Skip to main content
ทุกครั้งที่เดินทางผ่านหมู่บ้านแม่แฮใต้ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม ไม่มีครั้งไหนที่เลยผ่านร้านขายของชำเล็กๆริมทาง ที่มีผู้เฒ่าปากแดงด้วยน้ำหมากนั่งเฝ้าอยู่ มีของที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตคนภูขายซึ่งมักเป็นอาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยวและยารักษาโรคเบื้องต้น

 

แต่ร้านขายของชำเล็กๆ ถึงเล็กมากแห่งนี้มีมากกว่านั้น มีเรื่องเล่าให้หัวเราะ ให้อมยิ้ม ให้ขบคิด และมีบทธาให้เก็บเกี่ยวมากมาย


"อย่าลืมนะ ถ้าทำเพลงเสร็จแล้วส่งมาให้ฟังนะ ถ้าไม่ส่งมาฟ้าจะผ่าเน้อ!" เป็นประโยคส่งท้ายของผู้เฒ่าที่บอกกับผมก่อนผมจะขอตัวกลับ ประโยคสั้นๆ แต่เป็นเหมือนประโยคผูกมัดให้ผมต้องทำตามเงื่อนไข ซึ่งผมไม่ทำตามก็ได้ หากไม่กลัวฟ้าผ่า! ถ้าไม่กลัวก็บ้าแล้ว! เพราะโดนฟ้าผ่าอาจถึงตายได้

 

มกรา 52 ผมและสมาชิกชุมชนคนรักป่าได้ย่ำเท้าเข้ามาในร้านขายของชำบนเขาสูงอีกครั้ง โดยมี ซีดีเพลงเตหน่าแลมิตร ซึ่งเป็นผลงานล่าสุดของผมให้กับผู้เฒ่าที่บ้าน หลังจากที่เอาชุดนกเขาป่าให้เมื่อหลายปีก่อน ด้วยหลายเหตุผลแต่หนึ่งในนั้นคือกลัวฟ้าผ่านั่นเอง ครั้งนั้นไม่อาจพูดคุยกับผู้เฒ่าได้มากนัก ผู้เฒ่าได้สนทนากับเราผ่านการพยักหน้าและส่ายหน้า ไม่ส่งเสียง ไม่อ้าปาก ไม่ลืมตา แต่รับรู้สิ่งที่เรามา และเราก็รับรู้สิ่งที่ผู้เฒ่าเป็นอยู่

 

ผมเดินทางยังร้านขายของชำแห่งนั้นอีกครั้ง มันต่างจากทุกครั้ง ผมไม่ได้เอาซีดีไปให้ ไม่ได้ไปฟังเรื่องเล่าจากผู้เฒ่า เป็นการเดินทางเพื่อไปคารวะร่างของผู้เฒ่าเป็นวาระสุดท้ายก่อนจะถูกกลบเป็นเนื้อเดียวกับผืนดิน


ใช่! พือพอเหล่ป่า สิ้นลมแล้ว! หลังจากที่ต้องต่อสู้กับโรคภัยมาหลายยก โดยยกหลังๆพอเหล่ป่าเริ่มแผ่ว จนกองเชียร์หลายคนทำใจไว้ล่วงหน้าพอสมควร ในที่สุดการต่อสู้จึงไม่พลิกความคาดหมาย ซึ่งพือพอเหล่ป่าได้ทำหน้าที่ต่อสู้ในฐานะของความเป็นมนุษย์ได้อย่างสมศักดิ์ศรี ชนะใจกองเชียร์โดยเฉพาะกัลยาณมิตรที่เป็นนักคิด นักเขียน นักแสวงหาและนักอ่านทั้งหลาย

 

เพียงแต่งานฉลองการเสร็จสิ้นภารกิจบน ห่อ โข่ เคลอ หรือบนที่แห่งการร้องให้ของพือพอเหล่ป่านั้น สหายส่วนใหญ่ต่างอยู่ในช่วงของการทำหน้าที่ต่อสู้ในฐานะความเป็นมนุษย์อย่างเข้มข้น บ้างก็ติดงาน บ้างก็ติดเรียน บ้างก็ติดสอน บ้างก็ติดลูก บ้างก็ติดเมีย บ้างก็ติดหนี้ และติดอีกหลายอย่างตามพันธะที่ผูกพันอยู่ จึงมาร่วมแสดงความยินดีในความสำเร็จที่หลุดพ้นและเป็นอิสระของพือพอเหล่ป่าบางตาบ้างเป็นธรรมดา แต่ก็อบอุ่นด้วยบรรยากาศแห่งความเรียบง่ายตามวิถีคนปกาเกอะญอ

 

ผมเองก็ติดงาน จึงทำให้ไปถึงช้ากว่าอาจารย์ลีซะและพี่นนท์คืนหนึ่ง ระหว่างเดินทางผมเรียบเรียงความคิด ความรู้สึกหลายอย่างที่มีต่อพือพอเหล่ป่า สิ่งที่อยู่ในความตั้งใจคือ นี่เป็นงานศพของขุนธาผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของคนปกาเกอะญอ คนให้เกียรติท่านด้วยการขับขานเพลงธา ปลือ ซึ่งเป็นธาแห่ศพของคนปกาเกอะญอ

 

"คงมี โมะ โชะ ซักคนที่มาร่วมงาน คงได้ยิน เพลงธา ปลือ เต็มๆ แน่ๆ คืนนี้ มีโอกาสเราคงได้เรียนรู้กับโมะโชะ ผู้นำการขับขานเพลงอึธา" แค่นึกในใจผมตื่นเต้นจนขนลุกแล้ว ทำให้อยากไปถึงไวๆ

 

ณ ร้านขายของชำแห่งเดิม บัดนี้ถูกแปรสภาพเป็นที่ชุมนุมของญาติมิตรทั้งในหมู่บ้านและต่างหมู่บ้าน พือพอเหล่ป่า ยังอยู่ในตำแหน่งเดิมที่เคยนอนป่วยเมื่อครั้งมาเยือนครั้งล่าสุด เพียงครั้งที่แล้วนอนบนเสื่อและหายใจอยู่ แต่ครั้งนี้นอนในโลงนิ่งสนิท ผ้าโพกหัวผืนเดิมทำหน้าที่คลุมโลงร่างของพือพอเหล่ป่า

 

ผมตรงเข้าไปจับมือ หญิงชราคู่ชีวิตของพือพอเหล่ป่า

"มาถึงแล้วเหรอ? มากี่คน?" พีพอเหล่โหม่ทักทายผมด้วยอาการสงบเสงี่ยม ทำให้เข้าใจความรู้สึกในห้วงขณะนี้เป็นอย่างดี

 

"ไปบอกพือ ให้รู้ว่า หลานมาถึงแล้ว" พีพอเหล่โหม่ให้ผมไปหาพือพอเหล่ป่า ผมแปลกใจพอสมควรที่ข้างโลงศพมีการจุดเทียนของผู้มาคาราวะศพ แต่อีกด้านหนึ่งของโลงศพมีธูปเพื่อไหว้ศพตั้งอยู่และมีร่องรอยของการจุดและไหว้มาแล้วจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ทั้งๆ ที่พือพอเหล่ป่านั้นเป็นคริสเตียนและเป็นหมอสอนศาสนาด้วยซ้ำ โดยธรรมเนียมของปกาเกอะญอคริสเตียนไม่มีการใช้ธูปไหว้ศพ แต่ที่มี ยิ่งทำให้ผมมั่นใจที่เห็นพื้นที่เปิดกว้างขนาดนี้ คืนนี้การร้องธา ปลือ หรือ เพลงแห่ศพ คงไม่ใช่อุปสรรคแน่นอน มีแน่ๆ

 

เมื่อผมทักทายบอกกล่าวพือพอเหล่ป่าเสร็จ ลูกหลานพือพอเหล่ป่าได้ชวนผมไปทานข้าวเอาแรงก่อน เงินทองเป็นเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง ผมจึงตามผู้ชวนโดยความยินดียิ่ง

 

 

 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าวันที่ 10 กันยาฯ ทีมทั้งหมดเริ่มซ้อมเพื่อทบทวนกระบวนท่าฟ้อน ท่ารำ ท่วงท่าทำนอง จังหวะจะโคน ก่อนตระเวนออกศึก การซ้อมเริ่มต้นด้วยเพลงในอัลบั้มหิมพานต์ 2nd World ของพี่ทอด์ด ทองดี ต่อด้วยเพลงของ ซอ สมาชิกวง the sis ตามด้วยเพลงของลานนา คัมมินส์ รวมทั้งเพลงของมือระนาดและมือโปงลาง หมอแคน จนมาปิดท้ายที่เพลงของผม
ชิ สุวิชาน
บรรยากาศจากเทือกเขาสแครนตัน   หลังจากที่นักดนตรี นักร้อง นักรำมาถึงกันครบองค์ทั้งหมดแล้ว จึงเริ่มมีการแกะกล่องสัมภาระที่ขนเครื่องดนตรีและเครื่องไม้เครื่องมือประกอบการแสดงที่มาจากเมืองไทย ผมเริ่มแกะพลาสติกกันกระแทกที่ห่อเตหน่ากูไว้ เตหน่ากูได้โผล่ออกมารับแสงรับลมอีกครั้ง
ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าตื่นมา อากาศเย็นค่อนไปถึงหนาว ในขณะที่คณะที่มาด้วยกันยังนอนหลบกันอย่างเมามันจากอาการเพลียเพราะการเดินทาง ผมเดินลงไปในห้องครัวเผื่อเจออะไรที่ทานได้บ้าง หน้าห้องครัวเจ้าของบ้านได้ติดรูปคนในครอบครัว รูปลูกชายสองคน ที่ผมแปลกใจคือมีรูปหนึ่งที่ไม่ใช่รูปของผู้ชาย เป็นรูปคล้ายนางฟ้ามีข้อความเขียนว่า “Bless this home”  ทำให้นึกถึงบ้านคนไทยที่มีการเขียนหน้าบ้านต่างๆหลายอย่างเช่น “มั่งมีศรีสุข” บ้าง “บ้านนี้อยู่แล้วรวย” บ้าง
ชิ สุวิชาน
การรอคอยที่ไทเปสิ้นสุดลง เมื่อประตูสู่นิวยอร์กได้เปิดออกให้ผู้โดยสารเดินเข้าไปในเครื่องบิน ระยะทางกว่าสิบสี่ชั่วโมง ผมอยู่กับเพลง World Music ซึ่งเป็นเมนูที่มีให้เลือกจากสายการบิน บางเพลงมีเสียงระนาด ขลุ่ย และมีจังหวะหมอลำปะปนด้วยได้กลิ่นไอดนตรีไทยเป็นอย่างสูง ผมจึงยกหูฟังให้พี่สานุ นักดนตรีและโปรดิวเซอร์จากกรุงเทพฟัง เขาฟันธงเลยว่าเสียงทั้งหมดเป็นการ Samp มาทั้งนั้น ไม่ใช่เสียงจริงดั้งเดิมที่คนเล่นมา แต่ถึงอย่างไรก็เป็นการฆ่าความน่าเบื่อของการอยู่บนเครื่องเป็นเวลานานได้เป็นอย่างดี  
ชิ สุวิชาน
ก่อนเดินทางมีการแถลงข่าวที่กรุงเทพ มีผู้สนับสนุนทั้งกระทรวงการต่างประเทศและบริษัทบุญรอดฯมาร่วม หลังงานแถลงข่าวมีการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนที่มาในงาน
ชิ สุวิชาน
ความจริงแล้วผมมีกำหนดการนัดสัมภาษณ์ขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปประเทศอเมริกาในวันที่ 2 กันยายน 2552 ขณะที่กำหนดการในการเดินทางไปประเทศดังกล่าวคือเช้าวันที่ 3 กันยายน 2552 หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แผนกำหนดการเดินทางอาจมีปัญหาได้ ฉะนั้นทางบริษัท ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นผู้ประสานและเป็นผู้อำนวยการการเดินทางในครั้งนี้ ได้ขอทำเรื่องเร่งรัดการสัมภาษณ์ให้เกิดขึ้นก่อนการสัมภาษณ์เดิม
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คำรบที่สาม เป็นไปอย่างเรียบง่ายเล็กๆ กะทัดรัด ตามประเด็นหัวข้อที่นำเอาเรื่องของ "การจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูงในรูปแบบโฉนดชุมชน" ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้อาวุโสชนเผ่าทางภาคเหนือต่างมากันอย่างครบครันเช่นเดิม
ชิ สุวิชาน
เขาเดินลงไปท้ายหมู่บ้าน พร้อมกับบทเพลง" อย่าให้น้ำตาไหลริน"ของ ฉ่า เก โดะ ที  แม่จ๋า อย่าปล่อยให้น้ำตาได้มีโอกาสไหล            บัดนี้อายุลูกครบ สิบหกบริบูรณ์แล้วดั่งกฎของชายชาติทหารทุกประทศมี                  ลูกต้องทำหน้าที่เพื่อการปฏิวัติพ่อได้สละชีพจนแม่เลี้ยงลูกอย่างกำพร้า             อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ลำเค็ญ แม่ทนถึงคราวลูกชายคนโตต้องไปทำหน้าที่ต่อ     …
ชิ สุวิชาน
สงครามตามชายแดนไทย-พม่าริมแม่น้ำเมยได้ปะทุขึ้นอีกครั้ง ทางการพม่าออกมาปฏิเสธไม่มีส่วนกับสงครามที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยบอกว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างชนเผ่ากะเหรี่ยงด้วยกันเอง คือระหว่างกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธเพื่อประชาธิปไตย (DKBA) ผลของการสู้รบทำให้ประชาชนชาวกะเหรี่ยงด้วยกันเองที่อยู่ในพื้นที่การสู้รบ ต้องหนีภัยจากการสู้รบ หลายชุมชนต้องฝ่าเสียงกระสุนปืน หลายชุมชนต้องฝ่าดงและเสียงระเบิด ในขณะที่เดินฝ่าความตายเพื่อหนีตายนั้น ต้องทำด้วยความเงียบ ความรวดเร็ว ต้องเก็บแม้กระทั่งเสียงร้องไห้
ชิ สุวิชาน
เพลงต่อเพลง ถูกเล่น ถูกร้อง ถูกเล่า ถูกถ่ายทอดออกมาล้วนมีที่มาที่ไปไม่แตกต่างจากเจตนารมณ์ของพ้อเหล่ป่าที่ทำตอนที่ยังชีวิตอยู่ เวลาผ่านไปกว่าครึ่งชั่วโมง อาจารย์ลีซะกับพี่นนท์ก็โยนเวทีมาให้ผม ขณะที่ผมกำลังอยู่ในอาการสับสนเพราะไม่รู้จะเล่นเพลงอะไรดี สิ่งที่เตรียมเล่นเตรียมพูดในขณะที่เดินทาง เล่นไม่ได้พูดไม่ได้ มันเป็นประเด็นเปราะบางสำหรับพื้นที่นี้ งานนี้อีกครั้งหนึ่ง!
ชิ สุวิชาน
จังหวะที่ผมลุกขึ้นและตามเจ้าของบ้านเพื่อไปกินข้าว สายตาผมแวบไปมองเห็นผู้เฒ่าคนหนึ่งเหมือนคุ้นเคยกันมานาน ทั้งที่ผมไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เขาก็จ้องหน้าผมเหมือนรู้จักมักคุ้นกับผมเป็นอย่างดี  "โพโดะ (หลาน) คืนนี้มีการขับธาไหม?" เขาถามผมเหมือนรู้ว่าใจผมต้องการอะไร แต่สีหน้าเขาเหมือนแสดงอาการไม่มั่นใจในบางอย่างออกมา"โอ้โห ต้องมีซิ" ผมตอบโดยไม่ต้องเดาว่าเขาคือโมะโชะคนหนึ่งแน่นอน
ชิ สุวิชาน
ทุกครั้งที่เดินทางผ่านหมู่บ้านแม่แฮใต้ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม ไม่มีครั้งไหนที่เลยผ่านร้านขายของชำเล็กๆริมทาง ที่มีผู้เฒ่าปากแดงด้วยน้ำหมากนั่งเฝ้าอยู่ มีของที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตคนภูขายซึ่งมักเป็นอาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยวและยารักษาโรคเบื้องต้น  แต่ร้านขายของชำเล็กๆ ถึงเล็กมากแห่งนี้มีมากกว่านั้น มีเรื่องเล่าให้หัวเราะ ให้อมยิ้ม ให้ขบคิด และมีบทธาให้เก็บเกี่ยวมากมาย