Skip to main content

สงครามตามชายแดนไทย-พม่าริมแม่น้ำเมยได้ปะทุขึ้นอีกครั้ง ทางการพม่าออกมาปฏิเสธไม่มีส่วนกับสงครามที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยบอกว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างชนเผ่ากะเหรี่ยงด้วยกันเอง คือระหว่างกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธเพื่อประชาธิปไตย (DKBA) ผลของการสู้รบทำให้ประชาชนชาวกะเหรี่ยงด้วยกันเองที่อยู่ในพื้นที่การสู้รบ ต้องหนีภัยจากการสู้รบ หลายชุมชนต้องฝ่าเสียงกระสุนปืน หลายชุมชนต้องฝ่าดงและเสียงระเบิด ในขณะที่เดินฝ่าความตายเพื่อหนีตายนั้น ต้องทำด้วยความเงียบ ความรวดเร็ว ต้องเก็บแม้กระทั่งเสียงร้องไห้
\\/--break--\>

โดยปกติคนกะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่รักและชอบเสียงเพลง แต่ในสถานการณ์การหนีตายแบบนี้ บทเพลงและเสียงเพลงต้องหลบเพื่อรักษาชีวิตตนเองเช่นกัน ในช่วงเวลาการต่อสู้เพื่อกู้ชาติของคนกะเหรี่ยงกว่า 61 ปีที่ผ่านมา บทเพลงหลายสิบเพลงต้องจบชีวิตลงในสนามรบ

ผมมีโอกาสได้คุยกับเพื่อนกะเหรี่ยงที่หลบภัยจากการสู้รบตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-พม่าฝั่งตะวันตกคนหนึ่งเกี่ยวกับบทเพลงในชุมชนปกาเกอะญอในพื้นที่การสู้รบ

มีบทเพลงบางเพลงที่เป็นเพลงต้องห้าม ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าไม่อยากให้ร้อง” เขาบอกผม
เหรอ มันเป็นยังไง” ผมชักสงสัย

มันเป็นเพลงปฏิวัติ เป็นเพลงปลูกระดมคนชนเผ่าให้ฮึกเหิมในการต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ให้ต่อสู้เพื่อกู้ชาติ กู้แผ่นดิน และปลอดปล่อยชนเผ่าจากการจองจำทางการปกครองที่ไม่มีความเป็นธรรม” เขาอธิบาย

มันร้องไม่ได้เลยเหรอ” ผู้ฟังซักถาม
เมื่อก่อนร้องได้ถ้าเป็นพื้นที่ของเราเอง ร้องได้เต็มที่ ตะโกนออกไปจนเสียงเดินทางทะลุสี่ห้าดอยก็ยังได้ แต่ไปร้องในพื้นที่ที่มีทหารพม่าไม่ได้ แต่ตอนนี้ในพื้นที่ของเราเองเราก็ร้องไม่ได้เพราะพวกทหารพม่าเข้ามาใกล้และเข้ามาถึงรอบๆชุมชนเราแล้ว อาจจะร้องได้แต่ต้องสำรวจดูรอบๆตัวก่อนว่ามีใครอยู่บ้าง หรืออาจต้องร้องเบาๆ (หัวเราะ)”

รัฐบาลทหารพม่ามองว่าบทเพลงปฏิวัติเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการปลูกระดมให้ชนกลุ่มน้อยต่างๆลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาล ทำให้นักเพลงปฏิวัติหลายท่านต้องถูกจองจำในคุก หลายท่านต้องฆ่า หลายคนต้องหนีหัวซุกหัวซุนจากข้อหาการร้องเพลงปฏิวัติหรือเพลงปลูกใจเพื่อการสู้รบปลอดปล่อยชนเผ่า

นักเพลงปฏิวัติของคนกะเหรี่ยงที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการตัวของรัฐบาลพม่ามากที่สุดในช่วงสามสี่ทศวรรษที่ผ่านมาคงหนีไม่พ้น “ฉ่า เก โดะ” เคยต้องหนีจากย่างกุ้งมาถึงชายแดนไทยเพราะเหตุนี้ ทำให้เขาตัดสินใจจับปืนเป็นนักปฏิวัติเต็มตัวในเวลาต่อมา จนปัจจุบันนี้เขาต้องหนีไปไกลถึงประเทศที่สามในอเมริกา แต่บทเพลงของเขายังคงมีพลังเพียงพอที่จะทำให้รัฐบาลเผด็จการทหารพม่ากลัวจนไม่อยากให้ประชาชนกะเหรี่ยงขับร้อง หรือรับฟังบทเพลงของเขา

หมู่บ้านกลาป่าลึก ในเขตรัฐกะเหรี่ยงตอนเหนือ รวงข้าวในทุ่งไร่เริ่มเหลือง หอมกลิ่นของเม็ดข้าวชักชวนฝูงนกป่ามาเชยชิมรสชาติข้าวพันธุ์พื้นบ้าน จนชาวบ้านต้องคอยไล่ มิฉะนั้นข้าวอาจเหลือเพียงรวงไร้เม็ด ในขณะเดียวกันกลิ่นรวงข้าวก็ได้ชักชวนกองกำลังทหารพม่าเข้าสู่ทุ่งไร่เกือบทุกปี บางปีมาช้าหน่อยชุมชนจึงได้เก็บเกี่ยว บางปีมาเร็วทุ่งไร่ข้าวจึงถูกยึดเอาเป็นฐานทัพชั่วคราว ช่วงหลังๆ มาอยู่ยาวจนต้องเสียพื้นที่ไร่ไปหลายแห่ง

เด็กชายผู้ไร้เดียงสา ยังไม่รู้จักทิศเหนือทิศใต้ ยังไม่รู้จักตะวันตกตะวันออก ยังไม่รู้จักเดือนมืดเดือนแจ้ง รู้แต่เพียงการลงไปเล่นน้ำจับปลา ที่ริมห้วยท้ายหมู่บ้าน เกือบทุกเช้าทุกเย็นคนในชุมชนจะได้ยินเสียงเพลงของเขา เสียงเพลงเดินทางคู่กับเขาตลอด

เย็นวันนั้นเสียงเพลงของเขาดังล่องลงไปท้ายหมู่บ้านเช่นเดิม พร้อมไซซึ่งเป็นอุปกรณ์จับปลาของเขา เขาตั้งใจจะไปวางไซเพื่อดักปลาห่างออกไปจากชุมชนห้าโค้งน้ำ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นที่มีปลาชุม เหมาะแก่การวางไซ เพราะพื้นที่รัศมีภายในสี่โค้งน้ำจากหมู่บ้านนั้น เขาวางไซจนเขารู้ทะลุปรุโปร่งและขณะเดียวกันหมู่ปลาเองก็เริ่มรู้ทางหนีทีไล่ที่จะเอาตัวรอดจากไซของเขา แต่โค้งน้ำที่ห้านั้นติดอยู่ตรงที่มันไกลจากชุมชนหน่อย แต่เขาก็พร้อมที่จะลงทุน


 


 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
ผมฝ่าชุมชนมูเจะคีหลายชุมชน ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏร่องรอยเล็บตีนเล็บมือรวมทั้งเริ่มเห็นมูลอันเป็นของเสียแห่งระบบทุนนิยมที่ถ่ายทิ้งเอาไว้ในชุมชนปกาเกอะญอที่มีอายุหลายร้อยปีแห่งนี้ และมีแนวโน้มที่ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนและวัฒนธรรมจะถูกกลืนกินเป็นอาหารอันโอชะมากขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อได้มีโอกาสกลับมา พอมาถึงหมู่บ้านแรกของชุมชนปกาเกอะญอในบริเวณมูเจะคี ทันทีที่ได้สัมผัสมันเหมือนได้กลับคืนสู่รัง ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปตอนอยู่ในเมือง เมื่อผ่านชุมชนแต่ละหมู่บ้านจะพยายามมองรถทุกคันที่ผ่าน มองคนทุกคนที่เจอว่าเป็นเพื่อนเราหรือเปล่า? ลุง ป้า น้า อา หรือเปล่า? ญาติพี่น้องหรือเปล่า?…
ชิ สุวิชาน
 หลังเสร็จงานศพ ความรู้สึกจำใจจากบ้านมาเยือนอีกครั้ง  แต่การกลับบ้านครั้งนี้แม้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะในวิถีประเพณี ที่มีคนตายในชุมชน  ได้เห็นสภาพของป่าช้าที่ถูกผ่าตัดตอนแล้วพยายามเปลี่ยนอวัยวะชิ้นส่วนใหม่จากภายนอกเข้ามาแทนที่ 
ชิ สุวิชาน
 โลงศพถูกหย่อนลงในหลุม  ลูกชายที่เป็นศาสนาจารย์และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศิษยาภิบาลได้จับดินก้อนหนึ่งกำไว้ในมือ  แล้วชูดินต่อหน้าผู้ร่วมงาน"ชีวิตเราถูกสร้างมาจากดิน แล้วพระเจ้าได้เป่าลมหายใจ คือชีวิตสู่เรา การรักษาร่างกายไม่สำคัญเท่ากับการรักษาชีวิต ชีวิตที่แม้ไม่มีร่างกายก็มีชีวิตอยู่ได้ เพราะเมื่อร่างกายเราถูกสร้างมาจากดิน ถูกใช้งานมาระยะหนึ่งก็ต้องเสื่อมและต้องกลับคืนสู่ดิน แต่ชีวิตไม่ได้ถูกสร้างมาจากดิน ชีวิตถูกสร้างมาจากลมหายใจที่มาจากพระเป็นเจ้า ถ้าเรารักษาชีวิตไว้ในขณะที่อยู่บนโลกให้เป็นไปตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า…
ชิ สุวิชาน
จบพิธีทางคริสต์ศาสนา แขกเหรื่อที่มาต่างทยอยเดินลงบันใด และยืนกองรวมกันที่ลานหน้าบ้านผู้ตาย รถกระบะสองคันซึ่งเป็นของลูกชายศาสนาจารย์ที่จากไปได้แล่นมาแหวกกลุ่มคนที่ยืนอยู่ลานหน้าบ้าน และจอดท่ามกลางวงห้อมล้อมของฝูงชน  "กางเขนนี้คนเอาไม่อยู่ โคตรหนักเลย" เสียงของหนึ่งในชายฉกรรจ์ พูดขึ้นหลังจากนำไม้กางเขนซีเมนต์ขนาดประมาณ 2 เมตรครึ่ง หน้ากว้างประมาณ 6 นิ้วได้ขึ้นไว้บนรถกระบะ ครั้งหนึ่งพระเยซูได้แบกไม้กางเขนของตนเองไปยังภูเขาที่พระองค์จะถูกตรึง ระหว่างทางได้อ่อนระโหยโรยแรง มีชายผู้หนึ่งที่สงสารจึงอาสาช่วยแบก แต่มาครั้งนี้คนเอาไม่อยู่ ผมเพียงแต่นึกในใจว่ากางเขนซีเมนต์นี้…
ชิ สุวิชาน
"ที่จะร้องให้ฟังต่อไปนี้เป็น ธา ปลือ ร้องเพื่อให้คนเป็นรู้ว่าคนตายได้ตายเพื่อไปที่อื่นแล้ว ร้องเพื่อให้คนตายรู้ว่าตัวว่าได้ตายและต้องไปอยู่อีกที่แล้ว ในวันที่ไม่มีคนตายห้ามพูดห้ามร้องเด็ดขาด ไม่ว่าในบ้าน ใต้ถุนบ้านหรือที่ใดก็ตาม ในวันที่มีคนตายนั้นต้องร้อง" พือพูดก่อนร้อง พือหยิบไมโครโฟน หันมาทางผม ผมจึงเริ่มบรรเลงเตหน่า
ชิ สุวิชาน
ข่าวเรื่องการละสังขารของศาสนาจารย์ผู้ก่อตั้งคริสตจักรมูเจะคีในวัย 96 ปีได้ถูกกระจายออกไป ไม่เพียงแค่ในพื้นที่มูเจะคีเท่านั้น เชียงราย กาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่เกิดและที่เติบโตของพื้นที่อื่นที่เขาเคยเผยแพร่และเทศนาเรื่องราวของพระคริสต์ทั้งในพื้นที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ข่าวการจากไปของเขาไม่เลยผ่านไปได้ งานศพถูกจัดการอย่างดีตามรูปแบบของคริสเตียน ข่าวไปถึงที่ไหนผู้คนจากที่นั่นก็มา คนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ดูแล้วปริมาณไม่ต่างกันเท่าเลย เหมือนมีการจัดงานมหกรรมบางเกิดขึ้นในชุมชน ลูกหลานที่ไปทำงานจากที่ต่างๆ ของเขาก็มากันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา โดยที่งานศพถูกเก็บไปสามคืน
ชิ สุวิชาน
พี่นนท์เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้ฟังพาตี่ทองดี จึงร้องเพลงธาปลือให้ฟัง จนกระทั่งถึงท่อน โย เย็นนั้นระหว่างงาน พี่นนท์จึงถามคำแปลของเพลงเหล่านั้น หลังจากเสร็จงานนั้นเพลงเส่อเลจึงมีการต่อเติมจนเป็นเพลงขึ้นมาจนได้ “พี่นึกถึงหญิงสาวที่ต้องโตขึ้นมาอย่างลำบาก นึกถึงพัฒนาการการเติบโตของชีวิต ต้องตามพ่อตามแม่ปลูกข้าว กว่าจะโตเป็นสาวต้องผ่านการตรากตรำทำงานอย่างลำบาก พี่เลยจินตนาการการตายของเธอว่า เป็นการเสียชีวิตด้วยไข้ป่า”
ชิ สุวิชาน
แม้ว่าฤดูเกี่ยวข้าวมาถึงแล้วแต่ฝนยังคงโปรยปรายลงมาอยู่ คนทำนาได้แต่ภาวนาว่าขออย่าตกตอนตีข้าวก็แล้วกัน เพราะฝนตกตอนตีข้าวนั้นมันยิ่งกว่าค่าเงินลอยตัวเสียอีก ผมเตรียมตัวกลับบ้านอีกครั้งเพื่อกลับไปเกี่ยวข้าว ผืนนาที่เคยวิ่งเล่นตอนเด็กๆกวักมือเรียกผมจากเมืองคืนสู่ทุ่งข้าวเหลืองอีกฤดู ซึ่งก็ได้จังหวะพอดีที่พ่อผมลงมาทำธุระที่เชียงใหม่ ทำให้ผมได้อาศัยรถของพ่อในการกลับครั้งนี้
ชิ สุวิชาน
ด้วยความที่อยากให้เกียรติวีรบุรุษในการต่อสู้ของคนที่อยู่กับป่า ทางทีมงานของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจึงเลือกเพลง ปูนุ ดอกจีมู เป็นเพลงเปิดหัวในการประชาสัมพันธ์อัลบั้มเพลงเกอะญอเก่อเรอ ที่แรกที่เราส่งไปคือสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ท่าเป็นช่วงภาคภาษาชนเผ่า โดยเฉพาะภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งมีพี่มานะ หรือบิหนะ เป็นผู้ประกาศข่าวคราวต่างไปถึงพี่น้องปกาเกอะญอในเขตภูเขา หลังจากที่เพลงถูกเปิด มีพี่น้องปกาเกอะญอจากที่ต่างๆโทรมาแสดงความเห็นมากมาย “ส่วนใหญ่เค้าบอกว่า เค้าชอบเพลงนี้มาก แต่เค้าขอร้องมาว่า ถ้าถึงท่อนที่เป็น ธาโย ช่วยปิดเลยได้มั้ย เพราะเขค้าฟังแล้วขนลุก…
ชิ สุวิชาน
มีผู้อาวุโสปกาเกอะญอ                  แห่งหมู่บ้านโขล่ เหม่ ถ่า ผู้ซึ่งไม่มีชื่อเสียงเรืองนาม              เขาคือ พาตี่ ปูนุ ดอกจีมูอยู่กับลูก อยู่กับเมีย                     ตามป่าเขาลำเนาไพรท่ามกลางพืชพันธุ์แมกไม้              ทั้งคน ทั้งป่าและสัตว์ป่าทำไร่หมุนเวียน ทำนา …
ชิ สุวิชาน
เพื่อเป็นการรำลึกแห่งการครบรอบการจากไป 1 ปี ทางเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีความประสงค์ในการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพาตี่ปุนุ ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าคนหนึ่ง โดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลิตซีดีเพลงชุดหนึ่ง โดยมีพาตี่อ็อด วิฑูรย์ เป็นผู้ดูแลเนื้อร้องทำนองขับร้อง "ช่วยแต่งเพลง เกี่ยวกับปุนุ ให้หน่อย พาตี่แต่งไม่ทันแล้ว" พาตี่อ็อดมาบอกผม ผมจึงลงมือเขียนเพลงปูนุด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ผมเขียนถึงคนตาย และต้องพูดถึงเหตุการณ์ในการตายของเขาด้วย จึงทำให้ผมนึกถึงบทเพลงคร่ำครวญในงานศพ…
ชิ สุวิชาน
ปี 2540 สถานการณ์การต่อสู้ของชุมชนที่อยู่กับป่าร้อนระอุขึ้นมาอีกระลอก เมื่อรัฐบาลของนายหัว ชวน หลีกภัย ได้มีนโยบายอพยพคนออกจากป่า นั่นหมายถึงชะตากรรมวิถีของคนอยู่กับป่าจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวง ชุมชนเดิม ที่อยู่ ที่ทำกินเดิมนั้นจะกลายเป็นเพียงที่ที่เคยอยู่เคยกินเท่านั้น ตัวแทนขบวนคนอยู่กับป่าจึงมีการขยับเคลื่อนสู่หน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง โดยมีเครือข่ายกลุ่มสมัชชาคนจนจากภาคต่างๆมาสมทบอย่างครบครัน กลายเป็นชุมชนคนจนหน้าทำเนียบโดยปริยาย “ลูกหลานไปเรียกร้องสิทธิหลายครั้งแล้ว ไม่ได้สักที คราวนี้ฉันต้องไปเอง ถ้าเรียกร้องไม่สำเร็จฉันจะไม่กลับมาเด็ดขาด”…