Skip to main content
ความจริงแล้วผมมีกำหนดการนัดสัมภาษณ์ขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปประเทศอเมริกาในวันที่ 2 กันยายน 2552 ขณะที่กำหนดการในการเดินทางไปประเทศดังกล่าวคือเช้าวันที่ 3 กันยายน 2552 หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แผนกำหนดการเดินทางอาจมีปัญหาได้ ฉะนั้นทางบริษัท ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นผู้ประสานและเป็นผู้อำนวยการการเดินทางในครั้งนี้ ได้ขอทำเรื่องเร่งรัดการสัมภาษณ์ให้เกิดขึ้นก่อนการสัมภาษณ์เดิม

 

ก่อนวันสัมภาษณ์ หนึ่ง วัน

"ให้แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย ให้เป็นชุดทางการ" ทีมงาน ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ บอกวิธีการเตรียมตัวเกี่ยวกับการแต่งกายในการสัมภาษณ์

"ผมใส่ชุดปกาเกอะญอไปได้ไหมครับ?" ผมถาม

"อืม ไม่รู้เหมือนกัน ไม่แน่ใจว่า เขาจะคิดว่ามันเป็นชุดที่สุภาพหรือเปล่า คิดเอาเองละกัน" เขาตอบผม

 

เมื่อคำตอบออกมาให้ผมคิดเอง ผมจึงคิดว่า ชุดชนเผ่าปกาเกอะญอของผมนี่แหละ เป็นชุดที่สุภาพเรียบร้อย พี่น้องในเผ่าพันธุ์ของผม เวลาจะเข้าโบสถ์เพื่อไปนมัสการพระเจ้าในวันอาทิตย์ก็ใส่ชุดปกาเกอะญอ เวลาจะเข้าวัดในวันพระก็ใส่ชุดปกาเกอะญอ แม้กระทั่งในอดีตเวลาบรรพบุรุษเซ่นไหว้เทวอารักษ์ต้องมีการสวมใส่ชุดประจำเผ่าปกาเกอะญอ เพื่อให้พิธีได้ครบองค์ประกอบเสร็จสมบูรณ์ตามจารีต ผมจึงตัดสินใจใส่ชุดปกาเกอะญอไปในวันสัมภาษณ์

 

ณ สถานที่ กงสุลอเมริกา ประจำประเทศไทย สถานที่บริการผู้มีสัญชาติอเมริกา และที่บริการสำหรับการวีซ่า สำนักงานกรุงเทพ ทันทีที่เข้าไป เจอการตรวจหาสิ่งต้องสงสัยและวัตถุผิดกฎหมายเป็นอันดับแรก คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค เอาเข้าไปไม่ได้ โทรศัพท์มือถือ เอาเข้าไปไม่ได้ กล้องถ่ายเอาเข้าไปไม่ได้ เครื่องมือที่เป็นอีเล็กทรอนิกส์ทุกอย่างไม่สามารถนำติดตัวเข้าไปได้

 

สมาชิกที่ไปด้วยกันที่ทั้งหมด 16 คน ประกอบด้วย นักดนตรีทั้งสากลและพื้นบ้าน นักร้องทั้งสากลและพื้นบ้าน นักแสดงนาฏศิลป์ไทย ซึ่งต้องมาสัมภาษณ์ในวันเดียวกัน ถึงวินาทีนี้หลายคนต่างกังวลจะไม่ผ่านการสัมภาษณ์ บ้างก็กลัวตอบคำถามไม่ถูก บ้างเป็นห่วงหลักฐานไม่สมบูรณ์ บ้างฟังภาษาไม่เข้าใจ เมื่อช่วงเวลาการสัมภาษณ์มาถึงต่างคนต่างพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่จะทำสำเร็จ จนมาถึงลำดับของผม

 

"จะไปอเมริกาทำไมคะ" คำถามที่หนึ่ง จากเจ้าหน้าที่กงสุลสุภาพสตรี

"ผมไปเล่นดนตรีพื้นบ้าน ปกาเกอะญอ เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมชนเผ่าของประเทศไทยครับ" ตอบตามฟอร์มและความตั้งใจ

"คุณคิดว่าจะไปนานเท่าไหร่" คำถามที่สอง

"ตามกำหนดการแล้วประมาณสี่สิบห้าวันครับ" ตอบตามกำหนดการ

"คุณเล่นดนตรีมานานเท่าไหร่แล้วคะ"

"ผมไม่รู้ว่าเล่นนานเท่าไหร่แล้ว แต่ว่า ผมคลุกคลีกับดนตรีตั้งแต่เด็ก ร้องเพลงในโบสถ์ ร้องในบ้าน เล่นตามงานประเพณีชุมชนครับ"

เขาพยักหน้า พร้อมพลิกอ่านประวัติการศึกษาของผม

"เอ๊ ทุกคนที่มาสัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ทุกคนเรียนดนตรีมา แต่คุณไม่ได้เรียนดนตรีมานี่" เขาถามผม

"ครับ ผมไม่ได้เรียนดนตรีในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยครับ แต่ผมเรียนกับพ่อที่บ้านครับ ก็เลยเล่นดนตรีได้บ้าง นิดหน่อยครับ" เขาพยักหน้าอีกครั้งหนึ่ง

"ผมเป็นคนเผ่าไหนนะ"

"ปกาเกอะญอ คับ แต่คนไทยจะเรียก กะเหรี่ยง ส่วนฝรั่ง เรียก คาเรน คับ" เขาพยักหน้าพร้อมกับอมยิ้ม

"เราคิดว่าจะให้วีซ่าแก่คุณภายใน 4-5 ปีนะคะ" เขาตอบผมอย่างจริงจัง

"เอ้า!?" ผมอุทานออกมา

"อุ้ย ! ไม่ใช่ 4-5 วันคะ" เขาพูดพร้อมกับแลบลิ้นออกมาอย่างเขิน ๆ แต่ด้วยสีผิวคล้ำจึงไม่ปรากฏสีหน้าแดงที่แสดงออกถึงอาการเขินของหล่อน


หลังจากสัมภาษณ์วิซ่า และทราบแนวโน้มความเป็นไปได้ในการทำวีซ่าแล้ว ผมโทรกลับไปหาพี่ทอด์ด ทองดี ผู้ที่ชักชวนมาร่วมขบวนการเดินทางครั้งนี้ ทันทีที่เขาทราบผล

"เฮ้ ชิ คุณใส่ชุดอะไรในการไปสัมภาษณ์" เขาถามผม

"ผมใส่ชุดปกาเกอะญอไปครับ" ผมตอบตามความจริง

"คุณรู้ไหม นั่นมันเสี่ยงมากเลยนะ" พี่ทอด์ด บอก

"เสี่ยงที่วีซ่าจะไม่ผ่านใช่ไหมครับพี่" ผมถามต่อ

"เปล่า เสี่ยงที่เขาจะขอเสื้อของคุณไป" เขาตอบผมแบบที่เล่นที่จริง

 

คำพูดของเขาคนนี้ หลายคำ หลายประโยค หลายครั้งทำให้ผมคิดอะไรต่อได้หลายประเด็น ในใจผมคิดว่า ถ้ากงสุลจะขอเสื้อปกาเกอะญอผมไปเพื่อไปทำประโยชน์หรือเผยแพร่ให้คนรู้จักชนเผ่าของผม นั่นก็เป็นสิ่งที่น่ายินดี แต่หากเขาเอาไปเพื่อต้องการไปทำลายนั้น นับว่าเป็นเรื่องที่เสี่ยง ตามที่พี่ทอด์ด พูดไว้เป็นอย่างมาก

 

 

 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
สิบกว่าปีผ่านไป ภายในบ้านของครูดอยผู้ช้ำใจจากการนำดนตรีปกาเกอะญอไปเล่นในโบสถ์ เขารู้สึกดีใจมากที่ลูกชายของเขามาขอเรียนดนตรีพื้นบ้านของคนปกาเกอะญอ ทั้งๆที่เด็กรุ่นราวคราวเดียวกันต่างมุ่งหน้าเดินตามดนตรีตามกระแสนิยมกันหมดแล้ว นี่เป็นสิ่งที่เขาเฝ้าคอยและหวังมาโดยตลอดที่จะมีคนมาสืบทอดลายเพลงของชนเผ่า ไม่ว่าจะเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขแท้ๆ ของเขาหรือคนอื่นที่เป็นคนชนเผ่าเดียวกันก็ตาม ทำให้ฝันของเขาเริ่มเป็นจริงว่าทางเพลงแห่งวัฒนธรรมปกาเกอะญอจะไม่สิ้นสุดในยุคของเขา แต่เขารู้สึกตกใจ เมื่อลูกชายบอกเขาว่า จะนำเตหน่ากู ไปเล่นในคืนคริสตมาสปีนี้ที่โบสถ์ในชุมชน “ลูกแน่ใจนะ ว่าจะเล่นในโบสถ์”…
ชิ สุวิชาน
ในขณะที่อีกฝากหนึ่งของชุมชนปกาเกอะญอที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์แล้ว บทเพลง ธา ทุกหมวด กลายเป็นบทเพลงที่ถูกลืมเลือน ถูกทิ้งร้างจนเหมือนกลายเป็นบทเพลงแห่งอดีตที่ไม่มีค่าแก่คนยุคปัจจุบัน โมะโชะหมดความหมาย เมื่อคนปกาเกอะญอเริ่มเรียนรู้การคอนดัก (Conduct) เพลงแบบในโบสถ์แบบฝรั่ง เพลงธา ไร้คุณค่า เมื่อมีเพลงนมัสการที่เอาทำนองจากโบสถ์ฝรั่งมา เครื่องดนตรีปกาเกอะญอถูกมองข้ามเมื่อมีคนดนตรีจากตะวันตก เช่น กีตาร์ กลองชุด แอคคอร์เดียน เมาท์ออร์แกน ฯลฯ เข้ามา “โด โซ โซ มี โด มี โซ ready… sing ซะหวิ” ประโยคนี้มักจะเป็นประโยคเริ่มต้นของคนที่เป็นผู้นำวงร้องประสานเสียงพูดนำก่อนร้องเพลง…
ชิ สุวิชาน
หลัง ธาหมวด แป่โป่ แปซวย แล้ว ก็จะต่อด้วย ธาหมวดโข่เส่ คะมอ ตามด้วย หมวดโดยมีเด็กชายนำการเดินวนอยู่เหมือนวันแรก  และหมวด ธาปลือลอ ได้เริ่มถูกขับขานต่อจาก หมวดโข่ เส่ คะมอ ต่อด้วย หมวด เชอเกปลือ  หมวดฉ่อลอ หมวดแกวะเก  หมวดธาชอเต่อแล จากนั้น หมวดธาเดาะธ่อ จึงเริ่มขึ้นอีกครั้งพร้อมกับการกลับมาอย่างแน่นขนัดของหนุ่มสาวเช่นเดิม เมื่อธาเดาะธ่อหรือเริ่มต้นมาแล้ว ก็จะมีหมวดธา เดาะแฮ, หมวด ธาเดาะเหน่,หมวด ธาลอบะ ,หมวด ธา ลอกล่อ ซึ่งล้วนแต่เป็น ธา หน่อ เดอ จ๊อหรือธา หนุ่มสาว ซึ่งตั้งแต่ ธา หมวด เดาะธ่อ เป็นต้นไป ถือว่าเป็น เพลงธา ที่สามารถขับขานเป็นปกติได้ทุกโอกาส ทุกสถานที่…
ชิ สุวิชาน
เมื่อได้ยินหมวด ธา ธาชอเต่อแล หนุ่มสาวต่างขยับเข้ามาในวงเพลงธามากขึ้น เพื่อเริ่มงานของหนุ่มสาว ธาชอเต่อแลจึงเปรียบเสมือน หมวดที่เชื้อเชิญหนุ่มสาวเข้าสู่การขับขานเพื่อต่อเพลงธากัน โดยมีโมะโชะฝ่ายหญิงแลโมะโชะฝ่ายชายเป็นหัวหน้าทีมของแต่ละฝ่าย เวทีการดวลภูมิรู้เรื่องธาที่ขุนเพลงธาโปรดปรานได้เกิดขึ้นอีกครั้งในคืนงานศพ หมวดแห่งการดวลเพลงธา เริ่มที่หมวดธาเดาะธ่อ ซึ่งแปลว่า ธาเริ่มต้น ส่วนใหญ่เป็นธาที่ว่าด้วยความรัก ความสามัคคี ความร่วมไม้ร่วมมือ เพื่อให้คนที่มาร่วมงานตระหนักและสำนึกเสมอว่า เป็นคนในชุมชนเดียวกัน ชนเผ่าเดียวกัน สังคมเดียวกัน และโลกใบเดียวกัน ดังตัวอย่างธาที่ว่า   เก่อ…
ชิ สุวิชาน
หมวด ธาปลือลอ ได้เริ่มถูกขับขาน ซึ่งเป็นหมวดที่ว่าด้วย การจากไปสู่ปรโลก ซึ่งปกติแล้วก่อนที่คนจะตายมักมีลางสังหรณ์ปรากฎแก่คนใกล้ชิดหรือคนรอบข้างเสมอ นั่นหมายความว่าถึงเวลาของผู้ตายแล้ว เวลาแห่งความตายนั้นย่อมมาถึงทุกคน เพราะฉะนั้นก่อนตายควรทำความดีหรือทำคุณประโยชน์ให้เกิดแก่แผ่นดินถิ่นเกิดที่เราอาศัยอยู่ตอนมีชีวิตให้มากที่สุด เมื่อลางสังหรณ์มาถึงเราจะได้จากอย่างหมดทุกข์หมดห่วง ตัวอย่าง ธา หมวดนี้เริ่มต้นดังนี้ มี หม่อ เคลอ ฮะ เหน่ อะ เด                 มีหม่อ คอ ฮะ เหน่ อะ เด เต่อ เหม่ เคลอ ฮะ เหน่ อะเด      …
ชิ สุวิชาน
“โมะโชะมาแล้ว” ชายหนุ่มคนหนึ่งกล่าวด้วยน้ำเสียงที่ตื่นเต้น เมื่อเห็นร่างชายวัยปลายกลางคนเดินเข้ามา สายตาทุกดวงจึงมองไปที่ โมะโชะ เขาคือผู้นำในการขับขานเพลงธา เขาต้องเรียนรู้และพิสูจน์ตัวเองมาหลายปีกว่าเขาจะได้รับตำแหน่งนี้ หน้าที่รับผิดชอบสำหรับตำแหน่งนี้คือการเป็นผู้นำในการขับขานธาในพิธีกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนเช่น งานแต่ง หรืองานตาย บางชุมชนทั้งหมู่บ้านไม่มีโมะโชะเลย เวลามีงานต้องไปยืมหรือเชื้อเชิญโมะโชะจากชุมชนอื่นที่อยู่ใกล้ ว่ากันว่าชุมชนที่สมบูรณ์นอกจากต้องมีผู้นำชุมชนตามประเพณีที่เรียกว่า ฮี่โข่ ต้องมีจำนวนหลังคาในชุมชนมากกว่า 30 หลังคาเรือนแล้ว…
ชิ สุวิชาน
ช่วงเย็นหลังจากที่ทำงานในไร่ และกำลังจะนั่งกินข้าวร่วมครอบครัว “ลุงเร็ว ปู่ วาโข่ หายใจขึ้นอย่างเดียว ไม่ได้หายใจลงแล้ว” หลานชายมาวงข่าวเกี่ยวกับพือวาโข่ซึ่งเป็นพ่อของเขา เขาละจากวงทานข้าวของครอบครัว แล้ววิ่งไปหาพ่อทันที พือวาโข่ เป็นฉายาที่เด็กๆ ในหมู่บ้านและหลานๆเ รียกชื่อผู้เฒ่าผู้ชายที่อาวุโส จนผมหงอกทั้งหัว พือหมายถึงพ่อเฒ่า วาโข่หมายถึง ผมขาว หากเป็นผู้หญิงจะเรียกว่า พีวาโข่ พีแปลว่าแม่เฒ่า นั่นเอง คนรุ่นนี้จะเป็นที่รักใคร่ของลูกหลานทั้งในครอบครัวและในชุมชน เพราะถือเป็นทรัพยากรบุคคลของชุมชนทีมีค่า หากมีปัญหาเกิดขึ้นในชุมชนที่คนรุ่นใหม่ไม่สามารถหาทางออกได้…
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศในบ้านเริ่มคึกคักมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีเสียงเตหน่าบรรเลงในบ้านไม่เว้นแต่ละคืน  บางคืนเป็นเสียงเตหน่า ลายเดิมที่ผู้เป็นพ่อเป็นคนถ่ายทอด  แต่บางคืนมีเสียงเตหน่าลายแปลกออกมาจนผู้เป็นพ่ออดไม่ได้จนต้องเงี่ยหูฟัง  นานแล้วที่เจ้าของเสียงเตหน่ากูห่างหายไปจากการร่ำเรียนวิชาจากพ่อ  แต่วันนี้เขากลับมาหาครูผู้สอนเตหน่ากูของเขาอีกครั้ง แน่นอนมันต้องมีอะไรบางอย่างสงสัยจึงต้องมา"พ่อผมจะไปล้มไม้มาทำเตหน่ากู ควรจะหาไม้อย่างไรดี" ประโยคแรกที่เขามาถามพ่อ"จริงๆ แล้วไม้อะไรก็ได้ทั้งนั้น ขอให้เป็นไม้ที่โค้งงอ แต่คนสมัยก่อนเขานิยมใช้ไม้เก่อมา หรือภาษาไทยเรียกว่าไม้ซ้อ…
ชิ สุวิชาน
มีบทธา ซึ่งเป็นบทกวีหรือสุภาษิตสองลูกสอนหลานของคนปกาเกอะญอมากมาย ที่กล่าวถึงเตหน่ากูเครื่องดนตรีดั้งเดิมของคนปกาเกอะญอ แต่ในตรงนี้จะยกมาเพียงส่วนหนึ่งเพื่อเป็นตัวอย่างเบื้องต้นของ ธา ที่กล่าวถึงเตหน่ากู 1. เตหน่า อะ ปลี เลอ จอ ชึ             เด เต่อ มึ เด ซึ เด ซึ2.เตหน่า เลอ จอ แว พอ ฮือ            เต่อ บะ จอ จึ แซ เต่อ มึ3.เตหน่า ปวา แกวะ ออ เลอ เฌอ      เด บะ เก อะ หล่อ เลอ เปลอ4.เตหน่า ปวา เจาะ เลอ เก่อ มา     …
ชิ สุวิชาน
ลูกชายหายหน้าไปจากการเรียนรู้การเล่นเตหน่ากูกับพ่อเป็นหลายสิบ จนผู้เป็นแม่ที่คอยหุงอาหารให้หมูในตอนหัวค่ำเกิดคำถามต่อผู้เป็นพ่อ “ไอ้ตัวเล็กมันเล่นเป็นแล้วเหรอ? มันถึงไม่มาฝึกเพิ่ม” แม่ถามพ่อซึ่งนั่งอยู่ตรงข้ามกะบะไฟดินในบ้าน “มันบอก มันจะฝึกเอง มันคงไปฝึกที่บ้านผู้สาวมั้ง?” พ่อตอบแม่พร้อมกับสันนิษฐานพฤติกรรมของลูกชาย “มันก็ธรรมดาแหละ วัวตัวผู้พอมันเริ่มเป็นหนุ่ม มันก็เริ่มแตกฝูงไปหาตัวเมียในฝูงอื่น ก็เหมือนพ่อตอนเป็นหนุ่มนั่นแหละ อยู่บ้านอยู่ช่องซะที่ไหน กลางค่ำกลางคืนดึกแล้วไล่กลับบ้านก็ไม่ยอมกลับ ค่ำไหนค่ำนั้น มาหาทุกคืน” แม่เปรียบเทียบให้พ่อฟัง
ชิ สุวิชาน
“วิธีการเล่นล่ะ? แตกต่างกันมั้ย?” ลูกชายถามพ่อ “ถ้าเล่นอย่างไดอย่างหนึ่งได้นะ ก็เล่นอีกอย่างได้เองแหละ ขอให้เข้าใจวิธีการตั้งสายเถอะ อย่าตั้งสายเพี้ยนละกัน” พ่อบอกและย้ำกับลูกชาย “งั้นพ่อสอนเพลงอีกซักเพลงที่เล่นแบบเมเจอร์สเกลนะ” ลูกขอวิชาจากพ่อ “เอาซิ! เดี๋ยวพ่อจะสอนเพลงพื้นบ้านง่ายๆที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบร้อง ชอบเล่นกับเตหน่ากูบ่อยๆ อีกเพลง ร้องตามนะ” พ่อเริ่มร้องนำ ลูกจึงเริ่มร้องตาม
ชิ สุวิชาน
สองสามคืนผ่านไป ลูกชายไม่ได้มายุ่งกับพ่อ แต่คืนนี้ภายในบ้านไม้ไผ่ หลังคาตองตึงทรงปวาเก่อญอหลังเดิม ลูกชายถือเตหน่ากูมาอยู่ข้างพ่ออีกครั้ง “ลองฟังดูนะ ใช้ได้หรือยัง?” ลูกชายพูดจบเริ่มดีดเตหน่าและเปล่งเสียงร้องเพลงแบบไมเนอร์สเกลให้พ่อฟัง แต่ด้วยความตั้งใจมากไปหน่อยทำให้การเล่นบางครั้งมีสะดุดเป็นช่วงๆ แต่ลูกชายไม่ยอมแพ้และไม่ยอมหยุด เล่นและร้องให้พ่อซึ่งเป็นครูสอนเตหน่ากูให้เขาจนจบเพลง “ฮึ ฮึ ก็ดี เริ่มต้นได้ขนาดนี้ก็ไช้ได้” พ่อตอบเขาแบบยิ้มๆ “แล้วพ่อจะสอนอีกแบบหนึ่งได้หรือยัง?” เขามองหน้าพ่อ “อ๋อ ที่มาเล่นให้ฟังนี้ก็เพื่อให้รู้ว่าเล่นไมเนอร์ได้แล้ว จะขอเรียนแบบเมเจอร์ต่อว่างั้นเถอะ”…