Skip to main content

 

Treaties and Maps: France vs Siam, Thailand vs Cambodia เวรกรรม จึงตกอยู่กับ ประชาชน ชาวไทย โดยเฉพาะ ที่ ศรีสะเกษ

ก.

แผนที่ 1:200,000 ดังกล่าวฝรั่งเศส กับ สยาม เป็น กก ร่วม ทำด้วยกัน ผู้เป็น กก ร่วมสำรวจร่วมกับฝรั่งเศส คือ เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (มรว สท้าน สนิทวงศ์ บิดา มล บัว กิตติยากร) กับ พระองค์เจ้าบวรเดช

 

ข.

เมื่อพิมพ์เสร็จ ส่งจากฝรั่งเศสมาให้ กรมเทววงศ์ฯ กต สยาม กับ กรมดำรงฯ มท สยาม นี่เป็นหลักฐาน ที่ฝ่ายทนายกัมพูชา ใช้ และชนะคดี ปี 2505 คะแนน 9:3

 

ค.

นี่เป็นหลักฐาน ที่ฝ่ายทนายไทย คือ มรว เสนีย์ ปราโมช ไม่ยอมรับ และที่สำคัญ คือ ไม่ยอมเปิดเผย ให้ประชาชนไทย ทราบ เพราะเชื่อมั่นว่าจะชนะคดี (เกิน 100 %) ดังนั้น “เมื่อบอลแพ้ ก็ทำให้คนดู ไม่ยอมแพ้”

 

ง.

ทั้งสฤษดิ์ เสนีย์ ต้องปิดเรื่องนี้ไว้ นานปี ครับ ทั้งอภิสิทธิ และ พันธมิตร เสื้อเหลือง ก็ไม่ยอมรับข้อมูลนี้ เช่นกัน

 

จ.

สรุป สยาม Siam สมัย ร ๕ ยอมรับทั้งสนธิสัญญา และ แผนที่

แต่ แต่ ไทย Thailand สมัยพิบูลสงคราม สฤษดิ์ (ถนัด) เสนีย์ อภิสิทธิ (กษิต) พธม (สนธิ/จำลอง) ไม่ยอมรับ ครับ

 

ฉ.

เวรกรรม จึงตกอยู่กับ ประชาชน ชาวไทย (โดยเฉพาะ ที่ ศรีสะเกษ ครับ)

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

 

คุณสาวิตรี สุวรรณสถิต อดีตปลัดกระทรวงศึกษาฯ ผู้เคยคร่ำหวอดอยู่กับเรื่องของ "กรรมการมรดกโลก" ของฝ่ายไทย ได้แสดงความคิดเห็นไว้ในบทความเรื่อง "มรดกสองฟากพรมแดน-กรณีอุทยานแห่งชาติและน้ำตกอีกวาซูในอาร์เจนตินาและบราซิล (2553) ดังนี้

"กรณีมรดกโลกสองฝั่งพรมแดนที่อีกวาซู ในประเทศอาร์เจนตินาและบราซิลนั้น น่าจะเป็นกรณีที่ผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการมรดกโลกในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงของไทย ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ

เพราะอาจจะเป็นบทเรียนที่ให้แนวคิดในเชิงบวก ในกรณีที่ไทยหรือประเทศเพื่อนบ้านมีมรดกโลกที่มีปัญหาพรมแดนกัน รวมทั้งการป้องกัน การดำเนินการก่อสร้างถนนหรือเขื่อนในบริเวณมรดกโลก ที่อาจเป็นการคุกคามเชิงลบ ที่มีต่อมรดกโลกได้"

กล่าวโดยย่อในแง่ขององค์กรยูเนสโกที่เป็นเจ้าของเรื่อง "มรดกโลก"นั้น การจดทะเบียนสามารถทำได้ใน "เชิงบวก" ในลักษณะของสิ่งที่เรียกว่า "Trans-boundary World Heritage" หรือ "มรดกโลกข้ามพรมแดน" (ที่ไม่จำกัดอยู่ประเทศหนึ่งประเทศใด) นั่นเอง

แต่รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม แห่งม.ศิลปากร และ "เมืองโบราณ" กลับมีความเห็นในการแก้ปัญหาเชิงตรงกันข้าม (ดังที่ปรากฏในคำสัมภาษณ์กับ ASTV-ผู้จัดการรายวัน 7 มกราคม 2554) ว่า

"ปัญหามันแก้ง่าย(หนึ่ง)-ใช้โอกาสตรงนี้ ไล่เขมรออกจาก 4.6 ถ้ามันไม่ไล่ ยกเลิกมรดกโลก มันก็ประชุมไม่ได้ในคราวหน้า ไอ้ฮุนเซนก็คลั่งอีก ที่มันคลั่ง มันคลั่งเพราะเหตุนี้ มันถึงมาจัดการตรงนี้ขึ้นมา ถ้ามองมุมกลับ เราได้เปรียบนะ มาตั้งสติให้ดี และ(สอง) -ถอนยูเนส แล้วก็ถอน MOU

 

 

บล็อกของ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
39 ปีที่แล้ว ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เขียนบทความถึงผู้เสียชีวิตคนแรกในเหตุการณ์ 14 ตุลา
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
 OUR PETITION TO PREMIER ABHISIT AND THE RED SHIRTS BEFORE THE BLOODY MAY OF 2010 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
An Open Letter to Chuan LeekphaiOn Anarchy and Democracyเรื่อง ประชาธิปไตย กับ อนาธิปไตยเรียน ฯพณฯ ชวน หลีกภัย สส. ปชป กก. สภา มและ อดีต นรม อดีต หัวหน้าพรรคฯ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
 Treaties and Maps: France vs Siam, Thailand vs Cambodia เวรกรรม จึงตกอยู่กับ ประชาชน ชาวไทย โดยเฉพาะ ที่ ศรีสะเกษ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
Midterm Exam: TuSeas/13 (Good luck and Happy New Year 2013)
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
cK in Madison, Wisconsin ชว เสวนา บรรยาย ที่ Madison, Wisc ครับ  (ส่วนใหญ่ เรื่องอุ่นๆ ร้อนๆ ครับ) เลือกอ่านได้ตาม อัธยาศัย 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
  Thai Town - Hollywood (from California to Siam with Love, and doubt)
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๒ แล้วที่ชาวจีนได้เข้ามาครอบครองเหนือดินแดนที่เป็นมณฑลยูนนานในปัจจุบัน ณ ที่นั้น ชาวจีนได้พบกับความหลากหลายของบรรดาผู้คนที่จีนเรียกว่า “คนป่าคนเถื่อน” (หม่าน Man) ที่บางพวกก็ยอมรับอารยธรรมจีน ตระกูลผู้ปกครองท้องถิ่นหนึ่งนามว่า จ้วน (Zuan) มีศูนย์กลา