Skip to main content

นายยืนยง

20080528 ปาจา
(หมายเหตุ ภาพนี้เป็นภาพปก ฉบับที่ ๔ ปีที่ ๓๒ เดือน มีนาคม - เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑)
ภาพจาก :
http://burabhawayu.multiply.com/reviews/item/16

ชื่อนิตยสาร : ปาจารยสาร
ฉบับที่ ๓ ปีที่ ๒๘ เดือนมีนาคม – เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๕
จัดพิมพ์โดย : บริษัท ส่องศยาม

ฤดูฝนตก ฟ้าย่อมเปียกปอน จะออกจากบ้านไปไหนทีก็ยากลำบาก หนึ่งคือกลัวเปียกทั้งอาศัยอยู่ใต้ฟ้า สองคือไม่รู้แห่งจะไป หยิบหนังสือสักเล่มขึ้นมาจากความทรงจำที่ไหนสักแห่ง ความกังวลก็แล่นหายไป

นิตยสาร หมายถึง หนังสือที่พิมพ์ออกเป็นประจำสัปดาห์หรือปักษ์ หรือเดือน บางฉบับอ่านแล้วก็ผ่านเลย บางฉบับมีภาพประดับที่งาม ขณะบางฉบับมีเนื้อหาให้อ่าน เก็บไว้อ่าน หรือเก็บไว้เป็นหน้าบทประวัติศาสตร์ส่งทอดถึงรุ่นลูกหลาน โดยเฉพาะนิตยสารปาจารยสาร ที่เขาเขียนโปรยประจำปกหน้าว่า โยงหัวใจและความคิด เพื่อชีวิตแสวงหา ท้าทายบริโภคนิยม

เมื่อหยิบเล่มเก่าที่ยังอยู่ดีเรียบร้อยในตู้ก็สะดุดใจกับภาพปกฝีมือ วสันต์ สิทธิเขตต์ เป็นภาพพิมพ์แกะไม้ที่มีชื่อว่า “ผมเห็นคุณมีสองหัวเดินไปในเมือง ๒๕๓๑” ชื่อศิลปินกับสายฝนช่างพอเหมาะกันดีแท้

ครั้นจึงนึกได้ว่า เล่มนี้มีบทความน่าอ่านเยอะทีเดียว นึกต่อไปได้อีกว่า ครูสาวคนหนึ่งเคยถามถึงกรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘ กับนายปรีดี พนมยงค์ คำถามของหล่อนทำให้ฉงน อีกนัยน์ตาของหล่อนนั้นก็เป็นดั่งดวงใจแห่งความกระหายรู้แบบเด็ก ๆ มีหรือใครจะนึกเฉยได้ วันนั้นปาจารยสารเล่มนี้จึงถูกค้นพบในความทรงจำอีกครั้งและทำหน้าที่เป็นวิทยาทานด้วยอาการตื่นใจระคนยินดี

กับวันนี้ที่ฝนทำให้ความทรงจำลื่นละลายออกมา ปาจารยสารเล่มดังกล่าวจึงถูกเปิดอ่านอีกครั้งด้วยชีวิตชีวา

ในหน้าที่ ๒๙ –๓๘ เป็นหัวข้อเรื่องเด่น ที่เขียนโดย ซาลาดิน ชามชาวัลลาชื่อบทความฟังดูหนักหน่วงว่าด้วยแอกอันหนึ่งในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย
“แอกอันหนึ่ง”แปลได้ว่าในประวัติศาสตร์ไทยมีแอกที่คอยกดทับเราอยู่มากกว่าหนึ่งแน่นอน ใช่หรือไม่?

เป็นบทความที่เขียนได้อย่างน่านับถือ เพราะเหตุใด? หนึ่งเพราะเป็นความสับสน กำกวม และหลอกลวงสิ้นดีที่คนในประเทศหนึ่งจะถูกปิดหูปิดตาด้วย “ข่าว”และ “สถานการณ์ที่สร้างมากลบ” ดูเอาเถิดว่าแม้แต่คนที่ขึ้นชื่อว่า “ครู”ยังหาได้รู้ความ “จริง”ยังหาความกระจ่างต่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งไม่ได้ ขออนุญาตผู้เขียนและกองสาราณียกรของปาจารยสาร ยกส่วนหนึ่งของบทความที่น่าอ่านยิ่งมาไว้ ณ พื้นที่ตรงนี้

ว่ากันถึงหลักการเขียนบทความ ซึ่งไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมากนักในเรื่องของโครงสร้าง อย่างที่เราเคยร่ำเรียนกันมานั่นเอง

บทความประกอบด้วย ๓ ส่วนสำคัญ คือ (๑) บทนำหรือการเกริ่นนำผู้อ่าน (๒) เนื้อหาหรือใจความ
(๓) บทสรุป แต่การจะเขียนบทความให้น่าอ่านก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สลับซับซ้อนเสมอไป อีกทั้งบทความก็มีหลายประเภทด้วยกัน ทั้งบทความวิชาการ บทความแสดงทัศนคติ อะไรต่าง ๆ เราเองก็ต้องยอมรับว่าบทความเป็นเนื้อหลักของการสื่อสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร

แต่บทความ ว่าด้วยแอกอันหนึ่งในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย ที่เขียนโดย ซาลาดิน ชามชาวัลลา นั้นนอกจากเป็นเนื้อหาที่น่าหยิบมาเขียนแล้ว ศิลปะการเขียนของซาลาดิน ชามชาวัลลายังน่าหลงใหลได้ปลื้มอีกด้วย ไม่ทราบว่าเขาหรือเธอผู้นี้คือใครกันหนอ? ใครพอรู้จักมักคุ้น หากกรุณาบอกเล่ากันบ้างจะเป็นพระคุณ...

ด้วยภาษาที่กระชับ มีสำนวนแบบที่เรียกได้ว่า ฉูดฉาด เต็มด้วยสีสัน แต่กลับแกร่งกล้าในตัว โดยเฉพาะการตั้งชื่อบทย่อย เช่น ความเป็นไปได้ของการตายทั้งเป็น การจัดการกับความจริงเกี่ยวกับความตาย เสียงเปล่งของปีศาจบางคนอาจรู้สึกได้ถึงลีลาอย่างเรื่องแต่งหรือวรรณกรรมไปพร้อมกันด้วย ไม่เท่านั้น การจัดวางองค์ประกอบ การแบ่งสัดส่วนของข้อมูล ที่เข้าใจว่ามหาศาล (ดูจากส่วนอ้างอิงท้ายบทความที่มีถึง ๑๓ รายการ ซึ่งล้วนหนักหน่วงทั้งสิ้น) เรียกว่าบริหารข้อมูลให้เข้าถึงเป้าหมายได้พอดิบพอดี (อีกทั้งจะไม่ต้อง “เจ็บตัว”จากตัวอักษรของตัวเองด้วย) การบริหารข้อมูล จัด ตัด ทอน เพิ่ม ข้อมูลให้เหมาะเจาะนั้นเป็นข้อพึงสังวรยิ่งสำหรับผู้เขียนบทความ ไม่เช่นนั้นผู้อ่านอาจจะ “ตื้อ”กับข้อมูลพะเรอเกวียนประดานั้นได้

ครั้นมาดูการเกริ่นนำเรื่องของซาลาดินกันบ้าง

ซาลาดินอาศัยทัศนะของนักคิด นักปรัชญา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นซีกตะวันตก เป็นเครื่องมือในการปูพื้นความเข้าใจร่วมกันกับผู้อ่าน (เพื่อดึงเอาสถานภาพระหว่าง ๒ คน เข้ามาเทียบเคียงกัน) ขอยกมาให้อ่านกันดังต่อไปนี้

ความตายคือ “ความเป็นไปได้ของความสามารถที่จะไม่ต้องอยู่ที่นั่นอีกต่อไป (the possibility of a being-albe-no-longer-to-be=there)” หรือ คือ “ความเป็นไปได้ของความเป็นไปไม่ได้ในทุก ๆ วิถีแห่งการดำรงอยู่ (the possibility of the impossibility of every way of…existing” หรือ

นอกจากนี้ ไฮเดกเกอร์ยังมีความเห็นต่อไปว่า “เป็นไปไม่ได้ที่ (คนผู้หนึ่ง) จะตายเพื่อผู้อื่นในความหมายที่ว่าเป็นการ ‘ตายแทนคนผู้นั้น’ ต่อให้เขาจะตายเพื่อผู้อื่นโดย พลี (หรือสังเวย) ความตายของตัวให้แก่ผู้อื่นไปก็ตาม” อย่างไรก็ตาม ในฉบับแปลจากภาษาฝรั่งเศส มีความหมายเป็นไปในทำนองว่า คนเราไม่สามารถตายแทนกันได้ ... ฯลฯ... “ไม่มีใครสามารถถือเอาความตายของผู้อื่นไปจากตัวเขาได้ แน่นอนว่า บางคนสามารถ ‘เดินไปสู่ความตายของตนเพื่อคนอื่น’ ได้ แต่นั่นย่อมหมายถึงการอุทิศตนเพื่อคนอื่น ‘ในกิจการบางเรื่องที่แน่นอน’ ” กล่าวโดยสรุปก็คือ ความตายนั้นไม่มีใครสามารถตายแทนกันได้ (to die in his place) ส่วนความหมายหลังคือ ไม่มีใครพรากเอาความตายของผู้อื่นไปจากตัวเขาได้ (take the other’s dying away from him) ความหมายทั้งสองที่กล่าวข้างต้น จะเป็นการนำไปสู่ประเด็นสำคัญในกรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ ...

การนำเอาทัศนคติหรือข้อปรัชญามาเกี่ยวเข้ากับกรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘ เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับทัศนคติที่เคยมีมาของประชาชนคนไทยที่มีต่อกรณีดังกล่าวกับรอยมลทินของนายปรีดี พนมยงค์ ทำให้ผู้อ่านมองเห็นได้อย่างชัดแจ้งถึงเจตนารมที่แท้ของผู้เขียนบทความนี้ และ “แอกอันหนึ่ง”ที่กล่าวถึงนี้คือ “แอก”ที่มีคนขี่ค้ำอยู่อีกไม่รู้เท่าไหร่ ใช่หรือไม่? ขอยกมาให้อ่านต่ออีกสักหน่อยเถอะ

(หน้า ๓๐ –๓๑) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้ให้ความหมายการสวรรคตของรัชกาลที่ ๘ ที่ซับซ้อนยอกย้อนอย่างมีนัยยะพิเศษในสังคมไทย กล่าวคือ ไม่เพียงแต่ทำในสิ่งที่ขัดขืนต่อความคิดที่ว่า “ไม่มีใครสามารถถือเอาความตายของผู้อื่นไปจากตัวเขาได้” เท่านั้น แต่ได้พรากเอาความตายไปจากพระองค์ท่าน ด้วยการทำให้กรณีสวรรคตกลายเป็นอมตะ เพราะในทัศนะของเสนีย์นั้น การสวรรคตของรัชกาลที่ ๘ นั้นเป็นผลส่งให้ดวงวิญญาณของพระองค์หลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับวิญญาณของความเป็นชาติ และเท่ากับ “ได้ชุบชีวิตในหลวงอานันท์ให้ฝังสนิทแนบอยู่ในวิญญาณของชาติอันไม่รู้จักตาย ตายอย่างผู้บริสุทธิ์เยี่ยงพระเยซูคริสต์บนไม้กางเขนการเมือง พระองค์ได้สละแล้วซึ่งชีวิตเพื่อปลุกคนไทยให้ตื่นทั่วแผ่นดิน” การหลอมรวมวิญญาณของพระองค์เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับวิญญาณของชาตินั้น ได้ทำให้พระองค์กลายเป็นอมตะหรือไม่ตาย เพราะ “วิญญาณของชาติไทยเป็นวิญญาณที่ฆ่าไม่ตาย”

ไม่เพียงเท่านั้น หากเสนีย์ยังได้ผลักเอาความตายของพระองค์ไปหยิบยื่นให้แก่คนอีกผู้หนึ่งไปตายแทนพระองค์ เพราะการสวรรคตของรัชกาลที่ ๘ นั้น กลับมีผลทำให้ต้องออกมรณบัตรแก่อีกบุคคลหนึ่ง คือ ทำให้ปรีดี พนมยงค์ “ถึงฆาตทางการเมือง” ซึ่งเมื่อกล่าวตามสำนวนของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ก็คือ “ชะตาท่านปรีดีตกที่นั่งถึงฆาตทางน้ำ (คือ) น้ำลายประชาชนคนไทย” จนถึงกับต้อง “ตายทั้งเป็น” เพราะฉะนั้น การสวรรคตของรัชกาลที่ ๘ ไม่เพียงแต่ได้ทำให้พระองค์กลับมีชีวิตที่เป็นอมตะ แต่ยังได้กลับตาลปัตรผลักดันให้คนอีกผู้หนึ่งตกที่นั่งถึงแก่มรณะลงเสมือนหนึ่งว่าปรีดีได้ “ตายแทน” พระองค์

นั่นเป็นเพียงบางส่วนที่ขอตัดทอนมา ด้วยเนื้อหาของบทความชิ้นนี้ เป็นการปะติดปะต่อ “รายละเอียด”ข้อมูลและทัศนะจากหนังสือหลายเล่ม จากทัศนคติของหลายฝ่าย แล้วเชื่อมโยงให้ลงตัว กระชับ รัดกุม เหมาะสมกับพื้นที่ของนิตยสาร หากเป็นไปได้ปาจารยสารเล่มนี้ควรหามาเก็บ หามาอ่านอย่างยิ่ง เข้าใจว่าน่าจะติดต่อได้โดยตรงกับกองสาราณียกร เพราะเชื่อว่า นอกจากครูสาวผู้สนใจใคร่รู้ต่อกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ ๘ แล้ว อาจจะยังมีบางคนที่ยังคงให้ความสนใจอยู่บ้าง และเพราะเชื่อว่าหน้าบันทึกประวัติศาสตร์ต่อกรณีนี้เหมือนถูก “สับ”ให้ขาดช่วง ห่างหาย ไปเสียนาน แม้กระทั่งวันที่ ๙ มิถุนายน ของทุกปี ก็ยังไม่เห็นรัฐบาลหรือ “ใคร?” ออกมาแสดงความรู้สึกกับกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ ๘ นอกจากประโคมข่าวกันในวันรัฐธรรมนูญ วันประชาธิปไตยแห่งชาติ วันภาษาไทยแห่งชาติ วันอะไรต่อมิอะไรแห่งชาติกันให้จำไม่หวาดไหว

ไม่เท่านั้น ความ “พยายาม”ที่จะทำให้กรณีดังกล่าวถูกปิดเงียบงึมไปจากความรับรู้ของคนในสังคมจากอดีตถึงปัจจุบันก็ยังคงเคลื่อนไหวอย่างแนบเนียน โดยการกระทำต่าง ๆ เช่นว่า การยกย่องเทิดทูน “บางสิ่ง” หรือ “บางส่วน”ให้มากเกิน มากล้น ก็อาจทำให้ “บางสิ่งที่ถูกลืมอยู่แล้ว”ถูกทำให้เงียบหายไปเลย

ดังที่ซาลาดินได้เขียนไว้ในตอน “ความเป็นไปได้ของการตายทั้งเป็น”ว่า ความพยายามในการฝังศพ “ปีศาจทางการเมือง”เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กรณีสวรรคตกลายเป็นประเด็นอันตรายและล่อแหลมในทางการเมืองสำหรับนักเรียนประวัติศาสตร์ ที่อาจจะถูกดึงเข้าไปพัวพันกับความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มนิยมเจ้ากับกลุ่ม “ปีศาจทางการเมือง”อันทำให้กรณีสวรรคตกลายเป็นปัญหาสำคัญที่สุดปัญหาหนึ่ง ที่ยังปราศจากการค้นคว้าในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยสมัยใหม่ ซึ่งเป็นเสมือนการทำให้ “ข้อต่อของกาลเวลาแยกออกจากัน”หรือ “the time is out of joint” ที่ยุ่งยากต่อการอธิบายและการทำความเข้าใจเกิดขึ้นมาในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย ก่อให้เกิดความคลุมเครือขึ้นอย่างที่หาเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทยในช่วงอื่นใดมาเปรียบเทียบได้ยาก ดังที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เห็นว่ากรณีสวรรคตเป็น “แอกทางประวัติศาสตร์”(burden of history) อันหนึ่งของสังคมไทย ...ฯลฯ ...

แล้ว “แอกทางประวัติศาสตร์”อันหนึ่งนี้ จะพัฒนาไปเป็น “อย่างอื่น”ที่ “พร้อม”หรือจะรอจังหวะ “เหมาะสม”ใด เพื่ออะไร หรือใคร “ปีศาจทางการเมือง”จะแปรโฉมหน้าเลียนแบบ “คนตุลาฯ”หรือไม่

ไม่อยากจะคาดเดา ได้แต่ภาวนาว่า...

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ                     :    เค้าขวัญวรรณกรรมผู้เขียน                         :    เขมานันทะพิมพ์ครั้งที่สอง (ฉบับปรับปรุง) ตุลาคม ๒๕๔๓     :    สำนักพิมพ์ศยาม  
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิเจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชะตากรรมของสังคมฝากความหวังไว้กับวรรณกรรมเพื่อชีวิตเห็นจะไม่ได้เสียแล้ว  หากเมื่อความเป็นไปหรือกลไกการเคลื่อนไหวของสังคมถูกนักเขียนมองสรุปอย่างง่ายเกินไป  ดังนั้นคงไม่แปลกที่ผลงานเหล่านั้นถูกนักอ่านมองผ่านอย่างง่ายเช่นกัน  เพราะนอกจากจะเชยเร่อร่าแล้ว ยังเศร้าสลด ชวนให้หดหู่...จนเกือบสิ้นหวังไม่ว่าโลกจะเศร้าได้มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่แต่กับโลกแห่งความเศร้าใช่หรือไม่? เพราะบ่อยครั้งเราพบว่าความเศร้าก็ไม่ใช่ความทุกข์ที่ไร้แสงสว่าง  ความคาดหวังดังกล่าวจุดประกายขึ้นต่อฉัน เมื่อตั้งใจจะอ่านรวมเรื่องสั้น โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ของ…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ       :    รายงานจากหมู่บ้าน       ประเภท         :    กวีนิพนธ์     ผู้เขียน         :    กานติ ณ ศรัทธา    จัดพิมพ์โดย     :    สำนักพิมพ์ใบไม้ผลิพิมพ์ครั้งแรก      :    มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๐เขียนบทวิจารณ์     :    นายยืนยง
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ      :    ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไปประเภท    :    เรื่องสั้น    ผู้เขียน    :    จำลอง  ฝั่งชลจิตรจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งแรก    :    มีนาคม  ๒๕๔๘    
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด ๔๒ ( ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา สาเหตุที่วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตยังคงมีลมหายใจอยู่ในหน้าหนังสือ มีหลายเหตุผลด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ตัวนักเขียนเองที่อาจมีรสนิยม ความรู้สึกฝังใจต่อวรรณกรรมแนวนี้ว่าทรงพลังสามารถขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาสังคมได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเหตุผลนี้เพียงประการเดียวก่อน คำว่า แนวเพื่อชีวิต ไม่ใช่ของเชยแน่หากเราได้อ่านเพื่อชีวิตน้ำดี ซึ่งเห็นว่าเรื่องนั้นต้องมีน้ำเสียงของความรับผิดชอบสังคมและตัวเองอย่างจริงใจของนักเขียน…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ      :    เถ้าถ่านแห่งวารวัน    The Remains of the Day ประเภท            :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    กุมภาพันธ์   ๒๕๔๙ผู้เขียน            :    คาสึโอะ  อิชิงุโระ ผู้แปล            :    นาลันทา  คุปต์
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือ      :    คลื่นทะเลใต้ประเภท    :    เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก    :    ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน    :    กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุง เรื่องสั้นแนวเพื่อชีวิตในเล่ม คลื่นทะเลใต้เล่มนี้  ทุกเรื่องล้วนมีความต่าง…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ : คลื่นทะเลใต้ประเภท : เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน : กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุงวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นมีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตลอดเวลาถึงปัจจุบัน ในยุคหนึ่งเรื่องสั้นเคยเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสภาวะปัญหาสังคม สะท้อนภาพชนชั้นที่ถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ และยุคนั้นเราเคยรู้สึกว่าเรื่องสั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมได้…
สวนหนังสือ
‘พิณประภา ขันธวุธ’ ชื่อหนังสือ : ฉลามผู้แต่ง: ณัฐสวาสดิ์ หมั้นทรัพย์สำนักพิมพ์ : ระหว่างบรรทัดข้อดีของการอ่านิยายสักเรื่องคือได้เห็นตอนจบของเรื่องราวเหล่านั้นไม่จำเป็นเลย...ไม่จำเป็น...ที่จะต้องเดินย่ำไปรอยเดียวกับตัวละครเล่านั้นในขณะที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ความเป็น “วัตถุนิยม” ที่เรียกว่า เป็นวัฒนธรรมอุปโภคบริโภค อย่างเต็มรูปแบบ ลัทธิสุขนิยม (hedonism) ก็เข้ามาแทบจะแยกไม่ออก ทำให้ความเป็น ปัจเจกบุคคล ชัดเจนขึ้นทุกขณะ ทั้งสามสิ่งที่เอ่ยไปนั้นคน สังคมไทยกำลัง โดดเดี่ยว เราเปิดเผยความโดดเดี่ยวนั้นด้วยรูปแบบของ ภาษาและถ้อยคำสำนวนที่สะท้อนโลกทัศน์ของความเป็นปัจเจกนิยมได้แก่ เอาตัวรอด…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’  ชื่อหนังสือ      :    วิมานมายา  The house of the sleeping beautiesประเภท         :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้าพิมพ์ครั้งที่ ๑   :    มิถุนายน ๒๕๓๐ผู้เขียน          :    ยาสึนาริ คาวาบาตะ ผู้แปล           :    วันเพ็ญ บงกชสถิตย์   
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือประเภทจัดพิมพ์โดยผู้ประพันธ์ผู้แปล:::::เปโดร  ปาราโม ( PEDRO  PARAMO )วรรณกรรมแปลสำนักพิมพ์โพเอม่าฮวน รุลโฟราอูล  การวิจารณ์วรรณกรรมนั้น บ่อยครั้งมักพบว่าบทวิจารณ์ไม่ได้ช่วยให้ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านหรืออ่านวรรณกรรมเล่มนั้นแล้วได้เข้าใจถึงแก่นสาร สาระของเรื่องลึกซึ้งขึ้น แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่บทวิจารณ์ต้องมีคือ การชี้ให้เห็นหรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ของวรรณกรรมเล่มนั้น วรรณกรรมที่ดีย่อมถ่ายทอดผ่านมุมมองอันละเอียดอ่อน ด้วยอารมณ์ประณีตของผู้ประพันธ์…