Skip to main content
หากพูดถึงคำว่า Three Bs ผู้ใฝ่ใจในดนตรีคลาสสิกก็จะทราบทันทีว่าหมายถึงคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3  ของเยอรมัน นั่นคือ Bach  Beethoven และ Brahms ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ส่วน นั่นคือบาคเป็นคีตกวีในยุคบาร็อค เบโธเฟนและบราห์ม เป็นคีตกวีในยุคโรแมนติก นอกจากนี้บาคเป็นบิดาที่มีบุตรหลายคน (ซึ่งหลายคนกลายเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงเหมือนเขา)และอาศัยอยู่ในเยอรมันตลอดชีวิต ส่วน เบโธเฟนและบราห์มล้วนเป็นโสดและอาศัยอยู่ในกรุงเวียนนา ออสเตรียตราบจนเสียชีวิต
 
แต่ในที่นี้เราจะมาพูดถึงบราห์ม ซึ่งมีชื่อเต็มว่า  Johannes Brahms เจ้าของเพลง Hungarian Dances และ Piano Concerto ทั้ง 2 บทอันโด่งดัง 
 
 
                                                       
                                         
                                                                      ภาพจาก  ไทยวิกพีเดีย
 
โยฮันเนส บราห์ม เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1833 ที่เมืองฮัมบรูก บิดาเป็นนักดนตรีเล่นเครื่องดับเบิลเบสฝีมือธรรมดาๆ คนหนึ่ง มันจึงกลายเป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรก ที่เขาหัดเล่นนั่นเอง แต่ปรากฏว่าบราห์มีแววรุ่งไปกับเครื่องดนตรีอื่นคือเปียโน ซึ่งฝีมือของเขาก็ได้รับการพัฒนาจากครูชื่อว่าเอดูอาร์ด มาร์กเซนผู้สอนดนตรีตามรูปแบบของบาคให้ และบราห์มได้อุทิศเปียโนคอนแชร์โต้หมายเลข 2 ให้แก่ครูคนนี้ในภายหลัง ว่ากันว่าในวัยเด็ก ดช.บราห์มไปรับจ้าง เล่นเปียโนในแหล่งอโคจรเช่นบาร์และซ่องโสเภณีอันเป็นปฐมสาเหตุที่ทำให้เขามองอิสตรีในด้านไม่ดีและครองตนเป็นโสดไปตลอดชีวิต (แต่ก็มีนักประวัติศาสตร์ดนตรีบางคนไม่เห็นด้วยกับข้อมูลๆ นี้) นอกจากนี้บราห์มยังหัดเล่นเชลโล่ แต่ว่าครูที่สอนดันขโมยเครื่องดนตรีชิ้นนี้ของเขาหนีไปทำให้บราห์มไม่มีโอกาสที่จะคุ้นเคยกับเชลโล่เท่าไรนัก
 
บราห์มในยามหนุ่มไม่ได้รุ่งโรจน์แบบโมซาร์ทหรือเบโธเฟน เขาเปิดการแสดงไม่มากนักและลงมือประพันธ์เพลงมากมายแต่คนก็ยังไม่ค่อยให้ความสนใจอยู่ดี จนกระทั่งเขาได้ออกตระเวนเปิดการแสดงร่วมกับเอดูอาร์ด เรเมนยี  ในระหว่างนั้นเขาได้พบกับโจเซฟ โยอาคิม สุดยอดนักไวโอลินของยุ คผู้ที่จะเป็นเพื่อนสนิทของเขาไปตลอดชีวิต และฟรานซ์ ลิซต์ นักเปียโนผู้เก่งกาจ บราห์มจึงได้เป็นที่รู้จักของสาธารณชน
 
ที่สำคัญพอๆ กัน บราห์มยังได้พบกับ 2 สามีภรรยาคือโรเบิร์ต และคลาร่า ชูมันน์ โรเบิร์ตประทับใจนักดนตรีหนุ่มผู้นี้มากถึงกลับเขียนชมในนิตยสารดนตรีชั้นนำ ว่าเขาเป็น “เจ้าอินทรีย์หนุ่ม” แต่อาจหารู้ไม่ว่า เจ้าอินทรีย์หนุ่มนี้ได้แอบมาสร้างตำนานความรักกับภรรยาของตนคือ คลาร่าผู้อายุมากกว่าบราห์มถึง 14 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ โรเบิร์ตได้เสียชีวิตเพราะเป็นบ้าด้วยโรคซิฟิลิสขึ้นสมองในปี 1856 หลังจากพยายามโดดน้ำเพื่อฆ่าตัวตายแต่ไม่สำเร็จ   และลูกจำนวนถึง 4 ใน 8 คนของคลาร่าก็เสียชีวิตลง เธอจึงพึ่งพิงทางด้านจิตใจกับบราห์มอย่างมากจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต ทั้งคู่ยังแลกเปลี่ยนการวิจารณ์ดนตรีของกันและกัน บางคนเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างเขาและเธอนั้นเป็นแบบ Platonic Friendship หรือเป็นมิตรภาพที่ไม่เรื่องทางเพศเข้ามาเกี่ยวข้องแต่ประการใด
 
บราห์มตัดสินใจตั้งรกรากที่กรุงเวียนนาในปี 1862 เพื่อที่จะได้อุทิศเวลาทั้งหมดให้กับการประพันธ์เพลงเพียงอย่างเดียว งานที่มีชื่อเสียงช่วงหลังจากนั้นได้แก่ German Requiem ซึ่งถูกแสดงครั้งแรก ปี 1869 เพลงสวดศพนี้มีลักษณะเด่นคือเป็นภาษาเยอรมันในขณะที่เพลงสวดของคีตกวีคนอื่นมักเป็นภาษาละติน มันได้สร้างชื่อเสียงให้เขาอย่างมาก มีผู้วิจารณ์ว่างานชิ้นนี้ไม่ได้มีลักษณะไปทางศาสนาหรือแม้แต่ทางโลก หากแต่เป็น การพูดถึงความตาย โดย บราห์มตีความอย่างอิสระจากพระคัมภีร์ไบเบิลที่แปลโดยมาร์ติน ลูเธอร์  เพื่อสื่อความหมายจากความคิดของตัวเขาเอง รวมไปถึงงานออร์เคสตร้า ที่ชื่อว่า Variations on a Theme by Haydn (1873)  Violin Concerto (1878) ซึ่งเขาอุทิศให้กับ โจอาคิม และผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดชิ้นหนึ่งของ บราห์มคือ Double concerto ซึ่งมีเครื่องดนตรีหลักคือ ไวโอลินและเชลโล่ (ตามภาพข้างล่าง) 
 
 
                                    
 
                                          ซีดีเพลงของบราห์มที่ผมเคยสะสม   (ภาพจาก  www.allmusic.com)
 
 
บราห์มเชิดชูบูชาเบโธเฟนมาก เขาถือตัวเองว่าเป็นผู้รับมรดกของความเป็นอัจฉริยะทางดนตรีทางเบโธเฟน ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจว่าอิทธิพลของเบโธเฟนจะมีอยู่มากมายในงานของเขา รวมไปถึงอุปนิสัยบางประการที่เหมือนกันของทั้งคู่เช่นการเดินเล่น บราห์มจะชอบเดินเล่นในป่าใกล้นครเวียนนาและจะพกลูกกวาดเพื่อให้เด็กเล็กๆ หากพบเข้า นิสัยของบราห์มยังใจร้อน ขี้บ่นและชอบมองโลกในแง่ร้าย เหมือนเบโธเฟน อันจะกลายเป็นนิสัยที่ทำให้คนรอบข้างเอือมระอาแต่พวกเขาก็ยังเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันตลอดไป นอกจากนี้เขายังเป็นผู้รักความสมบูรณ์แบบอย่างที่เขาเรียกกันว่า Perfectionist อย่างหาใครเปรียบไม่ได้ นั่นคือหากเขาเขียนเพลงบทๆ หนึ่งเสร็จแล้ว แต่ว่าเห็นว่าไม่ได้เรื่องก็จะทำลายทันที ดังนั้นจึงไม่มีใครรู้ว่าผลงานชิ้นแรกของเขาคืออะไร เพราะไม่มีหลักฐาน และเขาต้องใช้เวลากว่า 21 ปีในการเขียนซิมโฟนีหมายเลข 1 เสร็จสมบูรณ์ 
 
อย่างไรก็ตามถือได้ว่าบราห์มโชคร้ายที่ถูกจัดให้เป็นอริกับคีตกวีชื่อดังอีกคนของยุคคือริชาร์ด แว็คเนอร์ซึ่งก็ถือว่าตัวเองเป็นทายาทของเบโธเฟนอีกเช่นกัน ที่สำคัญคีตกวีซึ่งถือว่าตนเป็นสาวกของแว็คเนอร์ต่างก็ดูถูกบราห์มอย่างเช่นฮูโก โวล์ฟ เห็นว่าบราห์มนั้นเป็น "ของโบราณจากยุคดึกดำบรรพ์"  ส่วนปีเตอร์ ไชคอฟสกีประณามเขาว่าเป็น "ไอ้งั่งที่ไร้พรสวรรค์"  นอกจากนี้ในช่วงที่ซิมโฟนีหมายเลข 3 ของบราห์มซึ่งถูกเขียนในปี  1883 และถูกนำออกแสดงครั้งแรกในปีเดียวกันโดยวงเวียนนาฟิลฮาร์โมนิก ออร์เคสตร้า ภายใต้การนำของฮันส์ ริชเตอร์ สาวกของแว็คเนอร์ได้พยายามก่อกวนการแสดงจนเกือบจะนำไปสู่การปะทะกับสาวกของบราห์ม
 
 
                              
 
บราห์มเป็นเพื่อนที่ดีกับโยฮันน์ สเตราส์ จูเนียร์ เจ้าพ่อเพลงวอลซ์ชื่อดังของออสเตรีย เมื่อลูกเลี้ยงของสเตราส์ไปขอลายเซนต์ของบราห์ม คีตกวีของเราก็เขียนท่อนแรกของโน้ตเพลงบลูดานูบซึ่งเป็นเพลงชื่อดังของสเตราส์และเขียนกำกับด้วยว่า "น่าเสียดายยิ่ง ไม่ได้เขียนโดยบราห์ม" อันเป็นการยกย่องสเตราส์  (ภาพจาก wikimedia.org)
                       
                 
อาจเพราะเคยเกิดเรื่องน่าเศร้าคือเมื่อเขาเปิดแสดงเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 1 เป็นครั้งที่ 2 ที่เมือง ไลป์ซิกของเยอรมัน ในปี 1859 ปรากฏว่าได้รับเสียงโห่จากคนดูที่แสดงท่าทางเบื่อหน่ายงานของเขาอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เขาต้องรอถึง 22 ปีกว่าจะผลิตเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 2 โดยมีฮันส์ ฟอน บือโลว์ เป็นวาทยากรซึ่งได้รับความนิยมมากกว่าชนิดเปรียบเทียบกันไม่ได้ และเป็นเปียโนคอนแชร์โตบทนี้เองที่ผมฟังเป็นเพลงแรกของบราห์มตอนช่วงกำลังเรียนปริญญาโทเมื่อเกือบ 2 ทศวรรษก่อน และมันได้แนบสนิทกับอารมณ์และจินตนาการของผมขณะขี่จักรยานเล่นในชนบทยามบ่ายที่มีแสงแดดสาดส่องผ่านต้นไม้ลงมา กระบวนที่ 3  ช่างอบอุ่นแต่แฝงด้วยความเศร้าสร้อย ทั้งนี้ยังต้องพูดถึงไวโอลินโซนาตาหมายเลข 1 (1889) ซึ่งขึ้นต้นอย่างงดงามและเปี่ยมด้วยอารมณ์ เหมาะกับเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์โรแมนติกดีๆ สักเรื่อง
 
ปี 1890 บราห์มประกาศล้างมือจากการประพันธ์เพลง แต่แล้วก็มีนักดนตรีผู้หนึ่งสามารถเกลี้ยกล่อมให้เขากลับสู่วงการได้ แต่เพียง 7 ปีหลังจากนั้นเขาก็เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ในวันที่ 3 เมษายน สิริรวมอายุได้ 64 ปี 11เดือนภายหลังจากที่คลาร่าหญิงผู้เป็นที่รักได้จากโลกนี้ไป
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เข้าใจว่าผลงานของ William Shakespeare ที่คนไทยรู้จักกันดีรองจากเรื่อง Romeo and Julius ก็คือวานิชเวนิส หรือ Merchant of Venice ด้วยเหตุที่ล้นเกล้ารัชกาลที่หกทรงแปลออกมาเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับเด็กนักเรียนได้อ่านกัน และประโยค ๆ หนึ่งกลายเป็นประโยคยอดฮิตที่ยกย่องดนตรีว่า &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเพลงหรือ musical ที่มีสีสันมากที่สุดเรื่องหนึ่งในทศวรรษที่ห้าสิบและหกสิบ เราก็คงจะนึกถึงเรื่อง West Side Story เป็นเรื่องแรก ๆ อาจจะก่อน Singin' in The Rain หรือ Sound of Music เสียด้วยซ้ำ ด้วยหนังเรื่องนี้มีจุดเด่นคือเพลงทั้งบรรเลงและเพลงร้องที่แสนไพเราะ ฝีมือการกำกับวงของวาทยากรอ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มักเป็นที่เข้าใจว่าอเมริกาเป็นประเทศแห่งความเท่าเทียมกัน อาจด้วยอเมริกานั้นไม่เคยเปลี่ยนผ่านยุคศักดินาเหมือนกับประเทศในเอเชียและยุโรป อเมริกาถึงแม้จะมีชนชั้นกลางมากแต่บรรดาในชนชั้นกลางก็มีการแบ่งแบ่งแยกที่ดีที่สุดคือเงิน รองลงมาก็ได้แก่ฐานะทางสังคม สีผิว เพศ ฯลฯ เอาเข้าจริงๆ ไม่มีสังคมไหนในโลกท
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    1.นอยด์ เป็นคำแสลงที่ถือกำเนิดได้มานานหลายปีแล้ว มาจากคำว่า noid กร่อน (โดยคนไทยเอง) จากศัพท์อังกฤษ  paranoid ซึ่งแปลว่า ความวิตกกังวลว่าคนอื่นไม่ชอบหรือพยายามจะทำร้ายตัวเองแม้ว
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                                                                    &
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผีเป็นบุคคลที่เราไม่พึงปรารถนาจะพบ แต่เราชอบนินทาพวกเขาแถมยังพยายามเจอบ่อยเหลือเกินในจอภาพยนตร์ ทั้งที่ก็ไม่รู้ว่ามีตัวตนจริงหรือเปล่า ด้วยส่วนใหญ่ได้ยินกันปากต่อปาก ประสบการณ์ส่วนตัวก็ไม่ชัดเจน อาจเกิดจากความผิดปกติทางประสาทสัมผัส หรือการหลอกตัวเองก็ได้ ยิ่งหนังผีทำได้วิจิตร พิศดารออกมามากเท่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                 แปลและตัดต่อบางส่วนจากบทความ Gustav Mahler : The Austrian composer เขียนโดยเดรีก วี คุก จาก  www.britannica.com
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ทศวรรษที่ 80 ของฝรั่งคือปี 1980-1989  หรือว่าช่วง พ.ศ. 2523  ถึง พ.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถึงแม้เบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven) จะได้ชื่อว่าเป็น คีตกวีที่แสนเก่งกาจคนหนึ่งในยุคคลาสสิกและโรแมนติก แต่ศิลปะแขนงหนึ่งที่เขาไม่สู้จะถนัดนักคือการเขียนอุปรากร เหมือนกับ โมซาร์ท คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ หรือ โจอากีโน รอสซีนี  ดังนั้นช่วงชีวิต 50 กว่าปีของเบโธเฟนจึงสามารถสร้างอุปรากรออกมาไ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ตามความจริง คำว่า Godfather เป็นคำที่ดีมาก หมายถึงพ่อทูนหัว ของศาสนาคริสต์ที่หมายถึงใครสักคนหนึ่งยอมรับเป็นพ่อทูนหัวของเด็กซึ่งเป็นลูกของคนอื่นในพิธีศีลจุ่มหรือ Baptism เขาก็จะเป็นผู้ประกันว่าเด็กคนนั้นจะได้รับการศึกษาทางศาสนาและถ้าพ่อแม่ของเด็กคนนั้นตายก็ต้องรับอุปการะ นอกจากนี้ยังหมายถึงฝ่ายห
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 visionary ,under the shadow Prayut tries to be the most visionary politician,but he is merely under the shadow of Thacky.&