Skip to main content

ขอขอบคุณ พอล ดีแลน-เอนนิส ที่ช่วยอ่านและให้ความเห็น

หนึ่งในความทรงจำที่ผมประทับใจที่สุดเมื่อสิบปีก่อน คือการเดินทางไปยัง
บิตคอยน์ คีซ (Bitcoin Kiez) ในย่านคร็อยทซ์แบร์ค (Kreuzberg) กรุงเบอร์ลิน ซึ่งมีร้านค้าสิบกว่าร้านกระจุกตัวอยู่ในช่วงไม่กี่ร้อยเมตร และทั้งหมดรับชำระเงินด้วยบิตคอยน์ ศูนย์กลางของชุมชนนี้คือ “Room 77” ร้านอาหารและบาร์ที่บริหารโดย ยอร์ก พลัทเซอร์ (Joerg Platzer) นอกจากจะรับบิตคอยน์แล้ว ที่นี่ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน ซึ่งมักจะมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส นักเคลื่อนไหวทางการเมืองจากหลายฝ่าย และผู้คนที่ชีวิตมีสีสันแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนบ่อยครั้ง

อีกความทรงจำหนึ่งที่คล้ายกันเกิดขึ้นสองเดือนก่อนหน้านั้นในงาน PorcFest (ย่อมาจาก “porcupine” หรือ “เม่น” ที่หมายถึงแนวคิด “อย่าวอนหาเรื่อง — don’t tread on me”) ซึ่งเป็นงานชุมนุมของกลุ่มลิเบอร์ทาเรียนในป่าแถบนิวแฮมป์เชียร์ ที่นั่น อาหารการกินส่วนใหญ่ต้องพึ่งร้านป๊อปอัพเล็กๆ ที่ใช้ชื่อสร้างสรรค์อย่าง “ร้านกาแฟปฏิวัติ” (Revolution Coffee)” และ “สมูทตี้ สลัด และซุปกบฏ” (Seditious Soups, Salads and Smoothies) ซึ่งแน่นอนว่ารับชำระด้วยบิตคอยน์เช่นกัน การพูดคุยเกี่ยวกับความหมายทางการเมืองที่ลึกซึ้งของบิตคอยน์ และการใช้งานมันในชีวิตประจำวันเกิดขึ้นควบคู่กันไปในงานนี้

เหตุผลที่ผมพูดถึงความทรงจำเหล่านี้ขึ้นมา เพราะมันทำให้ตัวผมเองนึกถึงวิสัยทัศน์ที่ลึกซึ้งกว่าซึ่งอยู่เบื้องหลังโลกคริปโต นั่นคือ เราไม่ได้มาที่นี่เพื่อสร้างแค่เครื่องมือหรือเกมที่แยกตัวจากสังคม แต่เราจะสร้างสังคมและเศรษฐกิจที่เสรีและเปิดกว้างยิ่งขึ้นในทุกๆ ด้าน โดยที่ส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี สังคม และเศรษฐกิจ สามารถหลอมรวมกันได้อย่างสมดุล

วิสัยทัศน์ในช่วงแรกของ “web3” ก็เป็นไปในลักษณะนี้เช่นกัน คือมีอุดมคติคล้ายๆ กัน แต่แตกต่างออกไปเล็กน้อยในทางปฏิบัติ คำว่า “web3” ถูกบัญญัติขึ้นครั้งแรกโดยเกวิน วู้ด (Gavin Wood) ผู้ร่วมก่อตั้งอีเธอเรียม เพื่อสื่อถึงวิธีคิดที่แตกต่างออกไปเกี่ยวกับอีเธอเรียม คือแทนที่จะมองว่ามันเป็น “บิตคอยน์ที่มีสมาร์ทคอนแทร็กต์” อย่างที่ผมเคยคิด เกวินกลับมองว่า อีเธอเรียม เป็นหนึ่งในชุดเทคโนโลยีหลายๆ อย่างที่สามารถประกอบกันเป็นพื้นฐานสำหรับอินเทอร์เน็ตที่เปิดกว้างมากขึ้นได้

เมื่อการเคลื่อนไหวด้านซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเริ่มต้นขึ้นในช่วงทศวรรษ 1980–1990 ซอฟต์แวร์เหล่านั้นยังเรียบง่าย ทำงานบนคอมพิวเตอร์ของคุณและจัดการกับไฟล์ที่อยู่ในเครื่องของคุณเอง แต่ในปัจจุบัน งานที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นงานที่ต้องทำร่วมกัน (collaborative) และมักอาศัยความร่วมมือจำนวนมาก แม้ว่าทุกวันนี้ซอร์สโค้ดของแอปพลิเคชันจะเปิดแก่สาธารณะและใช้งานได้ฟรี แต่ข้อมูลของคุณยังคงถูกส่งผ่านเซิร์ฟเวอร์ศูนย์กลางที่ดำเนินการโดยบริษัท ซึ่งอาจเข้าถึงข้อมูลของคุณ เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ต่างๆ หรือปิดกั้นคุณเมื่อไรก็ได้ตามต้องการ หากเราต้องการขยายจิตวิญญาณของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สให้ครอบคลุมโลกปัจจุบัน เราต้องมีโปรแกรมที่สามารถเข้าถึง ฮาร์ดไดรฟ์ที่ใช้งานร่วมกัน (shared hard drive) เพื่อจัดเก็บสิ่งต่างๆ ที่หลายคนต้องการแก้ไขและเข้าถึง แล้วอีเธอเรียม พร้อมกับเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันอย่างการส่งข้อความแบบเพียร์ทูเพียร์ (เดิมคือ Whisper ปัจจุบันคือ Waku) และการจัดเก็บไฟล์แบบกระจายศูนย์ (เดิมคือ Swarm ปัจจุบันรวมถึง IPFS) คืออะไร สิ่งเหล่านี้ก็คือฮาร์ดไดรฟ์สาธารณะที่ใช้งานร่วมกันได้และกระจายศูนย์ นี่คือวิสัยทัศน์ดั้งเดิมที่ก่อให้เกิดคำว่า “web3”

น่าเสียดายที่ตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา วิสัยทัศน์เหล่านี้ได้จางหายไป มีเพียงไม่กี่คนที่พูดถึงการชำระเงินด้วยคริปโตสำหรับผู้บริโภค แอปพลิเคชันที่ไม่เกี่ยวกับการเงินเพียงอย่างเดียวที่ใช้งานได้จริงๆ อย่างกว้างขวางบนบล็อกเชนคือ ENS นอกจากนี้ ยังมีรอยร้าวทางอุดมการณ์ครั้งใหญ่ที่ทำให้ชุมชนการกระจายศูนย์ที่ไม่ได้ใช้บล็อกเชน (non-blockchain decentralized community) จำนวนมากมองว่าคริปโตเป็นสิ่งกวนใจ ไม่ใช่พันธมิตรทางจิตวิญญาณที่ทรงพลัง ในหลายประเทศ แม้ว่าผู้คนจะใช้สกุลเงินดิจิทัลในการโอนและเก็บเงิน แต่ก็มักทำผ่านตัวกลาง เช่น การโอนภายในบัญชีของแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนแบบรวมศูนย์ หรือการซื้อขาย USDT บน Tron

เมื่อมองย้อนกลับไปยังยุคนั้น ผมคิดว่าตัวการสำคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงนี้ ก็คือค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่พุ่งสูงขึ้น เมื่อค่าธรรมเนียมการบันทึกธุรกรรมลงบล็อกเชนอยู่ที่แค่ $0.001 หรือแม้แต่ $0.1 เราสามารถจินตนาการถึงการใช้งานแอปพลิเคชันหลากหลายรูปแบบบนบล็อกเชนได้ ทั้งด้านการเงินและไม่เกี่ยวข้องกับการเงินเลย แต่พอค่าธรรมเนียมพุ่งทะลุ $100 อย่างที่เราเคยเห็นในช่วงตลาดกระทิง กลุ่มคนที่เหลืออยู่และพร้อมจะจ่ายคือกลุ่มเดียวเท่านั้นก็คือ นักเสี่ยงโชค (degen gamblers) นักเสี่ยงโชคเหล่านี้อาจมีข้อดีหากมีในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะบางคนเริ่มเข้ามาในวงการคริปโตเพราะหวังผลกำไร แต่สุดท้ายกลับหลงใหลในอุดมการณ์ของมัน แต่พอพวกเขากลายเป็นผู้ใช้กลุ่มใหญ่ที่สุดของบล็อกเชน ผลที่ตามมาคือภาพลักษณ์และวัฒนธรรมภายในวงการเปลี่ยนไป นำไปสู่ปัญหาต่างๆ ที่เราเห็นกันชัดเจนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

มาถึงปี 2023 เรามีข่าวดีทั้งในแง่ของการแก้ปัญหาหลักด้านการสเกล และในแง่ของ “ภารกิจเสริม” สำคัญๆ ที่ช่วยทำให้อนาคตในแบบไซเฟอร์พังก็เกิดขึ้นได้จริง:

การตระหนักว่าการรวมศูนย์เกินไปและการมุ่งเน้นแต่เรื่องการเงินไม่ควรเป็นเป้าหมายของคริปโต รวมถึงเทคโนโลยีสำคัญๆ ข้างต้นที่กำลังเกิดขึ้นและใช้งานได้จริงแล้วในตอนนี้ เปิดโอกาสให้เรานำพาระบบนิเวศของอีเธอเรียมกลับไปสู่แก่นแท้ที่เราเคยตั้งใจสร้าง นั่นคือ ระบบแบบโอเพนซอร์ส ต่อต้านการเซ็นเซอร์ กระจายศูนย์ และเปิดกว้างสำหรับทุกคนอย่างแท้จริง

แปลจาก https://vitalik.eth.limo/general/2023/12/28/cypherpunk.html

บล็อกของ Apolitical

Apolitical
บทที่ 13 ประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative Democracy)
Apolitical
บทที่ 12 เสรีนิยมและอรรถประโยชน์นิยม (Liberalism and Utilitarianism)
Apolitical
บทที่ 11 ทรราชเสียงข้างมาก (the Tyranny of the Majority)
Apolitical
บทที่ 10 นักเสรีนิยมกับนักประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 19 (Liberals a
Apolitical
บทที่ 9 ปัจเจกชนนิยมกับอินทรียภาพนิยม (Individualism and Organi
Apolitical
บทที่ 8 เสรีนิยมเผชิญหน้าประชาธิปไตย (Liberalism's Encounter with Democracy)
Apolitical
บทที่ 7 ประชาธิปไตยกับความเท่าเทียม
Apolitical
บทที่ 6 แนวคิดประชาธิปไตยสมัยโบราณและสมัยใหม่ 
Apolitical
บทที่ 5 ดอกผลของความขัดแย้ง (The Fruitful
Apolitical
บทที่ 4 เสรีภาพกับอำนาจ &nb