Skip to main content

ค่านิยมเหล่านี้คืออะไรบ้าง

ชุดคุณค่าหรือค่านิยมหลายอย่างไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในชุมชนอีเธอเรียม แต่ยังพบได้ในชุมชนบล็อกเชนอื่นๆ รวมถึงชุมชนที่เน้นการกระจายศูนย์ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับบล็อกเชนด้วย แม้ว่าแต่ละชุมชนจะผสมผสานค่านิยมที่แตกต่างกัน รวมถึงให้น้ำหนักกับค่านิยมแต่ละอันแตกต่างกันไป

  • การมีส่วนร่วมแบบเปิดกว้างในระดับโลก (Open Global Participation):
    ทุกคนในโลกควรสามารถเข้าร่วมเป็นผู้ใช้งาน ผู้สังเกตการณ์ หรือผู้พัฒนาได้่บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันที่สุด การเข้าร่วมควรเป็นแบบไร้ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขใดๆ (permissionless)
  • การกระจายศูนย์ (Decentralization):
    ลดการพึ่งพาผู้เล่นเพียงคนเดียวให้เหลือน้อยที่สุด ที่สำคัญคือแอปพลิเคชันควรยังสามารถทำงานได้แม้ว่านักพัฒนาหลักจะหายไปตลอดกาล
  • การต้านทานการเซ็นเซอร์ (Censorship resistance):
    ผู้เล่นที่มีอำนาจรวมศูนย์ไม่ควรสามารถแทรกแซงผู้ใช้งานหรือการทำงานของแอปพลิเคชันได้ ความกังวลเกี่ยวกับผู้ไม่ประสงค์ดีควรถูกจัดการในเลเยอร์บนๆ ของบล็อกเชน
  • การตรวจสอบได้ (Auditability):
    ใครก็ตามควรสามารถตรวจสอบตรรกะและการทำงานของแอปพลิเคชันได้ (เช่น ผ่านการรันฟูลโหนด) เพื่อให้แน่ใจว่าระบบกำลังทำงานตามกฎที่นักพัฒนากล่าวอ้าง
  • ความเป็นกลางที่น่าเชื่อถือ (Credible neutrality):
    โครงสร้างพื้นฐานในเลเยอร์พื้นฐานควรมีความเป็นกลาง และต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นกลาง แม้ในกรณีที่ผู้ใช้งานไม่ได้ไว้วางใจนักพัฒนา
  • สร้างเครื่องมือ ไม่ใช่สร้างจักรวรรดิ:
    จักรวรรดิพยายามกักขังผู้ใช้ไว้ในสวนล้อมรั้ว แต่เครื่องมือมีหน้าที่เฉพาะตัวของมัน และยังสามารถทำงานร่วมกับระบบนิเวศที่เปิดกว้างและหลากหลายได้
  • มายด์เซ็ตแห่งความร่วมมือ (Cooperative mindset):
    แม้จะแข่งขันกัน แต่โครงการต่างๆ ในระบบนิเวศยังคงร่วมมือกันในด้านซอฟต์แวร์ไลบรารี งานวิจัย ความปลอดภัย การสร้างชุมชน และด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน โปรเจคต่างๆ พยายามสร้างผลลัพธ์แบบที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ไม่ใช่แค่ในระบบนิเวศของตัวเอง แต่รวมถึงโลกที่กว้างขึ้นด้วย

เป็นไปได้มากๆ ว่าเราจะสร้างของบางอย่างในโลกคริปโตที่ไม่ได้ยึดโยงกับค่านิยมเหล่านี้ เราสามารถสร้างระบบที่เรียกว่า “เลเยอร์ 2” ที่ในความเป็นจริงแล้วเป็นระบบที่รวมศูนย์อย่างมาก โดยพึ่งพา multisig และไม่มีแผนที่จะเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ปลอดภัยกว่าเลย เราอาจสร้างระบบจัดการบัญชีที่ “ง่ายกว่า” ERC-4337 แต่ต้องแลกมาด้วยสมมติฐานความไว้วางใจที่ลดโอกาสการมี public mempool และทำให้ผู้สร้างรายใหม่เข้าร่วมได้ยากขึ้น เราอาจสร้างระบบ NFT ที่ข้อมูลของ NFT ถูกเก็บไว้บนเว็บไซต์รวมศูนย์โดยไม่จำเป็น ทำให้ระบบเปราะบางมากกว่าการเก็บข้อมูลบน IPFS หรือเราสามารถสร้างอินเทอร์เฟซสำหรับการสเตกที่ดึงผู้ใช้ไปสู่พูลสเตกที่ใหญ่ที่สุดอยู่แล้วโดยไม่จำเป็น

การต่อต้านแรงกดดันเหล่านี้เป็นเรื่องยาก แต่ถ้าเราไม่ทำ เราก็เสี่ยงจะสูญเสียคุณค่าเฉพาะตัวของระบบนิเวศคริปโต และสร้างสิ่งที่เป็นเพียงสำเนาของระบบเว็บ 2 ที่ไร้ประสิทธิภาพและมีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่าเดิมเท่านั้น

จะสร้างเต่านินจาได้ก็ต้องมีท่อระบายน้ำ

โลกกคริปโตในหลายๆ แง่เป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่ปรานีใคร บทความในปี 2021 โดย Dan Robinson และ Georgios Konstantopoulos อธิบายถึงเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจนในบริบทของ MEV (Maximal Extractable Value) พวกเขาเปรียบเทียบว่า
อีเธอเรียมเป็นเหมือนป่ามืด (dark forest) ที่เทรดเดอร์บนเครือข่ายต้องเผชิญความเสี่ยงที่จะถูกเอาเปรียบจากบอทดักหน้า (front-running bots) ซึ่งบอทเหล่านั้นเองก็เสี่ยงที่จะถูกบอทตัวอื่นโจมตีตอบโต้เช่นกัน ปัญหานี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในบริบทของ MEV เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบอื่นอีกด้วย เช่น สัญญาอัจฉริยะถูกแฮ็กเป็นประจำ กระเป๋าของผู้ใช้งานถูกแฮ็กอยู่เป็นประจำ ที่แย่ยิ่งกว่านั้น คือตลาดแลกเปลี่ยนรวมศูนย์ยังล้มเหลวอย่างน่าตกตะลึง

นี่เป็นความท้าทายครั้งใหญ่สำหรับผู้ใช้งานคริปโต แต่ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้เราได้ทดลอง พัฒนา และได้รับฟีดแบ็กแบบเรียลไทม์จากเทคโนโลยีความปลอดภัยต่างๆ เพื่อรับมือกับปัญหาเหล่านี้ เราได้เห็นการตอบสนองที่ได้ผลในหลายด้านแล้ว เช่น

ทุกคนต้องการให้โลกอินเทอร์เน็ตปลอดภัย บางคนพยายามทำให้โลกอินเทอร์เน็ตปลอดภัยด้วยวิธีที่บังคับให้ต้องพึ่งพาองค์กรหรือรัฐบาลที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางความจริงและความปลอดภัย ทว่าแนวทางเหล่านี้แลกมาด้วยการสูญเสียความเปิดกว้างและเสรีภาพ และยังทำให้เกิดปัญหา “splinternet” หรืออินเทอร์เน็ตที่ถูกแยกออกเป็นส่วนๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทางกลับกัน ผู้คนในโลกคริปโตให้คุณค่ากับความเปิดกว้างและเสรีภาพเป็นอย่างมาก แม้ว่าความเสี่ยงและเดิมพันทางการเงินที่สูงจะเป็นปัจจัยสำคัญที่บังคับให้วงการนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย แต่ด้วยเหตุผลทางโครงสร้างและอุดมการณ์ ทำให้วิธีการรวมศูนย์ไม่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาได้ ในขณะเดียวกัน โลกคริปโตอยู่ยังในแนวหน้าของการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทรงพลังมากๆ อย่าง zero knowledge proofs, formal verification, hardware-based key security และ on-chain social graphs ข้อเท็จจริงเหล่านี้หมายความว่า สำหรับโลกคริปโต การปรับปรุงความปลอดภัยแบบเปิดกว้างแก่สาธารณะคือทางเลือกเดียวที่เป็นไปได้

ดังนั้น โลกคริปโตจึงเป็นเหมือนสนามทดสอบที่สมบูรณ์แบบ เพื่อทดลองวิธีการด้านความปลอดภัยแบบเปิดและกระจายศูนย์ และนำวิธีการดังกล่าวไปใช้ในสภาพแวดล้อมจริงที่มีความเสี่ยงสูง พร้อมทั้งพัฒนามันจนถึงจุดที่สามารถนำบางส่วนไปใช้ในโลกที่กว้างขึ้นได้ นี่คือหนึ่งในวิสัยทัศน์ของผมว่า ด้านอุดมคติของโลกคริปโตและด้านที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายของโลกคริปโต จะสามารถเปลี่ยนความขัดแย้งให้กลายเป็นความร่วมมือ และนำพาโลกคริปโตทั้งระบบ รวมถึงโลกกระแสหลักให้ไปสู่จุดที่มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพากันอย่างสร้างสรรค์ แทนที่จะมีแต่ความตึงเครียดที่ต่อเนื่องตลอดเวลาได้อย่างไร

บล็อกของ Apolitical

Apolitical
บทที่ 13 ประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative Democracy)
Apolitical
บทที่ 12 เสรีนิยมและอรรถประโยชน์นิยม (Liberalism and Utilitarianism)
Apolitical
บทที่ 11 ทรราชเสียงข้างมาก (the Tyranny of the Majority)
Apolitical
บทที่ 10 นักเสรีนิยมกับนักประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 19 (Liberals a
Apolitical
บทที่ 9 ปัจเจกชนนิยมกับอินทรียภาพนิยม (Individualism and Organi
Apolitical
บทที่ 8 เสรีนิยมเผชิญหน้าประชาธิปไตย (Liberalism's Encounter with Democracy)
Apolitical
บทที่ 7 ประชาธิปไตยกับความเท่าเทียม
Apolitical
บทที่ 6 แนวคิดประชาธิปไตยสมัยโบราณและสมัยใหม่ 
Apolitical
บทที่ 5 ดอกผลของความขัดแย้ง (The Fruitful
Apolitical
บทที่ 4 เสรีภาพกับอำนาจ &nb