Skip to main content

18 กันยายน 2014 วันลงคะแนนประชามติ ว่าสกอตแลนด์จะเป็นประเทศอิสระหรือไม่

เช้าวันนี้บนถนนรอยัลไมล์คึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยวตามปกติ ผสมกับคนที่มาลงคะแนน มารณรงค์ และสื่อที่มาทำข่าว ภาพด้านล่างนี้เป็นบริเวณ West Parliament Square ด้านซ้ายคือวิหารนักบุญไจลส์ ด้านขวาคืออาคาร Lothian Chambers ซึ่งเป็นที่ทำการของสภาเมืองเอดินบะระและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และวันนี้ก็ยังใช้เป็นหน่วยลงคะแนนด้วย

ระหว่างทางเดินไปหน่วยเลือกตั้ง เราจะเห็นคนติดเข็มกลัดทั้ง Yes และ No เดินผ่านอยู่ตลอด ผู้คนจับกลุ่มคุยกันเรื่องประชามติ บางคนไม่รู้จักกันมาก่อนแต่หยุดทักทายและคุยกัน ตามมุมถนนจะเห็นผู้สื่อข่าวหลากหลายสำนักสัมภาษณ์ผู้ลงคะแนนและผู้รณรงค์

แม้แต่ด้านหน้าหน่วยลงคะแนนเอง ก็ยังมีการรณรงค์จากทั้งสองค่าย

ผมคุยกับกลุ่มผู้สนับสนุน No ที่ยืนอยู่หน้าหน่วยลงคะแนน (ภาพด้านล่าง) พวกเขาเป็นคนอังกฤษ ไม่มีสิทธิโหวต แต่อยากให้สกอตแลนด์อยู่กับ Union ต่อไป ก็เลยมาที่นี่ในวันนี้ เพื่อบอกกับผู้มีสิทธิลงคะแนนว่า อยู่ด้วยกันต่อไปเถอะ เมื่อถามว่ามากันอย่างนี้ใครสนับสนุนทุน พวกเขาบอกว่าออกเงินกันมาเอง คือว่าอินมาก ว่างั้น

กลุ่มผู้ไม่มีสิทธิออกเสียง ที่มาร่วมรณรงค์ในสกอตแลนด์ ไม่ได้มีเพียงคนจากสหราชอาณาจักรเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มใหญ่ที่มาจากสเปน หรือถ้าจะพูดให้ "ถูกต้อง" กว่านั้น ก็คือมาจากกาตาลุญญา (Catalunya)

ผมคุยกับผู้หญิงวัยรุ่นหนึ่งในชาวคาตาลันที่มายืนให้กำลังใจอยู่บริเวณ West Parliament Square ก็คุยกับแบบกะพร่องกะแพร่งล่ะนะครับ เพราะผมพูดคาตาลันหรือสเปนไม่ได้ เลยต้องใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งต่างคนก็ต่างไม่ถนัด เธอบอกว่าพวกเธอไม่ได้สังกัดกลุ่มไหน มาก็มากันเอง เพราะอยากสนับสนุนคนสกอตแลนด์ให้สามารถตัดสินใจชะตากรรมของตัวเองได้ ซึ่งชาวคาตาลันเองก็ต้องการการตัดสินใจแบบนี้เช่นกัน พวกเธอไม่ได้อยู่ในสกอตแลนด์ แต่เดินทางมาจากกาตาลุญญาโดยตรงเลย มาอยู่สกอตแลนด์สามวัน เมื่อถามว่ามากันเยอะไหม เธอบอกว่าประมาณร้อยคน แล้วก็ทำหน้าไม่แน่ใจ ตอบอีกทีว่า อาจจะสองร้อย แต่เท่าที่เห็นบริเวณนั้นไม่น่าจะถึง อย่างมากก็สามสิบ แต่อาจจะไปอยู่แถวอื่นก็เป็นได้

มากันเอง แต่จัดเต็มมาก ทั้งเสื้อทีม ธงคาตาลัน ธงสกอตแลนด์ ลุงป้ามากันครบ

9 พฤศจิกายน 2014 ที่กาตาลุญญา (หรือแคทาโลเนีย) จะจัดการลงประชามติว่าจะอยุ่กับสเปนต่อไปหรือไม่ เป็นการจัดประชามติกันเองของชาวคาตาลัน และไม่มีผลผูกพันใดๆ เพราะรัฐบาลสเปนไม่ให้การรับรอง อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญสเปนก็ได้ตัดสินแล้วว่าการลงประชามติของแคว้นคาตาโลเนียขัดต่อรัฐธรรมนูญสเปน

เมื่อวานนี้นายกรัฐมนตรีสเปนเพิ่งออกมาตำหนิการลงประชามติสกอตแลนด์ ว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะสมและจะส่งผลเสียกับสหภาพยุโรป ซึ่งก็เข้าใจได้ว่าทำไมรัฐบาลกลางสเปนถึงหัวเสีย เพราะกลัวว่ากระแสสกอตแลนด์จะลามไปยังแคว้นอื่นๆ ด้วย ไม่เพียงเฉพาะกาตาลุญญา เพราะแคว้นอย่างบาสก์ (Basque/Euskadi ก็จ่ออยู่

ช่วงนี้เอาเท่านี้ก่อน เดี๋ยวเย็นๆ มาว่ากันต่อครับ ผับที่นี่ตอนหลังสี่ทุ่มน่าจะคึกคักมาก หลายที่ยืนยันแล้วว่าจะเปิดถึงตีสี่ รอนับคะแนนให้รู้ผลกันไปเลย

ใครเชียร์ฝั่งไหน ก็หยอดทิปลงแก้วได้ตามสะดวกครับ #indyref

 

บล็อกของ bact

bact
18 กันยายน 2014 วันลงคะแนนประชามติ ว่าสกอตแลนด์จะเป็นประเทศอิสระหรือไม่
bact
เหลือเวลาอีกไม่กี่ชั่วโมง การลงประชามติเพื่อตัดสินใจอนาคตของสกอตแลนด์ก็จะเริ่มขึ้นแล้ว วันนี้ผมมาอยู่ที่เอดินบะระ เมืองหลวงของสกอตแลนด์
bact
ความโกลาหลหรืองานฉลองในระยะสั้น จะเสียโอกาสกันทั้งหมดหรือเป็นประตูสู่ความรุ่งโรจน์ของชาติต่างๆ ที่เคยอยู่ร่วมสหราชอาณาจักรด้วยกันในระยะยาว เป็นประเด็นถกเถียงไม่รู้จบทั้งบนหน้าหนังสือพิมพ์ รายการโทรทัศน์ และสื่อสังคมออนไลน์ แต่อย่างน้อยดูจะมีสิ่งหนึ่งที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกันก็คือ คนสกอตแลนด์มีสิทธิ
bact
วันนี้ได้อ่านเกี่ยวกับบริการของบริษัท FullContact ซึ่งเพิ่งไปซื้อกิจการบริษัท Cobook ผู้ผลิตโปรแกรมสมุดโทรศัพท์บนระบบปฏิบัติการ (Mac) OS X มาเมื่อปลายปีก่อน
bact
คนซานฟรานทนไม่ไหว บริษัทเทคโนโลยีบุก ทำบ้านแพง ขนส่งมวลชนพัง ผู้เช่าเดิมถูกไล่ ธุรกิจท้องถิ่นต้องปิดตัวTech workers vs. The rest of the City
bact
ข่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของกรุงลอนดอน "Man hugs driver of tipper truck that killed his cyclist girlfriend at King's Cross blackspot"&n
bact
ปีนี้เป็นปีแห่งความปวดหัวตึ๊บของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจริงๆ จากข่าวโครงการดักฟังดักรับข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา (NSA) ที่นายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน เปิดโปงเมื่อกลางปี ตามมาด้วยกรณีละเมิดความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารต่างๆ นานา จนทั้งองค์กรสิทธิทั่วโลก รวมทั้งสหประชาชาติต้องวิ่งวุ่น
bact
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (3 ก.ย. 2556) ไปงาน แผนแม่บทไอซีที ระยะที่ 3 ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำลังจัดทำสำหรับ พ.ศ.
bact
นักข่าวยุคอินเทอร์เน็ต ไม่ใช่เพียงทำข่าวและส่งข่าวผ่านเน็ต แต่จำเป็นต้องรู้จักประเด็นปัญหาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมใหม่นี้ด้วย เพื่อปกป้องทั้งตัวเองและแหล่งข่าวสัปดาห์ที่แล้วมีโอกาสแลกเปลี่ยนกับนักข่าวในกลุ่มอาเซียนจำนวนหนึ่งในงาน Fellowship ของ Southeast Asian Press Alliance (SEAPA) เรื่องความเป็นส่วนตัวในส่วนที่เกี่ยวกับงานข่าวประเด็นที่สำคัญตอนนี้ น่าจะเป็นเรื่อง metadata และข้อมูลที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งถ้าหลุดหรือจัดการไม่ดี ก็จะเป็นอันตรายต่อแหล่งข่าวหรือตัวนักข่าวเอง หรือพูดในบริบทที่กว้างขึ้น ก็รวมทั้งคนทั่วไปอย่างเราๆ ท่านๆ ด้วยแหละ
bact
ความหมายของ “hate speech” หรือ “คำพูดแสดงความเกลียดชัง”/”คำชัง” นี่ ถ้าไม่จัดการมันให้แคบ จำกัด ชัดเจน และเคร่งครัด จะอันตรายมาก พูดอะไรไปสักอย่างนี่มันมีโอกาสไม่ถูกใจใครคนใดคนหนึ่งอยู่แล้ว ถ้าใครๆ ก็อ้าง “hate speech” ได้ จิตใจฉันหวั่นไหว แล้วโวยต่อไปด้วยว่า อะไรที่เป็น “hate speech” จะต้องแบน เ
bact
จะเขียนเรื่อง closed caption หลายรอบแล้วแต่ก็ยังไม่ได้เขียนเสียที (เหมือนกับอีกอื่นร้อยสิ่งอย่างที่ยังไม่ได้ทำ) วันนี้ขอเขียนเร็วๆ แบบเท่าที่นึกออก ไม่มีอ้างอิงอะไรใดๆ ทั้งสิ้น (ไม่งั้นจะไม่ได้เขียนซะที)