Skip to main content
ความจริงแล้วผมมีกำหนดการนัดสัมภาษณ์ขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปประเทศอเมริกาในวันที่ 2 กันยายน 2552 ขณะที่กำหนดการในการเดินทางไปประเทศดังกล่าวคือเช้าวันที่ 3 กันยายน 2552 หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แผนกำหนดการเดินทางอาจมีปัญหาได้ ฉะนั้นทางบริษัท ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นผู้ประสานและเป็นผู้อำนวยการการเดินทางในครั้งนี้ ได้ขอทำเรื่องเร่งรัดการสัมภาษณ์ให้เกิดขึ้นก่อนการสัมภาษณ์เดิม

 

ก่อนวันสัมภาษณ์ หนึ่ง วัน

"ให้แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย ให้เป็นชุดทางการ" ทีมงาน ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ บอกวิธีการเตรียมตัวเกี่ยวกับการแต่งกายในการสัมภาษณ์

"ผมใส่ชุดปกาเกอะญอไปได้ไหมครับ?" ผมถาม

"อืม ไม่รู้เหมือนกัน ไม่แน่ใจว่า เขาจะคิดว่ามันเป็นชุดที่สุภาพหรือเปล่า คิดเอาเองละกัน" เขาตอบผม

 

เมื่อคำตอบออกมาให้ผมคิดเอง ผมจึงคิดว่า ชุดชนเผ่าปกาเกอะญอของผมนี่แหละ เป็นชุดที่สุภาพเรียบร้อย พี่น้องในเผ่าพันธุ์ของผม เวลาจะเข้าโบสถ์เพื่อไปนมัสการพระเจ้าในวันอาทิตย์ก็ใส่ชุดปกาเกอะญอ เวลาจะเข้าวัดในวันพระก็ใส่ชุดปกาเกอะญอ แม้กระทั่งในอดีตเวลาบรรพบุรุษเซ่นไหว้เทวอารักษ์ต้องมีการสวมใส่ชุดประจำเผ่าปกาเกอะญอ เพื่อให้พิธีได้ครบองค์ประกอบเสร็จสมบูรณ์ตามจารีต ผมจึงตัดสินใจใส่ชุดปกาเกอะญอไปในวันสัมภาษณ์

 

ณ สถานที่ กงสุลอเมริกา ประจำประเทศไทย สถานที่บริการผู้มีสัญชาติอเมริกา และที่บริการสำหรับการวีซ่า สำนักงานกรุงเทพ ทันทีที่เข้าไป เจอการตรวจหาสิ่งต้องสงสัยและวัตถุผิดกฎหมายเป็นอันดับแรก คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค เอาเข้าไปไม่ได้ โทรศัพท์มือถือ เอาเข้าไปไม่ได้ กล้องถ่ายเอาเข้าไปไม่ได้ เครื่องมือที่เป็นอีเล็กทรอนิกส์ทุกอย่างไม่สามารถนำติดตัวเข้าไปได้

 

สมาชิกที่ไปด้วยกันที่ทั้งหมด 16 คน ประกอบด้วย นักดนตรีทั้งสากลและพื้นบ้าน นักร้องทั้งสากลและพื้นบ้าน นักแสดงนาฏศิลป์ไทย ซึ่งต้องมาสัมภาษณ์ในวันเดียวกัน ถึงวินาทีนี้หลายคนต่างกังวลจะไม่ผ่านการสัมภาษณ์ บ้างก็กลัวตอบคำถามไม่ถูก บ้างเป็นห่วงหลักฐานไม่สมบูรณ์ บ้างฟังภาษาไม่เข้าใจ เมื่อช่วงเวลาการสัมภาษณ์มาถึงต่างคนต่างพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่จะทำสำเร็จ จนมาถึงลำดับของผม

 

"จะไปอเมริกาทำไมคะ" คำถามที่หนึ่ง จากเจ้าหน้าที่กงสุลสุภาพสตรี

"ผมไปเล่นดนตรีพื้นบ้าน ปกาเกอะญอ เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมชนเผ่าของประเทศไทยครับ" ตอบตามฟอร์มและความตั้งใจ

"คุณคิดว่าจะไปนานเท่าไหร่" คำถามที่สอง

"ตามกำหนดการแล้วประมาณสี่สิบห้าวันครับ" ตอบตามกำหนดการ

"คุณเล่นดนตรีมานานเท่าไหร่แล้วคะ"

"ผมไม่รู้ว่าเล่นนานเท่าไหร่แล้ว แต่ว่า ผมคลุกคลีกับดนตรีตั้งแต่เด็ก ร้องเพลงในโบสถ์ ร้องในบ้าน เล่นตามงานประเพณีชุมชนครับ"

เขาพยักหน้า พร้อมพลิกอ่านประวัติการศึกษาของผม

"เอ๊ ทุกคนที่มาสัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ทุกคนเรียนดนตรีมา แต่คุณไม่ได้เรียนดนตรีมานี่" เขาถามผม

"ครับ ผมไม่ได้เรียนดนตรีในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยครับ แต่ผมเรียนกับพ่อที่บ้านครับ ก็เลยเล่นดนตรีได้บ้าง นิดหน่อยครับ" เขาพยักหน้าอีกครั้งหนึ่ง

"ผมเป็นคนเผ่าไหนนะ"

"ปกาเกอะญอ คับ แต่คนไทยจะเรียก กะเหรี่ยง ส่วนฝรั่ง เรียก คาเรน คับ" เขาพยักหน้าพร้อมกับอมยิ้ม

"เราคิดว่าจะให้วีซ่าแก่คุณภายใน 4-5 ปีนะคะ" เขาตอบผมอย่างจริงจัง

"เอ้า!?" ผมอุทานออกมา

"อุ้ย ! ไม่ใช่ 4-5 วันคะ" เขาพูดพร้อมกับแลบลิ้นออกมาอย่างเขิน ๆ แต่ด้วยสีผิวคล้ำจึงไม่ปรากฏสีหน้าแดงที่แสดงออกถึงอาการเขินของหล่อน


หลังจากสัมภาษณ์วิซ่า และทราบแนวโน้มความเป็นไปได้ในการทำวีซ่าแล้ว ผมโทรกลับไปหาพี่ทอด์ด ทองดี ผู้ที่ชักชวนมาร่วมขบวนการเดินทางครั้งนี้ ทันทีที่เขาทราบผล

"เฮ้ ชิ คุณใส่ชุดอะไรในการไปสัมภาษณ์" เขาถามผม

"ผมใส่ชุดปกาเกอะญอไปครับ" ผมตอบตามความจริง

"คุณรู้ไหม นั่นมันเสี่ยงมากเลยนะ" พี่ทอด์ด บอก

"เสี่ยงที่วีซ่าจะไม่ผ่านใช่ไหมครับพี่" ผมถามต่อ

"เปล่า เสี่ยงที่เขาจะขอเสื้อของคุณไป" เขาตอบผมแบบที่เล่นที่จริง

 

คำพูดของเขาคนนี้ หลายคำ หลายประโยค หลายครั้งทำให้ผมคิดอะไรต่อได้หลายประเด็น ในใจผมคิดว่า ถ้ากงสุลจะขอเสื้อปกาเกอะญอผมไปเพื่อไปทำประโยชน์หรือเผยแพร่ให้คนรู้จักชนเผ่าของผม นั่นก็เป็นสิ่งที่น่ายินดี แต่หากเขาเอาไปเพื่อต้องการไปทำลายนั้น นับว่าเป็นเรื่องที่เสี่ยง ตามที่พี่ทอด์ด พูดไว้เป็นอย่างมาก

 

 

 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
“ตั้งสายได้แล้ว วิธีการเล่นล่ะ?” ลูกชายกำลังไฟแรงอยากเรียนรู้ “ใจเย็นๆ ก่อนอื่นต้องฝึกร้องเพลงให้ได้ก่อน ถ้าร้องเพลงไม้ได้ จำทำนองเพลงไม่ได้ จะเล่นได้ไง” พ่อค่อยๆสอนลูกชาย “เอางี๊ เดี๋ยวพ่อจะสอนเพลงพื้นบ้านง่ายๆที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบร้อง ชอบเล่นและชอบสอนเด็กบ่อยๆ ซักสองสามท่อนนะ” แล้วพ่อก็เริ่มเปล่งเสียงร้องและให้ลูกชายร้องตามที่ละวรรค
ชิ สุวิชาน
พ่อได้ดื่มชาในกระบอกไม้ไผ่จนหมดไปกว่าครึ่งหนึ่ง แล้วจึงวางลง“เดิมทีนั้น เตหน่ากูมีจำนวนสายเพียง 5-7สาย แต่ต่อมาได้มีการเพิ่มเติมสายในการเล่นเป็น 8-9สายหรือ 10-12หรือมากกว่านั้นก็ได้” พ่อหยิบเตหน่ากูและเล่าให้ลูกชายฟัง“ทำไมจำนวนสายไม่เท่ากันล่ะ?” ลูกชายถามผู้เป็นพ่อ“มันขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของผู้เล่นแต่ละคน ชอบและถนัด 7 สายก็เล่น7 สายชอบน้อยกว่านั้นก็เล่นน้อยกว่าก็ได้ หรือชอบมากกว่านั้นก็เล่นมากกว่านั้นก็ได้” พ่อตอบสิ่งที่ลูกชายสงสัยในการตั้งสายเตหน่ากูแบบไมเนอร์สเกล (Minor scale) นั้นเริ่มจาก 5-7 สายโดยมีตัวโน๊ตหลักตามไมเนอร์สเกลอยู่ 5 โน้ต ได้แก่ โด (D) เร (R)  มี (M) โซ (S) ลา…
ชิ สุวิชาน
ความมืดกลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง เช่นเดียวกับไม้เกี๊ยะที่มาจากแกนไม้สนสองใบต้องถูกเผาเพื่อผลิตแสงสว่างในครัวบ้านปวาเก่อญออีกครั้ง กาต้มน้ำที่ดำสนิทด้วยคราบเขม่าควันไฟถูกตั้งบนเหล่อฉอโข่อีกครั้ง กลิ่นชาป่าขั้วหอมทำให้โสตประสาทกระปรี่กระเปร่าขึ้นมาพร้อมเข้าสู่บรรยากาศการเรียนรู้ภายในบ้านไม้ไผ่หลังเดิมเตหน่ากู คืออุปกรณ์การเรียนรู้ถูกเตรียมไว้เพื่อใช้ในการเรียนรู้ ของพ่อซึ่งเป็นผู้สอนหนึ่งตัว ของลูกซึ่งเป็นผู้เรียนหนึ่งตัว รูปร่างลักษณะเตหน่ากูแม้ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่ก็มีรูปทรงที่คล้ายๆกัน  มีตัวท่อนไม้ใหญ่ และมีกิ่งไม้ที่โค้งงอเมื่อพ่อเห็นว่าลูกชายพร้อมที่จะเริ่มการรับความรู้แล้ว …
ชิ สุวิชาน
“พี่น้องครับ พี่ชายคนนี้ยังคงทำหน้าที่ต่อ ณ ตรงนี้ครับ ขอมอบเวทีต่อให้พี่ครับ” ผมพูดจบผมกลับไปที่นั่งของผมเพื่อเป็นคนดูต่อแม่น้ำสายนี้ยังคงไหลไปตามกาลเวลาฯ....................................................ฉันผ่านมา  ผ่านมาทางนี้ ผ่านมาดูสายน้ำ.............ได้รู้ได้ยิน..............ฯบทเพลงแรกผ่านไปต่อด้วยสาละวิน สายน้ำตาเสียงปืนดังที่กิ่วดอยลูกชายไปสงครามเด็กน้อยผวาตื่น(ทุกคืนๆ)
ชิ สุวิชาน
“ผมมีเพื่อนปกาเกอะญอมาด้วยคนหนึ่ง” ผมบอกกับคนดูผมได้ไปพบ และได้ไปฟัง เพลงที่เขาร้อง ณ ริมฝั่งสาละวิน ทำให้ผมเกิดความประทับใจในท่วงทำนองและความหมายของบทเพลงรวมทั้งตัวเขาด้วยผมทราบมาว่าตอนนี้เขาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่  ผมจึงไม่พลาดโอกาสทีจะชักชวนเขามาร่วม บอกเล่าเรื่องราวของชนเผ่า ผ่านบทเพลงที่ผมประทับใจ ซึ่งแรก ๆ นั้น เขาแบ่งรับ แบ่งสู้  ที่จะตอบรับการชักชวนชองผม แต่ผมก็ชักแม่น้ำทั้งห้า จนเขาหมดหนทางปฏิเสธ“ผมไม่คุ้นเคยกับการร้องเพลงต่อหน้าคนมาก ๆ นะ” เขาออกตัวกับผมก่อนวันงาน แต่เมื่อถึงวันงานเขาก็ไม่ทำให้ผมผิดหวัง เขาเดินออกมาแบบเกร็งๆ และประหม่าอย่างเห็นได้ชัด เขาจะยืนตรงก็ไม่ใช่…
ชิ สุวิชาน
ณ ห้องเล็กๆ แถวสี่แยกกลางเวียง เมืองเชียงใหม่ เก้าอี้ถูกเรียงเป็นแถวหน้ากระดานประมาณร้อยกว่าตัว  ข้างหน้าถูกปล่อยว่างเล็กน้อยสำหรับเป็นพื้นที่ตั้งเครื่องเล่นดีวีดีและโปรเจคเตอร์เพื่อฉายสารคดี ใกล้เวลานัดหมายผู้คนเริ่มทยอยกันเข้ามาทีละคน ทีละคู่ ทีละกลุ่ม“เค้าไม่อยากให้เราพูดถึงเรื่องการเมือง แต่เราอาจพูดได้นิดหน่อย” เจ้าหน้าที่ FBR กระซิบมาบอกผมเกี่ยวกับความกังวลของเจ้าของสถานที่ ผมยิ้มแทนการสนทนาตอบ เพียงแต่คิดในใจว่า หากการเมืองคือความทุกข์ยากของประชาชน ของชาวบ้านคนรากหญ้าก็ต้องพูดให้สาธารณะได้รับรู้ เพื่อจะหาช่องทางในการช่วยบรรเทาทุกข์ของประชาชน…
ชิ สุวิชาน
หลังจากดูสารคดีด้วยกันจบ “ผมอยากฉายสารคดีชุดนี้สู่สาธารณะ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่คนทั่วไปในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ผมอยากให้คุณมาร่วมเล่นดนตรีด้วย คุณ โอ เค มั้ย” เขาถามผมผมนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง เพราะผมไม่รู้จะปฏิเสธอย่างไร  ผมรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งที่ต้องทำ  ผมบอกกับตัวเองว่า เพียงแค่เห็นใจและเข้าใจอาจไม่เพียงพอ   หากสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสื่อสารเรื่องราวของผู้ทุกข์ยาก โดยเฉพาะคนชนเผ่าเดียวกันได้  มันก็ควรทำไม่ใช่หรือหลังจากผมตอบตกลงเขา เราทั้งสองได้พูดคุยประสานงานกันเกี่ยวกับงานอยู่เรื่อย ๆ จนเวลาลงตัวในวันที่ 21 ธันวาคม ศกนี้ ณ สมาคม AUA เชียงใหม่ ในหัวข้อ “…
ชิ สุวิชาน
ต่า หมื่อ แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละ         ตา ข่า แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละอะ เคอ กิ ดิ เค่อ มี โบ            มา ซี ปกา ซู โข่ อะ เจอผีร้ายโผล่มาทางริมฝั่งสาละวิน        แมงร้ายโผล่มาทางลำน้สาละวินเสื้อผ้าลายเหมือนดั่งต้นบุก        มาเข่นฆ่าทำลายล้างชีวิตคน(ธา บทกวีคนปกาเกอะญอ)“คุณเคยติดตามสถานการณ์ทางรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่าบ้างไหม” เสียงผู้ชายโทรศัพท์มาถามผมด้วยภาษาไทยสำเนียงฝรั่ง“ผมทำงานในองค์กรชื่อFree Burma Rangers ครับ”…
ชิ สุวิชาน
เขานั่งอยู่แถวหน้า และเขาโบกไม้โบกมือขณะที่ผมกำลังบรรเลงเพลงอยู่บนเวที  ในมหกรรมคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ซึ่งจัดโดยสำนักประชาสัมพันธ์ร่วมกับองค์กรยูเนสโก้  ในงานได้มีการเชิญศิลปินชนเผ่าหลักทั้ง 7 เผ่า ได้แก่ ม้ง อาข่า ลีซู ลาหู่ เมี่ยน ไทยใหญ่และกะเหรี่ยง รวมทั้งยังมีศิลปินล้านนา อาทิ ครูแอ๊ด  ภานุทัต  คำหล้า ธัญาภรณ์ น้อง ปฏิญญา และไม้เมืองนอกจากนี้มีทายาทของสุนทรี  เวชชานนท์ ราชินีเพลงล้านนา คือน้องลานนา มาร่วมร้องเพลง ธีบีโกบีกับทอดด์ ทองดี ศิลปินจากรัฐเพนโซเวเนีย…
ชิ สุวิชาน
เมื่อเข็มนาฬิกาเข็มที่สั้นที่สุด เลื่อนไปยังหมายเลขเก้า ทุกคนจึงขึ้นรถตู้ เคลื่อนขบวนไปยังศูนย์ศิลปและวัฒนธรรมแสงอรุณ  เมื่อถึงมีทีมงานเตรียมข้าวกล่องไว้รอให้ทาน พอทานข้าวเสร็จพี่อ้อย ชุมชนคนรักป่า ก็มาบอกผมว่า  งานจะเริ่มบ่ายโมง  พร้อมกับยื่นใบกำหนดการให้ผมดู  ผมตื่นเต้นนิดหน่อยพอบ่ายโมง งานก็เริ่มขึ้น โดยการฉายสไลด์เกี่ยวกับป่าชุมชนที่หมู่บ้านสบลาน อำเภอสะเมิงเชียงใหม่   "ถ้าถึงคิวแล้วจะมาเรียกนะ” ทีมงานบอกกับผมในระหว่างที่ผมรออยู่หน้างานนั้น ผมก็ได้เจอกับนักเขียน นักดนตรี นักกวี ที่ทยอยมา ได้มีโอกาสคุยกับคนที่ผมรู้จัก และกำลังรู้จัก และที่ไม่รู้จักด้วย …
ชิ สุวิชาน
บุ เต่อ โดะ นะ แล บุ เออบุ ลอ บ ะ เลอ ต่า อะ เออชะตา วาสนาช่างรันทดต้องเผชิญแต่สิ่งลำเค็ญ