Skip to main content

อาชญากรรมและการลงทัณฑ์เป็นชื่อแปลมาจากภาษาอังกฤษคือ Crime and Punishment ซึ่งเป็นนวนิยายชิ้นเอกของนักเขียนนามอุโฆษชาวรัสเซียคือฟีออดอร์ ดอสโตเยฟสกี (Fyodor Dostoevsky) ผู้มีชีวิตในช่วงระหว่างปี 1821 จนถึงปี 1881 เขาเป็นที่รู้จักอย่างดีในนวนิยายเรื่อง Brothers Karamazov ที่แสนจะยาวเหยียดและซับซ้อน รวมไปถึงนวนิยายอย่าง The Poor Folk , Note from underground , The Idiot ,The Possessed ฯลฯ รวมไปถึงเรื่องสั้นอย่าง White Nights

         “ อาชญากรรมและการลงทัณฑ์” ได้รับการตีพิมพ์ ในปี 1866  มันเป็นเรื่องราวของนักศึกษายากไร้นามว่า โรมาโนวิช รัสโคลนิคอฟ ผู้มีนิสวาสสถานคือบ้านเช่าในนครเซ็นต์ ปีเตอร์สเบิร์ก ชีวิตของเขาอยู่ท่ามกลางความสิ้นไร้ไม้ตอก ถึงขั้นเจ้าของบ้านเช่ายังต้องแบ่งอาหารมาให้กิน เขากลายเป็นโรคประสาทและหมกมุ่นกับทฤษฎีที่แบ่งมนุษย์ออกเป็น 2  กลุ่มนั่นคือ กลุ่มกระจอก ซึ่งหมายถึงคนทั่วไป และกลุ่มแห่งอภิมนุษย์ หรือผู้ยิ่งใหญ่ที่มีอำนาจโดยมีนโปเลียนเป็นตัวแทน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ฟริดริช นิชเช (Friedrich Nietzsche)  นักปรัชญาชาวเยอรมันแนวอัตถิภาวนิยมย่อมได้รับอิทธิพลจากดอสโตเยฟสกีอย่างชัดเจน

      น่าเศร้าที่ว่ารัสโคลนิคอฟจัดตัวเองให้เป็นกลุ่มเดียวกับนโปเลียน จนในที่สุดเขาก็ได้ฆาตกรรมหญิงชราที่รับจำนำของจากเขาด้วยขวาน รวมไปถึงน้องสาวของเธอที่บังเอิญมาเห็นเหตุการณ์เข้า โดยคนทั้งสองนี้เขาจัดว่าเป็นพวกกระจอกหรือเดนมนุษย์ สมควรจะถูกฆ่าตายหมดสิ้น กระนั้นนวนิยายก็ได้บอกว่าเกิดจากความโลภอยากได้เงินของตัวเขาเอง ดังนั้นทฤษฎีที่ว่าจึงกลายเป็นกลไกป้องกันตัวเองไป  จากนั้นความรู้สึกผิดบาปที่เกาะกุมในจิตใจของเขาทำให้ชายหนุ่มต้องพบกับความทุกข์ทรมานจากโรคประสาทแบบ Paranoid หรือโรคหวาดระแวงคิดว่าคนรอบข้างเฝ้ามองและสงสัยตัวเอง แม้ว่าจะไม่มีใครรู้หรือพบเห็นอาชญากรรมของเขา อย่างไรก็ตามในร้านเหล้าแห่งหนึ่ง เขาได้พบกับอดีตข้าราชการผู้ทุกข์ระทมที่จมกับขวดเหล้าและสารภาพว่าตนบังคับให้ลูกสาวนามว่าซอนยา เซมโยนอฟนาดำรงชีพเป็นโสเภณี แต่แล้วชายผู้นี้ก็เสียชีวิตจากการถูกรถม้าชน รัสโคลนิคอฟจึงเดินทางไปช่วยเหลือซอนยาและครอบครัว และพบว่าแท้ที่จริงหญิงสาวผู้นี้เป็นคนจิตใจดีงาม อีกทั้งยังนับถือพระเจ้า  และเป็นเธอนั่นเองที่จะทำให้ชีวิตอันแสนทุกข์ทรมานของรัสโคลนิคอฟต้องเปลี่ยนแปลงไปในตอนจบของเรื่อง เมื่อเขาตัดสินใจสารภาพบาปให้เธอฟัง......

 

 

                                                        

                                                             ภาพจาก www.npenn.org

 

      ดูเหมือนว่าดอสโตเยฟสกีจะแตกต่างจากนักเขียนชาวรัสเซียที่โด่งดังไม่แพ้กันไม่ว่าแม็กซิม กอร์กี เจ้าของนวนิยายเรื่อง Mother หรือลีโอ ตอลสตอย เจ้าของนวนิยายเรื่อง Anna Karenina  กับ War and Peace  ที่ว่าแทนที่ดอสโตเยฟสกีจะจำกัดนวนิยายอยู่ที่การพรรณนาตัวละครแบบสัจนิยม ที่เน้นความเหมือนจริง และวิพากษ์สังคมเพียงอย่างเดียว เขาได้หันมาบรรยายให้ผู้อ่านเห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกภายในของตัวละคร ดังคำที่เรียกว่า Stream of consciousness จึงทำให้คนอ่านรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องและดื่มด่ำไปกับตัวละครจนแทบถอนตัวไม่ขึ้น

    นอกจากนี้ตัวละครยังมีความคิดที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา อย่างไม่มีเหตุผล ซึ่งก็เหมาะกับการพรรณนาความรู้สึกของคนเป็นโรคประสาทอันเป็นลักษณะเด่นของพระเอกในนวนิยายส่วนใหญ่ของดอสโตเยฟสกี รูปแบบการเขียนรูปเช่นนี้ได้มีอิทธิพลต่อนักเขียนในรุ่นหลังไม่ว่าจะเป็น เฮอร์มันน์ เฮสเส  ฟรานซ์ คาฟกา เจ้าของนวนิยายชื่อดังคือ Metamorphosis รวมไปถึงนักคิดแนวอัตถิภาวนิยมชาวฝรั่งเศสคือฌอง ปอล ซาร์ตร์ และอัลแบร์ กามูส์

   นอกจากนี้ดอสโตเยฟสกียังโดดเด่นในการนำเสนอแนวคิดแบบอภิปรัชญา (แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ไกลโพ้นจากประสาทสัมผัสเช่นเรื่องของพระเจ้าหรือความเป็นมนุษย์) ที่ลึกซึ้งไม่ว่าจะเป็นความตกต่ำของมนุษยชาติอันเกิดจากความผิดบาป โดยมีรัสโคลนิคอฟเป็นตัวแทนและแน่นอนว่า โซเฟียเปรียบได้ดังความรักของพระเจ้าที่จะมาไถ่บาปมวลมนุษย์ หากมองแบบเป็นสากล โซเฟียคือตัวแทนของแสงสว่างแห่งความดีที่สาดส่องมาในความมืดในจิตใจของมนุษย์ โดยแหล่งที่มาของแสงสว่างนั้นอาจจะไม่ได้สูงส่งเลย ใครบางคนอาจจะหันมากลับตัวเป็นคนดีหรือได้ความคิดอะไรดี ๆ ได้ก็เพียงเพราะเห็นรอยยิ้มของเด็กหรือได้ยินคำพูดซื่อ ๆ ของคนเก็บขยะ

     ที่จริงแล้ว "อาชญากรรมและการลงทัณฑ์" ยังมีโครงเรื่องและตัวละครอื่นอีกหลายตัว แม้จะไม่ซับซ้อนและยืดยาวเหมือนกับ Brothers Karamazov ก็ตามแต่ก็คงลักษณะคล้ายกัน เช่นดอสโตเยฟสกีได้ผสมผสานแนวเรื่องแบบสืบสวนสอบสวนผ่านนักสืบซึ่งสงสัยในพฤติกรรมของรัสโคลนิคอฟแต่ยังหาหลักฐานมามัดตัวเขาไม่ได้ อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนอ่านเผลอเอาใจลุ้นตัวเอกของเรื่องจนเหนื่อยแทน นอกจากนี้นวนิยายยังสะท้อนถึงแนวคิดของดอสโตเยฟสกีที่วิพากษ์สังคมบริโภคทุนนิยมของนครเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก อย่างรุนแรง เช่นเดียวกับแนวคิดทางการเมืองที่เขาให้รัสโคลนิคอฟเป็นตัวแทนของการดำเนินชีวิตที่ผิดพลาดของนักสังคมนิยม ผู้ไม่เชื่อในพระเจ้าที่ชนชั้นกลาง หรือพวกปัญญาชนของรัสเซียในสมัยนั้นเป็นกันมาก  สาเหตุดังกล่าวอาจเนื่องมาจากการที่เขาเคยถูกจับกุมตัวในปี 1849 ด้วยข้อหาก่อการขบถต่อพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 และถูกนำมาประหารชีวิตก่อนจะเปลี่ยนคำตัดสินเป็นถูกเนรเทศไปยังไซบีเรียแทน เมื่อพ้นโทษออกมาดอสโตเยฟสกีจึงเปลี่ยนจากเป็นพวกหัวรุนแรง เชื่อมั่นในแนวคิดเสรีนิยมมาเป็นมาพวกอนุรักษ์นิยมและเคร่งในศาสนาแทน อาจเพราะประสบการณ์เฉียดตายนั่นเอง เช่นเดียวกับการเป็นโรคลมบ้าหมูซึ่งเขามักสะท้อนออกมาผ่านตัวละครในนวนิยายหลายเรื่อง

    "อาชญากรรมและการลงทัณฑ์" ได้รับการยกย่องในโลกตะวันตกอย่างมาก และถูกสร้างมาเป็นทั้งละครรวมไปถึงภาพยนตร์ทั้งแบบตรงไปตรงมาและดัดแปลง (หนึ่งในนั้นที่น่ากล่าวถึงได้แก่เรื่อง Match Point  ของวู้ดดี อัลเลนซึ่งฉายในปี 2005)  น่าสนใจว่า อัลเฟรด อิตช์ค็อก ผู้กำกับภาพยนตร์คนเก่งให้สัมภาษณ์ว่า เขาไม่คิดจะสร้างภาพยนตร์จากวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่อย่างเช่นหนังสือเล่มนี้ของดอสโตเยฟสกีเป็นอันขาดเพราะจะทำให้ภาพยนตร์ดูด้อยค่าไป

วรรณกรรมเรื่องนี้ของดอสโตเยฟสกีจึงเป็นหนังสือที่เราไม่น่าพลาดและไม่น่าจะวางลงก่อนอ่านจบด้วยประการทั้งปวง

 

 

                                                      

                                                            ภาพจาก Wikimedia.org

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เข้าใจว่าผลงานของ William Shakespeare ที่คนไทยรู้จักกันดีรองจากเรื่อง Romeo and Julius ก็คือวานิชเวนิส หรือ Merchant of Venice ด้วยเหตุที่ล้นเกล้ารัชกาลที่หกทรงแปลออกมาเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับเด็กนักเรียนได้อ่านกัน และประโยค ๆ หนึ่งกลายเป็นประโยคยอดฮิตที่ยกย่องดนตรีว่า &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเพลงหรือ musical ที่มีสีสันมากที่สุดเรื่องหนึ่งในทศวรรษที่ห้าสิบและหกสิบ เราก็คงจะนึกถึงเรื่อง West Side Story เป็นเรื่องแรก ๆ อาจจะก่อน Singin' in The Rain หรือ Sound of Music เสียด้วยซ้ำ ด้วยหนังเรื่องนี้มีจุดเด่นคือเพลงทั้งบรรเลงและเพลงร้องที่แสนไพเราะ ฝีมือการกำกับวงของวาทยากรอ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มักเป็นที่เข้าใจว่าอเมริกาเป็นประเทศแห่งความเท่าเทียมกัน อาจด้วยอเมริกานั้นไม่เคยเปลี่ยนผ่านยุคศักดินาเหมือนกับประเทศในเอเชียและยุโรป อเมริกาถึงแม้จะมีชนชั้นกลางมากแต่บรรดาในชนชั้นกลางก็มีการแบ่งแบ่งแยกที่ดีที่สุดคือเงิน รองลงมาก็ได้แก่ฐานะทางสังคม สีผิว เพศ ฯลฯ เอาเข้าจริงๆ ไม่มีสังคมไหนในโลกท
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    1.นอยด์ เป็นคำแสลงที่ถือกำเนิดได้มานานหลายปีแล้ว มาจากคำว่า noid กร่อน (โดยคนไทยเอง) จากศัพท์อังกฤษ  paranoid ซึ่งแปลว่า ความวิตกกังวลว่าคนอื่นไม่ชอบหรือพยายามจะทำร้ายตัวเองแม้ว
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                                                                    &
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผีเป็นบุคคลที่เราไม่พึงปรารถนาจะพบ แต่เราชอบนินทาพวกเขาแถมยังพยายามเจอบ่อยเหลือเกินในจอภาพยนตร์ ทั้งที่ก็ไม่รู้ว่ามีตัวตนจริงหรือเปล่า ด้วยส่วนใหญ่ได้ยินกันปากต่อปาก ประสบการณ์ส่วนตัวก็ไม่ชัดเจน อาจเกิดจากความผิดปกติทางประสาทสัมผัส หรือการหลอกตัวเองก็ได้ ยิ่งหนังผีทำได้วิจิตร พิศดารออกมามากเท่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                 แปลและตัดต่อบางส่วนจากบทความ Gustav Mahler : The Austrian composer เขียนโดยเดรีก วี คุก จาก  www.britannica.com
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ทศวรรษที่ 80 ของฝรั่งคือปี 1980-1989  หรือว่าช่วง พ.ศ. 2523  ถึง พ.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถึงแม้เบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven) จะได้ชื่อว่าเป็น คีตกวีที่แสนเก่งกาจคนหนึ่งในยุคคลาสสิกและโรแมนติก แต่ศิลปะแขนงหนึ่งที่เขาไม่สู้จะถนัดนักคือการเขียนอุปรากร เหมือนกับ โมซาร์ท คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ หรือ โจอากีโน รอสซีนี  ดังนั้นช่วงชีวิต 50 กว่าปีของเบโธเฟนจึงสามารถสร้างอุปรากรออกมาไ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ตามความจริง คำว่า Godfather เป็นคำที่ดีมาก หมายถึงพ่อทูนหัว ของศาสนาคริสต์ที่หมายถึงใครสักคนหนึ่งยอมรับเป็นพ่อทูนหัวของเด็กซึ่งเป็นลูกของคนอื่นในพิธีศีลจุ่มหรือ Baptism เขาก็จะเป็นผู้ประกันว่าเด็กคนนั้นจะได้รับการศึกษาทางศาสนาและถ้าพ่อแม่ของเด็กคนนั้นตายก็ต้องรับอุปการะ นอกจากนี้ยังหมายถึงฝ่ายห
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 visionary ,under the shadow Prayut tries to be the most visionary politician,but he is merely under the shadow of Thacky.&