Skip to main content
 

บรรยากาศในบ้านเริ่มคึกคักมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีเสียงเตหน่าบรรเลงในบ้านไม่เว้นแต่ละคืน  บางคืนเป็นเสียงเตหน่า ลายเดิมที่ผู้เป็นพ่อเป็นคนถ่ายทอด  แต่บางคืนมีเสียงเตหน่าลายแปลกออกมาจนผู้เป็นพ่ออดไม่ได้จนต้องเงี่ยหูฟัง 

นานแล้วที่เจ้าของเสียงเตหน่ากูห่างหายไปจากการร่ำเรียนวิชาจากพ่อ  แต่วันนี้เขากลับมาหาครูผู้สอนเตหน่ากูของเขาอีกครั้ง แน่นอนมันต้องมีอะไรบางอย่างสงสัยจึงต้องมา

"พ่อผมจะไปล้มไม้มาทำเตหน่ากู ควรจะหาไม้อย่างไรดี" ประโยคแรกที่เขามาถามพ่อ
"จริงๆ แล้วไม้อะไรก็ได้ทั้งนั้น ขอให้เป็นไม้ที่โค้งงอ แต่คนสมัยก่อนเขานิยมใช้ไม้เก่อมา หรือภาษาไทยเรียกว่าไม้ซ้อ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นไม้ที่เหนียวแต่เบา เหมาะสำหรับการมาทำเป็นเตหน่ากูที่สุด" พ่อตอบ

"เก่อมาใช่มั้ย? พ่อ ดีล่ะ ที่ขุนห้วยโกะแชแยคีมีเก่อมาหลายต้นพรุ่งนี้ผมจะไปหาต้นดีๆ มาทำเตหน่ากูซักสี่ห้าต้น" เขาบอกกับพ่อ

"เฮ้ย!! ล้มมั่วไม่ได้นะ การทำเตหน่านั้นเขามีข้อห้ามอยู่นะ" พ่อทัดทาน
"ข้อห้ามอะไรอีกละครับ แค่ล้มไม้มาทำเครื่องดนตรี" เขาไม่เข้าใจในสิ่งที่พ่อบอกเขา

"คนปกาเกอะญอที่เล่นเตหน่ากูสมัยก่อนบอกต่อกันในการทำเตหน่ากูนั้น ห้ามล้มต้นไม้เพื่อมาทำเตหน่ากูเกินสามต้น และไม่ใช่ว่าจะไปตัดไม้เมื่อไหร่ก็ได้ วันที่ผู้เฒ่าผู้แก่ปกาเกอะญอนิยมทำมากที่สุดคือ วันที่พระจันทร์เต็มดวง ถือว่าเป็นวันดีไปล้มไม้มาทำเตหน่ากู เชื่อว่าจะทำให้เตหน่ากูตัวนั้นเสียงไพเราะและดึงดูดคนฟังได้มากกว่าไปล้มไม้ในวันอื่นๆ" พ่อบอกเขา

"แล้วล้มเกินสามต้นแล้วมันจะเป็นมันอย่างไร?" ลูกชายถามต่อ
"คนเฒ่าคนแก่เขาบอกเอาไว้ คนที่ฉลาดจะกินได้นานและยั่งยืนกว่า หากเรากินไม่เป็นใช้ไม่เป็นมันก็จะหมดเร็ว เมื่อก่อนคนที่เล่นเตหน่ามีความเชื่อว่า ภายในปีหนึ่งหากตัดต้นไม้มาทำเตหน่ากูเกินกว่าสามต้นแล้วมือจะเป็นหมัน จะทำให้ผลิตเตหน่ากูออกมาเสียงไม่ดีไม่เพราะ  และเวลาเล่นอาจทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันในชุมชนได้  

โดยในการล้มไม้นั้นต้องตัดไม้อย่างน้อยสูงระดับหัวเข่า  เพื่อให้ตาไม้สามารถแตกขึ้นมาใหม่ไม่ได้  อย่างที่ผู้เฒ่าผู้แก่เคยบอกไว้ว่า หน่อซีปะต่ออะคลี  เส่ทู่ซีดอเป่อเดอท่อซอ  ปกาเกอะญอซี ปะต่ออะเจอ หมายความว่า หญ้าตายได้ฝากเม็ดพันธุ์เอาไว้  ไม้ล้มตายแล้วได้แตกหน่อขึ้นมาใหม่  คนเมื่อตายย่อมฝากชื้อไขเอาไว้

หากตัดไม้ต่ำกว่าหัวเข่าอาจทำให้ไม้ตายอย่างถาวรจนไม่สามาารถแตกหน่อใหม่ได้  หากไม้ต้นที่เราตัดใช้งานนั้นตายแสดงว่าเราได้ใช้งานมันเพียงแค่ครั้งเดียวแล้วจบ เราจึงกลายเป็นคนกลุ่มที่ไม่ฉลาดที่กินได้นานและไม่ยั่งยืน เราต้องคำนึงถึงการใช้ในระยะยาวด้วยเช่นกัน" พ่ออธิบายให้ลูกชายฟัง

"ถ้างั้นพรุ่งนี้เวลาผมไปตัดไม้ผมต้องไปขอแรงชาวบ้านไปช่วยแบกเพราะผมจะตัดต้นที่ใหญ่ที่สุด จะได้มาทำเตหน่าได้หลายตัว พ่อเห็นด้วยมั้ย?" ลูกชายถามพ่อ

"ต้นไม้ที่ใหญ่บางทีใช่ว่าจะทำเตหน่าได้ดี เพราะบางทีต้นใหญ่เกินไปทำให้การทำใช้เวลานาน เพราะฉะนั้นควรดูต้นที่ไม่ใหญ่เกินไปและไม่เล็กเกินไป ขนาดประมาณครึ่งคนโอบกำลังดี และพ่อจะบอกให้ถ้าจะให้ง่ายรอให้ไม้แห้งก่อนแล้วค่อยเอากลับมาที่บ้าน มันจะทำให้น้ำหนักของไม้เบาลง หากต้องการ เคลื่อนย้ายกลับมาที่ชุมชนจะสะดวกกว่า

วิธีการที่คนเฒ่าคนแก่สมัยก่อนนิยมทำคือ  การไปกันต้นไม้ที่หมายตาไว้ให้แห้งตายก่อน  แล้วค่อยไปล้มทีหลัง  แต่ต้องระวังในการกันต้นไม้นั้น  ต้องกันให้สูงกว่าหัวเข่ามิเช่นนั้นต้นไม้จะตายเช่นกัน  คนเฒ่าคนแก่บอกว่า  หากต้นไม้ตายหรือแห้งโดยธรรมชาตินั้นจะทำให้ทำเตหน่ากูเสียงดีกว่าปกติ" พ่อแนะนำลูกชาย

"ถ้างั้นก็ต้องใช้เวลาพอสมควรซิก่อนที่จะสามารถลงมือมาแกะเป็นเตหน่ากูได้ ผมนึกว่าล้มไม้เสร็จแล้วทำได้ทันทีเลย" ลูกชายบอกพ่อ
"ไม่ได้เพราะหากแกะหรือเจาะในขณะที่ไม้ยังไม่แห้งจะทำให้เนื้อไม้แตก เมื่อทำเตหน่ากูแล้วทำให้เตหน่ากูแตกหรือบิดเบี้ยวได้ง่าย บางทีคนเมื่อก่อนก็ใช้รากไม้ที่ตายแล้วมาทำเตหน่ากูด้วยก็มี เพราะรากไม้ที่ตายแล้วจะแข็งแรงกว่ากิ่งไม้เสียอีก แต่มันหาได้ยากกว่า"

พ่อกล่าวทิ้งท้ายก่อนบอกให้ลูกชายไปหาต้นไม้ที่ถูกใจมาทำเตหน่ากูได้แล้ว เพราะอีกนานหลายเดือนกว่าต้นไม้นั้นจะแห้งดีสำหรับมาแกะเตหน่ากู

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
“ตั้งสายได้แล้ว วิธีการเล่นล่ะ?” ลูกชายกำลังไฟแรงอยากเรียนรู้ “ใจเย็นๆ ก่อนอื่นต้องฝึกร้องเพลงให้ได้ก่อน ถ้าร้องเพลงไม้ได้ จำทำนองเพลงไม่ได้ จะเล่นได้ไง” พ่อค่อยๆสอนลูกชาย “เอางี๊ เดี๋ยวพ่อจะสอนเพลงพื้นบ้านง่ายๆที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบร้อง ชอบเล่นและชอบสอนเด็กบ่อยๆ ซักสองสามท่อนนะ” แล้วพ่อก็เริ่มเปล่งเสียงร้องและให้ลูกชายร้องตามที่ละวรรค
ชิ สุวิชาน
พ่อได้ดื่มชาในกระบอกไม้ไผ่จนหมดไปกว่าครึ่งหนึ่ง แล้วจึงวางลง“เดิมทีนั้น เตหน่ากูมีจำนวนสายเพียง 5-7สาย แต่ต่อมาได้มีการเพิ่มเติมสายในการเล่นเป็น 8-9สายหรือ 10-12หรือมากกว่านั้นก็ได้” พ่อหยิบเตหน่ากูและเล่าให้ลูกชายฟัง“ทำไมจำนวนสายไม่เท่ากันล่ะ?” ลูกชายถามผู้เป็นพ่อ“มันขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของผู้เล่นแต่ละคน ชอบและถนัด 7 สายก็เล่น7 สายชอบน้อยกว่านั้นก็เล่นน้อยกว่าก็ได้ หรือชอบมากกว่านั้นก็เล่นมากกว่านั้นก็ได้” พ่อตอบสิ่งที่ลูกชายสงสัยในการตั้งสายเตหน่ากูแบบไมเนอร์สเกล (Minor scale) นั้นเริ่มจาก 5-7 สายโดยมีตัวโน๊ตหลักตามไมเนอร์สเกลอยู่ 5 โน้ต ได้แก่ โด (D) เร (R)  มี (M) โซ (S) ลา…
ชิ สุวิชาน
ความมืดกลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง เช่นเดียวกับไม้เกี๊ยะที่มาจากแกนไม้สนสองใบต้องถูกเผาเพื่อผลิตแสงสว่างในครัวบ้านปวาเก่อญออีกครั้ง กาต้มน้ำที่ดำสนิทด้วยคราบเขม่าควันไฟถูกตั้งบนเหล่อฉอโข่อีกครั้ง กลิ่นชาป่าขั้วหอมทำให้โสตประสาทกระปรี่กระเปร่าขึ้นมาพร้อมเข้าสู่บรรยากาศการเรียนรู้ภายในบ้านไม้ไผ่หลังเดิมเตหน่ากู คืออุปกรณ์การเรียนรู้ถูกเตรียมไว้เพื่อใช้ในการเรียนรู้ ของพ่อซึ่งเป็นผู้สอนหนึ่งตัว ของลูกซึ่งเป็นผู้เรียนหนึ่งตัว รูปร่างลักษณะเตหน่ากูแม้ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่ก็มีรูปทรงที่คล้ายๆกัน  มีตัวท่อนไม้ใหญ่ และมีกิ่งไม้ที่โค้งงอเมื่อพ่อเห็นว่าลูกชายพร้อมที่จะเริ่มการรับความรู้แล้ว …
ชิ สุวิชาน
“พี่น้องครับ พี่ชายคนนี้ยังคงทำหน้าที่ต่อ ณ ตรงนี้ครับ ขอมอบเวทีต่อให้พี่ครับ” ผมพูดจบผมกลับไปที่นั่งของผมเพื่อเป็นคนดูต่อแม่น้ำสายนี้ยังคงไหลไปตามกาลเวลาฯ....................................................ฉันผ่านมา  ผ่านมาทางนี้ ผ่านมาดูสายน้ำ.............ได้รู้ได้ยิน..............ฯบทเพลงแรกผ่านไปต่อด้วยสาละวิน สายน้ำตาเสียงปืนดังที่กิ่วดอยลูกชายไปสงครามเด็กน้อยผวาตื่น(ทุกคืนๆ)
ชิ สุวิชาน
“ผมมีเพื่อนปกาเกอะญอมาด้วยคนหนึ่ง” ผมบอกกับคนดูผมได้ไปพบ และได้ไปฟัง เพลงที่เขาร้อง ณ ริมฝั่งสาละวิน ทำให้ผมเกิดความประทับใจในท่วงทำนองและความหมายของบทเพลงรวมทั้งตัวเขาด้วยผมทราบมาว่าตอนนี้เขาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่  ผมจึงไม่พลาดโอกาสทีจะชักชวนเขามาร่วม บอกเล่าเรื่องราวของชนเผ่า ผ่านบทเพลงที่ผมประทับใจ ซึ่งแรก ๆ นั้น เขาแบ่งรับ แบ่งสู้  ที่จะตอบรับการชักชวนชองผม แต่ผมก็ชักแม่น้ำทั้งห้า จนเขาหมดหนทางปฏิเสธ“ผมไม่คุ้นเคยกับการร้องเพลงต่อหน้าคนมาก ๆ นะ” เขาออกตัวกับผมก่อนวันงาน แต่เมื่อถึงวันงานเขาก็ไม่ทำให้ผมผิดหวัง เขาเดินออกมาแบบเกร็งๆ และประหม่าอย่างเห็นได้ชัด เขาจะยืนตรงก็ไม่ใช่…
ชิ สุวิชาน
ณ ห้องเล็กๆ แถวสี่แยกกลางเวียง เมืองเชียงใหม่ เก้าอี้ถูกเรียงเป็นแถวหน้ากระดานประมาณร้อยกว่าตัว  ข้างหน้าถูกปล่อยว่างเล็กน้อยสำหรับเป็นพื้นที่ตั้งเครื่องเล่นดีวีดีและโปรเจคเตอร์เพื่อฉายสารคดี ใกล้เวลานัดหมายผู้คนเริ่มทยอยกันเข้ามาทีละคน ทีละคู่ ทีละกลุ่ม“เค้าไม่อยากให้เราพูดถึงเรื่องการเมือง แต่เราอาจพูดได้นิดหน่อย” เจ้าหน้าที่ FBR กระซิบมาบอกผมเกี่ยวกับความกังวลของเจ้าของสถานที่ ผมยิ้มแทนการสนทนาตอบ เพียงแต่คิดในใจว่า หากการเมืองคือความทุกข์ยากของประชาชน ของชาวบ้านคนรากหญ้าก็ต้องพูดให้สาธารณะได้รับรู้ เพื่อจะหาช่องทางในการช่วยบรรเทาทุกข์ของประชาชน…
ชิ สุวิชาน
หลังจากดูสารคดีด้วยกันจบ “ผมอยากฉายสารคดีชุดนี้สู่สาธารณะ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่คนทั่วไปในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ผมอยากให้คุณมาร่วมเล่นดนตรีด้วย คุณ โอ เค มั้ย” เขาถามผมผมนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง เพราะผมไม่รู้จะปฏิเสธอย่างไร  ผมรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งที่ต้องทำ  ผมบอกกับตัวเองว่า เพียงแค่เห็นใจและเข้าใจอาจไม่เพียงพอ   หากสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสื่อสารเรื่องราวของผู้ทุกข์ยาก โดยเฉพาะคนชนเผ่าเดียวกันได้  มันก็ควรทำไม่ใช่หรือหลังจากผมตอบตกลงเขา เราทั้งสองได้พูดคุยประสานงานกันเกี่ยวกับงานอยู่เรื่อย ๆ จนเวลาลงตัวในวันที่ 21 ธันวาคม ศกนี้ ณ สมาคม AUA เชียงใหม่ ในหัวข้อ “…
ชิ สุวิชาน
ต่า หมื่อ แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละ         ตา ข่า แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละอะ เคอ กิ ดิ เค่อ มี โบ            มา ซี ปกา ซู โข่ อะ เจอผีร้ายโผล่มาทางริมฝั่งสาละวิน        แมงร้ายโผล่มาทางลำน้สาละวินเสื้อผ้าลายเหมือนดั่งต้นบุก        มาเข่นฆ่าทำลายล้างชีวิตคน(ธา บทกวีคนปกาเกอะญอ)“คุณเคยติดตามสถานการณ์ทางรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่าบ้างไหม” เสียงผู้ชายโทรศัพท์มาถามผมด้วยภาษาไทยสำเนียงฝรั่ง“ผมทำงานในองค์กรชื่อFree Burma Rangers ครับ”…
ชิ สุวิชาน
เขานั่งอยู่แถวหน้า และเขาโบกไม้โบกมือขณะที่ผมกำลังบรรเลงเพลงอยู่บนเวที  ในมหกรรมคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ซึ่งจัดโดยสำนักประชาสัมพันธ์ร่วมกับองค์กรยูเนสโก้  ในงานได้มีการเชิญศิลปินชนเผ่าหลักทั้ง 7 เผ่า ได้แก่ ม้ง อาข่า ลีซู ลาหู่ เมี่ยน ไทยใหญ่และกะเหรี่ยง รวมทั้งยังมีศิลปินล้านนา อาทิ ครูแอ๊ด  ภานุทัต  คำหล้า ธัญาภรณ์ น้อง ปฏิญญา และไม้เมืองนอกจากนี้มีทายาทของสุนทรี  เวชชานนท์ ราชินีเพลงล้านนา คือน้องลานนา มาร่วมร้องเพลง ธีบีโกบีกับทอดด์ ทองดี ศิลปินจากรัฐเพนโซเวเนีย…
ชิ สุวิชาน
เมื่อเข็มนาฬิกาเข็มที่สั้นที่สุด เลื่อนไปยังหมายเลขเก้า ทุกคนจึงขึ้นรถตู้ เคลื่อนขบวนไปยังศูนย์ศิลปและวัฒนธรรมแสงอรุณ  เมื่อถึงมีทีมงานเตรียมข้าวกล่องไว้รอให้ทาน พอทานข้าวเสร็จพี่อ้อย ชุมชนคนรักป่า ก็มาบอกผมว่า  งานจะเริ่มบ่ายโมง  พร้อมกับยื่นใบกำหนดการให้ผมดู  ผมตื่นเต้นนิดหน่อยพอบ่ายโมง งานก็เริ่มขึ้น โดยการฉายสไลด์เกี่ยวกับป่าชุมชนที่หมู่บ้านสบลาน อำเภอสะเมิงเชียงใหม่   "ถ้าถึงคิวแล้วจะมาเรียกนะ” ทีมงานบอกกับผมในระหว่างที่ผมรออยู่หน้างานนั้น ผมก็ได้เจอกับนักเขียน นักดนตรี นักกวี ที่ทยอยมา ได้มีโอกาสคุยกับคนที่ผมรู้จัก และกำลังรู้จัก และที่ไม่รู้จักด้วย …
ชิ สุวิชาน
บุ เต่อ โดะ นะ แล บุ เออบุ ลอ บ ะ เลอ ต่า อะ เออชะตา วาสนาช่างรันทดต้องเผชิญแต่สิ่งลำเค็ญ