Skip to main content
ทุกครั้งที่เดินทางผ่านหมู่บ้านแม่แฮใต้ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม ไม่มีครั้งไหนที่เลยผ่านร้านขายของชำเล็กๆริมทาง ที่มีผู้เฒ่าปากแดงด้วยน้ำหมากนั่งเฝ้าอยู่ มีของที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตคนภูขายซึ่งมักเป็นอาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยวและยารักษาโรคเบื้องต้น

 

แต่ร้านขายของชำเล็กๆ ถึงเล็กมากแห่งนี้มีมากกว่านั้น มีเรื่องเล่าให้หัวเราะ ให้อมยิ้ม ให้ขบคิด และมีบทธาให้เก็บเกี่ยวมากมาย


"อย่าลืมนะ ถ้าทำเพลงเสร็จแล้วส่งมาให้ฟังนะ ถ้าไม่ส่งมาฟ้าจะผ่าเน้อ!" เป็นประโยคส่งท้ายของผู้เฒ่าที่บอกกับผมก่อนผมจะขอตัวกลับ ประโยคสั้นๆ แต่เป็นเหมือนประโยคผูกมัดให้ผมต้องทำตามเงื่อนไข ซึ่งผมไม่ทำตามก็ได้ หากไม่กลัวฟ้าผ่า! ถ้าไม่กลัวก็บ้าแล้ว! เพราะโดนฟ้าผ่าอาจถึงตายได้

 

มกรา 52 ผมและสมาชิกชุมชนคนรักป่าได้ย่ำเท้าเข้ามาในร้านขายของชำบนเขาสูงอีกครั้ง โดยมี ซีดีเพลงเตหน่าแลมิตร ซึ่งเป็นผลงานล่าสุดของผมให้กับผู้เฒ่าที่บ้าน หลังจากที่เอาชุดนกเขาป่าให้เมื่อหลายปีก่อน ด้วยหลายเหตุผลแต่หนึ่งในนั้นคือกลัวฟ้าผ่านั่นเอง ครั้งนั้นไม่อาจพูดคุยกับผู้เฒ่าได้มากนัก ผู้เฒ่าได้สนทนากับเราผ่านการพยักหน้าและส่ายหน้า ไม่ส่งเสียง ไม่อ้าปาก ไม่ลืมตา แต่รับรู้สิ่งที่เรามา และเราก็รับรู้สิ่งที่ผู้เฒ่าเป็นอยู่

 

ผมเดินทางยังร้านขายของชำแห่งนั้นอีกครั้ง มันต่างจากทุกครั้ง ผมไม่ได้เอาซีดีไปให้ ไม่ได้ไปฟังเรื่องเล่าจากผู้เฒ่า เป็นการเดินทางเพื่อไปคารวะร่างของผู้เฒ่าเป็นวาระสุดท้ายก่อนจะถูกกลบเป็นเนื้อเดียวกับผืนดิน


ใช่! พือพอเหล่ป่า สิ้นลมแล้ว! หลังจากที่ต้องต่อสู้กับโรคภัยมาหลายยก โดยยกหลังๆพอเหล่ป่าเริ่มแผ่ว จนกองเชียร์หลายคนทำใจไว้ล่วงหน้าพอสมควร ในที่สุดการต่อสู้จึงไม่พลิกความคาดหมาย ซึ่งพือพอเหล่ป่าได้ทำหน้าที่ต่อสู้ในฐานะของความเป็นมนุษย์ได้อย่างสมศักดิ์ศรี ชนะใจกองเชียร์โดยเฉพาะกัลยาณมิตรที่เป็นนักคิด นักเขียน นักแสวงหาและนักอ่านทั้งหลาย

 

เพียงแต่งานฉลองการเสร็จสิ้นภารกิจบน ห่อ โข่ เคลอ หรือบนที่แห่งการร้องให้ของพือพอเหล่ป่านั้น สหายส่วนใหญ่ต่างอยู่ในช่วงของการทำหน้าที่ต่อสู้ในฐานะความเป็นมนุษย์อย่างเข้มข้น บ้างก็ติดงาน บ้างก็ติดเรียน บ้างก็ติดสอน บ้างก็ติดลูก บ้างก็ติดเมีย บ้างก็ติดหนี้ และติดอีกหลายอย่างตามพันธะที่ผูกพันอยู่ จึงมาร่วมแสดงความยินดีในความสำเร็จที่หลุดพ้นและเป็นอิสระของพือพอเหล่ป่าบางตาบ้างเป็นธรรมดา แต่ก็อบอุ่นด้วยบรรยากาศแห่งความเรียบง่ายตามวิถีคนปกาเกอะญอ

 

ผมเองก็ติดงาน จึงทำให้ไปถึงช้ากว่าอาจารย์ลีซะและพี่นนท์คืนหนึ่ง ระหว่างเดินทางผมเรียบเรียงความคิด ความรู้สึกหลายอย่างที่มีต่อพือพอเหล่ป่า สิ่งที่อยู่ในความตั้งใจคือ นี่เป็นงานศพของขุนธาผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของคนปกาเกอะญอ คนให้เกียรติท่านด้วยการขับขานเพลงธา ปลือ ซึ่งเป็นธาแห่ศพของคนปกาเกอะญอ

 

"คงมี โมะ โชะ ซักคนที่มาร่วมงาน คงได้ยิน เพลงธา ปลือ เต็มๆ แน่ๆ คืนนี้ มีโอกาสเราคงได้เรียนรู้กับโมะโชะ ผู้นำการขับขานเพลงอึธา" แค่นึกในใจผมตื่นเต้นจนขนลุกแล้ว ทำให้อยากไปถึงไวๆ

 

ณ ร้านขายของชำแห่งเดิม บัดนี้ถูกแปรสภาพเป็นที่ชุมนุมของญาติมิตรทั้งในหมู่บ้านและต่างหมู่บ้าน พือพอเหล่ป่า ยังอยู่ในตำแหน่งเดิมที่เคยนอนป่วยเมื่อครั้งมาเยือนครั้งล่าสุด เพียงครั้งที่แล้วนอนบนเสื่อและหายใจอยู่ แต่ครั้งนี้นอนในโลงนิ่งสนิท ผ้าโพกหัวผืนเดิมทำหน้าที่คลุมโลงร่างของพือพอเหล่ป่า

 

ผมตรงเข้าไปจับมือ หญิงชราคู่ชีวิตของพือพอเหล่ป่า

"มาถึงแล้วเหรอ? มากี่คน?" พีพอเหล่โหม่ทักทายผมด้วยอาการสงบเสงี่ยม ทำให้เข้าใจความรู้สึกในห้วงขณะนี้เป็นอย่างดี

 

"ไปบอกพือ ให้รู้ว่า หลานมาถึงแล้ว" พีพอเหล่โหม่ให้ผมไปหาพือพอเหล่ป่า ผมแปลกใจพอสมควรที่ข้างโลงศพมีการจุดเทียนของผู้มาคาราวะศพ แต่อีกด้านหนึ่งของโลงศพมีธูปเพื่อไหว้ศพตั้งอยู่และมีร่องรอยของการจุดและไหว้มาแล้วจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ทั้งๆ ที่พือพอเหล่ป่านั้นเป็นคริสเตียนและเป็นหมอสอนศาสนาด้วยซ้ำ โดยธรรมเนียมของปกาเกอะญอคริสเตียนไม่มีการใช้ธูปไหว้ศพ แต่ที่มี ยิ่งทำให้ผมมั่นใจที่เห็นพื้นที่เปิดกว้างขนาดนี้ คืนนี้การร้องธา ปลือ หรือ เพลงแห่ศพ คงไม่ใช่อุปสรรคแน่นอน มีแน่ๆ

 

เมื่อผมทักทายบอกกล่าวพือพอเหล่ป่าเสร็จ ลูกหลานพือพอเหล่ป่าได้ชวนผมไปทานข้าวเอาแรงก่อน เงินทองเป็นเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง ผมจึงตามผู้ชวนโดยความยินดียิ่ง

 

 

 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
ผมฝ่าชุมชนมูเจะคีหลายชุมชน ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏร่องรอยเล็บตีนเล็บมือรวมทั้งเริ่มเห็นมูลอันเป็นของเสียแห่งระบบทุนนิยมที่ถ่ายทิ้งเอาไว้ในชุมชนปกาเกอะญอที่มีอายุหลายร้อยปีแห่งนี้ และมีแนวโน้มที่ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนและวัฒนธรรมจะถูกกลืนกินเป็นอาหารอันโอชะมากขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อได้มีโอกาสกลับมา พอมาถึงหมู่บ้านแรกของชุมชนปกาเกอะญอในบริเวณมูเจะคี ทันทีที่ได้สัมผัสมันเหมือนได้กลับคืนสู่รัง ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปตอนอยู่ในเมือง เมื่อผ่านชุมชนแต่ละหมู่บ้านจะพยายามมองรถทุกคันที่ผ่าน มองคนทุกคนที่เจอว่าเป็นเพื่อนเราหรือเปล่า? ลุง ป้า น้า อา หรือเปล่า? ญาติพี่น้องหรือเปล่า?…
ชิ สุวิชาน
 หลังเสร็จงานศพ ความรู้สึกจำใจจากบ้านมาเยือนอีกครั้ง  แต่การกลับบ้านครั้งนี้แม้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะในวิถีประเพณี ที่มีคนตายในชุมชน  ได้เห็นสภาพของป่าช้าที่ถูกผ่าตัดตอนแล้วพยายามเปลี่ยนอวัยวะชิ้นส่วนใหม่จากภายนอกเข้ามาแทนที่ 
ชิ สุวิชาน
 โลงศพถูกหย่อนลงในหลุม  ลูกชายที่เป็นศาสนาจารย์และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศิษยาภิบาลได้จับดินก้อนหนึ่งกำไว้ในมือ  แล้วชูดินต่อหน้าผู้ร่วมงาน"ชีวิตเราถูกสร้างมาจากดิน แล้วพระเจ้าได้เป่าลมหายใจ คือชีวิตสู่เรา การรักษาร่างกายไม่สำคัญเท่ากับการรักษาชีวิต ชีวิตที่แม้ไม่มีร่างกายก็มีชีวิตอยู่ได้ เพราะเมื่อร่างกายเราถูกสร้างมาจากดิน ถูกใช้งานมาระยะหนึ่งก็ต้องเสื่อมและต้องกลับคืนสู่ดิน แต่ชีวิตไม่ได้ถูกสร้างมาจากดิน ชีวิตถูกสร้างมาจากลมหายใจที่มาจากพระเป็นเจ้า ถ้าเรารักษาชีวิตไว้ในขณะที่อยู่บนโลกให้เป็นไปตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า…
ชิ สุวิชาน
จบพิธีทางคริสต์ศาสนา แขกเหรื่อที่มาต่างทยอยเดินลงบันใด และยืนกองรวมกันที่ลานหน้าบ้านผู้ตาย รถกระบะสองคันซึ่งเป็นของลูกชายศาสนาจารย์ที่จากไปได้แล่นมาแหวกกลุ่มคนที่ยืนอยู่ลานหน้าบ้าน และจอดท่ามกลางวงห้อมล้อมของฝูงชน  "กางเขนนี้คนเอาไม่อยู่ โคตรหนักเลย" เสียงของหนึ่งในชายฉกรรจ์ พูดขึ้นหลังจากนำไม้กางเขนซีเมนต์ขนาดประมาณ 2 เมตรครึ่ง หน้ากว้างประมาณ 6 นิ้วได้ขึ้นไว้บนรถกระบะ ครั้งหนึ่งพระเยซูได้แบกไม้กางเขนของตนเองไปยังภูเขาที่พระองค์จะถูกตรึง ระหว่างทางได้อ่อนระโหยโรยแรง มีชายผู้หนึ่งที่สงสารจึงอาสาช่วยแบก แต่มาครั้งนี้คนเอาไม่อยู่ ผมเพียงแต่นึกในใจว่ากางเขนซีเมนต์นี้…
ชิ สุวิชาน
"ที่จะร้องให้ฟังต่อไปนี้เป็น ธา ปลือ ร้องเพื่อให้คนเป็นรู้ว่าคนตายได้ตายเพื่อไปที่อื่นแล้ว ร้องเพื่อให้คนตายรู้ว่าตัวว่าได้ตายและต้องไปอยู่อีกที่แล้ว ในวันที่ไม่มีคนตายห้ามพูดห้ามร้องเด็ดขาด ไม่ว่าในบ้าน ใต้ถุนบ้านหรือที่ใดก็ตาม ในวันที่มีคนตายนั้นต้องร้อง" พือพูดก่อนร้อง พือหยิบไมโครโฟน หันมาทางผม ผมจึงเริ่มบรรเลงเตหน่า
ชิ สุวิชาน
ข่าวเรื่องการละสังขารของศาสนาจารย์ผู้ก่อตั้งคริสตจักรมูเจะคีในวัย 96 ปีได้ถูกกระจายออกไป ไม่เพียงแค่ในพื้นที่มูเจะคีเท่านั้น เชียงราย กาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่เกิดและที่เติบโตของพื้นที่อื่นที่เขาเคยเผยแพร่และเทศนาเรื่องราวของพระคริสต์ทั้งในพื้นที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ข่าวการจากไปของเขาไม่เลยผ่านไปได้ งานศพถูกจัดการอย่างดีตามรูปแบบของคริสเตียน ข่าวไปถึงที่ไหนผู้คนจากที่นั่นก็มา คนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ดูแล้วปริมาณไม่ต่างกันเท่าเลย เหมือนมีการจัดงานมหกรรมบางเกิดขึ้นในชุมชน ลูกหลานที่ไปทำงานจากที่ต่างๆ ของเขาก็มากันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา โดยที่งานศพถูกเก็บไปสามคืน
ชิ สุวิชาน
พี่นนท์เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้ฟังพาตี่ทองดี จึงร้องเพลงธาปลือให้ฟัง จนกระทั่งถึงท่อน โย เย็นนั้นระหว่างงาน พี่นนท์จึงถามคำแปลของเพลงเหล่านั้น หลังจากเสร็จงานนั้นเพลงเส่อเลจึงมีการต่อเติมจนเป็นเพลงขึ้นมาจนได้ “พี่นึกถึงหญิงสาวที่ต้องโตขึ้นมาอย่างลำบาก นึกถึงพัฒนาการการเติบโตของชีวิต ต้องตามพ่อตามแม่ปลูกข้าว กว่าจะโตเป็นสาวต้องผ่านการตรากตรำทำงานอย่างลำบาก พี่เลยจินตนาการการตายของเธอว่า เป็นการเสียชีวิตด้วยไข้ป่า”
ชิ สุวิชาน
แม้ว่าฤดูเกี่ยวข้าวมาถึงแล้วแต่ฝนยังคงโปรยปรายลงมาอยู่ คนทำนาได้แต่ภาวนาว่าขออย่าตกตอนตีข้าวก็แล้วกัน เพราะฝนตกตอนตีข้าวนั้นมันยิ่งกว่าค่าเงินลอยตัวเสียอีก ผมเตรียมตัวกลับบ้านอีกครั้งเพื่อกลับไปเกี่ยวข้าว ผืนนาที่เคยวิ่งเล่นตอนเด็กๆกวักมือเรียกผมจากเมืองคืนสู่ทุ่งข้าวเหลืองอีกฤดู ซึ่งก็ได้จังหวะพอดีที่พ่อผมลงมาทำธุระที่เชียงใหม่ ทำให้ผมได้อาศัยรถของพ่อในการกลับครั้งนี้
ชิ สุวิชาน
ด้วยความที่อยากให้เกียรติวีรบุรุษในการต่อสู้ของคนที่อยู่กับป่า ทางทีมงานของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจึงเลือกเพลง ปูนุ ดอกจีมู เป็นเพลงเปิดหัวในการประชาสัมพันธ์อัลบั้มเพลงเกอะญอเก่อเรอ ที่แรกที่เราส่งไปคือสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ท่าเป็นช่วงภาคภาษาชนเผ่า โดยเฉพาะภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งมีพี่มานะ หรือบิหนะ เป็นผู้ประกาศข่าวคราวต่างไปถึงพี่น้องปกาเกอะญอในเขตภูเขา หลังจากที่เพลงถูกเปิด มีพี่น้องปกาเกอะญอจากที่ต่างๆโทรมาแสดงความเห็นมากมาย “ส่วนใหญ่เค้าบอกว่า เค้าชอบเพลงนี้มาก แต่เค้าขอร้องมาว่า ถ้าถึงท่อนที่เป็น ธาโย ช่วยปิดเลยได้มั้ย เพราะเขค้าฟังแล้วขนลุก…
ชิ สุวิชาน
มีผู้อาวุโสปกาเกอะญอ                  แห่งหมู่บ้านโขล่ เหม่ ถ่า ผู้ซึ่งไม่มีชื่อเสียงเรืองนาม              เขาคือ พาตี่ ปูนุ ดอกจีมูอยู่กับลูก อยู่กับเมีย                     ตามป่าเขาลำเนาไพรท่ามกลางพืชพันธุ์แมกไม้              ทั้งคน ทั้งป่าและสัตว์ป่าทำไร่หมุนเวียน ทำนา …
ชิ สุวิชาน
เพื่อเป็นการรำลึกแห่งการครบรอบการจากไป 1 ปี ทางเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีความประสงค์ในการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพาตี่ปุนุ ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าคนหนึ่ง โดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลิตซีดีเพลงชุดหนึ่ง โดยมีพาตี่อ็อด วิฑูรย์ เป็นผู้ดูแลเนื้อร้องทำนองขับร้อง "ช่วยแต่งเพลง เกี่ยวกับปุนุ ให้หน่อย พาตี่แต่งไม่ทันแล้ว" พาตี่อ็อดมาบอกผม ผมจึงลงมือเขียนเพลงปูนุด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ผมเขียนถึงคนตาย และต้องพูดถึงเหตุการณ์ในการตายของเขาด้วย จึงทำให้ผมนึกถึงบทเพลงคร่ำครวญในงานศพ…
ชิ สุวิชาน
ปี 2540 สถานการณ์การต่อสู้ของชุมชนที่อยู่กับป่าร้อนระอุขึ้นมาอีกระลอก เมื่อรัฐบาลของนายหัว ชวน หลีกภัย ได้มีนโยบายอพยพคนออกจากป่า นั่นหมายถึงชะตากรรมวิถีของคนอยู่กับป่าจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวง ชุมชนเดิม ที่อยู่ ที่ทำกินเดิมนั้นจะกลายเป็นเพียงที่ที่เคยอยู่เคยกินเท่านั้น ตัวแทนขบวนคนอยู่กับป่าจึงมีการขยับเคลื่อนสู่หน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง โดยมีเครือข่ายกลุ่มสมัชชาคนจนจากภาคต่างๆมาสมทบอย่างครบครัน กลายเป็นชุมชนคนจนหน้าทำเนียบโดยปริยาย “ลูกหลานไปเรียกร้องสิทธิหลายครั้งแล้ว ไม่ได้สักที คราวนี้ฉันต้องไปเอง ถ้าเรียกร้องไม่สำเร็จฉันจะไม่กลับมาเด็ดขาด”…