Skip to main content

cK”s speech for Oct 14, 2013… 
(ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 13 ตุลา 2556)
ท่านสุภาพชน พี่น้อง และ มิตรสหาย ผู้รักชาติ รักประชาธิปไตย ผู้ใฝ่หา 
“เสรีภาพ เสมอภาค และ ภราดรภาพ”

เรามารวมกัน ณ ที่นี้ เพื่อ “จดและจำ” ปวศ ของชาติ
เรามารวมกัน ณ ที่นี้ เพื่อไม่ให้เกิดการ “ลืมและเลือน” 
ต่อเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 กับ “วีรชน” ครั้งกระนั้น

14 ตุลา เป็นเหตุการณ์หนึ่งบน “เส้นทางประชาธิปไตย” 
และการเดินทางอันยาวไกล ของประชามหาชน และของประเทศชาติของเรา 

14 ตุลา เป็น "หมุดหมาย" สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมือง 
ไม่ว่าจะมองกลับไปไกล ถึง 
“การปฏิวัติประชาธิปไตย 24 มิถุนา 2475” 
หรือ “การกบฏประชาธิปไตย ร.ศ. 130”

และไม่ว่าจะมองกลับมา ยัง 
“6 ตุลา 2519” หรือ 
“พฤษภา 2535” 
และท้ายที่สุด “เมษา-พฤษภา 2553”

น่าสังเกตว่า เหตุการณ์ “สดๆร้อนๆ” ทั้ง 4 คือ 
คือ “14 ตุลา- 6 ตุลา-พฤษภา 2535-เมษา/พฤษภา 2553” นั้น 
ในด้านหนึ่งของเหรียญ 
คือ “การต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตย ของประชาชน” 
แต่ในอีกด้านหนึ่ง 
ก็คือ “ความรุนแรงของรัฐ” ที่กระทำต่อประชาชนของตนเอง

ถ้าเราจะจับคู่เปรียบเทียบ 
ก็คงมีทั้งความเหมือน และความต่าง 

คู่แรก คือ “วันมหาปิติ 14 ตุลา 2516” 
กับ “วันพฤษภาเลือด 2535 (Bloody May 1992)” 
และคู่หลัง คือ “วันมหาวิปโยค 6 ตุลา 2519” 
กับ “วันเมษา-พฤษภาอำมหิต 2553”

คู่ทาง ปวศ ทั้งสองนี้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของ 
“การต่อสู้บนเส้นทาง จากระบอบเก่า “คณาธิปไตย” 
ไปสู่ระบอบใหม่ “ประชาธิปไตย” 
(ancient regime/oligarchy versus new regime/democracy) 
ซึ่งยาวนาน และสลับซับซ้อนยิ่ง 

เหตุการณ์ทั้งหมด 
ถือได้ว่าเป็น “บทเรียน” สำคัญของสังคมไทยของเรา 
ที่ในปัจจุบัน มีความแตกแยก 
และความขัดแย้งสูง อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน 

ดังจะเห็นได้จากวิกฤตการเมือง ที่มีมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ทศวรรษแล้ว 

ในแง่ของ วิชาประวัติศาสตร์ 
สิ่งที่เรียกว่า “อดีต” คือ สิ่งที่เราจักต้อง “เรียนรู้” 
ทั้งนี้ เพื่อเป็น “บทเรียน” สำหรับ “ปัจจุบัน” 
และเป็นการเตรียมความพร้อม 
เพื่อเผชิญหน้ากับ “อนาคต” 

ประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งที่เราต้อง “จดและจำ” 
โดยที่เราเกือบไม่รู้ตัวว่า 
ประวัติศาสตร์ ก็เป็นสิ่งที่เรา “ลืม” หรือ “ถูกทำให้ลืม และ เลือน” 

ดังนั้น ใน 4 เหตุการณ์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น 
บางเหตุการณ์ก็ได้รับการ “จดจำ” ได้รับการ “ตอกย้ำ” 
เช่น “วันมหาปิติ 14 ตุลา 2516” กับ “วันพฤษภาเลือด 2535” 

แต่บางเหตุการณ์ ก็ถูกทำให้ “ลืม” ทั้งโดย (รัฐ) ตั้งใจ 
และไม่ตั้งใจ (ของเราเอง) 
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “วันมหาวิปโยค 6 ตุลา 2519” 
กับ “วันเมษา-พฤษภาอำมหิต 2553” 
ทั้งๆ ที่เหตุการณ์หลังสุด เพิ่งเกิดเมื่อไม่นานนี้เอง 

ถ้าหาก ประวัติศาสตร์ คือ สิ่งที่ถูกทำให้ “ลืม และ เลือน” 
ก็ดูเหมือนว่า ประวัติศาสตร์นั้น ไม่เพียงแต่จะเป็น 
“เหรียญด้านเดียว” (one side of the coin) เท่านั้น 
แต่ยังเป็น ประวัติศาสตร์ที่อาจจะไม่ยังประโยชน์ให้กับสังคมโดยรวมเท่าไรนัก 

อย่าให้ ประวัติศาสตร์ บอกเราว่า 
เราไม่ (เคย) เรียนรู้อะไรจาก ประวัติศาสตร์ เลย 

ขอให้ ท่านสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี สุภาพชน 
จงประสบความสำเร็จ ในการเดินทาง บนเส้นทางของประชาธิปไตย 
บนเส้นทางของ สิทธิเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ 
Good luck on your journey ครับ
ขอบคุณ ครับ

cK@Tula2013

บล็อกของ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
บทความของนักวิชาการฝรั่งสงครามกลางเมือง ในสยามประเทศไทยควรอ่าน ครับ (ข้างล่าง)
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
(ผมได้อ่าน ข้อคิด (ยาวๆ ข้างล่าง) ของปราบ อย่างละเอียดประทับใจ และดีใจ ที่มีเยาวชน คนหนุ่มสาว รุ่นใหม่คิดอะไร ที่เป็นบวก สร้างสรรค์ มากกว่าเป็นลบ และทำลาย)ผมขอเสนอความเห็นเพิ่มเติม cK@MyThoughtRicePledging ดังนี้:
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
 2/2 Election or No Electionตลก.รธน และ กกต. ร่วมกับ ม็อบ ปกกส. และ ปชปให้เลื่อนเลือกตั้งแต่ พลเมืองดี (มธก.) เสนอว่า"ไปเลือกตั้ง ทั้งก่อนและหลัง 2 กุมภา"Go to the Poll before and on 2 Feb 2014ด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
หนึ่ง)“ศรีสิขเรศวร” หรือ ปราสาทเขาพระวิหารปวศ บาดแผล เป็นหลุมดำปราสาท และ ดินเขา ศักดิ์สิทธิ ต้องมนตร์สาปผู้ไม่ใช่ ลูก หลาน เหลน โหลน ของสุริยวรมัน ชัยวรมันไปแตะ ไปต้อง ไปข้อง ไปเกี่ยวโดยขาดความเคารพ ในอดีต ในบรรพชนก็จะมี อันเป็นไป ครับสอง)
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
14 ตุลาคม 2516 ผ่านไปครบ 40 ปี "ไวเหมือนโกหก" และไม่ว่าเราจะเรียกเหตุการณ์นั้นว่าอะไรก็ตาม ก็เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ของการที่ "ผู้กุมอำนาจรัฐ" กระทำกับประชาชนของตน และก็เกิดขึ้นกลางกรุงเทพมหานคร ที่มาจนถึง ณ วันนี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก รวม 4 ครั้งด้วยกัน (นี่ยังไม่นับรวมถึง เหตุการณ์ทำนองเดียวกันที่เกิดขึ้นในต่างจังหวัด หรือในดินแดนชายขอบ)