Skip to main content


(โปรดส่งต่อ ล้อมกรอบ ปชส เผยแพร่ในทุกรูปแบบด้วย ครับ)

ในฐานะประธานมูลนิธิ จิตร ภูมิศักดิ์ 
ขอส่งบทความมาเพื่อทราบ 
และขอแจ้งว่า เรากำลังสร้างอนุสาวรีย์จิตร ที่บ้านหนองกุง สกลนคร
ยังขาดเงินเกือบ ๑ ล้าน ๕

ขอเชิญชวนบริจาคเข้ากอง-กอบ-กำผ้าป่าจิตร
๑ หมื่น หรือ ๑ พัน หรือ ๑ ร้อย 
กี่กอง กี่กอบ กี่กำ ก็ได้ครับ 

โปรดโอนเงินเข้า

บัญชีกองทุนอนุสรณ์สถานจิตร ภูมิศักดิ์
ธนาคารกรุงไทย สาขา มหานาค
ออมทรัพย์ เลขที่ 156-0-06158-8

ขอขอบคุณ ครับ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ปล โปรดอ่าน ข้างล่าง ครับ

 

****************************************************

 

วรศักดิ์ ประยูรศุข : จิตร ภูมิศักดิ์


ถ้า จิตร ภูมิศักดิ์ ยังอยู่ จะมีอายุครบ 82 ปี

มีการจัดงานรำลึกถึงไปเมื่อ 25 ก.ย.ที่ผ่านมา อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ กล่าวในงานนี้ว่า จิตรทิ้งมรดกต่างๆ ไว้ให้สังคมไทยมากมาย แต่ด้วยอำนาจของรัฐบาลเผด็จการในยุคต่างๆ ทำให้ชื่อของเขาหายไปจากความรับรู้ของผู้คน 

ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น 

จิตรมีเวลาอยู่บนโลกนี้แค่ 35 ปี (2473-2509) แต่ทำงานราวกับ 100 ปี

จิตรใช้เวลาส่วนหนึ่งเรียนหนังสือที่พระตะบอง, ร.ร.เบญจมบพิตร, ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ 

ติดคุก 6 ปี ระหว่าง 2501-2507 โดยไม่มีความผิดใดๆ นอกจากคิดไม่เหมือนรัฐบาลทหารขณะนั้น

พ้นคุกออกมาอยู่ในเมืองไม่เต็มปี ปลายๆ ปี 2508 

เข้าป่าทางอีสาน 

ผลงานต่างๆ ของจิตร สร้างสรรค์ขึ้นระหว่าง เรียน ติดคุก และอยู่ในป่านั่นเอง

เดือน พ.ค.2509 โดนเจ้าหน้าที่ล้อมยิงเสียชีวิตที่ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร ผู้เกี่ยวข้องได้บำเหน็จรางวัลมากมาย ได้ไปเที่ยวอเมริกา เลื่อนยศเลื่อนขั้นกันใหญ่ 

สะท้อนถึง "ความกลัว" ของรัฐบาลเผด็จการที่มีต่ออุดมคติ และความคิดความรู้ของจิตร

ความกลัวนั้นตามหลอน ลากยาวมาถึงระหว่าง 2509 ถึง 2516 อันเป็นช่วงรัฐบาลเผด็จการของ จอมพลถนอม กิตติขจร ทำให้ชื่อของจิตร หนังสือและผลงานของจิตร เป็นสิ่งต้องห้าม 

จนเกิด 14 ตุลาฯ 2516 จึงมีการรื้อฟื้นผลงาน และประวัติของจิตร กลายเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนนักศึกษาและปัญญาชน

จนกระทั่งรัฐประหารนองเลือด 6 ตุลาฯ 2519 หนังสือและเรื่องราวของจิตรโดนขึ้นบัญชีดำอีกครั้ง 

การเมืองค่อยๆ คลี่คลายไป ทำให้มีการกลับมาสนใจเรื่องราวของจิตรอีกครั้ง 

แต่กระนั้นก็ยังเบลอๆ ค่ายเพลงแห่งหนึ่งเคยทำมิวสิกวิดีโอ เพลงจิตร ภูมิศักดิ์ ของหงา คาราวาน ออกมา 

จิตรในมิวสิกวิดีโอกลายเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ อาจจะเพราะได้ยินเนื้อเพลงตอนต้นๆ ว่า "...เขาตายในชายป่า"

ถ้าจิตรยังอยู่ และไม่แก่เกินไป ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสารอย่างนี้ เขาน่าจะสนุกกับการค้นคว้าสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้อีกมาก 

แต่นั่นก็เป็นการสมมุติ ในโลกของความจริง "กลุ่มอำนาจ" ไม่ว่ายุคไหน พร้อมใจกันกลัวคนอย่างจิตร 

บีบคั้นจนต้องทิ้งชีวิตในเมืองเข้าป่า แม้ตายยังตามปกปิด ไม่อยากให้คนรู้จัก ไม่พูดถึง ไม่ยกย่อง ไม่เชิดชู 

แม้ว่าผลงานวิชาการ หนังสือ บทกวี เพลง ของจิตร ยังอ้างอิงและตีพิมพ์เผยแพร่อยู่เรื่อยๆ 

นักวิชาการที่มีจุดยืนประชาธิปไตย มักจะต้องเผชิญชะตากรรมเช่นนั้น อย่างเบาะๆ ก็โดนข่มขู่คุกคาม โดนทำร้าย บุกชกหน้าบ้าง

ต่างจากนักวิชาการอีกแบบ ที่อัดฉีดบำเหน็จรางวัล ตำแหน่ง ลาภยศ เงิน กล่อง ฯลฯ อวยกันไม่ยั้ง 

เพื่อให้ทำตัวเป็น "เฟอร์นิเจอร์" ประดับ "ระบบ" ไปเรื่อยๆ 

ดูจากการเมืองวันนี้ คงอีกนาน กว่าสภาพที่ว่านี้จะเปลี่ยนไป 

และหมายถึงตัวชี้วัด สภาพการเมืองของประเทศไทยอีกด้วย

 


ที่มา:
 มติชน  27 ก.ย. 2555 คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12

 

 

 

บล็อกของ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
39 ปีที่แล้ว ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เขียนบทความถึงผู้เสียชีวิตคนแรกในเหตุการณ์ 14 ตุลา
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
 OUR PETITION TO PREMIER ABHISIT AND THE RED SHIRTS BEFORE THE BLOODY MAY OF 2010 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
An Open Letter to Chuan LeekphaiOn Anarchy and Democracyเรื่อง ประชาธิปไตย กับ อนาธิปไตยเรียน ฯพณฯ ชวน หลีกภัย สส. ปชป กก. สภา มและ อดีต นรม อดีต หัวหน้าพรรคฯ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
 Treaties and Maps: France vs Siam, Thailand vs Cambodia เวรกรรม จึงตกอยู่กับ ประชาชน ชาวไทย โดยเฉพาะ ที่ ศรีสะเกษ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
Midterm Exam: TuSeas/13 (Good luck and Happy New Year 2013)
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
cK in Madison, Wisconsin ชว เสวนา บรรยาย ที่ Madison, Wisc ครับ  (ส่วนใหญ่ เรื่องอุ่นๆ ร้อนๆ ครับ) เลือกอ่านได้ตาม อัธยาศัย 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
  Thai Town - Hollywood (from California to Siam with Love, and doubt)
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๒ แล้วที่ชาวจีนได้เข้ามาครอบครองเหนือดินแดนที่เป็นมณฑลยูนนานในปัจจุบัน ณ ที่นั้น ชาวจีนได้พบกับความหลากหลายของบรรดาผู้คนที่จีนเรียกว่า “คนป่าคนเถื่อน” (หม่าน Man) ที่บางพวกก็ยอมรับอารยธรรมจีน ตระกูลผู้ปกครองท้องถิ่นหนึ่งนามว่า จ้วน (Zuan) มีศูนย์กลา