Skip to main content
ผมฝ่าชุมชนมูเจะคีหลายชุมชน ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏร่องรอยเล็บตีนเล็บมือรวมทั้งเริ่มเห็นมูลอันเป็นของเสียแห่งระบบทุนนิยมที่ถ่ายทิ้งเอาไว้ในชุมชนปกาเกอะญอที่มีอายุหลายร้อยปีแห่งนี้ และมีแนวโน้มที่ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนและวัฒนธรรมจะถูกกลืนกินเป็นอาหารอันโอชะมากขึ้นเรื่อยๆ

 

เมื่อได้มีโอกาสกลับมา พอมาถึงหมู่บ้านแรกของชุมชนปกาเกอะญอในบริเวณมูเจะคี ทันทีที่ได้สัมผัสมันเหมือนได้กลับคืนสู่รัง ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปตอนอยู่ในเมือง เมื่อผ่านชุมชนแต่ละหมู่บ้านจะพยายามมองรถทุกคันที่ผ่าน มองคนทุกคนที่เจอว่าเป็นเพื่อนเราหรือเปล่า? ลุง ป้า น้า อา หรือเปล่า? ญาติพี่น้องหรือเปล่า? หรือคนบ้านใกล้เรือนเคียงหรือเปล่า? เป็นคนรู้จักหรือเปล่า? หากใช่เมื่อไหร่ การทักทายจะเกิดขึ้นทันทีแม้เพียงประโยคสั้นๆ หนึ่งหรือสองประโยคก็เพียงพอต่อความรู้สึกแล้ว

ตรงกันข้ามกับเวลาที่ต้องจากบ้านเข้าไปในเมือง ผมถอนหายใจทุกครั้งเมื่อล่วงเลยผ่านหมู่บ้านสุดท้ายของมูเจะคี นั่นก็ก็คือหมู่บ้านแรกตอนขากลับ อารมณ์มันถูกเปลี่ยนถูกครั้งเมื่อเลยผ่านหมู่บ้านสุดท้ายไปแล้ว มันเหมือนต้องไปสู่สมรภูมิรบอีกครั้ง

 

อีกครั้งที่ผมได้ถอนหายใจ แต่ครั้งนี้มีความรู้สึกแอบภูมิใจและดีใจไม่น้อยในการกลับมาของเพลง ธา ปลือ ในสังคมปกาเกอะญอคริสตเตียน โดยที่การกลับมาครั้งนี้ไม่ธรรมดา มันกลับมาในงานศพของศาสนาจารย์ผู้บุกเบิกคริสตจักรในบริเวณมูเจะคี ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ไม่เลวเลยทีเดียว

 

"เมื่อมาแล้วครั้งหนึ่ง มันต้องมาอีกแน่" ผมนึกในใจอย่างตื่นเต้น

 

รุ่งเช้ามีเพื่อนพ้องน้องพี่ทักทายไถ่ถามบรรยากาศงานศพของศาสนาจารย์ผู้บุกเบิกคริสต์จักรมูเจะคีกับผมเนื่องจากไม่สามารถร่วมงานได้ผ่านทางโทรศัพท์มาหลายราย ผมจึงกลายเป็นเป็นผู้รายงานเหตุการณ์โดยจำเป็น โดยไม่ลืมที่จะนำเสนอช่วงของการร้องเพลง ธา ปลือ ให้ผู้ฟังได้รับทราบด้วย เมื่อรายงานเหตุการณ์เสร็จมักจะมีคำถามกลับมาเกือบทุกครั้ง

 

"ร้อง ธา ปลือ ในงานศพเขา (ศาสนาจารย์) ไม่มีใครว่าให้เหรอ?" มักจะมีคำถามกลับมา

"ไม่มี ไม่มี ลูกหลานเขาเปิดโอกาสและชาวบ้านเริ่มเข้าใจแล้ว"ผมเองมักตอบกลับไปแบบนี้เช่นกัน

 

เย็นวันนั้น ขณะที่ผมกำลังรายงานเหตุการณ์ให้อีกคนอยู่นั้น

"เดี๋ยวก่อนนะ มีสายโทรศัพท์ซ้อนเข้ามา ผมรับรับสายก่อนแล้วค่อยเล่าให้ฟังต่อนะ"เมื่อเขาตกลงผมจึงสลับสายเพื่อรับสายที่เข้ามาใหม่ โดยยังไม่รู้ว่าเป็นใคร

 

"ขอถามหน่อยว่า ใครใช้ให้คุณร้องเพลง ธา ปลือ ในงานศพของพ่อผม???" ผมงงและตกใจนิดหน่อยก่อนตั้งสติฟังต่อ

 

"ผมทำทุกอย่าง เป็นไปอย่างยิ่งใหญ่ไม่มีที่ติ ยกเว้น ที่มีการร้องเพลง ธา ปลือของคุณ เป็นการทำให้งานของพ่อผมซึ่งเป็น ศาสนาจารย์ เสียหายหมดเลย เป็นที่ครหานินทา ผมเป็นลูกหลานและเป็นผู้นำศาสนาผมต้องเป็นตัวอย่าง ไม่ใช่เป็นผู้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องอย่างนี้ มันเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือทางศาสนา ถ้ารู้ว่าคุณจะร้องธา ปลือผมห้ามคุณอย่างเด็ดขาด ทุกอย่างเสียหายหมดเลย" เสียงพูดของเขาสั่นเครือ สะอึกสะอื้น ผมรู้ได้เลยว่าเขาร้องให้เหมือนมีอะไรผิดพลาดเกิดขึ้นในชีวิตเขาอย่างใหญ่หลวง และนั่นไม่ต้องทำนายว่าเป็นเรื่องอะไร

 

ผมไม่ตอบโต้อะไรมากนัก เพียงแต่บอกเขา

"พาตี่เป็นตัวอย่างที่ดีแล้ว พาตี่ทำดีแล้ว ทุกคนชื่นชมโดยเฉพาะช่งธา ปลือ ก็มีคนเข้าใจอยู่นะ"ผมพยายามอธิบาย

 

"แต่ผมไม่เข้าใจว่าทำไมคุณต้องร้อง คุณปรึกษาคนในครอบครัวผมก่อนมั้ย?" เขาย้อนถามผม

 

"ผมขอโทษครับ ที่ผมทำไม่ดีในงาน" คำขอโทษผมทำให้เสียงเขาอ่อนลงและยุติการต่อว่าจนวางสายในที่สุด โดยที่ผมไม่ได้บอกว่าพี่ชายของเขาเป็นมาขอผมให้ร้องเพลง ธา ปลือ ผมเกรงว่าหากบอกเขาแล้วอาจทำให้เกิดการผิดใจกันในพี่น้อง และผมยังไม่ได้บอกว่าที่ผมขอโทษและที่พูดว่าทำไม่ดีในงานนั้น แท้ที่จริงผมอยากบอกว่าผมทำไม่ดี ผมควรร้องเพลงธา ปลือ ให้มากกว่านั้น และควรชวนผู้เฒ่าผู้แก่มาให้มากกว่านั้นต่างหาก

 

สองวันต่อมา ผมได้ข่าวว่ามาจากบ้านว่า พือ ส่าอุเง ถูกต่อว่าเนื่องจากร่วมมือกับผมร้อง ธา ปลือ ในงานศพ ดังกล่าว สงสารแต่เพียงผู้เฒ่าที่ตั้งแต่เกิดมาเป็นขุนเพลงธา เขายังไม่เคยถูกต่อว่าเลย เขาเป็นขวัญใจมาโดยตลอด แต่งานนี้เขาโดนเต็มเปา เขาคือผู้ที่สมควรจะได้รับคำขอโทษจากผม

 

 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
ผมฝ่าชุมชนมูเจะคีหลายชุมชน ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏร่องรอยเล็บตีนเล็บมือรวมทั้งเริ่มเห็นมูลอันเป็นของเสียแห่งระบบทุนนิยมที่ถ่ายทิ้งเอาไว้ในชุมชนปกาเกอะญอที่มีอายุหลายร้อยปีแห่งนี้ และมีแนวโน้มที่ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนและวัฒนธรรมจะถูกกลืนกินเป็นอาหารอันโอชะมากขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อได้มีโอกาสกลับมา พอมาถึงหมู่บ้านแรกของชุมชนปกาเกอะญอในบริเวณมูเจะคี ทันทีที่ได้สัมผัสมันเหมือนได้กลับคืนสู่รัง ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปตอนอยู่ในเมือง เมื่อผ่านชุมชนแต่ละหมู่บ้านจะพยายามมองรถทุกคันที่ผ่าน มองคนทุกคนที่เจอว่าเป็นเพื่อนเราหรือเปล่า? ลุง ป้า น้า อา หรือเปล่า? ญาติพี่น้องหรือเปล่า?…
ชิ สุวิชาน
 หลังเสร็จงานศพ ความรู้สึกจำใจจากบ้านมาเยือนอีกครั้ง  แต่การกลับบ้านครั้งนี้แม้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะในวิถีประเพณี ที่มีคนตายในชุมชน  ได้เห็นสภาพของป่าช้าที่ถูกผ่าตัดตอนแล้วพยายามเปลี่ยนอวัยวะชิ้นส่วนใหม่จากภายนอกเข้ามาแทนที่ 
ชิ สุวิชาน
 โลงศพถูกหย่อนลงในหลุม  ลูกชายที่เป็นศาสนาจารย์และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศิษยาภิบาลได้จับดินก้อนหนึ่งกำไว้ในมือ  แล้วชูดินต่อหน้าผู้ร่วมงาน"ชีวิตเราถูกสร้างมาจากดิน แล้วพระเจ้าได้เป่าลมหายใจ คือชีวิตสู่เรา การรักษาร่างกายไม่สำคัญเท่ากับการรักษาชีวิต ชีวิตที่แม้ไม่มีร่างกายก็มีชีวิตอยู่ได้ เพราะเมื่อร่างกายเราถูกสร้างมาจากดิน ถูกใช้งานมาระยะหนึ่งก็ต้องเสื่อมและต้องกลับคืนสู่ดิน แต่ชีวิตไม่ได้ถูกสร้างมาจากดิน ชีวิตถูกสร้างมาจากลมหายใจที่มาจากพระเป็นเจ้า ถ้าเรารักษาชีวิตไว้ในขณะที่อยู่บนโลกให้เป็นไปตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า…
ชิ สุวิชาน
จบพิธีทางคริสต์ศาสนา แขกเหรื่อที่มาต่างทยอยเดินลงบันใด และยืนกองรวมกันที่ลานหน้าบ้านผู้ตาย รถกระบะสองคันซึ่งเป็นของลูกชายศาสนาจารย์ที่จากไปได้แล่นมาแหวกกลุ่มคนที่ยืนอยู่ลานหน้าบ้าน และจอดท่ามกลางวงห้อมล้อมของฝูงชน  "กางเขนนี้คนเอาไม่อยู่ โคตรหนักเลย" เสียงของหนึ่งในชายฉกรรจ์ พูดขึ้นหลังจากนำไม้กางเขนซีเมนต์ขนาดประมาณ 2 เมตรครึ่ง หน้ากว้างประมาณ 6 นิ้วได้ขึ้นไว้บนรถกระบะ ครั้งหนึ่งพระเยซูได้แบกไม้กางเขนของตนเองไปยังภูเขาที่พระองค์จะถูกตรึง ระหว่างทางได้อ่อนระโหยโรยแรง มีชายผู้หนึ่งที่สงสารจึงอาสาช่วยแบก แต่มาครั้งนี้คนเอาไม่อยู่ ผมเพียงแต่นึกในใจว่ากางเขนซีเมนต์นี้…
ชิ สุวิชาน
"ที่จะร้องให้ฟังต่อไปนี้เป็น ธา ปลือ ร้องเพื่อให้คนเป็นรู้ว่าคนตายได้ตายเพื่อไปที่อื่นแล้ว ร้องเพื่อให้คนตายรู้ว่าตัวว่าได้ตายและต้องไปอยู่อีกที่แล้ว ในวันที่ไม่มีคนตายห้ามพูดห้ามร้องเด็ดขาด ไม่ว่าในบ้าน ใต้ถุนบ้านหรือที่ใดก็ตาม ในวันที่มีคนตายนั้นต้องร้อง" พือพูดก่อนร้อง พือหยิบไมโครโฟน หันมาทางผม ผมจึงเริ่มบรรเลงเตหน่า
ชิ สุวิชาน
ข่าวเรื่องการละสังขารของศาสนาจารย์ผู้ก่อตั้งคริสตจักรมูเจะคีในวัย 96 ปีได้ถูกกระจายออกไป ไม่เพียงแค่ในพื้นที่มูเจะคีเท่านั้น เชียงราย กาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่เกิดและที่เติบโตของพื้นที่อื่นที่เขาเคยเผยแพร่และเทศนาเรื่องราวของพระคริสต์ทั้งในพื้นที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ข่าวการจากไปของเขาไม่เลยผ่านไปได้ งานศพถูกจัดการอย่างดีตามรูปแบบของคริสเตียน ข่าวไปถึงที่ไหนผู้คนจากที่นั่นก็มา คนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ดูแล้วปริมาณไม่ต่างกันเท่าเลย เหมือนมีการจัดงานมหกรรมบางเกิดขึ้นในชุมชน ลูกหลานที่ไปทำงานจากที่ต่างๆ ของเขาก็มากันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา โดยที่งานศพถูกเก็บไปสามคืน
ชิ สุวิชาน
พี่นนท์เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้ฟังพาตี่ทองดี จึงร้องเพลงธาปลือให้ฟัง จนกระทั่งถึงท่อน โย เย็นนั้นระหว่างงาน พี่นนท์จึงถามคำแปลของเพลงเหล่านั้น หลังจากเสร็จงานนั้นเพลงเส่อเลจึงมีการต่อเติมจนเป็นเพลงขึ้นมาจนได้ “พี่นึกถึงหญิงสาวที่ต้องโตขึ้นมาอย่างลำบาก นึกถึงพัฒนาการการเติบโตของชีวิต ต้องตามพ่อตามแม่ปลูกข้าว กว่าจะโตเป็นสาวต้องผ่านการตรากตรำทำงานอย่างลำบาก พี่เลยจินตนาการการตายของเธอว่า เป็นการเสียชีวิตด้วยไข้ป่า”
ชิ สุวิชาน
แม้ว่าฤดูเกี่ยวข้าวมาถึงแล้วแต่ฝนยังคงโปรยปรายลงมาอยู่ คนทำนาได้แต่ภาวนาว่าขออย่าตกตอนตีข้าวก็แล้วกัน เพราะฝนตกตอนตีข้าวนั้นมันยิ่งกว่าค่าเงินลอยตัวเสียอีก ผมเตรียมตัวกลับบ้านอีกครั้งเพื่อกลับไปเกี่ยวข้าว ผืนนาที่เคยวิ่งเล่นตอนเด็กๆกวักมือเรียกผมจากเมืองคืนสู่ทุ่งข้าวเหลืองอีกฤดู ซึ่งก็ได้จังหวะพอดีที่พ่อผมลงมาทำธุระที่เชียงใหม่ ทำให้ผมได้อาศัยรถของพ่อในการกลับครั้งนี้
ชิ สุวิชาน
ด้วยความที่อยากให้เกียรติวีรบุรุษในการต่อสู้ของคนที่อยู่กับป่า ทางทีมงานของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจึงเลือกเพลง ปูนุ ดอกจีมู เป็นเพลงเปิดหัวในการประชาสัมพันธ์อัลบั้มเพลงเกอะญอเก่อเรอ ที่แรกที่เราส่งไปคือสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ท่าเป็นช่วงภาคภาษาชนเผ่า โดยเฉพาะภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งมีพี่มานะ หรือบิหนะ เป็นผู้ประกาศข่าวคราวต่างไปถึงพี่น้องปกาเกอะญอในเขตภูเขา หลังจากที่เพลงถูกเปิด มีพี่น้องปกาเกอะญอจากที่ต่างๆโทรมาแสดงความเห็นมากมาย “ส่วนใหญ่เค้าบอกว่า เค้าชอบเพลงนี้มาก แต่เค้าขอร้องมาว่า ถ้าถึงท่อนที่เป็น ธาโย ช่วยปิดเลยได้มั้ย เพราะเขค้าฟังแล้วขนลุก…
ชิ สุวิชาน
มีผู้อาวุโสปกาเกอะญอ                  แห่งหมู่บ้านโขล่ เหม่ ถ่า ผู้ซึ่งไม่มีชื่อเสียงเรืองนาม              เขาคือ พาตี่ ปูนุ ดอกจีมูอยู่กับลูก อยู่กับเมีย                     ตามป่าเขาลำเนาไพรท่ามกลางพืชพันธุ์แมกไม้              ทั้งคน ทั้งป่าและสัตว์ป่าทำไร่หมุนเวียน ทำนา …
ชิ สุวิชาน
เพื่อเป็นการรำลึกแห่งการครบรอบการจากไป 1 ปี ทางเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีความประสงค์ในการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพาตี่ปุนุ ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าคนหนึ่ง โดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลิตซีดีเพลงชุดหนึ่ง โดยมีพาตี่อ็อด วิฑูรย์ เป็นผู้ดูแลเนื้อร้องทำนองขับร้อง "ช่วยแต่งเพลง เกี่ยวกับปุนุ ให้หน่อย พาตี่แต่งไม่ทันแล้ว" พาตี่อ็อดมาบอกผม ผมจึงลงมือเขียนเพลงปูนุด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ผมเขียนถึงคนตาย และต้องพูดถึงเหตุการณ์ในการตายของเขาด้วย จึงทำให้ผมนึกถึงบทเพลงคร่ำครวญในงานศพ…
ชิ สุวิชาน
ปี 2540 สถานการณ์การต่อสู้ของชุมชนที่อยู่กับป่าร้อนระอุขึ้นมาอีกระลอก เมื่อรัฐบาลของนายหัว ชวน หลีกภัย ได้มีนโยบายอพยพคนออกจากป่า นั่นหมายถึงชะตากรรมวิถีของคนอยู่กับป่าจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวง ชุมชนเดิม ที่อยู่ ที่ทำกินเดิมนั้นจะกลายเป็นเพียงที่ที่เคยอยู่เคยกินเท่านั้น ตัวแทนขบวนคนอยู่กับป่าจึงมีการขยับเคลื่อนสู่หน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง โดยมีเครือข่ายกลุ่มสมัชชาคนจนจากภาคต่างๆมาสมทบอย่างครบครัน กลายเป็นชุมชนคนจนหน้าทำเนียบโดยปริยาย “ลูกหลานไปเรียกร้องสิทธิหลายครั้งแล้ว ไม่ได้สักที คราวนี้ฉันต้องไปเอง ถ้าเรียกร้องไม่สำเร็จฉันจะไม่กลับมาเด็ดขาด”…