ทางของตนเอง’ ในสังคมโดยการแทรกตัวเองเข้าไปในตำแหน่งแห่งที่ในกลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ นี่คือกระบวนการที่อัลธูแซร์เรียกมันว่า ‘การร้องเรียก’ (interpellation) – ปัจเจกบุคคลจะตระหนักต่อตนเองและตอบสนองกลับต่อการอ้างถึงอัตลักษณ์ของเขาที่เรียกต่อตัวเขาโดยกลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ กล่าวในทางรูปธรรม มันคือการแทรกซึมหรือการดูดซึมกิจกรรมต่างๆของปัจเจกบุคคลเข้าสู่ภาคปฏิบัติการที่จะช่วยสถาปนาตัวกลไกทางอุดมการณ์ของรัฐขึ้นมา

อัลธูแซร์นั้นยกตัวอย่างกรณีศาสนาคริสต์ขึ้นมาเป็น “ตัวอย่าง” ของอุดมการณ์ โดยการเสนอว่า “การแสดงตัวอย่างแบบนี้นั้นสามารถสร้างขึ้นได้เพื่อรองรับ อุดมการณ์ทางศีลธรรม ทางการเมือง ทางสุนทรียะ หรือรองรับอุดมการณ์อื่นๆ” และได้นำเสนอต่อไปถึงประเด็นเกี่ยวกับศาสนาซึ่งถูกอ้างโดยปราศจากการยกตัวอย่างว่าสามารถนำไปใช้กับศีลธรรมได้ “มันจะมีความเป็นไปได้จำนวนมหาศาลในองค์ประธานทางศาสนาได้ก็ต่อเมื่ออยู่บนเงื่อนไขสัมบูรณ์ นั่นคือมีเงื่อนไขของความเป็นเอกลักษณ์, ความสัมบูรณ์, เป็นองค์ประธานใหญ่ที่เป็นสิ่งอื่น กล่าวคือ พระเจ้านั่นเอง” ดังนี้เองเราก็จะมี กอร. ที่ถูกสถาปนาขึ้นโดยหลักการใหญ่นั่นคือ – พระเจ้าในศาสนาคริสต์ – ที่จะทำให้องค์ประธานย่อยนั้นถูกครอบงำเมื่อพวกเขาเข้ามามีส่วนร่วมทางสังคมในภาคปฏิบัติการและพิธีกรรมภายในตัว กอร. ที่กำหนดไว้ ด้วยการตระหนักถึง “องค์ประธานใหญ่” (Subject) ของบรรดาองค์ประธานย่อย (subject) นั่นเอง (องค์ประธานใหญ่ นั้นกล่าวคือ พระเจ้า หรือ กฎหมาย หรือ ศิลปะ ฯลฯ) อันทำให้ปัจเจกบุคคลนั้นตระหนักในตนเองว่าตนคือองค์ประธาน บนพื้นฐานนี้ ด้วยความเชื่อมั่นอย่างสมบูรณ์ของโลกปิดนี้เองที่ทำให้องค์ประธานนั้นเป็นอิสระที่จะ “เลือกทำงานโดยตัวเอง”

คำถามที่ต้องถูกถามก็คือ ข้อเท็จจริง (ถ้าหากว่าเรามองมันในฐานะของข้อเท็จจริง) ที่ว่าผู้คนนั้นปฏิบัติการภายในสิ่งที่เราเรียกว่าเป็นระบบของภาพมายาที่มีการแบ่งปันร่วมกัน ในแง่นี้นั้นพวกเขาย่อมจะไม่สามารถแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองอย่างแท้จริง และพวกเขาย่อมจะไม่สามารถที่จะควบคุมชะตากรรมของตนเองอย่างมีเหตุมีผลได้ใช่หรือไม่?

 

องค์ประธานภายใต้การควบคุม

 

ในฐานะของนักโครงสร้างนิยมที่ดี อัลธูแซร์ย่อมจะสามารถทำการ “พิสูจน์” ถึงลักษณะขององค์ประธานขององค์ประธานที่หลอกตนเองได้อย่างสมบูรณ์ด้วยการนำเสนอความคิดตามแบบฉบับของความคิดแบบโครงสร้างนิยมฝรั่งเศส

“... ภาพมายาทั้งหลายทั้งปวงของผลกระทบนี้ดำรงอยู่ใน ... ความคลุมเครือของนิยมคำว่า องค์ประธาน ในทางความหมายทั่วไปแล้ว องค์ประธานนั้นมีความหมายว่า (1) ผู้มีความเป็นอิสระในตนเอง, เป็นศูนย์กลางของความริเริ่ม, เป็นผู้กำหนดการกระทำของตนเองและเป็นผู้รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง (2) การดำรงอยู่ภายใต้การปกครอง, ผู้ซึ่งยอมรับและสยบยอมต่ออำนาจที่สูงกว่า และดังนี้แล้วมันจึงเป็นการเปลือยเปล่าเสรีภาพทั้งมวลเว้นแต่เพียงอิสระในการจะยอมรับต่อการยอมจำนนของตนเอง ... ปัจเจกบุคคลนั้น ถูกร้องเรียกในฐานะขององค์ประธาน (ที่เป็นอิสระ) เพื่อที่จะทำให้เขานั้นยอมรับอย่างเป็นอิสระที่จะตกอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาขององค์ประธานใหญ่ กล่าวคือ เป็นการร้องเรียกเพื่อให้พวกเขานั้นยอมรับ (อย่างอิสระ) ที่จะตกอยู่ภายใต้การปกครอง ...”

แต่แน่นอนว่าความหมายที่ตรงกันข้ามของคำว่า “องค์ประธาน” นี้มีความแตกต่างกันอย่างเด็ดขาด Descartes นั้นวิพากษ์ Aristotle โดยใช้การแปลงานเขียนของ Aristotle ในภาษาละตินจากคำว่า upokeimenon (hypokeimenon), subjectum เพื่อจะสื่อความหมายถึงคำว่าสสาร (substance - substantia) ที่คุณสมบัติต่างๆนั้นต้องปฏิบัติตาม กล่าวคือ (สำหรับ Descartes) ปัจเจกบุคคลนั้นมีความตระหนักมีจิตสำนึกในตนเอง Kant นั้นก็ได้กลับมาสู่การนิยามองค์ประธานนี้ในฐานะของปัจเจกบุคคลที่มีอธิปไตยในตนเอง “เป็นผู้มีความเป็นอิสระในตนเอง, เป็นศูนย์กลางของความริเริ่ม, เป็นผู้กำหนดการกระทำของตนเองและเป็นผู้รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง” ความหมายของคำว่า “องค์ประธาน” นี้ยังคงถูกใช้อยู่อย่างต่อเนื่อง หากแต่ถูกใช้เฉพาะแต่ในงานทางปรัชญาหรือวาทกรรมทางปรัชญาเท่านั้น

ในอีกทางหนึ่ง “องค์ประธาน” นี้เป็นคำศัพท์ที่เข้าสู่โลกภาษาอังกฤษเมื่อราวศตวรรษที่ 14 ในความหมายที่สื่อถึงบุคคลที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองหรือได้ถวายสัตย์ปฏิญาณมอบความภักดีให้แก่อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ (sovereign power) กลายเป็น ผู้อยู่ภายใต้ กฎหมาย และอยู่ภายใต้การคุ้มครอง ในห้วงเวลานี้เองที่คำว่า “subjectum” นั้นถูกทำความเข้าใจในแง่แบบ Aristotlean ก่อนที่มันจะถูก Descartes เปลี่ยนผ่านความหมายขององค์ประธานไปเป็นผู้กระทำภายในวาทกรรมทางปรัชญา ในการใช้โดยความหมายทั่วๆไปนั้น “องค์ประธาน” ยังคงเก็บรักษาความหมายดั้งเดิม อย่างเช่น การเป็นองค์ประธานของบทกวี หรือ การกลายเป็นองค์ประธานต่อระบบภาษี ฯลฯ

ยิ่งไปกว่าความคลุมเครือในเชิงความหมาย ปัญหาที่เราพบอีกคือคำศัพท์ที่แตกต่างกันสองคนในเชิงคุณภาพ และมโนทัศน์ที่แตกต่างกันสองมโนทัศน์ ความเชื่อมโยงระหว่างความหมายทั้งสองแบบของ “องค์ประธาน” ใน ทางประวัติศาสตร์ ไม่ใช่ในทางตรรกะ มันไม่ใช่สิ่งใดเลยนอกไปจากเล่ห์กลแบบโครงสร้างนิยมในการเสนอความเชื่อมโยงที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ใน การกลายเป็นองค์ประธาน (กล่าวคือ การมีจิตสำนึกในตนเอง, การรับรู้ถึงตัวกำหนดการกระทำของตนเอง) และ กลายเป็นผู้อยู่ภายใต้การควบคุม ที่สยบยอมต่ออำนาจที่สูงกว่า ความหมายทั้งสองแบบที่ไม่สามารถเข้ากันได้อย่างถึงที่สุดนั้นเป็นการต่อต้านต่อตัวมันเองในความหมายของตัวมันเองและทำให้มันมีเนื้อหาและบริบทที่แตกต่างกัน.