Skip to main content

คนซานฟรานทนไม่ไหว บริษัทเทคโนโลยีบุก ทำบ้านแพง ขนส่งมวลชนพัง ผู้เช่าเดิมถูกไล่ ธุรกิจท้องถิ่นต้องปิดตัว

Tech workers vs. The rest of the City

คนท้องถิ่นมองว่าพนักงานของบริษัทเหล่านี้แทบไม่ได้มอบอะไรกลับให้กับท้องถิ่นเลย เช่น บริการอาหารและซักรีดบริษัทอย่างกูเกิลก็จัดหาให้พนักงานฟรี ตลาดที่คนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีไปก็เป็นตลาดหรูๆ เก๋ๆ ที่คนท้องถิ่นไม่ได้ขายของ

กฎหมายปัจจุบันหลายอย่างเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจเทคโนโลยีและพนักงานของบริษัทเหล่านี้ที่มีกำลังซื้อสูงกว่า เช่นการยกเว้นภาษีกิจการเทคโนโลยี หรือ Ellis Act ที่อนุญาตให้ผู้ให้เช่ายกเลิกสัญญากับผู้เช่าได้ แม้ผู้เช่าไม่ได้ทำอะไรผิดก็ตาม โดยเปิดช่องว่า ผู้ให้เช่าสามารถยกเลิกสัญญาได้หากกำลังจะเลิกกิจการ - ผู้ให้เช่าสามารถ "กำลังจะเลิกกิจการ" ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

หลายปีที่ผ่านมามีคนถูกไล่ออกจากบ้านเช่าก่อนหมดสัญญาจำนวนมากเพราะเจ้าของจะปล่อยให้ผู้เช่ารายใหม่ที่จ่ายแพงกว่า

เมื่อบ้านก็แพง ธุรกิจท้องถิ่นก็ทำไม่ได้ ทำให้คนท้องถิ่นจำเป็นต้องย้ายออกเป็นจำนวนมาก

ที่น่าโมโหสุดในสายตาคนท้องถิ่นคือ บริษัทเทคโนโลยีอย่างกูเกิล แอปเปิล และบริษัทอื่นๆ จัดรถชัตเติลบัสรับส่งพนักงานของตัวเอง และใช้ป้ายรถเมล์สาธารณะเป็นจุดจอดรับส่ง ซึ่งนอกจากจะทำให้บ้านละแวกป้ายรถเมล์แพงขึ้น 20% แล้ว ยังทำให้รถเมล์ของรัฐทำกำไรไม่ได้ และส่งผลต่อการเดินทางของคนที่ไม่ได้เป็นพนักงานบริษัทเหล่านี้หรือไม่ได้เดินทางไปทำงาน

“Public $$$$, Private Gains”

สถานะทางกฎหมายของรถบัสเอกชนเหล่านี้ยังคลุมเครือ และหลายคนก็ไม่พอใจที่นอกจากบริษัทเอกชนจะมาใช้โครงสร้างพื้นฐานที่ตัวเองไม่ได้ลงทุนแล้ว ยังจะสร้างผลกระทบต่อคนท้องถิ่นอีก

ทุกๆ วัน มีรถบัสของบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้จอดที่ป้ายรถเมล์ของซานฟรานฯ ประมาณ 7,100 ครั้ง โดยไม่มีใบอนุญาตจอด (แต่ผู้บังคับใช้กฎหมายก็ไม่ได้ว่าอะไร) ทำให้รถเมล์ปกติที่จะเข้าจอดต้องล่าช้า และรถบัสเหล่านี้ไม่ได้จ่ายค่าบำรุงรักษาป้ายและระบบช่องทางรถเมล์ให้กับเมือง

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลท้องถิ่นซานฟรานซิสโกกำลังจะลงคะแนนรับ/ไม่รับร่างกฎหมายที่จะทำให้รถบัสดังกล่าวถูกกฎหมาย และให้รถบัสเหล่านี้ทุกคันต้องจ่ายเงิน 1 เหรียญทุก 1 ป้ายที่จอด ให้กับขนส่งมวลชนซานฟรานซิสโก มีการคำนวณว่าขนส่งมวลชนซานฟรานซิสโกจะได้รับเงินประมาณ 1.5 ล้านเหรียญต่อปี แต่เงินจำนวนนี้อย่างมากก็จะครอบคลุมเฉพาะต้นทุนในการดำเนินงาน และจะไม่ทำให้ขนส่งมวลชนซานฟรานซิสโกมีกำไรไปปรับปรุงบริการอะไรเพิ่มได้

ที่ร้ายคือ เพิ่งจะมีบันทึกจากฝ่ายการเดินทางของกูเกิลหลุดออกมา เชิญชวนพนักงานกูเกิลไปแสดงความเห็นสนับสนุนร่างกฎหมายดังกล่าว โดยในบันทึกมีสคริปต์คำพูดให้พนักงานเอาไปใช้ได้ด้วย ว่าควรจะพูดอย่างไรถึงจะดูดี เช่นบอกว่า ถ้าไม่มีรถบัสก็คงต้องขับรถและจะทำลายสิ่งแวดล้อม หรือพวกเขาสนับสนุนร้านค้าท้องถิ่นอยู่เรื่อยๆ

สถานการณ์ตอนนี้ตึงเครียดน่าดู ถึงขนาดกูเกิลต้องจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยเพื่อคุ้มครองรถชัตเติลบัสของตัวเอง หลังจากเมื่อวันที่ 9 ธันวาคมปีที่แล้ว (2556) คนซานฟรานจำนวนนึงไปปิดล้อมรถของกูเกิล

เดินไปไหนย่อมมีรอยเท้า แต่บริษัทพวกนี้ตัวใหญ่ไปหน่อย ตีนเลยหนัก แถม "เผลอ" ไปเดินบนหัวชาวบ้านด้วย

ข้อมูลจากแคมเปญ "Heart of the City"

บล็อกของ bact

bact
18 กันยายน 2014 วันลงคะแนนประชามติ ว่าสกอตแลนด์จะเป็นประเทศอิสระหรือไม่
bact
เหลือเวลาอีกไม่กี่ชั่วโมง การลงประชามติเพื่อตัดสินใจอนาคตของสกอตแลนด์ก็จะเริ่มขึ้นแล้ว วันนี้ผมมาอยู่ที่เอดินบะระ เมืองหลวงของสกอตแลนด์
bact
ความโกลาหลหรืองานฉลองในระยะสั้น จะเสียโอกาสกันทั้งหมดหรือเป็นประตูสู่ความรุ่งโรจน์ของชาติต่างๆ ที่เคยอยู่ร่วมสหราชอาณาจักรด้วยกันในระยะยาว เป็นประเด็นถกเถียงไม่รู้จบทั้งบนหน้าหนังสือพิมพ์ รายการโทรทัศน์ และสื่อสังคมออนไลน์ แต่อย่างน้อยดูจะมีสิ่งหนึ่งที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกันก็คือ คนสกอตแลนด์มีสิทธิ
bact
วันนี้ได้อ่านเกี่ยวกับบริการของบริษัท FullContact ซึ่งเพิ่งไปซื้อกิจการบริษัท Cobook ผู้ผลิตโปรแกรมสมุดโทรศัพท์บนระบบปฏิบัติการ (Mac) OS X มาเมื่อปลายปีก่อน
bact
คนซานฟรานทนไม่ไหว บริษัทเทคโนโลยีบุก ทำบ้านแพง ขนส่งมวลชนพัง ผู้เช่าเดิมถูกไล่ ธุรกิจท้องถิ่นต้องปิดตัวTech workers vs. The rest of the City
bact
ข่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของกรุงลอนดอน "Man hugs driver of tipper truck that killed his cyclist girlfriend at King's Cross blackspot"&n
bact
ปีนี้เป็นปีแห่งความปวดหัวตึ๊บของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจริงๆ จากข่าวโครงการดักฟังดักรับข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา (NSA) ที่นายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน เปิดโปงเมื่อกลางปี ตามมาด้วยกรณีละเมิดความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารต่างๆ นานา จนทั้งองค์กรสิทธิทั่วโลก รวมทั้งสหประชาชาติต้องวิ่งวุ่น
bact
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (3 ก.ย. 2556) ไปงาน แผนแม่บทไอซีที ระยะที่ 3 ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำลังจัดทำสำหรับ พ.ศ.
bact
นักข่าวยุคอินเทอร์เน็ต ไม่ใช่เพียงทำข่าวและส่งข่าวผ่านเน็ต แต่จำเป็นต้องรู้จักประเด็นปัญหาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมใหม่นี้ด้วย เพื่อปกป้องทั้งตัวเองและแหล่งข่าวสัปดาห์ที่แล้วมีโอกาสแลกเปลี่ยนกับนักข่าวในกลุ่มอาเซียนจำนวนหนึ่งในงาน Fellowship ของ Southeast Asian Press Alliance (SEAPA) เรื่องความเป็นส่วนตัวในส่วนที่เกี่ยวกับงานข่าวประเด็นที่สำคัญตอนนี้ น่าจะเป็นเรื่อง metadata และข้อมูลที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งถ้าหลุดหรือจัดการไม่ดี ก็จะเป็นอันตรายต่อแหล่งข่าวหรือตัวนักข่าวเอง หรือพูดในบริบทที่กว้างขึ้น ก็รวมทั้งคนทั่วไปอย่างเราๆ ท่านๆ ด้วยแหละ
bact
ความหมายของ “hate speech” หรือ “คำพูดแสดงความเกลียดชัง”/”คำชัง” นี่ ถ้าไม่จัดการมันให้แคบ จำกัด ชัดเจน และเคร่งครัด จะอันตรายมาก พูดอะไรไปสักอย่างนี่มันมีโอกาสไม่ถูกใจใครคนใดคนหนึ่งอยู่แล้ว ถ้าใครๆ ก็อ้าง “hate speech” ได้ จิตใจฉันหวั่นไหว แล้วโวยต่อไปด้วยว่า อะไรที่เป็น “hate speech” จะต้องแบน เ
bact
จะเขียนเรื่อง closed caption หลายรอบแล้วแต่ก็ยังไม่ได้เขียนเสียที (เหมือนกับอีกอื่นร้อยสิ่งอย่างที่ยังไม่ได้ทำ) วันนี้ขอเขียนเร็วๆ แบบเท่าที่นึกออก ไม่มีอ้างอิงอะไรใดๆ ทั้งสิ้น (ไม่งั้นจะไม่ได้เขียนซะที)