Skip to main content
จำได้หรือไม่กับพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกของอังกฤษเมื่อปี 2012 ที่มีภาพยนตร์สั้น ซึ่งสร้างความประหลาดใจและความประทับใจให้กับคนดูทั่วโลกอย่างมาก เมื่อเจมส์ บอนด์ (แสดงโดย ดาเนียล เครก) ได้เดินทางไปถวายการอารักขาให้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (แสดงโดยพระองค์จริง) ที่พระราชวังบักกิงแฮมก่อนจะเสด็จโดยเฮลิคอปเตอร์ไปทำพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกที่สนามกีฬาโอลิมปิกสเตเดียม กรุงลอนดอน และเพลงคลาสสิกซึ่งถูกบรรเลงคลอไปด้วยอันสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับภาพยนตร์ของแดนนี บอยด์อย่างมากคือเพลง The Arrival of the Queen of Sheba ซึ่งถูกแต่งโดยคีตกวีที่เราจะกล่าวถึงในบทความนี้นั่นคือ George Frideric Handel (จอร์จ ฟรีเดริก แฮนเดิล) ผู้ถือได้ว่าเป็น ยักษ์ใหญ่ตนหนึ่งของดนตรียุคบาร็อค (Baroque)  และเป็นผู้สร้างสรรค์ความอลังการและความหรูหราให้กับราชสำนักของอังกฤษที่ยืมดนตรีของเขามาใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ มาหลายศตวรรษ หรือแม้แต่สื่อไม่ว่าละครหรือภาพยนตร์ในปัจจุบันก็ยืมเพลงของแฮนเดิลมาใช้กับภาพยนตร์ย้อนยุคของอังกฤษหรือประเทศอื่นในยุโรปอันทำให้ผู้ชมได้อารมณ์ของชนชั้นสูงในสมัยนั้นอย่างมาก 
 
แม้ดนตรีของแฮนเดิลยังยิ่งใหญ่ไม่เท่าโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค คีตกวีในยุคเดียวกัน แต่เขาก็มีอิทธิพลต่อคตีกวียุคหลังอย่างเช่นโมซาร์ทและเบโธเฟนอย่างมาก เบโธเฟนถึงกลับกล่าวว่า
 
"แฮนเดิลเป็นคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าเคยมีมา ผมจะขอเปิดหมวกและจะคุกเข่าต่อหน้าหลุมฝังศพของเขา"
 
 
                                      
                                                 ภาพโดย  www.hoasm.org
 
 
แฮนเดิลมีพื้นเพเดิมเป็นคนเยอรมัน เขาเกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ปี 1685 ปีเดียวกับบาค ณ เมืองฮัลเล ประเทศเยอรมันในปัจจุบัน บ้านของแฮนเดิลห่างจากบ้านเกิดของบาคเพียง 50 ไมล์ แต่ดูเหมือนคนทั้งคู่จะไม่เคยเจอกันเลยตลอดชีวิต บิดาของแฮนเดิลเป็นนายแพทย์ประจำราชสำนักแซกเซ ไวนเซนเฟลส์  ในวัยเด็กเขาก็เหมือนกับคีตกวีทั่วไปที่มีพรสวรรค์ทางด้านดนตรีอย่างเปี่ยมล้น แต่บิดาเขาประสงค์จะให้เขาเรียนทางกฏหมายมากกว่า แฮนเดิลก็แสดงความดื้อด้านจนบิดาต้องยอมให้แฮนเดิลไปเรียนดนตรีกับฟรีดริช ซาโชว์นักประพันธ์และนักเล่นออร์แกนประจำเมืองเป็นเวลา 3 ปี 
 
ต่อมาอาจจะนึกเกรงใจบิดาขึ้นมาหรือไม่ค่อยประสบความสำเร็จในอาชีพดนตรีช่วงต้นๆ แฮนเดิลก็เลยเข้ามหาวิทยาลัยฮัลเล เพื่อเรียนวิชากฎหมายในปี 1703 แต่บิดาได้ถึงแก่กรรมในปีถัดมา เขาจึงหันเหมาทางดนตรีที่ตัวเองรักสุดตัว โดยการเป็นนักเล่นออร์แกนในโบสถ์นิกาย คาล์วิน (นิกายย่อยของศาสนาคริสต์นิกายโปร์เตสแตนท์) อีกหนึ่งปีก็ย้ายไปเมืองฮัมบรูกเพื่อรับงานเป็นนักเล่นไวโอลินในโรงอุปรากร ในช่วงต้นของปี 1705 นี้เขาก็ได้เขียนอุปรากรสองเรื่องแรกคือ Almira และ Nero จากนั้นเขาก็ท่องเที่ยวและศึกษาดนตรีที่อิตาลีเป็นเวลา 4 ปี ณ ที่นั้นเขาได้พบกับ นักแต่งอุปรากรชื่อดังคืออาเลสเซอร์โดร สการ์เลตติ  ซึ่งมีอิทธิพลต่อเขาในเวลาต่อมา และในอิตาลีนี้เองที่เขาเขียนอุปรากรขึ้นมาหลายเรื่อง 
 
ปี 1712 แฮนเดิลเดินทางไปที่เกาะอังกฤษเพื่อตั้งรกรากเป็นการถาวร ต่อมาได้เปลี่ยนสัญชาติเป็นอังกฤษ ดังนั้นชื่อที่เราคุ้นเคยกันจึงเป็นชื่อที่เปลี่ยนมาในภายหลัง จากชื่อเดิมในภาษาเยอรมันของเขาคือ Georg Friedrich Haendel แฮนเดิลมีผู้อุปถัมภ์องค์สำคัญคือพระเจ้าจอร์จที่ 1  ในอีก 3 ปีต่อต่อมาเขาได้แต่งเพลงที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ Water Music เพื่อใช้ประกอบกระบวนพยุหยาตราชลมารคของพระองค์ทางแม่น้ำเทมส์ โดยมีนักดนตรี 50 คนบรรเลงเพลงบนเรือ ทำนองเพลงทั้งช้าและเร็วสลับกัน สร้างบรรยากาศอันเปี่ยมมนต์ขลังของราชวงศ์อังกฤษเป็นยิ่งนัก
 
 
                                       
 
                                                     ภาพจาก www.musicweb-international.com   
 
 
ปี 1917 แฮนเดิลได้เป็นหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมอุปรากรที่ชื่อว่า Royal Academy of Music  (คนละคนกับสถาบันทางดนตรีชื่อเดียวกันซึ่งถูกก่อตั้งในปี 1822)  อันประกอบด้วยนักแต่งเพลงชาวอิตาลีเช่นอัตติลิโอ อาริโอสติและโจวานนี บาตติสตา โบนอนซินี วงนี้อยู่ได้ 9 ปีก็ถูกยุบ แต่เเฮนเดิลก็ยังคงเขียนอุปรากรภาษาอิตาลีต่อไปพร้อมๆ กับอุปรากรภาษาอังกฤษ มีอยู่หลายเรื่องที่ดังมากอย่างเช่น  Semele   Giulio Cesare และ Orlando สำหรับ อุปรากรเรื่อง Serse ซึ่งเกี่ยวข้องกับกษัตริย์เปอร์เซียนั้นไม่ประสบความสำเร็จนักแต่เพิ่งมาโด่งดังในศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะเพลงร้องเดี่ยว (aria) ชื่อ Ombra mai fu ที่ร้องโดยนักร้องในยุคนั้นมักเป็นผู้ชายที่ถูกตอน (castrato) เพราะผู้หญิงถูกห้ามไม่ให้ขึ้นเวทีแสดง  
 
นอกจากนี้แฮนเดิลยังโด่งดังในด้านโอราโตริโอทั้ง 32 ชิ้นของเขา สำหรับโอราโตริโอ หรือ Oratorio คือการร้องทั้งเดี่ยวและคู่รวมถึงเป็นหมู่คณะพร้อมกับดนตรีเหมือนอุปรากรแต่แตกต่างจากอุปรากรตรงที่ไม่มีชุดแต่งกายและฉากหรือการแสดง ดังเช่น Samson (1743) และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Messiah (1741) ซึ่งถือว่าเป็นงานที่โด่งดังที่สุดของแฮนเดิล  Messiah  หมายถึง "พระผู้มาโปรดโลก" บทเพลงนี้ถูกเขียนขึ้นในปี 1741 ที่บ้านของแฮนเดิลเองกลางกรุงลอนดอน ในช่วงที่แฮนเดิลกำลังทุกข์ทรมานใจเพราะชื่อเสียงของตนกำลังตกต่ำ ผลงานของเขาโดยเฉพาะอุปรากรถูกโจมตีจากพระผู้ทรงอิทธิพลในคริสตจักรว่ามีเนื้อหาดูหมิ่นศาสนาเช่นเดียวกับโรงละครโคเวนท์การ์เดนที่เขาเป็นผู้อำนวยการก็ถูกกล่าวหามีแต่ผู้ชมที่ไร้เกียรติในสังคม
 
ผู้เขียนเนื้อร้องของเพลง Messiah คือชาร์ลส์ เจนเนนส์ได้นำเนื้อหามาจากเนื้อพระคัมภีร์ทั้งพันธสัญญาเดิมและใหม่ งานสามารถแบ่งเป็น 3  ส่วนที่บรรยายชีวิตของพระเยซูคริสต์ ส่วนแรกนั้นเกี่ยวข้องกับตอนที่พระองค์ประสูติ ส่วนที่ 2 บรรยายถึงความทุกข์ทรมาณของพระเยซูขณะถูกตรึงกางเขน การฟื้นกลับมาและการกลับสู่สวรรค์ และการเผยแพร่คำสอนของพระองค์ ส่วนที่ 3 นั้นบรรยายถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในพระวิวรณ์ที่มีต่อเซนต์จอห์น บทเพลงย่อยในออราโตริโอบทนี้ที่ได้รับความนิยมได้แก่ 
 
 
For Unto Us a Child Is Born
 
Rejoice Greatly, O Daughter of Zion
 
I Know That My Redeemer Liveth 
 
Behold the Lamb of God
 
The Trumpet Shall Sound
 
All we like sheep 
 
Hallelujah
 
ฯลฯ
 
Messiah ถูกนำออกแสดงเป็นครั้งแรกในฤดูใบไม้ผลิตปี 1742 ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของคอนเสิร์ตการกุศลในนิวส์มิวสิกฮอลล์ กรุงดับบลิน ไอร์แลนด์จนประสบความสำเร็จอย่างสูง ออราโตริโอชิ้นนี้จึงเป็นงานที่ช่วยให้ชื่อเสียงและฐานะการเงินของแฮนเดิลกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง Messiah มักจะถูกแสดงในช่วงอาทิตย์ก่อนวันคริสตมาส และกลายเป็นเพลงร้องประสานเสียงได้ที่นิยมมากที่สุดของโลกตะวันตกจนถึงทุกวันนี้ ผลงานที่พอจะเทียบเคียงได้ก็มี Christmas Oratorio ของบาค  
 
เป็นเรื่องน่าสนใจว่า ขณะดนตรีแสดงตอน Hallelujah  พระเจ้าจอร์จที่ 2 ก็ทรงยืนขึ้นเพราะความซาบซึ้งพระทัย ทำให้คนอื่นในโรงละครที่กำลังแสดงคอนเสิร์ตก็ต้องลุกตามจนกลายเป็นประเพณีสืบมาว่าเมื่อดนตรีเล่นถึงตอนนี้แล้วคนดูจะต้องลุกขึ้นยืน แต่ก็ยังมีข้อถกเถียงกันอีกว่าจริงๆ แล้วการที่พระเจ้าจอร์จทรงลุกขึ้นเพราะความซาบซึ้งพระทัยหรือว่ายืนเพราะเสด็จมาสายหรือว่าพระองค์เพียงต้องการถวายความเคารพต่อพระเจ้าหรือพระองค์ทรงเป็นโรคเก๊าท์จึงต้องลุกเพื่อให้อาการเจ็บทุเลาลง อันนี้ยังหาข้อสรุปไม่ได้ แต่การยืนเช่นนี้ก็กลายเป็นประเพณีสืบมาหลายร้อยปี สำหรับแฮนเดิลมักจะเล่นเพลงนี้อยู่เสมอในช่วงบั้นปลายของชีวิตเพราะสามารถใช้หากินได้ตลอด
 
 
                                            
 
                                                       ภาพจาก  www.amazon.com
 
ก่อนหน้านี้ แฮนเดิลยังผลิตงานอันยิ่งใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมอังกฤษคือ Zadok the Priest (1727)  ซึ่งเขาแต่งถวายให้งานพิธีราชาภิเศกของพระเจ้าจอร์จที่ 2 ซึ่งจะกลายเป็นเพลงประกอบพิธีเช่นนี้ของราชสำนักอังกฤษจนถึงปัจจุบัน  กระนั้นเราจะมองข้ามผลงานชื่อดังอีกชิ้นของเฮนเดิลไปไม่ได้เป็นอันขาดนั้นคือเพลง Fireworks Music (1749) ที่พระเจ้าจอร์จทรงรับสั่งให้เขาเขียนประกอบการเล่นดอกไม้ไฟที่กรีนปาร์คในกรุงลอนดอนเพื่อเป็นการฉลองการสิ้นสุดของสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย (Austrian Succession)  และการลงนามในสัญญาแอกซ์ ลา ชาแปล ( Aix-la-Chapelle) กระนั้นการซ้อมและการแสดงไม่ค่อยราบรื่นนักเพราะมีอุบัติเหตุและความคับคั่งของการจราจรด้วยผู้คนแห่กันมาดูเป็นจำนวนมาก
 
แฮนเดิลก็เหมือนเบโธเฟนและบาร์มส์ที่ไม่เคยแต่งงานจนตลอดชีวิต (ตรงกันข้ามกับบาคที่มีลูกถึง 13 คน) ช่วงท้ายๆ ของชีวิตเขาผกผันคือมีทั้งขาดทุนและประสบความสำเร็จ แต่แล้วตัวเองก็พบกับปัญหาสุขภาพตาเริ่มพล่ามัวจนบอดเพราะโรคต้อกระจก เขาเสียชีวิตในวันที่ 14 เมษายน ปี 1759 ศพถูกฝังที่วิหารเวสต์มินสเตอร์ มีผู้เข้าร่วมงานศพมากกว่า 3,000 คน อันสะท้อนถึงความนิยมของคนอังกฤษที่มีต่อแฮนเดิลอย่างไม่เสื่อมคลาย
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เข้าใจว่าผลงานของ William Shakespeare ที่คนไทยรู้จักกันดีรองจากเรื่อง Romeo and Julius ก็คือวานิชเวนิส หรือ Merchant of Venice ด้วยเหตุที่ล้นเกล้ารัชกาลที่หกทรงแปลออกมาเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับเด็กนักเรียนได้อ่านกัน และประโยค ๆ หนึ่งกลายเป็นประโยคยอดฮิตที่ยกย่องดนตรีว่า &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเพลงหรือ musical ที่มีสีสันมากที่สุดเรื่องหนึ่งในทศวรรษที่ห้าสิบและหกสิบ เราก็คงจะนึกถึงเรื่อง West Side Story เป็นเรื่องแรก ๆ อาจจะก่อน Singin' in The Rain หรือ Sound of Music เสียด้วยซ้ำ ด้วยหนังเรื่องนี้มีจุดเด่นคือเพลงทั้งบรรเลงและเพลงร้องที่แสนไพเราะ ฝีมือการกำกับวงของวาทยากรอ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มักเป็นที่เข้าใจว่าอเมริกาเป็นประเทศแห่งความเท่าเทียมกัน อาจด้วยอเมริกานั้นไม่เคยเปลี่ยนผ่านยุคศักดินาเหมือนกับประเทศในเอเชียและยุโรป อเมริกาถึงแม้จะมีชนชั้นกลางมากแต่บรรดาในชนชั้นกลางก็มีการแบ่งแบ่งแยกที่ดีที่สุดคือเงิน รองลงมาก็ได้แก่ฐานะทางสังคม สีผิว เพศ ฯลฯ เอาเข้าจริงๆ ไม่มีสังคมไหนในโลกท
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    1.นอยด์ เป็นคำแสลงที่ถือกำเนิดได้มานานหลายปีแล้ว มาจากคำว่า noid กร่อน (โดยคนไทยเอง) จากศัพท์อังกฤษ  paranoid ซึ่งแปลว่า ความวิตกกังวลว่าคนอื่นไม่ชอบหรือพยายามจะทำร้ายตัวเองแม้ว
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                                                                    &
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผีเป็นบุคคลที่เราไม่พึงปรารถนาจะพบ แต่เราชอบนินทาพวกเขาแถมยังพยายามเจอบ่อยเหลือเกินในจอภาพยนตร์ ทั้งที่ก็ไม่รู้ว่ามีตัวตนจริงหรือเปล่า ด้วยส่วนใหญ่ได้ยินกันปากต่อปาก ประสบการณ์ส่วนตัวก็ไม่ชัดเจน อาจเกิดจากความผิดปกติทางประสาทสัมผัส หรือการหลอกตัวเองก็ได้ ยิ่งหนังผีทำได้วิจิตร พิศดารออกมามากเท่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                 แปลและตัดต่อบางส่วนจากบทความ Gustav Mahler : The Austrian composer เขียนโดยเดรีก วี คุก จาก  www.britannica.com
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ทศวรรษที่ 80 ของฝรั่งคือปี 1980-1989  หรือว่าช่วง พ.ศ. 2523  ถึง พ.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถึงแม้เบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven) จะได้ชื่อว่าเป็น คีตกวีที่แสนเก่งกาจคนหนึ่งในยุคคลาสสิกและโรแมนติก แต่ศิลปะแขนงหนึ่งที่เขาไม่สู้จะถนัดนักคือการเขียนอุปรากร เหมือนกับ โมซาร์ท คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ หรือ โจอากีโน รอสซีนี  ดังนั้นช่วงชีวิต 50 กว่าปีของเบโธเฟนจึงสามารถสร้างอุปรากรออกมาไ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ตามความจริง คำว่า Godfather เป็นคำที่ดีมาก หมายถึงพ่อทูนหัว ของศาสนาคริสต์ที่หมายถึงใครสักคนหนึ่งยอมรับเป็นพ่อทูนหัวของเด็กซึ่งเป็นลูกของคนอื่นในพิธีศีลจุ่มหรือ Baptism เขาก็จะเป็นผู้ประกันว่าเด็กคนนั้นจะได้รับการศึกษาทางศาสนาและถ้าพ่อแม่ของเด็กคนนั้นตายก็ต้องรับอุปการะ นอกจากนี้ยังหมายถึงฝ่ายห
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 visionary ,under the shadow Prayut tries to be the most visionary politician,but he is merely under the shadow of Thacky.&