ปีเตอร์ ไชคอฟสกี (Pyotr Ilyich Tchaikovsky) คีตกวีชื่อดังที่สุดคนหนึ่งของรัสเซีย ไม่ได้เก่งแค่แต่งเพลงประกอบบัลเลต์อย่างเช่น Nutcracker หรือ Swan Lake รวมไปถึงไวโอลินและเปียโนคอนแชร์โตอันลือชื่อ หากแต่ยังฉกาจในการแต่งซิมโฟนี ซึ่งแต่ละบทก็มีชื่อเสียงทั้งสิ้นเช่น
หมายเลข 1 ชื่อว่า Winter daydream
หมายเลข 2 ชื่อว่า Little Russian
หมายเลข 3 ชื่อว่า Polish
หมายเลข 4 และ 5 ที่ไม่มีชื่อ รวมไปถึงซิมโฟนีไร้หมายเลข ที่ชื่อ Manfred opus.58 ซึ่งถูกแต่งระหว่าง 2 หมายเลขดังกล่าว
แต่ซิมโฟนีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือซิมโฟนีหมายเลข 6 ที่มีชื่อว่า Pathetique อันเป็นงานดนตรีชิ้นสุดท้ายก่อนที่คีตกวีเอกผู้นี้จะเสียชีวิต
ไชคอฟสกีแต่งเพลงนี้ในปี 1893 สำหรับคำว่า Pathetique ไม่ใช่ชื่อที่ไชคอฟสกีตั้งเอง หากแต่เป็นน้องชายของเขาคือโมเดสต์เป็นผู้ตั้งให้พร้อมกับความเห็นชอบของตัวผู้แต่ง คำว่า Pathetique ยังมีปัญหาในการตีความเพราะบางแห่งบอกว่าหมายถึง อารมณ์เศร้าสร้อยสุดจะพรรณนา แต่บางแหล่งบอกว่าเป็นภาษารัสเซียหมายถึงความกระตือรือร้นหรือเต็มไปด้วยอารมณ์อันเร่าร้อน อาจเพราะไชคอฟสกีคุยว่าเขาได้ทุ่มกายเทใจลงไปในซิมโฟนีบทนี้เสียจนหมดสิ้น
หมายเลข 1 ชื่อว่า Winter daydream
หมายเลข 2 ชื่อว่า Little Russian
หมายเลข 3 ชื่อว่า Polish
หมายเลข 4 และ 5 ที่ไม่มีชื่อ รวมไปถึงซิมโฟนีไร้หมายเลข ที่ชื่อ Manfred opus.58 ซึ่งถูกแต่งระหว่าง 2 หมายเลขดังกล่าว
แต่ซิมโฟนีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือซิมโฟนีหมายเลข 6 ที่มีชื่อว่า Pathetique อันเป็นงานดนตรีชิ้นสุดท้ายก่อนที่คีตกวีเอกผู้นี้จะเสียชีวิต
ไชคอฟสกีแต่งเพลงนี้ในปี 1893 สำหรับคำว่า Pathetique ไม่ใช่ชื่อที่ไชคอฟสกีตั้งเอง หากแต่เป็นน้องชายของเขาคือโมเดสต์เป็นผู้ตั้งให้พร้อมกับความเห็นชอบของตัวผู้แต่ง คำว่า Pathetique ยังมีปัญหาในการตีความเพราะบางแห่งบอกว่าหมายถึง อารมณ์เศร้าสร้อยสุดจะพรรณนา แต่บางแหล่งบอกว่าเป็นภาษารัสเซียหมายถึงความกระตือรือร้นหรือเต็มไปด้วยอารมณ์อันเร่าร้อน อาจเพราะไชคอฟสกีคุยว่าเขาได้ทุ่มกายเทใจลงไปในซิมโฟนีบทนี้เสียจนหมดสิ้น
ภาพจาก Wikimedia.org
ซิมโฟนีหมายเลข 6 นี้มีความยาวทั้งสิ้น 47 นาที มีทั้งหมด 4 กระบวนดังนี้
1. Adagio - Allegro non troppo
2. Allegro con grazia
3. Allegro molto vivace
4. Finale: Adagio lamentoso
กระบวนที่ 2 และ 3 ถือได้ว่าไพเราะและมีความร่าเริงอยู่บ้าง ในขณะที่กระบวนที่ 1 และ 4 เศร้าสร้อยและดำมืด ฟังแล้วชวนให้น้ำตาไหลเป็นยิ่งนัก ในบางจังหวะของเพลงจะเงียบและแผ่วเบา จนทำให้คนที่ชอบฟังซิมโฟนีแบบเบโธเฟนหรือโมซาร์ทอาจจะไม่ชอบเท่าไรนัก
แต่ 9 วันหลังจากการนำซิมโฟนีบทนี้ออกแสดง ไชคอฟสกีได้เสียชีวิตจากอหิวาตกโรค โดยการดื่มน้ำที่ไม่ได้ต้ม มีเรื่องเล่าให้คนฟังนึกภาพออกเป็นฉาก ๆ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ไชคอฟสกีไปนั่งทานอาหารที่ภัตตาคารแห่งหนึ่ง และยืนกรานจะดื่มน้ำสักแก้วถึงแม้น้ำนั้นไม่ได้ต้มและเพื่อน ๆ ต่างก็ต่อว่า (อีกเรื่องคือ ไชคอฟสกีวิ่งไปที่ห้องครัวของห้องเช่าของโมเดสต์ผู้เป็นน้องเพื่อดื่มน้ำที่ไม่ได้ต้มพร้อมกับตะโกนว่า "ใครจะไปสนใจกัน") วันต่อมาเขาล้มป่วย และวันที่ 6 เขาก็เสียชีวิตเพราะไตล้มเหลว และขาดน้ำจากการอาเจียนและถ่ายของเสียออกมามากเกินไป
เหตุการณ์นี้สร้างความกังขาให้กับบรรดาชนชั้นสูงทั้งหลายในสังคมนครเซ็นเตอร์สเบิร์ก ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัสเซียในสมัยนั้น เพราะไชคอฟสกีถือได้ว่าเป็นผู้ใหญ่ สุขุม รอบคอบ (ถึงแม้จะอารมณ์อ่อนไหวง่ายเกินไปก็ตาม) และเป็นชนชั้นมีอันจะกิน ในขณะที่อหิวาตกโรคมักจะเป็นกับพวกชนชั้นล่าง ที่สุขอนามัยต่ำเท่านั้น แถมคนเป็นโรคนี้จะไม่ตายเร็วขนาดนี้
ริมสกี คอร์ซาคอฟ คีตกวีชื่อดังอีกคนตั้งข้อสังเกตว่าทำไมตอนก่อนจะฝังศพจึงอนุญาติให้แขกจูบมือคนตายได้ ทั้งที่ตามระเบียบของทางการ โลงศพของผู้ที่ตายจากอหิวาตกโรคต้องปิดแน่นหนาเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ออกมาได้ จนมีการตั้งข้อสันนิฐานว่า ไชคอฟสกีอาจถูกบังคับให้ฆ่าตัวตาย เพราะเขามีรสนิยมเป็นพวกรักร่วมเพศ ซึ่งถือกันว่าเป็นความน่าละอายใจของคนรัสเซียในสมัยนั้น ไชคอฟสกีพยายามกลบเกลื่อนโดยการไปแต่งงานกับผู้หญิงคนหนึ่งเพื่อไม่ให้นักวิจารณ์เล่นงานเขาในประเด็นนี้ ผลลัพธ์คืองานแต่งงานล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ไชคอฟสกีถึงกลับพยายามฆ่าตัวตาย
แต่เหตุผลสำคัญที่นักประวัติศาสตร์ยังอุตสาห์สืบเสาะมาอีกนั่นคือไชคอฟสกีไปมีความสัมพันธ์กับหลานชายของดุ๊กสเตนบ็อค เฟอร์มอร์ ทำให้ท่านดุ๊กไม่พอใจยิ่งนักเลยทำเรื่องกราบทูลพระเจ้าอาเล็กซานเดอร์ที่ 3 ของรัสเซีย ความผิดเช่นนี้คือการเนรเทศไปอยู่ที่ไซบีเรียซึ่งเป็นป่าอันแสนหฤโหดเพียงสถานเดียว อนึ่งไซบีเรียยังเป็นที่เนรเทศสำหรับนักโทษทางการเมืองด้วย
แต่ที่สำคัญ เหตุการณ์นี้ได้ทำสร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่โรงเรียนกฎหมายที่ไชคอฟสกีเคยศึกษาอย่างมากมาย จาโคบี เพื่อนเก่าของไชคอฟสกีจึงได้มอบหมายจากเบื้องบนให้มากล่อมให้เขาฆ่าตัวตาย จนสำเร็จในที่สุด ว่ากันว่า ภรรยาของจาโคบีเห็นสามีและไชคอฟสกีเข้าไปคุยในห้องกันนานมากถึง 5 ชั่วโมง ด้วยเสียงโวยวาย ตะคอกใส่กันก่อนที่ไชคอฟสกีจะวิ่งโซซัดโซเซออกจากห้อง ท่าทางโมโหแต่ใบหน้าขาวจนซีด
ถ้าเป็นเช่นนั้นแสดงว่าตอนแต่งเพลงนี้ ไชคอฟสกีคงจะพอรู้ถึงจุดจบของตัวเอง ดังนั้นฝรั่งจึงเรียกว่าซิมโฟนีบทนี้ว่าเป็น Suicide Note หรือบทเพลงแห่งอัตนิบาตกรรม ดังที่ไชคอฟสกีเองก็ตั้งชื่อว่าเป็น Programming Symphony หรือซิมโฟนีที่บ่งบอกอะไรบางอย่างในห้วงลึกของจิตใจเขา ในท่อนที่ 4 คือ Finale เขาได้อุทิศให้กับหลานชายของเขา คือบ็อบหรือชื่อเต็มคือวลาดิมีร์ ดาวิดอฟ นายบ็อบนี่ต่อมาก็ฆ่าตัวตายเมื่ออายุได้เพียง 35 ปี
ภาพจาก www.allmusic.com
บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถือได้ว่า It's A Wonderful Life เป็นภาพยนตร์ที่อเมริกันชนแสนจะรักใคร่มากที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้นอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังชีวิตในยุคหลังมากมายหลายเรื่องแล้ว ภาพยนตร์ขาวดำเรื่องนี้ยังถูกนำมาฉายทางโทรทัศน์ในช่วงคริสต์มาสของทุกปีในอเมริกา คอหนังอเมริกันมักจะเอยชื่อหนังเรื่อง
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผลพวงแห่งความคับแค้นหรือ The Grapes of Wrath เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโจดส์ที่อาศัยอยู่ใน รัฐโอกลาโอมา พวกเขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมื่นครอบครัวของชนชั้นระดับรากหญ้าของอเมริกาที่ต้องพบกับความยากลำบากของชีวิตในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งสหรัฐฯเป็นต้นกำเนิดนั้นเอง  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยสังเกตไหมว่าพวกที่เป็นเซเลบและพวกที่ไม่ได้เป็นเซเลบแต่อยากจะเป็นเซเลบ มักจะหันมาใช้อาวุธชนิดหนึ่งในการโฆษณาสร้างภาพตัวเองซึ่งดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยไปกว่าให้หน้าม้ามาโผล่ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเสนอหน้าผ่านเกมโชว์หรือรายการทั้งหลายในโทรทัศน์ก็คือหนังสือนั้นเอง หนังสือที่ว่ามักจะเป็นเรื่องเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้แปลมาจากบทความของโรเจอร์ อีเบิร์ต ที่เขียนขึ้นในเวบ Rogerebert.com เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ปี ค.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1."วันข้างหน้า ถ้าไม่มีมาตรา 44 ไม่มีคสช.เราจะอยู่กันอย่างไร"
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
from A to Z , rest of one's life If the officers want to inspect Dhammakay temple from A to Z , they must spend the rest of their lives.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับของหมอดูที่ผมรวบรวมมาจากการประสบพบเองบ้าง (ในชีวิตนี้ก็ผ่านการดูหมอมาเยอะ) จากการสังเกตการณ์และนำมาครุ่นคิดเองบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงหมอดูทุกคน เพราะคงมีจำนวนไม่น้อยที่มีฝีมือจริงๆ กระนั้นผมเห็นว่าไม่ว่าเก่งหรือไม่เก่ง พวกเขาหรือเธอต้องใช้เคล็ดลับ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1.Blade Runner (1982) สุดยอดหนังไซไฟที่มองโลกอนาคตแบบ Dystopia นั่นคือเต็มไปด้วยความมืดดำและความเสื่อมโทรม ถึงแม้บางคนอาจจะผิดหวังในตอนจบ(แต่นั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหนัง) แต่ด้วยฝีมือ Ridley Scott ที่สร้างมาจากงานเขียนของ Philip K.Dick ทำให้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้ว่าตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวเป็นตน ภาพยนตร์ที่สร้างความเพลิดเพลินและความชื่นอกชื่นใจให้แก่ผมมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือหนังเรื่อง "มนตร์รักลูกทุ่ง" ของสยามประเทศนี่เอง เคยดูเป็นเวอร์ชั่นโรงใหญ่จากโทรทัศน์ก็ตอนเด็ก ๆ ความจำก็เลือนลางไป เมื่อเข้าเรี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาคิระ คุโรซาวาเป็นผู้กำกับญี่ปุ่นชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยความยิ่งใหญ่จนถึงระดับคลาสสิกของภาพยนตร์ที่เขาสร้างหลายสิบเรื่องทำให้มีผู้ยกย่องเขาว่าเหมือนกับจักรพรรดิหรือแห่งวงการภาพยนตร์ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือแม้แต่ระดับนานาชาติคู่ไปกับสแตนลีย์ คิวบริก อัลเฟรด