Skip to main content

‘นายยืนยง’

20080409 1

ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑
บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิ
เจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด

ฅ คน นับเป็นนิตยสารรายเดือนที่รวบรวมหลากหลายแง่มุมของชีวิต ผู้คนและเนื้อหาของคนในสังคม  เป็นเสียงบอกเล่าผ่านมุมมองของนักเขียนสารคดี ว่าด้วยเรื่องกึ่งชีวประวัติ หากอ่านเอาเรื่องก็ได้คติแง่คิด ขณะเดียวกันเราจะพบว่าลีลาของนักเขียนบทความ สารคดี ล้วนเขียนด้วยสำนวนอย่างงานวรรณกรรม ซึ่งนับเป็นข้อสังเกตเกี่ยวกับก้าวย่างของงานเขียนประเภทนี้
        
ปัจจุบันงานเขียนสารคดีได้ปรับกระบวนอย่างชัดเจนมากขึ้น นอกจากพื้นฐานที่ต้องเขียนบนหลักการ ข้อเท็จจริงแล้ว นักเขียนสารคดีต่างแต้มสำนวน ลีลาให้ออกรสออกชาติ ด้วยวิธีการนำเสนอแบบอาศัยโครงสร้างอย่างเรื่องสั้น หรือนิยาย ทำให้งานเขียนประเภทนี้มีแรงเร้า ชวนอ่าน และโดดเด่นมากขึ้นอย่างไม่อาจปฏิเสธ

กล่าวได้ว่านักเขียนสารคดีในปัจจุบัน สามารถก้าวผ่านข้อเขียนที่ละเลงข้อมูล- ข้อเท็จจริงเพื่อให้เข้ากรอบของงานไปได้ไกลแล้ว การก้าวพ้นกรอบเกณฑ์ปลีกย่อยนี้ต้องยกย่องนักเขียนสารคดีอย่างจริงจังอีกด้วย ทั้งนี้ก็ไม่จำเป็นต้องเอารางวัลใดมาเทียบเคียง ยกยอปอปั้นกันให้เอิกเกริก เพราะงานเขียนสารคดีที่ดีเข้าขั้นสามารถก้าวเข้ามานั่งในใจนักอ่านได้ไม่ยากเย็น ทั้งยังได้เกร็ดความรู้ประเทืองสมองพ่วงท้ายมาด้วย     

นอกเหนือจากในนิตยสารรายเดือนต่าง ๆ เช่น  สารคดี หรือ  ฅ คน แล้ว อีกเล่มที่น่าอ่านจนถึงขั้นไม่ควรพลาด ทั้งด้วยฝีมือการเขียน กับเรื่องราวที่ที่ถูกสื่อกระแสหลักปิดบังมานาน และเรา (ประชาชน) ต้องร่วมรับรู้ คือ โศกนาฏกรรมคนชายขอบ

โศกนาฏกรรมคนชายขอบ ประกอบด้วยสารคดีว่าด้วยวิถีชีวิตของกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย อธิบายถึงความเป็นมาแต่ดั้งเดิม บอกเล่าถึงชะตากรรมอันเข้มข้นของพวกเขาซึ่งถูกรุกราน ทำลายล้างด้วยอำนาจของภาครัฐภายใต้แผนนโยบายพัฒนาฟื้นฟูอันสวยหรู  รวมทั้งได้สะท้อนภาพปัญหาอย่างชัดเจน และไม่ละเลยที่จะชี้แจงทางออก วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยความเป็นธรรมในน้ำเสียงของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง

ถ่ายทอดผ่านนักเขียนสารคดี ๕ คน คือ สุมาตร  ภูลายยาว, อานุภาพ  นุ่นสง,  แพร  จารุ,  ภู  เชียงดาว, จิตติมา  ผลเสวก  โดยบรรณาธิการ  สุริยันต์  ทองหนูเอียด

ว่าไปแล้วโศกนาฏกรรมคนชายขอบ หรืองานเขียนสารคดีที่มุ่งเสนอแง่มุมชีวิตของกลุ่มคนที่เสมือนไร้ตัวตน หรือถูกรัฐหรือสื่อกระทำให้ไร้ตัวตนไปจากช่องทางการรับรู้ของสังคมกระแสหลัก กำลังขยับขยายให้มี “หอกระจาย” ข่าวสารซึ่งอาจเรียกกันว่า ทางเลือกใหม่ (ส่วนหนึ่งมาจากความเบื่อหน่ายของสื่อกระแสหลัก) ปรากฎการณ์นี้ก่อร่างสร้างพลัง ผลักดัน ต่อสู้กันมาเป็นเวลายาวนาน จากหลากหลายกลุ่ม หลายองค์กร ซึ่งแน่นอนว่า ชื่อของ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือในนามของ ส.ศิวรักษ์  ก็เป็นผู้หนึ่งที่ยืนหยัดแสวงหาแนวทางกระจ่างฝ่ายุคอึมครึม ด้วยแนวทางความคิดอ่าน ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต และบุคลิกเฉพาะตัว เราจึงไม่อาจปฏิเสธว่า ส.ศิวรักษ์ เป็นดั่งอาจารย์ของเรา ทุกครั้งที่อาจารย์พูด ลูกศิษย์อย่างเรามีหรือจะไม่สดับตรับฟัง

20080409 2
ที่มาภาพ : http://www.bangkokbiznews.com/2005/12/03/images/picweb_copy685.jpg

จากบทสัมภาษณ์  สุลักษณ์ ศิวรักษ์ 75 ปี บนเส้นทางแสวงหาสัจจะ ในนิตยสาร  ฅ คน เดือนมีนาคม ๒๕๕๑ นั้น มีคำถามเกี่ยวกับชัยชนะของการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมที่น่าสนใจ ในหน้า ๖๙  ขอยกมาให้อ่านกัน

(ถาม) เข้าใจว่าชัยชนะที่อาจารย์พูดถึง มิใช่การพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินของคนเล็ก ๆ ในการผลักดันเรื่องต่าง ๆ ในสังคม

(ตอบ) คือเราไม่ได้เห็นอีกฝ่ายเป็นศัตรู อันนี้สำคัญมาก ศาสนาพุทธสอนไว้อย่างนี้  ถ้าเห็นอีกฝ่ายเป็นศัตรู เราจะเป็นเหมือนเขาเลย ในภาษาอังกฤษบอกว่า ถ้าคุณสู้กับมังกร คุณจะกลายเป็นมังกร ศาสนาพุทธบอกว่า ถ้าคุณสู้กับมาร คุณก็กลายเป็นมาร ถ้าคุณเกลียดไอ้พวกคอร์รัป แล้วคุณก็จะคอร์รัปเหมือนเขา  พระไพศาล วิสาโล พูดไว้ดีมากว่า มดสู้มาตลอด แต่มดไม่เคยเห็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นศัตรู ไม่เห็นว่ากองทัพเป็นศัตรูเพราะฉะนั้นมดเขาก็ไม่เปลี่ยนไปในทางเลวร้าย ศาสนาพุทธใช้วิธีนี้นะครับ ศาสนาพุทธมันอยู่กับผี ไม่ได้ฟันผีให้ล้มไป แต่ทำผีให้เชื่อง อยู่กับไสยศาสตร์ ทำให้ไสยศาสตร์เชื่อง ตอนนี้เราอยู่กับทุนนิยม บริโภคนิยมก็ต้องทำให้ทุนนิยม บริโภคนิยมเชื่อง ต้องทำอย่างนี้ อย่าไปเห็นว่าต้องฆ่าไอ้หมักทิ้ง ฆ่าทักษิณทิ้ง ไม่ใช่หวังว่าเขาจะดีขึ้นในวันหนึ่ง ผมก็เชื่อว่าเขาจะดีขึ้นได้อาจจะช้าหน่อย ไม่ใช่เขา คนอื่นก็คงจะดีขึ้นได้

การกล่าวถึง มด (ชื่อเล่นของ วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์)  พระไพศาล วิสาโล หรืออ้างถึงศาสนาพุทธ ล้วนถือเป็นศิลปะแห่งวาทะที่เราจะพบได้เป็นจังหวะ ๆ ขณะให้สัมภาษณ์ นี้ทำให้นึกถึงประโยคอมตะที่ว่า ศิลปะส่องทางให้กัน แต่การณ์นี้กลับยิ่งกว่า เพราะการที่ “คนอย่าง” สุลักษณ์ ศิวรักษ์ กล่าวยกย่องถึง “คนอย่าง” มด วนิดา กล่าวยกย่อง “คนอย่าง” พระไพศาล วิสาโล เท่ากับเป็นการต่อคบไฟแห่งความหวังให้ผู้คนและสังคม  แม้จะไม่ใช่ศิลปะการประพันธ์ แต่นี่เป็นศิลปะแห่งชีวิต

ครั้นมาดูคำถามนี้บ้าง

(ถาม) ส. ศิวรักษ์ มาเข้าใจคนจน ก็เพราะเจ้า แต่ ส. ศิวรักษ์ ก็เป็นคนที่วิพากษ์เจ้ามากที่สุด

(ตอบ) ผมไม่ได้รังเกียจเจ้านะครับ  แต่ถ้าเจ้าทำตัวเป็นคนมากเท่าไหร่ ก็จะน่ารักมากขึ้นเท่านั้น  แต่ถ้าเจ้าทำตัวเป็นเทวดา เป็นอภิสิทธิ์ชนเท่าไหร่ ก็จะยิ่งน่าเกลียดขึ้นเท่านั้น เท่านั้นเอง ไม่มีอะไรมากหรอก

การพูดถึงเจ้า คนแต่ก่อนนี้เขาพูดนะครับ รัชกาลที่ ๗ ท่านรับสั่งเลยว่า ท่านจะทำอะไรใหม่ ๆ แล้วมีคนถามว่า ไม่กลัวคนวิพากษ์วิจารณ์หรือ ท่านบอกว่าพระเจ้าแผ่นดินทำอะไรคนก็วิพากษ์วิจารณ์อยู่แล้ว

สมัยก่อนนี้ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล คนก็ด่าพระเจ้าแผ่นดิน รัชกาลที่ ๗ ท่านเข้าใจ คุณเป็นเบอร์หนึ่ง เบอร์หนึ่งก็ต้องถูกด่าสิครับ แต่ตอนนี้เราจะให้ชมอย่างเดียวหรือไง คนแต่ก่อนนี้เขาวิพากษ์วิจารณ์ครับ

คำตอบของ ส. ศิวรักษ์  แสดงออกถึงความเป็นปราชญ์ ถึงความรู้และประสบการณ์ และที่สำคัญความกล้าพูดความจริง กล้าคิดต่าง ซึ่งถือเป็นจุดหนึ่งที่หลอมรวมเป็นตัวตนของ ส. ศิวรักษ์ในปัจจุบัน  

การกล้าคิดต่าง เป็นข้อสำคัญประการใหญ่ทีเดียว และ ส.ศิวรักษ์ ก็ถือเป็นบุคคลหนึ่งในสังคมที่อาจหาญชาญชัย หากใครสนใจกระบวนการกล้าจะคิดต่าง สามารถหาอ่านเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ชีวิตได้จาก หนังสือ แหวกแนวคิด ของ ส.ศิวรักษ์  ซึ่งสำนักพิมพ์ ๒๒๒ เป็นผู้จัดพิมพ์ จากการลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในหนังสือพิมพ์ ฐานสัปดาห์วิจารณ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ ในวาระที่  ส. ศิวรักษ์ เดินทางไปรับรางวัล Alternative Nobel  หรือรางวัลสัมมาอาชีวะ (Right Livelihood Award) ประกาศให้ ปัญญาชนสยามผู้อื้อฉาว – ส.ศิวรักษ์ เป็นหนึ่งในสี่ปัจเจกบุคคลและองค์กรที่สมควรได้รับรางวัลในฐานะ “ ผู้ปกป้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ปี ๒๕๓๘ (Honour Defenders of Democracy and Human Rights)
        
ความกล้าคิดแหวกแนว กล้าพูดความจริง กล้าวิพากษ์วิจารณ์ของ ส. ศิวรักษ์ ไม่ใช่สักแต่ “วิจารณ์” คนอื่น ไม่หันดูตัว  ดังที่หลายคนเป็นๆ อยู่ หากแต่ ส. ศิวรักษ์ยังกล้าพูดถึงด้านลบของตัวเองอย่างจริงใจด้วย  ดังเช่นในหน้า ๗๖

(ถาม) ในชีวิตอาจารย์  มีอะไรที่คิดว่าเป็นความล้มเหลวบ้างไหม
        
(ตอบ)  (เงียบ...)  ขอเวลาคิดหน่อย  เพราะคนเรามักจะปิดบังความล้มเหลว (หัวเราะเสียงดัง)  ...ความล้มเหลวที่หนึ่ง  ผมเทศน์มากเกินไป ผมทำในสิ่งที่ผมเทศน์น้อยเกินไป เทศน์มากกว่าลงมือทำ  ความล้มเหลวข้อที่สอง  จนป่านนี้อายุเจ็ดสิบห้าแล้วยังอยากมีกิ๊กอยู่...ให้ตายห่าสิ  

ความล้มเหลวที่สำคัญที่สุด  ที่ผมเทศน์ให้คนเขาลืมผม  เพราะลึก ๆ แล้วผมก็อยากเป็นอมตะ  ลึก ๆ ไม่อยากให้เขาลืม (หัวเราะ) นี่ถือเป็นความล้มเหลว... เพราะคนที่ถือพุทธจริงๆ จังๆ ชาติหน้าผมก็ไม่ใช่ ส. ศิวรักษ์ แล้ว  ไปติดยึดอะไรกับชื่อ ต้องทำใจในเรื่องนี้ให้ได้  ถ้าละตรงนี้ได้ก็คือดวงตาเห็นธรรม  ... ฯลฯ ...

หรือในคำถามนี้
(ถาม)  ในฐานะที่เป็นผู้ที่แสวงหาความจริง  และชีวิตที่ดำเนินมาได้ผ่านช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสังคมไทยจากเผด็จการ  มาถึงยุคทุนนิยม บอกได้ไหมว่าอะไรคือสิ่งที่น่าชังที่สุดในสังคมไทย

(ตอบ)  สิ่งที่น่าชังที่สุด  ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๐  เป็นต้นมา  สังคมไทยเป็นสังคมซึ่งปฏิเสธความจริง  และเอาความจริงระคนเท็จมามอมเมาคนโดยตลอด  จนกระทั่งคนไม่เห็นผิดที่จะไม่พูดความจริง   ...ด้วยความเคารพ  แม้กระทั่งสื่อทั้งหมดทำตัวเหมือนปศุสัตว์เลย  เราไม่ยืนหยัดฝ่ายความจริงที่จะต่อต้านเลย  ... ฯลฯ ...

บทความนี้ แม้ได้วางแง่มุมของการวิจารณ์วรรณกรรมที่คุ้นเคยลงอย่างทื่อ ๆ   
แต่ก็หวังว่าเรา ๆ ท่านจะไม่ถือสา  เพราะเราต่างรู้สึกได้ว่า แม้วรรณกรรมจะเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของภาษา วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต  แต่ขณะเดียว พื้นใจของเราย่อมเปิดรับทัศนคติจากบทสัมภาษณ์ ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการกรองคำ กรองความเป็นรูปแบบของงานเขียน ดังเช่น บทสัมภาษณ์ของ ส. ศิวรักษ์ ที่ยกมานี้ เพราะสำหรับบางคนแล้ว การเชี่ยวชาญในด้านหนึ่ง ก็อาจให้ผลเทียบเคียงกับผู้ที่เชี่ยวชาญในอีกด้านได้เช่นกัน

นอกจากกระตุ้นให้เราขุกจิตคิดขึ้นได้ทันทีแล้ว ยังจุดเพลิงพลังใจและสานต่อให้ได้อยากเรียนรู้ ศึกษา เมื่อเรามองเห็นชีวิตของคนอื่น นอกจากจะมองเห็นเฉพาะตัวเอง.
                



        

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
 ชื่อหนังสือ : เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการ ผู้เขียน : ประไพ วิเศษธานี จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทะเลหญ้า พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2536 ไปเจอหนังสือเก่าสภาพดีเล่มหนึ่งเข้าที่ตลาดนัดหนังสือใกล้บ้าน เป็นความถูกใจที่วิเศษสุด เนื่องจากเป็นหนังสือที่คิดว่าหายากแล้ว ไม่เท่านั้นเนื้อหายังเป็นตำราทางการประพันธ์ เหมาะทั้งคนที่เป็นนักเขียนและนักอ่าน นำมาตัดทอนให้อ่านสนุก ๆ เผื่อว่าจะได้ใช้ในคราวบังเอิญ เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการเล่มนี้ ผู้เขียนใช้นามปากกา ประไพ วิเศษธานี ซึ่งไม่เป็นที่คุ้นสักเท่าไร แต่หากบอกว่านามปากกานี้เป็นอีกสมัญญาหนึ่งของนายผี อัศนี พลจันทร ล่ะก็…
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : อาถรรพ์แห่งพงไพร ผู้เขียน : ดอกเกด ผู้แปล : ศรีสุดา ชมพันธุ์ ประเภท : นวนิยายรางวัลซีไรต์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย กลับบ้านสวนคราวที่แล้ว ตู้หนังสือยังคงสภาพเดิม ละอองฝุ่นเหมือนได้ห่อหุ้มมันให้พ้นจากสายตาผู้คน ไม่ก็ผู้คนเองต่างหากเล่าที่ห่อหุ้มตัวเองให้พ้นจากหนังสือ นอกจากตู้หนังสือที่เงียบเหงาแล้ว รู้สึกมีสมาชิกใหม่มาเข้าร่วมขบวนความเหงาอีกสามสิบกว่าเล่ม น่าจะเป็นของน้องสาวที่ขนเอามาฝากไว้ ฉันจึงจัดเรียงมันใหม่ในตู้ใบเล็กที่วางอยู่ข้างกัน ดูเป็นบ้านที่หนังสือเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ผู้เขียน : ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ผู้แปล : เนื่องน้อย ศรัทธา ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน ปีกลายที่ผ่านมา มีหนังสือขายดีติดอันดับเล่มหนึ่งที่สร้างกระแสให้เกิดการเขียนหนังสืออธิบาย เพื่อตอบสนองความสนใจผู้อ่านต่อเนื่องอีกหลายเล่ม ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์เอย ด้านมายาจิตเอย ทำให้หลายคนหันมาสนใจเรื่องความคิดเป็นจริงเป็นจัง หนังสือเล่มดังกล่าวนั่นคงไม่เกินเลยความคาดหมาย มันคือ เดอะซีเคร็ต ใครเคยอ่านบ้าง?…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ ชวนอ่านเรื่องสั้นมหัศจรรย์ ปลายกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคมปีนี้ ข่าวสารที่ได้รับค่อนไปทางรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐที่ส่อเค้าว่าจะลุกลามไปทั่วโลก ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน หุ้นร่วงรูดเป็นประวัติการณ์ ชวนให้บรรดานักเก็งกำไรอกสั่นขวัญแขวน ไม่กี่วันจากนั้น รัฐบาลที่นำโดย นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงค์สวัสดิ์ ซึ่งนั่งอยู่ในตำแหน่งได้ไม่กี่วัน ก็ได้ใช้อำนาจทำร้ายประชาชนอย่างไร้ยางอาย ตลอดวันที่ 7 ตุลาคม 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง นวนิยายเรื่อง : บ้านก้านมะยม สำนักพิมพ์ : นิลุบล ผู้แต่ง : ประภัสสร เสวิกุล อาขยาน เป็นบทท่องจำที่เด็กวัยประถมล้วนมีประสบการณ์ในการท่องจนเสียงแหบแห้งมาบ้างแล้ว ทุกครั้งที่แว่วเสียง ... แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา หรือ มานี มานะ จะปะกระทะ มะระ อะไร จะไป จะดู หรือ บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี ฯลฯ เมื่อนั้น..ความรู้สึกจากอดีตเหมือนได้ลอยอ้อยอิ่งออกมาจากความทรงจำ ช่างเป็นภาพแสนอบอุ่น ทั้งรอยยิ้มและไม้เรียวของคุณครู ทั้งเสียงหัวเราะและเสียงกระซิบกระซาบจากเพื่อน ๆ ตัวน้อยในวัยเยาว์ของเรา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ทั้งโลกเป็นเช่นนี้ ผู้เขียน : ชมัยภร แสงกระจ่าง ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ คมบาง เมื่อคืนพายุฝนสาดซัดเข้ามาทั่วทิศทาง กระหน่ำเม็ดราวเป็นคืนแห่งวาตะภัย มันเริ่มตั้งแต่หกทุ่มเศษ และโหมเข้า สาดเข้า ถ้าเป็นหลังคาสังกะสี ฉันคงเจ็บปางตายเพราะฝนเม็ดหนานัก มันพุ่งแรงเหลือเกิน ต่อเนื่องและเยือกฉ่ำ ฉันลุกขึ้นมาเปิดไฟ เผชิญกับความกลัวที่ว่าบ้านจะพังไหม? ตัดเรือน เสา ที่เป็นไม้ (เก่า) ฐานรากที่แช่อยู่ในดินชุ่มฉ่ำ โถ..บ้านชราภาพจะทนทานไปได้กี่น้ำ นั่งอยู่ข้างบนก็รู้หรอกว่า ที่ใต้ถุนนั่น น้ำคงเนืองนอง…
สวนหนังสือ
 นายยืนยง  ชื่อหนังสือ : มาลัยสามชาย ผู้เขียน : ว.วินิจฉัยกุล ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : บริษัท ศรีสารา จำกัด หนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จะส่งผลกระทบหรือสะท้อนนัยยะใดบ้าง เป็นเรื่องที่น่าจับตาอีกเรื่องหนึ่ง แม้รางวัลจะประกาศนานแล้ว แต่เนื้อหาในนวนิยายจะยังคงอยู่กับผู้อ่าน เพราะหนังสือรางวัลทั้งหลายมีผลพวงต่อยอดขายที่กระตือรือร้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะประเภทวรรณกรรม เรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์ โดยในปีนี้ นวนิยายเรื่อง มาลัยสามชาย ผลงานของ ว.วินิจฉัยกุล ได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง        ชื่อหนังสือ : อาหารรสวิเศษของคนโบราณ      ผู้เขียน : ประยูร อุลุชาฎะ      ฉบับปรับปรุง : กันยายน 2542      จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แสงแดดใครที่เคยแก่อายุเข้าแล้ว พออากาศไม่เหมาะก็กินอะไรไม่ถูกปาก ลิ้นไม่ทำหน้าที่ซึมซับรสอันโอชาเสียแล้ว อาหารจึงกลายเป็นเรื่องยากประจำวันทีเดียว ไม่เหมือนเด็ก ๆ หรือคนวัยกำลังกินกำลังนอน ที่กินอะไรก็เอร็ดอร่อยไปหมด จนน่าอิจฉา คราวนี้จะพึ่งแม่ครัวประจำตัวก็ไม่เป็นผลแล้ว ต้องหาของแปลกลิ้นมาชุบชูชีวิตชีวาให้กลับคืนมา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ใหม่ที่รัก ( Sarah, Plain and Tall ) ผู้เขียน : แพทริเซีย แมคลาแคลน ผู้แปล : เพชรรัตน์ ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2544 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน หากใครเคยพยายามบ่มเพาะให้เด็กมีนิสัยรักหนังสือ รักการอ่าน ย่อมเคยประสบคำถามจากเด็ก ๆ ของท่านทำนองว่า หนังสือจำเป็นกับชีวิตมากปานนั้นหรือ? เราจะตายไหมถ้าไม่อ่านหนังสือ? หรือเราจะมีชีวิตอยู่ได้ โดยที่ไม่อ่านหนังสือจะได้ไหม? กระทั่งบ่อยครั้งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ก็อาจหาคำตอบที่สมเหตุสมผลมาตอบอย่างซื่อสัตย์ได้ไม่ง่ายนัก เป็นที่แน่นอนอยู่ว่า ผู้ใหญ่บางคนมีคำตอบในใจอยู่แล้ว ต่างแต่ว่า…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ก่อนเริ่มโรงเรียนวิชาหนังสือ (สูจิบัตรในงาน ‘หนังสือ ก่อนและหลังเป็นหนังสือ’ ) จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ผีเสื้อ สัปดาห์ก่อนไปมีปัญหาเรื่องซื้อหนังสือกับพนักงานขายของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ด้วยเพราะหนังสือที่จะซื้อมีราคาไม่เป็นจำนวนถ้วน คือ ราคาขายมีเศษสตางค์ เป็นเงิน 19.50 บาท เครื่องคิดราคาไม่ยอมขายให้เรา ทำเอาพนักงานวิ่งถามหัวหน้ากันจ้าละหวั่น ต้องรอหัวหน้าใหญ่เขามาแก้ไขราคาให้เป็น 20.00 บาทถ้วน เครื่องคิดราคาจึงยอมขายให้เรา เออ..อย่างนี้ก็มีด้วย เดี๋ยวนี้เศษสตางค์มันไร้ค่าจนเป็นแค่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เท่านั้นเอง หนังสือเล่มดังกล่าวนั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง     ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด 45 (กรกฎาคม – กันยายน 2551) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา ใครที่เคยติดตามอ่านช่อการะเกด นิตยสารเรื่องสั้นรายไตรมาส เล่มเดียวในประเทศไทยในขณะนี้ ย่อมมีใจรักในงานเขียนเรื่องสั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าผลงานเรื่องสั้นที่ปรากฏ “ผ่านเกิด” ภายใต้รสนิยมบรรณาธิการนาม สุชาติ สวัสดิ์ศรี นั้นจะต้องรสนิยมคนชื่นชอบเรื่องสั้นมากน้อยเพียงใด ก็ไม่ค่อยปรากฏกระแสเสียงวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใดเลย ทั้งที่ตอนประชาสัมพันธ์เปิดรับต้นฉบับเรื่องสั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการคัดเลือกรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ได้พิจารณาคัดเลือกหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ส่งประกวด ประจำปี 2551 จำนวน 76 เล่ม มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เสนอหนังสือรวมเรื่องสั้น 9 เล่ม ดังนี้   1.ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่น ๆ ของ ศิริวร แก้วกาญจน์ 2.เคหวัตถุ ของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ 3.ตามหาชั่วชีวิต ของ ‘เสาวรี’ 4.บริษัทไทยไม่จำกัด ของ สนั่น ชูสกุล 5.ปรารถนาแห่งแสงจันทร์ ของ เงาจันทร์ 6.เราหลงลืมอะไรบางอย่าง ของ วัชระ สัจจะสารสิน 7.เรื่องบางเรื่องเหมาะที่จะเป็นเรื่องจริงมากกว่า ของ…