Skip to main content

มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจมูกได้กลิ่น หรือการสัมผัสแป้นคีย์บอร์ดย่อมเป็นจริง แต่ปัญหาก็คือเราสามารถสัมผัสได้อย่างที่คนอื่นสัมผัสของเหล่านี้ได้หรือเปล่าหรือว่าสอดคล้องกับความจริงที่ไม่ขึ้นอยู่กับประสาทสัมผัสของมนุษย์ได้หรือไม่ (ดังที่เรียกว่าความจริงเชิงภววิสัย หรือ Objective truth เช่น เสียงของมะพร้าวที่ตกลงในป่าโดยไม่มีคนอยู่เป็นอย่างไร) อาจด้วยลักษณะเฉพาะตัวของประสาทสัมผัสของเราแต่ละคน (เช่นเวลาไฟลนนิ้วเรา เรารู้สึกเจ็บ แต่ขอถามว่าเรารู้สึก"เจ็บ"เหมือนอย่างที่นาย ก.โดนไฟลนหรือไม่)หรืออาจจะเกิดจากความบกพร่องทางประสาทสัมผัสก็ได้เช่นขณะนี้ เราอาจจะไม่ได้กลิ่นบางอย่างที่เพื่อนที่นั่งข้างๆ เพราะเราเป็นหวัดบ่อยทำให้ประสาทการได้กลิ่นไม่ดีนัก 

ข้อโต้แย้งเหล่านี้ย่อมเป็นเรื่องปลีกย่อย ไร้สาระถ้าเทียบกับความเป็นจริงทางสังคมและการเมืองซึ่งมีความซับซ้อนอย่างยิ่งเพราะเต็มไปด้วยประโยคคำพูดที่หรูหรา ฟุ่มเฟือยและเป็นนามธรรมมีความจริงทางสังคมและการเมืองมากมายที่เรายอมรับไม่ใช่เพราะประจักษ์สัมผัสด้วยตัวเองแต่เป็นการถูกปลูกฝังด้วยระยะเวลาอันยาวนานโดยองค์กรที่เราเรียกว่า "รัฐ" เช่นสำนึกของความเป็นชาติ ชาติตามแนวคิดของนักวิชาการบางคนคือชุมชนในจินตนาการ (Imagined Community) แนวคิดชาติในจินตนาการเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าเราคิดขึ้นมาเอง แต่หมายความว่าเราสามารถรับรู้ความเป็นชาติโดยผ่านระบบสัญลักษณ์ต่างๆ ที่รัฐปลูกฝังให้เรามาตั้งแต่เป็นทารกหัวยังกลวงเปล่า ผ่านระบบการศึกษาและสื่อมวลชนที่เข้ามาตอกย้ำเราอยู่ทุกวัน เช่นเรารู้สึกว่าตัวเราคือ "คนไทย" ใช้ภาษาไทย ต้องรักชาติไทย กินอาหารไทย หวงแหนมรดกไทย ฯลฯ เราจะรู้สึกว่าเป็นคนชาติเดียวกับลุงปั๋นที่ไถนาอยู่ในตำบลแม่นาเรือพะเยา ถึงแม้เราเป็นชนชั้นกลาง นั่งทำงานอยู่ในตึกชั้นที่ 25 กลางกรุงเทพฯ เกิดที่กรุงเทพฯ ไม่เคยไปพะเยาหรือจังหวัดใด ๆ ในภาคเหนือ เพียงแต่เราสัมผัสชีวิตแบบลุงปั๋นได้ผ่านโทรทัศน์ที่เสนอรายการชาวไร่ เรารู้ว่ายิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรีผู้หญิงคนแรกของไทยก็ผ่านโทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ต ถึงแม้เราจะไม่เคยเห็นสัมผัสตัวยิ่งลักษณ์เป็นๆ มาก่อน 

ชุมชนในจินตนาการยังมีการโยงไปในเรื่องของอดีตซึ่งยิ่งดำมืดไม่มีความชัดเจนขึ้นไปอีกและไม่ค่อยจะสอดคล้องกับความจริงในปัจจุบันนักเช่นคนเชียงใหม่จะถูกทำให้เชื่อว่าพระนเรศวรเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของตนทั้งที่ในอดีตอาณาจักรล้านนารู้สึกเป็นปรปักษ์กับกรุงศรีอยุธยาไม่ต่างจากพม่ารามัญเลย  หรือแม้แต่คนภาคกลางเองที่บางคนประกาศว่าตัวเองเป็นลูกพระองค์ดำก็ไม่ค่อยทราบถึงตัวตนของพระองค์เท่าไรนัก หลายคนไม่ทราบด้วยซ้ำว่าพระองค์จริงๆ มีนิสัยอย่างไร สิ้นพระชนม์อย่างไร ที่ไหน (และพระองค์ทรงมีสำนึกความเป็นไทยหรือห่วงใยลูกหลานไทยถึงขนาดทรงย่อมเหน็ดเหนื่อย ยอมสละพระชนม์เพื่อ "ชาติไทย"ที่ในยุคของพระองค์ไม่เคยมี มีแต่เพียงอาณาจักรอโยธยาหรือไม่) เพียงแต่เพราะเราถูกครูสอนในชั้นเรียนและไปชมภาพยนตร์ที่ยาวเหยียดเหมือนหนังชุดเกาหลีของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลซึ่งแต่งสีเพิ่มสันลงไปอย่างไม่บันยะบันยัง 

ผู้ที่สามารถกุมอำนาจรัฐจะมีพื้นที่ขนาดใหญ่ในการเสริมสร้าง(หรือยัดเหยียด)สำนึกความเป็นชาติอันนำไปสู่การสถาปนาชุดแห่งความจริงทางสังคมและการเมืองได้อย่างมากมายให้กับพลเมืองซึ่งถูกคุมขังภายในชุมชนที่ถูกจินตนาการขึ้น  การยัดเหยียดจะยิ่งทรงพลังมากขึ้นหากใช้กำลัง (Coercive force) เข้ามาประกอบเช่นผ่านทางกฎหมายโดยมีเครื่องมือของรัฐคือตำรวจกับทหาร รัฐโดยเฉพาะรัฐที่เป็นเผด็จการหรือมีลักษณะเป็นเผด็จการทั้งที่ประกาศตนว่าเป็นประชาธิปไตย มักออกกฎหมายบังคับให้พลเมืองเชื่อในชุดความจริงชุดหนึ่ง เพียงถ้าพลเมืองคนใดแสดงความไม่เชื่อในชุดความจริงนั้นก็จะถูกลงโทษเช่นถูกจับติดคุกหรือประหารชีวิต ถูกประณามว่าเป็นคนไม่ภักดีต่อชาติ 

ความเป็นจริงทางสังคมและการเมืองเช่นนี้ไม่ได้มีเพียงมีลักษณะในอดีตหรือเป็นข้อมูลหยุดนิ่งไม่ แต่ยังหมายถึงการตัดสินใจหรือทัศนคติหรือความเห็นพ้องร่วมกัน (Consensus) ของคนในชาติต่อเหตุการณ์หลายอย่างประจำวัน รัฐ (ที่หมายถึงรัฐาธิปัตย์ซึ่งยิ่งใหญ่กว่า รัฐบาล) มีวิธีในการสร้างสำนึกหรือความเห็นพ้องร่วมกันให้กับพลเมืองทั้งหลายด้วยวิธีที่แยบยลและทรงพลังเช่นนอกจากกฎหมายแล้วยังสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในการควบคุมหรือชี้นำสื่อมวลชนให้นำเสนอสารที่สอดคล้องกับชุดความจริงนั้นๆ (อย่างที่เรียกว่า Propaganda หรือโฆษณาชวนเชื่อ) ชุดความจริงเช่นนี้ยิ่งดูเสมือนจริงยิ่งขึ้น เพราะพรางตาพลเมืองให้เข้าใจว่าอยู่นอกเหนือปริมณฑลของอำนาจรัฐ

การสร้างชุดความจริงยังทำได้ก็ต่อเมื่อการพรางตาให้กับพลเมืองโดยการสรุปจากชุดความจริงที่สร้างโดยกลุ่มๆ หนึ่งแล้วชี้นำให้มวลชนซึ่งไม่มีชุดความจริงอยู่ในหัวเชื่อว่าพลเมืองทุกคนในรัฐคิดหรือเชื่อเหมือนกัน  ตามวิสัยของมนุษย์มักเห็นว่าสิ่งที่คนอื่นเชื่อร่วมกันมากๆ มักจะเป็นความจริงสูงสุด เข้าทำนองเดียวกับสำนวนภาษาอังกฤษว่า Jump on the bandwagon เมื่อทุกคนเชื่อกันมากๆ เข้าก็ย่อมเข้าข่ายอุปทานหมู่ (Mass hysteria) หลงละเมอเพ้อพกอยู่ในจินตนาการร่วมกันที่จะถูกสร้างหรือเนรมิตให้เป็นอย่างไรก็ได้โดยรัฐ แม้คนจำนวนไม่น้อยจะไม่เชืีอตามรัฐก็ต้องเงียบเสียงหรือจำกัดการแสดงออกแนวคิดส่วนตัวในแวดวงที่ตนไว้ใจอย่างเช่นคนรอบข้าง

ปรากฎการณ์เช่นนี้ไม่จำกัดอยู่เฉพาะรัฐที่เป็นเผด็จการเท่านั้น แม้แต่รัฐที่เป็นประชาธิปไตยก็ต้องมีวิธีการเช่นนี้นักวิชาการบางคนอาจจะการ กระทำเช่นนี้ก็เพื่อความอยู่รอดและประโยชน์ของรัฐเอง แต่ถ้ามองตามแว่นของนักคิดแบบลัทธิมาร์กซ์คือเพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นปกครอง เราอาจจะไม่ต้องสนใจว่าความจริงที่แท้จริงเป็นอย่างไร เพราะความจริงที่แท้จริงอาจจะไม่มี และไม่มีวันถูกค้นพบได้ ต่อให้เรามียานย้อนเวลาหรือเป็นพระเจ้าก็ตาม !  

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    ฟังเพลงของเขามามากต่อมากแล้วเรามาทายกันดีกว่าว่าหน้าตาของเขาน่าจะเป็นอย่างไร สูงผอม บอบบาง ขี้โรค อารมณ์อ่อนไหวง่ายและหน้าตาเต็มไปด้วยความทุกข์อยู่ไม่คลาย ?  และเมื่อเห็นภาพของโชแปงซึ่งเป็นภาพถ่ายของเขาเพียงภาพเดียว (ไม่นับภาพวาดอีกหลายๆ ภาพ และภาพยนตร์ที่อิงกับชีวิตของเขา) ก็ค
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้หรือไม่กับพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกของอังกฤษเมื่อปี 2012 ที่มีภาพยนตร์สั้น ซึ่งสร้างความประหลาดใจและความประทับใจให้กับคนดูทั่วโลกอย่างมาก เมื่อเจมส์ บอนด์ (แสดงโดย ดาเนียล เครก) ได้เดินทางไปถวายการอารักขาให้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (แสดงโดยพระองค์จริง) ที่พระราชวังบักกิงแฮมก่อนจะเสด็จโด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
       คนไทยมักจะรู้จักอุปรากร Madame Butterfly  หรือ คุณนายผีเสื้อ  เป็นอย่างดีผ่านบทละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้าของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่ทรงดัดแปลงหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากอุปรากรเรื่องนี้ซึ่งแสดงถึงโศกนาฏกรรมของความรักระหว่างคน 2 เชื้อชาติคือ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
       หากเข้าใจเปรียบเทียบ Psycho นั้นเปรียบดังดาวซึ่งจรัสแสงที่สุดเท่าที่ฮอลลีวู้ดจะมีไว้ประดับท้องฟ้าแห่งวงการภาพยนตร์โลกประเภทตื่นเต้นสยองขวัญ แน่นอนว่าผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์ซึ่งทำให้คนดูเหงื่อทะลักเกือบทั้งเรื่องทั้งที่มีเครื่องปรับอากาศย่อมไม่ใช่ใครอื่นนอกจากราชาแห่งภาพยน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ตอนที่ 1    
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   บทความนี้ขออุทิศให้ภรรยาของอ้ายจรัลซึ่งครั้งหนึ่งผู้เขียนบทความนี้มีโอกาสได้รู้จัก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
      โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ถือได้ว่าเป็นคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของวงการดนตรีคลาสสิก เขาเป็นผู้บุกเบิกดนตรียุคบาร็อค (Baroque) ซึ่งเป็นดนตรีที่เรียบง่าย ฟังสบายๆ ไม่ดุเดือดเหมือนกับแนวโรแมนติกที่บุกเบิกโดยเบโธเฟนในหลายสิบปีให้หลัง  ด้วยดนตรีของบ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
     เคยมีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ สังคมไทยเกิดคำฮิตกับเพศชายคือคำว่าเมโทรเซ็กซัล (Metrosexual) หรือเรียกสั้นๆ ว่าเมโทร กระนั้นก็ทำให้คนเข้าใจไปเป็นคำ ๆ เดียวหรือใกล้เคียงกับ  คำว่า Homosexual หรือ พวกรักร่วมเพศ จึงกลายเป็นมองว่าคนพวกนี้เป็นเกย์ทั้งนั้น  ตามความจริ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 Ran(1985) เป็นงานชิ้นโดดเด่นและใช้ทุนสุดมหาศาลของยอดผู้กำกับภาพยนตร์อย่างอาคิระ คุโรซาวาในช่วงบั้นปลายที่เขาหันมาทำภาพยนตร์เป็นสีธรรมชาติ บางคนอาจจะชอบภาพยนตร์สีธรรมชาติเรื่องก่อนหน้านี้ของเขาคือ kagemusha หรือนักรบเงา (1980) แต่ผมคิดว่า Ran จัดว่าเป็นภาพยนตร์ที่เปี่ยมด้วยเนื้อ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                        
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ปีเตอร์ ไชคอฟสกี (Pyotr Ilyich Tchaikovsky) คีตกวีชื่อดังที่สุดคนหนึ่งของรัสเซีย ไม่ได้เก่งแค่แต่งเพลงประกอบบัลเลต์อย่างเช่น Nutcracker หรือ Swan Lake รวมไปถึงไวโอลินและเปียโนคอนแชร์โตอันลือชื่อ หากแต่ยังฉกาจในการแต่งซิมโฟนี ซึ่งแต่ละบทก็มีชื่