Skip to main content

อารมณ์เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง”

อาจารย์ชา สุภัทโท ฝากข้อความสั้น กินใจ ไว้ในหนังสือธรรมะ ซึ่งข้อความว่าด้วยอารมณ์นี้ เป็นหนึ่งในหลายหัวข้อในหนังสือ “พระโพธิญาณเถร” ท่านอธิบายข้อความดังกล่าวในทำนองว่า

ถ้าเราวิ่งกับอารมณ์เสีย... ปัญญาเกิดขึ้นไม่ได้

จิต – ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตต์แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่ สมาธิ ”

\\/--break--\>
หนึ่งปีกำลังจะผ่านพ้น ฉันขอส่งคำอวยพรปีใหม่มาถึงท่านผู้อ่านประชาไท พร้อมทั้งทีมงานประชาไททุกคนด้วยการน้อมนำเอาหลักธรรมจากพระอาจารย์ชา สุภัทโท ในข้อของ “อารมณ์เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง” ฝากไว้แทนคำอวยพร เพราะเห็นว่า เรื่องของจิตใจนั้น สำคัญและซับซ้อน ขณะเดียวกัน จิตที่เป็นสมาธิ คือขุมพลังที่ก่อเป็นปัญญา ความสงบร่มเย็นอย่างแท้จริง จึงบังเกิด


ขอทุกคนได้ค้นพบขุมพลังทางปัญญาในตัวเอง เกิดเป็นความร่มเย็น เป็นร่มเงาให้แก่ตัวเอง และผู้อื่นตลอดไปเทอญ


ค้นเจอของเก่า...เอามาฝากในช่วงใกล้ใหม่

ฉันไปค้นเจอสำเนาบทกวีนอนสงบอยู่ในแฟ้ม เป็นแฟ้มเก็บบทกวีที่ชื่นชอบเป็นพิเศษจากนิตยสารต่าง ๆ ที่เมื่อก่อน ถ้าอ่านกวีบทใดแล้วเข้าถึงใจ ฉันก็จะทำสำเนาเก็บไว้ คล้ายเป็นพิพิธภัณฑ์ทางอารมณ์ เพราะบางทีฉันก็อยากเป็นกวีเหมียนกัลล์ หนึ่งในบทกวีของวันวาร ฉันสะดุดใจเป็นพิเศษกับบทกวีของ ดวงแก้ว กัลยาณ์ กวีสาวที่ฉันไม่เคยเห็นหน้าค่าตา แม้แต่ในรูปภาพทางหน้านิตยสาร เธอเป็นผู้หญิงแบบไหนหนอ ทำไมใช้ถ้อยคำง่าย ๆ ประโยคและวลีง่าย ๆ เรียงร้อยออกมาเป็นกวีบทนี้ได้ ขออนุญาตคุณดวงแก้ว กัลยาณ์ นำบทกวีของเธอมาให้ผู้อ่านประชาไท ได้อ่านกันตรงนี้


ฤดูฝนปีที่ 40


อีกไม่กี่เดือน

ฤดูฝนปีที่ 40 จะมาเยือน

ท่ามกลางความหวังอันรางเลือน

หนึ่งชีวิตดูเหมือนเคว้งคว้าง ว่างเปล่า


เกือบจะ 40 ปี แล้วหรือท้องฟ้า

ที่ฉันแหงนหน้ามองเธอทุกวัน

เกือบจะ 40 ปีแล้วหรือความฝัน

ที่ฉันเพียรพยายามถักทอ


กี่ค่ำคืนกันหนอ...

ที่ฉันเฝ้ารอถ้อยคำจากใจ

เพื่อกลั่นเป็นกวีบทใหม่

ท่ามกลางความเดียวดายในคืนอันเงียบงัน


ความยากจน

ยังคงโอบกอดฉันไว้ราวกับเป็นเพื่อนสนิท

และความป่วยไข้...ดั่งเป็นกัลยาณมิตร

ที่หมั่นคอยเตือนให้ระลึกถึงความตาย


อีกไม่กี่เดือน...

ฤดูฝนปีที่ 40 จะมาเยือน

แม้ชีวิตดูเหมือนว่างเปล่า

แต่ฉันจะทำสิ่งใดได้เล่า –

ในเมื่อหัวใจแสนเศร้า

ปรารถนาจะเป็น “กวี” .

(ตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์)


จากกวีบทนี้ จะเห็นได้ว่ามีการเอ่ยถึง “ช่วงเวลา” คือ 40 ปี ที่ผ่านมาถึง 4 ครั้ง

มีกิริยาที่แสดงออกถึง “กิจวัตรประจำวัน” คือ แหงนหน้ามองท้องฟ้า และถักทอความฝัน ซึ่งทั้งช่วงเวลากับกิจวัตรประจำวันนั้นต่างก็สมพันธ์กัน และให้ผลเป็นความหวังอันรางเลือน นอกจากนี้ ความเป็นกวีก็หาได้แตกต่างจากปุถุชนคนธรรมดา มียากจน มีป่วยไข้ และระลึกถึงความตาย


เมื่อกวีไม่ได้แปลกต่างไปจากคนธรรมดาแล้ว สิ่งใดเล่าที่ทำให้ถ้อยคำเรียบง่ายซึ่งกวีเรียงร้อยขึ้น กลับกลายมาเป็นความสะเทือนใจ ดวงแก้ว กัลยาณ์ ให้คำตอบแก่เราผ่านบทกวีของเธอในบทที่ 3 ที่ว่า

กี่ค่ำคืนกันหนอ...

ที่ฉันเฝ้ารอถ้อยคำจากใจ

เพื่อกลั่นเป็นกวีบทใหม่”

เป็นการแสดงออกให้ผู้อ่านเห็นถึง ความมุ่งมาดปรารถนาของกวีที่มีต่อถ้อยคำ และมีต่อจิตใจ

เมื่อถ้อยคำจากใจไหลรินออกมา เมื่อนั้นกวีบทใหม่จึงได้ถือกำเนิด


นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นวิธีการเกิดขึ้นของกวีนิพนธ์ แต่กวีบทนี้ไม่ได้ต้องการส่งสารถึงผู้อ่านในแง่ของการถือกำเนิดของบทกวี หากแต่ยังแสดงให้เห็นถึงวิถีทางของกวีนิพนธ์ ที่เกี่ยวร้อยเข้ากับวิถีแห่งตัวตนของกวีเองด้วย ซึ่งในบท ฤดูฝนปีที่ 40 นี้ ได้เน้นย้ำถึงภาวะที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้ระหว่าง “ตัวกวี” กับ “กวีนิพนธ์”


หรือทั้งตัวผู้สร้างและตัวผลงาน จะเป็นดั่งประติมากรรมแห่งวิถีชีวิต ไม่อาจจำแนกแยกแยะให้ตั้งอยู่อย่างเป็นเอกเทศได้ ทั้งตัวกวีและกวีนิพนธ์ต่างก็ร่วมสร้างสรรค์เป็นผลงานของชีวิต

หากเป็นเช่นนี้ ทฤษฎีวิจารณ์ที่มุ่งเน้นกล่าวถึงเฉพาะตัวบทวรรณกรรม ก็ไม่อาจสำแดงฤทธิ์เดชอะไรได้


อย่างไรก็ตาม ต้องขอบคุณดวงแก้ว กัลยาณ์ ไว้ ณ ที่นี้ ในฐานะที่ได้ส่งมอบความรู้สึกธรรมดาสามัญซึ่งเต็มไปด้วยพลังของความรู้สึก และของจิตใจอย่างที่กวีคนหนึ่งจะพูดออกมาได้


ทำนายดวงกวี..ขออย่าให้เป็นกวีมีแต่เศร้าเลย สาธู

.. 2553 ปีขาล เสือร้ายคำราม ขึ้นชื่อว่าปีขาล ก็นับเป็นปีที่ดุร้ายเอาการทีเดียว โหราจารย์หลายสำนักกระเซ้าเตือนมาอย่างปรารถนาดี ประดังมาด้วยขบวนสินค้าที่เตรียมขึ้นราคา รวมถึงราคาข้าวหอมมะลิไทยที่ขึ้นชื่อว่าหอมนักหนา ถึงเกวียนละแสนบาทเมื่ออยู่นอกประเทศ ภัตตาคารฮ่องกงวางแผนเปลี่ยนไปอุดหนุนข้าวหอมมะลิจากจีนและเวียดนามที่ราคาถูกกว่า นายกอภิสิทธิ์ชนที่ไม่เคยทำอะไรก็ตีสีหน้าไม่ปริวิตก คงเค้าของความหล่อแบบสุภาพบุรุษแมนอยู่เช่นเดิม


ปีขาลต่อสายไปถึงสถานการณ์กวีซีไรต์ปี 2553 เสือจะขย้ำคอกวีหรือไม่ กลอนเปล่าหรือกลอนฉันทลักษณ์จะพาเหรดเข้ารอบสุดท้ายซีไรต์ ผ่านมุมมองในกรอบแว่นตาของศาสตราจารย์เอกทางวรรณกรรมคนใด การเมืองกับมุ้งกวีจะยุ่งเหยิงแค่ไหน นักข่าวสายวรรณกรรมต้องกินยาแก้เส้นเคล็ดไปกี่ซอง

เรื่องบรรดานี้ ใครจะสน... เพราะแม้แต่กวีมือทำส่งประกวดรางวัลซีไรต์ ประเภทเมดอินมายด์แฟมิลี่ เขายังบอกไม่เคยสนซีไรต์...ทำไปด้วยใจรักล้านเปอร์เซ็นต์


ใครเซ็งบ้างเอ่ย ฉันคนหนึ่งล่ะที่ขอบอกว่าไม่เคยเซ็งกับกวีนิพนธ์ ก็ฉันอยากเป็นกวีกับเขาเหมียนกัลล์

สงสัยตัวเองอยู่ว่าชาติที่แล้วอาจเกิดในยุคอยุธยาตอนกลาง สมัยพระนารายณ์ที่เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์ ดีเอ็นเอของชาติปางก่อนคงยังแฝงอยู่ ต่อให้ใครจะว่ากวีนิพนธ์ตายแล้วก็ตาม


ฉะนั้นแล้ว พี่กวีทั้งหลายอย่าด่วนถอดใจจากกวีนิพนธ์อันเป็นที่รักเลย และได้โปรดอย่าสุ่มทุ่มเถียงกันอยู่ในแวดวงแคบ ๆ เท่านั้นเลย เปิดประตูรับสุ้มเสียงของคำถาม คำบ่น จากโลกภายนอกบ้าง อย่ากักขังตัวเองไว้กับวิถีแห่งความเงียบงันอันเปล่าดายอีกเลย

หนึ่งชีวิตของกวี ดูเหมือนเคว้งคว้าง ว่างเปล่า” โอ้..กวี.. อะไรจะเดียวดายปานนั้น


มีของขวัญปีใหม่สำหรับผู้อ่านสวนหนังสือที่สนใจด้วยนะเออ

บ่ายวันนี้ พี่บุรุษไปรณีย์ส่งหนังสือมาให้ 2 เล่ม เป็นสารคดีท่องเที่ยวลาว ผลงานของนักเขียนหน้าใหม่ นามว่า รวงทอง จันดา เป็น 2 เล่มจบ

ชื่อหนังสือ จำปาขาว ลาวหอม เล่มแรก ลาวใต้ เล่มสอง ลาวเหนือ ใครสนใจอยากได้ไปอ่าน ฝากอีเมล์ไว้ในกล่องแสดงความคิดเห็นได้เลย จะส่งไปให้ ใครไม่อยากได้ ขอให้ติดตามอ่านสวนหนังสือตอนหน้า ว่าด้วยสารคดี มีจำปาขาว ลาวหอม สองเล่มดังกล่าว เป็นบทประเดิมปี 2553 ได้โปรดติดตาม


ขอบอกไว้นิดหนึ่งว่า จำปาขาว ลาวหอม ทั้ง 2 เล่ม เป็นสารคดีท่องเที่ยวที่ไม่เหมือนเล่มอื่นตรงที่ไม่ทิ้งรายละเอียดเล็กน้อย ไม่ละเลยแง่มุมที่เป็นข้อเท็จจริง และไม่เห่อลาวอย่างที่เขาเขียนสารคดีท่องเที่ยวขายกันนะ ส่วนใครได้โอกาสไปเที่ยวลาวช่วงปีใหม่ ก็ขอให้ม่วนซื่นกันถ้วนหน้า


ปีหน้าฟ้าใหม่ เจอกันนะ ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพทุกท่าน
.

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
 
สวนหนังสือ
นายยืนยง   พัฒนาการของกวีภายใต้คำอธิบายที่มีอำนาจหรือวาทกรรมยุคเพื่อชีวิต ซึ่งมีท่าทีต่อต้านระบบศักดินา รวมทั้งต่อต้านกวีราชสำนักที่เป็นตัวแทนของความเป็นชาตินิยม ต่อต้านระบอบราชาธิปไตย ต่อต้านไปถึงฉันทลักษณ์ในบางกลุ่ม ต่อต้านทุนนิยมและจักรวรรดิอเมริกา ขณะที่ได้ส่งเสริมให้เกิดอุดมการณ์ประชาธิปไตยในยุคก่อนโน้น มาถึงพ.ศ.นี้ ได้เกิดเป็นปรากฏการณ์ทวนกระแสเพื่อชีวิต ด้วยวิธีการปลุกความเป็นชาตินิยม ปลูกกระแสให้เรากลับมาสู่รากเหง้าของเราเอง
สวนหนังสือ
นายยืนยง บทความนี้เกิดจากการรวบรวมกระแสคิดที่มีต่อกวีนิพนธ์ไทยในรุ่นหลัง เริ่มนับจากกวีนิพนธ์แนวเพื่อชีวิตมาถึงปัจจุบัน  และให้น้ำหนักเรื่อง “กวีกับอุดมคติทางกวีนิพนธ์”
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : ร่างกายที่เหนืออายุขัย จิตใจที่ไร้กาลเวลา                  Ageless Body, Timeless Mind เขียน : โชปรา ดีปัก แปล : เรืองชัย รักศรีอักษร พิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2551   แสนกว่าปีมาแล้วที่มนุษย์พัฒนากายภาพมาถึงขีดสุด ต่อนี้ไปการพัฒนาทางจิตจะต้องก้าวล้ำ มีหนังสือมากมายที่กล่าวถึงวิธีการพัฒนาทักษะทางจิต เพื่อให้อำนาจของจิตนั้นบันดาลถึงความมหัศจรรย์แห่งชีวิต หนึ่งในนั้นมีหนังสือที่กล่าวอย่างจริงจังถึงอายุขัยของมนุษย์ ว่าด้วยกระบวนการรังสรรค์ชีวิตให้ยืนยาว…
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชีวประวัติของนักเขียนหนุ่ม กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ในความจดจำของฉัน เป็นเพียงภาพร่างของนักเขียนในอุดมคติ ผู้ซึ่งอุทิศวันเวลาของชีวิตให้กับงานเขียนอย่างเคร่งครัด ไม่มีสีสันอื่นใดให้ฉันจดจำได้อีกมากนัก แม้กระทั่งวันที่เขาหมดลมหายใจลงอย่างปัจจุบันทันด่วน ฉันจำได้เพียงว่าเป็นเดือนกุมภาพันธ์...
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : แสงแรกของจักรวาล ผู้เขียน : นิวัต พุทธประสาท ประเภท : รวมเรื่องสั้น จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2551   ชื่อของนิวัต พุทธประสาท ปรากฎขึ้นในความประทับใจของฉันเมื่อหลายปีก่อน ในฐานะนักเขียนที่มีผลงานเรื่องสั้นสมัยใหม่ เหตุที่เรียกว่า เรื่องสั้นสมัยใหม่ เพราะเรื่องสั้นที่สร้างความประทับใจดังกล่าวมีเสียงชัดเจนบ่งบอกไว้ว่า นี่ไม่ใช่วรรณกรรมเพื่อชีวิต... เป็นเหตุผลที่มักง่ายที่สุดเลยว่าไหม
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : คนรักผู้โชคร้าย ผู้แต่ง : อัลแบร์โต โมราเวีย ผู้แปล : ธนพัฒน์ ประเภท : เรื่องสั้นแปล จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2535  
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : คุณนายดัลโลเวย์ (Mrs. Dalloway) ผู้แต่ง : เวอร์จิเนีย วูล์ฟ ผู้แปล : ดลสิทธิ์ บางคมบาง ประเภท : นวนิยายแปล จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ชมนาด พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2550
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : จำปาขาว ลาวหอม (ลาวใต้,ลาวเหนือ) ผู้แต่ง : รวงทอง จันดา ประเภท : สารคดี จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทางช้างเผือก พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2552 ยินดีต้อนรับสู่พุทธศักราช 2553 ถึงวันนี้อารมณ์ชื่นมื่นแบบงานฉลองปีใหม่ยังทอดอาลัยอยู่ อีกไม่ช้าคงค่อยจางหายไปเมื่อต้องกลับสู่ภาวะของการทำงาน
สวนหนังสือ
“อารมณ์เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง” อาจารย์ชา สุภัทโท ฝากข้อความสั้น กินใจ ไว้ในหนังสือธรรมะ ซึ่งข้อความว่าด้วยอารมณ์นี้ เป็นหนึ่งในหลายหัวข้อในหนังสือ “พระโพธิญาณเถร” ท่านอธิบายข้อความดังกล่าวในทำนองว่า “ถ้าเราวิ่งกับอารมณ์เสีย... ปัญญาเกิดขึ้นไม่ได้ จิต – ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตต์แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่ สมาธิ ”
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ขบวนรถไฟสายตาสั้น ขึ้นชื่อว่า “วรรณกรรม” อาจเติมวงเล็บคล้องท้ายว่า “แนวสร้างสรรค์” เรามักได้ยินเสียงบ่นฮึมฮัม ๆ ในทำนอง วรรณกรรมขายไม่ออก ขายยาก ขาดทุน เป็นเสียงจากนักเขียนบ้าง บรรณาธิการบ้าง สำนักพิมพ์บ้าง ผสมงึมงำกัน เป็นเหมือนคลื่นคำบ่นอันเข้มข้นที่กังวานอยู่ในก้นบึ้งของตลาดหนังสือ แต่ก็ช่างเป็นคลื่นอันไร้พลังเสียจนราบเรียบราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
สวนหนังสือ
  นายยืนยง     ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด 50 บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน จัดพิมพ์โดย : สำนักช่างวรรณกรรม