Skip to main content

นายยืนยง

 

ขบวนรถไฟสายตาสั้น

ขึ้นชื่อว่า “วรรณกรรม” อาจเติมวงเล็บคล้องท้ายว่า “แนวสร้างสรรค์” เรามักได้ยินเสียงบ่นฮึมฮัม ๆ ในทำนอง วรรณกรรมขายไม่ออก ขายยาก ขาดทุน เป็นเสียงจากนักเขียนบ้าง บรรณาธิการบ้าง สำนักพิมพ์บ้าง ผสมงึมงำกัน เป็นเหมือนคลื่นคำบ่นอันเข้มข้นที่กังวานอยู่ในก้นบึ้งของตลาดหนังสือ แต่ก็ช่างเป็นคลื่นอันไร้พลังเสียจนราบเรียบราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น


ทำให้ต้องไปถามคนอ่านต่อว่า ทำไมไม่อ่านวรรณกรรมกันบ้างล่ะครับ ล่ะคะ งานเขียนประเทืองปัญญาทั้งนั้น ทำไมไม่ซื้อกันบ้างล่ะคะ ล่ะครับหนังสือที่เขาว่าดี ๆ น่ะ ที่เขาว่าอ่านแล้วจรรโลงใจ

ไม่ทราบว่าคนอ่านเขาจะตอบว่าอย่างไร ใครจะอ้างพิษเศรษฐกิจ ใครจะอ้างเรื่องสมดุลเวลาในชีวิตที่ไม่เอื้ออำนวยให้อ่านหนังสือ หรือใครจะอ้างอย่างไรก็สุดแล้วแต่ แต่.. ขอถามนักเขียนบ้างล่ะว่า ในเมื่อจำนวนคนอ่านไม่ตอบสนองปริมาณหนังสือวรรณกรรม ที่แม้แต่จะพิมพ์ขายกันแค่ไม่กี่พันเล่มก็ยังขายไม่หมด หรือจะเป็นอย่างที่เขาว่า ( “เขา” ในที่นี้เป็นบุคคลปริศนาอย่างแท้จริง เนื่องจากมันคอยย่ำต้อกอยู่ในอารมณ์ความรู้สึกของฉัน โดยไม่เคยเผยให้เห็นใบหน้าใต้หน้ากากของมันเลยสักครั้ง)

เขาว่า วงการวรรณกรรมไทยเรานี้ ดำเนินไปในลักษณะ วานกันเขียน เวียนกันอ่าน แล้วก็พาลกันเอง
ถ้าเข้ากรณีนี้ ก็เท่ากับนักเขียน วงการวรรณกรรมไทยเรานี้ก็ช่างคับแคบเสียจนนับนิ้วมือได้ ซึ่งก็ส่งผลต่อยอดขายโดยตรง ยิ่งถ้านักเขียนด้วยกันไม่ซื้อผลงานของกันและกันแล้ว จะหวังพึ่งคนอ่านนอกวงการยิ่งเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากขบวนรถไฟวรรณกรรมสายนี้ ห้อตะบึงไปอย่างลุ่น ๆ โดยไม่ยี่หระทัศนียภาพรอบข้าง ไม่แม้แต่จะจอดรับผู้โดยสารตามสถานีรายทาง ไม่ว่าจะเป็นเพราะเย่อหยิ่งในศักดิ์ศรี หรือเพราะไม่ได้สวมแว่นสายตา หรืออย่างร้ายก็เป็นบุคคลประเภทสายตาสั้น คือ หากมองในระยะใกล้ก็พอมองเห็นชัด แต่ถ้ามองในระยะใกล้ออกไป ภาพมักจะลางเลือน แต่ไม่ยอมสวมแว่นสายตาเพื่อปรับมุมมองให้ตัวเอง

แต่ถ้าวงการวรรณกรรมไทยไม่คับแคบดังกล่าว จะพิจารณาหาสาเหตุได้จากฝ่ายใดบ้าง
หากใช้หลักอุปสงค์-อุปทาน ก็ประกอบไปด้วย 2 ฝ่าย คือผู้ผลิตกับผู้บริโภค นั่นคือนักเขียนกับคนอ่าน

ในส่วนของคนอ่านซึ่งแน่นอนว่าความต้องการบริโภคหนังสือวรรณกรรมมีน้อยกว่าปริมาณหนังสือวรรณกรรม จึงทำให้ยอดขายตกต่ำ หนังสือขายไม่ออก นอกจากจะอยู่ในช่วงลดราคาที่ขายหนังสือได้บ้าง ซึ่งหากจะถือว่ากระบวนการสื่อสารวรรณกรรมสิ้นสุดลง ณ เครื่องแคชเชียร์ของร้านหนังสือตอนมีคนซื้อแล้วล่ะก็บ้าแล้ว เพราะถ้าวรรณกรรมไม่ถูกอ่านเสียแล้ว เสียงของวรรณกรรมก็เท่ากับเป็นใบ้

ไม่บ้าได้อย่างไร

คนอ่านมีเหตุผลอะไรบ้างที่ไม่ซื้อ รวมถึงไม่อ่านวรรณกรรม คำตอบนี้ยังไม่เคยเห็นมีการสำรวจความคิดเห็นกันอย่างจริงจังเสียที สำนักโพล์บรรดามีก็ไม่เห็นให้ความสำคัญอะไร สำนักพิมพ์ก็ไม่เห็นต่างจากสำนักโพล์แต่อย่างใด จะมีก็แต่เสียงที่ตีขลุมกันไปเองจากฝ่ายผู้ผลิตหรือนักเขียน ว่ากันไปต่าง ๆ นานาสารพัดจะหาคำว่าสรุปพฤติกรรมผู้บริโภคโดยไม่สนใจหาข้อเท็จจริงเลย เคยบ้างไหมที่จะไปถามหาเหตุผลจากคนอ่านโดยตรงบ้าง ดังนั้น เป็นการสมควรแล้วหรือที่จะละเลยความต้องการของคนอ่าน ขณะเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่านักเขียนต้องละทิ้งอุดมคติของตัวเองเพื่อวิ่งไปเขียนงานสนองความต้องการผู้บริโภค

ในเมื่อยังไม่มีการสำรวจถึงสาเหตุของพฤติกรรมการไม่ซื้อไม่อ่านวรรณกรรมของผู้บริโภคอย่างจริงจังแล้วฝ่ายผู้ผลิตอย่างนักเขียนก็ไม่ควรละเลยการสำรวจตัวเอง วิเคราะห์ดูเสียทีว่า ผลผลิตของตัวเองนั้นมีคุณภาพ มีคุณค่า ในตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องอิงกับความต้องการของผู้บริโภค มากน้อยอย่างไร

เพียงพอต่อความต้องการของตัวนักเขียนเองหรือไม่
บางทีจะอาศัยอารมณ์มุทะลุ ดื้อด้านอย่างเดียว รถไฟสายวรรณกรรมขบวนนี้จะมุ่งหน้าไปสู่สถานีอะไรได้

นักเขียนสวมมงกุฎนั่งแท่นสะลึมสะลือ

นอกจากฝ่ายของนักเขียนกับนักอ่านแล้ว สังคมการอ่านวรรณกรรมยังมีอีกนักหนึ่ง คือ นักวิจารณ์
มีหน้าที่ตามชื่อนั่นแหละ แต่ไม่ค่อยมีชื่อเสียงในการใดการหนึ่งในสังคมการอ่านวรรณกรรม หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่ง คือไม่ค่อยมีปากมีเสียงใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งที่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่ยังทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา อาจเพราะเป็นโรคขายไม่ออกติดต่อมาจากฟากวรรณกรรมก็ได้ ก็คนอ่านวรรณกรรมยังน้อย นับประสาอะไรกับบทวิจารณ์วรรณกรรม ที่สำคัญนักวิจารณ์วรรณกรรมไม่เคยมีบทบาทหรือมีอำนาจเหนือนักเขียนแต่อย่างใด ยิ่งวิจารณ์ในแง่ร้าย หรือดุเด็ดเผ็ดมันอย่างไร มักจะถูกมองว่าทำไปเพื่อสร้างชื่อเสียงให้แก่ตัวเอง ดูเหมือนจะเป็นส่วนเกินในสังคมวรรณกรรมอย่างไงอย่างงั้น

ถ้านักเขียนไม่สนนักวิจารณ์ ก็ควรสนใจผลงานของตัวเอง พิจารณาอย่างถ่องแท้ว่าทำไมผลงานของตัวเองจึงไม่เป็นที่ต้องตาต้องใจผู้บริโภค

มีคำกล่าวว่า หนังสือน่าอ่านมีลักษณะดึงดูด 2 ประการ คือ สำนวนภาษา และเค้าโครงเรื่อง

ถ้าสำนวนไม่ดี แต่ดำเนินเรื่องอย่างเร้าอารมณ์ ก็พออนุโลมอ่านได้ ถ้าคนอ่านติดสำนวนแล้วเค้าโครงเรื่องเป็นอย่างไรก็ตาม ก็พออนุโลมได้

วรรณกรรมแนวสร้างสรรค์มี 2 ลักษณะดึงดูดข้างต้นหรือเปล่า
คำตอบคือ มีแบบกะปริบกะปรอย

นี่ฉันเพิ่งอ่านนวนิยายเข้ารอบสุดท้ายซีไรต์ปีนี้จบไปอีกเรื่องหนึ่ง ไม่บอกว่าเป็นเรื่องอะไร เพราะว่ามันช่างน่าเหน็ดหน่ายเกินกว่าจะบรรยาย เนื่องจากใช้ภาษาแบบไม่เอาอ่าวเลย แต่เค้าโครงเรื่องพออนุโลมได้ อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้เห็นว่า นักเขียนไทยเป็นกลุ่มคนประเภทเห็นพ้องต้องกันโดยไม่ได้นัดหมาย ก็ว่าได้

เนื่องจากนวนิยายปีนี้ หรืออาจรวมถึงเรื่องสั้นในช่วงระยะเวลา 2 – 3 ปีมานี้ มักมีเนื้อหาเกี่ยวพ้องกับการเหลื่อมซ้อนของมิติต่าง ๆ มักกล่าวถึงเรื่องของ “พื้นที่และเวลา” เข้าหลักการของควอนตัมฟิสิกส์ โดยสร้างเรื่องขึ้นมาตอบสนองแนวคิดนี้ให้แตกต่างกันไป ตัวละครต่างกันไป และมีโครงเรื่องย่อยต่างกันไปตามความสนใจของแต่ละคน มีการพูดถึงจิตวิญญาณในแบบใหม่ ไม่ใช่ผีสางอย่างที่ยุควิทยาศาสตร์เก่าเห็นว่าเป็นเรื่องเพ้อเจ้อไร้สาระ แต่เป็นผีสางที่ทรงภูมิปัญญา มีคุณค่ามากพอที่จะเป็นเครื่องบ่งชี้สัจธรรมได้ด้วยซ้ำ เป็นผีสางในยุคนาโนซึ่งนับว่าสอดคล้องกันดี กับยุคที่อะไร ๆ ก็มักจะยิบย่อยไปมากกว่าอณู

หากย้อนกลับไปยุควิทยาศาสตร์เก่าที่โลกตะวันตกเชิดชูให้เป็นพระเจ้าองค์ใหม่ และแผ่ขยายแนวคิดนี้มาสู่โลกตะวันออก ในขณะที่โลกตะวันออกก็มองว่า วิทยาศาสตร์เป็นผีสางที่น่ากลัวในภาคที่พิสูจน์ได้ว่ามีศักยภาพตามหลักการอย่างวิทยาศาสตร์ แต่ผีสางของโลกตะวันออกเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่ต้องการบทพิสูจน์

แนวคิดโลกตะวันตกที่แผ่ครอบโลกตะวันออกได้พยายามเบี่ยงเบนจุดมุ่งหมายและอุดมคติในชีวิตของโลกตะวันออกให้คล้อยตามผู้มีอารยธรรมอย่างคนตะวันตกในแทบทุกด้าน ไม่เว้นแม้แต่ในงานศิลปะวรรณกรรม เรื่องสั้นไทยที่ยังอยู่ในรูปของตำนาน เรื่องเล่า ที่มีตัวละครเป็นเทวดา เป็นผี เป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่ต่าง ๆ ถูกทำให้ล้าหลังไร้อารยธรรมโดยการบอกกล่าวอย่างกลาย ๆ ว่าเป็นเรื่องเพ้อเจ้อ ไร้สาระ พิสูจน์ได้ว่าไม่มีอยู่จริง และทำให้โง่งมงาย ผู้ที่คิดอ่านอย่างเป็นหลักการอย่างวิทยาศาสตร์เท่านั้นจึงจะถือว่าเป็นผู้มีการศึกษา เป็นอารยชน

วรรณกรรมไทยจึงไม่ได้ถูกศึกษาที่รากเหง้าของตัวเองอย่างแท้จริง ขณะที่มันถูกอ่านและศึกษาอย่างกว้างขวางในยุคที่ศิลปะวรรณกรรมของเราตกอยู่ใน “ครอบ” ของชาติตะวันตก

ครั้นเมื่อมีการแปลวรรณกรรมต่างชาติมาเป็นภาษาไทยอย่างแพร่หลาย เราจึงได้รู้จักวรรณกรรมแนวเมจิกคัลเรียลลิสต์จากกลุ่มวรรณกรรมละตินอเมริกา อย่างผลงานของกาเบรียล การ์เซีย มาเกซ เรื่องหนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว โดยเฉพาะใน “ครอบ” ของรางวัลโนเบล อีกด้วย

ช่วงนั้นสังคมวรรณกรรมไทยพากันตื่นตระหนกในความมหัศจรรย์ของมัน และยกเอาเป็นแรงบันดาลใจอย่างขนานใหญ่ ก็คล้าย ๆ กับการตื่นอะไรก็ตามที่เป็นของอิมพอร์ตนั่นแหละ

นั่นคือ อิทธิพลของ “หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว” ซึ่งกว่าจะเดินทางมาทรงอิทธิพลที่สังคมวรรณกรรมไทยก็กินเวลาราว ๆ หนึ่งร้อยปี และอาจทำให้วรรณกรรมไทยติดหล่มไปอีกราว ๆ หนึ่งร้อยปีก็เป็นได้

ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เพื่อแสดงให้เห็นว่านักเขียนไทยแทบไม่เหลือสมบัติพัสถานแห่งความพิสดารของความเป็นตัวของตัวเอง เนื่องจากเห็นแต่ของอิมพอร์ตพิสดารอยู่สถานเดียว คงจะมีแต่แดนอรัญ แสงทองเท่านั้นที่สามารถขายวรรณกรรมไทย ด้วยจุดขายเรื่องความพิสดารของไทย โดยขายให้กับตลาดวรรณกรรมนอกประเทศ นอกวัฒนธรรม กลายเป็นของแปลกในดินแดนอารยชน

เช่นเดียวกับที่ช่วง 2 – 3 ปีมานี้ ที่นักเขียนไทยต่างลุ่มหลงงมงายอยู่กับเนื้อหาของควอนตัมฟิสิกส์ ไม่ว่าจะแค่เป็นการถาก ๆ ของแนวคิดนี้ หรือกระโจนเข้าใส่เต็มตัว อย่างไม่ลืมหูลืมตา และได้โปรดอย่าคิดอยู่เสมอว่า คนอ่านเขาจะไม่รู้ทันนักเขียน อย่าคิดว่าคนอ่านจะไม่รู้จักควอนตัมฟิสิกส์ได้มากเท่านักเขียน

ข้อสังเกตนี้ อาจทำให้มองเห็นใบหน้าของนักเขียนวรรณกรรมไทยอย่างชัดเจนขึ้นว่า เขามีใบหน้าสะลึมสะลือเพียงไร เขาถูกทำให้ซื่อเซื่องไปได้อย่างไร และมากเพียงไร หนำซ้ำยังเขียนวรรณกรรมแล้วขายไม่ออกเสียอีก ไม่ทราบว่าทศวรรษหน้า โรคเซื่องซื่อเหล่านี้จะได้รับการเยียวยาอย่างไรได้ และโรคขายไม่ออกในวรรณกรรมจะเป็นเพียงคลื่นที่สาดซัดอยู่ในหล่มลึก หรือเป็นเพียงเสียงหวูดรถไฟสายนี้ ที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านเลย.

  

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
 ชื่อหนังสือ : เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการ ผู้เขียน : ประไพ วิเศษธานี จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทะเลหญ้า พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2536 ไปเจอหนังสือเก่าสภาพดีเล่มหนึ่งเข้าที่ตลาดนัดหนังสือใกล้บ้าน เป็นความถูกใจที่วิเศษสุด เนื่องจากเป็นหนังสือที่คิดว่าหายากแล้ว ไม่เท่านั้นเนื้อหายังเป็นตำราทางการประพันธ์ เหมาะทั้งคนที่เป็นนักเขียนและนักอ่าน นำมาตัดทอนให้อ่านสนุก ๆ เผื่อว่าจะได้ใช้ในคราวบังเอิญ เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการเล่มนี้ ผู้เขียนใช้นามปากกา ประไพ วิเศษธานี ซึ่งไม่เป็นที่คุ้นสักเท่าไร แต่หากบอกว่านามปากกานี้เป็นอีกสมัญญาหนึ่งของนายผี อัศนี พลจันทร ล่ะก็…
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : อาถรรพ์แห่งพงไพร ผู้เขียน : ดอกเกด ผู้แปล : ศรีสุดา ชมพันธุ์ ประเภท : นวนิยายรางวัลซีไรต์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย กลับบ้านสวนคราวที่แล้ว ตู้หนังสือยังคงสภาพเดิม ละอองฝุ่นเหมือนได้ห่อหุ้มมันให้พ้นจากสายตาผู้คน ไม่ก็ผู้คนเองต่างหากเล่าที่ห่อหุ้มตัวเองให้พ้นจากหนังสือ นอกจากตู้หนังสือที่เงียบเหงาแล้ว รู้สึกมีสมาชิกใหม่มาเข้าร่วมขบวนความเหงาอีกสามสิบกว่าเล่ม น่าจะเป็นของน้องสาวที่ขนเอามาฝากไว้ ฉันจึงจัดเรียงมันใหม่ในตู้ใบเล็กที่วางอยู่ข้างกัน ดูเป็นบ้านที่หนังสือเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ผู้เขียน : ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ผู้แปล : เนื่องน้อย ศรัทธา ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน ปีกลายที่ผ่านมา มีหนังสือขายดีติดอันดับเล่มหนึ่งที่สร้างกระแสให้เกิดการเขียนหนังสืออธิบาย เพื่อตอบสนองความสนใจผู้อ่านต่อเนื่องอีกหลายเล่ม ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์เอย ด้านมายาจิตเอย ทำให้หลายคนหันมาสนใจเรื่องความคิดเป็นจริงเป็นจัง หนังสือเล่มดังกล่าวนั่นคงไม่เกินเลยความคาดหมาย มันคือ เดอะซีเคร็ต ใครเคยอ่านบ้าง?…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ ชวนอ่านเรื่องสั้นมหัศจรรย์ ปลายกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคมปีนี้ ข่าวสารที่ได้รับค่อนไปทางรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐที่ส่อเค้าว่าจะลุกลามไปทั่วโลก ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน หุ้นร่วงรูดเป็นประวัติการณ์ ชวนให้บรรดานักเก็งกำไรอกสั่นขวัญแขวน ไม่กี่วันจากนั้น รัฐบาลที่นำโดย นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงค์สวัสดิ์ ซึ่งนั่งอยู่ในตำแหน่งได้ไม่กี่วัน ก็ได้ใช้อำนาจทำร้ายประชาชนอย่างไร้ยางอาย ตลอดวันที่ 7 ตุลาคม 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง นวนิยายเรื่อง : บ้านก้านมะยม สำนักพิมพ์ : นิลุบล ผู้แต่ง : ประภัสสร เสวิกุล อาขยาน เป็นบทท่องจำที่เด็กวัยประถมล้วนมีประสบการณ์ในการท่องจนเสียงแหบแห้งมาบ้างแล้ว ทุกครั้งที่แว่วเสียง ... แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา หรือ มานี มานะ จะปะกระทะ มะระ อะไร จะไป จะดู หรือ บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี ฯลฯ เมื่อนั้น..ความรู้สึกจากอดีตเหมือนได้ลอยอ้อยอิ่งออกมาจากความทรงจำ ช่างเป็นภาพแสนอบอุ่น ทั้งรอยยิ้มและไม้เรียวของคุณครู ทั้งเสียงหัวเราะและเสียงกระซิบกระซาบจากเพื่อน ๆ ตัวน้อยในวัยเยาว์ของเรา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ทั้งโลกเป็นเช่นนี้ ผู้เขียน : ชมัยภร แสงกระจ่าง ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ คมบาง เมื่อคืนพายุฝนสาดซัดเข้ามาทั่วทิศทาง กระหน่ำเม็ดราวเป็นคืนแห่งวาตะภัย มันเริ่มตั้งแต่หกทุ่มเศษ และโหมเข้า สาดเข้า ถ้าเป็นหลังคาสังกะสี ฉันคงเจ็บปางตายเพราะฝนเม็ดหนานัก มันพุ่งแรงเหลือเกิน ต่อเนื่องและเยือกฉ่ำ ฉันลุกขึ้นมาเปิดไฟ เผชิญกับความกลัวที่ว่าบ้านจะพังไหม? ตัดเรือน เสา ที่เป็นไม้ (เก่า) ฐานรากที่แช่อยู่ในดินชุ่มฉ่ำ โถ..บ้านชราภาพจะทนทานไปได้กี่น้ำ นั่งอยู่ข้างบนก็รู้หรอกว่า ที่ใต้ถุนนั่น น้ำคงเนืองนอง…
สวนหนังสือ
 นายยืนยง  ชื่อหนังสือ : มาลัยสามชาย ผู้เขียน : ว.วินิจฉัยกุล ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : บริษัท ศรีสารา จำกัด หนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จะส่งผลกระทบหรือสะท้อนนัยยะใดบ้าง เป็นเรื่องที่น่าจับตาอีกเรื่องหนึ่ง แม้รางวัลจะประกาศนานแล้ว แต่เนื้อหาในนวนิยายจะยังคงอยู่กับผู้อ่าน เพราะหนังสือรางวัลทั้งหลายมีผลพวงต่อยอดขายที่กระตือรือร้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะประเภทวรรณกรรม เรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์ โดยในปีนี้ นวนิยายเรื่อง มาลัยสามชาย ผลงานของ ว.วินิจฉัยกุล ได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง        ชื่อหนังสือ : อาหารรสวิเศษของคนโบราณ      ผู้เขียน : ประยูร อุลุชาฎะ      ฉบับปรับปรุง : กันยายน 2542      จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แสงแดดใครที่เคยแก่อายุเข้าแล้ว พออากาศไม่เหมาะก็กินอะไรไม่ถูกปาก ลิ้นไม่ทำหน้าที่ซึมซับรสอันโอชาเสียแล้ว อาหารจึงกลายเป็นเรื่องยากประจำวันทีเดียว ไม่เหมือนเด็ก ๆ หรือคนวัยกำลังกินกำลังนอน ที่กินอะไรก็เอร็ดอร่อยไปหมด จนน่าอิจฉา คราวนี้จะพึ่งแม่ครัวประจำตัวก็ไม่เป็นผลแล้ว ต้องหาของแปลกลิ้นมาชุบชูชีวิตชีวาให้กลับคืนมา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ใหม่ที่รัก ( Sarah, Plain and Tall ) ผู้เขียน : แพทริเซีย แมคลาแคลน ผู้แปล : เพชรรัตน์ ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2544 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน หากใครเคยพยายามบ่มเพาะให้เด็กมีนิสัยรักหนังสือ รักการอ่าน ย่อมเคยประสบคำถามจากเด็ก ๆ ของท่านทำนองว่า หนังสือจำเป็นกับชีวิตมากปานนั้นหรือ? เราจะตายไหมถ้าไม่อ่านหนังสือ? หรือเราจะมีชีวิตอยู่ได้ โดยที่ไม่อ่านหนังสือจะได้ไหม? กระทั่งบ่อยครั้งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ก็อาจหาคำตอบที่สมเหตุสมผลมาตอบอย่างซื่อสัตย์ได้ไม่ง่ายนัก เป็นที่แน่นอนอยู่ว่า ผู้ใหญ่บางคนมีคำตอบในใจอยู่แล้ว ต่างแต่ว่า…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ก่อนเริ่มโรงเรียนวิชาหนังสือ (สูจิบัตรในงาน ‘หนังสือ ก่อนและหลังเป็นหนังสือ’ ) จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ผีเสื้อ สัปดาห์ก่อนไปมีปัญหาเรื่องซื้อหนังสือกับพนักงานขายของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ด้วยเพราะหนังสือที่จะซื้อมีราคาไม่เป็นจำนวนถ้วน คือ ราคาขายมีเศษสตางค์ เป็นเงิน 19.50 บาท เครื่องคิดราคาไม่ยอมขายให้เรา ทำเอาพนักงานวิ่งถามหัวหน้ากันจ้าละหวั่น ต้องรอหัวหน้าใหญ่เขามาแก้ไขราคาให้เป็น 20.00 บาทถ้วน เครื่องคิดราคาจึงยอมขายให้เรา เออ..อย่างนี้ก็มีด้วย เดี๋ยวนี้เศษสตางค์มันไร้ค่าจนเป็นแค่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เท่านั้นเอง หนังสือเล่มดังกล่าวนั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง     ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด 45 (กรกฎาคม – กันยายน 2551) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา ใครที่เคยติดตามอ่านช่อการะเกด นิตยสารเรื่องสั้นรายไตรมาส เล่มเดียวในประเทศไทยในขณะนี้ ย่อมมีใจรักในงานเขียนเรื่องสั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าผลงานเรื่องสั้นที่ปรากฏ “ผ่านเกิด” ภายใต้รสนิยมบรรณาธิการนาม สุชาติ สวัสดิ์ศรี นั้นจะต้องรสนิยมคนชื่นชอบเรื่องสั้นมากน้อยเพียงใด ก็ไม่ค่อยปรากฏกระแสเสียงวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใดเลย ทั้งที่ตอนประชาสัมพันธ์เปิดรับต้นฉบับเรื่องสั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการคัดเลือกรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ได้พิจารณาคัดเลือกหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ส่งประกวด ประจำปี 2551 จำนวน 76 เล่ม มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เสนอหนังสือรวมเรื่องสั้น 9 เล่ม ดังนี้   1.ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่น ๆ ของ ศิริวร แก้วกาญจน์ 2.เคหวัตถุ ของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ 3.ตามหาชั่วชีวิต ของ ‘เสาวรี’ 4.บริษัทไทยไม่จำกัด ของ สนั่น ชูสกุล 5.ปรารถนาแห่งแสงจันทร์ ของ เงาจันทร์ 6.เราหลงลืมอะไรบางอย่าง ของ วัชระ สัจจะสารสิน 7.เรื่องบางเรื่องเหมาะที่จะเป็นเรื่องจริงมากกว่า ของ…